[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
20 เมษายน 2567 01:17:18 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สัทธรรมปุณฑริกสูตร บทที่ 10 ธรรมภาณกปริวรรต ว่าด้วยผู้สอนธรรม  (อ่าน 5030 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 4.0.1 Firefox 4.0.1


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 31 พฤษภาคม 2554 15:02:03 »



http://i991.photobucket.com/albums/af40/visual-club/e0bf98ea.jpg
สัทธรรมปุณฑริกสูตร บทที่ 10 ธรรมภาณกปริวรรต ว่าด้วยผู้สอนธรรม

ศิลปิน พานทอง แสนจันทร์
พระสูตรสัทธรรมปุณฑรีกะ

วัดโพธิ์แมนคุณาราม
นายชะเอม แก้วคล้าย แปลจากต้นฉบับสันสกฤต

บทที่ 10
ธรรมภาณกปริวรรต
ว่าด้วยผู้สอนธรรม


        ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสกับพระโพธิสัตว์ 8 หมื่นองค์ โดยปรารภพระโพธิสัตว์มหาสัตว์ไภษัชยราชว่า "ดูก่อนไภษัชยราช ในบริษัทนี้ ท่านจงมองดู เทพ นาค ยักษ์ คนธรรพ์ อสูร ครุฑ กินนร มโหรคะ มนุษย์ อมนุษย์ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ผู้เป็นสาวกยาน ปัจเจกพุทธยาน และโพธิสัตวยาน จำนวนมาก ใครเล่า ได้ฟังคำบรรยายนี้ ต่อเบื้องพระพักตร์ของพระตถาคต (พระไภษัชยราชโพธิสัตว์) กราบทูลว่า "ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ย่อมเห็น ข้าแต่พระสุคต ข้าพระองค์ย่อมเห็น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า "ดูก่อนไภษัชยราช ได้ยินว่า พระโพธิสัตว์มหาสัตว์ทั้งปวง ที่อยู่ในบริษัทนี้ มีใครบ้าง ที่เคยสดับแม้คาถาหนึ่ง บทหนึ่ง หรือแม้ผู้ที่เคยอยู่มาก่อน ใครบ้างที่ได้สดับพระสูตรนี้แล้วยังจิตดวงหนึ่ง ให้เกิดขึ้นด้วยความยินดี ดูก่อนไภษัชยราย เราจักกระทำบริษัท 4 เหล่านี้ทั้งหมด ไว้ในอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ดูก่อนไภษัชยราช เขาทั้งหลายบางพวก จักได้สดับการบรรยายธรรมเช่นนี้ ของบพระตถาคต ผู้เสด็จปรินิพพานไปแล้ว แม้ได้ฟังเพียงคาถาเดียวแล้วยินดี ด้วยจิตที่เกิดขึ้นแม้เพียงครั้งเดียว ดูก่อนไภษัชยราช เราจักกระทำชนเหล่านั้น  ผู้เป็นกุลบุตร กุลธิดาไว้ในสัมมาสัมโพธิญาณ ดูก่อนไภษัชยราช กุลบุตรหรือกุลธิดาเหล่านั้น จักได้เป็นผู้บูชาพระพุทธเจ้า จำนวนพันร้อยหมื่นโกฏิอย่างสมบูรณ์ ดูก่อนไภษัชยราช กุลบุตรหรือกุลธิดาทั้งหลายเหล่านั้น จักตั้งประณิธานต่อพระพุทธเจ้าจำนวนร้อยพันหมื่นโกฏิ เพราะความอนุเคราะห์ต่อสัตว์ทั้งหลายพึงทราบเถอะว่า เขาเหล่านั้นจะเกิดเป็นมนุษย์ในชมพูทวีปอีก

