[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 07:11:13 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ภิกษุณีกับชีวิตโสเภณี  (อ่าน 903 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 15 สิงหาคม 2561 17:55:15 »


พระอภัยมาตา ในจินตนาการของจิตรกร - เอ็ม วรพินิต


ภิกษุณีกับชีวิตโสเภณี

ภิกษุณีผู้บรรลุอรหัตตผลส่วนใหญ่มีภูมิหลังมาจากวรรณะพราหมณ์และกษัตริย์ มีไม่มากนักที่มาจากวรรณะแพศย์ มีเพียง ๑ รูปเท่านั้นที่มาจากวรรณะศูทร คือชั้นผู้ใช้แรงงาน   

เป็นที่น่าสนใจมากที่มีภิกษุณี ๔ รูป เคยมีอาชีพเป็นโสเภณีมาก่อน ท่านเหล่านี้ไม่มีวรรณะ อาจเป็นวรรณะที่เรียกว่าโอปปาติกะก็ได้ คือไม่มีพ่อแม่ คล้ายๆ กับว่าครั้งเมื่อเป็นทารกถูกนำไปทิ้ง แต่มีผู้ใจดีเก็บมาเลี้ยงไว้ เมื่อโตขึ้นเป็นคนสวย จึงได้ประกอบอาชีพโสเภณีก่อนจะอุทิศตนบวชเป็นภิกษุณี คือ ท่านอัมพปาลี ท่านอภัยมาตา ท่านวิมลา และท่านอัฒฑกาสี   

อัมพปาลีเป็นคนงาม ฐานะทางสังคมสูงมาก เพราะได้รับการแต่งตั้งจากสภาแคว้นวัชชี หมู่คณะที่เกี่ยวข้องกับเธอล้วนแต่อยู่ในแวดวงของพระราชา ราชบุตร กับพระสหายสนิทเท่านั้น ทั้งมีค่าตัวแพงลิบลิ่ว อัมพปาลี มีภูมิหลังอย่างไร เกิดวรรณะไหน ไม่มีใครรู้ รู้แต่ว่าเธอสวยมากและเฉลียวฉลาด เมื่อได้รับแต่งตั้งโดยสภาแคว้นวัชชี เป็นนางคณิกาของเมืองเวสาลี เธอยื่นเงื่อนไขขอความสะดวกสบาย ความเป็นอิสระ และความเป็นส่วนตัวไว้ค่อนข้างมาก คือ ต้องมีบ้าน มีทรัพย์ มีสวนส่วนตัว รวมทั้งข้าทาสบริวารและรถเทียมม้า

ไม่มีพระราชาหรือราชวงศ์องค์ใดใช้บริการนางคณิกาของเธอได้เกินกฎที่กำหนด คือ ครั้งหนึ่งก็คืนหนึ่งเท่านั้น และแน่นอนด้วยราคาแพงลิบลิ่ว คืนละ ๕๐ กหาปนะ (เท่ากับเงินหนัก ๒๐๐ บาท) พระเจ้าพิมพิสารเท่านั้นที่ได้สิทธิพิเศษใช้บริการนานถึง ๑ สัปดาห์ ด้วยเป็นพระราชารูปหล่อ นางพึงพอใจและนางได้ให้พระโอรสแก่พระเจ้าพิมพิสารองค์หนึ่ง นามพระโอรสว่า วิมลโกณฑัญญะ ซึ่งต่อมาได้ออกบวชและบรรลุอรหัตตผล จากนั้นจึงไปแสดงธรรมโปรดมารดาผู้มีศรัทธาสละชีวิตฆราวาส ออกบวชจนบรรลุอรหัตตผลในที่สุด

