[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
19 เมษายน 2567 16:33:11 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: บทวิเคราะห์ข้อแตกต่าง ระหว่าง มหายาน กับ เถรวาท ( สาวกยาน )  (อ่าน 3864 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5064


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 14 มกราคม 2554 10:50:54 »




บทวิเคราะห์ข้อแตกต่าง ระหว่างมหายานกับเถรวาท ( หินยาน )


พุทธศาสนาฝ่ายมหายานกับฝ่ายเถรวาท ต่างเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า จุดมุ่งหมาย สูงสุดของสองนิกายนี้มีอยุ่ร่วมกันคือ วิมุตติ ความหลุดพ้น จะมีข้อแตกต่างเพียงนิกาย ว่า จะตีความตามพระธรรมวินัยอย่างไร และเมื่อนำสารัตถะของนิกายมหายานกับหินยาน มาเปรียบเทียบกันดู เราก็จะได้รับประโยชน์ทางปัญญาดังนี้คือ

๑. เถรวาท ( หินยาน ) ยึดมั่นอยู่ในธรรมวินัยอันเป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าตามแบบเดิม ตั้งแต่ครั้งปฐมสังคายนา ไม่ยอมเปลี่ยนแปลง ยกพระธรรมวินัยไว้ในฐานะอันสูงส่งและ ศักดิสิทธิ์ แม้พระไตรปิฎกก็ไม่เปลี่ยนแปลง คงรักษาของเดิมซึ่งเป็นภาษามคธเอาไว้เป็นหลัก เป็นธรรมนูญของพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ใครจะแปลเป็นภาษาอะไรก็แปลไป แต่ไม่ทิ้ง ของเดิมคงรักษาของเดิมภาษามคธเป็นหลัก

มหายานเป็นพวกก้าวหน้าและเปลี่ยนแปลง มองพระพุทธพจน์ในแง่ปรัชญา วิพากษ์วิจารณ์ ความหมายพระพุทธพจน์ไปในแง่ต่าง ๆ ตามความคิดของบุคคลแต่ละบุคคล ปรับปรุงธรรม วินัยไปตามกาละเทศะ เพื่อความเหมาะสมแก่ประชาชนและสิ่งแวดล้อม เพื่อประโยชน์แก่ พระพุทธศาสนา มีการแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาจีน แล้วใช้ต้นฉบับนั้นเป็นหลัก

๒. เถรวาทตั้งพระพุทธพจน์เป็นแกนกลาง แล้วดึงบุคคลให้เข้าหาพระพุทธพจน์ โดยอ้างเหตุผล เป็นเครื่องจูงใจ

มหายาน ตั้งบุคคลเป็นแกนกลางคำนึงถึงสติปัญญาความคิดความรู้และความสามารถของบุคคล เป็นเกณฑ์ แทนที่จะปรับบุคคลให้เข้าหาพระพุทธพจน์ แต่ปรับพระพุทธพจน์เข้าหาบุคคล เพื่อ ประโยชน์แก่การเผยแพร่พระพุทธศาสนา ผ่อนปรนจนบางนิกายอนุมัติให้พระสงฆ์มีครอบครัว ได้ เพื่อประโยชน์ทางการเผยแพร่

๓. เถรวาทตั้งเป้าหมายและวิธีพื่อบรรลุเป้าหมายไว้สูงและยาก ต้องอาศัยความตั้งใจจริง ๆ จึงจะกล้าดำเนินการตามเป้าหมายและบรรลุตรงเป้าหมายนั้น ทำให้สามัญชนโดยทั่วไปมอง พระพุทธศาสนาในสิ่งสูงสุดยากที่จะเข้าถึง

มหายาน ตั้งเป้าหมายไว้ง่าย ๆ โดยใช้หลักจิตวิทยาชั้นสูงจูงใจคนคือ ปรับพระพุทธพจน์ให้เข้า กับบุคคล ให้คนทั่วไปมีความรู้สึกว่าพุทธภาวะนั้นอยู่แค่เอื้อม เพราะมีอยู่ในทุกคนแล้ว ดังนั้น บุคคลทุกเพศทุกวัยก็อาจบรรลุพุทธธรรมได้ โดยไม่ต้องอาศัยวิธีที่ยากมากหรือการปฏิบัติมากนัก