ถ้าเขาได้ทรงจำ ท่อง เผยแพร่รวบรวม และจารึกไว้แม้เพียงคาถาเดียว จากธรรมบรรยายนี้ ครั้นจารึกแล้วจะระลึกถึงและพิจารณาตามกาลเวลา เขาทั้งหลาย จักยังความเคารพในพระตถาคตให้เกิดขึ้น จักสักการะด้วยความเคารพในพระศาสดา และจักทำความเคารพนับถือบูชาในคัมภีร์เล่มนี้ เขาเหล่านั้นจักบูชาคัมภีร์นั้นด้วยดอกไม้ ธูป พวงมาลัย ผงลูบไล้ จีวร ฉัตร และธงปฏาก เป็นต้น และด้วยกรรมคือการกราบไหว้ ดูก่อนไภษัชยราช กุลบุตรหรือกุลธิดาเหล่าใด จักทรงจำหรือยินดีแม้เพียงคาถาเดียว จากธรรมบรรยายนี้ ดูก่อนไภษัชยราช เราจักกระทำซึ่งกุลบุตรเหล่านั้นทั้งหมด ให้ดำรงอยู่ในอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ

        ดูก่อนไภษัชยราช หากบุรุษหรือสตรีคนใดก็ตามพึงกล่าวว่า "สัตว์ทั้งหลายผู้เป็นเช่นไร จักเป็นพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคต ดูก่อนไภษัชยราช กุลบุตรหรือกุลธิดา ที่บุรุษหรือสตรีนั้น พึงดูเป็นตัวอย่างคือ บุคคลใดทรงจำ สวด สอนซึ่งคาถาที่มีเพียง 4 บาท จากธรรมบรรยายนี้ ผู้นั้นเป็นผู้เคารพในคำบรรยายนี้ กุลบุตรหรือกุลธิดานี้นั้นจักได้เป็นพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคต ท่านจงดูเถิด ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร ดูก่อน ไภษัชยราช เพราะกุลบุตรหรือกุลธิดานั้น อันชาวโลกรวมทั้งเทวโลกพึงทราบว่า คือพระตถาคต บุคคลพึงสักการะต่อพระตถาคตด้วยประการฉะนี้ สาวกใดพึงจดจำ แม้เพียงคาถาเดียวจากธรรมบรรยายนี้ ยิ่งกว่านั้น พระสาวกพึงรวบรวม จดจำ ท่อง เผยแพร่ ประกาศ จารึก ให้จารึกซึ่งธรรมบรรยายนี้ ที่เข้าใจแล้วทั้งหมด(ที่บรรลุแล้วทั้งหมด) ครั้นจารึกแล้วพึงพิจารณาอยู่เสมอ เขาพึงทำความเคารพ สักการะ นับถือ บูชา นอบน้อมในพระสูตรนั้น ด้วยการสักการะ ด้วยดอกไม้ ธูป คันธมาลา ผงเครื่องลูบไล้ จีวร ฉัตร ธงปฏาก เครื่องดนตรี และนอบน้อมด้วยการอัญชลี ดูก่อนไภษัชยราช กุลบุตรหรือกุลธิดาเช่นนี้พึงทราบว่า เป็นผู้สมบูรณ์(ถึงพร้อม) ในอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ และถึงทราบว่า เป็นผู้พบเห็นพระตถาคคต เขาเป็นผู้อนุเคราะห์ประโยชน์แก่ชาวโลก จึงเกิดในชมพูทวีปนี้

ด้วยอำนาจของประณิธานนั้น เพื่อประกาศธรรมบรรยายนี้ แก่มนุษย์ทั้งหลาย บุคคลใด ยังมีความเอื้อเฟื้อของตน ความเอื้อเฟื้อในการสักการะ ต่อพระธรรมและการเข้าถึงพุทธเกษตรให้เกิดขึ้น ครั้นเมื่อ เราปรินิพพานแล้วพึงทราบว่า เขาเป็นผู้เข้าถึงประโยชน์เกื้อกูลของสัตว์ทั้งหลาย และอนุเคราะห์ประโยชน์แก่มนุษย์โลกนี้ ดูก่อนไภษัชยราช กุลบุตรและกุลธิดาเช่นนี้ ที่ควรทราบว่า คือ ตัวแทนของพระตถาคต ดูก่อนไภษัชยราช พึงทราบว่ากุลบุตรและกุลธิดาผู้นั้น เป็นผู้ได้พบพระตถาคต และได้ทำความเคารพพระตถาคตแล้ว ผู้ใดประกาศธรรมบรรยายนี้ ของพระตถาคตผู้ปรินิพพานแล้ว แม้กระทั่ง พึงประกาศหรือกล่าวแก่สัตว์เพียงบางคน ด้วยอาการหลบซ่อนในที่ลับ(ไม่เปิดเผย)