พระเจ้าพิมพิสารมีพระชนมายุน้อยกว่าพระพุทธองค์ ๕ พรรษา ได้ชื่อว่าเป็นเจ้าชายรูปงาม ผิวดังทองคำ อัมพปาลีหลงใหลถึงกับให้ช่างเขียนรูปประดับห้องนอนไว้เป็นที่ระลึกเลยทีเดียว พระเจ้าพิมพิสารเองก็เคยตั้งนางสาลวดีขึ้นเป็นคณิกาแห่งราชคฤห์ แต่ก็ไม่เป็นที่นิยม

สำหรับพระอภัยมาตานั้น เกิดในวรรณะใดไม่ปรากฏ ท่านมีนามเดิมว่าปทุมวดี (เพราะมีผิวผ่องงามดุจดอกบัว) เป็นชาวอุชเชนี แคว้นอวันตี และโดยวิถีแห่งความเป็นคณิกาของเมือง เธอเป็นอีกผู้หนึ่งที่ต้องใจพระเจ้าพิมพิสารพระองค์นั้นอย่างมาก จนได้พระโอรสองค์หนึ่งพระนามว่าเจ้าชายอภัย และเธอก็ได้ชื่อว่าอภัยมาตา แปลว่า มารดาของเจ้าชายอภัย ส่วนความหมายของพระนามอภัยก็คือ ไม่มีภัย     

พระอภัยมาตาได้เลี้ยงดูบุตรอย่างดียิ่ง ครั้นอายุครบ ๗ ขวบ เธอก็ส่งให้ไปกราบพระบิดาโดยมีพระธำมรงค์องค์หนึ่งถือไปเป็นสักขีพยาน พระธำมรงค์องค์นี้พระเจ้าพิมพิสารได้มอบให้เธอไว้ก่อนจากไปในครั้งกระโน้น     

เจ้าชายอภัยได้เข้าเฝ้าพระบิดาด้วยลีลาอันกล้าหาญ ปราศจากความตื่นกลัว พระองค์จึงโปรดประทานนามให้ว่า เจ้าชายอภัย แปลอีกความหมายหนึ่งว่า ผู้ไม่มีความกลัวŽ ทรงเลี้ยงดูดีเสมอด้วยเจ้าชายอชาตศัตรู พระโอรสองค์ใหญ่ ต่อมาเจ้าชายอชาตศัตรูชิงราชสมบัติ จับพระบิดาทรมานจนสวรรคต เจ้าชายอภัยทรงสลดใจมาก จึงเสด็จออกบวชและได้อรหัตตผลในไม่ช้า จากนั้นจึงเดินทางไปอุชเชนีเพื่อเทศน์โปรดพระมารดา ซึ่งพระอภัยมาตาได้เลิกชีวิตคณิกาออกบวชและบรรลุอรหัตตผลเช่นกัน     

สำหรับพระภิกษุณีอีก ๒ รูป คือ ท่านวิมลาเถรีและท่านอัฒฑกาสีเถรี ทั้ง ๒ ท่านมีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจมาก คือ ท่านแรกเป็นโสเภณีมาแต่กำเนิด คือมีมารดาเป็นโสเภณีมาก่อน ตนเองก็จำเป็นต้องเป็นโสเภณีโดยการสืบต่อ ส่วนท่านหลังนั้นเคยเป็นโสเภณีมาตั้งแต่ชาติปางก่อน กลับมาเกิดอีกชาติหนึ่งก็ยังเป็นโสเภณีอยู่ เนื่องจากเป็นคนสวยมาก มีค่าตัวแพง จำเป็นต้องลดค่าตัวลงมาครึ่งหนึ่งจึงได้ชื่อว่าอัฒฑกาสี คือ มีราคาเป็นครึ่งหนึ่งของราคาจริงตามกำหนดของแคว้นกาสี



ขอขอบคุณที่มาของเรื่องและภาพ
นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับ สิงหาคม ๒๕๕๓
ผู้เขียน : ส.สีมา
เผยแพร่ :วันอังคารที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๑

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.26 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 8 ชั่วโมงที่แล้ว