[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 มีนาคม 2567 22:37:40 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ซาโตริต่างกับนิพพานอย่างไร ? ( เซนสักนิด ชีวิตเป็นสุข)  (อ่าน 3153 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5062


ระบบปฏิบัติการ:
Linux Linux
เวบเบราเซอร์:
Chrome 64.0.3282.137 Chrome 64.0.3282.137


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 15 กรกฎาคม 2561 15:03:32 »



อ่านเรื่องเซนทีไร ก็มีคำว่า 'ซาโตริ' ปนมาอยู่เรื่อย

มันคืออันหยัง?

คงต้องเริ่มที่คำถามว่า อะไรคือเป้าหมายหลักของปรัชญาพุทธ

คอนเส็ปต์หลักน่าจะคือ 'การปลดปล่อยตนให้เป็นอิสระ'

ในทางพุทธก็คือการบรรลุนิพพาน (nirvana) ในทางเซนคือการบรรลุพุทธภาวะ เรียกว่า ซาโตริ (satori)

ทั้งสองอย่างก็คือการกำจัดความคิดปรุงแต่ง (delusive thinking) ซึ่งเป็นต้นตอของปัญหาทุกอย่างของมนุษย์ เมื่อขจัดมันไปได้ ก็ทำให้โลภ โกรธ หลง หายไปด้วย พูดง่าย ๆ ก็คือการทำลายอุปาทานในขันธ์ เพื่อให้อัตตาสิ้นไป เมื่อไม่มีอัตตา ก็เป็นอิสระ

เจ้าชายสิทธัตถะทรงละทิิ้งชีวิตฆราวาสไปเป็นดาบส ทรงหาทุกวิถีทางที่จะปลดปล่อยพระองค์เป็นอิสระ แต่ทรงไม่สามารถบรรลุจุดหมายนั้นด้วยหนทางแห่งความสุดโต่ง จนกระทั่งหลังจากเจ็ดปีของการค้นหาแบบสุดโต่ง ก็ทรงละทิ้งวิถีนั้น และเมื่อนั้นเองที่ทรง 'ตื่น' และเข้าสู่สภาวะแห่งการเข้าใจหรือที่เรียกว่า การตรัสรู้ (enlightenment) โดยการพิจารณาสิ่งที่เป็นไปในโลกใต้ต้นโพธิ์ ผ่านทั้งราตรีจนแสงสว่างของเช้าวันใหม่มาถึง ก็ทรงเข้าพระทัยทุกสิ่งอย่างแจ่มแจ้ง หลุดพ้นโดยสิ้นเชิงจากมายาและวงจรการเวียนว่ายตายเกิด (สังสารวัฏ) เป็นสภาวะที่เรียกว่า อนุตตรสัมมาสัมโพธิ ซึ่งถือเป็นปัญญาสูงสุดที่ไม่มีสิ่งใดมาเทียบเคียงได้ (unexcelled, complete awakening)

การหลุดพ้นก็คือการตื่น นี่คือที่มาของคำว่า พุทธะ แปลว่า ผู้ตื่นแล้ว (บางครั้งใช้คำว่า โพธิ ในความหมายของการตื่นเช่นกัน)

ตื่นจากอะไร?

ตื่นจากมายา ปลดปล่อยตัวเองจากมายาและสิ่งห่อหุ้มธรรมชาติเดิมของเรา

แล้วซาโตริต่างจากนิพพานหรือไม่? อย่างไร?

มีการให้ความหมายของนิพพานและซาโตริต่างกันออกไป บางตำราใช้คำนิพพานกับซาโตริในความหมายเดียวกัน บางตำราว่าภาวะการรู้แจ้ง (enlightenment) มาก่อนภาวะนิพพาน (nirvana) บางตำราก็แบ่งการบรรลุธรรมออกเป็นหลายระดับ เช่น นิพพาน, ซาโตริ, เคนโซ

คำว่า ซาโตริ แปลตรงตัวว่า การเข้าใจ บางทีก็ใช้สลับกับคำว่า เคนโซ (kensho) ซึ่งมักหมายถึงการบรรลุธรรมในขอบเขตของเซน

เคนโซ แปลตรงตัวว่า การมองเห็นธรรมชาติที่แท้จริงของตนเอง เคนโซจึงไม่ได้มีความหมายถึงการตื่นอย่างสมบูรณ์ในความหมายของนิพพาน