๔.เถรวาทมุ่งที่ปัจเจกภาพหรือคุณภาพเฉพาะบุคคล คือ เริ่มที่ตนแล้วจึงไปหาผู้อื่น หมายถึงว่า เถรวาทถือคุณภาพเป็นสำคัญ

มหายาน ถือ ปริมาณเป็นสำคัญ โดยมุ่งเอาปริมาณไว้ก่อน เพราะถือว่า คุณภาพย่อมเกิดจากปริมาณ โดยตั้งสมมติฐานไว้ว่า ในจำนวนผู้เศึกษา หรือใฝ่ใจในการปฏิบัติธรรมเป็นจำนวนมากนั้น ย่อมจะ มีอยู่จำนวนหนึ่งที่เข้าถึงพุทธธรรม และย่อมรู้แจ้งเห็นจริงในพุทธธรรมเองได้

๕. เกี่ยวกับอุดมคติในการดำเนินงาน การเผยแพร่เถรวาทมุ่งที่ตนเองก่อน คือตนเองต้องรู้ก่อน แล้วจึงสอนจึงช่วยผู้อื่น มิฉะนั้นจะนำอะไรไปช่วยเขาเมื่อตนเองยังไม่มีอะไร ยังไม่รู้อะไร

มหายาน วางอุดมคติจูงใจไว้ก่อนว่าต้องบำเพ็ญตนเพื่อผู้อื่นก่อน เพื่อตนเองทีหลัง มีปณิธานว่า จะช่วยขนสัตว์ให้พ้นโอฆสงสารบรรลุะรรมจนหมดสิ้นก่อน ตนจึงขอบรรลุธรรมเป็นคนสุดท้าย

๖. ศูนย์กลางของการนับถือพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทนั้นยึดมั่นอยู่กับพระสงฆ์ พระสงฆ์เป็น ผู้รักษาแบบแผนทำให้พุทธศาสนิกชนเข้าใจว่า การจรรโลงพระพุทธศาสนานั้นเป็นเรื่องของ พระสงฆ์ พระสงฆ์เป็นผู้นำ พุทธบริษัทอื่นเป็นผู้ตาม

มหายาน ศูนย์กลางของการนับถือพระพุทธศาสนามิได้อยู่เฉพาะในวงการคณะสงฆ์เท่านั้น ผู้สอน พยายามหลีกเลี่ยงและเบนความสนใจมิให้ติดอยู่ที่พระสงฆ์ เพื่อทำให้พุทธศาสนิกชนเข้าใจว่า คนทุกคนมีส่วนจรรโลงพระพุทธศาสนาดังจะเห็นได้ว่า พระโพธิสัตว์ของฝ่ายมหายานจะมีทั้ง บรรพชิต ทั้งคฤหัสถ์ ช่วยกันประกาศพระพุทธศาสนา

๗. เถรวาท ถือเรื่องอริยสัจน์เป็นสำคัญ มหายานถือเรื่องบารมีเป็นสำคัญ เพื่อความเป็นพระโพธิสัตว์

๘. เถรวาท มีพระพุทธเจ้าพระองค์เดียว คือ พระสมณโคดม หรือ พระศากยมุนี ( ที่กล่าวว่า มีพระพุทธเจ้ามากพระองค์และติดมาในพระไตรปิฎกนั้น ท่านผู้รู้ทั้งบรรพชิตทั้งคฤหัสถ์ว่า ติดมาจากคติของมหายาน )

