[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 07:35:29 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: "กนกนคร" วรรรณกรรมรักข้ามชาติภพ  (อ่าน 12360 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 07 กันยายน 2561 13:41:36 »




.  กนกนคร  .
พระนิพนธ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ (น.ม.ส.)

กนกนคร เป็นพระนิพนธ์ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ หรือ น.ม.ส. มีลักษณะเป็นวรรณคดีนิทาน ส่วนใหญ่แต่งด้วยคำประพันธ์ชนิดกลอนหก มีกาพย์สุรางคนางค์แทรกอยู่ ๔ บท น.ม.ส.ทรงเริ่มนิพนธ์ในตอนกลางปี พ.ศ.๒๔๕๘ และจบในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๔๖๕ ทรงชี้แจงว่าที่ใช้เวลาเกือบ ๗ ปีนั้น เพราะได้ทรงแต่งบางตอนแล้วทอดทิ้งไป ๒ ปี และทรงแต่งๆ หยุดๆ อยู่ประมาณ ๖ ปีครึ่ง เรื่องถึงตอนที่กล่าวถึงนางแทตย์ ต่อจากนั้นมาจนจบทรงแต่งเสร็จในราว ๓ เดือนเท่านั้น ทรงจัดพิมพ์เผยแพร่ใน พ.ศ.๒๔๖๕

สาเหตุที่ทรงนิพนธ์นั้น น.ม.ส.ทรงชี้แจงว่า สืบเนื่องมาจากเมื่อทรงนิพนธ์เรื่องพระนลคำฉันท์ ซึ่งเป็นกวีนิพนธ์คำฉันท์ขนาดยาวเสร็จแล้ว ทำให้ทรงคุ้นเคยกับคำประพันธ์ประเภทฉันท์จนเกรงว่าจะไม่ทรงสามารถแต่งคำประพันธ์ประเภทอื่นได้ จึงมีพระประสงค์จะนิพนธ์บทกวีด้วยคำประพันธ์ประเภทอื่นบ้าง เรื่องกนกนครนี้ทรงได้เค้าเรื่องมาจากเรื่องเมืองทองในกถาสริตสาครและตฺริวิกรฺมาโธคาศฺรีระ  อย่างไรก็ดีส่วนใหญ่เป็นการสร้างสรรค์จากจินตนาการของพระองค์เอง ดังที่ทรงชี้แจงไว้ในคำนำว่า

“แต่เรื่องกนกนครนี้มิใช่เอาจากตฺริวิกรฺมาโธคาศฺรีระอย่างเดียว ต้องกล่าวว่า ประกอบขึ้นด้วย (๑) เรื่องเมืองทอง  (๒) ตฺริวกฺรมาโธคาศฺรีระ  (๓) น.ม.ส. ทั้งสามนี้รวมกัน ถ้าถามว่า ส่วนไหนมาก ก็อยากจะตอบอย่างตำรายาว่า ที่ (๑) กับที่ (๒) เสมอภาค ที่ (๓) เท่ายาทั้งหลาย”

น.ม.ส.ทรงชี้แจงว่าในการแต่งไม่ได้ทรงคำนึงถึงการนำไปขับร้องหรือนำไปเป็นบทละคร ทรงตั้งพระทัยจะเล่านิทานเป็นกลอนหกที่ไพเราะเท่านั้น  นอกจากนี้ทรงยอมรับว่าจำเป็นต้องใช้ศัพท์สูงอยู่มาก ไม่ทรงหวังว่าผู้อ่านทุกชั้นทุกวัยจะเข้าใจได้ซาบซึ้ง แต่ก็ได้ทรงอธิบายคำศัพท์ไว้ในภาคอธิบายข้างท้ายเรื่อง  

เนื้อเรื่องของกนกนครแบ่งเป็น ๓ ภาค ได้แก่ ภาคสวรรค์ ภาคพื้นดิน และบนยอดเขาไกรลาส  เนื้อเรื่องย่อมีอยู่ว่า พญากมลคนธรรพ์ได้บำเพ็ญพรตบูชาพระอิศวรเป็นเวลานาน จนพระอิศวรสงสารและคิดจะช่วยเหลือตอบแทน  พระอิศวรได้แปลงกายเป็นโยคี เสด็จจากเขาไกรลาสมาถามว่าต้องการสิ่งใดก็จะให้ ตอนแรกพญากมลตอบว่าตนได้แสดงความสวามิภักดิ์อยู่ใกล้พระอิศวรก็พอใจแล้ว ไม่ต้องการสิ่งใดอีก แต่พระอิศวรก็คะยั้นคะยอให้ขอพร พญากมลจึงขอหญิงงามมีดวงตาสีเหมือนศอพระอิศวร  พระอิศวรให้พรตามขอและเตือนว่าระวังภัยร้ายจะเกิดขึ้น พญากมลกลับคืนที่อยู่เข้าไปในสวน พบนางอนุศยินีก็พามาเป็นชายา  นับวันก็หลงรักนางเป็นนักหนา เที่ยวพาอวดไปทั่วว่านางงามเลิศไม่มีใครเทียม บรรดาคนธรรพ์ต่างก็หมั่นไส้และแย้งว่าไม่จริง เพราะหญิงแต่ละคนก็งามต่างๆ กัน พญากมลอวดว่า แม้ฤๅษีบำเพ็ญตบะอยู่เมื่อเห็นนางอนุศยินีก็จะตบะแตก บรรดาพญาคนธรรพ์จึงท้าให้พานางไปยั่วปาปะนาศน์ฤๅษีซึ่งบำเพ็ญตบะอยู่ที่ไหล่เขา นางอนุศยินีขอร้องไม่ให้ทำ แต่พญากมลก็ไม่ฟัง เมื่อนางอนุศยินีไปยั่วยวน ปาปะนาศน์ฤๅษีขุ่นเคืองใจจึงสาปทั้งคู่ให้ไปเกิดในเมืองมนุษย์ ให้ได้รักกันแล้วต้องพลัดพรากจากกัน ต้องระทมทุกข์จนกว่าจะพ้นคำสาป

นางอนุศยินีไปเกิดเป็นธิดาท้าวชัยทัตเมืองอินทิราลัย นางสวยงามมากมีนัยน์ตาสีดังศอพระอิศวร  พระบิดาจัดพิธีสมโภชตั้งชื่อว่า กนกเรขา  เมื่อเป็นสาวก็จัดให้มีพิธีสยุมพรให้นางเลือกคู่ นางบอกว่าไม่อยากมีคู่แต่ก็ไม่ได้เกลียดผู้ชาย แต่เป็นเพราะมีชายในฝัน  พระอิศวรพามาเข้าฝันเป็นผู้ที่มาจากกนกนครหรือเมืองทอง ฝ่ายพญากมลไปเกิดเป็นโอรสของท้าวธรรมราชแห่งเมืองอละกาได้ชื่อว่าอมรสิงห์ เมื่อโตเป็นหนุ่มไม่คิดมีคู่ แม้ว่าพระบิดาจะเคี่ยวเข็ญเพียงใดก็ตาม ยืนยันว่ามีนางในฝันแล้วไม่มีใครสวยเทียบได้ ท้าวธรรมราชกริ้วสั่งให้นำไปขัง อมรสิงห์หนีจากที่คุมขังได้ก็ออกตามหานาง จนไปถึงเมืองอินทิราลัย รู้สึกเบื่อหน่ายอยากจะฆ่าตัวตายก็พอดีได้ยินเสียงป่าวประกาศว่าหากใครรู้เรื่องเมืองทองจะได้รางวัล โดยกษัตริย์จะแบ่งเมืองให้ครอบครอง และจะได้อภิเษกกับธิดากษัตริย์ เลยคิดจะเข้าไปแจ้งว่าตนรู้เรื่องเมืองทองโดยไม่เกรงว่าจะถูกกล่าวหาว่าหลอกลวง เมื่ออมรสิงห์กับนางกนกเรขาพบกัน ต่างรู้สึกว่าเคยเห็นกันมาก่อน แต่เมื่อนางกนกเรขาถามอมรสิงห์ว่าเมืองทองอยู่ที่ไหน อมรสิงห์ไม่สามารถจะตอบได้ว่าเมืองทองอยู่ที่ไหน นางกนกเรขาไม่พอใจในคำตอบจึงทูลให้ท้าวชัยทัตขับไล่ อมรสิงห์ถูกทุบตีขับไล่ได้รับความเจ็บปวด เมื่อเดินทางไปถึงสระผีสิงก็คิดจะฆ่าตัวตายอีก แต่พอจะกระโดดก็ได้ยินป่าวประกาศถึงคนที่รู้เรื่องเมืองทองอีก จึงคิดจะเดินทางไปหาเมืองทอง พบฤๅษีซึ่งทายปัญหา ๓ ข้อ คือ วิถีทางโลก วิธีสตรี และวิถีนิพพาน  อมรสิงห์ได้ตอบโดยเล่าเป็นนิทาน  อมรสิงห์ต้องผจญภัยต่อสู้กับรากษส พบนางแทตย์ ทั้งอมรสิงห์และนางกนกเรขาต้องพลัดพรากจากกันไปเป็นเวลานาน จนในที่สุดได้พ้นคำสาป และได้กลับขึ้นไปสู่สวรรค์ด้วยกันอีกครั้งหนึ่ง



คำนำ

นิทานนี้มีเค้าเดิมในหนังสือสํสกฤตชื่อ กถาสริตสาคร ซึ่งเปนสมุดรวบรวมนิทานไว้เปนอันมาก กถาสริตสาครนั้นพราหมณ์ชื่อโสมเทวได้แต่งระหว่าง พ.ศ.๑๖๐๖ กับ พ.ศ.๑๖๒๔ สำหรับเปนเครื่องสำราญของนางพระยาทรงนามสูรยวดี มเหสีของพระมหากษัตร์ทรงนามอนันต เจ้าแผ่นดินแคว้นกัศมีร แต่โสมเทวกล่าวว่านิทานในกถาสริตสาครนี้ ได้มาจากสมุดอีกเล่มหนึ่งเรียกพฤหัตกถา ซึ่งเปนหนังสือเก่าขึ้นไปอีกหลายร้อยปี ส่วนพฤหัตกถานั้นเล่าก็คัดเอาเนื้อเรื่องนิทานมาจากหนังสือเก่าขึ้นไปอีกชั้นหนึ่ง จนไม่มีใครทราบว่าเก่าเพียงไรแน่

นิทานมาจากหนังสือเก่าเช่นนี้ วิธีผูกเรื่องย่อมจะผิดกับวิธีของเราในสมัยนี้ แลนิทานในสมุดที่ออกชื่อมานั้น พราหมณ์เปนผู้แต่ง ตัวเฟื่องฟูในเรื่องนิทานจึงมีชาติเปนพราหมณ์อยู่บ่อย ๆ เช่นในเรื่องนี้ ซึ่งในกถาสริตสาครเรียกเรื่อง “เมืองทอง” นั้นก็มีพราหมณ์เปนนายโรงเอก ได้ลูกสาวท้าวพระยาเปนภริยาร่ำไป การยกย่องตระกูลพราหมณ์ถึงเช่นนั้น เราท่านที่ไม่ได้อยู่ในศาสนาพราหมณ์ย่อมเห็นรุ่มร่าม เพราะนายโรงเอกในเรื่องชนิดนี้ต้องเปนกษัตร์จึงจะงดงามตามความเห็นของเรา

ถ้าท่านได้อ่านเรื่อง “เมืองทอง” ในกถาสริตสาครท่านคงจะเห็นว่า จะเอาเรื่องมาแต่งเปนกลอนไทย ควรต้องแก้รูปเรื่องไปจนแทบจะจำไม่ได้ เรื่องกนกนครนี้ก็เรื่องเมืองทอง แต่วางโครงเสียใหม่ตามรูปที่ผู้แต่งเห็นว่าดีขึ้น

เมื่อตอนกลางปี พ.ศ. ๒๔๕๘ ข้าพเจ้าได้แต่งพระนลคำฉันท์เสร็จแล้ว เวลาว่างก็จะลองแต่งกาพย์กลอนอย่างอื่นดูบ้าง นึกว่าเมื่อได้แต่งฉันท์ยืดยาวแล้ว จะแต่งอะไรอื่นเห็นจะง่ายแสนง่าย แต่เมื่อได้ลองแต่งอะไรดูก็ชักจะวนไปเปนฉันท์ร่ำไป กาพย์กลอนอื่นกลับจะยากกว่าฉันท์ไปทั้งนั้น อันที่จริงเราท่านย่อมเห็นกันว่าการแต่งฉันท์ถูกครุลหุอย่างบริสุทธิ์นั้น ยากกว่าแต่งกาพย์กลอนชนิดอื่น ๆ ทั้งหมด แต่ถ้าท่านลองแต่งฉันท์ดูสัก ๓,๐๐๐ บทจน “เฟื่อง” แล้ว ท่านคงจะเห็นว่าแม้แต่กลอน ๘ ซึ่งถูกหมิ่นว่าง่ายจนถึงได้ชื่อว่ากลอนตลาดนั้น ก็แต่งไม่ได้คล่องเหมือนฉันท์ เมื่อลองจบแต่งดูบ้างก็กุกกักไม่ใคร่พอใจตน ดูเหมือนเรายังไม่ทันรู้ตัวมันก็กลายเปนฉันท์ไปเสียแล้ว วันหนึ่งข้าพเจ้ามีธุระจะต้องการโคลงสักบทหนึ่ง จึงจับแต่งเปนโคลงสุภาพ อันเปนกาพย์กลอนชนิดซึ่งข้าพเจ้าเลิกแต่งมานานเพราะทนงว่าแต่งได้ดีพอใจตัวแล้ว ในวันนั้นกลับนึกจะจับแต่งโคลงสุภาพ จึงขึ้นต้นได้ ๒ บาทแล้วชงักอยู่ อีกประเดี๋ยวเดียวโคลงที่แต่งแล้ว ๒ บาท แลที่ยังไม่ได้แต่งอีก ๒ บาทนั้นกลายเปนฉันท์สัททูลไปถึง ๔ บท โคลง ๔ บาทกับฉันท์สัททูล ๔ บทนั้นผิดอันมาก แต่ก็เปนไปได้ ข้าพเจ้าเคยเปนเช่นนี้อยู่พักหนึ่ง จนนึกวิตกว่าจะแต่งอะไรนอกจากฉันท์ไม่ได้ต่อไปอีกกระมัง การเปนดังนี้ทำให้มีมานะคิดว่าจะขืนแต่งกลอนให้จนได้ จึงจับหนังสือกถาสริตสาครคำแปลเปนอังกฤษขึ้นอ่านหาเนื้อเรื่อง พบเรื่องเมืองทองเห็นเข้าท่วงทีว่าจะใช้ได้ แต่มีลักษณะรุ่มร่ามที่ควรดัดแปลงหลายอย่าง จึงจับเอาเรื่องมา “วาด” ดูใหม่พอเปนเค้า ยังไม่ทันจะจับแต่งเปนกลอนก็พอได้หนังสือมาใหม่อีกชุดหนึ่ง จึงลองจับอ่านดู ดูเหมือนแทบจะเรื่องแรก ก็พบเรื่องเมืองทองแปลงรูปไว้เสร็จ อย่างที่เราคิดแลวาดขึ้นไว้ แต่บรรยายไว้เกลี้ยงเกลากว่าโครงของเราซึ่งยังมิทันบรรยายนั้นเปนอันมาก หนังสือนั้นเปนภาษาอังกฤษกล่าวว่าแปลมาจากสมุดสํสกฤตชื่อ ตฺริวิกฺรมาโธคาศฺรีะ อันเปนหนังสือซึ่งข้าพเจ้าไม่เคยได้ยินชื่อที่อื่นเลย

เมื่อมาสบเหมาะเข้าเช่นนี้ก็นับว่าโชคดี เปนอันลงมือแต่งกลอนได้ แต่เรื่องกนกนครนี้มิใช่เอามาจาก ตฺริวิกฺรมาโธคาศฺรีะ อย่างเดียว ต้องกล่าวว่าประกอบขึ้นด้วย (๑) เรื่องเมืองทอง (๒) ตฺริวิกฺรมาโธคาศฺรีะ (๓) น.ม.ส. ทั้งสามนี้รวมกัน ถ้าถามว่าส่วนไหนมากส่วนไหนน้อย ก็อยากจะตอบอย่างตำรายาว่าที่ (๑) กับที่ (๒) เสมอภาค ที่ (๓) เท่ายาทั้งหลาย

ผู้อ่านพึงรำลึกว่า นิทานนี้เนื้อเรื่องเดิมเปนเรื่องแขกฮินดู ผู้แต่งเปนไทยแต่งกลอนไทยให้ไทยอ่าน แต่เปนผู้รู้ภาษาอังกฤษ นึกในภาษานั้นได้ เหตุฉนั้นความคิด ความเปรียบ หรือเชิงความและสำนวนที่กล่าวก็ดี อาจเปนไทย ๆ แขก ๆ ฝรั่ง ๆ ปะปนกันหลายขนาน ข้อสำคัญอยู่ที่ว่า ถ้าท่านเห็นว่าได้ปรุงเข้ากันกลมกล่อมดีแล้วก็เปนอันใช้ได้

หนังสือนี้ผู้แต่งเปนผู้ร้องเพลงไม่เปน และรำลครไม่เปน จึงมิได้เอาการร้องและการรำมาคำนึงในเวลาที่แต่งนั้นเลย ตั้งใจจะเล่านิทานเปนกลอน ๖ ซึ่งเพียรจะให้ไพเราะเท่านั้น วันหนึ่งมีผู้ถามข้าพเจ้าว่า เรื่องกนกนครของข้าพเจ้านั้นจะขอเอาไปเล่นลครได้หรือไม่ ข้าพเจ้าตอบว่าไม่ได้เปนอันขาด เพราะผู้แต่งไม่เคยเอาการเล่นลครมาคำนึงเลย ท่านผู้นั้นตอบว่า ไม่เปนไรดอก ถ้าเนื้อเรื่องใช้ได้แล้วขอเอาไปแก้ไขสักสองสามวันก็ใช้ได้ ข้าพเจ้าร้องขอทันทีว่าอย่าให้มีใจดุร้ายเช่นนั้นเปนอันขาด เพราะกลอนนี้ของข้าพเจ้า ถ้าท่านแก้ ถึงหากจะดีขึ้น ก็จะผิดสำนวนเจ้าของไป ถ้าท่านอยากจะเล่นลครก็จงหาเรื่องที่อื่นเถิด ข้าพเจ้านำเอาความข้อนี้มาเล่าเพื่อจะกล่าวคำร้องขอนั้นซ้ำไว้ในที่นี้อีกครั้งหนึ่ง

กลอนนี้เคยถูกทักท้วงในเวลาที่ยังเปนร่างว่า ก็เมื่อมิได้ตั้งใจจะแต่งเปนบทลคร เหตุใดจึงมี “เมื่อนั้น” “บัดนั้น” อย่างที่ใช้ในบทลคร แลทั้งมีลักษณะแปลก ๆ อีกหลายทางที่ไม่เคยมีเยี่ยงอย่างในหนังสือเก่า คำที่ว่านี้ก็คงถูก แต่ผู้แต่งชอบอย่างนั้นจึงมิได้แก้ไขข้อที่เปนตำหนิ

หนังสือนี้ได้เริ่มแต่งในตอนกลางปี พ.ศ.๒๔๕๘ พึ่งจบเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๔๖๕ นี้เอง ที่ใช้เวลาเกือบ ๗ ปีนี้ เพราะได้แต่งบางตอนแล้วทิ้งทอดไปตั้ง ๒ ปีจึงจับแต่งต่อก็มี พอกล่าวเปนเลาๆได้ว่า ตั้งแต่ตอนต้นมาเพียงที่กล่าวถึงนางแทตย์ ได้แต่งๆอยุดๆอยู่ประมาณ ๖ ปีครึ่ง ต่อนั้นมาจนจบได้แต่งเสร็จในราว ๓ เดือนเท่านั้น

อนึ่งคำกลอนนี้ได้ตั้งใจแต่งอย่างพิถีพิถัน ผู้ชำนาญกลอนอาจสังเกตได้ว่าผู้แต่งได้ตั้งข้อบังคับตัวเองหลายอย่าง เมื่อทำดังนั้นก็เสียเปรียบทำให้แต่งยาก จึงจำเปนต้องใช้ศัพท์มากขึ้นแลแปลกกับศัพท์ที่ใช้ตามธรรมดาในกลอน อย่างเดียวกับผู้แต่งฉันท์ต้องถูกบังคับคำหนักคำเบาตามคณะ จึงต้องใช้ศัพท์สูง ๆ จนคนสามัญอ่านไม่ใคร่รู้เรื่อง กลอนกนกนครก็กระเดียดจะเปนอย่างนี้ ถึงจะยังหย่อนกว่าฉันท์อยู่มาก ก็ไม่หวังว่าผู้อ่านทุกชั้นจะเข้าใจซึมซาบได้ นี่เปนข้อบกพร่องซึ่งผู้แต่งพยายามจะให้ลดน้อยลงไปโดยที่เขียนชี้แจงคำแลความที่ควรชี้แจงไว้ในภาคอธิบาย ซึ่งมีไว้ข้างท้ายสมุดนี้

พิทยาลงกรณ
วันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๕



พิศเนตรนวลนางกลางสินธุ์ คือนิลสีศอมหิศร
แสงศอแสงโฉมศศธร        ในเนตรบังอรรวมพร้อมฯ
                                     
       . กนกนคร  .
       พระนิพนธ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ (น.ม.ส.)

ภาค ๑ บนฟ้า

๏ มาจะกล่าวบทไป ถึงพญากมลมิตรฤทธิ์กล้า
กระเดื่องเลื่องชื่อฦๅชา         เลอศักดิ์รักษาสัตย์ทรง
ยิ่งใหญ่ในสกลคนธรรพ์ ผองพรรณ์พึงพิศพิศวง
อาภรณ์อาภาอ่าองค์         เพราพริ้งยิ่งยงทรงลักษณ์ ฯ
๏ เธอพร่ำทำพรตกฎกล้า           บูชาพระศุลีมีศักดิ์
แรงเรี่ยวเชี่ยวฌานนานนัก        เพ่งพักตร์ภักดีศีวะ
แจ่มใจในพรตปลดบาป แรงตบะบ่มรักภักดี ฯ
๏ เมื่อนั้นพระวิศเวศวรเรืองศรีอ ๑.
เอี่ยมอาสน์ไกลาสคีรี เอมอิทธิ์ทฤษฎีตรีภพ
แลเพ่งเล็งพิศทิศทศ         ปรากฎทุกแหล่งแจ้งจบ
ส่ายเนตรทัศนาปรารภ แลพบกมลมิตรจิตต์น้อม
บ่มตบะบำเพ็ญเห็นชัด         บันทัดธรรมบถอดผอม
โดยแบบดาบสพรตพร้อม หว่านล้อมน้ำใจในบุญ
มเหศวรหวนทรงสงสาร         ชมฌานเชิดเนื่องเครื่องหนุน
หมายเอื้ออุปถัมภ์ค้ำคุณ ค้ำจุนจินตนาอารี
จึ่งเสด็จจากหล้าผาขาว        ดังดาวดูเด่นเพ็ญศรี
เอี่ยมองค์ทรงรูปโยคี ศศีเสียบเผ้าเพราพราย ฯอ ๒.
พระอิศวรตรัสแก่พระยาคนธรรพ์ว่า
๏ อ้าพญากมลมิตรจิตต์ คือแก้วก่องเกิดเฉิดฉาย
ไพบุลย์คุณธรรมกำจาย        ชนหลายรู้เฟื่องเลื่องฟ้า
กอบกรรมทำกิจพิธี ภักดีต่อเราเจ้าหล้า
จักให้พรเจ้าเรามา         ปราถนาฉันไหนใคร่อวย
อยากได้อย่างใดให้ขอ อย่าท้อใจสเทินเขินขวย
ศักดิ์สิทธิ์ฤทธิ์ล้ำร่ำรวย        อำนวยไม่ห้ามตามใจ ฯ
พญาคนธรรพทูลตอบว่า
อ ๓.๏ อ้าพระธำรงคงคา         พระคุณกรุณาหาไหน
ข้าบำเพ็ญบุญคุณมัย โดยใจจงรักภักดี
ใช่เลศเหตุใคร่ได้ลาภ         เอิบอาบอิทธิ์กล้ากว่ากี้
ขอคุณกรุณาปรานี ข้าทาสบาทธุลีสืบไป
ให้นั่งตั้งจิตต์คิดรัก         อยู่หน้าสามิภักดิ์ใกล้ๆ
เท่านี้มีสุขปลุกใจ แสนหมื่นอื่นไม่หมายดล ฯ
พระอิศวรตรัสว่า        
๏ อ้าพญาคนธรรพ์ เชาวน์เชิดชูเฉลิมเพิ่มผล
เหมาะหมดพจมานบานมนอ ๔. จักถกลเกียรติ์ไกรใหญ่นัก
เรามีวาจาว่าไว้        ว่าให้พรเธอเลอศักดิ์
จักขอเร่งขอข้อรัก ขอจักจวบนัยใจจอง ฯ
พญาคนธรรพ์ทูลว่า        
๏ ข้าแต่พระศศิเศขรอ ๕. อาทรอุปถัมภ์ล้ำผอง
พระหทัยใฝ่ม่งทรงปองอ ๖.         โดยคลองการุญบุญมัย
ประโยชน์โปรดใหญ่ให้ข้า ผู้ฝ่าบทศรีอดิศัย
ขอนางพางจันทร์ขวัญใจ         งามใสเนตรสองส่องฟ้า
เหมือนสีพระศอทรงศักดิ์อ ๗. เหมือนจันทร์อันปักเกศา
ได้แนบนงคราญกานดา         ภริยาเยาว์ยวนควรครอง
ยามพิศเนตรนางพางเห็น ศัมภูผู้เปนเจ้าของอ ๘.
จักรื่นอารมณ์สมปอง         เพิ่มภักดิ์รักลอองบทมาลย์ ฯ
๏ เมื่อนั้น พระศุลียินคำร่ำขาน
เห็นเรื่องเบื้องน่าช้านาน         ทราบการณ์แน่หนักจักมี
ตรัสว่าอ้าเจ้าเมามันท์ ซึ่งสรรภริยาอ่าศรี
แสงเนตรสีนิลรูจี         รังสีเล่ห์แสงศศธรอ ๙.
ส่อเข็ญเปนภัยใหญ่หลาย ย่อมร้ายยิ่งฤทธิ์พิษศร
เร่งระวังตั้งตัวกลัวร้อน        สังหรณ์เห็นเหตุเภทภัย
จงสมจิตต์หวังดังมาด ไป่คลาดบรรหารขานไข
ตรัสเสร็จเสด็จกลับฉับไววับไปจากหน้าคนธรรพ์ ฯ
๏ เมื่อนั้น กมลมิตรปรีเปรมเหมหรรษ์
บังคมก้มราบกราบพลัน         คืนจากพนารัญทันที
อันความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า หน้าตาซีดซัวมัวศรี
เหตุเพราะทรมานนานปี         ในที่มัวหม่นมลทิน
เดชะพระอิศวรทรงยศ เคลื่อนคลายหายปลดหมดสิ้น
เรืองรองผ่องพักตร์เพียงอินทร์         อื่นสิ้นไป่เปรียบเทียบทัน ฯ
๏ คืนสู่นิเวศน์วิจิตร โศภิตพรายแสงแสร้งสรร
คิดโฉมชายาลาวัณย์         ศรีจันทร์คือศรีนัยนา
เคร่าใคร่ได้เคลียเมียมิ่งอ ๑๐. นั่งนิ่งเหิมหรรษ์ฝันหา
ป่วนใจใฝ่ขวัญกันดา         นึกหน้านวลใยใคร่ยล ฯ
๏ หยุดนั่งยั้งนอนห่อนได้   วนไปเวียนมาสับสน
ออกห่างปรางคำอำพน         เดิรด้นสู่สวนมาลี ฯ
๏ เห็นนางนวลศรีมีโฉม ดังโสมส่องหล้าราศี
เนาเรือเหนือสรัสปัทมีอ ๑๑.                   ตรณีจันทร์นวลชวนชมอ ๑๒.
พายเงินงามเงาเพราพราย นวลฉายยึดด้ามงามสม
เรือน้อยลอยน้ำขำคม         บัวฉมชูล้อมห้อมเรือ
งามน้ำงามนางกลางชล งามกุมุทอุตบลล้นเหลือ
สะโรชนงรามงามเจือ         งามเรือลอยน้ำอำไพ
พิศรูปเพลินลักษณ์ศักดิ์ศรี งามฉวีคือชวาน่าใคร่อ ๑๓.
นวลนงองค์ลอองยองใย         รูปไลมแลลม่อมพร้อมเพรา
คิดเจ้าคือจันทร์ครรพิตอ ๑๔. งอนจริตงามแจร่มแชล่มเฉลา
เสมอเสมือนเดือนเด่นเพ็ญเพรา         น่าพเน้าพนอน้อมออมองค์ฯ
๏ เล็งโฉมโลมนางห่างนุช ไกลสุดกลางสระระหง
ใคร่เคล้าคลึงขวัญบรรจง        เอื้อมห่อนถึงองค์นงลักษณ์อ ๑๕.
นางเหลืองนัยนามาแล คือแขส่องสรวงดวงจักษุ์
สบเนตรนางยิ้มพริ้มพักตร์         ยั่วรักยิ่งเร่งใจร้อน
พิศเนตรนวลนางกลางสินธุ์อ ๑๖. คือนิลสีศอมหิศร
แสงศอแสงโฉมศศธร        ในเนตรบังอรรวมพร้อมฯ
๏ โฉมเฉลา รูปเย้าใจยวนหวนหอม
ได้น้องแนบกายหมายออม         จักถนอมใจสนิทชิดเชื้อ
เนตรนางอย่างนั้นมั่นใจ พระศุลีอวยให้แก่เผือ
เชิญเจ้าจากสระละเรือ        นิ่มเนื้อแน่งน้อยกลอยใจ
วันนี้พี่เฝ้าพระศิวะ ได้ชมเดชะอดิศัย
ศอนิลปิ่นจันทร์พรรณ์ไรอ ๑.๗         จำได้ในเนตรนางน้อง
เจ้าจงมีใจใสสุข ปราศทุกข์ปลดทิ้งสิ่งหมอง
ผิวน้องผ่องล้ำลำยอง         หวังครองเวียนเคล้าเมารัก
อุ่นแนบแอบเนื้อเหนือหมอน ปัจถรณ์แท่นคำจำหลัก
บรรเทิงเริงรมย์ชมพักตร์         พิศรักพี่ร้อนห่อนคลาย
อีกข้อขอถามนามนาง สำอางเอี่ยมองค์ทรงฉาย
อย่าอิดจิตต์เอื้อนเบือนอาย         เคืองคายขุ่นข้องหมองใจ ฯ
๏ เมื่อนั้น นางอนุศยินีศรีใส
สู่ฝั่งบังคมทูลไป         ข้าไซร้เปนข้าบทมาลย์
นามอนุศยินีมีจิตต์ มานิตภูวนัยใสศานติ์
เคารพนบน้อมจอมปราณ         ภูบาลกรุณาปรานี ฯ
๏ เมื่อนั้น กมลมิตรเรืองรงค์ทรงศรี
เปรมใจได้แน่งนารี         ดังศุลีอวยอัตถ์ตรัสไว้
แย้มหยิ่มอิ่มในใจสุด เชยนุชชวนน้องผ่องใส
สู่มนเทียรทองยองใย         หฤทัยบรรเทิงเริมรมย์ ฯ
๏ อุ้มนางวางแนบแอบ กรคล้องกายคลึงสึงสม
ก่ายกุมจุมพิตชิดชม เกลียวกลมคลอเคล้าเมากาม
เกี่ยวกวัดรัดรึงคลึงเคล้น         เหิมเห็นซึ่งสวรรค์ชั้นสาม
ฉมชื่นรื่นรสนงราม ในยามสิงสมรมณีย์ ฯ
๏ สองทรงผาสุกทุกเมื่อ         แนบเนื้อนวลน้องผ่องศรี
เนาเนินไกลาสคีรี ปวงภัยไป่มีมาพ้อง ฯ
เย็นเช้าเฝ้าสงวนนวลน้อง ปกป้องรักษาอาทร
เผอเรอเย่อหยิ่งยิ่งยวด         โอ่อวดออกชื่อลือฉ่อน
นงแสนแน่นสรวงปวงอร นางอมรนางมนุษย์สุดแม้น
เมียเราเพราพรายฉายเฉิด ล้ำเลิศองค์อื่นหมื่นแสน
สาวสวรรค์ชั้นสิ้นดินแดน ไป่แม้นเมียข้าลาวัณย์
เนตรนางอย่างศอมหิศร ฤๅรชนีกรเฉิดฉัน
เนตรไหนไป่เปรียบเทียบทัน เนตรนางพางจันทร์รูจี
นางในไตรภพจบชั้น มาขันแข่งน้องต้องหนี
เมียท่านเมียใครไหนดี หาเช่นโฉมศรีสุดค้น ฯ
๏ เที่ยวอวดเที่ยวโอ้โอหัง ใครฟังหมั่นไส้ทุกหนอ ๑๘.
กำเริบเอิบในใจตน ใครยลย่อมสิ้นยินดี ฯ
๏ วันหนึ่งสากลย์คนธรรพ์ พร้อมกันสังคีตดีดสีอ ๑๙.
เปนที่เหิมเหมเปรมปรี ต่างมีสุขล้ำสำราญ
บางองค์ทรงรำทำเพลง บังคลบรรเลงศัพท์สาร
บรรเทิงเริงรื่นชื่นบาน ในวารอิ่มเอมเปรมใจ ฯ
๏ ฝ่ายพญากมลมิตรจิตต์ มาถึงซึ่งสโมสรใหญ่
รีบเฉลยเอ่ยนามทรามวัย อวยนัยะนานารี
เกิดกล่าวเปนปากเปนเสียง โต้เถียงดันดึงอึงมี่
อันนางอนุศยินี งามดียิ่งใครในภพ
ใครกล้ามาแกล้งแข่งบ้าง คือนางองค์ไหนใคร่สบ
เนตรนางพางจันทร์พัลลภ ไตรภพห่อนเปรียบเทียบน้อง
ใครพิศพิศวงนงนุช ศรีสุทธิ์แสงใสไร้สอง
แจ่มเจิดเลิศล้ำลำยอง เนตรน้องคมขำอำไพ ฯ
๏ เมื่อนั้น เพื่อนพญาคนธรรพ์หมั่นไส้
ยิ้มเยาะเคาะคัดขัดไป โรคในโลกนี้มียา
พอแก้พอไขได้บ้าง แยบอย่างเยื้องยักรักษา
งูกัดรัดรึงตรึงตรา กลัดกล้าเพราะฤทธิ์พิษเร้า
ยังหาโอสถปลดได้ มีมากรากไม้ใบเถา
แรงฤทธิ์ปลิดพลันบันเทา งูเห่าพิษร้อนผ่อนร้าย
แต่ชายอันพิษความสวย กัดนั้นจักป่วยห่อนหาย
โรครักโรคหลงทรงกาย จักคลายความร้อนห่อนมี
ท่านจงแจ้งใจไว้บ้าง อันนางภริยาอ่าศรี
นัยนาทาครามงามดี รังสีคือจันทร์ขวัญตา
ตางามตามจิตต์คิดเถิด งามเลิศแลเพ็ญเช่นว่า
แต่องค์นงคราญกานดา ใช่ตาทั้งองค์นงลักษณ์
ภาคอื่นดื่นอยู่ดูบ้าง แก้มคางโฉมยงทรงศักดิ์
นาสิกเกศาน่ารัก พร้อมพรักแน่แล้วฤๅไร
เราอ้างนางหนึ่งพึงชม เพราะผมเพ็ญทองผ่องใส
อีกนางร่างจมูกถูกใจ ไฉไลแลรับกับพักตร์
บางนางงามเหลือเมื่อนิ่ง บางหญิงหัวเราะเพราะหนัก
อีกองค์ทรงศรีดีนัก นางหนึ่งพึงรักรูปทรง
บางนางสอางเอวอ้อนแอ้น อีกองค์องแขนแสนส่ง
หนึ่งความงามจริตติดองค์ ใครเห็นเปนมงคลตา
จักว่างามเนตรงามยิ่ง กว่าหญิงซึ่งงามนาสา
ฤๅนางเสียงหวานกานดา งามกว่านางอื่นหมื่นพัน
นงรามงามเกล้าเผ้าดก จักยกว่ายิ่งสิ่งสรรพ์
ฤๅความงามแก้มงามกรรณ งามกว่าอื่นนั้นฉันใด
ต่างนางต่างงามยามยวน ต่างนางต่างนวลแจ่มใส
จักว่าใครงามกว่าใคร ข้าไม่เห็นด้วยทั้งนั้น ฯ
๏ เมื่อนั้น กมลมิตรคิดขุ่นหุนหัน
เนตรขวางพลางตอบคำพลัน พูดเล่นเช่นนั้นป่วยการ
ความงามสามภพจบสิ้น ทุกถิ่นทิพาศัยไพศาล
ประมวลถ้วนไซร้ไป่ปาน เนตรเจ้าเยาวมาลย์เมียตู
นางไหนใครกล้ามาขัน จักอั้นหัวหดอดสู
โฉมศรีโสภาน่าดู ใครรู้จักความงามจริง
ย่อมว่าหาใครไม่เปรียบ เทียบเนตรนงรามงามยิ่ง
เพราะเขลาเจ้าหาญค้านติง ไป่กริ่งกล่าวคำสำนวน ฯ
๏ เมื่อนั้น กมลมิตรคิดขุ่นหุนหัน
เนตรขวางพลางตอบคำพลัน พูดเล่นเช่นนั้นป่วยการ
ความงามสามภพจบสิ้น ทุกถิ่นทิพาศัยไพศาล
ประมวลถ้วนไซร้ไป่ปาน เนตรเจ้าเยาวมาลย์เมียตู
นางไหนใครกล้ามาขัน จักอั้นหัวหดอดสู
โฉมศรีโสภาน่าดู ใครรู้จักความงามจริง
ย่อมว่าหาใครไม่เปรียบ เทียบเนตรนงรามงามยิ่ง
เพราะเขลาเจ้าหาญค้านติง ไป่กริ่งกล่าวคำสำนวน ฯ
๏ เมื่อนั้น เพื่อนพญาคนธรรพ์พลันสรวล
ความงามหลามหลากมากล้วนตั้งขบวนเปนแห่แลลาน
งามนวลงามเนตรงามหน้า ล้วนเปนวาจาของท่าน
อาจมีคำขัดทัดทาน

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 กันยายน 2561 15:30:30 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 14 กันยายน 2561 17:52:34 »

                                     
       . กนกนคร  .
       พระนิพนธ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ (น.ม.ส.)