มีผู้เปรียบว่า การบรรลุเคนโซก็เช่นการเตะลูกบอลวิถีไกลโค้งข้ามสนามเข้าประตูอย่างสวยงามเพียงครั้งเดียวไม่ได้หมายความว่าคุณคือ เดวิด เบคคัม หรือการขว้างลูกบาสเก็ตบอลเข้าห่วงในทีเดียว ก็ไม่ได้ทำให้คุณเป็น ไมเคิล จอร์แดน คุณจะเป็น เดวิด เบคคัม หรือ ไมเคิล จอร์แดน ก็เมื่อคุณทำประตูได้มากพอ นานพอจนสามารถคุมลูกบอลได้ดั่งใจ หรือหากใช้สำนวนนิยายจีนกำลังภายในก็คือ คุณเชื่อมเป็นหนึ่งเดียวกับลูกบอลจนไม่เหลือตัวตนของลูกบอล!

ผู้รู้ด้านเซนหลายท่านอธิบายว่า ซาโตริมักมีความหมายของการตื่นเล็ก นิพพานมีความหมายของการตื่นใหญ่ นั่นคือนิพพานเป็นผลรวมของการบรรลุซาโตริ สรุปแบบหยาบ ๆ ได้ว่า คนเราสามารถบรรลุซาโตริได้หลายครั้ง แต่บรรลุนิพพานได้ครั้งเดียว

ตัวอย่างที่ดีที่สุดน่าจะเป็นกรณีของอาจารย์ฮาคุอิน ปรมาจารย์เซนคนสำคัญที่สุดคนหนึ่งของญี่ปุ่นสมัยศตวรรษที่ 15 ว่ากันว่าท่านมีประสบการณ์ซาโตริหลายครั้ง เช่นครั้งหนึ่งขณะที่เดินฝ่าฝน น้ำท่วมขึ้นมาถึงหัวเข่า ขณะจิตนั้นท่านนึกถึงบทธรรมที่เคยอ่านนานมาแล้ว พลันท่านก็ตื่น ส่งเสียงหัวเราะก้องกังวาน อาจารย์ฮาคุอินมักตื่นกะทันหันและหัวเราะก้องเช่นนี้เสมอ เป็นตัวอย่างว่าการตื่นมีหลายระดับ และเกิดขึ้นซ้ำได้

ชาวพุทธไม่น้อยตีความคำว่า วงจรการเวียนว่ายตายเกิด (สังสารวัฏ) ตรงตามคำว่าเป็นการเกิดใหม่โดยพลัง (หรือพลังงาน) ที่เรียกว่า กรรม และกรรมนี้เองเป็นตัวกำหนดคุณลักษณ์และบทบาทของชีวิตที่เกิดใหม่ จนกว่าจะสามารถ 'ตื่น' เมื่อนั้นวงจรนี้ก็จะสิ้นสุด เรียกจุดหมายปลายทางนี้ว่า นิพพาน

แต่ในทางเซนและมหายานบางสายตีความคำว่า สังสารวัฏ แตกต่างออกไป เซนชี้ว่ากระบวนการเกิดใหม่นี้เกิดขึ้นเป็นช่วงขณะจิต เพราะตัวตนของเราทุกคนเกิดใหม่เรื่อย ๆ ทีละชั่วขณะจิต อันเป็นการกระทบกันของปัจจัยหนึ่งสู่อีกปัจจัยหนึ่งตามหลัก ปฏิจจสมุปบาท ซึ่งใช้อธิบายสภาวะของจิตของฝ่ายเถรวาท

จะเห็นว่าในเรื่องเดียวกันแท้ ๆ ก็มีการตีความไปต่าง ๆ นานา

อ่านแล้วง่วงหรือเปล่า?

ไม่แปลกถ้าง่วงนะ ก็เหมือนเรื่องเสือดำ เรื่องนาฬิกา และอื่นๆ นั่นแหละ ตีความได้หลายอย่าง ตีความไปตีความมา ก็ง่วงนอนได้

คำว่าเซนจึงต้องเขียน Zen ไง ZZZZ เป็นสัญลักษณ์ของความง่วง

.……………...

วินทร์ เลียววาริณ
เฟซบุ๊ก https://www.facebook.com/winlyovarin/

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.297 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 28 กุมภาพันธ์ 2567 16:41:05