[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
02 ธันวาคม 2567 21:27:23 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  

หน้า:  1 [2]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: รวมธรรมบรรยายของ หลวงพ่อปัญญา  (อ่าน 25768 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 01 พฤษภาคม 2553 13:18:09 »




รวมธรรมบรรยายของ หลวงพ่อปัญญา  



มองทุกข์ให้เห็น จึงเป็นสุข

ทุกข์เท่านั้นเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป เรื่องของความสุขนั้นเป็นสิ่งที่เราต้องการกันทั้งนั้น ไม่มีใครเลยต้องการความทุกข์ความเดือดเนื้อร้อนใจ แต่ว่าโดยธรรมะชั้นสูงของพระพุทธศาสนานี่พระพุทธเจ้าท่านสอนให้เรารู้ว่าในโลกนี้ไม่มีความสุข มันมีแต่ความทุกทั้งนั้น ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นที่ตั้งอยู่ ทุกเท่านั้นที่ดับไป นอกจากทุกข์หามีอะไรไม่

พระพุทธศาสนาสอนเรื่องความทุกข์ สอนเหตุให้เกิดทุกข์ สอนเรื่องทุกข์เป็นเรื่องที่ดับได้ แล้วก็สอนวิธีว่า จะดับทุกข์ได้อย่างไร อันนี้เป็นสัจจะ เป็นความจริงที่มีอยู่ในโลก ความสุขนั้นหามีไม่ มีแต่ความทุกข์ แต่เราก็เรียกว่ามีความสุขที่เรียกว่ามีความสุขก็เพราะว่า ทุกข์มันลดน้อยลงไป สมมติว่าเป็นตัวเลขว่า ทุกข์มัน 100 ถ้าลดลงไปอีก 5 เราก็เรียกว่าเป็นความสุขแล้ว เป็นความสุขเพียง 5 เท่านั้นเอง แต่ว่าอีก95 นั้นยังเป็นความทุกข์อยู่ หรือถ้าลดลงไปอีกสัก 10 เราก็มีทุกข์อยู่อีกตั้ง 90 ลดลงไปอีก 95

ก็ยังมีทุกข์อยู่อีกตั้ง 5 มันก็ยังมีทุกข์อยู่นั่นเองมันเป็นอย่างนี้ โลกนี้มีแต่ความทุกข์ ถ้าทุกข์ลดลงไปหน่อย ก็เรียกว่า เป็นความสุขเท่านั้นเอง แต่ว่าท่านก็ไม่เรียกว่าเป็นความสุขอีกแหละ ท่านเรียกว่านั่นคือที่สุดของความทุกข์ ใช้คำบาลีว่า "อันโต ทุกขัสสะ" แปลว่า นั่นเป็นที่สุดของความทุกข์ คือว่าทุกข์มันจบเพียงเท่านั้น หมดทุกข์ก็ถึงนิพพาน นิพพานก็คือการดับทุกข์ได้

ตราบใดที่ยังมีชีวิตถ้าจิตยังไม่ถึงปัญญา เราก็ยังจะต้องมีความทุกข์ที่จะต้องทนต่อไป ทนเรื่อยไป จนกว่าเราจะมีปัญญารู้แจ้งเห็นจริงในสิ่งนั้นตามสภาพที่เป็นจริง แล้วเราก็ไม่ต้องทนทุกข์อีกต่อไป จิตของเราไปถึงจุดหมาย คือที่สุดของความทุกข์......



บันทึกการเข้า
 
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #21 เมื่อ: 01 พฤษภาคม 2553 17:01:51 »


http://img49.imageshack.us/img49/6030/135029.jpg
รวมธรรมบรรยายของ หลวงพ่อปัญญา


แล้วเราจะอยู่ด้วยความทุกข์ดี หรือว่าจะอยู่ด้วยความสุขใจความเบาใจดี ถามตัวเองอย่างนี้ ก็คงจะตอบตัวเองได้ว่าอยู่ด้วยความเบาใจสบายใจดีกว่า ทำอย่างไรจึงจะสบายใจ ทำอย่างไรจึงจะเบาใจ จะนึกจะคิดอย่างไรใจจะสบาย ต้องถามตัวเองต่อไป ก็รู้ได้ว่าถ้าเราคิดอย่างนั้นเราเป็นทุกข์ ความคิดที่ทำให้เกิดทุกข์นั่นคิดไปทำไม หน้าต่างบานไหนเปิดแล้วมันมีแต่กองขยะมูลฝอย เราจะไปเปิดบานนั้นทำไม เอาไม้ตีปิดเสียเลยอย่าให้มันเปิดได้ แต่บานไหนเปิดไป เห็นสนามหญ้าสวยมีดอกไม้งามๆ เราก็เปิดบานนั้น เปิดไปก็เห็นสีเขียวสดชื่น สบายใจ ฉันใด

ความคิดของเรานี้เหมือนกัน ถ้าเราคิดเรื่องใดกลุ้มใจเราควรจะหยุดคิดจากเรื่องนั้น แต่ว่าการหยุดคิดไม่ใช่เรื่องง่ายเหมือนกัน ต้องค่อยทำค่อยไป ค่อยคิดปัญหาเหล่านี้ ต้องค่อยสอนตัวเอง ค่อยบอกตัวเองไว้ตลอดเวลา อย่าให้เกิดความร้อนอกร้อนใจที่มีความทุกข์มากเกินไปจากปัญหาเหล่านั้น ไม่กี่วันก็พ้นจากความทุกข์ความเดือดร้อนได้ ไม่ต้องตรมตรอมใจมากเกินไป เพราะได้ธรรมะคือได้รู้ว่าอะไรเป็นอะไรถูกต้องตามความเป็นจริง อันนี้เรียกว่าช่วยแก้ได้ ธรรมช่วยแก้ปัญหาได้ในชีวิตประจำวัน

ทั้งนี้เราได้ศึกษาสัจธรรม อันเป็นคำสอนชั้นสูงในทางศาสนา มองเห็นสิ่งทั้งหลายทั้งปวง ว่ามีการเกิดขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงไป แล้ว ผลที่สุดก็แตกดับด้วยกันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นคนหรือเป็นสัตว์ เป็นต้นไม้ แม้โลกของเรานี้ วันหนึ่งมันอาจจะแตกไปก็ได้ แต่ว่ามันจะแตกเมื่อไหร่ก็ไม่รู้ ไม่ต้องไปนั่งกลัวว่าโลกมันจะแตก หรือไม่ต้องกลัวว่าดาวพระอังคารมาชนโลกแหลกลาญไป ไม่ต้องหวาดกลัวถึงขนาดนั้น

เหมือนกับพวกที่เชื่อโหรเมื่อ 3 ปีก่อนโน้น เขาเชื่อกันว่าอย่างไร แล้วก็ตกใจกัน ไม่กล้าอยู่ในบ้านในช่อง หอบลูกหลานไปนั่งกันอยู่ในสนามหญ้า เพราะกลัวว่ามีเหตุเกิดขึ้นในโลกกลัวจนไม่สบาย ไปนั่งอยู่ในสนามมันก็ยังเป็นทุกข์อยู่นั่นเองแต่เมื่อเราคิดได้ว่าถ้ามันมีจริง ไม่ใช่เราคนเดียวที่ต้องรับสิ่งนี้ หลายคนร่วมรับกับมัน เป็นธรรมดา ธรรมชาติลงโทษมนุษย์ที่ทำบาปมานานแล้ว ให้รู้สึกตัวเสียบ้าง เราก็ยินดีจะรับสิ่งนั้นด้วยหน้าชื่นตาบาน มันก็ไม่มีเรื่องอะไร ไม่มีความทุกข์ความเดือดร้อน แต่ถ้าคิดปฏิเสธหนีเรื่อยไป มันก็ทุกข์เรื่อยไป อันนี้เป็นข้อคิดที่น่าคิดอยู่เหมือนกัน

จึงนำมาพูดฝากญาติโยมทั้งหลายที่ได้มาประชุมกันในวันนี้เพื่อฟังธรรมะ จะได้รู้ว่า ชีวิตของเรานี้จะต้องใช้ธรรมะอย่างไร และควรจะปฏิบัติอย่างไร เพื่อแก้ไขสถานการณ์อันเกิดขึ้นกับวิถีชิวิตในวันหนึ่งๆ เราก็จะอยู่ได้โดยปลอดภัยมีความสบายอกสบายใจตลอดเวลา

ดังที่กล่าวมาเพื่อเป็นเครื่องเตือนใจญาติโยมทั้งหลาย ขณะนี้ก็สมควรแก่เวลา ขอยุติไว้แต่เพียงเท่านี้






มีต่อค่ะ
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #22 เมื่อ: 31 พฤษภาคม 2553 00:56:49 »



แหล่งเกิดความทุกข์
อาทิตย์ ที่ 1 ตุลาคม 2515

ญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลาย

ณ บัดนี้ถึงเวลาของการฟังปาฐกถาธรรมะ อันเป็นหลักคำสอนในทางพระพุทธศาสนาแล้ว ขอให้ทุกท่านอยู่ในอาการสงบ ตั้งอกตั้งใจฟังให้ดี เพื่อให้ได้ประโยชน์อันเกิดขึ้นจากการฟังตามสมควรแก่เวลา