        ดูก่อนไภษัชยราช ได้ยินว่า สัตว์บางคนมีจิตทราม ชั่ว และน่ากลัว กล่าวคำคล้ายกับ ดูหมิ่น ต่อเบื้องพระพักตร์ของพระตถาคต ผู้ใดพึงได้ฟังคำหยาบ (วาจํ+อปริยำ) จะเป็นจริงหรือไม่จริงก็ตาม ของผู้สอนธรรม หรือผู้ทรงจำพระสูตรเหล่านั้น จะเป็นคฤหัสถ์หรือบรรพชิตก็ตาม เรากล่าวว่า "การกระทำอย่างนี้ เป็นบาปอย่างมหันต์ ดูก่อนไภษัชยราช เพราะเหตุไรเล่า เพราะพึงทราบว่า กุลบุตรหรือกุลธิดานั้น เป็นผู้ประดับด้วยเครื่องประดับของพระตถาคต ดูก่อนไภษัชยราช เมื่อเขานำพระตถาคตไปด้วยบ่า เขาได้คัดลอกธรรมบรรยายนี้ ทำให้เป็นหนังสือนำไปด้วยบ่า เขาก้าวไปทางใด สัตว์ทั้งหลายรวมทั้งเทวดาและมนุษย์ควรกราบไหว้เคารพ สักการะ นับถือ ยกย่อง บุชา เทิดทูนเขา ด้วยดอกไม้ ธูป คันธมาลา ผลลูบไล้ จีวร ฉัตร ธงปฏาก ดนตรี ขาทนียะ โภชนียะ ข้า น้ำ ยาน อันเลิศ และรัตนะ อันเป็นทิพย์ เขาซึ่งเป็นผู้บรรยายธรรมที่ทุกคนควรสักการะเคารพนับถือบูชา กองรัตนะอันเป็นทิพย์บุคคลพึงน้อมถวายแก่ผู้กล่าวธรรมนั้น เพราะเหตุไร เพราะผู้ใด ยังสัตว์ทั้งหลายให้ฟังธรรมบรรยายนี้ แม้เพียงครั้งเดียว สัตว์ทั้งหลาย ที่ประมาณไม่ได้ นับไม่ได้ จะตั้งอยู่ในพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณอย่างรวดเร็ว


        ขณะนั้นพระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า

1       สัตว์ทั้งหลายผู้ปรารถนา พระสวยัมภูญาณ ด้วยความปรารถนา ที่จะดำรงอยู่ในพุทธภาวะ พึงทำความเคารพ ผู้ทรงจำพระสูตรนี้ด้วย

2       ผู้ใด ปรารถนาพระโพธิญาณ แล้วคิดว่าทำอย่างไรหนอ พวกเราจะบรรลุพระโพธิญาณได้อย่างรวดเร็ว เขาควรท่องจำพระสูตรนี้ และควรเคารพบูชาผู้ทรงจำพระสูตรนี้

3       บุคคลที่พระโลกนาถส่งไป เพราะเหตุแห่งการสอน สรรพสัตว์ พึงท่องจำพระสูตรนี้ ที่มีประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งหลาย

4       บุคคลใน พึงทรงจำซึ่งพระสูตรนี้ ที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งหลาย บุคคลนั้นผู้เป็นปราชญ์ ได้สละการอุบัติที่ดีเสีย แล้วมาสู่โลกนี้

5       บุคคลผู้สอน (กล่าว) พระสูตรอันประเสริฐนี้ ในภายหลังตามความปรารถนาที่เกิดขึ้น ย่อมเป็นที่ปรากฏในโลกนี้

6       บุคคลพึงสักการะ เคารพ ผู้กล่าวธรรม ด้วยดอกไม้ทิพย์และของหอมทั้งปวงอันเป็นของมนุษย์ พึงประดับด้วยเสื้อผ้าอันเป็นทิพย์และรัตนะทั้งหลาย

7       บุคคล พึงประคองอัญชลีเป็นนิตย์ ต่อผู้ทรงจำพระสูตรนี้ของพระตถาคต ผู้ปรินิพพานแล้ว ในกาลสุดท้ายอันน่ากลัวนี้ ราวกับว่าเขาคือพระชินเจ้าและพระสวยัมภู

