[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 มีนาคม 2567 23:11:54 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เงินกับพระ  (อ่าน 1067 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 19 มิถุนายน 2561 08:55:31 »




เงินกับพระ

”ทางเลือก” ตอนนี้ พระจะจับเงิน หรือไม่จับเงิน

เรื่องของชาววัด คนรู้เรื่องวัดมีน้อย ปล่อยให้โยมไพบูลย์ ที่ยังไม่ผ่านหลักสูตร “บัณฑิต” ก็ “ทิด” พระสึกใหม่น่ะครับ เสียงดังอยู่คนเดียว คงไม่ไหว

ประเด็นพระควรจับเงินหรือไม่...ควรทำความเข้าใจขนบพระไทยไว้ก่อน

ตามพระวินัย พระจับเงิน (หรือทอง) เป็นอาบัติปาจิตตีย์ (อาบัติเบา ปลงได้)  อาบัติข้อนี้ อยู่ในพระปาติโมกข์ พระท่านสวดตรวจทานของท่านให้ถูกต้องครบถ้วน ทุกวันพระ ๑๕ ค่ำ

พระไทย เดิมทีมีนิกายเดียว จนเมื่อรัชกาลที่ ๔ ท่านตั้งนิกายธรรมยุต พระส่วนใหญ่ที่ไม่ได้เข้าด้วยก็ถูกเรียก “มหานิกาย” พระไทยจึงมีสองนิกายมานับแต่นั้น

พระสองนิกาย สวดปาติโมกข์ฉบับเดียวกัน แต่มีmวัตรปฏิบัติตึงหย่อนกว่ากัน เช่น ธรรมยุตฉันกาแฟไม่ใส่นม ในเวลาวิกาล (หลังเที่ยง) มหานิกายฉันกาแฟใส่นม

ข้อที่กำลังถกกันวันนี้ พระธรรมยุตไม่จับเงิน มหานิกายจับเงิน

ญาติโยมคงเห็นเจนตา เวลาเอาซองใส่เงินถวายพระ ถ้าธรรมยุตก็ต้องเอาไปให้ลูกศิษย์รับแทน ถ้าพระมหานิกาย ท่านก็รับซองใส่ย่ามด้วยมือของท่านเลย

ย้อนไปอ่านพระวินัย พระไม่จับเงิน ตีความคำว่า “จับ” ไว้  แล้วเอาไปดูวิธีปฏิบัติของพระไทย พระธรรมยุตท่านไม่ “จับ” พระมหานิกาย “จับ”

พระสองนิกายมีนัยตรงกันคือท่าน “รับเงิน”

และเงินที่พระท่านรับ พระธรรมยุตเวลาจะใช้ ท่านก็ให้ลูกศิษย์ไปใช้ พระมหานิกาย ท่านมีเงินอยู่ในย่ามของท่านไว้แล้ว เวลาจะใช้ท่านก็ควักจากย่าม

บทสรุปข้อแรก “พระสองนิกายรับเงิน” นำไปสู่บทสรุปข้อที่สอง พระสองนิกาย ในวิถีความเป็นไปในโลกวันนี้ ต้องเดินทาง ต้องไปเรียนหนังสือ ไปกิจนิมนต์ บิณฑบาตไม่พอ ต้องซื้ออาหารมาฉัน ฯลฯ พระท่านจำเป็นต้องใช้เงิน

ยังไม่รวมเหตุปัจจัยอีกหลายประการ อย่าลืมพระท่านก็เป็นมนุษย์ มีญาติโยมที่ต้องดูแล

สมัยพุทธกาล พระที่โยมแก่เฒ่า เลี้ยงตัวไม่ได้ พระท่านก็ไปรับมาดูแลในวัด

ในวินัยไม่มีบัญญัติ แต่ใน “ธรรมะ” เป็นข้อที่พระพุทธเจ้าย้ำ “ความกตัญญูเป็นเครื่องหมายของคนดี”

ในความแตกต่างเรื่องวัตรปฏิบัติตึงหรือหย่อนกว่ากัน ข้อปฏิบัติของพระธรรมยุต เมื่อมีมหานิกายมาขออยู่ด้วย ก็ต้องเข้าโบสถ์ “บวชใหม่”

เรื่องนี้พระด้วยกันรู้ แต่กับคฤหัสถ์ผู้ใหญ่ เมื่อไม่กี่ปีมานี้ ศรัทธาไปบวชพระถึงอินเดีย กลับมาไทยไปขอจำวัดอีกนิกาย ถูกนำเข้าโบสถ์บวชใหม่ ผู้ใหญ่ท่านนั้นออกอาการ “เหวอ” ไปเลย

ไม่คิดเลย พระห่มผ้าเหลืองเหมือนกัน แตกต่างกันถึงขั้นนี้

เด็กวัดเก่าอย่างผมขอวิจารณ์ พระที่ถือว่าเคร่งวินัย และใช้ความเคร่งครัดนั้นมาชี้ว่า ดีกว่า บริสุทธิ์กว่า ก็พร่องด้านธรรม ข้อ “อติมานะ” คือยกตนถือตัว

                  ฯลฯ  


“เงินกับพระ” คอลัมน์ ชักธงรบ โดย กิเลน ประลองเชิง น.๓ นสพ.ไทยรัฐ ฉบับวันพุธที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๖๑



Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 มิถุนายน 2561 09:09:45 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.231 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 26 กุมภาพันธ์ 2567 16:49:44