๏ เมื่อนั้น กมลมิตรติดอกหมกไหม้
สูอย่าเยาะเย้ยไยไพ เจ้าไซร้ตาบอดสอดรู้
หยิ่งแล้วยังแถมแกมโง่ พูดโป้พูดปดอดสู
อันเนตรนงรามงามตรู ใครดูย่อมพะวงหลงเพลิน
อย่าว่าแต่ชายสามานย์ แม้มุนีมีฌานหาญเหิร
บ่มตละน่าเบื่อเหลือเกิน จำเริญโยคะละกาม
เปนที่หวาดหวั่นพรั่นจิตต์ วาสพสุรฤทธิ์คิดขามอ ๒๐.
จึ่งจัดอัจฉราวายามอ ๒๑. กวนกามกอบกรรมทำลาย
ยียวนชวนชื่นรื่นรส เพื่อพรตหล่นแหลกแตกหาย
ไปสมประสงค์จงร้าย สิ้นหมายหมดวายามะ
แม้นให้ภริยาข้ายั่ว คงขรัวฌานแตกแหลกหละ
เหลืออั้นเหลืออดลดละ โยคะจักดับฉับพลัน
ทนเนตรบังอรห่อนได้ เราไม่กล่าวแกล้งแสร้งสรร
โฉมศรีโศภาลาวัณย์ ดวงจันทร์คือดวงนัยนา ฯ
๏ เมื่อนั้น เพื่อนพญาคนธรรพ์หรรษา
ตบหัตถ์ตรัสตอบวาจาไม่ช้าได้เล่นเห็นจริง
ที่ใกล้ไหล่เขาเราชี้ โยคีพรตกล้ามาสิง
เชี่ยวฌานนานไม่ไหวติง ปราศสิ่งยั่วยวนชวนชัก
ท่านใคร่สำแดงวนิดา จงเชิญกัลยาณิ์ทรงศักดิ์
สู่ไหล่คีรีที่พัก เยื้องยักยั่วเย้าโยคี
เชิงยวนชวนให้เธอหลง นัยนานวลนงทรงศรี
แม้นนางล้างกิจพิธี ของมหามุนีได้จริง
จึ่งจักประจักษ์หลักอ้าง ว่านางงามปลอดยอดหญิง
เราไซร้ไป่หาญค้านติง ทุกสิ่งนอบน้อมยอมตาม ฯ
๏ เมื่อนั้น กมลมิตรเจ็บช้ำคำหยาม
ฤๅคิดรอบคอบตอบความ ในยามหันหุนมุ่นใจ
ท่านท้าข้าไซร้ไป่พรั่น อันนางพางจันทร์แจ่มใส
อาจล้างพิธีชีไพร แน่ได้ดังจิตต์คิดเจียว
เราปองลองเล่นเช่นท้า ใจข้าไป่พรั่นหวั่นเสียว
ดวงเนตรโฉมยงองค์เดียว อาจเหนี่ยวพรตโง่โยคี
ให้ตบะหล่นแหลกแตกทิ้ง ห่อนนิ่งอยู่ได้ในที่
จักเกิดเสียวศัลย์ทันที ราคีกำหนัดกลัดใจ
แม้นมิสมหวังดังว่า เศียรข้าจักบั่นหั่นให้
เปนเครื่องบูชาตราไว้ที่ในแม่น้ำคงคา ฯ
๏ เมื่อนั้น เพื่อนพญาคนธรรพ์พลันว่า
อย่าชล่ากล้าเล่นเจรจา พูดบ้าบุ่มไปไป่ดี
จักตัดเศียรเส้นเช่นว่า เธอใช่พระมหาฤๅษี
ทรงนามทักษะโยคีอ ๒๒. พระประชาบดีเดชิต
เศียรขาดแล้วมีมาเปลี่ยน เศียรท่านใช่เศียรนักสิทธ์
หัวขาดจักขาดชีวิต จักติดหัวใหม่ได้ฤๅ
พูดพลางหัวเราะเยาะเย้ย ท่านเอยอุตส่าห์อย่าดื้อ
เราว่าจงฟังยั้งมือ ผ่อนปรือคืนคำจำไว้ ฯ
๏ เมื่อนั้น กมลมิตรหันหุนมุ่นไหม้
จากชุมนุมพลันทันใด รีบไปยังองค์ชายา ฯ
๏ พบนางกลางสวนยวนจิตต์ ยิ่งพิศผูกพันธ์หรรษา
เสาวภาคโศภิตติดตา นัยนาคมขำล้ำลบ
แจ่มลักษณ์จิ้มลิ้มริมสระ ปัทมะคันธินกลิ่นกลบ
ฤๅษีชีไพรในภพ แลสบเนตรน้องต้องรัก ฯ
๏ พิศนางพลางกล่าววาจา ดูราโฉมยงทรงศักดิ์
มีชายใจพาลหาญนัก ลบหลู่นงลักษ์เลิศฟ้า
กล่าวว่าถ้าเจ้าเพราพริ้ง เลิศยิ่งนางใดในหล้า
เชิญองค์นงคราญกานดา ยังไหล่ภูผาข้างโน้น
ยวนองค์โยคีมีฌาน ให้ร่านรุมในใจโผน
ร้อนราคราวไฟไหม้โชน เอนโอนโยคะละทิ้ง
แม้นนางทำได้ประจักษ์ จักว่านงลักษณ์ยอดหญิง
น่าแค้นคำเขาเขลาจริง ค้านติงความงามทรามวัย
พี่ท้าว่าองค์นงลักษณ์ จักให้ประจักษ์จนได้
แม้นไม่ได้ดังหวังใจ พี่ไซร้จักตัดเศียรตู
ทิ้งในแม่น้ำคงคา บูชาเพื่อปลดอดสู
ขอเชิญนางน้องลองดู ค้ำชูข้อท้าวาที
ใช้เนตรโฉมยงทรงฉาย ทำลายพรตดื้อฤๅษี
ให้สมศรัทธาสามี ดังที่ได้กล่าวท้าไว้ ฯ
๏ เมื่อนั้น นางอนุศยินีศรีใส
ยินตรัสขัดอกตกใจ หฤทัยหวาดหวั่นพรั่นทรวง
อ้ำอึ้งตลึงแลแดลาญ เยาวมาลย์ทุกข์เท่าเขาหลวง
อึดอัดขัดเข้มเต็มตวง พักตร์เผือดเดือดดวงแดร้อน ฯ
นางอนุศยินีกล่าวว่า
๏ ข้าแต่พระปิ่นปราเณศอ ๒๓. ทรงเดชจงยั้งฟังก่อน
เกรงผิดจิตต์ข้าอาวรณ์ โทษกรณ์ก่อเกิดกองร้าย
บาปนักจักล่อนักธรรม เพื่อดาบสกรรมรส่ำรสาย
เธอบำเพ็ญบุญหนุนกาย มั่นหมายกุศลผลดี
แม้นเรานอกรีดกีดขวาง มุ่งร้ายหมายล้างฤๅษี
ทางดีที่ได้ไป่มี อัคคีลวกเราเร่าร้อน
บาปกรรมทำทุกข์แม่นมั่น โทษทัณฑ์เราเขือเหลือถอน
กริ่งภัยใจข้าอาวรณ์ ช้าก่อนจงฟังยั้งคิด ฯ
๏ วอนพลางนางเพ่งเล็งพักตร์ เหตุรักให้ร้อนถอนจิตต์
เพียงเพลิงเริงไล่ใกล้ชิด ยิ่งคิดยิ่งคร้ามขามนัก
วาจาบังอรวอนว่า นัยนาดูองค์ทรงศักดิ์
พจน์นางแพ้เนตรนงลักษณ์ ยิ่งชมยิ่งชักให้ร้าย
กมลมิตรพิศเนตรนวลนุช แสนสุดใจรักฤๅหาย
ห่อนยินวาทาธิบาย ชมเนตรโฉมฉายเพลินไป
ยิ่งนึกยิ่งแน่ในจิตต์นักสิทธ์ไป่ซงองค์ได้
ตาเพ็ญเช่นนั้นมั่นใจ อาจพร่าพรตให้เอนเอียง
นางวอนห่อนเปนประโยชน์ เพราะเนตรนงโพธเธอเถียง
ไป่ยั้งฟังคำสำเนียง บ่ายเบี่ยงว่าวอนอ่อนใจ ฯ
๏ สามีมิฟังดังว่า กัลยาณิ์พรึงพรั่นหวั่นไหว
ข่อนๆ ร้อนตัวกลัวภัย หฤทัยนิ่งนึกตรึกตรอง
ความจริงในใจใคร่รู้ ยั่วดูแต่สองต่อสอง
นักสิทธ์คงใคร่ในคลอง รดิกรรมทำนองทางใน
เรางามยิ่งสามโลกกว้าง อาจล้างดาบสพรตใหญ่
จักสิทธิ์สมหวังดังใจ ฤๅไม่สำเร็จอยากรู้
ใคร่ทราบก็เหลือจะใคร่ อายใจก็เหลืออดสู
กริ่งโทษเทียมไฟใหม้ภู โฉมตรูลังเลหฤทัย ฯ
๏ เธอวอนทรามวัยใจตื้น นางขืนคำวอนห่อนไหว
จูงกรพากันครรไล มุ่งหน้ามาในไพรพน
แลหาดาบสพรตกล้า แทบใกล้ไหล่ผาปลายหน
พบโยคียงซงตน อานนนิ่งแน่แลนานอ ๒๔.
คือหลักปักไว้ไป่เคลื่อน แม่นเหมือนต้นไม้ไพศาล
ฝูงปลวกทำรังยังปราณ สำราญอยู่รอบโยคิน
หนวดเธอทอดไปในพน ปลิวไปในหนบนหิน
ผมขาวยาวเฟื้อยเลื้อยดิน มุนินทร์ห่อนไหวใจกาย
กิ้งก่าเพศหญิงวิ่งหนี บนตัวฤๅษีซ่อนหาย
กิ้งก่าเพศชายไล่กราย เร่รายตัวหญิงวิ่งล้อ
ดาบสอดแดแน่นิ่ง มันวิ่งบนกายสอๆ
ฌานเพ่งฤๅพลั้งรั้งรอ เหมือนตอปักไว้ในดิน
ลืมเนตรแลไปในหาว จักษุใสขาวคือหิน
ไป่เห็นอันใดในดิน ไป่ยินอันใดในภพ ฯ
๏ สององค์ทรงเห็นนักสิทธ์ ให้คิดเคลือบแคลงแสยงสยบ
ไตร่ตรองถ่องถ้วนทวนทบ คือคบเพลิงเร้าเผาแรง
เปี่ยมฌานปานนั้นพรั่นนัก ทรงศักดิ์เลิศล้ำคำแหง
จะยั่วโยคะระแวง เรี่ยวแรงบาปกรณ์ร้อนร้าย
สงสัยใจตรึกนึกพรั่น โทษทัณฑ์จักมากหลากหลาย
กอบก่อกองกรรมทำลาย จักสลายสุขสันต์มั่นคง ฯ
๏ ฝ่ายพญากมลมิตรพิศนาง พิศพลางพิสมัยใหลหลง
บังเกิดกำเริบเอิบองค์ นัยนาโฉมยงเช่นนี้
มุ่งร้ายหมายมาน่าจะ สำเร็จเด็ดตบะฤๅษี
คิดแค้นคำท้าวาที ยิ่งมีจำนงปลงใจ
ชี้เชิญชายามารศรีอ ๒๕. ยุวดีลำยองผ่องใส
อัญเชิญโฉมเจ้าเข้าไป ล่อให้เห็นองค์นงเยาว์
เชิงชวนยวนยั่วโยคะ ดาบสปลดตบะเพราะเจ้า
พี่จักแฝงไม้ในเงา อยู่เฝ้าใฝ่ยั้งฟังดู ฯ
๏ สองกรทรงกอดยอดรัก จุมพิตชิดพักตร์ในผลู
เกี่ยวกวัดรัดโลมโฉมตรู เหมือนคู่จักร้างห่างนาน ฯ
๏ เมื่อนั้น นางสุโลจนากล้าหาญอ ๒๖.
ห่อนขัดภัดดาว่าวาน เยาวมาลย์มุ่งเย้าเข้าไป
ยืนตรับยับยั้งสังเกต เห็นเนตรลืมอยู่ดูใส
มุ่งเขม็งเล็งแลแต่ไกล ปราศไหวน่าหวั่นพรั่นจริง
เข้าไปใกล้หน้าดาบส ทรงพรตแข็งขืนยืนนิ่ง
จักยั่วจักยวนชวนอิง ห่อนทิ้งโยคะละลด
เธอบงนงรามทรามวัยอ ๒๗. ฤๅไม่ก็ไม่ปรากฎ
นางเยาะเฉพาะพักตร์นักพรต ช้อยชดเชิงชวนยวนยี ฯ
๏ เมื่อนั้น ปาปะนาศน์มหาฤๅษี
ทรงฌานนานยืนหมื่นปี ไป่มีใครกล้ามากราย
ลืมเนตรห่อนเห็นอันใด กรรณ์ไซร้ห่อนฟังทั้งหลาย
โยคะยิ่งล้ำกำจาย กระสับกระส่ายฤๅมี ฯ
๏ วันเมื่อโฉมยงทรงฉาย มุ่งร้ายต่อตบะฤๅษี
องค์พระปาปะนาศน์มุนี สำรวมอินทรีย์นิ่งนาน
รู้สึกมายามายวน ทบทวนทำนองปองผลาญ
โยคีมีใจรำคาญ เหตุการกลใดใคร่แล
น้อยๆ ค่อยรู้สึกตน เห็นนางโศภนเพ็ญแข
นัยนานิลนวลยวนแด ยิ่งแลยิ่งล้ำอำไพ
ท่วงทีท่าทางอย่างล้อ ใครหนอน่าชิดพิสมัย
นักสิทธ์คิดหลายหฤทัย เหตุใดมาเพ่งเล็งพิศ
แม่นมั่นปัญญาฌานะ โยคะเคร่งครัดชัดจิตต์
ทราบเหตุเลศกลต้นคิด มันกวนชวนชิดทั้งนี้
มุ่งร้ายหมายผลาญฌานกู สู่รู้จังไรใช่ที่
กำเริบมาเล่นเห็นดี มุนีเธอขมึงนัยนา ฯ
๏ อันนางอนุศยินี เห็นเนตรโยคีซ้ายขวา
เขียวเขม็งเล็งดูกานดา ประหม่ามุ่นอกตกใจ
หวาดหวั่นพรั่นทรวงดวงจิตต์ สุดคิดจักซงองค์ได้
เซซวนซุดสลบซบไป ล้มในพนารัญทันที ฯ
๏ เมื่อนั้น กมลมิตรเห็นเมียเสียศรี
วิ่งไปใกล้องค์มุนี โอบอุ้มยุวดีชายา
กอดทับกับฤทัยไหวหวั่น           องค์สั่นบนแผ่นภูผา
ริกรัวกลัวกรรมนำพา เกรงเดชพระมหามุนี ฯ
๏ เมื่อนั้น ปาปะนาศน์มหาฤๅษี
รู้เรื่องเคืองใจโยคี จึ่งมีวาจาสาปไป ฯ
ฤๅษีสาบว่า
๏ ดูราเมียผัวตัวเอิบ กำเริบใจบาปหยาบใหญ่
อันเนตรนงรามทรามวัย จักได้รับผลบัดนี้
นางยั่วโยคะละเมิด จงเกิดเปนมานุษี อ ๒๘.
กมลมิตรผู้พญาสามี เห็นดีรู้ด้วยช่วยกัน
จงมีกำเนิดมานุษ ผ่องผุดเพ็ญลักษณ์รังสรรค์
สองมุ่งใจสมัครรักกัน ให้พลันเริศร้างห่างไป
รันทมกรมกรรมทำงน ล้างตนในห้วงทุกข์ใหญ่
จนสิ้นบาปกรรมทำไว้ จึ่งให้สิ้นสาปหลาบจำ ฯ
๏ เมื่อนั้น กมลมิตรพิศเนตรนางขำ
เจ็บหนักจักจากตรากตรำ เจ็บหนักจักจากตรากตรำ
ยิ่งพิศภริยาอาดูร ยิ่งภูลทุกข์ทนหม่นหมอง
ก้มวอนกรไหว้ใจตรอง พลางสนองวาจาว่าไป ฯ
กมลมิตรกล่าวแก่ฤๅษีว่า
๏ ข้าแต่พระมหามุนี ข้านี้ทำบาปอยาบใหญ่
ลวนลามความผิดติดใจ หฤทัยหวาดหวั่นรันทด
ผ่อนโทษโปรดเถิดโยคี จงสาปให้มีกำหนด
รู้เขตคำแช่งแบ่งลด เปลื้องปลดทุกข์น้อยถอยไป ฯ
๏ เมื่อนั้น ปาปะนาศน์บรรหารขานไข
ซึ่งเจ้าเนาเข็ญเห็นภัย คิดใคร่คืนสองครองกัน
จักสมโดยหวังดังใจ โดยนัยที่เราสาปสรร
เมื่อใดได้ทลวงจ้วงฟัน จวบจ้ำห้ำหั่นกันลง
เมื่อนั้นกำหนดปลดบาป
กล่าวพลางดาบสพรตยง เธอสำรวมองค์ต่อไป ฯ
๏ เมื่อนั้น กมลมิตรจิตต์สั่นหวั่นไหว
พิศเนตรนงรามทรามวัย อรไทยพิศหน้าสามี
นางใคร่จำพักตร์ภรรดา เธอใคร่จำหน้ามารศรี
จักพรากจากพลันทันที สองมีใจเศร้าเปล่าทรวง ฯ
๏ ตกจากฟากฟ้ามาดิน พลัดถิ่นอาศัยในสรวง
พึงหลาบบาปเขือเหลือตวง ผาหลวงสูงใหญ่ไป่ปาน ฯ
๏ นางเข้าสู่ครรภ์มหิษี พระนราธิบดีใสศานติ์
ทรงนามชัยทัตภูบาล ตระการเกียรติ์องค์ทรงยศ
ครองอินทิราลัยไกรเกรียงอ ๒๙. สำเนียงฦๅชาปรากฎ
ปราศปัจจามิตรคิดคด ยงยศเยงสิ้นดินดอน ฯ
กมลมิตรสู่ครรภ์มหิษี พระนราธิบดีชาญศร
ทรงนามธรรมราชภูธรอ ๓๐. เธอครองนครอละกา
ไพรีเข็ดนามขามยศ ปรากฎเดชเดื่องเลื่องหล้า
สำราญบานใจไพร่ฟ้า ทั่วหน้าสุขเกษมเปรมปรี ฯ
๏ เมื่อนั้น องค์พระมเหศวรเรืองศรี
เนาอาสน์ไกลาสคีรี เปนที่อิ่มเอมเปรมตา
พิศเพ่งเล็งดูรู้แจ้ง ทุกแหล่งในสวรรค์ชั้นหล้า
เห็นพญาคนธรรพ์ภรรดา ชายายุพยงนงคราญ
ตกจากฟากฟ้ามาดิน ทิ้งถิ่นทิพาศัยไพศาล
ทราบแจ้งแห่งเหตุเภทพาน เกิดทุกข์รุกรานปานนั้น
นิ่งนึกตรึกตรองคลองธรรม โทษกรรมเกิดก่อส่อศัลย์
เพราะเหตุเนตรนางพางจันทร์ เช่นกันกับสีศอเรา
โดยเลมิดเกิดกอบกองทุกข์ เพลิงลุกร้อนยิ่งผิงเผา
อันกายโฉมยงนงเยาว์ ยังเนาในสวรรค์ชั้นฟ้า
นางไซร้ไปเกิดในดิน กรุงอินทิราลัยใต้หล้า
เราจักอุปถัมภ์นำพา รักษาทรากใส่ใจจำ
เหตุศรีแห่งศอเราไซร้ แบ่งส่วนไปในเนตรขำ
จักทอดทิ้งทรากตรากตรำ ห่างหายหลายฉนำฤๅควร
อันพญาคนธรรพ์นั้นไซร้ หฤทัยซวนเซเหหวน
พูดพล่อยเสเพลเรรวน ปั่นป่วนเพราะเราเข้าเจือ
ศรีจันทร์ศรีศอสีศยามอ ๓๑. ในเนตรนงรามงามเหลือ
เธอเห็นสาวน้อยลอยเรือ ห่อนเบื่อนัยนาบ้าฟุ้ง
คิดไปไม่เปนความผิด แห่งพญากมลมิตรจิตต์ยุ่ง
ฤทธิ์อนงค์หลงใหลไคล้คลุ้งอ ๓๒. ควรเราเข้าพยุงเธอไว้ ฯ
๏ ตรึกพลางพระมหาเทวะ โดยพระกรุณาธยาศัย
หยิบดอกอัมพุชอำไพอ ๓๓. พลางปักลงไว้ในดิน
กลายเปนเกาะน้อยลอยอยู่ แลดูสำอางกลางสินธุ์
มีเมืองเรืองแข่งแหล่งอินทร์ โศภินไพจิตรพิศพราย
ปราสาทราชฐานกาญจน์แก้ว เพริศแพร้วจำรัสเรืองฉาย
ห่อนมีชนใดใกล้กราย เมืองหม้ายอยู่ร้างกลางชล ฯ
         ๏ จัดเสร็จพระอิศวรทรงเดช ปล่อยเหตุให้เกิดเปนผล
กมลมิตรกับน้องสองตน อนุสนธิ์คำสาปมุนี ฯ

จบภาค ๑ ในนิทานเรื่องกนกนคร

         อ ๑. “พระวิศเวศวรเรืองศร”. “วิศเวศวร” เปนนามๆ หนึ่งของพระอิศวร พระอิศวรมีนามมาก ที่ใช้ในหนังสือนี้คือ ศุลี ศิว ศศิเคขร คงคาธร ศัมภู มเหศวร มหาเทว อุมาบดี มหากาล ปศุบดี เปนต้น ↩
         อ ๒. “ศศีเสียบเผ้าเพราพราย”. “ศศี” แปลว่ามีกระต่าย คือพระจันทร์. เผ้า แปลว่าผม. ศศีเสียบเผ้าหมายความว่าพระอิศวรทรงพระจันทร์เปนปิ่น มีเรื่องว่าครั้งหนึ่งพระจันทร์ทำผิดเพราะเปนชู้กับนางดารา (ชนนีพระพุธ) ผู้เปนชายาของพระพฤหัสบดี เกิดความใหญ่จนพระจันทร์ถูกกำจัดไปอยู่นอกหมู่เทวดา ต่อเมื่อพระอิศวรทรงรับพระจันทร์มาปักไว้บนพระเกศา พระจันทร์จึ่งกลับเข้าหมู่เทวดาได้. ↩
         อ ๓. “อ้าพระธำรงคงคา”. คือคงคาธร (ทรงไว้ซึ่งแม่น้ำคงคา) เปนนามพระอิศวร มีเรื่องว่าเมื่อแม่น้ำคงคาจะลงมาจากสวรรค์นั้น แผ่นดินจะแตกเพราะกำลังน้ำซึ่งไหลตกลงมาโดยแรง พระอิศวรต้องเอาพระเศียรรับไว้ แผ่นดินจึงรอดภัยไปได้ แม่น้ำคงคาตกลงบนพระเศียรแล้วหลงอยู่ในพระเกศาช้านานจึงหาทางไหลเลยไปได้. ↩
         อ ๔. “เหมาะหมดพจมานบานมน”. “บานมน” คือเปนที่บานใจ. ↩
         อ ๕. “ข้าแต่พระศศิเศขร”. “ศศิเศขร” เปนนามพระอิศวร แปลว่าเสียบพระจันทร์ไว้ที่ผม. ↩
         อ ๖. “พระหทัยใฝ่ม่งทรงปอง”. “ม่ง” คือมุ่ง. ↩
         อ ๗. “เหมือนสีพระศอทรงศักดิ์”. พระอิศวรนั้นพระศอเปนสีนิล เรียกว่า นีลกัณฐะ มีเรื่องว่าเมื่อกวนเกษียรสมุทเพื่อจะเอาอมฤตนั้น มีพิษช่อกาลกูฎลอยขึ้นมามากมาย จะเปนภัยแก่เทวดาแลอสูรซึ่งประชุมกันอยู่ จนพระอิศวรทรงกลืนพิษนั้นเสียสิ้น เทพดาแลอสูรจึงพ้นภัย พิษนั้นไม่ทำร้ายพระอิศวรก็จริง แต่ทำให้พระศอเปนสีนิล. ↩
         อ ๘. “ศัมภูผู้เปนเจ้าของ”. “ศัมภู” เปนนาม ๆ หนึ่งของพระอิศวร. ↩
         อ ๙. “รังสีเล่ห์แสงศศธร”. “ศศธร” แปลว่าทรงไว้ซึ่งกระต่าย คือพระจันทร์. ↩
         อ ๑๐. “เคร่าใคร่ได้เคลียเมียมิ่ง”. “เคร่า” แปลว่า คอย. ↩
         อ ๑๑. “เนาเรือเหนือสรัสปัทมี”. “สรัส” แปลว่าสระ “ปัทมี” แปลว่ามีบัว ว่าหนองบัว สระบัว. ↩
         อ ๑๒. “ตรณีจันทร์นวลชวนชม”. “ตรณี” แปลว่าเรือ (เครื่องข้าม). ↩
         อ ๑๓. “งามฉวีคือชวาน่าใคร่”. “ชวา” คือดอกกุหลาบ. ↩
         อ ๑๔. “คิดเจ้าคือจันทน์ครรพิต”. ครรพิต = หยิ่ง. ↩
         อ ๑๕. “เอื้อมห่อนถึงองค์นงลักษณ์”. “ห่อน” แปลว่าเคย. เช่น “บ่ห่อนมี” แปลว่าไม่เคยมี. แต่ในกาพย์กลอนของเราใช้ห่อนแปลว่า “ไม่” โดยมาก เช่น โคลงในเตลงพ่ายว่า
          
        “เบื้องนั้นนฤนาถผู้             สยามินทร์”
        “เบี่ยงพระมาลาผิน ห่อนพ้อง”
เปนต้น ในกาพย์กลอนที่ข้าพเจ้าแต่ง ใช้ห่อนแปลว่า “ไม่” เกือบเสมอ ที่ใช้ดังนี้นับว่าผิดความเดิม. แต่ก็ขืนใช้ เพราะเลือนกันมานานแล้ว แลคำที่ใช้เลือนอย่างนี้ยังมีอีกหลายคำ.↩
         อ ๑๖. “พิศเนตรนวลนางกลางสินธุ์”. “สินธุ์” ศัพท์นี้ใช้มากในหนังสือไทย ในที่หมายความว่าน้ำ อันที่จริงแปลว่าทเล แปลว่าแม่น้ำ แลเปนชื่อแม่น้ำสายหนึ่งในอินเดียด้วย. ↩
         อ ๑๗. “ศอนิลปิ่นจันทร์พรรณ์ไร”. “พรรณ์ไร” แปลว่าวรรณเปนทอง (ไร แปลว่าทอง). ↩
         อ ๑๘. “นางอนุศยินีศรีใส”. “อนุศยินี” คำนี้ฝรั่งเขาแปลไว้ว่าเมียผู้ภักดีต่อผัว. “A devoted wife. But the word has another technical philosophical significance : it connotes evil, clinging to the soul by reason of sin in a former birth, and begetting the necessity of expiation in another body”. ↩
         อ ๑๙. “ใครฟังหมั่นไส้ทุกหน”. “หมั่นไส้” คำนี้ผู้รู้หนังสือมักเขียนว่า “มันไส้” ดูได้ความดีกว่า แต่เสียงพูดพูด “หมั่นไส้” เสมอ. ↩
         อ ๒๐. “วาสพสุรสิทธิ์คิดขาม”. “วาสพ” เปนชื่อเรียกพระอินทร์. ↩
         อ ๒๑. “จึงจัดอัจฉราวายาม”. “วายาม” คือพยายาม (อัจฉรา ดู อ. ๖๘). ↩
         อ ๒๒. “ทรงนามทักษะโยคี”. พระทักษะเปนพรหมฤษีประชาบดี. ครั้งหนึ่งกระทำพิธีบูชายัญเปนการใหญ่ เชิญเทพดามามาก แต่ไม่ได้เชิญพระอิศวรผู้เปนเขย. พระอิศวรทรงเห็นเปนการหมิ่นประมาท จึงเสด็จมาทำลายพิธี ตัดเศียรพระทักษะขาดแล้วโยนเข้ากองไฟให้ไหม้เสีย ครั้นเลิกการกาหลกันแล้ว จะหาเศียรพระทักษะมาติดเข้าอย่างเก่าก็หาไม่ได้ จึงต้องตัดเอาหัวแพะหรือแกะมาติดแทน. รูปฤษีซึ่งตัวเปนคนหัวเปนเเพะหรือเเกะนั้นคือรูปพระทักษะองค์นี้. ↩
         อ ๒๓. “ข้าแต่พระปิ่นปราเณศ”. “ปราเณศ” แปลว่าเจ้าแห่งลมหายใจเปนคำเมียใช้เรียกผัว แลผัวใช้เรียกเมียก็ได้ ↩
         อ ๒๔. “อานนนิงแน่แลนาน”. “อานน” แปลว่าหน้า ↩
         อ ๒๕. “ชี้เชิญชายามารศรี”. “มารศรี” ศัพท์นี้ใช้เรียกนาง แต่ไม่ทราบว่าแปลว่ากระไรแน่ ข้าพเจ้าเคยกล่าวในตอนอธิบายศัพท์ในพระนลคำฉันท์ว่าจะแปลว่านางเปนสิริแห่งกามเทพหรือสิริแห่งความรักจะได้ทางหนึ่งกระมัง (เพราะมารเปนชื่อกามเทพ แลเเปลว่าความรักก็ได้) แต่ได้พบในหนังสือสมุดดำตัวดินสอแห่งหนึ่งเขียนว่ามาณศรี แปลว่ามีสิริ. ↩
         อ ๒๖. “นางสุโลจนากล้าหาญ”. “สุโลจนา” แปลว่านางเนตรงาม. ↩
         อ ๒๗. “เธอบงนงรามทรามวัย”. “บง” แปลว่าดู. ↩
         อ ๒๘. “จงเกิดเปนมานุษี”. “มานุษี” แปลว่านางมนุษย์. ↩
         อ ๒๙. “ครองอินทิราลัยไกรเกรียง”. “อินทิราลัย” แปลว่าที่อยู่แห่งนางอินทิรา คือพระลักษมีผู้เปนเจ้าแห่งความงาม. ศัพท์nอินทิราลัยนี้เปนชื่อนีโลตบล คือบัวสีน้ำเงิน เพราะเมื่อพระลักษมีแรกเสด็จลอยขึ้นจากท้องเกษียรสมุทนั้นทรงนั่งในบัวชนิดนี้. ↩
         อ ๓๐. “ทรงนามธรรมราชภูธร”. “ภูธร” คำนี้อันที่จริงแปลว่าทรงไว้ซึ่งแผ่นดินหรือรองรับแผ่นดินไว้ หมายความว่าภูเขา หรือเปนนามพระนารายน์ในตำแหน่งที่ทรงยกแผ่นดินชูไว้ตามเรื่องในกฤษณาวตารเปนต้น ในหนังสือไทยเราใช้ภูธรแปลว่าพระเจ้าแผ่นดิน น่าจะเห็นว่าเปนเพราะยกย่องพระเจ้าแผ่นดินว่าเปนอวตารแห่งพระนารายน์ ไม่ใช่เพราะศัพท์ภูธรแปลว่าพระเจ้าแผ่นดินเปนแน่. ↩
         อ ๓๑. “ศรีจันทร์ศรีศอสีศยาม”. แปลว่าสิริแห่งพระจันทร์ แลสิริแห่งพระศอสีครามแก่ (ศยามแปลว่าสีคล้ำ) ↩
         อ ๓๒. “ฤทธิ์อนงค์หลงใหลไคล้คลุ้ง”. “อนงค์” แปลว่าไม่มีองค์หรือไม่มีตัวเปนนามพระกามเทพ ซึ่งถูกเผาเปนจุณไปครั้งหนึ่งเพราะตาไฟของพระอิศวร. ความรักนั้นกล่าวว่าพระกามเทพทำให้เกิดจึงใช้ศัพท์ “อนงค์” อย่างที่ใช้ในที่นี้ อนึ่งควรกล่าวเสียทีเดียวว่า ในสมุดเล่มนี้ใช้อนงค์แปลว่ากามเทพหรือความรักเสมอ ไม่มีที่แปลว่านางเลย ถึงในที่ซึ่งใช้ว่า “ขวัญอนงค์” ก็แปลว่าขวัญของกามเทพ. ↩
         อ ๓๓. “อยิบดอกอัมพุชอำไพ”. “อัมพุช” แปลว่าดอกบัว (เกิดในน้ำ). ↩




         โปรดติดตามตอนต่อไป
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 กันยายน 2561 15:39:42 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 19 กันยายน 2561 17:31:57 »

                                     
       . กนกนคร  .
       พระนิพนธ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ (น.ม.ส.)