มหายาน ถือว่ามีมาก ประดุจเม็ดกรวดทรายในมหาสมุทร ( เพื่อจูงใจให้คนพอใจปรารถนาเป็น พระโพธิสัตว์ ให้เห็นว่า ไม่ยากจนเกินไปจนน่าท้อ ) บางนิกายแสดงว่ามีพระพุทธเจ้าองค์ดั้งเดิม คือ อาทิพุทธ ( ดุจปราตมันของพราหมณ์ ) เมื่อ อาทิพุทธพุทธเจริญญาณ เกิดเป็น ฌานิพุทธ คือ พระพุทธเจ้าเกิดจากฌานของอาทิพุทธอีกเป็นอันมาก เช่น พระไวโรจนพุทธะ อักโขภยพุทธะ อโฆสิทธิพุทธะ รัตนสัมภวพุทธะ ไภสัชชคุรุพุทธะ อมิตตาภาพุทธะ เป็นต้น เฉพาะ อมิตตาภะ พุทธะนี้ เมื่อเป็นมานุสสีพุทธ คือเป็นพระพุทธเจ้าในร่างมนุษย์ ( อวตาร ) ก็คือ พระศรีศากยมุนี พุทธนั่นเอง

๙. เถรวาท มีความมุ่งหมายเพื่อบำเพ็ญอัตตัตถาจริยา คือ ประโยชน์ส่วนตน ญาตัตถจริยา ประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์ โลกัตถจริยา คือ ประโยชน์ต่อสัตว์โลก โดยเห็นว่าการี่เราจะช่วย ผู้อื่นได้ เราต้องช่วยตัวเองให้มีหลักก่อน การี่เราจะช่วยคนตกน้ำ เราต้องว่ายน้ำเป็นก่อน การที่เราจะช่วยนำสัตว์ให้ข้ามโอฆสงสารได้ เราต้องมีเรือคือ ต้องรู้โพธิปักขิยธรรมก่อน ก็โพธิปักขิยธรรม คนจะรู้ได้ก็ต้องตรัสรู้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าหรือเป็นพระอรหันต์ เมื่อยัง ไม่สำเร็จก็ยังไม่รู้ เมื่อไม่รู้ก็เท่ากับว่ายังไม่มีเรือ เมื่อไม่มีเรือจะใช้อะไรส่งสัตว์ข้ามโอฆะได้ คติ ของเถรวาทเป็นอย่างนี้

มหายาน มุ่งความเป็นพระโพธิสัตว์ หรือ พุทธภูมิ เพื่อบำเพ็ญ โลกัตถะจริยาได้เต็มที่ คือมุ่ง ช่วยผู้อื่นเป็นจุดสำคัญ และแสดงว่ามีพระโพธิสัตว์หลายองค์ เช่น พระอวโลกิเตศวร , พระมัญชุศรี , พระวัชรปราณี , พระกษิติครรภ, พระสุมันตรภัทร และ พระอริยเมตไตรย เป็นต้น เป็นตัวอย่าง เพื่อจูงใจให้คนปรารถนาเป็นพระโพธิสัตว์

๑o. เถรวาทมี บารมี ที่จะให้สำเร็จบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นพระพุทธเจ้า ๑o ประการ มี ทาน, เนกขัมมะ, ปัญญา ,วิริยะ, สัจจะ, อธิษฐาน, เมตตา, อุเบกขา, ขันติ

มหายาน มีบารมีอันให้ถึงความสำเร็จเป็นพระโพธิสัตว์ และเป็น ปฏิปทาของพระโพธิสัตว์ ๖ ประการ คือ ทาน ศีล วิริยะ ขันติ ฌาน ปัญญา ( บ้างก็ว่ามี ๑o เหมือนกับ ของ เถรวาท )

๑๑. เถรวาท พระอรหันต์อยู่จบกิจในพรหมจรรย์แล้วสิ้นกิเลสแล้ว สิ้นความสงสัยรู้ว่าตนบรรลุ พระอรหัตผลด้วยตนเอง โดยมิต้องมีคนบอก มีความรู้ในอริยมรรค อริยผล ไม่ฝันปรินิพพาน แล้วก็ดับหมดทั้ง กายสังขาร วจีสังขาร จิตสังขาร ( อนุสปรินิพพาน ) ไม่เกิดอีก ถือว่าเหนือกว่า พระโพธิสัตว์ เพราะสิ้นกิเลสแล้ว ไม่ต้องศึกษาอีกแล้ว แต่พระโพธิสัตว์ยังมีกิเลสยังต้องศึกษา และ พระเถรวาทจะไม่ไหว้รูปพระโพธิสัตว์ เพราะถือว่ายังไม่เป็นพระภิกษุ

