การไต่สวนของพญายมราชและหน้าที่ของพญายม
คตินิยมทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในไตรภูมิพระร่วง และตามเรื่องราวของพระมาลัยเถระนั้น กล่าวเอาไว้อย่างชัดเจนว่าองค์พญายมราชนี้เป็นเทวดาชั้นผู้ใหญ่ที่มีคุณธรรมและมีจิตใจเมตตาเป็นอย่างยิ่ง มิได้เป็นภูตผีปีศาจแต่อย่างใด หากแต่พระองค์ทรงรับหน้าที่ในการปกครองดินแดนนรก ดินแดนแห่งการลงทัณฑ์มีหน้าที่ไต่สวนดวงวิญญาณต่างๆ ที่จำบุญบาปของตนไม่ได้
สำหรับการไต่สวนดวงจิตวิญญาณเพื่อตัดสินความนั้น พญายมจะตั้งคำถาม 5 ข้อ ให้ดวงวิญญาณตอบโดยมีรายละเอียดดังนี้
ข้อที่ ๑.พญายมราชจำทำการไต่ถามถึงปัญหาข้อที่ว่า “ดูกรท่านผู้เจริญ ท่านเคยเห็นเด็กแดงๆ ยังอ่อนนอนแบเบาะ นอนเปื้อนมูตรคูถของตนบ้างไหม เห็นแล้วรู้สึกอย่างไร?” ถ้าตอบว่าเห็น แต่ไม่มีความรู้สึกอย่างไร พญายมราชก็จะบอกให้ทราบว่าเจ้าเป็นผู้มีความประมาท ไม่กระทำความดีทางกาย วาจา ใจ ไม่เคยคิดเลยว่าการเกิดมานั้นเป็นทุกข์ ดังที่เห็นอยู่เมื่อท่านประมาทเช่นนี้นายนิรยะบาลจะทำการลงโทษท่าน แล้วพญายมราชก็ปลอบใจผู้กระทำบาปเหล่านี้ โดยถามเป็นปัญหาที่สองเพื่อว่าดวงวิญญาณนั้นๆ อาจคิดถึงบุญได้ยามเมื่อฟังปัญหาต่อไป
ข้อที่ ๒. เมื่อพญายมราชได้ปลอบโยนเอาอกเอาใจแล้วก็ได้ถามปัญหาข้อที่๒ว่า ”ดูกรท่านผู้เจริญ ท่านเคยเห็นคนแก่อายุ ๘0,๗0,๑00 ปี หลังโก่ง คดงอ ถือไม้เท้า เดินงกเงิ่น ผมหงอก หนังเหี่ยว ตกกระ ในหมู่มนุษย์บ้างไหม เห็นแล้วท่านรู้สึกอย่างไร?” ถ้าตอบว่าเห็นแต่ไม่มีความรู้สึกอย่างไร พญายมราชก็กล่าวชี้แจงให้ทราบว่าท่านเป็นผู้ประมาท ไม่พิจารณาเห็นโทษของความแก่ ไม่ขวนขวายในการทำบุญทำกุศล ตั้งอยู่ในความประมาทนายนิรยบาลจะลงโทษท่านต่อจากนั้นพญายมราชก็จะพูดปลอบใจ และถามปัญหาต่อไป
ข้อที่ ๓. พญายมราชจะถามว่า “ท่านเคยเห็นคนป่วยไข้ที่กำลังได้รับความทุกข์เวทนาบ้างหรือไม่ เมื่อเห็นแล้วรู้สึกอย่างไร?” ถ้าตอบว่าเห็น แต่ไม่รู้สึกอย่างไร พญายมก็จะชี้แจงให้ทราบถึงเหตุผลว่าการเจ็บป่วยนั้นเป็นทุกข์ที่ไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงได้ จะต้องขวนขวายในการกระทำความดียิ่งๆขึ้น เพื่อให้พ้นจากสิ่งเหล้านี้ ท่านได้ชื่อว่าเป็นผู้ประมาทนายนิรยบาลจะลงโทษท่าน พญายมราชจะพูดปลอบอกปลอบใจและถามปัญหาข้อที่ ๔ ต่อไป
ข้อที่ ๔.พญายมราชได้ภามปัญหาด้วยจิตเมตตาต่อไปว่า “ท่านเคยเห็นคนที่ถูกจองจำ เช่น โจร ผู้ร้าย ผู้กระทำผิด ซึ่งถูกลงโทษด้วยวิธีต่างๆ เช่น การโบยด้วยแส้ โบยด้วยหวาย ตีด้วยกระบอง ตัดมือบ้าง ตัดเท้าบ้าง ตัดหูตัดจมูกบ้าง ตลอดจนยิงเป้า แขวนคอ นั่งเก้าอี้ไฟฟ้า หรือการฉีดยาพิษเข้าสู้ร่างกายเพื่อให้เสียชีวิตบ้างหรือไม่ เห็นแล้วรู้สึกอย่างไร?” ถ้าตอบว่าเห็น แต่ไม่รู้สึกอย่างไร พญายมราชจะชี้แจงให้ทราบว่าท่านเป็นผู้ตกอยู่ในความประมาท ไม่ขวนขวายในการทำบุญทำกุศล เพื่อให้พ้นจากวัฏสงสารเหล่านี้ นายนิรยบาลจะลงโทษท่านพญายมก็พูดปลอบโยนเอาอกเอาใจและถามปัญหาในข้อต่อไป