วันนี้ในตอนเช้าฝนตกลงมาห่าใหญ่ที่วัดชลประทานฯ น้ำที่ข้างบันใดศาลามากหน่อย ญาติโยมที่เดินขึ้นศาลาก็ต้องลุยน้ำนิดหน่อยอันเป็นเรื่องที่ช่วยไม่ได้ เพราะมันเป็นเรื่องของธรรมชาติ ฝนฟ้าอากาศมันก็ต้องตกไปตามเรื่องตามราว เราอยู่ในโลกก็ต้องการทั้งแดดทั้งฝน แต่ว่าความต้องการของมนุษย์นี่บางทีมันก็ขัดกัน บางที่ฝนตกไม่ชอบ บางทีแดดออกไม่ชอบ ลมพัดจัดก็ไม่ชอบ อย่างโน้นอย่างนี้ ก็ไม่ใคร่เป็นที่ชอบใจ อะไรๆ ในโลกนี้ ก็ไม่ใคร่เป็นที่ชอบใจ อะไรๆ ในโลกนี่จะเหมือนใจทุกอย่างไม่ได้ สิ่งทั้งหลายก็เป็นไปตามอำนาจของธรรมชาติ เราก็ต้องปลูกความรู้สึกในใจให้เกิดความพอดีๆ กับสิ่งเหล่านั้น คือให้รู้สึกในใจให้เกิดความพอดีๆ กับสิ่งเหล่านั้น คือให้รู้สึกพอใจแล้วก็สบาย แต่ถ้าไม่รู้สึกพอใจในเรื่องอะไรๆ ก็เกิดความทุกข์ความเดือดร้อนในชีวิตประจำวัน

ในทางธรรมะจึงสอนเราให้รู้จักสันโดษ หมายความว่า พอใจในสิ่งที่เราประสพอยู่เฉพาะหน้า คืออะไรเกิดขึ้นเฉพาะหน้า เราก็นึกพอใจในสิ่งนั้น ความพอใจในสิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า คือสันโดษ เป็นศิลปะของความสุขความสบายในทางจิตใจ ในขณะใดที่เรามีความพอใจในเรื่องอะไรๆ ที่เกิดขึ้น เราก็รู้สึกสบายใจ ยิ้มได้ แต่ว่าในขณะใดที่เรารู้สึกขัดใจ ไม่ชอบใจ ในสิ่งที่เกิดมีอยู่เฉพาะหน้า ในขณะนั้นเราก็มีความทุกข์ มีความไม่สบายใจ อันความทุกข์ความเดือดร้อนใจนี่ ใครๆ ก็ไม่ค่อยชอบ ไม่ค่อยต้องการแต่ว่าพอเผลอ ความทุกข์ก็เกิดขึ้นในตัวเราได้ ที่ความทุกข์เกิดขึ้นได้ ก็เพราะความประมาท เผลอไป ไม่ได้ใช้ปัญญาคิดจึงตรึกตรองในเรื่องนั้น มองอะไรก็มองแต่เพียงแง่เดียว ไม่มองไปในแง่ที่ว่า มันเป็นความจริงอย่างไร คุณ โทษ ประโยชน์ มิใช่ประโยชน์ ของสิ่งนั้นเป็นอย่างไร เรามองไม่ชัดเจนตามที่เป็นจริง เมื่อมองเห็นอะไรๆไม่ชัดเจนตามที่มันเป็นจริง ก็เป็นเหตุให้เกิดความทุกข์ ความเดือดร้อนในใจได้
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #23 เมื่อ: 31 พฤษภาคม 2553 01:02:42 »


เพราะฉะนั้น ในทางพระพุทธศาสนา จึงมีหลักคำสอนว่า จงมองทุกสิ่งทุกอย่างตามที่มันเป็นจริง ท่านใช้ศัพท์เทคนิคในทางธรรมะว่า ยถาภูตญาณทัสสนะ คำว่า "ยถาภูตญาณทัสสนะ" ถ้าแปลก็หมายความว่า "เห็นอะไรๆ ทุกอย่างตามที่มันเป็นจริงๆ" ความจริงของสิ่งนั้นมันเป็นอย่างไร เราก็มองให้เห็นชัดในสิ่งนั้น ในขณะใดที่เรามองเห็นสิ่งนั้น ชัดแจ้งตามที่มันเป็นจริง ความหลงไม่มี ความยึดถือในสิ่งนั้นก็ไม่มี ใจเราก็ว่างจากความยึดถือ เมื่อใจว่างจากความยึดถือ เราก็มีความสงบใจ

เพราะฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าท่านจึงสอนเราให้หัดมองอะไรทุกอย่าง ที่ผ่านเข้ามาในวิถีชีวิตของเรา ให้รู้ชัดเห็นชัดตามที่เป็นจริงอยู่ตลอดเวลา อันการที่เราจะมองอะไรให้เห็นชัดนั้น ก็ต้องศึกษาให้รู้ธรรมะ เพื่อเอามาใช้เป็นแว่นประกอบการมอง ประกอบการพิจารณาในสิ่งนั้นๆ จะได้รู้เข้าใจชัดเจนขึ้น เราจึงต้องมาวัดฟังธรรมบ้าง อ่านหนังสือทางศาสนาบ้าง สนทนาแลกเปลี่ยน ความคิดความเห็นในด้านธรรมะกับผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจบ้าง

แต่ว่าในเรื่องการสนทนากันนั้น อยากจะแนะนำไว้อันหนึ่ง คืออย่าสนทนากันด้วยความยึดติดในทิฏฐิ ความคิดความเห็นของตน คนเราเวลาที่สนทนาอะไรกันมักจะโต้เถียงกันหน้าดำหน้าแดง การเถียงกันในรูปอย่างนั้นเป็นการพูดธรรมะที่ไม่เป็นธรรมะ แต่ว่าเอาตัวของตัวเข้าไปพูด ตัวของตัวก็เป็นตัวแห่งความยึดความติดในทิฏฐิอะไรบางสิ่งบางประการ สำคัญว่าเรื่องของตัวนั้นเป็นเรื่องถูก เรื่องของผู้อื่นเป็นความผิด ทีนี้เมื่อไปคุยกับใคร ถ้าเขาพูดอะไรไม่ตรงกับความคิดความเห็นของตัว ก็คัดค้านสิ่งนั้นไปหมด อย่างนี้ก็ไม่เกิดปัญญา
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #24 เมื่อ: 31 พฤษภาคม 2553 01:10:18 »


พระพุทธเจ้าของเราท่านแนะนำในเรื่องอย่างไร ท่านบอกว่า "ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอได้ฟังใครก็ตาม พูดอะไรๆ ที่เกี่ยวกับธรรมะ เกี่ยวกับข้อปฏิบัติเธออย่าคัดค้าน อย่ายอมรับในเรื่องนั้น"

ท่านให้หลักไว้ 2 ประการ คือ อย่าคัดค้าน แล้วก็อย่ายอมรับทันที ให้เธอฟังไว้แล้วเอาไปพิจารณาด้วยปัญญาของเธอ เปรียบเทียบกับสิ่งที่เราเคยรู้เคยเข้าใจ ถ้าสิ่งนั้นมันเข้ากันได้ กับเรื่องที่เคยเรียนเคยศึกษา ก็ยอมรับสิ่งนั้นได้ แต่ถ้าหากว่าเอาไปคิดไปตรอง ด้วยอุบายที่แยบคายแล้ว แต่มันเข้ากันไม่ได้กับอะไรๆ หลายๆ อย่างหลายประการ เราก็ไม่ไปยึดในความคิดความเห็นนั้น การสนทนากันในแง่อย่างนี้ ไม่มีเรื่องทะเลาะกับใครไม่มีการที่จะเถียงอะไรๆ กัน ให้เป็นความวุ่นวาย เพราะเรารับฟัง ใครพูดอะไรๆ เราก็ฟังด้วยใจเย็น ถ้าจะพูดคัดค้านหรือท้วงติง ก็พูดด้วยใจเย็นๆ ไม่พูดด้วยอารมณ์ร้อน

อันการพูดเรื่องอะไรก็ตาม ถ้าเราพูดด้วยอารมณ์ร้อน มักจะเสียเปรียบ แต่ถ้าพูดด้วยอารมณ์เย็นๆ มักจะได้เปรียบ เพราะปัญญามันไม่เกิด เมื่อไฟกำลังลุกอยู่ในใจ แต่ปัญญาจะเกิดเมื่อในสงบ เพราะฉะนั้น บุคคลใดที่ทำอะไรด้วยใจที่ร้อน มักจะเสียหาย แต่ถ้าทำอะไรๆ ด้วยใจที่ เย็น ความทุกข์ความเดือดร้อนจะไม่เกิดขึ้น อันนี้มันก็ต้องฝึกฝนเหมือนกัน เมื่อจะไปพูดอะไรกับใคร หรือจะต้องสนทนาพาทีในเรื่องใด ก็ต้องเตือนตัวเองไว้ก่อนว่า เย็นๆ อย่าร้อน อย่าพูดด้วยอารมณ์ แต่พูดด้วยเหตุผล