8       บุคคลพึงถวายวัตถุเครื่องบูชา คือขาทนียะ โภชนียะ ข้าว น้ำ วิหาร ที่นอน ที่นั่งและผ้า(จีวร) จำนวนโกฏิ แก่พระชินบุตร ผู้กล่าวพระสูตรนี้ แม้เพียงครั้งเดียว


9       ผู้ใดพึงเขียน ท่อง และฟังพระสูตรนี้ในกาลสุดท้าย ผู้นั้น เราได้ส่งมาสู่โลกมนุษย์เพื่อทำงานให้แก่พระตถาคต

10     บุคคล ผู้มีจิตวิปริต ทำหน้านิ่วคิ้วหมวด ยืนอยู่เบื้องพระพักตร์ของพระชินเจ้า พึงกล่าวคำตำหนิ จะเป็นผู้เสวยบาปกรรมอย่างหนัก ตลอดหนึ่งกัลป์เต็ม

11     บุคคลใดโกรธ พึงกล่าวคำตำหนิ ผู้ทรงจำพระสูตรที่กำลังแสดงพระสูตรนี้อยู่ เรากล่าวว่า บาปกรรมของบุคคลนั้นหนักยิ่งกว่า

12     บุคคล ผู้แสวงหาพระสัมมาสัมโพธิญาณ อันประเสริฐนี้ พึงประคองอัญชลีกล่าวสดุดีเราต่อหน้า สิ้นหนึ่งกัลป์บริบูรณ์ ด้วยคาถาจำนวนหมื่นโกฏิมิใช่น้อย

13     บุคคลผู้มีจิตยินดี สรรเสริญเรา พึงได้บุญเป็นอย่างมาก แต่บุคคล (มนุษย์) ผู้กล่าวคำสรรเสริญผู้บรรยายธรรม ย่อมได้บุญมากกว่า

14     บุคคลที่ทำการบูชา ณ ปูชนียวัตถุ ด้วยศัพท์(เสียง) รูป(กาย) รส(ของถวาย)ของหอมอันเป็นทิพย์และสัมผัสอันเป็นทิพย์ตลอด 28000โกฏิกัลป์นั้น

15     แต่ผู้ที่ได้ฟังพระสูตรนี้ แม้เพียงครั้งเดียว จะมีลาภอันประเสริฐ และยิ่งใหญ่กว่า ผู้ทำการบูชา ที่ปุชนียวัตถุสิ้น 18,000โกฏิกัลป์นั้น

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 4.0.1 Firefox 4.0.1


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 31 พฤษภาคม 2554 15:22:45 »




 ดูก่อนไภษัชยราช เราจะบอกแก่ท่าน เราจะบอกเฉพาะท่านเท่านั้น ดูก่อนไภษัชยราชเพราะว่า เราได้แสดงธรรมบรรยายมาแล้วจำนวนมาก ทั้งที่กำลังแสดงอยู่ และจักแสดงต่อไป ดูก่อนไภษัชยราช ธรรมบรรยายของเราทั้งปวงนั้น ธรรมบรรยายนี้ ย่อมเป็นที่ตั้งแห่งการคัดค้านของชาวโลกทั้งปวง ย่อมเป็นที่ตั้งแห่งการไม่ศรัทธาของชาวโลกทั้งปวง ดูก่อนไภษัชยราช นี้คือธรรมอันลึกซึ้งทางจิตของพระตถาคต ต้องรักษาด้วยกำลังของพระตถาคต ซึ่งเป็นสถานะที่ไม่เคยเปิดเผย ไม่เคยของกล่าวมาก่อน ดูก่อนไภษัชยราช ธรรมบรรยายนี้ของพระตถาคต ผู้ดำรงอยู่ประชาชนจำนวนมาก ยังบอกปัด จะป่วยกล่าวไปใยหลังพระตถาคตนิพพานแล้วเล่า ดูก่อนไภษัชยราช ได้ยินว่าพึงทราบว่า กุลบุตรกุลธิดาเหล่านั้น ได้เป็นผู้ครองจีวรของพระตถาคต พลังแห่งกุศลมูล และพลังแห่งประณิธาน ซึ่งเป็นของเฉพาะตนจักมีแก่กุลบุตรกุลธิดาเหล่านั้น ดูก่อนไภษัชยราช กุลบุตรกุลธิดาเหล่านั้น จักเป็นผู้อาศัยอยู่ในสถานที่แห่งเดียวกัน คือ วิหารของพระตถาคต เขาเหล่านั้นจักเป็นผู้มีศีรษะ อันฝ่าพระหัตถ์ของพระตถาคตลูบแล้ว เขาเหล่านั้น จักเชื่อ อ่าน เขียน สักการะ บูชา และยังชนกลุ่มอื่น ให้ฟังธรรมบรรยายนี้ ของพระตถาคตผู้ปรินิพพานไปแล้ว