มหายาน พระอรหันต์ยังฝันอย่างคนมีราคะ เพราะถูกมารยั่ว ยังความไม่รู้ในอริยมรรค อริยผล ยังต้องสงสัยใน อริยมรรค อริยผล เป็นต้น จะรู้ว่าตนบรรลุต้องมีผู้บอก ปรินิพพานแล้วยังเกิด อีก แต่เกิดเพื่อสำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถือว่าสู้พระโพธิสัตว์ไม่ได้ เพราะเห็นว่าพระ โพธิสัตว์มีโอกาสช่วยสัตว์โลกได้มากกว่า

๑๒. เถรวาท ในกายสาม เถรวาทยอมรับแต่ ธรรมกาย กับ นิรมาณกายบางส่วน นอกนั้นไม่รับ

มหายาน รับทั้งสามคือ ทั้งธรรมกาย ได้แก่ พระธรรม สัมโภคกายคือ กายจำลอง หรือ กายอวตาร ของพระพุทธเจ้า คือ พระพุทธเจ้าเป็นพระกกุสันธบ้าง โกนาคมะบ้าง กัสสปะบ้าง ศากยมุนีบ้าง เป็นต้น ล้วนเป็นสัมโภคกายของพระพุทธเจ้าองค์เดิมทั้งนั้น นิรมาณกายคือ กายที่ต้องแก่ เจ็บ ปรินิพพาน เป็นกายที่พระพุทธเจ้าองค์เดิมสร้างขึ้น เพื่อเป็นเครื่องสอนคนให้เห็นความจริงของ ชีวิต แต่พระพุทธองค์ที่แท้ ที่องค์เดิมนั้นไม่ตกอยู่ในสภาพเช่นนี้ เช่น พระอมิตตาภาพุทธะมีกาย จำลองเป็น พระศากยมุนี แต่พระอมิตตาพุทธะนั้น เป็นอมตะอยู่ที่แดนสุขาวดี

๑๓. เถรวาท อาศัยพระไตรปิฎก คือธรรมวินัย ยุติตามะ ปฐมสังคายนาเป็นหลักและไม่มีพระสูตร อะไรเพิ่มเติม

มหายาน ธรรมวินัยของเดิมก็มี และมีการเพิ่มพระสูตรใหม่ในภายหลังจากการทำปฐมสังคายนา เช่น ปรัชญาปารมิตาสูตร สุขาวดียูหสูตร สัทธธรรมปุณฑริกสูตร ลังกาวตารสูตร เป็นต้น แม้ปฐมเทศนาก็มิได้มีครั้งเดียว

ความคล้ายคลึง และ ความแตกต่างที่สำคัญระหว่าง นิกายมหายานและเถรวาท :-

ข้อคล้ายคลึงกันของนิกายทั้งสอง เราพอสรุปได้เป็นหลักใหญ่ ๆ ๔ ประการคือ

๑. จุดมุ่งหมายปลายทางของทั้งสองนิกายเหมือนกันคือวิมุติ

๒. คำสอนทั้งสองนิกายเป็นประโยชน์แก่สังคมของมนุษย์ในด้านศีลธรรม และ จรรยา

๓. ทั้งสองนิกายสอนในเรื่องกฏแห่งกรรม

๔. ทั้งสองนิกายต่างยอมรับเรื่องความไม่จำกัดสรรพสิ่ง คือ ไม่มีเริ่มต้น ไม่มีสิ้นสุด ไม่มีขอบเขต ไม่มีประมาณ