สิ่งใดไม่ควรพูดก็อย่าไปพูด สิ่งใดที่ควรพูดจึงพูด แล้วเรื่องที่ควรพูดก็เหมือนกัน ต้องดูเวลา ต้องดูบุคคล ต้องดูสถานที่ ต้องดูเหตุการณ์ ว่าถ้าเราพูดออกไปแล้ว มันจะขัดกับอะไรบ้าง เป็นประโยชน์แก่ผู้ฟัง หรือไม่เป็นประโยชน์แก่เราผู้พูดหรือไม่ ถ้าหากว่าเราพูดออกไปแล้วไม่ได้เรื่อง คือไม่ให้ประโยชน์แก่ผู้ฟัง เราเองผู้พูดก็ไม่ได้ประโยชน์อะไร เป็นการพูดออกไปเพื่อจะแสดงว่า เรารู้ในเรื่องนั้น เป็นการพูดเพื่ออวดตัว อวดกิเลส อันมีอยู่ในใจของตัวให้คนอื่นรู้ว่าตัวมีกิเลสเท่านั้น การพูดในรูปเช่นนั้นไม่ได้สาระอะไร แต่ถ้าหากว่าเราพูดด้วยปัญญา เราก็พิจารณาเสียก่อนว่า เรื่องที่เราจะพูดออกไปนั้น เป็นเรื่องจริงเรื่องดีมีประโยชน์ เหมาะแก่เวลา แก่บุคคล แก่เหตุการณ์ สถานที่เราจะพูดหรือไม่ ถ้าได้คิดทบทวนไตร่ตรองอย่างนี้แล้วผู้นั้นจะเป็นผู้พูดแต่เรื่องดีมีประโยชน์ ปากของคนนั้นจะไม่เสีย แล้วใครๆ ก็ไม่ติไม่ว่าบุคคลนั้น ในเรื่องเกี่ยวกับการพูดเป็นอันขาด อันนี้เป็นเรื่องสำคัญอยู่
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #25 เมื่อ: 31 พฤษภาคม 2553 01:13:37 »


เพราะว่าคนเราอยู่ในสังคมนี่มันตัองพบปะกัน มีการสนทนากัน ในเรื่องอะไรต่างๆ อยู่ตลอดเวลา จึงต้องใช้หลักธรรมะเข้าไปเป็นเครื่องประกอบ ให้การพูดจาวิสาสะได้เป็นไปในทางที่ถูกที่ชอบตามกฎเกณฑ์ ตามหลักพระพุทธศาสนา อันนี้เป็นเรื่องที่อยากจะขอฝากญาติโยมทั้งหลาย ได้นำไปใช้ในการปฏิบัติในกิจในชีวิตประจำวัน ประการหนึ่ง

ในวันอาทิตย์ก่อนได้พูดถึงเรื่องหลักในทางพระพุทธศาสนา คือเรื่องสำคัญที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านนำมาสอนแก่ชาวโลกทั้งหลาย เรื่องสำคัญที่พระองค์นำมาสอนนั้น คือเรื่องอะไร ได้บอกให้ญาติโยมทั้งหลายได้ทราบแล้วว่า คือ เรื่องอริยสัจจ์สี่ อันเป็นเรื่องหลักเรื่องสำคัญเป็นคำสอนในทางพระพุทธศาสนา ซึ่งเราควรจะได้ศึกษาแล้วนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

พระผู้มีพระภาคตรัสเรื่องนี้ขึ้นไว้ ก็เพราะว่าพระองค์ทรงทราบดีว่า ชีวิตของมนุษย์นี่มีความทุกข์ มีความเดือดร้อน ด้วยปัญหาต่างๆ หลายอย่างปลายประการ ทรงต้องการจะให้มนุษย์รู้จักวิธีแก้ไขปัญหาชีวิตของตน จึงได้วางหลักอริยสัจสี่ประการเหล่านี้ไว้ ถ้าจะพูดกันไปแล้ว ก็หมายความว่า อริยสัจจ์สี่ประการเป็นธรรมนูญสำหรับชีวิตที่เราควรจะนำมาใช้ในชีวิตประจำววัน ถ้าเรานำหลักนี้มาใช้ ในชีวิตประจำวันอย่างจริงจังเราก็จะอยู่ด้วยความสุขความสงบในโลกนี้ ไม่มีความทุกข์ความเดือดร้อน ในชีวิตจิตใจของเรา จึงเป็นเรื่องที่ควรจะได้ทำความเข้าใจกัน ในเรื่องต่อไปนี้

เรื่องที่ควรจะทำความเข้าใจกันก็คือข้อธรรมะ ที่เราจะพึงเรียน ในเรื่องอริยสัจจสี่นี้ มันมีอะไรบ้าง ท่านแบ่งไว้เป็น 4 เรื่อง คือ

เรื่องของความทุกข์
เรื่องเหตุให้เกิดความทุกข์
เหตุให้เกิดทุกข์ เรียกตามภาษาธรรมะว่า สมุทัย แปลว่าเหตุให้เกิดทุกข์
การดับทุกข์ได้ เรียกว่า "นิโรธ" ทางที่จะปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เรียกว่า "มรรค"

เรียกย่อๆ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
คนโบราณเขาต้องการให้คนจำอะไรง่ายๆ จึงเอาแต่ตัวนำของชื่อนั้นๆ มา เขาเรียกว่า หัวใจ

หัวใจของอริยสัจสี่ก็คือ "ทุ" หมายถึงความทุกข์ "สะ" หมายถึงสมุทัย "นิ" หมายถึง นิโรธ "มะ" หมายถึง มรรค เขาจึงจำง่ายๆ ว่า ทุ สะ นิ มะ
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #26 เมื่อ: 31 พฤษภาคม 2553 01:19:11 »


แต่ว่าคนโบราณเขาสอนเพื่อให้จำ คนที่ได้หัวใจอริยสัจไปแล้วไม่ได้เอาไปใช้ในทางแก้ทุกข์ แต่เอาไปใช้เป็นคาถาอาคมไป เอาไปใช้เป็นคาถานั่นคาถานี่ ฝอยกันร้อยแปด เป็นเรื่องไสยศาสตร์ ไม่ใช่เรื่องของพระพุทธศาสนา

เรื่องของพระพุทธศาสนาเขาให้จำหัวใจ ก็เพื่อจะให้ระลึกกันง่ายๆ เช่น เราท่องได้ว่า ทุ สะ นิ มะ เวลาเราจะนึกถึงตัวจริงของอริยสัจ เราก็รู้ว่า ทุ คือทุกข์ สะ คือสมุทัย นิ คือนิโรธ หมายถึงความดับทุกข์ มะ คือมรรคอันประกอบด้วยองค์แปด ในเรื่องอื่นๆ ท่านก็มักผูกหัวใจสั้นๆ ให้คนเราไปท่องจำ เพราะสมัยก่อนนี้ไม่มีหนังสือตำรับตำรา ไม่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร คนที่ไปเรียนอะไรนี่ต้องท่องให้จำ ทีนี้การท่องจำ ถ้าจะท่องให้หมดก็ต้องใช้เวลานาน จึงต้องย่อสิ่งที่จะเรียนนั้น เอาแต่หัวใจ เพื่อให้จำง่าย แล้วจะได้เอาไปเป็นหลักในการศึกษาต่อไป

เพราะฉะนั้น จึงขอให้ญาติโยมจำเอาหัวใจนี้ไว้ด้วย ว่า ทุ สะ นิ มะ ทุ คือทุกข์ สะ คือสมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์ นิ ก็คือนิโรธ หมายถึงความดับทุกข์ได้ มะ คือ มรรค ประกอบด้วยองค์แปด อันเป็นข้อปฏิบัติเพื่อให้ถึงความดับทุกข์

คำว่าทุกข์ นั้นหมายถึงอะไร หมายถึงความไม่สบายที่เกิดขึ้นทางกายทางใจ ทุกข์ทางกายก็มี ทุกข์ทางใจก็มี แต่ว่าความจริงตัวทุกข์แท้ๆ มันอยู่ที่ใจ เพราะว่าใจของเรานี่เป็นหัวหน้าของเรื่องการเป็นอยู่ ความคิดความนึกอยู่ที่ใจนั้น มันมี 2 เรื่อง เรียกว่า เหตุทางกาย แล้วก็เหตุที่เกิดกับใจเอง เหตุทางร่างกายนั้น ก็คือสภาพร่างกายที่ไม่ปกติ เช่นว่า ปวดแข้งปวดขา มีความเจ็บไข้ได้ป่วย อันเป็นเรื่องของธรรมดาสังขารร่างกาย

คนเราเกิดมาแล้ว มันก็ต้องมีการเจ็บการไข้เป็นเรื่องธรรมดา ถ้ารักษาอนามัยดีก็เจ็บไข้ได้ป่วยน้อย แต่ถ้ารักษาอนามัยไม่ดีเราก็เจ็บไข้ได้ป่วยมาก เวลาใดร่างกายมันผิดปกติก็เป็นเหตุให้เกิดความทุกข์ทางใจ ความทุกข์นั้นเขาเรียกว่าเป็นความทุกข์เนื่องจากร่างกาย ทีนี้ ความทุกข์เรื่องใจล้วนๆ มันเป็นเรื่องเนื่องเกี่ยวกับความอยากที่เกิดขึ้นในใจ อยากในเรื่องอะไรต่างๆ ร้อยแปดพันประการ ขณะใดใจอยากในอะไร ก็เกิดความทุกข์เพราะเรื่องนั้น ถ้ายังไม่ได้สมใจก็เป็นทุกข์ ได้มาสมใจแล้วก็ยังเป็นทุกข์ต่อไป มันมีปัญหาที่จะให้เกิดความทุกข์ทั้งมี และไม่มี ทั้งได้ และไม่ได้เรียกว่าเป็นเหตุให้เกิดความทุกข์ทั้งนั้น สำหรับบุคคลผู้ไม่มีปัญญา
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #27 เมื่อ: 31 พฤษภาคม 2553 01:23:55 »