        ดูก่อนไภษัชยราช ในแผ่นดินและประเทศใดก็ตาม ที่มีการบรรยาย เทศนา คัดลอก เรียน ท่องบ่นธรรมบรรยายนี้ ดูก่อนไภษัชยราช ในแผ่นดินและประเทศนั้น ควรก่อสร้างเจดีย์ของพระตถาคต ให้สูงใหญ่และประดับด้วยรัตนะอย่างเรียบง่าย ไม่จำเป็นต้องบรรจุพระสรีรธาตุของพระตถาคตไว้ในเจดีย์นั้น เพราะเหตุไร เพราะว่าในแผ่นดินและประเทศใดก็ตาม ที่มีการบรรยาย เทศนา อ่าน ท่องจำ คัดลอก เขียน และทำเป็นคัมภีร์ ซึ่งธรรมบรรยายนี้ พระสรีรธาตุของพระตถาคต ได้รวมเป็นหนึ่งเดียวอยู่ในแผ่นดินและประเทศนั้น บุคคลควรทำการสักการะเคารพ นับถือ บูชานอบน้อม ที่สถูปนั้น ด้วยดอกไม้ ธูป คันธมาลา ผงลูบไล้ จีวร ฉัตร ธงปฏาก และธงมาลา(ไวชยันตี) ทั้งปวง พึงทำการบูชาด้วยเพลงขับดนตรี การฟ้อน เครื่องดนตรี นักฟ้อน(ตาลาวจซ) การขับลำนำ และการโห่ร้องทั้งปวง ดูก่อนไภษัชยราช สัตว์เหล่าใด ได้สร้างเจดีย์ของพระตถาคตไว้ เพื่อไหว้บูชาหรือชื่นชม ดูก่อนไภษัชยราช สัตว์เหล่านั้นทั้งปวง พึงทราบว่าเป็นผู้อยู่ใกล้ชิดอย่างยิ่ง ต่ออนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ข้อนั้นเพราะเหตุไร ดูก่อนไภษัชยราช เพราะคฤหัสถ์และบรรพชิตจำนวนมาก ประพฤติวัตรของพระโพธิสัตว์ แต่ไม่ได้เห็น ฟัง เขียน หรือบูชา ธรรมบรรยายนี้ ดูก่อนไภษัชยราชตราบใด ที่พวกเขาไม่ได้ฟังธรรมบรรยายนี้ พวกเขาจะไม่ฉลาดในโพธิสัตว์วัตร ตราบนั้น ส่วนชนเหล่าใด ได้ฟังธรรมบรรยายนี้ ครั้งฟังแล้ว ย่อมหลุดพ้น ข้ามพ้น รู้แจ้ง น้อมรับไว้ ในสมัยนั้น เขาจักยืนอยู่ใกล้ชิดอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ

        ดูก่อนไภษัชยราช เหมือนบุรุษบางคน เป็นผู้ที่ต้องการน้ำ จึงแสวงหาน้ำ เขาพึงขุดบ่อเพื่อน้ำในที่ดินแห้งแล้ง เขาเห็นทรายที่ขุดออกมานั้น แห้งและเป็นสีแดงเพียงใด เข้าพึงรู้ว่าน้ำยังลึกอยู่ กาลต่อมา เขาเห็นทรายที่ขุดออกมานั้น ผสมน้ำ มีโคลนตม มีหยดน้ำซึมออกอยู่และพึงเห็นบุรุษทั้งหลายผู้ขุดบ่อ มีกายเปื้อนด้วยโคลนตม ดูก่อนไภษัชยราช เมื่อเห็นนิมิตที่เกิดต่อหน้าอย่างนั้น  เขาจึงหมดความสงสัยและมั่นใจว่า ใกล้จะถึงน้ำแล้ว ดูก่อนไภษัชยราช พระโพธิสัตว์มหาสัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ ย่อมห่างไกลอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณตราบเท่าที่พวกเขาไม่ได้ฟัง ไม่ได้ปฏิบัติ ไม่ได้ยึดถือ ไม่เข้าใจและไม่พิจารณาธรรมบรรยายนี้ ดูก่อนไภษัชยราช เมื่อใดพระโพธิสัตว์มหาสัตว์เหล่านี้ ได้ฟัง ปฏิบัติ ท่อง จำ เข้าใจ เรียน พิจารณา เจริญภาวนา เมื่อนั้น พวกเขาชื่อว่าอยู่ใกล้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ดูก่อนไภษัชยราชอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ย่อมเกิดแก่สัตว์ทั้งหลาย จากธรรมบรรยายนี้ เพราะเหตุไร เพราะธรรมบรรยายนี้ ได้อธิบายพระดำรัสที่ตรัสรวมอย่างลึกยิ่ง โดยพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า สถานะอันลึกล้ำของพระธรรม พระตถาคตได้ตรัสไว้แล้ว เพื่อให้เป็นเหตุแห่งการบรรลุของพระโพธิสัตว์มหาสัตว์ทั้งหลาย ดูก่อนไภษัชยราช พระโพธิสัตว์ผู้ใด ฟังตระหนกขยาด ถึงความกลัวต่อธรรมบรรยายนี้ ดูก่อนไภษัชยราช พึงทราบว่า พระโพธิสัตว์มหาสัตว์ผู้นั้น เพิ่งเข้ามาสู่ยานนี้ ถ้าบุคคลใด ผู้นับถือสาวกยานพึงตระหนก ขยาด และถึงความกลัวต่อธรรมบรรยายนี้ ดูก่อนไภษัชยราช พึงทราบว่า เข้าผู้นั้น ซึ่งมีความนับถือมาก ยังเป็นบุคคลสาวกยานอยู่

         ดูก่อนไภษัชยราช พระโพธิสัตว์มหาสัตว์ผู้ใด พึงประกาศธรรมบรรยายนี้ แก่บริษัท 4 ในกาลสมัยสุดท้าย ดูก่อนไภษัชยราช พระโพธิสัตว์มหาสัตว์นั้น พึงเข้าไปสู่ที่ประทับของพระตถาคต พึงครองจีวรของพระตถาคต พึงนั่งบนอาสนะของพระตถาคต แล้งพึงประกาศธรรมบรรยายนี้แก่บริษัท 4 ดูก่อนไภษัชยราช ที่ประทับของพระตถาคตเป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนไภษัชยราช วิหารคือความเมตตาต่อสัตว์ทั้งปวง คือที่ประทับของพระตถาคต ในที่นั่นเองที่กุลบุตรพึงเข้าไป ดูก่อนไภษัชยราช จีวรของพระตถาคตเป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนไภษัชยราชความพอใจในความอดทนที่ใหญ่หลวง คือจีวรของพระตถาคต สิ่งนั่นเอง ที่กุลบุตรกุลธิดาพึงได้ครอง ดูก่อนไภษัชยราช ธรรมาสน์ของพระตถาคตเป็นอย่างไรเล่า? การเข้าถึงศูนยตาแห่งธรรมทั้งปวงคือธรรมาสน์ของพระตถาคต ซึ่งกุลบุตรพึงนั่งบนธรรมาสน์นั้น ครั้งได้ฟังแล้วกุลบุตรพึงประกาศธรรมบรรยายนี้แก่บริษัท 4 พระโพธิสัตว์ ผู้มีจิตไม่หวั่นไหว พึงประกาศธรรมบรรยายนี้แก่บริษัท 4 ที่ดำรงอยู่ในโพธิสัตวยาน ต่อหน้าคณะของพระโพธิสัตว์ ดูก่อนไภษัชยราช เราผู้ดำรงอยู่ในโลกธาตุอื่น จักยังบริษัททั้งหลาย ให้คล้อยตามด้วยการนิรมิตแก่กุลบุตรนั้น และเราจักส่งภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ที่เรานิรมิตแล้วมาเพื่อฟังธรรมชนเหล่านั้น จักไม่เบียดเบียน ไม่ปฏิเสธ คำสอนของผู้บรรยายธรรมนั้น ถ้าหากว่า กาลต่อมาเข้าไปสู่ป่า เราก็จักส่งเทวดา นาค ยักษ์ คนธรรพ์ อสูร ครุฑ กินนรและมโหรคะ จำนวนมากไปเพื่อฟังธรรม ดูก่อนไภษัชยราช เราผู้อยู่ในโลกธาตุอื่น จักปรากโอมหน้าต่อกุลบุตรนั้นบทและพยัญชนะเหล่าใดจากธรรมบรรยายนี้ พึงตกหล่นไป เราจะแนะน้ำบทพยัญชนะเหล่านั้นแก่ผู้บรรยายธรรมนั้น ผู้ทบทวนอยู่