ภาค ๒ บนดิน

๏ มาจะกล่าวบทไป ถึงท้าวชัยทัตเทียมสีห์
แกล้วกล้ามหารถฤทธีอ ๓๔.ราชาธิบดีเดชิต ฯ
๏ เกลื่อนพลกล่นแสนยากร เพียงพลสุรามรมาสถิต
ริปูฤๅปองลองฤทธิ์ แม้อมิตรมุ่งร้ายวายปราณ
อึงอัศวานึกครึกครื้น เริงเหล่าพลปืนหื่นหาญ
แรงรณพลคชชัยชาญ เช่นช้างโลกบาลบ่มมัน
งามสง่ารถาธึกกึกก้อง แคล่วคล่องเริงแรงแขงขัน
บรขามนามพลสี่พรรค์ ศรขรรค์แข่งค้ำรำบาญ ฯ
๏ ชนลือชื่อเวียงเกรียงไกร กรุงอินทิราลัยไพศาล
หลั่นลดปรากฎปราการ ตระหง่านแง่ง้ำอำไพ
หอยุทธเชิงยวนชวนยุทธ เศิกสุดใจสั่นหวั่นไหว
รายเคียงเรียงคั่นหลั่นไป เชียงชัยชโยดมข่มยุทธ
งามพลบนป้อมพร้อมเพรียง คูเวียงแม่นแม้นแมนขุด
ลมชายปลายปลิวทิวธุช แสนสุดสำราญบานรมย์
มนเทียรเถือกทองก่องแก้ว เพริศแพร้วเรืองอร่ามงามสม
ช่อฟ้าเชิดฟ้าน่าชม เกลียวกลมแลรับกับฟ้า
นพศูลสูงเยี่ยมเทียมเมฆ รุจิเรขเรืองรองห้องหล้า
ปราสาทมาศแก้วแววตา อาภาผ่องค้ำอัมพร
ภาพครุฑสุดสง่าสามารถ ขคราชเริงแรงแขงขร อ ๓๕.
อุรงค์ฤทธิ์ล้ำกำธรอ ๓๖. ผกหงอนแผ่ง้ำอำไพ
ภาพสิงห์หยิ่งย่างอย่างสิงห์ มีมิ่งหมายเหมือนเคลื่อนไหวอ ๓๗.
เทพนมชมเห็นเปนไป ดังเทพที่ในเมืองฟ้า
ก่องเก็จเพ็ชร์รัตน์รุ้งร่วง โชติช่วงแวววับจับหล้า
แสงทองส่องสุกมุกดา งามสง่าวังเวียงเพียงแมน ฯ
๏ ส่ำสนมสมสนองรองบาท นวลนาฎนบน้อมห้อมแหน
เฝ้าใฝ่ไป่คลาดขาดแคลน แม่นแม้นสุรนาถเนาฟ้า ฯ
๏ ท้าวมีมหิษีทรงลักษณ์ งามพักตร์เพ็ญเล่ห์เลขา
โฉมตรูคู่ปราณนานมา นัยหนึ่งนัยนาภูวนัย
สององค์ทรงครองกันมา พระดนัยดนยาหาไม่อ ๓๘.
ทรงศักดิ์หนักอกหมกใจรอยกรรมทำไว้ในบรรพ์อ ๓๙.
ไร้บุตรสุดบาปปลาบจิตต์อ ๔๐. หงุดหงิดหฤทัยไหวหวั่น
ธำรงทุกข์หลวงทรวงตัน จักได้ไปสวรรค์ฉันใด ฯ
๏ ชอกช้ำรำคาญนานปี จวบพระมหิษีศรีใส
เปล่งปลั่งดวงจันทร์พรรณ์ไร อรไทยโฉมยงทรงครรภ์
ปางกษัตร์ภัดดาปราเณศ ทรงเดชฤๅร้างห่างขวัญ
จงถนอมจอมนางพางจันทร์ สาวสวรรค์เสวยสุขทุกวาร
ราชแพทย์แวดล้อมพร้อมพรัก พิทักษ์อรไทยใสศานติ์
พงศ์เผ่าเฒ่าแก่แม่งาน บริหารมหิษีมียศ
จวบวันฤกษ์งามยามบุญ เพ็ญชุณห์แจ่มวงทรงกลดอ ๔๑.
กัลยาณิ์เจ็บครรภ์รันทด ไป่ปลดปลิดปวดรวดเร้า
ราชาอาทรร้อนจิตต์ เพียงพิษเพลิงใหญ่ไหม้เผา
ชี้ชอบปลอบโฉมโลมเล้า อ้าเจ้าจงสกดอดใจ ฯ
๏ นางคลอดชาดาลาวัณย์อ.๔๒ คือจันทร์แจ่มห้องผ่องใส
พิมพ์พักตร์ลักษณ์ล้ำอำไพ ไฉไลแลปลื้มลืมพริบ
ล้วนเลิศเฉิดฉายหลายหลาก แสนยากสาธกยกอยิบ
โฉมยงนงรามงามทิพย์ ลอยลิบลงมาธาตรี ฯ
๏ บัดนั้น ราชแพทย์แวดล้อมมหิษี
เห็นราชทาริกานารี อ.๔๓ ทรงฉวีเลิศล้ำจำเริญ
หลากจิตต์พิศขนงนงลักษณ์ แปลกนักพากันสรรเสริญ
เหมือนเมฆย้อยอยู่ดูเพลิน ลอยเหิรบังพระศศธร
บัดเดี๋ยวเธอลืมนัยนา เหมือนเมฆในฟ้าเปิดถอน
ดวงจันทร์เยี่ยมยอดอัมพร สองทิศากรพร้อมกัน
รัศมีสีนิลกลบห้อง ใสส่องคือโคมโสมสรร
ต่างตนต่างตลึงอึ้งพลัน ฤๅจันทร์ล่องฟ้ามาดิน
จักษุแสงฉายพรายแพร้ว สองแก้วใสจริงยิ่งสินธุ์
ส่ายส่องผ่องพ้นมลทิน แสงเนตรสีนิลแปลกนัก
โชติช่วงดังดวงเดือนฉาย แลลม้ายพระศศีมีศักดิ์
เป็นที่จำเริญเพลินรัก ต่างนั่งตั้งพักตร์ภักดี
ชนปวงไป่รแวงแจ้งจิตต์ ยามพิศเนตรเรื้องรังสี
ว่าได้เห็นศรีพระศุลี อันมีปนในนัยนา
ต่างคิดพิศวงสงสัย อำไพเพ็ญพักตร์นักหนา
แลเพ่งเล็งพิศติดตา โศภายิ่งคนบนดิน
ชมพลางต่างถวายอภิวาทน์ พระนราธิราชเรืองศิลป์
บูชาบารมีภูมินทร์ รัศมีสีนิลกลบไป ฯ
๏ บัดนั้น อำมาตย์ประมุขผู้ใหญ่
ก้มเกล้าทูลองค์ทรงชัย ข้าไม่เคยเห็นเช่นนี้
อันพระบุตรีนี้ไซร้ อำไพยิ่งมานุษี
แสงเนตรนางไหนใครมี รังสีดังเช่นเห็นชัด
ข้าอยู่ในแดนรัศมี นัยนาดรุณีจำรัส
จักเปรียบเทียบใดไป่ทัด ความสัตย์สงสัยใจจริง
เหมือนได้เห็นกลิ่นการบูร จำรูญจำเริญเพลินยิ่ง
จักยกตัวอย่างอ้างอิง หาสิ่งเปรียบยากหลากใจ
หนึ่งเหมือนได้เห็นกลิ่นจันทน์ หอมหรรษ์เหมจิตต์พิสมัยอ.๔๔
แปลกนักจักชี้ฉันใด นึกเห็นเปนไปเช่นนี้
อันองค์พระราชชาดา เห็นได้ใช่มานุษี
นางฟ้ามาในธานี เกิดเป็นบุตรีภูบาล
ขอจงทรงพระจำเริญ เพลิดเพลินผาสุกทุกฐาน
บุญใหญ่ได้องค์นงคราญ เกิดในวงศ์วารภูวนัย ฯ
๏ เมื่อนั้น พระนราธิบดีอดิศัย
สำราญบานราชหฤทัย ตรัสให้กำหนดกฎการ
สมโภชบุตรีศรีแคว้น ทั่วแดนกรุงไกรไพศาล
ผ้าเสื้อเหลือกะปริมาณ ประทานเปนทานมากมาย
เหล่าพราหมณ์ตามกันมารับ สินทรัพย์บริจาคหลากหลาย
เงินทองกองแก้วแพรวพราย งัวควายม้าช้างรางวัล ฯ
๏ ตรัสให้หาโหราจารย์ ไวชาญวิชชากล้ากลั่น
อีกพราหมณ์ความรู้สำคัญ ทรงธรรม์ให้เขาเข้ามา
เลือกนามประทานโฉมยง ว่าองค์กนกเรขา
โพยภัยไม่มีบีฑา โศภาเพียงแก้วแพรวพรรณ์ ฯ
๏ ได้ลูกโดยหวังดังจิตต์ ทรงฤทธิ์ปรีเปรมเหมหรรษ์
แจ่มใจใสสุขทุกวันจงถนอมจอมขวัญบุตรี
ปวงราษฎร์ปราศเศร้าเปล่าโศก ชูโฉลกเฉลิมเลื่องเรืองศรี
ทั่วเขตเทศคามพราหมณ์ชี ต่างมีสุขล้ำสำราญ
ครอบครองคลองธรรมบำรุง เกียรติ์ฟุ้งเฟื่องไปไพศาล
ดังร่มไทรใหญ่ใบบานบังแสงสุริย์ฉานมิดชิด
ทนุถนอมกล่อมเกลี้ยงเลี้ยงองค์ โฉมยงชาดายาจิตต์
ปราศข้อขุ่นเคืองเนืองนิตย์ เกริกกิตติ์เรืองลือฤๅลด ฯ
๏ ฝ่ายพระบุตรีนิรมล โศภนอาภาปรากฎ
ชายยลโฉมยงทรงยศ รันทดรันทมกรมทุกข์
ได้เห็นดังถูกทำโทษ ร้อนโลดราวไฟไหม้สุข
ยั่วให้ใจง่านพล่านพลุก เพลิงลุกราคเร้าเผาใจ
รุ่นสาวราวโสมโฉมฉาย ศรีผายแสงผ่องส่องใส
นัยนาน่าเพลินเชิญใจ ให้ไปเปนทาสเทวี ฯ
๏ เมื่อนั้น องค์พระนเรศวรเรืองศรี
เห็นราชชาดานารี เปนที่สำราญบานตา
เอวองค์ทรงลักษณ์พักตร์พริ้ม ยามยิ้มยั่วแย้มแจ่มหน้า
รังสีแสงใสนัยนา ใต้หล้าปราศเปรียบเทียบทัน
สมควรเษกสาวบ่าวสม ชิดชมเชยคู่ชูขวัญ
สยุมพรโฉมยงทรงวรรณ์ ให้สรรเกศกษัตร์ภัดดา
บำเรอภิรมย์สมสู่ ได้คู่ดังใคร่ใจหา
สมศักดิ์สมวงศ์ชาดา คงสมปราถนานงลักษณ์
ตรึกตรองคลองธรรมนำท้าว จอมด้าวอิ่มในใจหนัก
ตรัสเรียกมหิษียอดรัก เพียงจักษุเจ้าปัฐพี ฯ
ท้าวชัยทัตตรัสว่า
๏ อ้าเจ้าเยาวมาลย์กานดา แก้วตาผู้มิ่งมารศรี
อันกนกเรขาเทวี ยุวดีทรงวัยใหญ่แล้ว
สมควรอภิรมย์สมสอง สิงสู่คู่ครองผ่องแผ้ว
ทรงลักษณ์ศักดิ์เลิศเพริศแพร้ว เหมือนแก้วทั้งคู่ดูพราย
พี่ม่งบงกิจพิธี สรรหาสวามีเฉิดฉาย
ส่งข่าวป่าวคำกำจาย ลืมเกียรติ์ฤๅวายวันเว้น
โฉมเจ้าดำริห์ฉันใด อรไทยกล่าวความตามเห็น
ประสงค์องค์นางพางเพ็ญ คงเช่นเดียวกันมั่นใจ ฯ
๏ เมื่อนั้น องค์พระมหิษีศรีใส
อภิวาทน์บาทมูลทูลไป โดยนัยข้อความตามจริง ฯ
พระมหิษีทูลว่า
๏ ข้าแต่อวนินทร์ปิ่นขัติย์ ดำรัสระบอบชอบยิ่ง
ใครๆ ไป่หาญค้านติง เว้นแต่ลูกหญิงองค์เดียว
ทรามวัยไม่คิดมีคู่ ตั้งจิตต์โฉมตรูอยู่เดี่ยว
เกลียดผัวกลัวยิ่งจริงเจียว จักเหนี่ยวจักรั้งฤๅยอม
ข้าได้ชี้แจงแจ้งเหตุ อุปเทศคำขานหวานหอม
เสาวรสพจมานหว่านล้อม นงเยาว์ฤๅยอมอย่างคิด ฯ
ท้าวชัยทัตตรัสว่า
๏ อ้าองค์นงคราญกานดา อันกนกเรขายาจิตต์
ไม่คิดมีคู่ชูชิดกล่าวเกลื่อนเบือนบิดผิดไป
หญิงไม่อยากมีสามี หาในโลกนี้หาไหน
อันพวงบุบผามาลัยเกลียดแมลงภู่ไซร้ฤๅมี
๏ ควรจำธรรมดานาไร่อ.๔๕ จักไม่รับไถใช่ที่
ฉันใดชาดานารี พึงมีสามีแนบตัว
อันกนกเรขาทรามวัย เติบใหญ่สมควรมีผัว
ไป่พึงรังเกียจเกลียดกลัว ดอกบัวเกรงผึ้งห่อนมี
ปัญหามีแต่จักหา ภรรดาสมศักดิ์สมศรี
หาได้ใช่ง่ายชายดี สมกับเทวีลูกเรา ฯ
พระมหิษีทูลว่า
๏ ข้าแต่พระมหาราชา ชาดาดวงใจใช่เฉาอ.๔๖
นางนึกแน่ในใจเยาว์ ไป่คิดชิดเคล้าคู่ครอง
พระองค์จงโปรดดำรัส ชี้แจงแจงอัตถ์ทั้งผอง
ให้นางทราบความตามคลอง ทำนองซึ่งทรงจงใจ
นางกล่าวแก่ข้าว่าผัว กริ่งกลัวรังเกียจเกลียดใกล้
แม้ในความฝันทรามวัย ก็ไม่ขอเห็นสามี ฯ
๏ เมื่อนั้น พระมหากษัตริย์เรืองศรี
ยินพระมหิษีเทวี นรสีห์สนเท่ห์หฤทัย
๏ ตรัสให้หาราชพาลาอ.๔๗ ชาดาดวงจิตต์พิสมัย
คิดหวังฟังความทรามวัย พิศวงสงสัยจินดา ฯ
๏ เมื่อนั้นโฉมยงองค์กนกเรขา
ทราบคำดำรัสราชา สุภคาขึ้นเฝ้าภูมี ฯ
๏ วาดวงองค์อรอ้อนแอ้น งามแขนคืองวงคชสีห์
เรืองรามงามจริตจรลี ทรงฉวีผ่องผุดสุดใจ
๏ มัธยมกลมเกลาเพราเพริศอ.๔๘ ล้ำเลิศรังสีศรีใส
อุโรชโชติชูดูไป คลื่นไกรกลิ้งสมุทรดุจกัน
มยูรยาตร์นาดกรอ่อนช้อย ดังย้อยจากฟ้ามาผัน
สุรีศรีหล้าลาวัณย์ หาเทียบฤๅทันเทวี
ถึงที่ประทับภูธร บังอรซุดองค์มารศรี
แย้มยิ้มพริ้มพักตร์ภักดี อัญชลีบิตุเรศร์เลอลักษณ์ ฯ
๏ เมื่อนั้น พระนราธิราชเรืองศักดิ์
เห็นพระลูกหญิงพริ้งพักตร์ เพียงจักษุเจ้าปัฐพี
ภูบาลตรึกไตรในจิตต์ นงรามงามจริตเลอศรี
หาไหนไป่เทียมเทวี ใครเห็นเปนที่เพลินตา
ชายใดได้เห็นโฉมยง ห่อนจืดใจจงใจหา
แม้กูผู้เปนบิดา ชนม์ชรามานานปานนี้
เห็นนางพางสบนางสรวง ในทรวงปลื้มเปรมเต็มที่
แม้ใครได้สู่ศูลี สำนึกนึกมีเช่นกัน
ชายหนุ่มไหนเลยเฉยได้ จักใคร่จักครวญหวนฝัน
ราคีกำหนดกลัดพลัน ป่วนปั่นใจร้อนห่อนเว้น
นางอื่นงามเพ็ญเช่นนี้ ไหนมีคือใครได้เห็น
หนุ่มๆ รุมใจใคร่เคล้น คลึงเคล้าเช้าเย็นเปนนิตย์
นางเป็นยอดหญิงมิ่งภพ ใครสบโชคชื่นรื่นจิตต์
จักเห็นเช่นได้อมฤต ค่ำเช้าเฝ้าชิดเชิงรัก
ลาวัณย์บรรเจิดเลิศหล้า เกิดมาในวงศ์ทรงศักดิ์
แม้นไม่มีคู่ชูพักตร์ น่าเสียดายนักเช่นนี้ ฯ
ท้าวชัยทัตตรัสว่า
๏ อ้าเจ้าเยาวมาลย์กานดา แก้วตาผู้มิ่งมารศรี
โฉมเฉลาเสาวภาคพรรณี เจ้านี้ทรงวัยใหญ่แล้ว
สมควรอภิรมย์สมสอง มีคู่อยู่ครองผ่องแผ้ว
ทรงลักษณ์ศักดิ์เลิศเพริศแพร้ว เหมือนแก้วทั้งคู่ดูพราย
พ่อม่งบงกิจพิธี สรรหาสวามีเฉิดฉาย
ส่งข่าวป่าวคำกำจาย ลือเกียรติฤๅวายทิวา ฯ
๏ เมื่อนั้น โฉมยงองค์กนกเรขา
ยินคำดำรัสราชา กัลยาณิ์ก้มกราบทูลไป ฯ
นางกนกเรขาทูลว่า
๏ ข้าแต่อวนินท์ปิ่นราช ภพนาถเลอฤทธิ์อดิศัย
ซึ่งทรงรำลึกตรึกไตร จักให้ข้าหาสามี
เพราะเหตุเม็ตตาการุญ พระคุณเปี่ยมเกล้าเกศี
แต่ว่าข้าผู้บุตรี ไม่รักจักมีภรรดา
อยู่เดียวเปนสุขทุกเมื่อ พระองค์จงเชื่อคำข้า
ให้เปนเช่นตูอยู่มา ไม่เปนภริยาชายใด ฯ
ท้าวชัยทัตตรัสว่า
๏ ดูรานงเยาว์เสาวลักษณ์ ดวงจักษุผู้พิสมัย
เจ้าตรัสอัตถ์นั้นฉันใด ใครฟังดังไร้ความคิด
นงเพ็ญเปนราชกัญญา เกิดมาในวงศ์ทรงกิตติ์
แม้นไม่มีคู่ชูชิด ชีวิตไร้ผลข้นแค้น ฯ
นางกนกเรขาทูลว่า
๏ ข้าแต่บิตุราชเลอศักดิ์ ลูกแน่ใจหนักจิตต์แน่น
แม้นชายฉายเฉิดเลิศแมน สุดงามสามแดนฤๅทัน
หมายมาเปนสามีลูก ลูกไซร้ไป่ผูกใจสรร
ขอพระนรเทพทรงธรรม์ ฟังคำสำคัญวันนี้
ไม่ขอมีคู่อยู่ข้าง หมายหมางใจเกลียดเสียดสี
ข้าผิดธรรมดานารี ภูมีอย่าเผด็จเม็ตตา
นางสิ้นดินแดนแสนหมื่น ใครอื่นไป่เปนเช่นข้า
พระองค์ทรงฤทธิ์บิดา จงเชื่อวาจาลูกรัก ฯ
๏ เมื่อนั้น องค์พระวีรวงศ์ทรงจักร
ยินคำสำคัญมั่นนัก ทรงศักดิ์รำพึงอึ้งคิด
หานางอย่างนี้หาไหนในแดแน่ได้ไม่ผิด
ชาดามานุษสุดทิศ หาไหนได้ชนิดนงเยาว์
นางเกิดเปนลูกเราไซร้ ลูกเราฤๅใช่ลูกเล่า
นางฟ้ามาเปนลูกเรา ดูเค้าจักเปนเช่นนี้
จึงทรงรูปลักษณ์นักหนา งามจริงยิ่งมานุษี
ไม่รักจักมีสามี ผิดแบบนารีธรรมดา ฯ
๏ องค์พระภูวนัยไตร่ตรอง ให้หมองใจหนักนักหนา
ค่ำเช้าเฝ้าปลอบกัญญา สุภคายืนคำร่ำไป
จนองค์ทรงเดชเกศรัฐ เคืองขัดขุ่นอกหมกไหม้
อาวรณ์ร้อนราชหฤทัย ภูวนัยออกอัตถ์ตรัสไป ฯ
ท้าวชัยทัตทรงกล่าวคำแค้นว่า
๏ อ้ากูผู้ใจไร้สุข เจ็บทุกข์จำทนหม่นไหม้
เคราะห์เรื่องเบื้องบรรพ์อันใดกรรมในชาติก่อนร้อนร้าย
เปนบาปตราบในชาตินี้ มีราชบุตรีเฉิดฉาย
ดื้อดึงขึ้งเคียดเกลียดชาย มุ่งหมายไม่หาสามี
ผิดแบบผิดแผนแสนร้าย เคืองคายขุ่นข้องหมองศรี
กูในชาติก่อนห่อนดี ชาตินี้ขุกเข็ญเห็นชัด
หมายมุ่งรุ่งเรืองเบื้องหน้า เห็นแน่แก่ตาว่าขัด
เพราะกรรมทำอยาบบาปซัด รู้ถนัดเล่ห์นั้นมั่นนัก ฯ
๏ เมื่อนั้น องค์พระบุตรีมีศักดิ์
ยินนราธิบดีชี้ชัก นงลักษณ์ส้อยเศร้าเปล่าใจ
สงสารบิตุรงค์ทรงเดช ภูธเรศร้อนรนหม่นไหม้
เคารพนบน้อมจอมชัย อรไทยทูลความตามจริง ฯ
นางกนกเรขาทูลว่า
๏ ข้าแต่ปัฐพินทร์ปิ่นเกศ ทรงเดชการุญคุณยิ่ง
เปนที่ปกปักพักพิง ทุกสิ่งเมตตาอาทร
ข้าไซร้ใช่เกลียดมีผัว ใช่กลัวชายกริ่งยิ่งศร
แท้จริงใจข้าอาวรณ์ ใคร่สู่คู่ช้อนชูชิด
สำคัญที่ตรงองค์ชาย มีหมายในใจไม่ผิด
มานุษสุดภพจบทิศ องค์เดียวข้าคิดใคร่รัก ฯ
ท้าวชัยทัตตรัสว่า
๏ อ้าเจ้าเผ่ารัตน์ขัติเยศ นรเศรษฐ์สูงวงศ์ทรงศักดิ์
ชายใดไหนเล่าเสาวลักษณ์ ซึ่งเจ้าเพราพักตร์พึงชิด
เผ่าพงศ์ทรงราชย์แหล่งไหน กุลงามนามใดไกรกิตติ์
เหนือใต้ให้ตูรู้ทิศ ประจักษ์จักคิดตามควร ฯ
นางกนกเรขาทูลว่า
๏ ข้าแต่พระมหาราชา เมตตาเชิงชอบสอบสวน
แสนยากหากจักชักชวน โดยขบวนเบี่ยงแบบแยบใด
เหตุว่าข้าไซร้ไป่รู้ ชายผู้โศภนคนไหน
ยรรยงพงศ์เผ่าเหล่าใคร อยู่ไหนในถิ่นดินดอน
ทราบเพียงว่าชายนายหนึ่ง ข้าพึงรักร่วมปัจถรณ์
กรุงงามนามกนกนคร แท้เที่ยงเวียงอมรแมนฟ้า
ชายไหนมาจากเมืองนั้น ชายนั่นคือสามีข้า
ใครอื่นหมื่นแสนแน่นมา ลูกยาฤๅปลงหฤทัย ฯ
ท้าวชัยทัตตรัสว่า
๏ ดูรานงเยาว์เสาวภาค จักยากโดยเลศเหตุไหน
ทราบความนามเวียงเกรียงไกร จักให้สืบด้นค้นดู
ร้อยพราหมณ์ถามเที่ยวเลี้ยวเลาะ สืบเสาะสื่อความตามผลู
พึงค้นหนไหนใคร่รู้ โฉมตรูจงบอกบิดา ฯ
นางกนกเรขาทูลว่า
๏ อ้าพระพีรพงศ์ทรงศักดิ์ ยากจักสืบเสาะเลาะหา
ลูกไซร้ไม่แจ้งจินดาอันว่าเวียงทองก่องกาญจน์
จักสถิตทิศไหนในดิน ฤๅถิ่นตรีทิพไพศาล
เมืองนาคในมหาบาดาล ฤๅฐานถิ่นหล้าอานันท์
ข้าทราบในยามศัยยา พระอิศวรเสด็จมาเข้าฝัน
ว่าพระภัดดาข้าอัน ชาติบรรพ์เคยอยู่คู่ครอง
ห่อนช้าจักสู่อยู่สม สุขาภิรมย์ร่วมห้อง
จักเสด็จจากเมืองเรืองรอง งามก่องกาญจน์แก้วแพร้วพิศ
ชายอื่นใช่ผู้คู่ชื่น แสนหมื่นไป่ม่งปลงจิตต์
ขอพระบิตุรงค์ทรงฤทธิ์ ขอพระบิตุรงค์ทรงฤทธิ์
ให้ป่าวข่าวรั่วทั่วแห่ง ทุกแหล่งกระหลบภพสาม
ชายใดได้เรื่องเมืองงาม อันนามเวียงทองผ่องเพ็ญ
ให้รีบมากล่าวข่าวสาร ยกข้อส่อพยานให้เห็น
มาตร์แม้นมีวรรณอันเปนอ ๔๙. ชายเช่นควรคู่ตูนี้
ทรงศักดิ์จักอวยชาดา ให้เปนภริยาเสริมศรี
ชายใดในภพธาตรี รู้ที่รู้เรื่องเมืองนั้น
ยินข่าวป่าวคงตรงมา ยินข่าวป่าวคงตรงมา
จักแจ้งโดยคำสำคัญ ว่ามานพนั้นสามี ฯ
ท้าวชัยทัตตรัสว่า
๏ อ้าเจ้าเสาวภาคเพ็ญพักตร์ ดวงจักษุผู้ภูลศรี
มานพเช่นเจ้าเล่านี้ อาจมีมามากยากใจ
เจ้าจักแจ้งจิตต์คิดมั่น เพราะสัญญามีที่ไหน
พ่อทราบสำคัญนั้นไซร้ จักให้สืบทั่วธาตรี ฯ
นางกนกเรขาทูลว่า
๏ ข้าแต่พระองค์ทรงภพ พระคุณล้ำลบเกศี
ทรงชัยให้ทูลเช่นนี้ เหลือที่ลูกกล้าวายาม
พระวิศเวศวรบอกข้า แต่มีวาจาว่าห้าม
มิให้พรายแพร่งแจ้งความ ลูกจำทำตามศุลี
พระองค์จงโปรดโทษให้ แก่ตูผู้ใต้บทศรี
แม้นทูลมูลความตามมี เกรงอุมาบดีเดชิต ฯอ ๕๐.

-------------------------------------------------
         อ ๓๔. “แกล้วกล้ามหารถฤทธี”. “มหารถ” คำนี้แปลว่าทหารใหญ่ มีคาถาว่า  เอโก ทศ สหสฺราณิ โยธเยทฺยสฺตุ ธนฺวินำ ศสฺตรศาสฺตรปฺรวิณศฺจ วิชฺญยะ ส มหารถะ ความว่าผู้รอบรู้ในเชิงอาวุธ คนเดียวอาจสู้ทหารธนูได้ถึงหมื่นคนนั้น ท่านว่าเปนมหารถ ↩
         อ ๓๕. “ขคราชเริงแรงแขงขร”. “ขค” แปลว่านก (ไปในฟ้า) “ขคราช” คือครุฑผู้เปนพญานก. ↩
         อ ๓๖. “อุรงค์ฤทธิ์ล้ำกำธร”. “อุรงค์” แปลว่านาค งูก็เรียก (แปลว่าไปด้วยอก). ↩
         อ ๓๗. “มีมิ่งหมายเหมือนเคลื่อนไหว”. “มิ่ง” ศัพท์นี้ใช้ในที่นี้ตามความเดิมซึ่งแปลว่าชีวิต. ↩
         อ ๓๘. “พระดนัยดนยาหาไม่”. “ดนย” แปลว่าลูกชาย “ดนยา” แปลว่าลูกหญิง. ↩
         อ ๓๙. “รอยกรรมทำไว้ในบรรพ์”. “บรรพ” ศัพท์นี้หนังสือไทยใช้มาก ในความว่า “ก่อน” เช่น “บรรพบุรุษ” เปนต้น พจนานุกรมกล่าวว่าเปนคำแผลงมาจากสํสกฤตปุรฺว ซึ่งน่าจะเห็นว่า “แผลง” มาก. ↩
         อ ๔๐. “ไร้บุตรสุดบาปปลาบจิตต์”. ลัทธิพราหมณ์ถือว่าความไม่มีบุตรนั้นบาป จะต้องรับทุกข์ในภายหน้า เพราะเมื่อตายไปแล้ว แลยังเปนเปรตอยู่นั้น ต้องมีลูกเปนผู้เส้นด้วยก้อนเข้าบิณฑ์เฉพาะตัว ผู้ตายจึงจะได้รับผลเต็มที่ คนอื่นทำไม่ได้เหมือนลูก.
                  ครั้นเมื่อพ้นวิสัยแห่งเปรตไปเปนปิตฤแล้ว ถ้าไม่มีลูกหลานของตนเองเปนผู้เส้น ก็ยังได้ความเดือดร้อนเหมือนกัน แต่ค่อยยังชั่ว เพราะเครื่องเส้นซึ่งลูกหลานในเครือญาติเดียวกันบูชาส่งไปนั้น พวกปิตฤกินด้วยกันได้ ถึงไม่มีลูกหลานของตนเอง
                  ก็พออาศัยผู้อื่นในเครือญาติเดียวกันได้ เปนอันไม่อด แต่เปรตนั้นต้องได้รับเส้นจากลูกหลานเฉพาะตัว มิฉนั้นต้องอด.
                  อนึ่งมีคำกล่าวไว้ในมนูธรรมศาสตร์ (๙.๑๓๘) ว่า เพราะลูกคุ้มพ่อมิให้ตกนรกขุมที่ชื่อปุต พระสวยํภู จึงทรงเรียกลูกว่า “บุตร” อันที่จริงเราท่านน่าเชื่อว่านรกขุมที่ชื่อปุตฺนั้น มีผู้ “ประดิษฐ์” ขึ้นเพื่อจะแปลคำว่า “บุตร” เท่านั้นเอง. ↩
         อ ๔๑. “เพ็ญชุณหแจ่มวงทรงกลด”. “ชุณห์” แปลว่าพระจันทร์. ↩
         อ ๔๒. “นางคลอดชาดาลาวัณย์”. “ชาดา” แปลว่าลูกหญิง. ↩
         อ ๔๓. “เห็นราชทาริกานารี” “ทาริกา” แปลว่าเด็กหญิง. ↩
         อ ๔๔. “หอมหรรษ์เหมจิตต์พิสมัย”. “พิสมัย” คำนี้เปนคำสํสกฤต “วิสฺมย” ภาษาบาลีเปนวิมฺหโย แปลว่าแปลกใจ แต่ใช้ว่า “รัก” กันมาก. ↩
         อ ๔๕. “ควรจำธรรมดานาไร่”. แขกมักจะเปรียบหญิงกับไรนา เพราะหญิงเปนที่เกิดแห่งพืชคน ดังซึ่งไร่นาเปนที่เกิดแห่งพืชข้าว. ↩
         อ ๔๖. “ชาดาดวงใจใช่เฉา”. “เฉา” ในที่นี้ว่าเขลา ว่าโง่. ↩
         อ ๔๗. “ตรัสให้หาราชพาลา”. “พาลา” แปลว่านางสาว. ↩
         อ ๔๘. “มัธยมกลมเกลาเพราเพริศ”. “มัธยม” ในที่นี้แปลว่าสเอว. ↩
         อ ๔๙. “มาตรแม้นมีวรรณอันเปน”. “มีวรรณ” คือมีชาติซึ่งฝรั่งเรียกว่า Caste. ↩
         อ ๕๐. “เกรงอุมาบดีเดชิต”. “อุมาบดี” แปลว่าผัวพระอุมา คือพระอิศวร. ↩


         โปรดติดตามตอนต่อไป
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 กันยายน 2561 17:06:20 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 21 กันยายน 2561 17:19:36 »

                                     
       . กนกนคร  .
       พระนิพนธ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ (น.ม.ส.)