แต่ถ้าบุคคลใดมีปัญญารู้เท่ารู้ทัน เวลาได้ก็ไม่เป็นทุกข์ เวลาไม่ได้เขาก็ไม่เป็นทุกข์ เพราะเรื่องนั้นๆ ที่ไม่ทุกข์นั่นก็เพราะว่า รู้ว่าอะไรมันเป็นอะไร สิ่งทั้งหลายที่เกิดขึ้นตั้งอยู่ ดับไป นั้น มันมีสภาพตามที่เป็นจริงอย่างไร ก็ไม่มีความทุกข์จากเรื่องนั้น อันนี้เป็นเรื่องความทุกข์ที่เราควรรู้ไว้ก่อนเป็นเบื้องต้น ในธรรมะหรือว่าในพระสูตร ท่านแยกความทุกข์เกี่ยวกับอริยสัจจ์นี้ไว้ ดังที่เราสวดมนต์

ถ้าหากว่าคนที่สวดมนต์เช้าได้เราได้ เราก็สวดว่า ชาติปิทุกขา ความเกิดเป็นทุกข์ ชราปิ ทุกขา ความแก่ ก็เป็นทุกข์ มรณัมปิ ทุกขัง ความตายเป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากของรักของชอบใจเป็นทุกข์ อยู่ร่วมกับคนที่เราไม่ชอบ กับสิ่งที่เราไม่ชอบเป็นความทุกข์ ความโศกความเหี่ยวแห้งใจ ความร่ำไรรำพัน ในเรื่องปัญหาต่างๆ ก็เป็นความทุกข์ รวบรัดให้ย่อๆ สั้นๆ การเข้าไปยึดถือในขันธ์ 5 ว่าเป็นตัวเป็นตน เป็นเราเป็นเขานั่นแหละเป็นก้อนทุกข์ใหญ่

ท่านแจกความทุกข์ให้ญาติโยมฟัง นี้มีอันหนึ่งซึ่งสำคัญ คือ เรื่อง ชาติทุกข์ เรียกว่าความเกิดเป็นทุกข์ มันหมายถึงอะไร ที่เรียกว่าความเกิดเป็นทุกข์ ก่อนๆ นี้เราได้ฟังคำอธิบายว่าการเกิดในครรภ์มารดา การคลอดออกมาจากครรภ์เรียกว่าเป็นการเกิดที่เป็นทุกข์ อันนี้ถ้าหากว่าเรามาศึกษาในแง่นั้นจะไม่ช่วยให้การแก้ปัญหาอะไรได้ แต่ถ้าหากเราเข้าใจอีกแง่หนึ่ง ไม่ได้เข้าใจตามแง่นั้น แต่เข้าใจว่าชาติคือความเกิดนั้นหมายถึงความรู้สึกที่เกิดขึ้นในใจเข้าไปยึดถืออะไรว่า เป็นตัวเรา เป็นของเราขึ้นมา ในขณะใดที่ใจของเรา เกิดความรู้สึกยึดถือในเรื่องอะไรขึ้นมาแล้ว ในขณะนั้นแหละ เรียกว่าชาติเกิดขึ้นในใจของเรา ความเกิดแห่งความยึดถือ หลงใหล มัวเมาในเรื่องอะไรต่างๆ คือ ชาติปิทุกขา เรียกว่า ความเกิดมันเป็นทุกข์

อ้ายที่เกิดมาจากท้องแม่นั่นมันเกิดมาแล้ว แล้วก็พ้นมาแล้ว อันนั้นจะเป็นเหตุให้เกิดความทุกข์ต่อมาอีก มันก็ไม่สมควร เพราะมันผ่านพ้นมาไกลแล้ว แต่ว่าความเกิดแห่งความยึดถือที่เกิดขึ้นในใจของเรา จะเป็นชาติทุกข์ตลอดเวลา เรานั่งอยู่ ณ ที่ใด ยืนอยู่ ณ ที่ใด นอนอยู่ในที่ใด พอใจของเราไปยึดในอะไรเข้ามา เรารู้สึกอย่างไร เช่นเรานึกไปถึงเงินที่อยู่ในตู้ นึกถึงเพชรนิลจินดา นึกถึงรายได้ นึกถึงเงินที่เขากู้ยืมไป ดอกเบี้ยยังไม่ส่งตามเวลา แล้วก็นึกอะไรๆ หลายเรื่องหลายประการขึ้นในใจ ใจขณะนั้นรู้สึกอย่างไร ญาติโยมลองสำรวจตัวเอง ถ้าสำรวจตัวก็จะพบว่า มันเป็นทุกข์ พอนึกถึงเรื่องเหล่านั้นขึ้นมา ก็เกิดความทุกข์
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #28 เมื่อ: 31 พฤษภาคม 2553 01:32:05 »


ความทุกข์เกิดเพราะเรื่องอะไร เพราะเรานึกว่าสิ่งนั้นเป็นของเรา เงินทองของเรา เพชรนิลจินดาของเรา งานการนั้นของเรา ลูกของเรา หลานของเรา สามีภรรยาของเรา กิจการอย่างนั้นเป็นของเรา ชาติของเรา บ้านเมืองของเรา คิดไปหลายแง่หลายมุม ในขณะใดที่เราคิดในเรื่องอะไร ด้วยอำนาจความยึดความติดในสิ่งนั้น ขณะนั้นก็เป็นความทุกข็เกิดขึ้น ให้จำหลักอันนี้ไว้เป็นเบื้องต้น

คือให้รู้ว่า ในขณะใดใจเกิดความยึดติดในเรื่องอะไรขึ้นมา ในขณะนั้นเราจะเป็นทุกข์ เมื่อจำคำนี้ไว้ได้แล้วก็ต้องเอาไปพิจารณาเอาไปค้นคว้า การค้นคว้านั้น อย่าไปค้นจากตำรับตำราหนังสืออะไรเลย แต่ค้นคว้าจากชีวิตของเราเอง จากกิจกรรมที่เราทำอยู่ทุกวันทุกเวลา จากความรู้สึกในชีวิตประจำของเรานี่แหละ ว่าเมื่อมีความคิดอะไรเกิดขึ้น แล้วมันเป็นอย่างไรต่อไป ให้ลองสังเกต ว่างๆ แล้วลองสังเกตความเป็นอยู่ของเราเอง

เช่นเราเกิดความคิดอย่างนั้นขึ้นในใจ มันเป็นความคิดที่ร้อนหรือเย็น เป็นสุขหรือว่าเป็นทุกข์ มีควมกังวลห่วงใย หรือว่ามีความสงบสบายใจ ให้ญาติโยมลองนำไปพิจารณาคอยสังเกตุตัวเรา คอยสังเกตุจิตใจของเราแล้วเราจะพบความจริงว่า ตัวความทุกข์ที่เกิดขึ้นในใจ มันทุกข์เพราะว่า เรายึดถือนั่นเองแหละ ไม่ใช่ทุกข์เพราะเรื่องอะไร พอเกิดความยึดถือในใจ ในเรื่องอะไรก็ตาม เราก็มีความทุกข์เพราะสิ่งนั้น อันนี้แหละคือความหมายของคำว่า ชาติปิ ทุกขา ที่ญาติโยมสวดมนต์ว่า ชาติปิทุกขา ความเกิดเป็นทุกข์ หมายถึงว่าความรู้สึกยึดถือในเรื่องอะไรๆ เกิดขึ้นในใจของเราในขณะใด ความทุกข์หยั่งลงสู่ชีวิตของเราเมื่อนั้น อันนี้คือหลักแท้จริงของอริยสัจ ในเรื่องชาติ ความเกิดที่เป็นทุกข์ ถ้าเราเข้าใจชาติความเกิดในรูปนี้

การที่จะสลัดความทุกข์ออกไปตัวเรานั้นมันง่าย แต่ถ้าเราไปเข้าใจในแง่ว่า เกิดจากท้องมารดา แล้วตายเข้าโลงเป็นชาติหนึ่ง มันก็แก้อะไรไม่ได้ เพราะว่าความเกิดนั้นมันผ่านพ้นมาแล้ว เป็นมานานแล้ว สมบูรณ์ทุกสิ่งทุกประการ ไม่ใช่วิถีทางแก้ไขความทุกข์ตามหลักของพระพุทธศาสนา ในหลักธรรมะทางพระพุทธศาสนา ต้องการชี้ให้เราเข้าใจว่า ความทุกข์เกิดจากความยึดถือในเรื่องอะไร ต่างๆ ในขณะใดที่ความยึดถือในเรื่องอะไรเกิดขึ้นในใจก็เรียกว่า ชาติ เกิดขึ้นแล้วชาติหนึ่ง
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #29 เมื่อ: 31 พฤษภาคม 2553 01:39:38 »


และเมื่อเกิดความรู้สึกอย่างนั้นขึ้น มันก็สร้างต่อไป ที่เรียกว่า มีภพ คำว่า "ภพ" ก็หมายถึงว่า "ความคิดที่เราส่งไปในเรื่องนั้นๆ" ส่งไปในเรื่องกามารมณ์ เรียกว่า เกิดในกามภพ ถ้าเราส่งไปในเรื่องเกี่ยวกับรูปก็เรียกว่ารูปภพ ถ้าส่งไปในเรื่องที่ไม่มีรูปมีร่างเป็นความคิดฝันของเราเอง ก็เรียกว่า ไปเกิดอยู่ในอรูปภพ จิตของเรามันเป็นไปเกิดในกามภพก็ได้ ในรูปภพก็ได้ ในอรูปภพก็ได้ สุดแล้วแต่ความคิดที่มันเกิดขึ้นในใจเรา สร้างอารมณ์ขึ้นในใจของเรา แล้วในขณะที่เรานั่งคิดนั่งฝัน นั่งสร้างอารมณ์ประเภทต่างๆ ขึ้นในใจนั้น ขอให้เข้าใจว่า นั่นแหละรากฐานของความทุกข์ ความเดือดร้อน เป็นทุกข์เพราะอะไร เป็นทุกข์เพราะเราไปยึดว่าสิ่งนั้นเป็นของเรา แล้วเราก็คิดต่อไปว่าให้สิ่งนั้นอยู่กับเราตลอดไป