ข้อที่ ๕.พญายามราชก็จะถามปัญหาว่า “ท่านเคยเห็นคนตายบ้างหรือไม่ เห็นแล้วรู้สึกอย่างไร” ถ้ายังตอบเหมือนเดิมอีก คือเห็นแล้วไม่มีความรู้สึกอย่างไร และไม่ได้ขวนขวายในการที่จะกระทำคุณงามความดียิ่งๆขึ้น ก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้ตกอยู่ในความประมาท ซึ่งไม่ใช่ความผิดของบิดามารดา ญาติพี่น้อง มิตรสหายหรือเทวดาดลใจแต่เห็นความผิดของท่านเอง นายนิรยบาลจะลงโทษท่าน เมื่อพญายมราชได้พูดปลอบใจแล้ว นายนิรยบาลก็จะจับผู้ประมาทนั้นมาจองจำ๕ ประการด้วยกัน คือ นำมือข้างที่ ๑ มาตรึงด้วยตะปูด้วยเหล็กแดง นำมือข้างที่ ๒ มาตรึงด้วยตะปูเหล็กแดง น้ำเท้าข้างที่ ๑ มาตรึงด้วยตะปูเหล็กแดง นำเท้าข้างที่ ๒ มาตรึงด้วยตะปูเหล็กแดง และตรึงตะปูที่ทรวงอกตรงกลางสัตว์เหล่านั้นย่อมเสวยทุกขเวทนาอย่างแรงกล้าอยู่ในนรก แต่ก็ยังไม่ตายตราบเท่าที่บาปกรรมยังไม่หมดสิ้น
ในการถามปัญหา ๕ ข้อนี้ ท่านจะคอยถามว่า ยามเมื่อมีชีวิตอยู่นั้นได้ทำบุญทำบาปอะไรไว้บ้าง นอกจากนี้ยังถามว่าเคยเห็นเด็กทารกที่นอนจมกองอาจมหรือไม่ เมื่อเห็นแล้วเคยรู้สึกสังเวชในการเกิดการเป็นการอยู่ เคยตรึงตรองถึงธรรมการเกิดขึ้นของมนุษย์หรือไม่ ต่อจากนั้นพญายมราชก็จะซักถามต่อไปอีกว่า เคยเห็นคนเจ็บป่วยไม่สบายหรือไม่เห็นแล้วรู้สึกอย่างไร สังเวชในธรรมของการเป็นการอยู่ของมนุษย์เราหรือไม่ เป็นคติเตือนใจเราเองได้หรือไม่ แล้วถามอีกว่าเคยเห็นคนแก่ชราหรือไม่ เมื่อเห็นแล้วเคยน้อยกลับมาดูตัวเองหรือไม่ว่าเราเองต้องแก่เหมือนกัน และไม่อาจหลีกเลี่ยงไปได้ เคยได้ตรึกตรองในสัจธรรมความจริงข้อนี้หรือไม่ สุดท้ายก็ถามย้ำอีกว่า แล้วเคยเห็นคนตายไหม เคยคิดหรือไม่ว่าตัวเราเองหรือไม่ว่าตัวเองต้องแก่ชราเช่นนั้นเหมือนกันไม่ว่าวันใดก็วันหนึ่งเคยนึกได้เช่นนี้บ้างไหม
การที่ท่านถามนี้ก็เพื่อว่าบุคคลใดก็ตามที่เคยเห็นแล้วพิจารณานึกได้ เกิดความสังเวชในชีวิตบ้าง นับว่าบุคคลนั้นยังมีจิตใจเป็นบุญกุศลยังมีจิตใจเป็นบุญเป็นกุศล เพราะจิตเคยเข้าสู่การพิจารณาสังเวชในธรรมเป็นไปตามที่พระองค์ท่านให้พิจารณา จิตที่พิจารณาถึงธรรมสังเวชเห็นความเกิด แก่ เจ็บ ตายได้ นับว่าบุคคลผู้นั้นมีปัญญาและมีจิตระเอียดอ่อน การที่จิตตกอยู่ในธรรมสังเวชนั้นแล จะเป็นบุญแก่จิตรของบุคคลผู้นั้นและนับเป็นบุญมหาสารได้ หากขณะที่องค์พญายมราชไต่สวนเราหมดแล้ว ยังไม่อาจระลึกในสิ่งที่เป็นบุญกุศลได้เลย แน่นอนว่าย่อมมีทุคติภูมิหรือนรกเป็นที่ไป
ก่อนที่พญายมราชจะส่งดวงวิญญาณทั้งหลายไปลงนรกนั้น พระองค์จะไต่สวนให้เที่ยงธรรมเสียก่อนว่า ดวงวิญญาณทั้งหลายนั้นเคยทำบุญกุศลอะไรบ้างหรือไม่ หากเคยทำบุญกุศลบ้างพระองค์จะได้ไปส่งไปยังสุคติ แต่หากดวงวิญญาณทั้งหลายเหล่านั้นไม่สามารถระลึกถึงกุศลได้เลย ก็แน่นอนว่าย่อมถูกส่งไปยังนรกชั้นต่างๆตามโทษทัณฑ์ที่ดวงวิญญาณนั้นจะได้รับอย่างสาสม
หากผู้ใดได้ประกอบกุศลกรรมอยู่เป็นนิจ ในดวงจิตก็จะมีความสำนึกในกุศลกรรมนั้น เมื่อถึงวันที่ต้องอยู่ต่อหน้าพระพักตร์ของพญายมราช ยามที่ได้ยินคำถามของท่านก็จะสามารถระลึกถึงจิตอันเป็นกุศลของตนได้และยอมได้ไปสู่สุคติภพในที่สุด
ที่มา : ไตรภูมิพระร่วง
.
http://board.palungjit.com/f124/การไต่สวนของพญายมราชและหน้าที่ของพญายม-89575.html
.