๏ เมื่อนั้น พระนราธิราชเรืองกิตติ์
คำนึงอึ้งอัดขัดคิด แปลกจิตต์เห็นยากหลากแท้
แปลกจิตต์เห็นยากหลากแท้           ควรเชื่อฤๅไม่ไม่แน่
สงสัยในจิตต์อิดแด ถึงแม้จริงตามความนั้น
เมืองไหนในถิ่นดินดอน คือกนกนครในฝัน
ไป่เคยยินชื่อลือกัน บอกเบื้องเมืองอันอาจมี
ยากหนักจักนิ่งเสียเล่า โฉมเจ้าไร้คู่ชูศรี
จักเลยเฉยไปไป่ดี นารีไร้ผัวมัวพรรณ
จำใจให้ข่าวป่าวร้อง ทำนองนงเยาว์กล่าวสรร
หาไม่ไหนเจ้านวลจันทร์ จักหันหาคู่ชูพักตร์ ฯ
๏ ทรงธรรมดำริห์เล่ห์นี้ พลางพระภูมีมีศักดิ์
โปรดให้โฉมยงทรงลักษณ์ คืนสู่ตำหนักนางใน
ตรัสเรียกอำมาตย์มนตรี พลางมีบรรหารขานไข
สูจงตรงรีบเร็วไป สั่งให้ประกาศธานี
ลั่นฆ้องร้องข่าวป่าวทั่ว ให้รั่วรู้รอบกรุงศรี
ชายใดใต้หล้าธาตรี ทราบที่ทราบเรื่องเมืองทอง
แม้นชาติชูบวรณ์ควรอยู่ ฝังปลูกลูกกูคู่ห้อง
จักแบ่งราชัยให้ครอง ทำนองราชบุตรสุดรัก
ทั้งจักยกราชชาดา ให้เปนชายายอศักดิ์
ให้เขาเข้ามาอย่าพัก กูจักอุปถัมภ์ดำกล ฯ
๏ บัดนั้น คณามาตย์หลากจิตต์คิดฉงน
รับสั่งพระองค์ทรงพล ต่างตนคลานคล้อยถอยไป
จัดให้ตีฆ้องร้องป่าว ยินข่าวไร้ผู้รู้ได้
โจษจรรกันทั่วกรุงไกร ต่างใคร่ทราบเรื่องเมืองทอง ฯ
๏ ฝ่ายราชบุรุษสุดเสียง ป่าวไปในเวียงทั้งผอง
เสียงคนไปเคียงเสียงฆ้อง ส่งข่าวป่าวร่องก้องไป ฯ

๏ เจ้าเอยเจ้าจ้า ใครยินอย่าช้า เร่งมาเร็วไว ฟังคำประกาศ ดังราชหฤทัย ถ้อยคำจำไป สืบส่อต่อกัน ฯ
๏ ชายดีมีชาติ ควรสู่คู่ราช ชาดาลาวัณย์ เคยเห็นเมืองทอง งามผ่องเพียงจันทร์ จงเฝ้าเจ้าอัน ทรงสิทธิ์ฤทธี ฯ
๏ ท้าวจักยอยศ ลือชาปรากฏ เกียรติ์แกว่นแดนตรี จัดสรรปันให้ ราไชศวรศรี สารพรรณอันมี แบ่งมอบครอบครอง ฯ
๏ หนึ่งจะประทาน ยุพยงนงคราญ ลักษณ์ล้ำลำยอง องค์กนกเรขา บุบผาผิวทอง ประคบประคอง เปนคู่ชูใจ ฯ
๏ ชายดีมีชาติ แจ้งเรื่องเมืองมาศ สู่ราชเร็วไวอ.๕๑รางวัลอันยิ่ง ทุกสิ่งสมใจ กอบโกยโดยนัย ที่ประกาศเอย ฯ


๏ บัดนั้น ทวยราษฎร์ยินเค้าเขาเฉลย
แปลกมากหลากใจไม่เคย ยินข่าวป่าวเผยเช่นนี้
ต่างคนเอมอิ่มยิ้มย่อง สืบเรื่องเมืองทองผ่องศรี
บ้างออกเดินดงพงพี ทุกที่คลาไคลไปมา
บางคนตนเดียวเที่ยวเดิน ในแถวแนวเถินเนินผา
พบลิงพบค่างช้างม้า หมูหมาเหลือหลากมากมาย
ไม่พบเมืองทองรองเรือง พบเมืองเลวๆ แหล่หลาย
กระทิงสิงห์โตโคควาย ไม่หมายอยากพบๆ มัน
บางคนด้นไปในป่า นึกหน้านางเลิศเฉิดฉัน
มัวเหม่อเผลอฝ่าอารัณย์ พบเสือๆ มันกัดเอา
บางตนบ่ายตีนปีนผา พลาดท่าหัวหกตกเขา
ลำบากยากเข็ญเย็นเช้า ไต่เต้าเสาะเรื่องเมืองทอง ฯ
๏ บางพวกเกลื่อนกลุ้มกลุ่มกัน        พัลวันยัดเยียดเสียดถอง
สืบข้อต่อความถามลอง แซ่ซ้องในถนนกล่นไกล
เดือดจิตต์คิดใคร่ได้ความ เมืองงามโศภิตทิศไหน
ต่างคนถามกันลั่นไป หาใครจักรู้ฤๅมี
โจษจรรบรรลือรอบด้าว ยินข่าวยุพยงทรงศรี
ทั่วกันบรรดาธานี ทุกที่ใกล้ไกลในภพ
ต่างใคร่ได้เรื่องเมืองทอง เที่ยวท่องสืบไปไป่สบ
แตกตื่นดื่นหน้ามานพ ปรารภไล่เลียงเถียงกัน
ทุกเมืองเนื่องมาไม่อยุด อุตลุดรอบเวียงเสียงลั่น
ระเบ็งเซ็งแซ่แจจรร กลางคืนกลางวันฤๅเว้น
ละการละงานดาลเดือด ไป่เหือดดึกดื่นตื่นเต้น
ทิ้งถิ่นเที่ยวเต้าเช้าเย็น ขุกเข็ญลือเลื่องเครื่องร้าว
วิวาทบาดเทลาะเบาะแว้ง] ตีรันฟันแทงกันฉาว
กลุ่มๆ กลุ้มเที่ยวเกรียวกราว เปนคราวจลาจลข้นแค้น
ทิ้งอาชีวะละหมด ปรากฎความเสื่อมสุดแสน
อาการบ้านเมืองเคืองแคลน ทั่วแดนอักอ่วนป่วนกัน ฯ
๏ เมื่อนั้น องค์ท้าวชัยทัตรังสรรค์
ร้อนร้าวคราวเข็ญเปนควัน ป่วนปั่นปวงราษฎร์หวาดไป
หฤทัยราชาอาวรณ์ เมืองกนกนครอยู่ไหน
สงสัยใช่จริงกริ่งใจ อรไทยเล่นหลอกออกกล
ลวงกูผู้พ่อล่อให้สืบข่าวป่าวไปในหน
น่าหัวมัวเมอเผลอตน ให้คนฟุ้งซ่านดาลใจ
จักจริงฤๅเล่นเช่นนึก รู้สึกแสนเลวเหลวไหล
ไป่เห็นเปนผลกลใด เมืองมาศคาดได้ไม่มี
ผู้คนเนืองแน่นแสนหมื่น แตกตื่นมาสู่กรุงศรี
ป่วนปั่นกันทั่วธาตรี เพราะราชดรุณีนงลักษณ์ ฯ
๏ พระมหาราชาอาทร เร่าร้อนหฤทัยทรงศักดิ์
ดังมีดกรีดเชือดเผือดพักตร์ โศกสลักทรวงท้าวร้าวราน ฯ
๏ มาจะกล่าวบทไป ถึงท้าวธรรมราชอาจหาญ
ครอบครองอละกามานาน สำราญเลื่องชื่อลือชา
ไพรีเข็ดนามขามยศ ปรากฏรู้รั่วทั่วหล้า
ทรงเดชเขตรอบขอบฟ้า แกล้วกล้ารณรงค์วงศ์ราม ฯ
๏ ท้าวมีโอรสเลอศักดิ์ ทรงลักษณ์เลิศลบภพสาม
โศภาอาภรณ์งอนงาม ทรงนามอมรสิงห์พริ้งพักตร์
คือพญากมลมิตรมาเกิด ชื่นเชิดชูวงศ์ทรงจักร
องอาจชาติฟ้ากล้านัก สมศักดิ์สมศรีมีชัย
ศึกษาศรศาสตร์อาจสุด ยงยุทธกาจแกว่นแดนไหว
เข้มแขงแรงล้ำกำไร ริปูรู้ไปใจคร้าม
แสงขรรค์บั่นเศียรเสี้ยนเศิก เอิกเกริกเลื่องชื่อลือขาม
แคล่วคล่องคลองรงค์สงคราม ห้าวหาญชาญสนามน่าชม ฯ
๏ นารีมีใจใคร่หา อาศาเปนคู่สู่สม
เพลิงราคมากไหม้ใจกรม รันทมทุกข์เร้าเผาใจ
ตามตอมด้อมเมียงเอียงอาย ล้อมรายเรียงรุมกลุ้มใกล้
ถดถอยชม้อยชม้ายกรายไป หฤทัยรัญจวนมวนกาม
ท่าเย้าทียวนชวนชิด ครวญใคร่ในจิตต์วับหวาม
รักเธอๆ ห่อนผ่อนตาม นางงามพระไม่ไยดี ฯ
๏ ปางท้าวธรรมราชเลอเดช สังเกตโอรสเรืองศรี
ยรรยงทรงลักษณ์รูปีอ.๕๒ ไม่มีใครเทียบเปรียบปาน
ศัตรูศัสตรีหนีหน้าอ.๕๓ ไป่กล้าปองรายหมายผลาญ
แสนสง่าอ่าโอ่โอฬาร องอาจชาติทหารเหิมรณ
ทนุถนอมกล่อมเกลี้ยงเลี้ยงมา       นับว่าสำเร็จเผล็ดผล
หมายไว้ได้สมใจตน ปวงชนจงรักภักดี
ยุพราชขาดคู่ชูชื่น เริงรื่นอารมณ์สมศรี
รำลึกตรึกหานารี ดรุณีลูกท้าวด้าวใด
ควรสู่อยู่ห้องครองคู่ ลูกกูบุญหนักศักดิ์ใหญ่
สำรวจตรวจตรึกนึกไป นึกได้หนึ่งหน้านารี
ลูกสาวท้าวใหญ่ไกรยศ จิตรรถราชาอ่าศรี
จอมแคว้นแกว่นกล้าราวี ไพรีเข็ดฤทธิ์คิดท้อ
มีราชดรุณีศรีศักดิ์ กูจักจัดให้ไปขอ
สมพงศ์สมเผ่าเหล่ากอ คงยอทรามวัยให้พลันอ.๕๔
ได้สาวสะใภ้ใสศรี ดังมีน้ำใจใฝ่ฝัน๕๔
จักสบจิตต์สุขทุกวัน แม่นมั่นสมมาดปราศร้อน ฯ
๏ ทรงเดชเกศกษัตร์ตรัสสั่ง เขาฟังคำองค์ทรงศร
จัดทูตพูดไวให้จร สื่อสู่ภูธรจิตรรถ
ขอองค์อรรคราชชาดา คือเพ็ญเผ่นฟ้าปรากฏ
เษกสองครองคู่ตรูยศ กำหนดการในไม่ช้า ฯ
๏ ปางท้าวธรรมราชเรืองรัตน์ ดำรัสสั่งไปให้หา
องค์ราชโอรสเจ้ามา ราชาออกอัตถ์ตรัสพลัน ฯ
ท้าวธรรมราชตรัสว่า
๏ ดูราอมรสิงห์ยิ่งยศ โอรสผู้เลิศรังสรรค์
เจ้าไร้ชายาลาวัณย์ ร่วมน้องครองกันฉันทิต
ทรงลักษณ์ศักดิ์เลิศเชิดหน้า แกล้วกล้าสมวงศ์ทรงกิตติ์
สมควรมีคู่ชูชิด โดยหวังดังจิตต์บิดา
พ่อตรึกนึกในใจมั่น จักสรรสมบุญสุณหาอ.๕๕
นางหนึ่งซึ่งเปนชาดา จิตรรถราชาธิบดี
โศภาอ่าองค์นงลักษณ์ สมศักดิ์สมทรงพงศ์สีห์
สมปองสองราชธานี เปนแผ่นปัฐพีเดียวกัน ฯ
๏ เมื่อนั้น ยุพราชฤทธิ์เลิศเฉิดฉัน
ยินตรัสบิตุรงค์ทรงธรรม์ เธอพลันก้มกราบทูลไป ฯ
พระอมรสิงห์ทูลว่า
๏ ข้าแต่พระมหาราชา วาจาภูบาลขานไข
การุญคุณลบภพไตร หาไหนจักเหมือนฤๅมี
ข้านี้มีคู่อยู่แล้ว คือพระขรรค์แก้วชัยศรี
ไป่คิดใคร่หานารี ภูมีจงทราบบทมาลย์ ฯ
ท้าวธรรมราชตรัสว่า
๏ ดูราลูกเราเผ่าขัติย์ เจ้าตรัสไม่เปนแก่นสาร
วาจาน่ารกำรำคาญ ชายชาญเหตุไฉนไร้คิด
เจ้าลูกคนเดียวของพ่อ จำต่อเผ่าพงศ์ทรงสิทธิ์
ไม่คิดมีคู่ชูชิด เหมือนจิตต์จักสลัดตัดวงศ์
เผ่าราชแหล่งนี้จักสูญ ประยูรยับยุ่ยผุยผง
อย่าขืนยืนคำจำนง เจ้าจงตรึกไตรให้ดี ฯ
๏ เมื่อนั้น องค์พระอมรสิงห์เรืองศรี
ยินพระบิดาพาที อัญชลีนรราชเรืองชัย
ห่อนรับคำพระบิตุรงค์ ห่อนขัดคำองค์อดิศัย
บังคมก้มลาคลาไคล คืนไปสู่ที่ศัยยา ฯ
๏ ปางท้าวธรรมราชรังสรรค์ สามวันรับสั่งให้หา
องค์ราชโอรสเข้ามา พลางมีวาจาตรัสซัก
อมรสิงห์ยืนคำร่ำไป ภูวนัยพักตร์นิ่วกริ้วหนัก
พระนราธิบดีชี้ชัก ทั้งรักทั้งร้อนถอนใจ
ท้าวธรรมราชตรัสว่า
๏ ดูก่อนกุมารหาญดื้อ เจ้าถือเยี่ยงแยบแบบไหน
คิดความตามเลศเหตุไร จักไม่ชื่นชมรมณี๕๖
จักเสียคำตูผู้พ่อ ส่งข่าวกล่าวขอโฉมศรี
ลูกสาวท้าวพญาธานี ทรงสิทธิ์ฤทธีเกรียงไกร
เจ้าดื้อคือเจ้าจะริ ส่อร้าวสาวอริเรื่องใหญ่
บ้านเมืองเคืองเข็ญเปนไป เพราะใจเจ้าถือดื้อดึง ฯ
พระอมรสิงห์ทูลว่า
๏ ข้าแต่บิตุรงค์ทรงภู แม้นกษัตร์ศัตรูจู่ถึง
เพียบพยู่ห์ผู้คนพลอึง ไป่พึงร้อนจิตต์บิดา
ข้านี้แกล้วกล้าอาวุธ ชาญสุดเชิงศึกศึกษา
ไพรีนี่นันกันมา ลูกยาฤๅย่อต่อฤทธิ์ ฯ
พระอมรสิงห์ทูลว่า
๏ ดูก่อนกุมารชาญศึก หาญฮึกรณรงค์ทรงอิทธิ์
เศิกกล้ามาแวดแปดทิศ เจ้าคิดไป่กริ่งชิงชัย
รู้ดอกเจ้าทรงฤทธี ข้อนั้นไม่มีสงสัย
ห่อนคิดยำเยงเกรงใคร ศัตรูผู้ใดไป่รอ
แต่เจ้าจงรำลึกว่าคำข้าซึ่งไปสู่ขอ
เลอะเลื่อนเหมือนปดคดงอ อันพ่อเปนใหญ่ในดิน
กล่าวแล้วแคล้วข้อสัญญา เสื่อมเสียยิ่งกว่าเสียสิน
อื้อฉาวกล่าวไปใครยิน จักนินทาทั่วชั่วจริง ฯ
พระอมรสิงห์ทูลว่า
๏ อ้าพระธรณินทร์ปิ่นเกศ ทรงเดชเกรียงไกรใหญ่ยิ่ง
ใครกล้ากล่าวหาญค้านติง ลูกรักจักชิงชีพมัน
ผู้อาจนินทาว่าร้าย จักวายชนม์ม้วยด้วยขรรค์
แม้นดามาดื่นหมื่นพัน เศียรมันจักขาดดาษดา ฯ
ท้าวธรรมราชตรัสว่า
๏ อ้าเจ้าเฉาจิตต์คิดตื้น ใครอื่นห่อนเห็นเช่นว่า
คนกล่าวข่าวฉินนินทา จักเที่ยวเคี่ยวฆ่าดังฤๅ
อย่าทำกำเริบเอิบจิตต์ เหิมคิดคำนึงดึงดื้อ
พ่อกล่าวเจ้าห่อนผ่อนปรือ ได้ชื่อว่าชั่วมัวมนท์ ฯ
พระอมรสิงห์ทูลว่า
ข้าแต่พระองค์วงศ์ราม ข้าเคยทำตามทุกหน
ครั้งนี้อาภัพอับจน ทรงพลจงโปรดปรานี
ข้ามีนางหนึ่งในจิตต์ เปนนิตย์นึกหามารศรี
นางอื่นหมื่นหน้านารี ลูกไซร้ไม่มีใจรัก ฯ
๏ เมื่อนั้น พระนราธิราชเลอศักดิ์
ยินคำพระดนุชสุทธลักษณ์ เห็นจักสมใจไป่แคล้ว
ตรัสว่าอ้าเจ้าเอารส ยงยศฦๅชากล้าแกล้ว
นางไหนฉายเฉิดเพริศแพร้ว ลูกแก้วตรึกไตรใคร่ชิด
ตำแหน่งแหล่งไหนใต้หล้า ราชาธิบดีมีกิตติ์
ลูกสาวท้าวใดในทิศ จงแถลงแจ้งจิตต์บิดา ฯ
พระอมรสิงห์ทูลว่า
๏ ข้าแต่พระชนกภูวนัย ทรงชัยตรัสตั้งปัญหา
เหลือรู้ตูจนปัญญา จิตต์ข้าเห็นยากหลากแท้
สองเดือนต่อครั้งข้าฝัน เห็นน้องผ่องพรรณเพ็ญแข
ลักษณ์ล้ำน้ำนวลยวนแด ยิ่งแลยิ่งล้ำอำไพ
เรือจันทร์อันกลิ่นกลบทั่ว สระบัวศรีส่องผ่องใส
อันองค์นงรามทรามวัย เนาในเรือนวลชวนชม
พายเงินงามเงาเพราพราย นวลฉายยึดด้ามงามสม
เรือน้อยลอยลำขำคม บัวฉมชูล้อมห้อมเรือ
งามพักตร์เพียงไหนไม่เห็น รูปทรงนงเพ็ญงามเหลือ
ใคร่สิงอิงแอบแนบเนื้อ ห่อนเบื่อตาพิศติดตา
นงรามนามไรไม่แจ้ง ตำแหน่งสรวงสรรชั้นหล้า
ฤๅแหล่งแห่งใดใต้ฟ้า ลูกยาห่อนแจ้งใจตู
ชั่งจิตต์เชื่อใจในฝัน นางนั้นนึกเห็นเปนคู่
จักสถิตทิศใดในภู เหลือรู้เหลือคิดติดตาม
นึกมั่นวันใดวันหนึ่ง นางซึ่งงามลบภพสาม
คงสู่คู่สิงจริงตาม ในความซึ่งฝันนั้นแท้
ข้าคอยยุพยงองค์นั้น แม่นมั่นเปนคู่รู้แน่
หญิงอื่นหมื่นแสนแม่นแด ถึงแม้มาใกล้ไม่ชม ฯ
๏ เมื่อนั้น อวนินทร์ยินห่อนเห็นสม
สรวลเย้ยเหวยเจ้าเมางม โสมมมึนเมอเผลอมัว
นางไหนเสาวภาคหลากเหลือ ลอยเรือโศภาหาผัว
งามทั่วกลั้วทองทั้งตัว แหวกบัวมือกวักพักตร์พริ้ง
แม้นเจ้าฝันเห็นเช่นว่า เปนบ้าเพราะเขลาเข้าสิง
เฉาเหลือเชื่อเล่นเปนจริง ไป่กริ่งเกรงผู้ไยไพ
หรือหลอกออกมาว่าฝัน หมายมั่นให้พวงหลงใหล
กล่าวคำกล้ำความตามใจ หวังไม่ตามจิตต์บิดา
หากเจ้าเฉาเชื่อความฝัน เช่นนั้นจริงจังดังว่า
เจ้าจงปลงเปลี่ยนศรัทธา มิฉะนั้นเปนบ้าเปนแท้
หากเจ้าลวงพ่อล่อหลอกจักบอกจงเชื่อใจแน่
เปลี่ยนคิดเถิดเจ้าเบาแด หลอกพ่อล่อแม่ไม่ดี ฯ
๏ เมื่อนั้น อมรสิงห์เคืองข้องหมองศรี
เฉียวฉุนขุ่นข้อพาที ทูลนราธิบดีทันใด
ข้าทูลมูลความตามจริง ไป่กริ่งจักทรงสงสัย
บัดนี้ท้าวเห็นเปนไป ว่าตูผู้ดนัยไร้คิด
ลวงพ่อล่อผู้มีคุณ ทารุณยิ่งสุดทุจริต
ดูถูกลูกองค์ทรงฤทธิ์ แค้นจิตต์มาเปนเช่นนี้
วาจาข้าทูลนั้นไซร้ ภูวนัยจงทราบบทศรี
จักเชื่อมิเชื่อตามที ข้านี้ไม่เห็นเปนไร
อันนางซึ่งไปสู่ขอ มาตรแม้นแม่พ่อยกให้
เชิญพระบิตุรงค์ทรงชัย เอาไว้เปนราชชายา
ข้าไซร้ไม่มีจำนง ดังซึ่งท้าวทรงปรารถนา
ใคร่ได้ดวงมาลย์กานดา นางในฝันข้าองค์เดียว
หญิงอื่นหมื่นแสนแน่นมา หมดในใต้หล้าฟ้าเขียว
ไม่ขอสู่สมกลมเกลียว จักเหนี่ยวจักรั้งฤๅตาม ฯ
๏ เมื่อนั้น องค์ท้าวธรรมราชเรืองสนาม
ยินคำสำนวลลวนลาม วู่วามคือไฟไหม้ฟ้า ฯ
ท้าวธรรมราชตรัสว่า
๏ พูดจาฉุนเฉียวเจียวสู ดูดู๋บังอาจกาจกล้า
หลู่กูผู้เปนบิดา ไม่เกรงอาญาย่อท้อ
ดีหละจะได้เห็นกัน เชื่อฝันยิ่งกว่าเชื่อพ่อ
พูดหยาวกล่าวพจน์คดงอ ไม่ง้อเห็นงามตามใจ ฯ
๏ ตรัสพลางเรียกราชตำรวจ สำแดงแรงดวจเสือใหญ่
เชิญพระกุมารชาญชัย ให้ไปที่ขังคุมองค์
ตรึกไตรในราชหฤทัย คงไม่แคล้วคลาดมาดม่ง
แม้นสละละพยศลดลง แปรปลงเปลี่ยนปลดพจน์ร้าย
จึ่งถอดคืนมาตั้งแต่ง อยู่ในตำแหน่งเฉิดฉาย
เษกสองครองกันพรรณราย สมหวังดังหมายไม่แคล้ว
ตราบใดดึงดื้อถือฝัน โมหันธ์เห็นว่ากล้าแกล้ว
ใฝ่หาโฉมฉายพรายแพรว นางแก้วในฝันนั้นไซร้
ตราบนั้นไม่ถอดจากจำ ให้มันครวญคร่ำร่ำไห้
มีฝันเปนเพื่อนเตือนใจ ทนได้ทนไปช่างมัน ฯ
๏ เมื่อนั้น อมรสิงห์สุริย์วงศ์รังสรรค์
คิดแสนแค้นเจียนจาบัลย์ บิตุรงค์ทรงธรรม์ฉันใด
ตูตั้งใจตรงองค์นาง อยู่ห่างในแห่งแหล่งไหน
เปนคู่รู้แจ้งจริงใจ จึ่งได้เวียนฝันฉันนี้ ฯ
๏ อ้าเจ้าเสาวภาคเพ็ญโฉม ดังโสมส่องหล้าราศี
แจ่มลักษณ์เลิศหล้านารี ไม่มีพรรณเพ็ญเช่นน้อง
ลอยกลางอ่างบัวยั่วจิตต์ ทศทิศหาไหนได้สอง
เรือจันทร์โศภาทาทอง พายเงินลำยองพึงยล
งามบัวชูห้อมล้อมเฝ้า งามเจ้าแจ่มห้องเวหน
หมายโลมโฉมเฉลาเสาวคนธ์ นิรมลอยู่ไหนไม่รู้
หวังไว้ไม่สมดังปอง คิดใคร่ได้น้องครองคู่
อันพระบิตุรงค์ทรงภู เธอวู่วามโกรธโทษกรณ์
คุมขังดังไพร่ใจร้าย แสนอายอกเบื่อเหลือถอน
จักลี้หนีออกซอกซอน เดิรป่าฝ่าดอนโดยกรรม
สืบตามทรามวัยในฝัน บุกบั่นแขงขืนคืนค่ำ
เคราะห์ดีผีหนุนบุญนำ คงสำเร็จจิตต์คิดปอง ฯ
๏ อมรสิงห์นิ่งนึกตรึกไตร ช้ำในอกอัดกลัดหนอง
หงุดหงิดจิตต์ใจไข้ครอง ขัดข้องขุ่นล้ำรำคาญ
เล่าเหตุระหัสให้รู้ จึ่งผู้คุมคิดสงสาร
ภักดีศรีราชกุมาร ยิ่งกว่าภูบาลนฤบดี
เธอแจ้งจำนงทรงหมาย อุบายปลดปลีกหลีกหนี
เขาทำไม่รู้ดูที เหมือนมีใจเผลอเมอมนท์
พระเสด็จเตร็จหนีที่ขัง มุ่งตั้งพักตร์ไปในหน
จรจู่สู่ป่าฝ่าพน ดั้นด้นหลีกลี้หนีไป ฯ
๏ บัดนั้น ผู้คุมแสร้งระงับหลับใหล
รุ่งเช้าป่าวกันลั่นไป เธอหนีทางไหนไม่รู้
แสร้งค้นด้นหาหน้าตื่น ร้ายเหลือเมื่อคืนยังอยู่
ทุกแหล่งแบ่งเที่ยวเกรียวกรู เที่ยวดูเที่ยวตามหลามกัน ฯ
๏ บ้างเข้าเฝ้าพระภูวนาถ องค์ท้าวธรรมราชรังสรรค์
ทูลว่าราโชรสอัน คุมไว้ในพันทิ์ศาลาอ.๕๗
หายไปในเช้าวันนี้ ภูมีจงโปรดโทษข้า
ร้อนตัวกลัวราชอาชญา รักษาเธอไว้ไม่ดี
แท้จริงกริ่งใจไม่ขาด ว่าอาจหลีกเลี่ยงเบี่ยงหนี
ทุกวารทิวาราตรี ไม่มีปล่อยปละละเลย
ยุพราชอาจลี้หนีได้ อยู่ๆ จู่ไปเฉยๆ
แปลกมากหลากใจไม่เคย ได้เปนเช่นเฉลยนี้ไซร้
แล้วแต่พระอาญาราช แห่งพระภูวนาถเปนใหญ่
จักโปรดโทษการฐานใด ตามแต่ภูวนัยปรานี ฯ

-----------------------------------------------

       อ ๕๑. “แจ้งเรื่องเมืองมาศ”. “มาศ” แปลว่าทอง คำนี้หนังสืออนันตวิภาคเอาไว้ในพวกคำเขมร สกดด้วย ศ. เมื่อสอบดูในภาษาเขมร (Bernard’s Dictionary) ก็มี มาส แปลว่าทองจริงๆ แต่มีผู้เห็นว่าคำๆ นี้เปนภาษามลายูก็มี เพราะมลายูก็เรียกทองว่ามาสเหมือนกัน แต่ปทานุกรมของกระทรวงศึกษาธิการแสดงว่า ศัพท์nนี้เปนภาษาบาลีแลสํสกฤต มาโส แล มาษ (A particular Weight of gold. Apte.) อย่างไรจะถูกหรือถ้าหากจะถูกด้วยกันทั้งนั้นก็ตาม ก็ไม่มีหลักซึ่งเห็นควรสกด ศ ได้ ข้าพเจ้าไม่ทราบว่าเหตุใดหนังสือรุ่นก่อนจึงใช้ ศ แต่เห็นสะดวกดีก็ใช้บ้าง เมื่อท่านเห็น มาศ ท่านอาจเห็นว่าสกดผิด แต่ท่านทราบว่าแปลว่าทองเปนแน่.
       อนึ่งในที่นี้ขอกล่าวเสียทีเดียวว่า ตัวสกดแลศัพท์ในหนังสือนี้ใช้ตามที่เห็นสะดวกบ่อยๆ คำที่ทราบแล้วว่าเห็นกันโดยมากว่าใช้กันผิดมาเดิม ในหนังสือนี้ก็ขืนใช้อย่างเก่าเนืองๆ ต่อไปภายหน้าถ้าผู้แต่งเปลี่ยนความเห็น อาจแก้ในคราวพิมพ์ต่อไปก็ได้ อันที่จริงอย่าว่าแต่ศัพท์แม้กลอนก็คงเปลี่ยนบ้าง. ↩
       อ ๕๒. “ยรรยงทรงลักษณ์รูปี”. “รูปี” แปลว่ามีรูปงาม. ↩
       อ ๕๓. “ศัตรูศัสตรีหนีหน้า”. “ศัตรูศัสตรี” คือศัตรูผู้ถืออาวุธ (ศัสตร = อาวุธ) ↩
       อ ๕๔. “คงยอทรามวัยให้พลัน”. “ยอ” แปลว่ายก. ↩
       อ ๕๕. “จักสรรสมบุญสุณหา”. “สุณหา” แปลว่าลูกสะใภ้. ↩
       อ ๕๖. “จักไม่ชื่นชมรมณี”. “รมณี” แปลว่าเมีย. ↩
       อ ๕๗. “คุมไว้ในพันทิ์ศาลา”. “พันทิ” แปลว่านักโทษ “พันทิศาลา” ที่ขังนักโทษ. ↩


       โปรดติดตามตอนต่อไป


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21 กันยายน 2561 17:24:27 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 04 ตุลาคม 2561 17:45:09 »


                                       
       . กนกนคร  .
       พระนิพนธ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ (น.ม.ส.)

ภาค ๒ บนดิน

๏ เมื่อนั้น องค์ท้าวธรรมราชเรืองศรี
ยินข่าวร้าวจิตต์ภูมี มันหนีไปไหนในแดน
แหวดตวาดกราดกริ้วนิ่วพักตร์ แค้นนักน่าโกรธโทษแสน
ควรหั่นบั่นหัวมึงแทน สับให้ไม่แค้นคอกา
ดูดู๋ไว้ใจให้เฝ้า ลูกเจ้าเฟี้ยมฟักรักษา
ฟั่นเฟือนเหมือนกับหลับตา ควรเฆี่ยนควรฆ่าสาใจ
กูจักงดโทษโปรดก่อน จงร้อนรีบฝ่าป่าใหญ่
ทุกทิศทุกทางห่างไกล ทุกไศละสิ้นดินดอน
ลูกกูอยู่ไหนในภพ หาจบธานีที่ซ่อน
เที่ยวตรับทุกตรอกซอกซอน รีบจรไว ๆ ไป่ช้า ฯ
๏ ภูธเรศร้อนรนหม่นไหม้ หฤทัยรัญจวนหวนหา
เนืองนิตย์จิตต์ผูกลูกยารีบจรไวๆ ไป่ช้า ฯ อ่วนอาดูรเศร้าเนาทรวงฯ
๏ เมื่อนั้น อมรสิงห์ทรงลักษณ์ศักดิ์หลวง
หลบลี้หนีพ้นคนปวง ในดวงแดช้ำลำเค็ญ
ออกจากอละกาธานี ยิ่งทวีทุกข์แค้นแสนเข็ญ
เปล่าเปลี่ยวเที่ยวเต้าเช้าเย็น ปลอมเปนชายต่ำทำกล
ซอกแซกแหวกไปในเหล่า ชนเผ่าพงศ์ซามตามหน
ชอกช้ำลำบากยากจน ดั้นด้นเดิรป่าหากิน
เสาะหาโฉมยงนงเยาว์ ผู้เนาเรือน้อยลอยสินธุ์
สระบัวทั่วไปในดิน เธอยินรีบมุ่งตรงไป
คอยดูอยู่รอบขอบหนอง ไป่สบพบน้องผ่องใส
ทรามวัยในฝันนั้นไซร้ หาใครจักเหมือนฤๅมี ฯ
๏ เที่ยวไปในเมืองทั้งหลาย ห่อนหน่ายนึกหามารศรี
ทุกเทศเขตขอบธานี สัตรีใดๆ ไป่คล้าย
วันหนึ่งถึงเวียงเกรียงไกร กรุงอินทิราลัยเฉิดฉาย
กินข่าวป่าวคำกำจาย หาชายรู้เรื่องเมืองทอง
เสียงคนเสียงฆ้องก้องลั่น พัลวันยัดเยียดเสียดถอง
สืบข้อต่อความถามลอง แซ่ซ้องทั่วหน้าธานี ฯ
๏ อมรสิงห์นิ่งไว้ไม่เอื้อ แสนเบื่อเสียงฆ้องก้องมี่
เบื่อยินวาจาพาที เบื่อนามยูนีนงคราญ
เบื่อชนชาวเวียงเกรียงไกร จักพูดกับใครไป่ขาน
หาใครไม่บ้าสามานย์ ในล้านไม่ถึงกึ่งคน
เบื่อโลกเบื่อมีชีวิต คิดๆ ไม่เห็นเปนผล
จักทรงชีพไปไป่ยล ประโยชน์แก่ตนสักน้อย
ขรรค์นี้คมกล้าสาหัส จักตัดเศียรอาจขาดผลอย
กาลเก่ากองกรรมทำรอย ตามคอยล้างผลาญฐานนี้ ฯ
๏ ขรรย์ชักจักเชือดเงือดเงื้อ หมายเมื้อสู่เบื้องเมืองผี
พอแว่วยินฆ้องร้องมี คำที่เปิดข่าวป่าวไป ฯ

๏ เจ้าเอยเจ้าข้า ใครยินอย่าช้า เร่งมาเร็วไว ฟังคำประกาศ ดังราชหฤทัย น้อยคำจำไป สืบส่อต่อกัน ฯ
๏ ชายดีมีชาติ ควรสู่คู่ราช ชาดาลาวัณย์ เคยเห็นเมืองทอง งามผ่องเพียงจันทร์ จงเฝ้าเจ้าอัน ทรงสิทธิ์ฤทธี ฯ
๏ ท้าวจักยอยศ ลือชาปรากฎ เกียรติแกว่นแดนตรี จัดสรรปันให้ ราไชยศวรศรี สารพรรณอันมี แบ่งมอบครอบครอง ฯ
๏ หนี่งจะประทาน ยุพยงนงคราญ ลักษณ์ล้ำลำยอง องค์กนกเรขา บุบผาผิวทอง ประคับประคอง เปนคู่ชูใจ ฯ
๏ ชายดีมีชาติ แจ้งเรื่องเมืองมาศ สู่ราชเร็วไว รางวัลอันยิ่ง ทุกสิ่งสมใจ กอบโกยโดยนัย ที่ประกาศเอย ฯ