แต่ว่าสิ่งนั้นคงจะไม่อยู่ตลอดไปเราก็มีความวิตกกังวล กลัวว่าสิ่งนั้นจะแตกสลายไป กลัวขโมยมันจะมาลักเอาไป กลัวว่าเราจะเจ็บไข้ได้ป่วย เราจะจากสิ่งนั้นไป ความคิดอันอื่นที่ตามมาจากความยึดถือประการต้นนั้นอีกมากมายหลายเรื่อง อันล้วนแต่เป็นเรื่องที่สร้างความทุกข์เพิ่มขึ้นในใจของเราทั้งนั้น อันนี้แหละคือ ชาติปิทุกขา เป็นเรื่องที่ควรจะเข้าใจให้ตรง ถูกต้องไว้ก่อนเป็นเบื้องต้น

ถ้าเราเข้าใจคำว่า ชาติปิ ทุกขา ถูกตรงแล้วมันเป็นการง่าย ที่จะศึกษาในเรื่องอื่นต่อไป แต่ถ้าเข้าใจคำว่า ชาติปิ ทุกขา ความเกิดเป็นทุกข์ไม่ถูกแล้ว การแก้ไขปัญหาชีวิตย่อมจะเป็นการไม่สะดวก เพราะจะไปแก้ที่ไกล ไม่ได้แก้ที่ตัวเรา ไม่ได้แก้ที่ตรงจุด แต่ไปแก้อยู่รอบๆ จุด เหมือนกับคนที่คันสันหลัง แล้วก็ให้คนอื่นเกาให้ คนที่เกานั้นเขาไม่รู้ว่าคันตรงไหน ก็เที่ยวเกาตรงนั้นเกาตรงนี้ เราก็บอกว่ามันยังไม่ถูก เกาใหม่ คนนั้นก็เกาอีก ก็ยังไม่ถูก เกาใหม่เพราะคนเกาไม่รู้ ว่าจุดมันอยู่ตรงไหน แล้วจะเกาให้ถูกจุดได้อย่างไร แต่ถ้าเขารู้ว่าจุดคันมันอยู่ตรงไหน ไม่ต้องไปเกาให้เสียเวลา เอาไปจุดเข้าที่ตรงจุดนั้นเลย เรียกว่าจุดถูกที่คันเราก็ร้องว่า ดี ขึ้นมาทันที ฉันใด

ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ในเรื่องเกี่ยวกับความทุกข์นั้นเกิดจากความยึดถือในเรื่องอะไรต่างๆ ด้วยความหลงใหล ด้วยความงมงาย ความมัวเมาในสิ่งนั้นจนเป็นเหตุให้เกิดความทุกข์ขึ้น เราก็แก้ที่จุดนั้นแหละ แก้ที่จุดความยึดถือ เราก็แก้ง่ายขึ้น เพราะเรารู้จักจุดมัน เหมือนกับรู้ว่าคันตรงไหน แล้วเกาได้ถูกจุดทันที อันนี้ประการหนีงซึ่งอยากให้โยมเข้าใจถูกตรงไว้ ในเรื่อง ชาติปิ ทุกขา ส่วน ชราปิ ทุกขา ความแก่เป็นทุกข์ ทุกข์อย่างไรอันนี้ไม่ยาก อันเรื่องความแก่เป็นทุกข์ โยมๆ ที่ฟังเทศน์เป็นคนแก่ส่วนมาก
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #30 เมื่อ: 31 พฤษภาคม 2553 01:53:21 »


เมื่อเป็นคนแก่รู้ว่าความแก่เป็นทุกข์อย่างไร นั่งอยู่จะลุกขึ้นมันเป็นอย่างไร นอนแล้วจะลุกขึ้นมันเป็นอย่างไร จะเดินมันเป็นอย่างไร จะเคลื่อนไหวอิริยาบถสักย่างสักก้าวมันเป็นอย่างไร จะกินอาหาร จะนุ่งจะห่ม จะพูดจา จะนึกถึงอะไรสักเรื่องหนึ่งที่ผ่านมามันเป็นอย่างไร ญาติโยมลองทบทวนดู พอทบทวนดูก็จะรู้ได้ทันทีว่า เออ ไม่ได้ ความเคลื่อนไหวอิริยาบถก็ไม่สะดวก ขัดไปหมด ปวดเอวปวดหลังเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ ซึ่งเป็นเรื่องของความชรา ชำรุดทรุดโทรมในร่างกาย มันเป็นทุกข์เรื่องอย่างนี้ประการหนึ่ง

อีกประการหนึ่ง ความทุกข์ที่เกิดจากชรานั่น มันหมายถึงว่าเราไม่พอใจ ในการที่ร่างกายเปลี่ยแปลงไป เราไม่อยากให้ผมหงอก อยากจะให้ดำขลับอยู่ตลอดเวลา แล้วว่าหงอกแล้วก็อุตส่าห์หายาย้อมผมมา ย้อมไว้หลอกตัวเองไปวันหนึ่งๆ พอดูกระจกก็รู้ว่ามันยังดำอยู่ ความจริงไม่จำเป็นอะไร ที่จะต้องหลอกตัวเองอย่างนั้น ให้เรานึกพอใจว่า ผมขาวมันก็เข้าทีเหมือนกัน แสดงลักษณะของความเป็นผู้ใหญ่ เป็นผู้มีอายุ แล้วก็จะได้เป็นเครื่องเตือนจิตสะกิดใจ ให้เราไม่ประมาทมัวเมาในชีวิต ในความเป็นอยู่ แต่ถ้าเราไม่ย้อมให้มันดำ เมือมันขาวแล้ว ก็เท่ากับว่าเราหลอกตัวเอง เรามันยังเป็นคนชอบหลอกตัวเองอยู่ แล้วก็หลอกมันเรื่อยๆ ไป ว่าเราผมมันยังไม่หงอก ไม่ชรา อันนี้เขาเรียกว่าฝืนกฎธรรมดา

พออยู่หน่อยร่างกายของเรามันเปลี่ยนไปตามสภาพ แต่ว่าเราไม่อยากให้เปลี่ยน คนทุกคนไม่ชอบแก่ทั้งนั้น ไม่ชอบให้ผมหงอก ไม่ชอบให้ฟันหลุด ไม่ชอบให้ตามืด หูตึง ไม่ชอบให้ผิวหนังเหี่ยว ไม่ชอบให้เป็นคนหลังค่อมหลังโกง ไม่ชอบความชำรุดทรุดโทรมทุกส่วนของร่างกาย เราอยากให้มันคงเดิม ความทุกข์ก็เกิดขึ้นตรงนี้ ทุกข์เกิดขึ้นก็เพราะว่า เราไม่ยอมรับความแก่ของสังขารร่างกาย เราอยากจะไม่ให้มันแก่ เมื่อไม่ชอบความแก่เราก็เป็นทุกข์

แต่ถ้าเรารู้ว่า ความแก่นี้มันเป็นเรื่องธรรมดาที่จะต้องเกิดต้องมีแก่คนทุกคน หนีไม่พ้น ในชีวิตของเราทุกวินาทีนี่เราแก่อยู่ตลอดเวลา เมื่อเป็นเด็กก็เรียกว่าแก่ขึ้น เป็นหนุ่มก็แก่ขึ้น พอเป็นผู้ใหญ่เต็มตัวก็เริ่มแก่ลง เพราะว่าความแก่นี้มันขึ้นอยู่กับเวลาปรุงแต่งของร่างกาย บางคนก็แก่ลงช้า แต่บางคนก็แก่ลงเร็ว
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #31 เมื่อ: 31 พฤษภาคม 2553 01:59:25 »


คนที่แก่ลงเร็ว ก็คือคนที่ชอบเอายาพิษใส่เข้าไปในตัว เช่น คนชอบดื่มเหล้า ชอบเที่ยวกลางคืน อดหลับอดนอน คนประเภทนี้แก่เร็ว ร่างกายชำรุดทรุดโทรมเร็ว แต่ถ้าเป็นคนรู้จักรักษาอนามัย พักผ่อนเป็นเวลา รับประทานอาหารถูกต้อง ความแก่ก็ช้า แต่ว่ารวมแล้วมันก็แก่นั่นแหละ หนีไปจากความแก่ไม่พ้น เราต้องแก่เป็นธรรมดา แต่ว่าจิตใจเรานี่มันไม่ยอมแก่ ถ้าใครมาทักเราว่า "หือ ปีนี้ดูแก่ไป" ไม่มีใครชอบสักคนเดียว แต่ถ้าเขาทักเราว่า "เออ ดูยังหนุ่มแข็งแรงดีนี่" เรายิ้มชอบอกชอบใจ

คนเรามันชอบหลอกไม่ชอบจริง เพราะไม่ชอบของจริงนี่และจึงเป็นทุกข์เรื่อยไป แต่ถ้าเรายอมรับความจริงเสีย เช่นเรื่องความแก่นี่ ยอมรับมันเสีย รับว่าแก่แล้ว ร่างกายเปลี่ยนแปลงไปมากแล้ว ไม่รู้เมื่อไหร่จะต้องแตกต้องดับละยอมรับอย่างนั้น พอเรายอมรับว่าเรายอมแก่ ปัญหาเรื่องความแก่จะไม่เป็นทุกข์แก่เรา ชราปิ ทุกขา จะไม่เกิดในใจ เพราะเรายอมรับความแก่ยอมให้มันแก่ไปตามเรื่อง การรักษาการบริหารร่างกายก็ทำไปตามเรื่อง แต่ไม่ใช่ทำด้วยความอยากมากเกินไป เราทำตามหน้าที่