        ได้ยินว่า  ขณะนั้น พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า

16     บุคคลพึงสละความกังวลทั้งปวง แล้วพึงฟังพระสูตรเช่นนี้ เพราะว่า การฟังเป็นสิ่งที่หาได้โดยยาก แต่การหลุดพ้นของเขา เป็นสิ่งที่หาได้โดยยากเช่นกัน

17     เหมือนบุรุษบางคน ผู้ต้องการน้ำ พึงขุดบ่อในที่แห้งแล้ง ในขณะที่ขุดนั้น เข้าได้เห็นทรายแห้งครั้งแล้วครั้งเล่า

18     ครั้นเห็นแล้ว เขาคิดว่า ในที่นี้น้ำยังอยู่ลึกมาก เพราะทรายแห้งที่ขุดออกมานั้น เป็นเครื่องหมายว่าน้ำยังอยู่ลึก

19     ต่อมา เขาได้เห็นทรายเปียกและชุ่ม เขาจึงมีความหวังว่า ในที่นี้น้ำคงอยู่ไม่ลึกนัก


20     บุคคลทั้งหลาย ผู้เช่นนั้นย่อมอยู่ ในที่ห่างไกลจากพระโพธิญาณ เพราะเขายังไม่ได้รับการอบรม ยังไม่ได้ฟังพระสูตรนี้

21     ส่วนชนทั้งหลายได้ฟัง ได้พิจารณาพระสูตรใหญ่นี้เป็นนิตย์ ซึ่งเป็นสูตรที่ลึกซึ้งและสิ้นความสงสัยของพระสาวกทั้งหลาย

22     เข้าเหล่านั้น เป็นผู้ฉลาด เป็นผู้อยู่ใกล้พระโพธิญาณ เหมือนทรายเปียกที่บ่งบอกว่า น้ำย่อมมีในที่ใกล้

23     ผู้เป็นบัณฑิต เมื่อเข้าไปสู่ที่ประทับของพระชินเจ้า ได้ครองจีวร ได้นั่งบนอาสนะของเรา เป็นผู้ไม่หวั่นไหว เมื่อแสดง(พระสูตรนี้)


24     พลังแห่งเมตตาคือที่ประทับ ความอดทนคือจีวร และศูนยตาคืออาสนะของเราบัณฑิตควรดำรงอยู่ในคุณธรรมนี้แล้ว พึงแสดง(ธรรม)

25     ถ้าหากว่า ก้อนดิน ท่อนไม้ หอก คำสาปแช่ง หรือคำนินทาพึงมีแก่ผู้แสดงธรรม เขาควรระลึกถึงธรรมนั้นของเรา พึงอดทนต่อคำหยาบเหล่านั้น


26     ความเป็นตัวตนของเรา ย่อมมีมากในพันโกฏิกัลป์แห่งดินแดนทั้งหลาย เราย่อมแสดงธรรมแก่สัตว์ทั้งหลายสิ้นโกฏิกัลป์ จนไม่อาจคำนวณได้

27     แม่เมื่อเราปรินิพพานแล้ว เราจะส่งรูปนิมิต จำนวนมากมาให้แก่ผู้กล้าหาญของเรา ที่แสดงพระสูตรนี้

28     บริษัททั้งหลาย คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาจักรวมกันทำการบูชาแก่เรา