พระอมรสิงห์ทรงคิดว่า             
๏ อ้ากูรู้ข่าวป่าวร้อง ทำนองที่เขากล่าวเผย
ร้อยครั้งไป่ผิดนิดเลย เราเฉยเพราะเหลือเบื่อยิน
ฟังๆ ยั้งใจได้คิด กูนี้ชีวิตจักวิ่น
เหตุมีใจจงปลงจินต์ เกลียดสิ้นเลือดเนื้อเบื่อนัก
จักเชือดคอตายวายชีพ ไป่ควรด่วนรีบเร็วหนัก
ใจปองลองเล่นสักพัก ใครจักรู้เท่าเราทำ
เรื่องที่ตีฆ้องร้องป่าว สืบข่าวเวียงงามความขำ
หาผู้รู้เรื่องเมืองคำ จดจำมาได้ไม่มี
แม้นกูจู่เข้าเล่าแจ้ง หลักแหล่งเวียงทองผ่องศรี
ใครจักเปนผู้รู้ที กูนี้กล่าวบอกหลอกลวง
อาจเสร็จสมหวังดังใจ จวบได้ตำแหน่งเขยหลวง
ใครเล่าเชาวน์ล้นชนปวง จักล่วงคัดค้านฐานใด
ได้ยศได้ศักดิ์หนักหนา ภายน่านึกเห็นเปนใหญ่
อาจยกกองทัพฉับไว คืนไปอละกาธานี
พระชนกยกเมืองให้ใคร ทัพใหญ่ฤๅย่อท้อหนี
จักเข้ารุกโรมโจมตี ไพรีแพ้เราเข้าครอง
ส่วนปรัตยุบันนั้นเล่า กูเชาวน์เชี่ยวแล้วแคล่วคล่อง
ใครจักซักความถามลอง ทำนองไล่เลียงเสียงเรา
จักหลอกว่าได้ไปยล เมืองทองโศภนบนเขา
ล้ำเลิศเฉิดฉายพรายเพรา ผิวทองผ่องเงางามตา
ใครๆ ก็ไม่เคยเห็น กูอาจพูดเล่นเช่นว่า
ซักไซร้ไป่พรั่นปัญญา ปัญหาตอบได้ไม่คร้าม
หากจักจับปดกูได้โทษทัณฑ์อันใดไม่ขาม
เหตุเรามีจิตต์คิดความ จักฆ่าตนตามใจตัว
ราชทัณฑ์ฉันไหนไม่ว่า ไม่ยิ่งไปกว่าตัดหัว
บรรดาโทษกรณ์ห่อนกลัว กูจักฆ่าตัวอยู่แล้ว ฯ
๏ ตรองตรึกนึกเห็นเช่นนั้น พลางสอดแสงขรรค์คมแกล้ว
คืนลงฝักฉายพรายแพรว คล่องแคล่วออกอัตถ์ตรัสไป ฯ
พระอมรสิงห์ตรัสว่า
๏ อ้าราชบุรุษสุดเหนื่อย ตีฆ้องร้องเรื่อยไปไหน
เมืองชื่อเวียงคำอำไพ ข้าได้ไปสู่อยู่นาน
เร็วมาพาตูไปเฝ้า ทูลเจ้าตามข่าวกล่าวขาน
เสื้อผ้าแพรแพรวแก้วกาญจน์ ประทานต่างๆ รางวัล ฯ
๏ บัดนั้น ราชบุรุษยินดีขมีขมัน
พาองค์อมรสิงห์ไปพลัน สู่พระโรงอันโอฬาร
ทูลท้าวชัยทัตภูมี ว่าชายหนุ่มนี้กล้าหาญ
เปนผู้รู้เรื่องเมืองกาญน์ จงทราบบทมาลย์ภูมี ฯ
๏ เมื่อนั้น องค์ท้าวชัยทัตเทียมสีห์
ภูวนัยได้ยินยินดี สมที่ทรงถวิลจินดา
พิศองค์อมรสิงห์พริ้งพักตร์ ท่วงทีมีศักดิ์หนักหนา
แต่ไฉนเปื้อนดำต่ำช้า เสื้อผ้าคร่ำเครอะเปรอะนัก
จักพาหาองค์นงราม ไต่ถามโฉมยงทรงศักดิ์
นงเพ็ญเห็นชอบสอบซัก จึงจักรู้ความตามการณ์ ฯ
ท้าวชัยทัตพาพระอมรสิงห์ไปยังพระราชธิดาแลตรัสว่า
๏ อ้าเจ้าเพราพักตร์ศักดิ์ศรี                ชายนี้มีข่าวกล่าวขาน
ทราบเรื่องเมืองคำชำนาญ นงคราญจุ่งฟังดังจง
ไถ่ความถามถ้อยดูเถิด โชคเชิดชูใจใช่หลง
สอบซักหลักอันมั่นคง อาจตรงตามฝันกันดา ฯ
๏ เมื่อนั้น โฉมยงองค์กนกเรขา
ยินคำดำรัสราชา วนิดานิ่งเพ่งเล็งพิศ
ชายนี้ลักษณะประจักษ์ เหมือนจักรู้จักแจ้งจิตต์
เคยเห็นหนใดในทิศ ยิ่งคิดยิ่งหลากหฤทัย
ตัวตูอยู่ยังวังนี้ เคยเห็นชายนี้ที่ไหน
โอกาสปราศแท้แน่ใจ ไป่ได้เคยพบสบพักตร์
แต่ตูรู้สึกนึกเห็น เหมือนเช่นว่าผู้รู้จัก
รูปร่างหน้าตาน่ารัก ทึกทักหฤทัยใคร่รู้
จำจักซักถามความลอง เมืองทองอยู่ไหนในผลู
แม้นเปนคู่ครองของตู อาจรู้เร็วพลันทันใจ ฯ
นางกนกเรขาตรัสว่า
๏ ดูราบุรุษผุดผ่อง เมืองทองอยู่แหล่งแห่งไหน
ท่านได้เดินด้นหนใด มีพยานฐานไหนใคร่ยิน
อันกนกธานีนี้ไซร้ อยู่ไหนอ้างว้างกลางสินธุ์
ปัจฉิมฤๅว่าปราจิน ทักษิณฤๅเหนือเมื้อไป
ท่านจงชี้แจงแจ้งความเมืองงามไพจิตรทิศไหน
แผนที่ชี้ทางอย่างไร จริงใจจงแถลงแจ้งความ ฯ
๏ เมื่อนั้น อมรสิงห์กุมารชาญสนาม
เห็นราชบังอรงอนงาม วับหวามใจป่วนอ่วนทรวง
โศภาอาภรณ์อ่อนช้อย ดังย้อยจากแคว้นแดนสรวง
ผิวทองผ่องเห็นเพ็ญยวง นางปวงงามใกล้ไม่มี
งามกรรณงามแก้มแย้มยิ้ม พักตร์พริ้มเพราองค์ทรงศรี
งามพระนัยนานารี รังสียิ่งจันทร์วันเพ็ญ
รัสมีสีนิลสิ้นภพ มานพหนุ่มไหนได้เห็น
จะรทมหฤทัยไม่เว้น คือเปนทาสนางอย่างกู
พระรูปพระราชกานดา ดูคุ้นกับตาเราอยู่
เคยเห็นเคยชมโฉมตรู ฤๅไรไม่รู้เมื่อไร
กูไซร้ไม่อาจได้เห็น รูปทรงนงเพ็ญที่ไหน
แปลกจิตต์คิดมาคิดไป คิดไม่ตกหนอท้อคิด
นึกเห็นเป็นนางในฝัน นวลจันทร์อำไพไพจิตร
เสาวภาคโศภาน่าพิศ เรือขำลำนิดนางเนา
ไป่เคยเห็นเนตรเหตุว่า ไป่เคยเห็นหน้านวลเจ้า
จึ่งไม่สามารถคาดเดา นัยนานงเยาว์อย่างไร
รัศมีสีนิลอย่างนี้ ฤๅเนตรดรุณีอย่างไหน
เหลือคิดเหลือขัดอัดใจ หฤทัยทึกๆ ตรึกตรอง
ยินถ้อยยุพยงทรงถาม คิดขามใจข่นหม่นหมอง
รังเกียจเคียดคำทำนอง ซึ่งปองจักกล่าวข่าวเท็จ
จักทูลคำใดใช่สัตย์ อึดอัดห่อนทำสำเร็จ
ขื่นขมอมปดคดเคล็ด พึงเข็ดพึงจำรำคาญ
นางกษัตร์ตรัสเตือนเหมือนกับ ยุพยงทรงสับด้วยขวาน
อักอ่วนป่วนปั่นพรั่นนาน จึ่งมีพจมานทูลไป
พระอมรสิงห์ทูลนางว่า
๏ อ้าองค์พระราชดรุณี ข้านี้ห่อนแน่ทางไหน
เมืองหนึ่งซึ่งข้าคลาไคล ดำเนินใกล้ไกลไป่จำ
เวลาช้าเร็วฤๅทราบ ที่ลุ่มทราบเดินร่ำ
ใต้เหนือเหลือบอกชอกช้ำ บนบกในน้ำลืมเลอะ
ทิศไหนทางไหนไม่รู้ ใจตูหลงเลือนเปื้อนเปรอะ
ดวงจิตต์ผิดเผลอเซ่อเซอะ งะเงอะโง่เห็นเช่นนี้
เลือนๆ เหมือนได้ไปถึง เมืองหนึ่งเปนทองผ่องศรี
สิ่งอื่นจำได้ไม่มี เทวีจุ่งแจ้งใจนาง ฯ
๏ เมื่อนั้น ยุพยงทรงแค้นแสนหมาง
ฟังบอกหลอกเล่นเปนทาง ปราศสัตย์ขัดขวางในคอ
พูดไม่เต็มปากหลากเหลือ บ้าเบื้อเช่นนี้มีหนอ
ย้อนยอกหลอกเล่นเห็นพอ มาล่อหมายราชนารี
เรานี้สิพวงหลงใหล คิดไปว่าทรงศักดิ์ศรี
นึกเห็นเปนเหล่าเผ่าดี ผู้มียศด้อมปลอมมา
ช่างเปนไปได้ใจตู นึกเห็นเช่นรู้จักหน้า
รูปร่างอย่างนั้นมั่นตา เหมือนว่าเคยพบเนืองๆ
พลาดผิดจิตต์เราเฉาโฉด ประโยชน์เปล่าปลดหมดเรื่อง
เจ็บแสบแปลบแสนแค้นเคือง เปนเครื่องคนหยามลามเลีย
เผลอจิตต์พูดจาพาที ย่อมเห็นเปนที่เสื่อมเสีย
อันชนชาติชั่วปัวเปีย เหมือนเหี้ยขึ้นเรือนเปื้อนพลัน
ครู่หนึ่งนางแสนแค้นเข็ญ อีกครู่กลับเห็นเปนขัน
สำรวลหวลตรัสอัตถ์อัน เย้ยหยันคำปดคดงอ ฯ
นางกนกเรขาตรัสว่า
๏ ดูราบุรุษสุดเปรื่อง พูดจาเปนเรื่องเจียวหนอ
ผ้าเสื้อเหลือคล้ำกำรอ ลวงล่อเลอะเลื่อนเหมือนตม
น่าเชื่อจริงหนอข้อเล่า ฟังเล่าคำเท็จเข็ดขม
จักกลืนขื่นเหลือเบื่ออม มุสาโสมมเช่นนี้
แม่นยำจำได้ไปถึง เมืองหนึ่งงามทองผ่องศรี
สิ่งอื่นจำได้ไม่มี วิถีทางไหนไม่รู้
ทางใกล้ทางไกลไป่ทราบ ที่ลุ่มที่ราบในผลู
หนเหนือหนใต้ไม่ดู เมืองอยู่ทิศไหนไม่เดา
เรื่องราวไพเราะนักหนา น่าฟังวาจาของเจ้า
โสมมขมคำกำเดา มัวเมาโมห์มนท์ข้นแค้น
นี่แน่ะจักแนะให้แจ้ง ซึ่งแหล่งเมืองทองผ่องแสน
เวียงตรูอยู่ใกล้ในแดน แว่นแคว้นความปดคดเค้า
กรุงทองผ่องพรรณนั้นไซร้ อยู่ในมุสาของเจ้า
เล่าเรื่องเมืองคำลำเนา เห็นเงาส่องงามความเท็จ
มุ่งหน้ามาล่อทั้งที ผูกเท็จไม่ดีเดี่ยวเด็จ
ควรปดให้ปลอดลอดเล็ด มีเคล็ดมีข้อต่อกัน
อึ่งอ่างอย่างนี้มีหน้า เข้ามาลวงเล่นเห็นขัน
เจ้าไซร้ต่ำช้าสามัญ กำเริบเสิบสันแสนร้าย ฯ
๏ ตรัสพลางนางผินพักตร์ทูล พระชนกนเรสูรทรงฉาย
มานพนี้ไซร้ไร้อาย เปนชายชั่วช้ามาลวง
ขอพระบิตุรงค์จงไล่ ให้ไปเสียนอกวังหลวง
หน้าขลาดหวาดหวั่นพรั่นทรวง จาบจ้วงมาบอกหลอกเรา
โทษทัณฑ์ฟั่นเฝือเหลือเติบ กำเริบสดๆ ปดเจ้า
ยินดีในชั่วมัวเมา โฉดเฉาพูดจาสามานย์
จักฆ่าก็เสียคมดาบ เปนบาปไม่มีแก่นสาร
พระจงอวยชีพเปนทาน อย่าลงโทษการฐานใด
ขับไสไปจากวังหลวง ชนปวงทราบพลันหมั่นไส้
ปล่อยเขาคนเดียวเที่ยวไป หาใครจักคบฤๅมี ฯ
๏ เมื่อนั้น พระมหากษัตริย์เรืองศรี
ยินคำสุภคาพาที ภูบดีดำรัสสั่งพลัน
ให้เรียกตำรวจมาจับ ไล่ขับอมรสิงห์รังสรรค์
มือหนักผลักไล่ไสกัณฐ์ แล่นถลันถลารีบถีบไกล ฯ
๏ เมื่อนั้น อมรสิงห์ใจสั่นหวั่นไหว
เซซวนหวนหันปั่นไป เขาเสือกเขาไสไล่ทุบ
แล่นออกนอกวังยังมี ชนหลามตามตีตุบๆ
หลบลี้หนีลอบหมอบฟุบ บ่นอุบอิบโกรธโทษตน
ถูกผู้ดูถูกทุกที่ ไล่ตบรุมตีทุกหน
จักต่อจักสู้หมู่คน ใครเลยจักทนฝีมือ
คิดไปไป่ควรโกรธเขา เขาข่มเหงเราผิดหรือ
ขุ่นขัดอัดใจไฟฮือ เสียชื่อเปือกปนมลทิน
คิดไปใคร่จักชักขรรค์ ไล่หั่นหัวราษฎร์ขาดวิ่น
กีดธรรมที่ในใจจินต์ เราคิดผิดสิ้นทุกเค้า ฯ
๏ นึกองค์อรไทยใสศรี นึกหน้านารีหล่อเหลา
นึกขนงนงรามงามเงา นึกเนตร์นงเยาว์เพราพราย
งามจริงยิ่งคนบนดิน รัศมีสีนิลเฉิดฉาย
แสงส่องผ่องล้ำกำจาย อับอายคันธินกลิ่นฟ้า
นัยนายามยิ้มพริ้มเพรา เนตร์เจ้ายามโกรธโรจน์หล้า
ยามหมางนางเมินเพลินตา ใจข้าราวดับวับไป ฯ
๏ อมรสิงห์ยิ่งคิดยิ่งขุ่น หมกมุ่นดังเพลิงเริงไหม้
หลบคนด้นทางห่างไกล เจ็บใจเจ็บอกฟกจริง
ไปถึงซึ่งสระระบือ เรียกชื่อว่าสระผีสิง
เป็นนามอันเหมาะเพราะพริ้ง ชายหญิงมาโดดน้ำตาย ฯ
๏ สันธยาสายัณห์พลันเห็น ศศพินทุ์ผ่องเพ็ญภูลฉาย
ส่องแจ้งแสงจันทร์พรรณพราย งามคล้ายแสงเนตรนารี
ศศธรสีทองมองหน้า นัยนาสีนิลผินหนี
เพราะเรากล่าวไปไป่ดี มารศรีอางขนางหมางเท็จ
หมายใจใคร่โลมโฉมฉาย ใจหมายห่อนทำสำเร็จ
อุบายหมายปลอดลอดเล็ด ผลเผล็ดเปนอื่นขื่นแค้น
เคราะห์กรรมทำไว้ในกี้ ตามมีมาเหน็บเจ็บแสน
เทพเจ้าเนาเบื้องเมืองแมน เธอแค้นขึ้งเคียดเกลียดชัง
เที่ยวเสาะนางสิ้นถิ่นภพ ครั้นสบห่อนสมใจหวัง
อกผ่าวราวแยกแตกพัง จักยังชีพไปไยกู
คิดถ้อยยุพยงทรงหยาว คือหลาวเสียบแสร้งแทงหู
นึกเนตรนวลแขแลดู อดสูที่เย้ยมายา
จักอยู่ไปไยใช่เรื่อง เปนเครื่องอับอายขายหน้า
พงศ์เผ่าเหล่าเลิศเกิดมา ชั่วช้าเสียชาติปราศคุณ
จำจักโจนในสระนี้ จงผีเอื้อเฟื้อเกื้อหนุน
พาสู่โลกหน้าการุญ ตามบุญตามกรรมทำมา ฯ
๏ อมรสิงห์นิ่งคิดสักครู่ เดินสู่สระพลางตั้งท่า
พอจักโจนลงคงคา แว่วยินวาจาป่าวไป ฯ

๏ เจ้าเอยเจ้าข้า ใครยินอย่าช้า เร่งมาเร็วไว ฟังคำประกาศ ดังราชหฤทัย ถ้อยคำจำไป สืบส่อต่อกัน ฯ
๏ ชายดีมีชาติ ควรสู่คู่ราช ชาดาลาวัณย์ เคยเห็นเมืองทอง งามผ่องเพียงจันทร์ จงเฝ้าเจ้าอัน ทรงสิทธิ์ฤทธี ฯ
๏ ท้าวจักยอยศ ลือชาปรากฎ เกียรติแกว่นแดนตรี จัดสรรปันให้ ราไชศวรศรี สารพรรณอันมี แบ่งมอบครอบครอง
๏ หนึ่งจะประทาน ยุพยงนงคราญ ลักษณ์ล้ำลำยอง องค์กนกเรขา บุบผาผิวทอง ประคับประคอง เปนคู่ชูใจ ฯ
๏ ชายดีมีชาติ แจ้งเรืองเมืองมาศ สู่ราชเร็วไว รางวัลอันยิ่ง ทุกสิ่งสมใจ กอบโกยโดยนัย ที่ประกาศเอย ฯ

 

         โปรดติดตามตอนต่อไป
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 10 ตุลาคม 2561 11:31:34 »

                                     
       . กนกนคร  .
       พระนิพนธ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ (น.ม.ส.)

๏ อมรสิงห์นิ่งนึกตรึกซ้ำ ถ้อยคำที่เขากล่าวเผย
หวนนึกนงรามทรามเชย จักเลยไร้คู่อยู่เดียว
เวียงไรใครจรห่อนได้ เราไซร้ชายชาติฉลาดเฉลียว
น้ำใจเสาะยิ่งจริงเจียว ไม่เที่ยวเสาะหาธานี
ชั่วหนักจักฆ่าตัวตาย เช่นชายขี้ขลาดบัดสี
อันราชชาดานารี พาทีหมิ่นเรากล่าวเท็จ
จักเพียรจนพบเมืองมาศ มุ่งเสาะเหมาะอาจสำเร็จ
เที่ยวสืบเที่ยวสอดลอดเล็ด ผลเผล็ดสมใจไม่ช้า ฯ
๏ ตรึกไตรในแดแน่แล้ว ทรงชักขรรค์แก้วคมกล้า
กลัดแกว่งโยนไปในฟ้า ตกยังพสุธาทันใด
ปลายขรรค์ชี้ไปทักษิณ เธอผินพักตร์ทางข้างใต้
ดุ่มดั้นเดินดงพงไพร มุ่งใจจักค้นจนมรณ์ ฯ
๏ ดังภมรจรชมบุบผา จากผกาสู่ผกาเร่ร่อน
พระเสด็จองค์เดียวเที่ยวจร ทุกคามทุกเขตเทศเขิน
บุกชัฏลัดไพรไต่เนิน แถวเถินภูธรดอนดิน อ.๕๘
ร้อยวันพันคืนขืนเต้า ค่ำเช้าบั่นบุกทุกถิ่น
เวียงทองทิศไหนใคร่ยิน ชนสิ้นถามใครไป่รู้
เดินทางพลางนึกตรึกตรอง เราท่องเที่ยวไปในผลู
ทุกราษฎร์ลดเลี้ยวเที่ยวดูอ.๕๙ หาผู้ทราบเรื่องเมืองทอง
ไม่มีที่ใครจักแจ้ง ซึ่งแหล่งเวียงสุดผุดผ่อง
มาตร์แม้นมีเมืองเรืองรอง ดังข่าวป่าวร้องนั้นไซร้
ห่อนใช่ในเขตมานุษ เที่ยวสุดไป่สบพบได้
นอกจากปักษินบินไกล เห็นไม่มีผู้รู้ทาง ฯ
๏ ตรึกพลางพระพลันผันพักตร์ เข้าสู่สำนักเสือสาง
ป่าใหญ่ไม้สูงยูงยาง แม้กลางวันมืดชืดชื้อ
เสียงสิงห์ขรึมๆ ครึมคราง เสียงช้างคือแตรแปร๋ปรื๋อ
แซกซอกชอกช้ำชำงือ ดุ่มดื้อดึงดันดั้นเดิน
ค่ำคืนขืนไปในป่า ตั้งหน้าในแถวแนวเถิน
เจ็บเนื้อเหลือนับยับเยิน หมายเดินมุ่งด้นหนชัฏ
แสงจันทร์ดั้นเมฆรำไร ไม้ใหญ่ยอดเยี่ยมเทียมฉัตร
ยางยูงสูงร่มลมพัด โบกบัตรบังพรรณจันทร
พื้นดินจักเดินฤๅเห็น มืดเช่นในถ้ำสิงขร อ.๖๐  
ค่อยก้าวค่อยย่างพลางจร ลุ่มๆ ดอนๆ เดินไป ฯ
๏ บัดเดี๋ยวเห็นแสงแปลบปลาบ แวบวาบอยู่ข้างทางใหญ่
พระชะงักชักขรรค์ทันใด ยืนนิ่งกริ่งไม่ไหวติง
มีผู้แลบลิ้นยาวมา จนสบนาสาอมรสิงห์
เห็นคนๆ แรกแปลกจริง ยืนนิ่งอยู่ใต้ไม้โต
แต่งกายเปนเพศโยคี พระกุมารเกิดมีโมโห
ฤๅษีชีเก๊เฉโก แลบลิ้นปลิ้นโร่หลอกกัน
เธอยืนขืนใจไม่กริ้ว พักตร์นิ่วข่มจิตต์คิดขัน
เราจำทำดีต่อมัน หวังถามความอันใคร่รู้ ฯ
พระอมรสิงห์ตรัสถามว่า
๏ ดูราอาจารยฌานเชี่ยว ท่านเที่ยวไปไหนในผลู
กลางคืนมืดแท้แลดู แผ่นภูจักเห็นห่อนมี
ท่านบำเพ็ญพรตในไพร เปนสุขหรือไรฤๅษี
กองบุญหนุนกรรมทำดี โยคีพรตแกล้วแผ้วภัย ฯ
โยคีกล่าวว่า
๏ ดูรามานุษสุดกล้า ตั้งหน้าเดินด้นหนไหน
กลางคืนมืดจริงกริ่งใจ ป่าใหญ่สิงห์เสือเหลือร้าย
ประสงค์สิ่งใดในดง ไพรพงภัยหลากมากหลาย
ไม่รักษาตัวกลัวตาย ต้นปลายเหตุผลกลใด ฯ
พระอมรสิงห์ตรัสว่า
๏ อ้าอาจารย์ผู้รู้ธรรม์ ข้าบั่นบุกมาป่าใหญ่
สืบเรื่องเมืองคำอำไพ หาผู้รู้ในไพรแวง
ตัวท่านชาญผลูรู้ทาง อยู่บ้างหรือไรใคร่แจ้ง
ตูเดินดงดอนอ่อนแรง โปรดแถลงให้รู้ลู่ทาง ฯ
โยคีกล่าวว่า
๏ ดูราชายชาญหาญกล้า เดินป่าขัดข้องหมองหมาง
สืบเรื่องเมืองคำสำอาง โลกกว้างเที่ยวไปไป่พบ
เมืองทองส่องงามสามหล้า ยากหาคนได้ไปสบ
น้อยนักน้อยหนามานพ เคยพบไม่มีกี่คน
ยากหนักจักได้ไปลุ เวียงสุวรรณในไพรสณฑ์
ใครถึงเมืองคำอำพน น้อยตนที่ได้กลับมา
จักไปให้จนดลเมือง เปนเรื่องยากยิ่งจริงหนา
เสือสีห์ผีเสื้อนานา แมวหมาเท่าช้างอย่างโต
เหลือบยุงบุ้งริ้นกินเลือด ราวเชือดด้วยมีดกรีดโหว่
ใครเดียวเที่ยวเร่เซโซ มันโห่กันล้อมตอมกิน
จักกล่าวโพยภัยในป่า มากนักมากหนาทาหิน อ.๖๑
ภัยห้อยภัยเหินเดินดิน ภัยบินภัยบ่างต่างร้าย ฯ
พระอมรสิงห์กล่าวว่า
๏ อ้าวนัสถายีมีพรตอ.๖๒ ภัยป่าปรากฎมากหลาย
ข้าไม่รักตัวกลัวตาย มาดหมายสู่เมืองเรืองรอง
ลำบากยากใจไม่ว่า บุกป่าฝ่าทุ่งมุ่งจ้อง
โปรดด้วยช่วยชี้เวียงทอง ท่านคล่องใจรู้ลู่ทาง ฯ
โยคีตอบว่า
๏ ดูรามานุษสุทธลักษณ์ เราไซร้ใช่จักขัดขวาง
มุ่งเมื้อเมืองคำสำอาง ไพรกว้างลาดเลาเรารู้
ปัญญาข้านี้มีค่า ไม่น่าไขข้อต่อสู
แม้นเจ้ามีใจให้ตู บอกตามความรู้ของเรา
จงเอาความรู้มาแลก ความรู้แปลกๆ ของเจ้า
วิชชาข้าไซร้ใช่เดา มีเค้ามีเคล็ดเขบ็จขบวน ฯ
พระอมรสิงห์ตรัสว่า
๏ ความรู้อันใดใคร่แจ้ง จักแถลงโดยดีถี่ถ้วน
ใคร่ถามเชิญถามตามควร เลิศล้วนความรู้ตูล้น ฯ
โยคีกล่าวว่า
๏ อ้าสูผู้มั่นปัญญา ตูข้าขอถามสามหน
อ.๖๓
ผู้มีปรีชาอย่าจน จงค้นคำตอบสอบทาน
ที่หนึ่งคือทางแห่งโลก สุขโศกอย่างไรให้ขาน
ที่สองทางหญิงมิ่งมาลย์ สำราญฤๅเศร้าเล่าความ
ที่สามนามทางนิรพาณ จงท่านอย่าพรางทางสาม
แม้นเจ้าเล่าบอกออกตาม ข้อเค้าเราถามนี้ไซร้
หมายมุ่งกรุงทองผ่องพิศ เราจักชี้ทิศบอกให้
สูอย่าอาวรณ์ร้อนใจ ความรู้แลกได้ดังจินต์
ที่หนึ่งทางโลกอย่างไร เจ้าจงว่าไปทั้งสิ้น
เมื่อตูรู้คดีที่ยิน สมหวังดังถวิลสิ้นความ
วิถีที่ท่านคำนึง จักบอกให้หนึ่งในสาม
อย่าคิดบิดเบือนเงื่อนงาม เราถามเร่งตอบชอบที ฯ
๏ เมื่อนั้น อมรสิงห์นิ่งฟังฤๅษี
ยินคำสำนวนโยคี อ้ายนี่เห็นได้ใช่คน
รากษสปดโป้โอหัง กูฟังรู้แน่แต่ต้น
มุ่งร้ายหมายหลอกออกกล เวทมนต์ไม่พรั่นปัญญา
กูจักอดใจไว้ก่อน ยอกย้อนแก้กันปัญหา
ตริตรึกนึกในไปมา พลางมีวาจาตอบไป ฯ
พระอมรสิงห์ตรัสว่า
๏ อ้ามหามุนีมีเดช อุปเทศปัญญาหาไหน
ท่านตั้งปัญหามาไซร้ โตใหญ่ยากเข้มเต็มที
จักบอกออกเบื้องเมืองงาม เอาแลกถึงสามวิถี
ข้าจักชักความตามมี ขอเชิญโยคีตรับฟัง ฯ
นิทานแสดงวิถีแห่งโลก
๏ ปางหลังยังมีวัดใหญ่ คือเทวาลัยริมฝั่ง อ.๖๔
ชำรุดซุดรวนจวนพัง ฝูงคั้งคาวอยู่มากมาย
ในบริเวณวัดนั้นไซร้ เกลื่อนกล่นผลไม้เหลือหลาย
คั้งคาวแสนสนุกสุขกาย ไป่วายอิ่มหนำสำราญ
ห่อนต้องท่องเที่ยวหากิน นอกถิ่นคือเทวสถาน
โสมมบ่มบ้าช้านาน ซมซานเซ่อซ่าหน้าเซอะ
เหตุไม่เคยออกนอกแหล่ง จึงแสดงโง่งำหยำเหยอะ
ความคิดติดงันตันเงอะ เลอะเทอะเต็มทีขี้คร้าน ฯ
๏ วันหนึ่งในเมื่อคราวฝน มียายแก่คนหนึ่งจ้าน
เดินรีบหลบฝนลนลาน เข้าเทวสถานทันใด
มีนกเค้าแมวตัวหนึ่ง มาถึงที่เทวาศัย
รีบลี้หนีฝนเข้าไป กับยายแก่ไซร้พร้อมกัน
ฝ่ายฝูงคั้งคาวกราวบิน โผผินริกรัวตัวสั่น
ยิ่งบินยิ่งเหนื่อยเมื่อยพลัน พากันเกาะอยู่ดูเดา
ไป่มีอันตรายบังเกิด แตกตื่นเปิดเตลิดเปล่าๆ
ปราศภัยในภูมิ์ลำเนา บันเทาอกสั่นขวัญบิน
เกาะย้อยห้อยหัวเปนราว คั้งคาวคิดในใจถวิล
สองนี้คือใครใคร่ยิน คิดพลางต่างบินลงมา
ถึงที่ยายแก่แกนั่ง จึ่งคั้งคาวเข้าไปหา
ย่อยอบนอบน้อมบูชา พลางมีวาจาถามไป ฯ
๏ ข้าแต่ท่านผู้ชูศักดิ์ ประจักษ์ปรากฎยศใหญ่
ท่านนี้มีชื่อคือใคร เปนอไรจงแถลงแจ้งจริง
พวกเราเอาเปนที่พึ่ง หวังถึงสุขล้วนถ้วนสิ่ง
ฟังคำร่ำวอนอ้อนอิง เถิดท่านผู้ยิ่งกรุณา ฯ
๏ จักกล่าวข้างฝ่ายยายเฒ่า เห็นคั้งคาวเข้าไปหา
ยอบย่อขอความเมตตา ยายเจ้ามายาตอบไป ฯ
๏ ดูราฝูงเจ้าเหล่านี้ อยู่นี่หัวโตโง่ใหญ่
ใคร่รู้กูหรือคือใคร บอกให้จงฟังดังจินต์
๏ กูคือพระบรมพรหมีอ.๖๕ นามสรัสวดีทรงศิลป์
นกนั้นคือมยูรภูลพินธุ์ โบกบินเปนยานผ่านฟ้า ฯ
๏ คอยอยู่ครู่หนึ่งฝนหาย จึ่งยายผู้สุดมุสา
ออกจากวัดร้างพลางคลา ไคลตามมรรคาต่อไป
ส่วนนกเค้าแมวนั้นเล่า เห็นวัดเปนเย่าโตใหญ่
มืดๆ ชืดชื้นชื่นใจ จึงอยู่อาศัยต่อมา
ฝ่ายฝูงค้างคาวนั้นไซร้ ภักดีมีใจหรรษา
แวดล้อมพร้อมกันบูชา คิดว่านกยูงสูงยศ ฯ
๏ วันหนึ่งมีมยูรภูลศรี แวววามงามฉวีสีสด
บินกรายหลายแหล่งแรงลด หมายปลดปลิดเหนื่อยเมื่อยล้า
จึงสู่ซุ้มหักพักอยู่ ประตูวัดร้างข้างหน้า
คั้งคาวแปลกใจใครมา เข้าหาพลางถามความไป ฯ
๏ ข้าแต่ท่านผู้ชูศรี งามฉวีคือทองผ่องใส
เราเห็นหนแรกแปลกใจ ท่านนี้เปนอะไรใคร่ยิน
เรืองอร่ามงามแท้แลเลิศ แพรวเพริศเพราพริ้งยิ่งสิ้น
เราเห็นเปนใหญ่ในดิน ใจถวิลใคร่ถามนามใด ฯ
๏ ปางศิขินยินคั้งคาวถามอ.๖๖ ตอบความให้สิ้นสงสัย
จักบอกสูเจ้าเข้าใจ กูไซร้นกยูงสูงลักษณ์
พาหนะพระสรัสวดี เทวีเลิศรบือฦๅศักดิ์
รูปล้ำสำอางนางรัก จงเจ้าประจักษ์ใจปวง ฯ
๏ คั้งคาวหัวเราะเยาะเย้ย เจ้าเอ๋ยกำเริบใหญ่หลวง
ปวดหูกูเบื่อเหลือตวง จาบจ้วงใจบาปอยาบช้า
อวดบ้าว่าเปนนกยูง ลักษณ์สูงเลิศศักดิ์หนักหนา
พูดได้ไม่อายวาจา คิดว่าพวกเราเขลานัก
โน่นแน่ะคือมยูรภูลศรี ใช่นกอัปรีอัปลักษณ์
เธอไซร้โศภาน่ารัก เกาะพักอยู่ซุ้มมุมนั้น ฯ
๏ นกยูงยินข้อคำหยาว คั้งคาวหลงเสมอเพ้อฝัน
สงบจิตต์คิดตอบไปพลัน นกนั้นใช่ศิขีศรีบวรณ์
คือนกเค้าแมวดอกเจ้า หลงเชื่อเปล่าๆ น่าสรวล
เจ้าอย่าฟังคำสำนวน ข้อคดปดปรวนแปรคิด
กูมีแววกนกนกยูง จงฝูงเจ้าฟังชั่งจิตต์
รูปข้าอ่าโอ่โศภิต ลืมตาดูนิดคงรู้ ฯ
๏ คั้งคาวตอบว่าอย่าปด โกหกสดๆ เจียวสู
พระสรัสวดีศรีตรู เธอตรัสบอกกูวานซืน
ว่าโน่นคือยูงสูงศักดิ์ เองจักมาปดคดขืน
หวังให้กูเชื่อเหลือกลืน ขมขื่นคำเท็จเผ็ดลิ้น ฯ
๏ นกยูงได้ฟังคั้งคาว ดึงดื้ออื้อฉาวกล่าวฉิน
โผจากวัดร้างพลางบิน สู่ถิ่นสำนักพักกาย
ไป่เห็นเปนคุณประโยชน์ จักแก้ความโฉดให้หาย
สัตว์ดื้อถือตนจนตาย ไม่วายโง่เขลาเมามันท์ ฯ
๏ ฝ่ายฝูงคั้งคาวนั้นไซร้ หฤทัยปรีเปรมเหมหรรษ์
เข้าไปนบน้อมพร้อมกัน อภิวันทน์ไหว้เจ้าเค้าแมว
เพราะคิดว่ายูงสูงศักดิ์ ทรงลักษณ์เลิศเหลือเชื้อแถว
ปัญญาไม่มีวี่แวว คลาดแคล้วเพราะเขลาเบาใจ ฯ

-----------------------------------------------

       อ ๕๘. “แถวเถินภูธรดอนดิน”. “ภูธร” ในที่นี้แปลว่าภูเขา (ดู อ. ๓๐). ↩
       อ ๕๙. “ทุกราษฎร์ลดเลี้ยวเที่ยวดู”. “ราษฎร์” ในที่นี้แปลว่าแว่นแคว้น คำเดียวกับรัฏฐ์. ↩
       อ ๖๐. “มืดเช่นในถ้ำสิงขร”. “สิงขร” ที่จริงแปลว่ายอด แต่เราใช้แปลว่าภูเขาเกือบเสมอ. ↩
       อ ๖๑. “มากนักมากหนาทาหิน”. “ทาหิน” แปลว่าไหม้ ว่าทำให้เกิดทุกข์ ว่าทำให้เดือดร้อน. ↩
       อ ๖๒. “อ้าวนัสถายีมีพรต”. “วนัสถายี” แปลว่าฤษีอยู่ป่า. ↩
       อ ๖๓. “ตูข้าขอถามสามหน”. สามหน = สามทาง. ↩
       อ ๖๔. “คือเทวาลัยริมฝั่ง”. “เทวาลัย” แล “เทวาศัย” แปลว่าที่อยู่แห่งเทวดา ในที่นี้ คือ ศาลเจ้า ศาลเทพารักษ์ หรือเทวสถาน. ↩
       อ ๖๕. “กูคือพระบรมพรหมี”. “พรหมี” เปนเพศหญิงแห่งศัพท์พรหม แปลว่าเมียพระพรหม. ↩
       อ ๖๖. “ปางศิขินยินคั้งคาวถาม”. “ศิขิน” แล “ศิขี” แปลว่านกยูง. ↩


         โปรดติดตามตอนต่อไป

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22 ตุลาคม 2561 16:09:38 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: 22 ตุลาคม 2561 15:51:54 »

                                     
       . กนกนคร  .
       พระนิพนธ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ (น.ม.ส.)