หน้าที่จะต้องรักษาร่างกายเพื่อใช้ ใช้ทำอะไร ใช้สำหรับประพฤติความงามความดี ล้างบ่อยๆ อัดฉีดบ่อยๆ ขับค่อยๆ อย่าให้มันเร็วเกินไป จนกระทั่งว่าเสียรูปเสียโฉมไป รถคันนั้นก็ใช้ได้นาน ร่างกายของเรานี้ก็เหมือนกัน

พระพุทธเจ้าท่านสอนว่า เรามันแก่เป็นธรรมดา เรารับรู้ว่าเราจะต้องแก่ แต่ว่าเราก็ต้องรักษาตามหน้าที่ อย่างนี้เรียกว่า เป็นคนรู้จักใช้ร่างกายให้เป็นประโยชน์ ไม่ใช้ให้เกิดความทุกข์ความเดือดร้อน เพราะความเข้าไปยึดถือว่า เราไม่แก่ อันนี้เรื่องหนึ่งเกี่ยวกับความแก่ เป็นทุกข์หรือไม่เป็นทุกข์ก็อยู่ที่ ความคิดถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง ถ้าคิดถูกความทุกข์มันก็น้อย ถ้าคิดไม่ถูก ก็เกิดความทุกข์ขึ้น เพราะความแก่เป็นธรรมดา
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #32 เมื่อ: 31 พฤษภาคม 2553 02:02:30 »


อันต่อไปท่านเรียกว่า พยาธิ คือ ความเจ็บไข้ ก็เป็นความทุกข์ของจิตใจ คนเราตามปกตินั้น ไม่มีใครชอบความไข้ แต่ว่าความเจ็บไข้ก็ต้องเกิดขึ้น อันการเกิดขึ้นของโรคภัยไข้เจ็บนั้น โรคบางอย่างเกิดเพราะความประมาท แต่โรคบางอย่างนั้น มันเกิดของมันตามธรรมชาติ เราไม่รู้สาเหตุของมัน เช่น โรคมะเร็ง เป็นต้น เราไม่รู้สาเหตุว่ามันเกิดเพราะอะไร ทำอย่างไรจึงได้เกิดโรคนั้นขึ้น ไม่มีใครรู้ แม้วิชาการแพทย์สมัยใหม่จะเจริญก้าวหน้า ก็ยังค้นหาสมุฏฐานของโรคนี้ยังไม่ได้ว่ามันเกิดมาจากเรื่องอะไร ก็พูดได้เพียงว่าธรรมชาติของร่างกาย บางคนมันอาจจะเป็นโรคนี้ขึ้นได้ เป็นโรคที่ตรงนั้นตรงนี้ หรือเป็นมะเร็งในเส้นโลหิต แล้วก็รักษาไม่ได้ ร่างกายก็ต้องเจ็บป่วย จนกระทั่งหมดลมหายใจ

แต่ว่าถ้าปกติโรคอันใดที่เกิดเพราะความประมาท เพราะไม่รักษาตัว อันนี้เราต้องป้องกันได้ การป้องกันก้คือว่าเรียนให้มันรู้ ว่าพาหะของโรคคืออะไร สมุฏฐานของโรคอยู่ที่ไหน มันจะเกิดได้โดยวิธีใด แล้วเมื่อเกิดแล้วเราควรจะรักษาอย่างไร เรื่องนี้มันต้องไปถามหมอ เขาก็จะแนะนำให้

คนเราบางทีก็ประมาท เป็นอะไรนิดหน่อย ร่างกายผิดปกติ ไม่ไปหาหมอที่โรงพยาบาล แต่ไปหาหมอตี๋ตามร้านขายยา "ฉันเป็นหวัด กินยาอะไรดี" เจ้าตี๋ก็จัดยาให้ เอาไปเคี้ยวไปกินกันตามเรื่อง กินจนกระทั่งว่าหนัก พอหนักแล้วจึงไปหาหมอ อันนี้มันไม่ถูกเรื่อง เรียกว่าอยู่ในวิสัยของความประมาท เมื่อเรารู้สึกว่าร่างกายผิดปกติ ควรรีบไปรักษาทันที ให้หมอตรวจเสียโดยเร็ว การรีบไปทันท่วงทีนั้น ประหยัดเวลา ประหยัดเงิน แล้วก็ไม่ต้องเสียเวลาทำมาหากิน

เพราะเริ่มเป็นหมอตรวจรู้สมุฏฐาน ให้ยาสกัดโรคนั้นมันก็หายไว เราก็จะได้ทำงานทำการต่อไป เงินทองที่จะใช้จ่ายในการเยียวยาก็น้อย เพราะเรารีบรักษา พระพุทธเจ้าท่านสอน อย่าให้ประมาท แต่ถ้าเราประมาทไม่ไปรัษา โรคมันแรงแล้ว ต้องกินยามาก ต้องฉีด ต้องนอนโรงพยาบาล บางทีต้องนอนตั้งเดือนสองเดือน เสียเวลาทำมาหากิน เสียเงินเสียทองเข้าไปมากมาย อันนี้เป็นเรื่องที่เรียกว่า ผิดอยู่ในชีวิดมนุษย์เราไม่ใช่น้อย

ในหลักธรรมะท่านจึงสอนไม่ให้ประมาท ถ้ารู้สึกว่าร่างกายผิดปกติรีบไปหาหมอเสีย ไม่ต้องเกรงใจหมอดอก หมอเขามีหน้าที่รักษาคนป่วย แต่ถ้าป่วยหนักแล้วไปหาหมอ นี่หมอรำคาญ รำคาญว่าทำไมไม่ให้ตายเสียก่อนแล้วเอาศพมาให้รักษา หมอนึกอย่างนั้น ถ้าหมอพูดได้แกคงพูดว่า "เอามาให้รักษาทำไม เอาศพมาดีกว่า" แต่หมอก็รักษามารยาทไม่พูดอย่างนั้น แต่ว่าเรานี้ไม่รู้จักรักษาตัวก็ลำบาก
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #33 เมื่อ: 31 พฤษภาคม 2553 02:09:30 »


ความเจ็บไข้ได้ป่วย ทำให้คนเป็นทุกข์ก็เพราะว่า เราไม่สบายใจในขณะที่มีความเจ็บเกิดขึ้น นอนเป็นทุกข์ นั่งเป็นทุกข์ กินก็เป็นทุกข์อยู่ตลอดเวลา เพราะเรื่องโรคภัยไข้เจ็บอันนี้คือทุกข์ประการหนึ่ง ที่อาจจะเกิดขึ้นแก่ใครก็ได้ ทีนี้การแก้ไขปัญหาในเรื่องความทุกข์ อันเกิดจากโรคภัยไข้เจ็บ ถ้าเรามีความเจ็บป่วยเกิดขึ้น เราก็ต้องพิจารณาด้วยปัญญา

พิจารณาว่าความเจ็บป่วยนี้ เป็นเรื่องของร่างกาย เป็นเรื่องที่เราจะต้องรักษา เวลานี้เราไม่กินยาอยู่แล้ว แต่ว่ายานี่ไม่ใช่ยาพิษ เหมือนเรื่องนิทานที่เขาเล่าไว้ พอกินยาปุ๊บโรคหายปั๊บ มันไม่มีอย่างนั้น มันต้องช้าๆ กินยาแล้วต้องคอยเวลา ให้ยามันออกฤทธิ์ไปแก้ไขในบางส่วนของร่างกายก่อน เราอย่าใจร้อน อย่าอยากให้หายเร็วเกินไป แต่บอกตัวเองว่าเวลานี้เราป่วย เราได้รับประทานยาแล้ว เราก็ต้องนอนทำใจเย็นๆ อย่าใจร้อน อย่าคิดมาก อย่าวุ่นวาย ให้พิจารณาร่างกายนี้ว่า เป็นสิ่งเปราะ หักง่าย แตกง่าย อาจจะเจ็บจะไข้ลงไปเมื่อใดก็ได้ ถ้าว่าร่างกายป่วย ใจเราเป็นทุกข์เพราะร่างกาย ก็เรียกว่าป่วยทั้งกาย ทั้งใจ

แต่ถ้าเราถือว่าร่างกายป่วย ใจเราจะไม่ป่วยตามร่างกาย แต่ว่าเราจะใช้ใจสำหรับคิดค้นให้เกิดปัญญา ให้รู้จักประสบการณ์ของชีวิต ให้ถือว่าความเจ็บไข้ได้ป่วยนั้นเป็นบทเรียน เป็นบทสอบไล่กำลังใจของเรา ว่าเราเป็นผู้ศึกษาธรรมะได้อ่านหนังสือธรรมะไว้บ้าง ได้ฟังธรรมะไว้บ้าง เวลาปกติก็ไม่รู้ว่าใจมันเป็นอย่างไร กำลังใจจะรู้ได้ก็เมื่อตกอยู่ในอันตราย ถ้าไม่มีอันตรายเกิดขึ้น เราก็ไม่รู้กำลังใจของเรา เมื่อใดเราเจ็บไข้ได้ป่วย เราก็จะได้ทดสอบกำลังใจ ว่าเรามีความพอใจในการที่เราป่วย