ส่วนข้อแตกต่างกันของนิกายทั้งสองที่สำคัญที่สุดคือ เถรวาทมุ่งอรหัตภูมิ โดยถือคติว่า ก่อนจะให้คนอื่นรู้ ตนต้องรู้ก่อน ก่อนจะช่วยคนอื่นได้ ตนต้องช่วยตนเองให้ได้ก่อน มิฉะนั้นจะนำอะไรไปสอนไปช่วยเขา ส่วนมหายานมุ่งพุทธภูมิ คือ ต้องบำเพ็ญตนเป็น พระโพธิสัตว์ก่อน เพื่อช่วยคนอื่นก่อนช่วยตัวเอง ยอมรับทุกข์ เพื่อสุขของคนอื่น

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 31 พฤษภาคม 2554 08:42:42 โดย Mckaforce » บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
armageddon
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 8
*

คะแนนความดี: +2/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 229


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 14 มกราคม 2554 16:39:56 »



 หัวเราะลั่น หัวเราะลั่น หัวเราะลั่น

อ่านบทวิเคาะห์ข้างบน   ให้ละเอียดถ้วนถี่
แล้วก็... หันมาดู...  ผู้นำฝูงโค...อันเป็นพระธรรมราชาผู้นำธรรมจักร

ว่าโคแบบใด ที่เดินคดไปคดมา แบบแม่ปู

แล้วก็มาดู วิปริต 5 ประการ

ก็จะเห็นบทวิเคาะห์  ตามจริง

 หัวเราะลั่น หัวเราะลั่น หัวเราะลั่น


เมื่อฝูงโคข้ามไปอยู่ ถ้าโคผู้นำฝูงไปคด โคเหล่านั้นย่อม ไปคดทั้งหมด ในเมื่อโคผู้นำไปคด ในมนุษย์ก็เหมือนกัน ผู้ใดได้รับสมมติให้เป็นผู้นำ ถ้าผู้นั้นประพฤติอธรรม ประชาชนนอกนี้ก็จะประพฤติอธรรมเหมือนกัน แว่นแคว้น ทั้งหมดจะได้ประสบความทุกข์ ถ้าพระราชาเป็นผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม เมื่อฝูงโคข้ามไปอยู่ ถ้าโคผู้นำฝูงไปตรงโคเหล่านั้นย่อมไปตรงทั้งหมด ในเมื่อโคผู้นำไปตรง

 หัวเราะลั่น หัวเราะลั่น หัวเราะลั่น

๑) ในอนาคตกาล ภิกษุทั้งหลายจักไม่ได้อบรม กาย ศีล จิต และปัญญา ทั้งๆที่ตนเองไม่มีศีล สมาธิ ปัญญา แต่ก็จะทำหน้าที่บวชให้แก่คนทั่วไปที่มาขอบวช เมื่อตนเองไม่รู้ธรรม แต่สอนธรรม แล้วผลก็คือ ธรรมที่สอนนั้นผิดพลาด คลาดเคลื่อน วินัยที่สอนก็ผิดเพี้ยน นอกรีตนอกรอย
๒) ในอนาคตกาล ภิกษุทั้งหลายจักไม่ได้อบรมกาย ศีล จิต และปัญญา แต่ภิกษุเหล่านั้นก็ตั้งตนเป็นอาจารย์ ดูแลสั่งสอน ฝึกอบรมศิษย์แบบผิดๆเพี้ยนๆ ด้วยวิธีการเช่นนี้ จะทำให้พระพุทธศาสนาวิปริตผิดเพี้ยนไป