ภาค ๒ บนดิน

พระอมรสิงห์เล่ามาเพียงนี้จึงตรัสต่อไปว่า
๏ ดูราโยคีมีญาณ จงท่านทราบข้อคำไข
ที่หนึ่งทางโลกอย่างไร มีนัยดังเราเล่านี้ ฯ
โยคีตอบว่า
๏ อ้าท่านผู้ฉลาดปราดเปรื่อง เล่าเรื่องเห็นความตามที่
แจ่มแจ้งแจงข้อพอดี วาทีเกลี้ยงเกลาเลาความ
วิถีที่ท่านคำนึง จักบอกให้หนึ่งในสาม
ท่านจงม่งใจไปตาม เขตคามข้าบอกบัดนี้ ฯ
๏ พูดพลางจำแลงแปลงตน เปนพั้งพอนด้นดินหนี
แลบลิ้นวิ่งเฉลียงเลี่ยงลี้ เข้าโพรงอันมีริมทาง ฯ
๏ เมื่อนั้น อมรสิงห์นิ่งคิดจิตต์หมาง
อ้ายนี่มันทำอำพราง แปลงเล่นเช่นอย่างโยคี
แลบลิ้นปลิ้นตาทำหลอก เปนพั้งพอนซอกดินหนี
ในรูอยู่ข้างทางนี้ ฤๅษีพั้งพอนซ่อนตัว ฯ
๏ พระกุมารแลดูรูดิน เดี๋ยวยินโยคีแย้มหัว
แอบอยู่ข้างหลังบังตัว ยืนยั่วหัวร่ององัน
ยุพราชแลพักตร์นักสิทธ์ แค้นจิตต์มันเล่นเห็นขัน
เราไซร้ไม่รู้เท่าทัน จึ่งมันหลอกล้อพอใจ
ควรเราเอาใจไว้ก่อน มันจักยักย้อนเพียงไหน
ตรึกถ้อยตรัสถามความไป เหตุไฉนท่านเล่นเช่นนี้
บอกข้าว่าแลกความรู้ ไหนเล่าท่านผู้ฤๅษี
อย่าเสียสัญญาพาที มุนีจงแจ้งแหล่งทาง ฯ
โยคีตอบว่า
๏ ดูราบุรุษสุทธลักษณ์ เราไซร้ใช่จักขัดขวาง
ท่านนี้มีคำอำพราง พูดอย่างปฤษณาพาทีอ.๖๗
เราจึ่งตอบชนิดปฤษณา กิริยาบอกบวรณ์ถ้วนถี่
สูใคร่ดลเมืองเรืองมี วิถีแถวเถินเนินใด
จงกล่าวชี้แจงแจ้งจริง ว่าทางแห่งหญิงอย่างไหน
เจ้าให้ความรู้ตูไซร้ จักให้ความรู้สู่กัน ฯ
๏ เมื่อนั้น อมรสิงห์นิ่งขุ่นหุนหัน
สงบจิตต์คิดตอบไปพลัน อำพรางอย่างนั้นตามที
เราจักชี้แพร่งแห่งหญิง ทุกสิ่งสำแดงแจ้งที่
เชิญสดับตรับฟังดังมี คะดีโดยอย่างอ้างอิง ฯ
นิทานแสดงวิถีแห่งหญิง
๏ ปางหลังยังมีดาบส ทรงพรตเด็ดเดี่ยวเชี่ยวยิ่ง
แรงเริงเพลิงฌานนานจริง เผาผิงขึ้นไปในฟ้า
แสนสรวงปวงอมรร้อนสิ้น
เสกสร้างแกล้งจัดอัจฉราอ.๖๘ ลงมายั่วยวนชวนชม
ฤๅษีหูป่าตาเถิน เพลิดเพลินใจจริงสิงสม
ส้วมกอดสอดเกี้ยวเกลียวกลม อารมณ์ร่านเร้าเมามัว
ครั้นตาดาบสหมดฤทธิ์ นางปลิดตนพรากจากผัว
ลูกหญิงทิ้งไว้แทนตัว เถรขรัวเลี้ยงดูอยู่ดง ฯ
๏ วันหนึ่งโยคีมีจิตต์ หวนคิดที่ได้ใหลหลง
เสียตบะสละผลหนยง จักคงคืนได้ไป่มี
เสียดายความเพียรเจียรกาล สมาธิสมาทานถึงที่
เหตุที่มีเมียเสียที ความดีทำไว้ไร้คุณอ.๖๙
นางงามตามมาล้างผลาญ บรรดาลใจเสียวเฉียวฉุน
เร่าร้อนราคเหลือเจือจุน ชุลมุนในจิตต์พิษนัก
เพราะมีนัยนาเปนเหตุ ดวงเนตรคุณโหดโทษหนัก
แม้นไม่เห็นองค์นงลักษณ์ ไหนจักมาเปนเช่นนี้
ติดใจในทรงองค์นาง หลงรูปหลงร่างมารศรี
แม้นเนตรเราไซร้ไม่มี จักเห็นนารีอย่างไร
แค้นนักจักษุเปนเหตุ จึงควักดวงเนตรสองใส
สิ้นห่วงบ่วงกามตามนัย สืบสำรวมใจโยคี ฯ
๏ ฝ่ายดนุชบุตรีนิรมล เสาวภาคโศภนเพ็ญศรี
นางสิ้นดินฟ้าธาตรี ไม่มีจักเปรียบเทียบทัน
ลำเภาเพราทรงองค์อร อรชรชูเชิดเฉิดฉัน
งามพักตร์พนิดาลาวัณย์ งามกรรณเกศเกล้าเกลากร
แต่เยาว์ตราบใหญ่ในเถื่อน ปราศเพื่อนพูดฟังสั่งสอน
นอกจากดาบสบิดร ใครพบบังอรฤๅมี
เสียดายความงามทรามวัย เนตรใครฤๅส่องเห็นศรี
แม้ชนกผู้เปนโยคี ห่อนเห็นดรุณีนงเพ็ญ
เหมือนเพ็ชร์ตกสมุทสุดลึก เหลือนึกว่าใครได้เห็น
แลเหลียวเปลี่ยวเปล่าเช้าเย็น งามเด่นอยู่ดงองค์เดียว ฯ
๏ วันหนึ่งมีกามาเห็น นงเพ็ญที่ในไพรเขียว
ศรีทรงนงรามงามเจียว งามเดี่ยวอยู่อรัณย์กันดาร
กาเฒ่าเข้าไปใกล้นาง พิศพลางกล่าวคำฉ่ำหวาน
ดูราโฉมยงนงคราญ เยาว์มาลย์งามจริงยิ่งคน
ข้าไซร้ได้เที่ยวทุกแหล่ง ได้เห็นทุกแห่งทุกหน
จักหาดรุณีนิรมล ทรงภาคโศภนเพียงนี้
ไม่มีในแคว้นแดนใด แข่งงามทรามวัยไขศรี
โฉมเฉลาเสาวภาคพรรณี นารีในโลกฤๅแม้น
นงรามงามพบูอยู่ป่า นึกน่าเสียดายสุดแสน
มาตรแม้นโฉมตรูสู่แดน แว่นแคว้นจอมกษัตร์ฉัตรชัย
นางจักเปนขวัญกันดา แห่งพระราชาเปนใหญ่
เกียรติ์เลื่องเดื่องรั่วทั่วไป อรไทยจงจำคำตู
เดินห่างทางนี้ฤๅนาน ถึงย่านมานุษในผลู
หมู่ราชมาดโลมโฉมตรู จักกรูกินหลามตามตอม
เหมือนผึ้งบินห้อมล้อมหา บุบผาคันธินกลิ่นหอม
หนุ่มๆ คลุ้มคลั่งหวังออม หมายถนอมเหมือนมณีศรีเรื้อง
อยู่นี่มีผู้ดูหรือ อยู่กรุงฟุ้งชื่อลือเลื่อง
เชิญเถิดทรามวัยไปเมือง เปนเครื่องเชิดชูตรูยศ
จักได้เปนศรีวังราช ชนปวงเปนทาสนางหมด
อยู่ป่าอารัณย์รันทด อยู่กรุงปรากฎเกียรติ์ฟุ้ง ฯ
นางยินกะถากาเฒ่า โฉมเจ้าเฉาจิตต์คิดยุ่ง
อกทึกนึกใคร่ไปกรุง หมายทุ่งมุ่งทางหว่างเนิน
หวนคิดบิดาอาทร บังอรเคียดแค้นแสนเขิน
ขัดใจที่จิตต์คิดเพลิน จักเดินด้นป่าหาเมือง
ทิ้งชนกตกไร้ในป่า เริงร่าใจตัวมัวเฟื่อง
คิดไปใจวุ่นขุ่นเคือง เปนเรื่องที่จิตต์คิดเลว ฯ
นางกล่าวแก่กาว่า
๏ ดูรากาดำอำมหิต ความคิดน่าแค้นแสนเหลว
พูดเล่นเปนบาปปลาบเปลว เลวเปวเลอะเปื้อนเชือนแช
แม้นชนกตกไร้ในป่า ตัวข้าไปร้างห่างแห
ใครเล่าจักอยู่ดูแล คนแก่ลำบากยากล้ำ
ใครจักตักน้ำตำข้าว เก็บฟืนกองเฝ้าเช้าค่ำ
ใครจักปฏิบัติจัดทำ จักค้ำจักชูดูแล
น้ำใจเจ้าสุดทุจริต เราไซร้ไม่คิดแยแส
เบื่อฟังวาจากาแก   ชั่วแท้จงไปให้พ้น ฯ
๏ พูดพลางนางทิ้งกิ่งไม้ ขับไล่กาผินบินด้น
จากป่าสู่ยังรังตน บนต้นไม้ใหญ่ในกรุง ฯ
๏ ฝ่ายนางลูกสาวฤๅษี รับใช้โยคีต้มหุง
ใฝ่เฝ้าเช้าค่ำบำรุง มาดมุ่งปฏิบัติบิดา
จวบจนชนมายุเจ้า แก่เฒ่าอ้างว้างกลางป่า
ม้วยมุดสุดปราณนานมา นัยนาชนใดไป่ยล ฯ
พระอมรสิงห์เล่ามาเพียงนี้จึงตรัสต่อไปว่า
๏ ดูราโยคีมีพรต กำหนดอุปเทศเหตุผล
อันทางนางล้วนถ้วนตน มีนัยดังยุบลกล่าวนี้ ฯ
โยคีตอบว่า
๏ ดูรามานุษสุดเปรอะ เลอะเทอะเหลือทนป่นปี้
เราถามวิถีนารี ท่านบอกวิถีนิรพาณ
ถามโน่นบอกนี่ดีหนอ เราไซร้ใคร่ขอถามท่าน
สูใคร่ทราบเรื่องเมืองกาญจน์ จักเดินโดยย่านทางใด
แม้นข้าบอกเรื่องเมืองเงิน โดยเลินเล่อคำร่ำไข
เจ้าจักเห็นทางอย่างไร จักเชื่อหรือไม่ใคร่รู้ ฯ
พระอมรสิงห์ตอบว่า
๏ ดูราฤๅษีชีเฉา คำเราใช่บอกหลอกสู
นางใดในดินสิ้นภู ย่อมเปนเช่นตูกล่าวไว้
ทรมาทารกำจำกลืน ประโยชน์ผู้อื่นจักได้
ตนเองยอมสละสะใจ หลงใหลทุกนางอย่างนี้ ฯ
โยคีกล่าวว่า
๏ เจ้าถามตามจิตต์คิดไว้ เราไม่ดื้อดึงถึงที่
สูชาญปัญญาพาที ยินดีแลกเรื่องเมืองงาม
อันทางที่ใคร่ใจปอง จักบอกให้สองในสาม
เจ้าจงม่งใจไปตาม ข้อความข้าบอกบัดนี้ ฯ
๏ พูดพลางโยคีหนีตัวเปนคั้งคาวหัวเราะรี่
แลบลิ้นเปิดปีกหลีกลี้ บินหนีหายไปไม่ช้า ฯ
๏ ฝ่ายพระอมรสิงห์นิ่งอึ้ง แขงขืนยืนตลึงในป่า
ครู่หนึ่งจึ่งโยคีมา หัวร่อร่าๆ หลังเธอ
ยุพราชเหลียวหน้าว่าขาน เห็นว่าอาจารย์จักเผลอ
หลงตนลืมตัวมัวเมอ เหลอๆ หัวร่องอไป
ไหนเล่าจักแจ้งแหล่งหน เวียงคำโศภนอยู่ไหน
อย่าเสียสัญญาว่าไว้ บอกไปเถิดหนาอาจารย์
โยคีกล่าวว่า
๏ เจ้าเอยอย่าใจไวนัก ไม่พักเปนไฟไขขาน
จงแจ้งวิถีนิรพาณ ดังท่านสัญญาว่าไว้
เวียงไรใหญ่โตโศภิตอ.๗๐ เราจักชี้ทิศบอกให้
จักแลกความรู้ตูไซร้ จงแสดงแจ้งไปจนครบ ฯ
๏ เมื่อนั้น อมรสิงห์รู้เช่นเห็นจบ
อ้ายนี่ยอกย้อนซ้อนซบ แสแสร้งแตลงตลบเหมือนลิง
เราจักซักความสามครั้ง โดยหวังคู่ครองน้องหญิง
แม้นมันบอกแหล่งแจ้งจริง จักยิ่งประโยชน์โรจน์เรื้อง ฯ
พระอมรสิงห์ตรัสว่า
๏ ท่านผู้ปัญญาเปนทรัพย์ เชิญสดับตูแสดงแจ้งเรื่อง
เพื่อแลกความรู้สู่เมือง อันเรืองรุ่งอร่ามงามทอง
นิทานแสดงวิถีนิรพาณ
ปางหลังยังมีกรุงกษัตร์ สมบัติบริบูรณ์ภูลผอง
ปราสาทราชฐานกาญจน์กอง แก้วก่องงามก่ำกำไร
พระคลังดังทิพย์สมบัติ สารพัดมาศมณีศรีใส
สุรางค์นางสนมกรมใน ไฉไลแลล้ำน้ำนวล
อุทยานซ่านซาบนาสา บุบผากลิ่นกลบอบสวน
เสาวรสสดล้ำรำยวน แลล้วนงามล้ำลำยอง
เสนาคณามาตย์ชาติเชื้อ คนเสือภูลพลํทั้งผอง
ทวยราษฎร์รุ่งเรืองเนืองนอง หาเทียบเปรียบสองฤๅแม้น ฯ
๏ แต่พระนราธิปราชา เธอทรงพระชรายิ่งแสน
ความสุขแห่งราชขาดแคลน ฤๅแกว่นกำลังวังชา
วันหนึ่งท้าวเยี่ยมพระแกร แลไปในลานด้านหน้า
ปวงชนกล่นไกลไปมา ท้าวนิ่งทัศนาดูไป
เห็นเด็กหนึ่งลากเกวียนเล็ก เกวียนหักจึ่งเด็กร้องไห้
นฤบดีมีราชหฤทัย รำลึกที่ได้เคยเปน
ครั้งเมื่อพระองค์ยังเด็ก เคยลากเกวียนเล็กวิ่งเล่น
เกวียนหักเธอรกำลำเค็ญ โหยหวนครวญเห็นเช่นนี้
คำนึงถึงเมื่อยังเล็ก เปนเด็กไร้ทุกข์สุขี
บัดนี้ความชรายายี ผาสุกไม่มีเสียแล้ว
คิดใคร่เปนเด็กอีกครั้ง เนื้อหนังนวลลอองผ่องแผ้ว
แม้นคืนรูปกายพรายแพรว เหมือนแก้วหายไปได้คืน
เดือดใจใคร่กลับเปนหนุ่ม กลัดกลุ้มเกินแรงแขงขืน
แสนยากบากบั่นกลั้นกลืน ท้าวอื้นออกอัตถ์ตรัสไป ฯ
พระราชาทรงเปล่งอุทานว่า
๏ อ้าอุมาบดีตรีเนตร เรืองณรงค์ทรงเดชอดิศัย
ทรงศูลศักดิ์ศรีมีชัย ฤทธิไกรเข็ดขามสามแดน
โปรดข้าผู้ชราภาพแล้ว คลาดแคล้วสรรพสุขทุกข์แสน
ความแก่ลำบากยากแค้น ขอความหนุ่มแทนเถิดพระ
ใคร่คืนวัยปฐมสมจิตต์ ด้วยฤทธิ์พระศุลีอีศะ
ขอความอิ่มเอมเปรมะ พระศิวะจงโปรดข้าน้อย ฯ
๏ ปางพระอิศวรทรงยิน พระนราธิบดินทร์กล่าวถ้อย
จึ่งเสด็จโดยแดแต่ดอยอ.๗๑ เลื่อนลอยอยู่หน้าราชา
ตรัสว่าอ้าพระอะธิป เก้าสิบเก้าครั้งแล้วหนา
ทุกชาติที่ท่านเกิดมา ท่านมีปรารถนาเล่ห์นี้
เราได้อวยตามทุกครั้งท่านลืมความหลังดังกี้
ทุกครั้งเปนดังครั้งนี้ จู้จี้รำพึงรึงรุม
ต่อเฒ่าเคราคร่ำปรำปรา จึ่งเห็นราคาความหนุ่ม
เช่นนี้ได้ทุกข์ชุกชุม ปัญญาสุขุมฤๅมี ฯ
พระราชาทูลว่า
อ้าองค์พระวิศวนาถ ข้าบาทก้มเกล้าเกศี
ขอพึ่งพระองค์ทรงตรีอ.๗๒ ข้ามีกรรมก่อส่อทุกข์
อันทางนิรพาณฐานใด โปรดแสดงแจ้งใจให้สุข
พระจงอุปถัมภ์ทำนุก ข้าบุคคลเขลาเบาคิด ฯ
พระอิศวรตรัสว่า
๏ ดูราพระนราธิบดี เธอมีความฟุ้งยุ่งจิตต์
อันพระนิรพาณโศภิต เราไม่ให้ทิศอวยทาง
รู้ได้ใช่ด้วยเวลา รู้เพราะวิชชาเปิดกว้าง
ท่านจงสนใจไปพลาง ทราบได้ในรวางชีวิต
ถึงแม้แก่เฒ่าเท่าท่าน ไม่นานจะหลับดับจิตต์
ไป่พึงหมดหมายหน่ายคิด เวลาน้อยนิดยังมี
ท่านอาจทราบสิทธิ์วิชชา ก่อนคลาไคลเบื้องเมืองผี
จงจำคำเราเท่านี้ ตรองไตร่ให้ดีเถิดท้าว ฯ
๏ ตรัสพลางพระวิศวนาถ คืนสู่ไกลาสผาขาว
ปางองค์นฤบาลรานร้าว ป่วนปั่นใจราวเพลิงร้อน
รำลึกตรึกราชชาดา ขวัญตาบิตุรงค์ทรงศร
ท้าวเสด็จเยี่ยมองค์บังอร หวังวายคลายร้อนรนทรวง
เพอินมีงูพิษฤทธิ์กล้า กัดองค์วนิดาลูกหลวง
ขวัญอนงค์ปลงชนม์คนปวง ไป่ล่วงทูลราชบิดา
เพราะเกรงท้าวเธอจักโศก เกิดโรครึงเร้าเจ้าหล้า
ฝ่ายองค์พระชนกราชา เห็นราชกานดาดวงเพ็ญ
หฤทัยเธอรกำอ้ำอึง คำนึงนวลแขแลเห็น
แมลงวันตัวดำลำเค็ญ ไต่เล่นบนโอษฐ์บังอร
องค์พระภูวไนยได้คิด ความรู้สู่จิตต์อดิศร
สิ้นอยากเปนหนุ่มรุมร้อน ภูธรเหนื่อยหน่ายวายคิด
๏ แดเผด็จเสด็จลงคงคาอ.๗๓ ตั้งหน้าล้างบาปปราบปลิด
บ่มตบะบำเพ็ญเปนนิตย์ ข่มจิตต์ปลงใจในพรต
จวบจนแม่น้ำคงคา พาศพราชาดาบส
ลอยชลวนเชี่ยวเลี้ยวลด สู่สมุทสุดบถบรรยาย ฯ
พระอมรสิงห์ตรัสต่อไปว่า
๏ ดูราโยคีมีเชาวน์ คำเราใช่แกล้งแสร้งหมาย
อันทางมรรคผลต้นปลาย เหลือหลายลึกลับซับซ้อน
เราไซร้ได้แสดงแจ้งเรื่อง อย่าเยื้องยักยอกหลอกหลอน
ทิศไหนเวียงคำกำจร ตูวอนให้บอกออกไป ฯ
๏ บัดนั้นโยคีชีเก๊ แสร้งเสยักยอกหลอกให้
วิถีที่สมัคจักไป อยู่ใกล้จงดูตูชี้
พูดพลางแลบลิ้นปลิ้นยื่น จักแปลงเปนอื่นหลีกหนี
อมรสิงห์นิ่งดูรู้ที ทรงขรรค์ฤทธีฟาดไป
ถูกลิ้นรากษสขาดกลาง มันโลดโกรธพางเพลิงไหม้
กายใหญ่กำยำกำไร ปากใหญ่แยกเขี้ยวเคี้ยวฟัน
กล่าวว่าดูรามานุษ เองสุดกำเริบเสิบสัน
มามึงกับกูสู้กัน จักหั่นหัวเล่นเปนชิ้น
อวดกล้าอาวุธคมหนัก มากูจะหักให้สิ้น
เหตุใดเอาขรรค์ฟันลิ้น กูกินพ่อมึงเมื่อไร ฯ
๏ เมื่อนั้น ยุพราชฤๅพรั่นหวั่นไหว
ตอบว่ามึงนี้ผีไพร จักขู่กูให้หลงกลัว
ลิ้นยาวโกหกพล่อยๆ ตัดให้เหลือน้อยยังชั่ว
เจ้ามาพัลวันพันพัว กูจักตัดหัวบัดนี้ ฯ
๏ ตรัสพลางแกว่งขรรค์ครรชิต รากษสเกรงฤทธิ์หลีกหนี
อ.๗๔
ออกห่างพลางกล่าววาที ดีแล้วจักได้เห็นกัน
กูนี้เปนใหญ่ในป่า มึงมาอวดแรงแขงขัน
คงได้แก้แค้นแทนทัน จักพ้นมือนั้นฤๅมี
พวกพ้องของกูอยู่ทั่ว เองกลัวจงเองเร่งหนี
พูดพลางหายพลันทันที หัวเราะเยาะมี่ลอยไป ฯ
๏ เมื่อนั้น ยุพราชเรืองฤทธิ์อดิศัย
แขงขืนยืนนึกตรึกไตร อ้ายนี่ตัวภัยใช่น้อย
พูดพลิ้วชิวหากล้าหาญ ฉาดฉานมี่ฉาวกล่าวถ้อย
แนวไพรในพงดงดอย มันคอยทำร้ายหลายทาง
ฤทธิ์มันฉันใดไม่พรั่น แต่ต้องป้องกันมันบ้าง
อยุดยั้งฟังภัยไปพลาง ผีกลางดงดื่นหมื่นพรรค์ ฯ
๏ ทรงแสงขรรค์ทรงยงย่าง ตามทางไต่แถวแนวสัณฑ์
ไม้ใหญ่ยอดเยี่ยมเทียมกัน แสงจันทร์สีผ่องส่องพื้น
เหมือนพรมปูลาดบาทพระ พรมเงินงามรดะผืนๆ
แสงโพยมโสมสว่างกลางคืน ดาวดื่นดกห้อมล้อมจันทร์
โสมส่องแสงเดือนเหมือนพิศ พระกุมารชาญฤทธิ์รังสรรค์
ยุพราชยาตร์ไปในวันอ.๗๕ ในสวรรค์เนตรแขแลชม
ดำเนินเพลินนึกตรึกหา องค์กนกเรขาสวยสม
ระอุอุระระบม นางตรัสตัดคมคือตาว
จับปดคดคำจำได้ ไยไพพิษแม้นแหลนหลาว
เนตรนางปางโกรธโรจน์ราว ไฟขาวเริงแรงแสงร้อน
เคราะห์กรรมทำให้ไปเฝ้า นงเยาว์เพื่อบอกหลอกหลอน
นางกริ้วนิ่วโกรธโทษกรณ์ ขับไล่ไสต้อนตามทัณฑ์
จักแก้ตัวใหม่ให้สม อารมณ์ที่หมายผายผัน
ไม่พบเมืองทองผ่องพรรณ์ ไม่หันหน้าตูสู่นาง ฯ
๏ ตรึกพลางย่างยาตร์บาทเหยียบ ลัดเลียบรุกข์ไสวไพรฉวาง
บุกป่าผ่าเดินเมิลทาง เห็นสว่างแสงจันทร์ดั้นพฤกษ์
ช่องว่างหว่างไม้ใหญ่ล้ำ ยลน้ำแผ่นกว้างกลางดึก
ศศธรสีทองส่องทึก ดูลึกเดือนไรใสซึ้ง
พระสดุดอยุดอยู่ดูสระ พลางพระแขงขืนยืนขึง
เงาอไรในน้ำรำพึง เธอตลึงแลเห็นเปนนาง
สาวฟ้ามาอยู่ขอบสระ ยังอุระให้เต้นเผ่นผาง
แจ่มเจิดเลิศล้ำสำอาง รางชางไฉไลใคร่ชิด
สำเนียงเพียงพิณไพเราะ แสนเสนาะนางขับจับจิตต์
พระยั้งฟังนางพลางพิศ งามจริตคมขำรำฟ้อน
กรีดหัตถ์ดัดกรอ่อนองค์ ยุพยงร่ายเรียงเอียงอ้อน
เพลินดูเพลินฟังบังอร ภูธรยืนตลึงอึ้งพิศ
ยักษิณีผีไพรใดหนอ รูปล่อลามลวนยวนจิตต์
นึกน่าสนิทสนมชมชิด งามจริตกิริยาน่ารัก ฯ
๏ บัดนั้นนางพบสบเนตร อมรสิงห์ทรงเดชสูงศักดิ์
อยุดฟ้อนอยุดขับตรับพัก พลางกวักหัตถ์งามทรามวัย

-----------------------------------------------

       อ ๖๗. “พูดอย่างปฤษณาพาที”. “ปฤษณา” คำนี้ตั้งใจใช้ในความที่อังกฤษใช้ว่า riddle น่าจะเขียน ปรัศนามากกว่า เพราะคงจะเปนศัพท์ที่แปลว่าคำถาม นั่นเอง. ↩
       อ ๖๘. “เสกแสร้งแกล้งจัดอัจฉรา”. นางฟ้าประเภทที่เรียกอัจฉรานี้ ดูน่าเดือดร้อนที่ถูกใช้ลงมาเปนเมียฤษีคร่ำเครอะอยู่เสมอ ๆ สุดแต่ฤษีคนไหนบำเพ็ญพรตแก่กล้าจนจะเปนภัยแก่เทวดาเมื่อใด นางฟ้าพวกนี้ก็ถูกใช้ลงมาทำลายตบะด้วยวิธียวนกาม ถ้าสำเร็จก็ต้องเปนเมียฤษี ถ้าไม่สำเร็จเพราะฤษีบางองค์มีตบะเชี่ยวชาญเกินที่จะยั่วยวนให้สำเร็จได้ ก็ยังจะเสียชื่อว่าไม่เก่งอีกชั้นหนึ่งเล่า แต่ข้อได้เปรียบของนางฟ้ามีอยู่ข้อหนึ่ง คือไม่รู้จักมีราคี ถึงหากจะมาเปนเมียตาสกปรกจนที่สุดมีลูก ก็กลับเปนสาวบริสุทธิ์ได้อยู่เสมอ.
               ข้อที่ว่าฤษีบางคนบำเพ็ญพรตแก่กล้าจนเปนภัยแก่เทวดานั้น เพราะเหตุว่าผลแห่งพรตนั้นทำให้ได้เปนใหญ่ ถึงแย่งตำแหน่งพระอินทร์ก็ได้ เหตุฉนั้นเทวดาจึงไม่ชอบให้ฤษีทำตบะเคร่งครัดนัก ถ้าเห็นเชี่ยวชาญหนักเข้า ก็ต้องเพียรทำลายพิธี คือให้นางฟ้ามายวนกามเปนต้น การทำตบะให้แก่กล้าชรอยจะเปนทางให้ได้นางฟ้าเปนเมีย จึ่งมีคนคนองกล่าวว่า ถ้าใครอยากมีเมียเปนนางฟ้า ท่านว่าจงทำตบะ. ↩
       อ ๖๙. “ความดีทำไว้ไร้คุณ”. ฤษีที่ทำตบะถ้าเกิดเหตุเช่นนี้ก็เสียผลแห่งตบะหมด ต้องตั้งต้นใหม่. ↩
       อ ๗๐. “เวียงไรโหญโตโศภิต”. “เวียงไร” แปลว่าเมืองทอง. ↩
       อ ๗๑. “จึงเสด็จโดยแดแต่ดอย”. หมายความว่าไปด้วยใจ ไม่จำเปนต้องไปด้วยตัว เปนสิ่งซึ่งพระผู้เปนเจ้าทำได้. ↩
       อ ๗๒. “ขอพึ่งพระองค์ทรงตรี”. “ตรี” คือตรีศูล อาวุธสามปลายแหลม ซึ่งเปนอาวุธพระอิศวร. หนังสือไทยเรียกตรีศูลว่าตรีบ่อย ๆ เช่นที่หณุมานถือในเรื่องรามเกียรติ์เปนต้น. ↩
       อ ๗๓. “แดเผด็จเสด็จลงคงคา”. ในที่นี้ควรอธิบายไว้สักหน่อยว่า แม่น้ำคงคานั้นแขกฮินดูนับถือว่าเปนแม่น้ำบุญ เมื่อใครลงอาบก็ล้างบาปได้ เหตุฉนั้นริมฝั่งแม่น้ำคงคาจึงเปนที่ซึ่งบุคคลพึงไปทำตบะ เมื่อตายศพก็ลอยน้ำไป หรือเมื่อมีผู้เผาแล้วก็เอากระดูกทิ้งลงไป นับว่าเปนบุญทั้งนั้น. ↩
       อ ๗๔. “รากษสเกรงฤทธิ์หลีกหนี”. รากษสนั้นอ่านในหนังสือสังเกตว่ามีพวกดุเข้ารบเข้าฆ่าซึ่ง ๆ หน้าอย่างกล้า ๆ พวกหนึ่ง อีกพวกหนึ่งไม่ใคร่สู้ซึ่ง ๆ หน้า มักจะลวงด้วยมายาต่าง ๆ ให้คนเสียทีเพลี่ยงพล้ำก่อนจึงเข้าทำร้าย มีคำกล่าวว่าเวลาโพล้เพล้เปนเวลารากษสออกหากิน แขกจึงห้ามกันว่าไม่ให้คนนอนหลับเวลานั้น เพราะกลัวว่าถ้ารากษสมาพบกำลังหลับ ก็จะทำร้ายได้ถนัด การห้ามไม่ให้นอนหลับในเวลาโพล้ไพล้นั้น ไทยเราก็ยังห้ามอยู่จนบัดนี้ แต่ไม่เคยได้ยินคำอธิบายว่าทำไมจึงห้าม จะเปนด้วยแขกมาสอนไว้ให้กลัวรากษส จนเดี๋ยวนี้เราเลิกกลัวรากษสแล้ว แต่ยังไม่เลิกกลัวนอนเวลาโพล้เพล้ จึงไม่มีคำอธิบาย ก็เปนได้ หรือถ้ามีข้าพเจ้าไม่เคยได้ยิน.
            ถ้าจะกล่าวตามโปรเฟซเซอร์เดาซัน รากษสมีสามจำพวก พวกหนึ่งทำนองเดียวกับยักษ์ คือเปนอสูรชนิดไม่ดุร้าย ไม่สู้เปนภัยแก่ใครนัก รากษสอีกจำพวกหนึ่งเปนศัตรูของเทวดา แลจำพวกที่สามเปนพวกที่เที่ยวอยู่ตามป่าช้า เที่ยวทำลายพิธีบูชา กวนคนจำพรต สิงทรากศพ กินคน แลทำการลามกเปนภัยแก่มนุษย์ด้วยประการต่าง ๆ ราวณะ คือทศกัณฐ์เปนนายใหญ่ของรากษสจำพวกที่สามนี้ แต่บริวารของทศกัณฐ์ไม่กล้าหาญเหมือนนายเสมอไป ดังซึ่งรากษสในเรื่องนี้ซึ่งกล่าวว่าไม่สู้อมรสิงห์ซึ่ง ๆ หน้าเปนต้น. ↩
       อ ๗๕. “ยุพราชยาตร์ไปในวัน”. “วัน” (วนะ) แปลว่าป่า. ↩
 

       โปรดติดตามตอนต่อไป
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22 ตุลาคม 2561 16:13:43 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #7 เมื่อ: 20 พฤศจิกายน 2561 16:24:15 »


อ.๕๒                                      
       . กนกนคร  .
       พระนิพนธ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ (น.ม.ส.)