การรักษาเป็นหน้าที่ของหมอ ในเรื่องร่างกาย แต่ว่าเรื่องใจเป็นหน้าที่ของเราเอง เราจะทำใจให้เย็น ทำใจให้ดี จะไม่เกิดความวิตกทุกข์ร้อนในเรื่องไข้เจ็บ ให้พอใจที่จะนอนพักผ่อนอยู่บนเตียงคนไข้ อย่าไปคิดถึงเรื่องที่ยังไม่มาถึง อย่าไปคิดถึงเรื่องที่มันผ่านพ้นไปแล้ว แต่ว่าเราคิดถึงเรื่องเฉพาะหน้า ที่เรากำลังเป็นอยู่ในขณะนี้ ว่าเราควรจะคิดอย่างไร ใจจะสบาย จะไม่วุ่นวายจะไม่เดือดร้อน ควรจะทำตนให้เป็นคนกินยาง่าย เลี้ยงง่าย ไม่ต้องให้คนอื่นพลอยเป็นทุกข์กับเรา เราจะรับความทุกข์เสียคนเดียว แล้วก็ทำใจให้สบาย

ให้พอใจในสภาพที่กำลังได้รับ หรือนึกเสียว่าไข้นี้ก็ดีเหมือนกันจะได้นอนเสียบ้าง ไม่เจ็บไม่ป่วยไม่ค่อยได้พักผ่อน เวลาเจ็บป่วยนี่ถือว่ามานอนพักผ่อน ถ้ามานอนที่โรงพยาบาล ก็ถือว่ามาพักผ่อนที่โรงพยาบาล แล้วขณะที่พักผ่อนที่โรงพยาบาลก็ดูเพื่อนใกล้เคียง ว่าเขาเป็นอย่างไร คนเหล่านั้นก็ป่วยเหมือนกับเราเหมือนกัน ไม่ใช่ป่วยแต่เราคนเดียว
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #34 เมื่อ: 31 พฤษภาคม 2553 08:43:23 »


คนบางคนพอมีอะไรเกิดขึ้น ซึ่งเป็นโรคภัยไข้เจ็บก็นึกเอาว่า แหม! เรานี่มันอาภัพอับโชคเสียเหลือเกิน ป่วยอย่างนี้หนักที่สุด เจ็บที่สุดในโลก นึกให้มันหนักเกินไป ความจริงไม่ได้หนักอะไรดอก เรามานึกเอาเอง เมื่อหลายปีมาแล้วไปที่โรงพยาบาลศิริราช ไปเยี่ยมคนๆ หนึ่งแกเป็นเจ้าหน้าที่รถไฟ ซึ่งปกติก็เรียกว่าเดินไปเดินมาเรื่อย เพราะอยู่แผนกเดินรถ ทีนี้เกิดอุบัติเหตุ ขาขาดต้องตัด แล้วก็ไปนอนที่โรงพยาบาล ไปนอนอยู่ในตึกนั้น คนไข้เกี่ยวกับเรื่องกระดูกเรื่องตัดอะไรทั้งนั้น อาตมาไปถึงก็ชวนคุย คุยแล้วก็ลองถามว่าเป็นอย่างไร มาป่วยอยู่โรงพยาบาลนี่จิตใจเป็นอย่างไร

แกก็บอกว่า แหม! วันแรกๆ นี่เอาการ มีความทุกข์ มีความไม่สบายใจ เพราะว่านึกถึงขาที่มันหายไป นึกว่าหายไปก็เดินไม่สะดวก จะทำงานทำการก็ไม่สะดวก มันต้องมีขาไม้ใส่เข้ามา เวลาเดินเหินมันไม่คล่อง เที่ยวนึกไปถึงกาลข้างหน้า ในเรื่องเกี่ยวกับอนาคตของชีวิต เลยก็นอนระทมตรมตรอมใจ แต่ว่าวันต่อๆ มาเห็นคนป่วยที่เขานอนป่วยบางคนป่วยมา 6 เดือนแล้ว บางคนป่วยมาปีหนึ่งแล้ว บางคนนอนคว่ำอยู่ท่าเดียว 3 เดือนนอนหงายไม่ได้ แล้วก็มีต่างๆ แกดูคนเหล่านั้น จากเตียงนี้กับเตียงโน้นเขาคุยกัน หัวเราะกัน หยอกล้อกันไป คุยกันไปสนุกสนาน แกมองๆ เขาก็ได้บทเรียน

ได้บทเรียนว่ากูนี่มันโง่ มานอนเป็นทุกข์อยู่คนเดียว คนอื่นที่หนักกว่าเราเขาไม่ทุกข์ เขายิ้มหัวสบายใจ เลยก็เปลี่ยนจิตใจได้ พอใจในการที่ตนไม่มีขาข้างหนึ่ง แล้วก็นึกว่าข้างหน้าอย่างไรก็ช่างมันเถอะ เราทำใจให้สบายดีกว่า เลยคุยกับคนไข้ใกล้เคียง หัวเราะหัวไห้ร่าเริงกันไปตามเรื่อง นี้เขาเรียกว่า รู้จักหมุนจิตใจให้เข้ากับเหตุการณ์
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #35 เมื่อ: 31 พฤษภาคม 2553 08:48:31 »


คนเราที่เป็นทุกข์นี่เพราะว่าไม่รู้จักเปลี่ยนใจ ให้เหมาะแก่เหตุการณ์ แดดออกจ้าอยู่เราพอใจในแสงแดด พอฝนตกลงมากลับไม่พอใจฝน นี่หมุนจิตใจ ถ้าเราหมุนจิตใจ พอฝนตกก็เออ! ดีเหมือนกันมันร้อนมาหลายวันแล้ว เย็นเสียหน่อยก็ดีแล้ว เราก็ไม่เป็นทุกข์เพราะเรื่องฝน เจ็บไข้ได้ป่วยก็เหมือนกัน ถ้าเราไม่เจ็บไม่ป่วย เราก็ไปไหนมาไหนได้ พอไปนอนที่โรงพยาบาลก็นึกว่า เออ ดีเหมือนกัน ไม่ได้มาเห็นคนเจ็บคนป่วย ไม่ได้มีโอกาสเอาธรรมะมาพิจารณา อันนี้ไม่ต้องไปทำงาน อารมณ์เยอะแยะ ที่จะเป็นบทเรียนสอนจิตสะกิดใจ ดูสิ่งเหล่านั้นมองสิ่งเหล่านั้น ในแง่ของธรรมะ แล้วก็สอนตัว จิตใจก็สบายขึ้น ไม่มีความทุกข์ความเดือดร้อน คนป่วยที่ใจสบายนั้นมันหายไวแต่คนป่วยที่ใจเป็นทุกข์นี่หายช้า เพราะฉะนั้น เราอยากจะหายช้าหรือว่าหายไว ใครๆ ก็อยากจะหายไวๆ เมื่ออยากจะหายไวๆ ก็อย่าทำใจให้เป็นทุกข์ แต่จงทำใจให้สบายมองในแง่ดีเสีย ความทุกข์อันเกิดขึ้นจากความเจ็บป่วยนั้นก็จะหายไป นี้ประการหนี่ง

อีกประการหนึ่ง ท่านบอกว่า การพลัดพรากจากสิ่งที่รักเป็นทุกข์ อันนี้มาก การพลัดพรากจากสิ่งที่รักเป็นทุกข์นี่มาก คนเมื่อก่อนนี้ไม่มี แต่ต่อมามันมีอะไรขึ้นมา พอมีอะไรขึ้นมาเท่านั้นแหละ ใจมันเป็นอย่างไร ความยึดถือในสิ่งนั้นก็เกิดขึ้น ยึดถือว่าสิ่งนี้ของข้า ของฉัน ของเราขึ้นมาทีเดียว ความยึดถือในใจนั้นแหละ ที่มันเป็นมูลฐานที่จะทำให้เกิดทุกข์ เพราะความพลัดพราก เช่นว่าเราอยู่ในครอบครัวสามีภรรยาอยู่ด้วยกันมา อยู่กันมาตั้งแต่หนุ่มสาว แล้วก็จนแก่เฒ่า ก็ตายไปคนหนึ่ง ภรรยาตายก่อนบ้าง สามีตายก่อนบ้าง ใครคนหนึ่งตายไป คนที่อยู่ข้างหลังก็เป็นทุกข์ทุกข์เพราะอะไร

เพราะพลัดพรากจากสิ่งที่เรารักเราชอบใจ
เราเคยอยู่กันมา บางทีก็บ่นพิรี้พิไร แล้วคิดในเรื่องที่ไม่เป็นเรื่อง แล้วเวลานั่งก็เป็นทุกข์ นอนก็เป็นทุกข์ ยืน เดิน กิน อยู่เป็นทุกข์ทั้งนั้น ความทุกข์อย่างนี้เกิดจากพลัดพรากจากของรักของชอบใจ มารดาที่มีลูกน้อยที่น่ารัก น่าเอ็นดู เลี้ยงดูมา เกิดมาใหม่ๆ ยังไม่ได้เลี้ยง ตายก็ไม่ค่อยเป็นทุกข์เท่าไร แต่ถ้าเลี้ยงมาพอนั่งได้นอนได้ ยิ้มหัวเราะได้พูดจาได้คำสองคำ พอเห็นแม่ร้องว่า มะ มะ ขึ้นมาแล้วก็แหม! น่ารักน่าเอ็นดู พอเด็กนั้นมาตายลงไป แม่นี้ไม่เป็นตัวเอง ร้องไห้ร้องห่มเป็นทุกข์เสียเหลือเกิน เพราะลูกชายจากไป อย่างนี้เป็นทุกข์มาก
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #36 เมื่อ: 31 พฤษภาคม 2553 12:29:40 »