29     ถ้าคนทั้งหลายจะทำรายเขา ด้วยก้อนดิน ท่อนไม้ คำสาปแช่ง คำขู่ และคำด่า รูปนิมิตเหล่านั้นจักป้องกันเขาได้

30     ในกาลใด เขาจะอยู่ศึกษาเพียงผู้เดียว ในสถานที่อันสงัดจากบุคคล จะเป็นป่า หรือภูเขาก็ดี

31     ต่อจากนั้น เราจักแสดงตน ที่เลิศด้วยโอภาสแก่เขา จะให้เขาระลึกถึงคำสอนที่เคยจารึกไว้อีกครั้งหนึ่ง

32     เมื่อเขา เที่ยวไปในป่าเพียงผู้เดียว เราจักส่งเทวดาและยักษ์ทั้งหลายมาเป็นสหายของเขา เพื่อเขาจะได้ผู้ไม่เดี่ยวดาย

33     คุณธรรมเช่นนี้ ย่อมมีแก่เขาผู้แสดงธรรมแก่บริษัท 4 เมื่อเขาอยู่ตามลำพังในวิหาร ป่าหรือถ้ำ ทำการศึกษาอยู่ เขาก็จักเห็นเรา

34     ประติภาณของเขา ย่อมไม่ติดขัด เพราะเข้าใจการบรรยายธรรมอย่างหลากหลาย จึงยังสัตว์จำนวนพันโกฏิให้ยินดีได้ เพราะพระพุทธเจ้าให้เขาชำนะ

35     สัตว์ทั้งหลาย ผู้อาศัยอยู่กับเขา ทุกคนจักได้เป็นพระโพธิสัตว์ในไม่ช้า เมื่อใช้การเดินทางร่วมกัน จักเห็นพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ประมาณเท่าเมล็ดทรายในแม่น้ำคงคา

บทที่ 10 ธรรมภาณกปริวรรต ว่าด้วยผู้สอนธรรม
ในธรรมบรรยาย สัทธรรมปุณฑรีกสูตร อันประเสริฐ
มีเพียงเท่านี้



http://www.mahayana.in.th/tmayana/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%81/สัทธรรมปุณทรีกะบท8-9-10.htm

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 25 มิถุนายน 2554 13:56:07 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: เพิ่มภาพค่ะ » บันทึกการเข้า
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 11.0.696.71 Chrome 11.0.696.71


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 02 มิถุนายน 2554 21:43:23 »

โมทนาสาธุธรรมครับ

ชอบภาพประกอบมากเลยครับ เห็นแล้วนึกถึงงานของรุ่นพี่คนนึง

 ยิ้ม ยิ้ม ยิ้ม
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
คำค้น: พระสูตร ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ ตรวจสอบ นายชะเอม แก้วคล้าย แปล  วัดโพธิ์แมน 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
สัทธรรมปุณฑริกสูตร บทที่ 12 อุตสหปริวรรต ว่าด้วยความเพียรพยายาม
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
เงาฝัน 0 2394 กระทู้ล่าสุด 19 มิถุนายน 2554 20:20:52
โดย เงาฝัน
สัทธรรมปุณฑริกสูตร บทที่ 14 ว่าด้วยพระโพธิสัตว์ผุดขึ้นจากรอยแยกของแผ่นดิน
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
เงาฝัน 4 5274 กระทู้ล่าสุด 20 มิถุนายน 2554 22:39:00
โดย เงาฝัน
สัทธรรมปุณฑริกสูตร บทที่ 15 ว่าด้วยประมาณอายุกาลของพระตถาคต
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
เงาฝัน 0 2891 กระทู้ล่าสุด 21 มิถุนายน 2554 09:53:27
โดย เงาฝัน
สัทธรรมปุณฑริกสูตร บทที่ 17 ว่าด้วยการแสดงบุญจากการอนุโมทนา
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
เงาฝัน 0 2651 กระทู้ล่าสุด 22 มิถุนายน 2554 21:13:11
โดย เงาฝัน
สัทธรรมปุณฑริกสูตร บทที่ 18 ว่าด้วยอานิสงส์ของผู้กล่าวธรรม
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
เงาฝัน 1 3074 กระทู้ล่าสุด 23 มิถุนายน 2554 12:11:33
โดย เงาฝัน
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.599 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 05 เมษายน 2567 11:03:12