นางกล่าวว่า
๏ ดูรามานุษสุทธชาติ ท่านมาดหมายด้นหนไหน
สวยสมคมขำอำไพ ใกล้ ๆ เถิดเจ้าเข้ามา
ข้าฟ้อนคนเดียวเปลี่ยวนัก เชิญพักในเถื่อนเพื่อนข้า
คู่ขับคู่เล่นเจรจา ดีกว่าท่องเที่ยวเดียวดาย
หนึ่งข้าขอถามความขำ ใคร่จำใคร่ฟังดังหมาย
เชิญนั่งใกล้กันบรรยาย อย่ารคายขุ่นข้องหมองเมิน ฯ
๏ อมรสิงห์พิศวงสงสัย นี่ไฉนแกล้วกล้าป่าเถิน
สกดใจไม่พวงหลงเพลิน ดำเนินเข้าหานารี
สาวน้อยนวลลออฉอเลาะ เหมาะเจาะหมดจดสดศรี
๏ ช่วงโชติโรจน์ร่วงท่วงทีอ.๗๖ มายายายียั่วเย้า
เอนอิงพิงพฤกษ์นึกยิ้ม พักตร์อิ่มเอมแอร่มแชล่มเฉลา
หัตถ์ขาวท้าวสเอวองค์เยาว์สองเต้าเต่งตั้งดังบัว
ทรงฤทธิ์พิศนางพลางคิด งามชนิดนี้ไซร้ใช่ชั่ว
บุตรีผีป่าน่ากลัว พันพัวเปนภัยใหญ่นัก
ยิ่งกว่าบิดาห้าเท่า เพราะเย้ายวนยีดีหนัก
เนตรคมนมขาวสาวยักษ์ นัยนาน่ารักเลิศแล้ว
เราไซร้ได้เคยเห็นเนตร สีนิลวิเศษยิ่งแก้ว
เสมอเปนเกราะกั้นกันแนว ภัยเนตรนี้แคล้วคลาศไป
หัวใจกูมาตร์ปราศเกราะ คงจักถูกเจาะแผลใหญ่
คิดพลางพระองค์ทรงชัย เข้าใกล้ยืนอยู่ดูนาง
๏ บัดนั้นนางงามทรามวัย แขไขขำคมสมร่าง
เข้าใกล้หน่อกษัตร์หัตถ์วาง             บนหว่างทรวงองค์ทรงฤทธิ์
แหงนหน้าดูเนตรนรนาถ ผุดผาดพรรณ์ภวลยวนจิตต์
กล่อมเกลาเสาวภาคโศภิต นัยนาคือกฤชฤทธิ์ร้าย ฯ
นางกล่าวว่า
๏ ดูรามานุษสุทธลักษณ์ ข้าซักจงท่านขานขยาย
ตูเปล่าใจเปลี่ยวเดียวดาย ไร้สหายร้องรำสำราญ
ข้าเปนเผ่าพงศ์วงกว้าง แห่งนางทิติสิริสานติ์อ.๗๗
ไป่เคยส้องสบพบพาน ใครใดในย่านไพรพน
อยากทราบความงามตามจริง     แห่งหญิงทุกแหล่งแห่งหน
ใคร่เทียบเปรียบความงามตน มีคนใดบ้างอย่างตู
ท่านจงแจ้งความตามคิด อย่าปิดอย่าปดหดหู่
เคยเห็นนัยนาน่าดู ดุจตาแห่งตูบ้างฤๅ ฯ
๏ พระฟังนางงามถามถ้อย เธอค่อยกลบไกล่ไขสือ
อันแก้วแพร้วพรรณ์บรรลือ ขึ้นชื่อลือชาว่าดี
ย่อมมีก่ายกองก่องเก็จ ล้วนเมล็ดเลิศรุ้งรังสี
แต่จักหาไหนไม่มี เหมือนมณีทรงฤทธิ์วิษณุ
อันได้จากท้องพระสมุท แสนสุดรุจิเรขเอกอุ
งามคือศศพินทุ์อินทุ วิชชุโชติช่วงดวงรัตน์ ฯ
๏ นางฟังคั่งแค้นขุ่นข้อง ทืบเท้าป่อง ๆ ปัด ๆ
กลุ้มกลัดอัดอึดฮึดฮัด สบิ้งสบัดแสนงอนค้อนควัก
บัดเดี๋ยวอยุดยืนฝืนจิตต์ ตีสนิทดีถนัดหัตถ์กวัก
สอยสยายมวยองค์นงลักษณ์           งามผมสมพักตร์ลำพอง
มวยลุ่ยผมตกดกดื่น ดำคือกลางคืนยามสอง
เนตรนางหว่างเผ้าเพ็ญทอง คือสองดาวสง่าราตรี
ยิ้มพลางนางมีพจมาน อ้าท่านผู้เยี่ยมเทียมสีห์
แม้ว่านัยนานารี ยังมีงามกว่าข้าไซร้
แต่ผมคมขำของข้า ใครจักงามกว่าไม่ได้
ท่านคิดคัดค้านฐานใด เห็นไม่มีข้อคำอิง
จงเร่งรับรองคลองธรรม กล่าวคำสุภาพต่อหญิง
ว่าผมข้าเลิศเพริศพริ้ง งามยิ่งนางใดในดิน ฯ

นางกล่าวว่า
๏ ดูรานงเยาว์เสาวภาค ใช่อยากอุดตริติฉิน
อันเจ้าเผ้าผ่องโศภินอ.๗๘ งามสิ้นทุกเส้นเห็นชัด
จักเปรียบพึงเปรียบเทียบฟ้า แสนสง่างามศักดิ์นักษัตร์อ.๗๙
พิศดาวพราวเด่นเพ็ญพัฒน์ เฉกรัตน์รุ้งโรจน์โชติชี้
แต่สมุทรสุดใหญ่ใสซึ้ง ลึกดึ่งดูหมดสดสี
งามทเลเวลาราตรี จำรัสรัศมีดารา
เงาฟ้ามาอยู่ในน้ำ งามล้ำแลเล่ห์เวหา
ยังแถมความงามธรรมดาแห่งสาครด้วยช่วยงาม ฯ
๏ นางฟังเคืองขัดปัดป่อง ท่านพร้องถ้อยพล่ำส่ำสาม
ไม่ชมผมข้าว่างาม กล่าวความพาดพิงอิงเท็จ
ชิชะเฉลียวฉลาดปราดเปรื่อง น่าเคืองนึกแค้นแสนเข็ด
ใจแห้งแขงดื้อคือเพ็ชร์ อาจเผด็จหฤทัยไมตรี
พูดพลางแขงขืนยืนอึ้ง หน้าบึ้งแดงบ่นสมศรี
บัดเดี๋ยวเปลี่ยนหน้านารี ทำทีเอียงฉอ้อนวอนวิง
พิงพลางนางเอาเผ้าหอม พาดห้อมห่มพระอมรสิงห์
พระสัมผัสผมฉมจริง เกศหญิงกลบกลั้วทั่วองค์อ.๘๐
เหมือนบาศพระอนงค์ทรงคล้องอ.๘๑   ติดต้องหฤทัยใหลหลง
บ่มรักฝักใฝ่ใจจง อำนาจพระอนงค์ทรงยังอ.๘๒
อมรสิงห์นิ่งขืนฝืนหัก บาศงามความรักฤๅขลัง
นางวอนวาจาน่าฟัง คือคลังดนตรีวีณา ฯอ.๘๓


นางกล่าวว่า
๏ อ้าภมรอ่อนเขลาเบาราคอ.๘๔ เหลือยากผกาย้อยห้อยหา
คิดแสนแค้นสุดบุษบา เกิดมาเพื่อภู่ชูชม
พบภู่ผู้ประหม่าราคะ ลอยละเริศร้างห่างสม
หลีกเลี่ยงเอียงอายงายงม อารมณ์ลุ่ยเหลือเบื่อจริง
ปะลาภไป่รู้ว่าลาภ โดยสภาพพึงภู่สู่สิง
น่าที่พี่ภมรวอนวิง อ้อนอิงองค์อนุชบุษบา
มธุกรหย่อนในหน้าที่อ.๘๕ ไม่มีหฤทัยใฝ่หา
บุบผาอาภัพอับภา วชะน่ากังวลผลกรรมอ.๘๖
เรณูชูสุคนธ์กล่นกลั้ว ยวนยั่วให้มธุปอุปถัมภ์อ.๘๗
มธุกรจรจากตรากตรำ ชอกช้ำอ้างว้างปางมรณ์
สงสารมาลย์ผกาหน้าโศก             รุมโรครักเรื้อเหลือถอน
ในยามปัจจุบันอันร้อนเชิญภมรมั่วเคล้าเสาวคนธ์ ฯ


พระอมรสิงห์ตรัสว่า
๏ อ้าเจ้าเยาวมาลย์หวานถ้อย สาวน้อยกล่าวไยไร้ผล
ตูฤๅคือเต้าเต็มชล เต็มแล้วต้องล้นเลยไป
เจียนม้วยด้วยเสน่ห์นางหนึ่ง ไป่พึงชมชื่นอื่นได้
เดินดงม่งป่าฝ่าไพร หวังได้ทราบเรื่องเมืองทอง
เจ้ารู้ผลูดงจงแจ้ง ย่านแหล่งอย่าสลัดขัดข้อง
แม้นสบอารมณ์สมปอง คุณของเจ้าไซร้ไป่วาย ฯ
๏ บัดนั้นนางแทตย์แปรดเสียง ดูดู๋สูเลี่ยงเบี่ยงบ่าย
เจ้ามีใจม่งจงร้าย ยักย้ายย้อนยอกหลอกเรา
บุญญาพาทีดีหนัก เดี๋ยวจักประจักษ์เจียวเจ้า
อันเมืองเรืองอร่ามงามเงา ข้าไม่ให้เจ้าไปพบ
ชายอะไรเช่นนี้มีบ้าง ชิช่างแชเชือนเกลื่อนกลบ
พูดจาบ้าเบื้อเบื่อคบ บัดซบแสนเข็นเช่นนี้
หญิงชวนยวนชื่นรื่นรส กลับหดหัวปลีกหลีกหนี
เจ็บใจใคร่เวียนเฆี่ยนตี อยากขยี้ด้วยบาทราดเกลือ ฯ
๏ พูดพลางนางพร่ำร่ำไห้ ชลนัยน์นองหลากมากเหลือ
ไหลตรงลงสระคละเจือ เหมือนน้ำลำเหนือหลากมา
ทันใดไหลท้นล้นหนอง เร็วนองเนื่องไปในป่า
เดี๋ยวใจในพื้นพสุธา กลายเปนเช่นมหาสาคร
อมรสิงห์นิ่งตลึงอึ้งคิด ทุกทิศเปนลลอกฉอกฉอน
เหลียวเนตรดูนงองค์อร นางหลอนลอยฉิวปลิวไป
เย้ยยั่วหัวเราะเยาะหยัน ก้องลั่นราวป่าฟ้าไหว
อมรสิงห์นิ่งคิดอิดใจ น้ำใกล้ถึงอกตกตลึง
เหลียวเหลือบแลเขม้นเห็นรุกข์ เธอบุกลุยชลจนถึง
ปีนพลางพึมพำรำพึง สำนึงกิ่งไม้ใบบัง
ตรึกว่าธรรมดานารี ย่อมมีชลนัยน์ไหลหลั่ง
ยามอัดขัดใจไม่ยั้ง แค้นคั่งขุ่นคร่ำน้ำตา
แต่ว่าชลเนตรเลศนี้ ทุกที่ท่วมไปในป่า
เล่ห์ลึกทึกใหญ่ไหลมา อ.๘๘ แลเห็นเช่นมหาสาคร
น้ำหลากๆแท้แน่ว่า มายานางนั้นมันหลอน
มันแค้นกูขัดตัดรอน ง้องอนเราไม่ไยดี
หากกูได้มาอาศัย บนค่าคบไม้ใหญ่นี่
จึ่งพ้นชลภัยได้มี ชีวีไว้ก่อนผ่อนปรน
ดูหมอกคลุมน้ำสำอาง จันทร์สว่างวารีมีผล
เหมือนข่ายเงินงามอำพน คลุมบนแผ่นพื้นไพฑูรย์
คิดเห็นเช่นเศียรศิวะ คือพระผู้ทรงตรีศูล
เหล่าพฤกษ์คือผมสมบูรณ์ นองน้ำจำรูญลานตา
น้ำคือคงคามาหลงอ.๘๙ เวียนวงอยู่ในเกศา
ตามเรื่องโบราณนานมาอ.๙๐ ครูบาอาจารย์ท่านแสดง
อันเราเนาบนต้นไม้ น้ำใกล้ขึ้นมาน่าแสยง
จำต้องปีนต่อพอแรง หวังแสวงความรอดปลอดภัย ฯ
๏ พลางพระไต่ตีนปีนพฤกษ์ยามดึกน้ำมากหลากไหล
ยิ่งปีนยิ่งด้นต้นไม้ น้ำใหญ่ครึน ๆ ขึ้นตาม
เหลียวดูผลูใดไป่เห็น นอกจากจันทร์เพ็ญเปนสาม
กับรุกข์แลน้ำคำราม เปนคลื่นครืนครามงามฟู
ยิ่งปีนยิ่งน้ำตามพระ เสียงละลอกเหลือเบื่อหู
พระอ่อนกำลังยั้งดู นึกว่าน่ากูจะม้วย
เว้นแต่วิษณุเปนเจ้า บรรดาลเปนเต่ามาช่วยอ.๙๑
พระไม่อุปถัมภ์อำนวย จักม้วยชีพล่มจมน้ำ
ดูทึกนึกในใจคร้าม ฉนากฉลามโลมาคลาคล่ำ
ยิ่งปีนยิ่งฟกอกช้ำ กองกรรมเกินเพลิงเริงร้าว ฯ
๏ ไต่ตลอดยอดพฤกษ์นึกพรั่น พอตวันรุ่งสางหว่างหาว
รำไพไขกลบลบดาว อ.๙๑ อื้อฉาวปักษีมี่เกรียว
พระก้มพักตร์ตรูดูน้ำ ยิงซ้ำอกสั่นขวัญเสียว
เมื่อกี้น้ำมากหลากเจียว เดี๋ยวเดียวแห้งลดหมดลง
อันต้นไม้ใหญ่ใบหนา เปนผาน่าคิดพิศวง
เมื่อกี้ปีนไม้ใจจง จักลง ๆ ได้ไม่แคลง
พฤกษ์หายกลายเปนผาเงื้อม เหมือนเอื้อมถึงฟ้าน่าแสยง
จักไต่ลงดินสิ้นแรง ผาแขงชันดิ่งกริ่งภัย
เล่ห์กลนางนั้นมันล่อ นัยนาเปนท่อทึกใหญ่
เราลี้หนีชลซนไป น้ำไล่รีบด้นดลพฤกษ์
มันใช้มายาพาให้ เห็นเขาเปนไม้ในดึก
ปีนรุกข์รีบลี้หนีทึก พฤกษ์ใหญ่ใช่พฤกษ์ใบบาน
ดินแห้งเราเห็นเปนน้ำ ผาล้ำเราเห็นเปนศาลอ.๙๓
ต่อรุ่งแสงตวันบรรดาล ให้มายามารหมดมวญ
เราจึ่งรู้สึกนึกเห็นความเปนอันแปลกแผกผวน
อยู่ยอดผาชันรัญจวน จักสงวนชีพไฉนไม่รู้
ผิวหมายป่ายปีนตีนลื่น คงหกตกพื้นแผ่นผลู
แม้นเมี้ยนเศียรมุดคุดคู้ ยั้งอยู่ยังยอดเขานี้
ไม่มีอาหารธารน้ำ จะรกำกองเข็ญเปนผี
เหลือรู้เหลือกู้ชีวี กรรมกี้กีดกั้งรังแก ฯ
------------------------------------------------------------------

อ.๗๖ “ช่วงโชติโรจน์ร่วงท่วงที”. ร่วง คือ รุ่ง ↩
อ.๗๘ “แห่งนางทิติสิริสานติ์”. นางทิติองค์นี้คู่กับนางอทิติ เปนบุตรีพระทักษะฤษีประชาบดีด้วยกันทั้งสองนาง นางทิติเปนต้นสกุลมีเผ่าพันธุ์เรียกว่า ไทตยะ หรือแทตย์ (แปลว่าเหล่ากอนางทิติ) นางอทิติเปนต้นสกุลมีลูกหลานเรียกว่าพวกอาทิตยะ (แปลว่าเหล่ากอนางอทิติ) พวกไทตยะเปนอสุระ พวกอาทิตยะ เปนสุระ คือเทวดา. ↩
อ.๗๙ “อันเจ้าเผ้าผ่องโศภิน”. “เผ้า” แปลว่าผม. ↩
อ.๘๐ “แสนสง่างามศักดิ์นักษัตร์”. “นักษัตร์” คือดาว ↩
อ.๘๑ “เกศหญิงกลบกลั้วทั่วองค์”. “เกศ” แปลว่าผม. ↩
อ.๘๒ “เหมือนบาศพระอนงค์ทรงคล้อง”. “บาคพระอนงค์” คือบ่วงของพระกามเทพ. ↩
อ.๘๓ “อำนาจพระอนงค์ทรงยัง”. “ทรงยัง” คือทรงทำให้เปนไป. ↩
อ.๘๔ “คือคลังดนตรีวีณา”. “วีณา” คือพิณ. ↩
อ.๘๕ “อ้าภมรอ่อนเขลาเบาราค”. “ภมร” แปลว่าแมลงภู่. ↩
อ.๘๖ “มธุกรหย่อนในหน้าที่”. “มธุกร” แปลว่าแมลงภู่ ว่าผึ้ง. ↩
อ.๘๗/color]  “ภาวชะ:”. แปลว่า ความรัก เปนชื่อกามเทพ แปลว่า Produced in the heart ตามคำแปลของ Monier – Williams.
อ.๘๘ “เล่ห์ลึกทึกใหญ่ไหลมา”. “ทึก” แปลว่าน้ำ. ↩
อ.๘๙ “น้ำคือคงคามาหลง”. “คงคา” คือแม่น้ำพระคงคา. ↩
อ.๙๐ “ตามเรื่องโบราณนานมา”. ตรงนี้กล่าวถึงเรื่องแม่น้ำพระคงคาลงมาจากสวรรคตกสู่พื้นดินโดยแรง จนเปนที่วิตกว่าโลกจะแตก พระอิศวรจึงเอาพระเศียรเข้ารับไว้ แม่น้ำพระคงคาตกลงบนพระเศียรพระอิศวร เที่ยวหลงวนเวียนอยู่ในพระเกศาช้านานจึงไหลเลยไปอื่นได้ (ดู อ. ๓) ↩
อ.๙๑ “บรรดาลเปนเต่ามาช่วย”. ตรงนี้กล่าวถึงกูรุมาวตาร คือปางเมื่อพระนารายน์อวตารเปนเต่า. ↩
อ.๙๒ “รำไพไขกลบลบดาว”. “รำไพ” คือพระอาทิตย์. ↩
อ.๙๓ “ผาล้ำเราเห็นเปนศาล”. “ศาล” คือตนไม้ ต้นรัง Shorea robusta. ↩
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #8 เมื่อ: 06 ธันวาคม 2561 12:42:54 »

                                     

       . กนกนคร  .
       พระนิพนธ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ (น.ม.ส.)

ภาค ๒ บนดิน

พระอมรสิงห์ตรัสว่า
๏ อ้าเจ้าเยาวมาลย์หวานถ้อย สาวน้อยกล่าวไยไร้ผล
ตูฤๅคือเต้าเต็มชลเต็มแล้วต้องล้นเลยไป
เจียนม้วยด้วยเสน่ห์นางหนึ่ง ไป่พึงชมชื่นอื่นได้
เดินดงม่งป่าฝ่าไพรหวังได้ทราบเรื่องเมืองทอง
เจ้ารู้ผลูดงจงแจ้ง ย่านแหล่งอย่าสลัดขัดข้อง
แม้นสบอารมณ์สมปองคุณของเจ้าไซร้ไป่วาย ฯ
๏ บัดนั้นนางแทตย์แปรดเสียง ดูดู๋สูเลี่ยงเบี่ยงบ่าย
เจ้ามีใจม่งจงร้ายยักย้ายย้อนยอกหลอกเรา
บุญญาพาทีดีหนัก เดี๋ยวจักประจักษ์เจียวเจ้า
อันเมืองเรืองอร่ามงามเงา ข้าไม่ให้เจ้าไปพบ
ชายอะไรเช่นนี้มีบ้าง ชิช่างแชเชือนเกลื่อนกลบ
พูดจาบ้าเบื้อเบื่อคบบัดซบแสนเข็นเช่นนี้
หญิงชวนยวนชื่นรื่นรส กลับหดหัวปลีกหลีกหนี
เจ็บใจใคร่เวียนเฆี่ยนตีอยากขยี้ด้วยบาทราดเกลือ ฯ
๏ พูดพลางนางพร่ำร่ำไห้ ชลนัยน์นองหลากมากเหลือ
ไหลตรงลงสระคละเจือเหมือนน้ำลำเหนือหลากมา
ทันใดไหลท้นล้นหนอง เร็วนองเนื่องไปในป่า
เดี๋ยวใจในพื้นพสุธากลายเปนเช่นมหาสาคร
อมรสิงห์นิ่งตลึงอึ้งคิด ทุกทิศเปนลลอกฉอกฉอน
เหลียวเนตรดูนงองค์อรนางหลอนลอยฉิวปลิวไป
เย้ยยั่วหัวเราะเยาะหยัน ก้องลั่นราวป่าฟ้าไหว
อมรสิงห์นิ่งคิดอิดใจ             น้ำใกล้ถึงอกตกตลึง
เหลียวเหลือบแลเขม้นเห็นรุกข์   เธอบุกลุยชลจนถึง
ปีนพลางพึมพำรำพึงสำนึงกิ่งไม้ใบบัง
ตรึกว่าธรรมดานารีย่อมมีชลนัยน์ไหลหลั่ง
ยามอัดขัดใจไม่ยั้ง แค้นคั่งขุ่นคร่ำน้ำตา
แต่ว่าชลเนตรเลศนี้ทุกที่ท่วมไปในป่า
เล่ห์ลึกทึกใหญ่ไหลมาอ.๘๘ แลเห็นเช่นมหาสาคร
น้ำหลากๆ แท้แน่ว่ามายานางนั้นมันหลอน
มันแค้นกูขัดตัดรอนง้องอนเราไม่ไยดี
ท่านจงแจ้งความตามคิด อย่าปิดอย่าปดหดหู่
หากกูได้มาอาศัยบนค่าคบไม้ใหญ่นี่
จึ่งพ้นชลภัยได้มี ชีวีไว้ก่อนผ่อนปรน
ดูหมอกคลุมน้ำสำอางจันทร์สว่างวารีมีผล
เหมือนข่ายเงินงามอำพน คลุมบนแผ่นพื้นไพฑูรย์
คิดเห็นเช่นเศียรศิวะคือพระผู้ทรงตรีศูล
เหล่าพฤกษ์คือผมสมบูรณ์ นองน้ำจำรูญลานตา
น้ำคือคงคามาหลงอ.๘๙ เวียนวงอยู่ในเกศา
ตามเรื่องโบราณนานมาอ.๙๐ ครูบาอาจารย์ท่านแสดง
อันเราเนาบนต้นไม้น้ำใกล้ขึ้นมาน่าแสยง
จำต้องปีนต่อพอแรง หวังแสวงความรอดปลอดภัย ฯ
๏ พลางพระไต่ตีนปีนพฤกษ์ยามดึกน้ำมากหลากไหล
ยิ่งปีนยิ่งด้นต้นไม้ น้ำใหญ่ครึนๆ ขึ้นตาม
เหลียวดูผลูใดไป่เห็นนอกจากจันทร์เพ็ญเปนสาม
กับรุกข์แลน้ำคำราม เปนคลื่นครืนครามงามฟู
ยิ่งปีนยิ่งน้ำตามพระเสียงละลอกเหลือเบื่อหู
พระอ่อนกำลังยั้งดู นึกว่าน่ากูจะม้วย
เว้นแต่วิษณุเปนเจ้าบรรดาลเปนเต่ามาช่วยอ.๙๑
พระไม่อุปถัมภ์อำนวย จักม้วยชีพล่มจมน้ำ
ดูทึกนึกในใจคร้ามฉนากฉลามโลมาคลาคล่ำ
ยิ่งปีนยิ่งฟกอกช้ำ กองกรรมเกินเพลิงเริงร้าว ฯ
๏ ไต่ตลอดยอดพฤกษ์นึกพรั่นพอตวันรุ่งสางหว่างหาว
รำไพไขกลบลบดาวอ.๙๒ อื้อฉาวปักษีมี่เกรียว
พระก้มพักตร์ตรูดูน้ำยิงซ้ำอกสั่นขวัญเสียว
เมื่อกี้น้ำมากหลากเจียวเดี๋ยวเดียวแห้งลดหมดลง
อันต้นไม้ใหญ่ใบหนา เปนผาน่าคิดพิศวง
เมื่อกี้ปีนไม้ใจจงจักลงๆ ได้ไม่แคลง
พฤกษ์หายกลายเปนผาเงื้อม เหมือนเอื้อมถึงฟ้าน่าแสยง
จักไต่ลงดินสิ้นแรงผาแขงชันดิ่งกริ่งภัย
เล่ห์กลนางนั้นมันล่อนัยนาเปนท่อทึกใหญ่
เราลี้หนีชลซนไป น้ำไล่รีบด้นดลพฤกษ์
มันใช้มายาพาให้เห็นเขาเปนไม้ในดึก
ปีนรุกข์รีบลี้หนีทึก พฤกษ์ใหญ่ใช่พฤกษ์ใบบาน
ดินแห้งเราเห็นเปนน้ำผาล้ำเราเห็นเปนศาลอ.๙๓
ต่อรุ่งแสงตวันบรรดาลให้มายามารหมดมวญ
เราจึ่งรู้สึกนึกเห็น ความเปนอันแปลกแผกผวน
อยู่ยอดผาชันรัญจวนจักสงวนชีพไฉนไม่รู้
ผิวหมายป่ายปีนตีนลื่น คงหกตกพื้นแผ่นผลู
แม้นเมี้ยนเศียรมุดคุดคู้ยั้งอยู่ยังยอดเขานี้
ไม่มีอาหารธารน้ำจะรกำกองเข็ญเปนผี
เหลือรู้เหลือกู้ชีวี กรรมกี้กีดกั้งรังแก ฯ
๏ จนตวันผันผายบ่ายคล่อยพระลห้อยหานางห่างแห
คำนึงเนตรนิลดิ้นแด ดวงแขคือพบูชูรัก
หวังได้สมสู่อยู่สองแนบน้องขวัญอนงค์ทรงศักดิ์
ยิ่งโศกยิ่งแสนแค้นนัก หมายพักตร์มุ่งเพียรเวียนค้น
เวียงตรูอยู่ไหนในโลกทุกโกรกทั่วกรอกซอกหน
มุ่งท่องมองเที่ยวเทียวทน แค้นรคนเคืองรคายหมายเพียร
พงศ์เราเผ่าเลิศเชิดผู้ควรรู้มายาพาเหียร
เสียกลจนหลงวงเวียน น่าเฆี่ยนน่าฆาฏอาตมะ
มายามันหยอกหลอกหลอนชลฉ่อนท่วมท้นล้นสระ
เราไม่รู้ใจไทตยะอ.๙๔ เปะปะปีนลี้หนีน้ำ
ผิวกูรู้เท่าเค้าเล่ห์แม้ทเลมายามาคล่ำ
นิ่งไว้ให้มันสรรทำ จักซ้ำเติมได้ไป่มี อ.๙๕
ได้ยากเพราะเราเบาคิดเชื่อสนิทโง่ถนัดบัดสี
สุดแสนแค้นขุ่นมุ่นมี เสียทีเพราะเขลาเท่านั้น ฯ
๏ พระทรงกำสรดหมดคิดน้อยจิตต์นั่งเจ่าเหงาพรั่น
ผินพบูดูไปไกลพลัน เห็นวิหคผกผันโผมา
ไม่ชมผมข้าว่างาม กล่าวความพาดพิงอิงเท็จ
ลิ่ว ๆ ลุยฟ้ามาลิบ นกทิพย์ท่องทเลเวหา
สองตัวพัวพันกันคลาคาบพาอีกพิหงค์ม่งบิน
อมรสิงห์ซบองค์ทรงเร้น นกเห็นที่ว่างหว่างหิน
บินบ่ายหมายหน้าผานิลวางศพปักษินลงไว้ ฯ
๏ ปางพระอมรสิงห์นิ่งดู เห็นคู่หงส์เงินงามไข
คาบศพหงส์ทองยองใยมาใกล้ที่องค์ทรงเร้น
เกาะยั้งยังยอดภูผา เห็นท่าหงอยเหงาเศร้าเข็ญ
เหนื่อยหนักพักร้อนผ่อนเย็นคงเขม้นมุ่งไปไป่ช้า ฯ
๏ พระเสด็จแสดงองค์ทรงขาน อ้าท่านสองพิหคนกกล้า
ขนเงินงามเงาเพราตายิ่งกว่าปวงสกุณบุญแรง
ใช่นกธรรมดาข้าเห็น คงเปนเทพดามาแฝง
ในร่างนกต่ำจำแลงถูกแช่งปางหลังดังฤๅ
ข้าใคร่สอบความถามนก สองวิหคอย่าได้ไขสือ
อันศพหงส์สุวรรณนั้นคือศกุนีมีชื่อฉันใด
ท่านมาแต่ไหนใคร่ทราบ จักคาบกันจู่สู่ไหน
จงแถลงให้เราเข้าใจอย่าได้อางขนางพรางนาม ฯ
๏ สกุณยินผินเห็นมานุษ แสนสุดสดุ้งจิตต์คิดขาม
จวนตัวกลัวเลมิดเกิดความ กล่าวตามจริงใจไปพลัน ฯ
หงส์ทูลว่า ..
๏ ข้าแต่มานุษสุดกล้าสองข้ามุ่งหมายผายผัน
พาศพพญาหงส์ทรงธรรม์ สู่ด้าวแดนสวรรค์ชั้นบน
สระชื่อมานสะสระศรีอ.๙๖ เปนที่แสนสราญบานผล
อันพญาหงส์คำทำงน วายชนม์เมื่อเสด็จเตร็จบิน
ถึงกนกนครอ่อนล้าเธอถลาปีกหักปักหิน
เราเชิญศพพญาสามินทร์ สู่ถิ่นสระใหญ่ในฟ้า ฯ
         ๏ เมื่อนั้นองค์พระยุพราชชาติกล้า
ยินหงส์จำนรรจ์พรรณนา หัตถ์ขวาชักขรรค์ทันที
ขมีขมันถลันไปใกล้นกก่อนวิหคพาศพหลบหนี
เงื้อขรรค์ขู่ท่าราวี พลางมีวาจาตรัสไป ฯ
พระอมรสิงห์ตรัสว่า …….
๏ ดูราสองหงส์จงรู้ คำตูว่าวานขานไข
อันเรื่องเมืองคำอำไพข้าใคร่แจ้งถนัดชัดเจน
ประสงค์จงใจใคร่รู้ เล่าสู่บุตรทารหลานเหลน
ท่านอย่าหลีกเลี่ยงเบี่ยงเบนข้าเกณฑ์ให้พาข้าไป
คืนสู่เวียงคำซ้ำก่อน จึ่งย้อนกลับมาผาใหญ่
ศพพญาหงส์ทองยองใยพักไว้ที่นี่ดีแล้ว
จงตั้งวาจาสาบาล ว่าท่านทั้งสองผ่องแผ้ว
จักพาข้าไปไป่แคล้วตามแนวตูทรงบงการ
ผิวหนีคลี่ปีกหลีกหลบ อันศพเจ้าสกุณขุนห่าน
จักหั่นบั่นเล่นเปนทานอาหารแร้งกามาทึ้ง
หมายสู่มานสะสระเลิศ เชื่อเถิดมิให้ไปถึง
อย่าไถลไขสือดื้อดึงจงคนึงชั่งใจให้งาม ฯ
         ๏ บัดนั้น สองหงส์ได้สดับวับหวาม
ตรึกตรองถ่องแท้แน่ความเห็นตามคำทรงบงการ
จักหมายบ่ายเบี่ยงเลี่ยงล่อ ย่อท้อถ้อยกล่าวห้าวหาญ
จึงถวายปฏิญญาสาบาลจักทยานพาองค์ทรงภพ
ไปกนกนครก่อนอื่น แล้วคืนกลับมาพาศพ
สู่แหล่งโดยรบอบนอบนบไป่ตลบแตลงล่อข้อความ ฯ
๏ ทูลพลันสองหงส์ม่งหน้า             จากผาพานรินทร์บินข้าม
ป่าเขาเลาทุ่งมุ่งตามหนเหิรเพลินยามบ่ายคล้อย
งามสองปักษินบินโผน พระโหนคอหงส์ทรงห้อย
ปีกผสมลมส่งหงส์ลอยเหมือนพลอยพุ่งไปในฟ้า ฯ
๏ พระทอดทัศนาผาพฤกษ์ ล้วนพิลึกแลหลากจากหล้า
โขดเขาเขียวชอุ่มชุ่มตาลานหญ้าแลงามยามเย็น
เห็นช้างอย่างหมูดูต้อย (หมูน้อยดูไกลไป่เห็น)
เหล่านกผกปีกหลีกเร้นผินเผ่นผันออกนอกทาง
ถึงทเลเวลาสายัณห์ เห็นมหรรณพไกรใหญ่กว้าง
น้ำนิลดิ้นโลดโดดพลางครึนครางคือคลื่นครืนฟอง
สีทเลเล่ห์เนตรนวลศรี แต่มีขาดตกบกพร่อง
นิลทเลบ้าเบื้อเบื่อมองเนตรน้องนิลปลั่งดังเพ็ญ ฯ
๏ พระเพ่งพักตร์ไปในน้ำ เกาะก่ำกนกะพระเห็น
แสงทองส่องอร่ามยามเย็นคิดเช่นเวียงสวรรค์ชั้นฟ้า
แน่พระหฤทัยใช่อื่น แช่มชื่นสมกมลด้นหา
หมายพบสบถวิลจินดาภายน่านึกเกษมเปรมแด
เกาะก่องส่องศรีดิลก คือกนกนครเปนแน่
แสงคำก่ำล้วนชวนแลรังแกกวนใจให้ชม
จังงังบังคับจับตา แสนสง่าทรวดทรงส่งสม
เพลินเพ่งเล็งชล่าอารมณ์งวยงมจนหัตถ์พลัดพลัน
หลุดจากคอหงส์ลงฉิว ลิ่วๆ สู่ทเลเหหัน
อากาศปราศกิ่งสิ่งอันจักยันยึดเหนี่ยวเกี่ยวองค์
อึดเดียวเจียวขณะพระหล่น ด้นๆ ถึงอุทกตกผลง
กรรมนำกำหนดปลดปลง            ไป่คงชีพไปได้แล้ว
ชูพักตร์กวักชลด้นน้ำ คลาคล่ำคลื่นคนองคล่องแคล่ว
จักถึงซึ่งเมืองเรืองแพร้วมาแคล้วเมื่อใกล้ใจนึก
ยิ่งคิดยิ่งข้องหมองหมายจวนตายเจียวตูรู้สึก
ว่ายทึกนึกสทกอกทึกอ.๙๘ ในสมุทสุดลึกดึกล้น
เวียนว่ายบ่ายหน้าหาเกาะจักเหมาะทิศไหนใคร่ด้น
ผิวเตร่เร่ร่ายว่ายวน คือย่นชีวิตปลิดปลง ฯ
พระอมรสิงห์ตรัสว่า .......
๏ อ้าพญาปลาใหญ่ไกรเกียรติ์อย่าเคียดข้าจู่สู่หลัง
มัตสยากล้าล้ำกำลัง จงฟังคำข้าว่าวอน
ข้าใคร่ใจจำจำเพาะสู่เกาะสุกก่องทองก้อน
หมายมุ่งกรุงก่ำกำจร คือกนกนครข่มฟ้า
ประจักษ์จักลุอยู่แล้วคลาดแคล้วเพราะเปลี้ยเสียท่า
ขอพึ่งการุญคุณปลา พาข้าสู่เกาะเหมาะนึก ฯ
๏ บัดนั้นปลาใหญ่ได้ยินหน่อนรินทร์กล่าวความยามดึก
คลี่ครีบรีบไปในทึก ปลาถึกทูลถามความไป ฯอ.๙๙
ปลาถามว่า .......
๏ ดูรามานุษสุดคล่องท่านท่องทางหลากจากไหน
ประสงค์ม่งสรรอันใด จึงใคร่ถึงทวีปรีบร้อน
มีเรื่องเบื้องเก่าเรารู้แต่สูกล่าวไขไปก่อน
หนึ่งข้าใคร่ถามนามกร อันเปนเหตุร้อนรึงมา
โฉบตรูอยู่ไหนใคร่แจ้งหลักแหล่งบ้านเมืองเรืองหล้า
แม้นเข้าเค้าที่มีมา จักพาสู่ทวีปรีบไป ฯ
         ๏ เมื่อนั้นอมรสิงห์ยิ่งทรงสงสัย
ยิ้มพลางนางมีพจมาน อ้าท่านผู้เยี่ยมเทียมสีห์
มีเรื่องเบื้องหลังครั้งไร กูไม่รู้เลยเคยเปน
ปลาถามควรเราเล่าบอก จักหลอกทำไมไม่เห็น
มันเสมอมีปีกหลีกเร้นลวงเล่นจักเลมิดเกิดความ ฯ
พระอมรสิงห์ตรัสตอบว่า .......
๏ ดูราปลาใหญ่ใจกล้า อันข้าอกคับวับหวาม
เพราะเสน่ห์นวลนงองค์งามเหลือห้ามเหลือหักรักเรื้อ
ชาดามหาราชชาติสีห์ ชัยทัตฤทธีเทียมเสือ
เสนาคณามาตย์ชาติเชื้อ โอบเอื้อเอาภารกานดา
อันพระยุพยงนงราม ทรงนามนางกนกเรขา
เวียงรามงามสมสมญาอินทิราลัยเกษมเปรมทรัพย์
ตูข้ามาเดียวเที่ยวท่อง สืบเรื่องเมืองทองซ้องศัพท์
อุตส่าห์ฝ่าดงองค์ยับหวังกลับไปถวายรายงาน
ต่อราชนารีศรีภพ เพื่อสบประสงค์ทรงขาน
อันเรื่องเบื้องเก่าเบาราณเชิญท่านเล่าสู่ตูฟัง ฯ
ปลาตอบว่า .......
๏ อ้ามานุษสุดกล้าสามารถ พจนาตถ์บอกเบื้องเรื่องหลัง
ลาดเลาเค้าความตามดังเรื่องดั้งเดิมนั้นอันมี
ชาติก่อนกอบกรรมทำบาป ตกตามความสาปฤๅษี
ได้พึ่งซึ่งองค์ทรงตรีจึ่งมีความปลอดรอดภัย
ฝ่ายข้าหน้าที่มีอยู่ จักให้ไปสู่เกาะใหญ่
โองการพระวรุณคุณไกรเธอให้ตูมาพาเมื้อ ฯ
พระอมรสิงห์ตรัสว่า .......
๏ อ้าพญามัจฉากล้าคลื่นท่านฟื้นสงสัยใหญ่เหลือ
จินดาการุญจุนเจือ เปนเรือเร็วพาข้าไป
โองการพระวรุณคุณเลิศเรื่องเกิดเดิมดั้งครั้งไหน
กรรมกี้มีเรื่องเบื้องไร เหตุไฉนทราบถนัดชัดดี ฯ