มีมารดาคนหนึ่งเมื่อ 2 ปีก่อน ลูก 2 คนไปโรงเรียนไปรับเองกลัวลูกจะเป็นอันตราย ถนนเพชรบุรีตัดใหม่นั่นแหละ ไปรับลูก ลูกเดินไปข้างหน้าแม่ รถยนต์คันหนึ่งมันเป็นรถชนิดที่เรียกว่ารถมฤตยู ขับมาเฉี่ยวเอาลูก 2 คนตายไปต่อหน้าต่อตา แม่ไม่ตายเฉี่ยวเอาลูก 2 คนตาย บอกว่ามันติดตามาตลอดเวลา เป็นทุกข์ตลอดเวลา พูดอะไรให้ฟังแกก็บอกว่า มันเสียใจ ถามว่าเสียใจเรื่องอะไรเสียใจว่ามันตายไปต่อหน้าต่อตา เราอยู่กับเขาแท้ๆ ยังป้องกันเขาไม่ได้ แล้วใครมันจะป้องกันใครได้
 
พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า สัตว์โลกนี้ไม่มีผู้ป้องกัน ไม่มีผู้ต้านทาน ใครจะมาป้องกันใครไม่ให้แก่ก็ไม่ได้ ป้องกันใครไม่ให้เจ็บก็ไม่ได้ ป้องกันไม่ ให้ตายก็ไม่ได้ แต่ไม่คิดในความจริงข้อนั้น นึกถึงภาพว่าลูกตายไปต่อหน้า เสียใจว่าอยู่เฉพาะหน้ายังช่วยไม่ได้ แล้วความจริงนั้นใครจะช่วยใครได้ คนที่ตายๆ ตายเฉพาะหน้าทั้งนั้น คนเจ็บลูกหลานมานั่งดูอยู่ บอกว่าดูใจ จะได้เห็นใจ ความจริงก็ได้เห็นอะไร คนที่นั่งอยู่นั้นเห็นอะไรมั่ง เปล่านั่งดูเฉยๆ เท่านั้นเอง คนตายปกติไม่ทุรนทุราย นอนหลับตาหายใจเบาลงๆ ก็ดับวูบไป จะเห็นใจได้อย่างไร ไม่ได้เห็นใจแต่ว่าเห็นร่างกายของผู้ตายเท่านั้น แต่เราพูดกันอย่างนั้นอยู่ เพื่อได้เห็นใจกัน ความจริงไม่เห็น แล้วคนตายก็พูดไม่ได้ พูดไม่ออก

เราพูดพร่ำก็ไม่ได้ยิน เพราะเวลาไกล้ตายนั้นหูอื้อตาลายมองอะไรไม่เห็น ฟังอะไรก็ไม่รู้
แต่ลูกหลานก็อุตส่าห์เข้าไปเป่าข้างหูมั่ง อะไรมั่ง อยากจะแนะนำว่า อย่าไปยุ่งอย่างนั้น คนจะตายนี่อย่าไปยุ่ง นั่งดูเฉยๆ อย่ารบกวน บีบตรงนั้น นวดตรงนี้ ทางที่ดีที่สุดเวลาเราไปเฝ้าคนไข้หนัก อย่าไปยุ่ง ให้หมอทำเรื่องของหมอไป หมอเขาให้หยูกให้ยาไปตามเรื่อง แต่คนถึงขั้นโคม่า เจ็บหนักใกล้จะหมดลมหายใจ เรานั่งเฉยๆ อย่าไปร้องไห้ร้องห่ม แสดงอาการให้มันวุ่นวาย นั่งเฉยๆ เงียบๆ ให้นึกถึงว่า เออ มนุษย์เราเกิดมาก็เท่านี้แหละ จะตายอยู่แล้ว อะไรๆ ก็เอาไปไม่ได้ นึกไปในรูปอย่างนั้นดีกว่า อย่าไปรบกวนคนป่วยให้วุ่นวาย

บางคนไปกอดอกซบหัววุ่นวายไปหมด อย่าไปทำอย่างนั้น ให้นั่งเฉยๆ ดูท่านไป เวลาท่านหมดลมท่านก็วูบไป ตาหลับ บางทีก็ไม่หลับ แต่ว่าลมหายใจไม่มี เงียบไปเอง แล้วก็รู้ว่าหมดลมหายใจอันนี้จะดีกว่า อย่าไปเที่ยววุ่นวายกับท่าน คนแก่บางคนสั่งเลย บอกว่าเวลากูเจ็บหนักใกล้จะตาย อย่ามายุ่งนัก นั่งดูเฉยๆ กูจะทำจิตทำใจอะไรของกูเอง กูฟังเทศน์ฟังธรรมมาเยอะแล้ว ไม่ต้องมาสอนกูตอนนั้นดอก
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #37 เมื่อ: 31 พฤษภาคม 2553 13:06:45 »


เพราะท่านเคยเห็นว่าลูกหลานนี่มันวุ่นวายตอนนั้น แล้วคนป่วยนั้นถึงไม่ถึงขั้นโคม่าก็อย่าไปยุ่ง อย่าไปถามรบกวน แล้วคนแก่ก็เหมือนกัน เรื่องอะไรๆ จัดเสียก่อนที่มันจะเจ็บจะไข้ รู้ว่าร่างกายของเรานี้ มันทรุดโทรมเต็มทีแล้ว มีอะไรก็จัดเสียให้เรียบร้อย เขียนพินัยกรรมเสีย เขียนเองก็ได้พินัยกรรม ไม่ต้องให้ใครเขียนให้บอกความจำนงไว้ ตรงนั้นให้คนนั้น ตรงนี้ให้คนนี้ ก่อนที่จะหมดลมหายใจ จัดการเสียให้เรียบร้อย ไม่ต้องให้ลูกหลานต้องทะเลาะเบาะแว้งกันในภายหลัง ถ้าอย่างนี้มันก็ไม่วุ่นวาย เราทำถูกตามหน้าที่ ความเจ็บไข้ได้ป่วยที่เกิดขึ้น ก็จะไม่เป็นเหตุให้เราเป็นทุกข์มากเกินไป เพราะปัญหาอย่างนี้ อันนี้เป็นเรื่องของความทุกข์ เพราะความพลัดพรากจากของรักของชอบ

ถ้าเราเตรียมตัวไว้ก่อน พิจารณาไว้ก่อน ท่านสอนให้พิจารณาอย่างไร คือให้พิจารณาว่า เราต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจเป็นธรรมดา เรามีอะไรอยู่ก็ใช้ไปเถอะ แต่บอกตัวเองว่า ใช้ไม่เท่าใดดอกมันจะจากเราไป ไม่เท่าใดดอก เราจะต้องจากมันไป ไม่มีอะไรจะอยู่กับเราตลอดไป บอกไว้อย่างนั้นเตรียมเนื้อเตรียมตัว บอกตัวเองไว้ล่วงหน้า พอมีเหตุการณ์พลัดพรากเกิดขึ้น เราก็ร้องอ๋อ ! ได้ เออ? กูว่าไว้นานแล้ว ว่ามันจะเป็นอย่างนั้น เราก็ไม่ต้องเป็นทุกข์มากเกินไป

คนเราเวลาเกิดไม่ได้เอาอะไรมา เวลาไปก็ไม่ได้เอาอะไรไป สิ่งทั้งหลายที่เราได้ใช้ได้กินอยู่ในชีวิตประจำวันนี้ ถือว่าเป็นของยืมมาทั้งนั้น ยืมมาชั่วคราว ยืมแล้วต้องส่งคืนเอาไปไม่ได้ พอเราจะไปก็ส่งคืนเขา ทรัพย์สมบัติก็ส่งคืนธรรมชาติ ร่างกายก็ส่งคืนธรรมชาติ ไม่มีอะไรที่เรียกว่าเป็นเนื้อแท้ เรานึกอย่างนั้น ใจก็ไม่ยึดมากเกินไป มีทรัพย์สมบัติก็ใช้ไปตามหน้าที่ บำรุงศาสนา บำรุงสาธารณกุศล อะไรพอจะช่วยได้ก็ช่วยไปตามเรื่อง ใช้สมบัติให้เป็นประโยชน์แก่ตัวแก่ท่านตามสมควรแก่ฐานะ พอถึงบทที่เราจะจากไป เราก็อย่าไปอาลัยอาวรณ์ ว่าเออ เสียดายสิ่งนั้น เสียดายสิ่งนี้ ไม่เข้าเรื่องเป็นทุกข์เปล่าๆ

ความพลัดพรากจากของชอบใจเป็นทุกข์ เพราะว่าเราไม่ได้พิจารณา แต่ถ้าเราได้พิจารณาแก้ไขไว้ ความทุกข์ในเรื่องนั้นก็จะไม่เกิดมีขึ้น อันนี้เป็นการปฏิบัติชอบอันหนึ่ง

พูดมาวันนี้ก็สมควรแก่เวลา จึงขอจบไว้แต่เพียงเท่านี้.




หอพระแก้ว : "อดีตเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต"
ตั้งอยู่ใจกลางเมืองหลวงประเทศลาว


Pic by : http://www.shallwe-travel.com/service?id=233
บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า:  1 [2]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.286 วินาที กับ 30 คำสั่ง

Google visited last this page 25 พฤศจิกายน 2567 15:09:10