๓) ในอนาคตกาล ภิกษุทั้งหลายจักไม่ได้อบรมกาย ศีล จิต และปัญญา เธอเหล่านั้นแสดงธรรมที่ลึกซึ้ง ครั้นสอนผิดจากที่พระพุทธเข้าทรงสอน ผิดจากความเป็นจริงหรือผิดจากความจริง ก็จะไม่รู้ตัว นั่นเป็นอีกเหตุหนึ่ง ที่ทำให้พระพุทธศาสนาวิปริตผิดเพี้ยนไป
๔) ในอนาคตกาล ภิกษุทั้งหลายจักไม่ได้อบรมกาย ศีล จิต และปัญญา เธอเหล่านั้น ครั้นเมื่อมีผู้กล่าวพระสูตรทั้งหลายที่เป็นคำสอนแท้ๆของพระพุทธเจ้า มีเนื้อหาลึกซึ้งเกี่ยวกับเรื่องความว่าง พวกเธอก็จักไม่ตั้งใจฟัง ไม่ให้ความสำคัญ ไม่คิดจะศึกษาให้ลึกซึ้ง

แต่ครั้นเมื่อมีใครก็ตามกล่าวสูตรทั้งหลาย ที่กวีแต่งขึ้นมาใหม่ เป็นกวีนิพนธ์ มีภาษาไพเราะ เป็นเรื่องภายนอก ซึ่งไม่เกี่ยวกับคำสอนของพระพุทธเจ้า ไม่มีเนื้อหาที่ลึกซ้ึง เป็นคำสอนของสาวกรุ่นหลังๆ พวกเธอกลับพากันตั้งใจฟัง สนใจเสียยิ่งกว่าคำสอนที่เป็นเนื้อหาสาระของพระพุทธศาสนาแท้ๆ นี่ก็เป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้พระพุทธศาสนาวิปริตผิดเพี้ยน

๕) ในอนาคตกาล ภิกษุทั้งหลายจักไม่ได้อบรมกาย ศีล จิต และปัญญา ภิกษุทั้งหลายที่เป็นพระเถระผู้ใหญ่ จะตกเป็นทาสของลาภสักการะ ผลประโยชน์ ประพฤติย่อหย่อน ไม่เคร่งครัดในพระวินัย เป็นผู้นำในทางเชือนแช ถือหลักธุระที่ไม่ใช่ ไม่สนใจอยู่อย่างสงบสงัด ไม่มุ่งเพื่อปฏิบัติธรรมเพื่อละกิเลส
คนรุ่นหลังเมื่อเห็นตามตัวอย่างไม่ดีเช่นนั้น ก็จะพากันประพฤติปฏิบัติตาม โดยนัยดังกล่าวนี้เอง พระพุทธศาสนาก็วิปริตผิดเพี้ยน


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระพุทธเจ้าทรงตรัสถึง “อนาคตภัย”
 

หัวเราะลั่น หัวเราะลั่น หัวเราะลั่น
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 4.0.1 Firefox 4.0.1


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 31 พฤษภาคม 2554 08:30:58 »




ยิ้ม   ยิ้ม   ยิ้ม


บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
เถรวาท-พระศรีอาร์ยมาในปี 2500 มหายาน-พระศรีอาร์ยมาในปี 3000
ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน
phonsak 0 1903 กระทู้ล่าสุด 05 ตุลาคม 2553 23:51:18
โดย phonsak
มหายาน-หินยาน : มูลเหตุการเกิด ๒ นิกายในพุทธศาสนา
เกร็ดศาสนา
Kimleng 1 7301 กระทู้ล่าสุด 29 ตุลาคม 2556 12:43:10
โดย Kimleng
บทสนทนาธรรม ระหว่าง หลวงปู่ ติช นัท ฮันห์ กับ สุทธิชัย หยุ่น
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 1634 กระทู้ล่าสุด 27 มิถุนายน 2559 04:37:52
โดย มดเอ๊ก
Before I die มรณสนทนา ระหว่าง พระไพศาล และ คุณนิ้วกลม
ห้องวิปัสสนา - มหาสติปัฏฐาน 4
มดเอ๊ก 0 1182 กระทู้ล่าสุด 30 กรกฎาคม 2559 21:00:35
โดย มดเอ๊ก
เถรวาท มหายาน วัชรยาน พระโพธิสัตว์ ( อ.วรภัทร์ ภู่เจริญ )
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 2287 กระทู้ล่าสุด 29 ธันวาคม 2561 23:15:06
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.789 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 15 เมษายน 2567 15:55:28