----------------------------------------------------------------------------

อ.๘๘  “เล่ห์ลึกทึกใหญ่ไหลมา”. “ทึก” แปลว่าน้ำ. ↩
อ.๘๙  “น้ำคือคงคามาหลง”. “คงคา” คือแม่น้ำพระคงคา. ↩
อ.๙๐  “ตามเรื่องโบราณนานมา”. ตรงนี้กล่าวถึงเรื่องแม่น้ำพระคงคาลงมาจากสวรรคตกสู่พื้นดินโดยแรง จนเปนที่วิตกว่าโลกจะแตก พระอิศวรจึงเอาพระเศียรเข้ารับไว้ แม่น้ำพระคงคาตกลงบนพระเศียรพระอิศวร เที่ยวหลงวนเวียนอยู่ในพระเกศาช้านานจึงไหลเลยไปอื่นได้ (ดู อ. ๓) ↩
อ.๙๑  “บรรดาลเปนเต่ามาช่วย”. ตรงนี้กล่าวถึงกูรุมาวตาร คือปางเมื่อพระนารายน์อวตารเปนเต่า. ↩
อ.๙๒  “รำไพไขกลบลบดาว”. “รำไพ” คือพระอาทิตย์. ↩
อ.๙๓  “ผาล้ำเราเห็นเปนศาล”. “ศาล” คือตนไม้ ต้นรัง Shorea robusta. ↩
อ.๙๔  “เราไม่รู้ใจไทตยะ”. “ไทตยะ” คือแทตย์. ↩
อ.๙๕  “จักซ้ำเติมได้ไป่มี”. มายาชนิดที่นางแทตย์แสดงหลอกอมรสิงห์นี้ กล่าวกันว่าเปนมายาที่ล่อให้เห็นไปเท่านั้น ถ้าไม่กลัวแล้วจะทำร้ายอะไรก็ไม่ได้ เช่นหลอกให้เห็นเปนน้ำท่วม ถ้าผู้ถูกหลอกไม่กลัวแลไม่หนี น้ำก็ไม่ท่วมจริง หรือถ้าทำมายาให้เห็นเปนเสือจะเข้ากัด ถ้าไม่กลัวแลไม่หนี เสือก็ไม่กัด เพราะเสือไม่มี มีแต่มายาที่ทำให้เห็นเปนเสือเท่านั้น แต่ถ้าผู้ถูกหลอกตกใจวิ่งหนี ก็อาจเกิดอันตรายเพราะเหตุอื่น เช่นหกล้ม หรือ “ดีฝ่อ” เปนต้น ตามคำที่เล่าก่นว่าผีหลอก ก็ดูเปนทำนองอย่างนี้ ไม่ปรากฎในคำเล่าบอกว่าผีเข้าทำร้ายคนได้ เปนแต่หลอกให้ตกใจกลัวเท่านั้น. ↩
อ.๙๖  “สระชื่อมานสะสระศรี”. สระชื่อนี้ กล่าวว่าเปนหนองบุญอยู่บนเขาไกลาส เปนที่เกิดเดิมของหงส์ (คือห่านคอยาวเรียวซึ่งอังกฤษเรียก Swan) แลกล่าวกันว่า หงส์ทั้งหลายยอมพากันไปยังสระนี้ทุกๆ ปีในฤดูไข่ หรือก่อนฤดูมรสุม. ↩
อ.๙๗ “เล่าสู่บุตรทารหลานเหลน”. “ทาร” แปลว่าเมีย. ↩
อ.๙๘  “ว่ายทึกนึกสทกอกทึก”. “ทึก” มีความเปน ๒ นัย คือ (๑) คำเขมรแปลว่าน้ำ (๒) อาการความเต้นเเห่งอก. ↩
อ.๙๙  “ปลาถึกทูลถามความไป”. “ถึก” เปนคำไทยเก่า. แปลว่าตัวผู้ ใช้สำหรับสัตว์เท่านั้น เช่นม้าถึกแปลว่าม้าตัวผู้เปนต้น. ↩
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06 ธันวาคม 2561 12:49:57 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #9 เมื่อ: 07 ธันวาคม 2561 15:36:35 »


อ.๕๒                                      
       . กนกนคร  .
       พระนิพนธ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ (น.ม.ส.)

ปลาตอบว่า .......
๏ ข้าหรือคือพญามกระอ.๑๐๐ พาหนะพระวรุณเรืองศรี
รู้เรื่องเบื้องหลังดังมี เพราะพระวารุณีวัลลภะอ.๑๐๑
ทรงสังสนทนาพาทีกับพระตรีศุลีอีศะ
เดชะพระมหากาละอ.๑๐๒ มอบธุระพระวรุณบุญฤทธิ์
เมื่อท่านตกน้ำคล่ำคลื่นให้ฟื้นชีพชูสู่ดิตถ์
ภาระพระวิศวชิตอ.๑๐๓ มอบตูผู้สนิทนิตย์น้อม
ไม่ทราบคำสาปใครสาป แม้นทราบก็ทราบอ้อม ๆ
อย่าโกรธโหดเหี้ยมเกรียมกรอม อดออมหฤทัยไว้ดู
บัดนี้ตูพาฝ่าคลื่นถึงตื้นใกล้เกาะเหมาะอยู่
จงละบัลลังก์หลังตู ว่ายสู่เกาะทองผ่องพิศ
แม้นเราเข้าไปใกล้หนักเผลอจักพลั้งตัวกลัวติด
จงสบอารมณ์สมคิด ปลดปลิดทุกข์เปลื้องเรื่องร้าย ฯ
         ๏ เมื่อนั้นอมรสิงห์เสือกองค์ทรงว่าย
แขงขืนคลื่นชลอยอกาย พอพระสุริย์ฉายผายฟ้า
เกาะทองก่องแท้แลเห็นหมายเปนที่สุดอุตสาห์
ดีใจได้แรงแขงมา ถีบถาถึงฝั่งดังจินต์
อ่อนนักพักพิศปลิดเมื่อย สุดเหนื่อยแสนเหน็บเจ็บสิ้น
อกห่อศอแหบแสบลิ้น พื้นหินเหมือนฟูกถูกใจ
ล้มองค์ลงอ่อนหย่อนเหนื่อย      ลมเฉื่อยชวนรงับหลับใหล
นานนอนผ่อนองค์ทรงชัย แทบใกล้ฝั่งสมุทสุดเย็น
ฝันนาวาน้อยลอยสระปัทมะแข่งแขแลเห็น
นงรามงามจริงยิ่งเพ็ญ นั่งเล่นในเรือเหนือน้ำ
หัตถ์ขาวท้าวคางนางน้องเนตรจ้องอัมพุชสุดขำ
รัศมีสีครามงามล้ำ ส่องกล้ำกลบกลั้วบัวบาน
บัวขาวพราวน้ำจำรัสรับรัศมีครามงามน่าน
กลายเปนบัวนิลกลิ่นนาน หอมหวานวอนใจให้แล ฯ
๏ อมรสิงห์นิ่งนิทร์ปลิดล้าเห็นหน้านวลน้องผ่องแข
ผวาตื่นฟื้นองค์ทรงแล เปลี่ยนแปรไปตามความเปน
ความหลับกลับดีมีสุขความตื่นฟื้นทุกข์ขุกเข็ญ
เธอคนึงถึงนงองค์เพ็ญ พลางเห็นเวียงทองผ่องแท้
หมายหามาเห็นเช่นหาบุญตาเจียวตูรู้แน่
ควรเราเข้าใกล้ไปแล เบาะแสข่าวสารฐานความ ฯ
เบาะแสข่าวสารฐานความ ฯมหาธาตุแถวถนนล้นหลามอ.๑๐๔
หินทองรองลาดดาดงาม ตึกรามแลล้วนชวนตา
ก่ำทองก่องแก้วแพรวเพริศควรเชิดชูเร่เวหา
ปราสาทชาตรูปจูบฟ้าอ.๑๐๕ สูงสง่าเงื้อมเยี่ยมเทียมนคอ.๑๐๖
ปราการกาญจนาภาพร้อยหอคอยคำแนมแกมหยก
หิรัณย์ศาลามาฬกอ.๑๐๗ เบื่อกนกแพรวพราววาวตา ฯ
๏ เช้าบ่ายร่ายเร่เตร่เตร็จ พระเสด็จลดเลี้ยวเที่ยวหา
จนจิตต์คิดค้นคณนาใฝ่หามูลเหตุเลศใด
เวียงร้างกลางน้ำก่ำเก็จ กาญจน์เพ็ชร์พลอยมุกด์สุกใส
เกาะหม้ายกรุงหม้ายหมายใจหาใครชาวชนพลเมือง
ไม่พบสักผู้กูค้น อั้นอ้นใจอดหมดเรื่อง
ยังมหาปราสาทมาศเรื้องจักเยื้องยาตร์ใกล้ไปดู
เข้าได้ควรเราเข้าค้น มีคนฤๅใครไม่อยู่
เก็บเล็มเต็มตามความรู้คืนสู่ยุวดีศรีภพ
เพื่อถวายรายงานการเที่ยว ลดเลี้ยวซอกซนจนสบ
บั่นบุกทุกแห่งแจ้งครบเจนจบความรู้กูล้น ฯ
๏ เสด็จทอดทัศนาปราสาท ยุพราชเดินเดียวเที่ยวด้น
งามทวารบานคำอำพนซุ้มปพาฬกาญจน์พ้นอำไพ
อัฑฒจันทร์คือจันทร์พรรณแพร้ว     สกาวแก้วแกมทองส่องใส อ.๑๐๘
ดูสดมภ์ชมเดินเพลินใจอ.๑๐๙ พื้นอุไรรับผนังฝังนิล
เพดานพิศดารกาญจน์แก้วดาริกาภาแพร้วเพริศสิ้นอ.๑๑๐
ทุกห้องอ่องโอ่โศภิน ยิ่งถวิลยิ่งพวงสงกา ฯ
๏ รเมียรมองห้องกลางกว้างใหญ่หฤทัยรัญจวนหวนหา
เห็นอาสน์มาศเอี่ยมเยี่ยมตา อาภาพรรณ์มณีมีนพ
เหนือแท่นแผ่นกนกปกลาดกลางอาสน์สำอางวางศพ
พระคนึงทัศนาปรารภ มาพบทรากใครในนี้
เวียงร้างวังร้างกลางคลื่นงามรื่นมโนรถสดสี
ปราศคนปราศสัตว์ปัฐพี ซึ่งมีชีวิตจิตต์ใจ
ศพนี้ศพเดียวเจียวหนอเครื่องส่อสัญญาว่าได้ -
เคยมีร่างกายหายใจ เปนใกล้สิ่งมีชีวิต
ขออภัยให้ตูดูหน้าเปิดผ้าผืนกนกปกปิด
ยลพักตร์สลักทรวงบ่วงพิษ ตกตลึงอึ้งจิตต์ติดตา ฯ
๏ เพราะศพซึ่งพระมาพบคือศพนางกนกเรขา
ขยี้เนตรเหตุเหลือเชื่อตา เปนบ้าฤๅฝันฉันใด
นางอยู่ดี ๆ ที่โน่นเมื่อโน้นยุพยงทรงไล่
เราหนีลี้นอกวังใน หวังใจจักแสวงแหล่งตรี
บุกป่าฝ่าทเลเตร่จบไฉนศพศรีพธูอยู่นี่
ขวัญอนงค์องค์สอางอย่างนี้   ไป่มีสองได้ในภพ ฯ
๏ พระเพ่งเล็งตลึงอึ้งอยู่เหมือนตปูกรึงไว้ใกล้ศพ
หฤทัยไหม้ฮือคือคบ เหลือรบเหลือสู้ผลูกรรม
กำสรดหมดสติตริตรึกท่อทึกนัยนาคลาคล่ำ
นานนิ่งยิ่งในใจช้ำ จวบค่ำพระตลึงอึ้งแล ฯ
๏ ค่อยๆ บรรจงทรงปิดภูษิตคลุมพักตร์เพ็ญแข
ย่องออกนอกห้องหมองแด ท้อแท้หฤทัยไข้ครวญ
ถึงคั่นบันไดใกล้สระจึ่งพระผู้ช้ำกำสรวล
อยุดนั่งยั้งคนึงถึงนวล รัญจวนเจียนพรากจากชนม์
เหมือนเลมอเธอฝันตื่นๆเครงคลื่นซัดซ่ากาหล
แว่วคำจำเรียงเสียงคน เสาะค้นสืบข่าวป่าวร้อง
ยินพยุดุปัดพัดคลื่นครืนๆ โครมครึกกึกก้อง
เสียงตรังค์ดังเยี่ยงเสียงฆ้องอ.๑๑๐ เพรียกพร้องพร่ำป่าวข่าวไป
หาผู้รู้เรื่องเมืองมาศ คู่ราชนารีศรีใส
สมบัติขัติยาธิปตัย จักให้แบ่งกึ่งพึงพอ
เสียงตรังค์ฟังไปใช่คลื่น ครื้นๆ มาเครียวเจียวหนอ
เสียงคนเสียงฆ้องร้องคลอ สอๆ กันมาหากู ฯ
๏ ดึกดื่นตื่นเลมอเธอฝัน จนตวันเยี่ยมหาวเช้าตรู่
พระตื่นจากฝันผันดู ปราสาทมาศตรูตาชม
ตริตรึกนึกในใจพระ เกษมะหมายไว้ไม่สม
เคลื่อนคลาศปราศเครื่องเรืองรมย์ จำก้มพักตร์กลับฉับพลัน
สู่อินทิราลัยไกรเกรื่อง เล่าเรื่องวนิดาอาสัญ
มาพบศพน้องหมองพรรณ อัศจรรย์ใจร้าวราวพัง
จักกลับกลับไฉนใช่ง่าย หวังว่ายข้ามสมุทสุดหวัง
จำเปนจำกูอยู่ยั้ง นิ่งนั่งนึกหาท่าทาง
กายกูดูรอาลามก สกปรกขุ่นคล้ำดำด่าง
จำจักจุ่มองค์ลงล้าง ในอ่างทองคำก่ำนี้ ฯ
๏ พระเสด็จโดดดำชำระ เสยสะเศียรองค์ทรงศรี
ผุดโผโผล่จากวารี พอดียินข่าวป่าวไป ฯ

เจ้าเอยเจ้าข้า ใครยินอย่าช้า เร่งมาเร็วไว ฟังคำประกาศ ดังราชหฤทัย ถอยคำจำไป สืบส่อต่อกัน ฯ
ชายดีมีชาติ ควรสู่คู่ราช ชาดาลาวัณย์ เคยเห็นเมืองทอง งามผ่องเพียงจันทร์ จงเฝ้าเจ้าอัน ทรงสิทธิ์ฤทธี ฯ
ท้าวจักยอยศ ลือชาปรากฎ เกียรติ์แกว่นแดนตรี จัดสรรปันให้ ราไชศวรศรี สารพรรณอันมี แบ่งมอบครอบครอง ฯ
หนึ่งจะประทาน ยุพยงนงคราญ ลักษณ์ล้ำลำยอง องค์กนกเรขา บุบผาผิวทอง ประคับประคอง เปนคู่ชูใจ ฯ
ชายดีมีชาติ แจ้งเรื่องเมืองมาศ สู่ราชเร็วไว รางวัลอันยิ่ง ทุกสิ่งสมใจ กอบโกยโดยนัย ที่ประกาศเอย ฯ


๏ อมรสิงห์นิ่งฟังยั้งตรับ ทรงสดับคำข่าวกล่าวเผย
ร่ายร้องซ้องเสียงเยี่ยงเคย               พระเงยพักตร์ชแง้แลดู
เห็นคนไปมาคลาคล่ำ เร่ร่ำล้นหลามตามผลู
ผิดแผกแปลกใจใคร่รู้ เราอยู่เกาะทองผ่องพริ้ง
อาบในสระคำดำมุด มาผุดในสระผีสิง
กรุงอินทิราลัยไกลจริง คิดกริ่งหฤทัยใช่น้อย
ขยี้เนตรแยงกรรณพรั่นจิตต์ วิปริตหูตาบ้าถ่อย
นิ่งฟังนั่งมองร่องรอย ยินถ้อยคำคนพลเวียง
เต็มหูรู้แน่แลเห็น ความเปนอันแท้แซ่เสียง
ยินป่าวกล่าวซ้ำจำเรียง สำเนียงพระประสงค์บงการ
แห่งท้าวชัยทัตฉัตรเชิด ยิ่งเกิดความทรงสงสาร
อันพระยุพยงนงคราญ สิ้นปราณไปแล้วแคล้วรัก
เหตุไฉนยังกล่าวป่าวร้อง เพรียกพร้องพล่อย ๆ บ่อยหนัก
น่าพวงสงสัยใจนักจักซักสอบความถามดู
พระอมรสิงห์ตรัสว่า .......
๏ อ้าราชบุรุษอยุดก่อน ด่วนย้อนเดินไยในผลู
อันองค์ยุวดีศรีตรู ยังอยู่แห่งใดในดิน
คำที่ตีฆ้องร้องป่าว เปนข่าวจริงจังทั้งสิ้น
ฤๅเปนเช่นใดใคร่ยิน บอกรบิลไปเถิดเปิดความ
ข้านี้มีข่าวกล่าวชาน หลักฐานติดต่อข้อถาม
อาจแถลงแจ้งเรื่องเมืองงาม สมตามจอมกษัตร์ตรัสมา ฯ
         ๏ บัดนั้น ราชบุรุษได้ฟังกังขา
ชายนี้นี่ใครไหนมา เสื้อผ้าเปียกน้ำรำคาญ
กิริยาท่าทางอย่างกล้า เจรจาองอาจฉาดฉาน
ควรเราเล่าข้อส่อการณ์ ข่าวสารสืบสวนทวนความ ฯ
ราชบุรุษตอบว่า .......
๏ ดูราชายชาญหาญกล้า เจรจาปราศท้อข้อถาม
อันพระยุพยงนงราม บอกตามลาดเลาเรารู้
เนามหาปราสาทราชฐาน บริวารแวดล้อมพร้อมอยู่
นงรามงามฉวีศรีภู ไร้คู่ควรเคียงเรียงพักตร์
พระบิดาหาผู้ชูชาติ ชายฉลาดเชาวน์เฉลิมเสริมศักดิ์
หวังสองครองกันมั่นรัก เพิ่มภักดีราษฎร์ปราศทุกข์
สมบัติจัดสรรปันให้ เพื่อได้ผดุงเผดิมเหิมสุข
แต่จักอุปถัมภ์ทำนุก เฉพาะบุคคลผู้รู้ความ -
ในเรื่องเมืองทองก่องแก้ว ผ่องแพร้วเพริศลบภพสาม
ชายใดได้เรื่องเมืองงาม ทูลความพระดนุชบุตรี
ทรงซักหลักพยานฐานเค้า ลาดเลาเลศขบวนถ้วนถี่
จักทรงทราบพลันทันทีผิวมีความสัตย์ชัดจริง
แม้นบอกหลอกลวงบ่วงเท็จ สำเร็จอย่าหมายร้ายยิ่ง
คือปลดชีวิตปลิดทิ้ง จักกลิ้งกลางดินสิ้นปราณ
แม้นสูรู้เรื่องเมืองทอง ทำนองทรงธรรม์บรรหาร
จักให้ไปสู่ภูบาล เพื่อท่านเพ็ดทูลมูลความ ฯ
         ๏ เมื่อนั้น อมรสิงห์กริ่งเค้าเขาถาม
จักบอกออกเหตุเขตคาม ไปตามจริงใจไป่ควร
ตรัสว่าอ้าท่านชาญเชาวน์ ข่าวเราเหลือแปลกแผกผวน
ใช่กล่าวเกลื่อนกลบทบทวน โดยขบวนปดโป้โลภะ
พูดเท็จเผด็จสัตย์ขัดขวาง เปนทางงงโง่โมหะ
เข็ดบาปหลาบจำธัมมะ ตูจะบอกความตามตรง
แต่จักแจ้งชัดบัดนี้ เกรงมีความคลาดมาดม่ง
ขอทูลความลับกับองค์ ยุพยงยอดหญิงมิ่งเมือง ฯ
๏ บัดนั้น ราชบุรุษไม่เห็นเปนเรื่อง
ตอบว่าอย่าวุ่นขุ่นเคือง เปนเครื่องให้เราเข้าร้าย
ครั้งก่อนมีชายหมายโชค มาโหยกเหยกเล่นเห็นง่าย
มันไม่รักตัวกลัวตาย ทูลขยายเยี่ยงปดคดเค้า
หมายมั่นสันดานพาลเติบ กำเริบลวงล่อล้อเจ้า
จับได้ไม่ฆ่าพาเรา ให้เข้าเนื้อด้วยช่วยมัน
เจ้าอย่ามาทำกำเริบ อิ่มเอิบอวดเล่นเห็นขัน
แม้นเราเบาใจไม่ทัน รู้เท่าเจ้าอันมาลวง
จักถูกตำหนิติฉิน ภูมินทร์กริ้วโกรธโทษหลวง
วาจาบ้าเบื้อเหลือตวง จาบจ้วงจงใจในเท็จ
เจ้าอย่ามาเล่นเช่นนี้ท้าวมีอาญาข้าเข็ด
โง่ๆ โป้ปดคดเคล็ด จักเสร็จสมหวังดังฤๅ ฯ
         ๏ เมื่อนั้น อมรสิงห์นิ่งไว้ไขสือ
ความเก่าเอากลับมารื้อ จักถือโทษไซร้ไป่ควร
คราวก่อนกูบอกออกเท็จ เขาเข็ดคำข่าวกล่าวด้วน
สืบหลักซักถามลามลวน สอบสวนข้อขานฐานเค้า
แม้นกูกระตือรือร้น ฝูงคนคงหาว่าเขลา
เห็นบ้าบึ่มบ่ำคำเรา ไม่เอาเปนส่ำนำพา
กูจักเล่นตัวยั่วคิด ให้จิตต์มันงั่งกังขา
คำป่าวข่าวขานนานช้า ครั้นหาพบแล้วแคล้วไป ฯ
พระอมรสิงห์ตรัสว่า .......
๏ อ้าท่านหาญเหลือเชื่อจิตต์ ว่าคิดแม่นยำคำไข
เห็นมั่นฉนั้นแล้วๆ ไป ตามใจจงเลี้ยวเที่ยวร้อง
แห้งหืดฝืดแหบแสบศอ ร้องคลอเสียงคล้องฆ้องหม่อง
เสียงท่านขานแข่งแย่งฆ้อง เสียงร้องเสียงเคาะเหมาะนัก
คอฆ้องร้องไกลไม่แสบ คอคนคับแคบแสบหนัก
ท่านท่องร้องร่ายหลายพัก ประจักษ์เปนแน่แพ้ฆ้อง
อนึ่งพระภูบาลผ่านหล้า ให้มาสืบข่าวป่าวก้อง
หาผู้รู้เรื่องเมืองทอง คู่ครองขวัญอนงค์ทรงลักษณ์
ท่านเที่ยวเลี้ยวเลาะเสาะถาม สืบตามประสงค์ทรงศักดิ์
ส่วนข้าหน้าม่งจงรัก ภูลภักดีองค์ทรงภพ
ทรามเรื่องเมืองนั้นมั่นเหมาะ เหตุเพราะข้าได้ไปสบ
หมายพึ่งจึ่งมาคารพ นอบนบจอมกษัตร์ฉัตร์ฟ้า
ความรู้สู่องค์ทรงเดช โดยเหตุข้าได้ไปหา
ท่านไม่ฟังคำนำพา ต่อหน้าที่ซึ่งพึงทำ
สบช่องส่องทางกว้างให้ ทรงชัยทราบเรื่องเมืองก่ำ
ท่านทิ้งโอกาสปราศธรรม พูดพล่ำผิดพลาดลาดเลา
เปนข้าหน้าที่มีชัด ปฏิบัติโดยนัยใจเจ้า
ความรับผิดชอบรอบเค้า ย่อมเนาในท่านดาลร้อน
ตามใจไม่เอื้อเฟื้อข้า ขอลาคลาไคลไปก่อน
โอกาสความรู้ภูธร จักจรกับข้าพาไป
เชิญท่านเที่ยวเลาะเสาะร้อง เคาะฆ้องจำเรียงเสียงใส
อันผู้รู้เรื่องเมืองไรอ.๑๑๒ หาได้เชิญหาอย่าท้อ ฯ
         ๏ บัดนั้น ราชบุรุษฟังไปใจฝ่อ
หนักอกตกใจใฝ่ง้อ เห็นข้อบกพร่องถ่องแท้
ป่าวร่องมานานปานนี้ ทุกที่เที่ยวเสาะเบาะแส
ท่องสื่อสอๆ จอแจ เห็นแน่ว่าใครไม่รู้
ชายนี้มีท่าว่าทราบ โชคลาภมาเอื้อเกื้อกู้
ควรสดับยับยั้งฟังดู อาจรู้จริงจิงดังคำ
จำเปนพาไปให้เฝ้า ทูลเค้าคำกล่าวข่าวขำ
แม้นปดคดข้อก่อกรรม จักนำโทษใหญ่ใส่มัน
พลั้งพลาดอาจเราเข้าเนื้อ แต่เหลือจักแก้แปรผัน
เคราะห์เข็ญเปนไรเปนกัน โทษทัณฑ์ยอมเสี่ยงเที่ยงแท้ ฯ
ราชบุรุษกล่าวว่า .......
๏ อ้าท่านพาลโกรธโหดเหี้ยม อย่าเกรียมใจกริ่งยิ่งแก้
เอาเล่นเปนจริงดิ่งแด รีบแร่เร็วไปไป่ควร
คำเราเย้าถามตามเห็น ว่าเปนเชิงชอบสอบสวน
ใช่สภาพหยาบหยามลามลวน ทบทวนเกินเหตุเลศเลา
มาเถิดมาไปในวัง เพื่อฟังโองการผ่านเกล้า
จงทูลมูลความตามเค้า ใช่เปล่าปราศทางอ้างอิง ฯ
๏ พูดพลางพากันผันผาย ตัวนายนำหน้าพาวิ่ง
เหย่าๆ เต้าไปไกลจริง อมรสิงห์พักตร์เพ่งเร่งร้อน
เหมือนภัยไล่หลังตั้งหน้า แล่นถลาเล่ห์ลี้ผีหลอน
ถึงวังบังคมภูธร ยอกรทูลความตามมี ฯ
         ๏ เมื่อนั้น องค์ท้าวชัยทัตเทียมสีห์
สถิตอาสน์มาศรัตน์รูจี นฤบดีเห็นเขาเข้ามา
พร้อมทั้งอมรสิงห์พริ้งรูป ผอมซูบแต่ดูรู้หน้า
กริ้วกราดตวาดเหม่เสนา ปล่อยบ้าเข้าวังดังฤๅ
อ้ายนี่ขี้คดปดโป้ โยโสพูดจาบ้าดื้อ
โทษทัณฑ์อันหนักจักรื้อ ขึ้นหรือหมายมั่นฉันใด
ครั้งก่อนหลอนหลอกบอกเรื่อง   ข่าวเมืองคำก่องส่องใส
ครั้นซักหลักเปื้อนเลือนไป ใส่ใคล้พูดเล่นเห็นดี
มาหลอกแล้วหลีกอีกหรือ สองมื้อหมายเห็นเปนผี
คราวก่อนห่อนดังครั้งนี้ จักขยี้ชีวิตปลิดปราณ ฯ
         ๏ เมื่อนั้น หน่อนรินทร์ยินราชบรรหาร
บังคมก้มราบกราบกราน ภูบาลอย่าเผด็จเม็ตตา
ข้านี้มีบุญหนุนกรรม ทรงธรรมจงฟังดังว่า
ขอเฝ้าเยาวมาลย์กานดา ตั้งหน้าทูลความตามจริง
ใช่คิดติดต่อข้อเท็จ สำเร็จด้วยหลอกกลอกกลิ้ง
จักทูลหลักทางอ้างอิง ทุกสิ่งแต่สัตย์อัตรา
แม้นทูลความเท็จเคล็ดคด ปรากฎแก่นรินทร์ปิ่นหล้า
พระจงลงราชอาชญา เข่นฆ่าข้าบาทฟาดฟัน
ได้เฝ้าเจ้าหญิงมิ่งรัฐ ข้อความตามสัตย์จัดสรร
ทูลแล้วแล้วแต่ทรงธรรม์ จักทำห้ำหั่นบั่นตี
ยอมเปนยอมตายวายชีพ ขอรีบทูลเรื่องเบื้องกี้
ซึ่งตูรู้ถนัดชัดดี ภูมีจงทราบบทมาลย์ ฯ
         ๏ เมื่อนั้น นฤบดินทร์ยินคำร่ำขาน
ตรองกริ่งนิ่งตรึกนึกนาน มันหาญคำห้าวกล่าวท้า
แม้นไม่จริงจังดังบอก ลวงหลอกจับได้ให้ฆ่า
อาจเปนเช่นมันสัญญา ฤๅบ้าบ่ำบุ่มกลุ้มกาย
ควรคิดรอบคอบสอบสวนทบทวนท่าทางอย่างหมาย
มักไม่รักตัวกลัวตาย จักวายชีวิตปลิดปราณ ฯ
๏ ตริตรึกนึกมั่นฉันนี้ ภูมีมีราชบรรหาร
ให้รีบเร็วไปไป่นาน เชิญองค์นงคราญขึ้นมา ฯ
         ๏ เมื่อนั้น โฉมยงองค์กนกเรขา
ทราบคำดำรัสราชา สุภคาขึ้นเฝ้าภูมี
เคารพนบน้อมจอมภพ ผินสบยุพราชปราศศรี
แลตลึงอึ้งสิ้นอินทรีย์ ยุวดีเดือดใจใคร่จำ
มีอไรลับลึกนึกได้ แล้วอไรปางบรรพ์หั่นห้ำ
ชาติก่อนกอบก่อต่อกรรม จวนจำได้แล้วแคล้วไป
คลับคล้ายคลับคลาน่าแค้น จั๊กแหล่นจักรู้อยู่ไหน
เลือนๆ เหมือนหมอกหลอกใจ ทรามวัยพิศวงสงกา ฯ
๏ ฝ่ายพระยุพราชปราศคิด พระจริตฟั่นเฟือนเหมือนบ้า
เห็นองค์นงขวัญกันดา นัยนานองอาบซาบองค์
ซบพักตร์สลักทรวงบ่วงโศก เหมือนโรครึงใจใหลหลง
เงยเห็นเพ็ญเนตรนวลนง แสงส่งรัศมีสีนิล
ลืมรกำลำบากยากเข็ญ เปลี่ยนเปนปลื้มปลาบซาบสิ้น
หัตถ์อ่าหาองค์นงพินทุ์ แดดิ้นเดือดใคร่ได้ครอง ฯ
๏ ฝ่ายพระยุพยงทรงยศ ถอยถดออกห่างพลางจ้อง
เห็นท่าบ้ารห่ำลำพอง มาคนองนึกหยามลามลวน
ความรลึกชาติได้ใกล้ถึง พอขึ้งเคียดพลันผันผวน
ลืมสนิทปลิดปลดหมดมวญ อักอ่วนอกโกรธโทษร้าย
วานซืนชายนี้มีหน้า เข้ามาหลอกเล่นเห็นง่าย
ปล่อยไปในเกณฑ์เดนตาย ยังหมายกลับมากล้าลวง
หาญใจในเท็จเคล็ดคด เลี้ยวลดเริงใจใหญ่หลวง
แสนซูบลูบหน้าตากลวง เหมือนขวงแค่นมาน่าแค้น ฯ อ.๑๑๓
นางกนกเรขาตรัสว่า .......
๏ อ้าบุรุษสุดคล่องท่องเที่ยว ฉลาดเฉลียวรู้ภพจบแผน
น่าขามความรู้คู่แมน มั่นแม่นมรรคาพาที
ข่าวเมืองมุสามาแสร้ง ส่อแหล่งแสนหลากสากษีอ.๑๑๔
ลาดเลาเล่าไปให้ดี ครั้งนี้เจ้ากล้าน่ากลัว
แม้นมาปดโป้โอหัง อีกครั้งเหมือนเหี้ยเสียหัว
หมายมีชีวิตติดตัว อย่ามัวหมายเปล่าเบาความ
โอกาสครั้งนี้ที่สอง อย่าปองว่ามีที่สาม
จงนึกตรึกไตรให้งาม พยายามปดไปให้เพราะ ฯ
         ๏ เมื่อนั้น หน่อนรินทร์ยินพจน์หมดเหมาะ
โฉมยงทรงเฉลยเย้ยเยาะ เหมือนเฉาะด้วยมีดกรีดริ้ว
พระยินนางเยาะเพราะโสต นางโกรธๆ ไปไม่กริ้ว
บุญญาพาทีหนีปลิว เนตรหิวเห็นนางพางกลืน
จักพูดๆ ไปไป่ออก จักบอกๆ ยากขวากขืน
เสียงติดศอตันยันยืน ยิ่งฝืนยิ่งฟกอกร้าว
สองครั้งสามครั้งตั้งหน้า จักพยายามแสดงแจ้งข่าว
อึดอัดขัดรคายหลายคราว จึ่งกล่าวโดยคดีมีมา ฯ
พระอมรสิงห์ทูลนางว่า .......
๏ อ้าองค์ยุวดีมีศักดิ์ นางจักทำไฉนไม่ว่า
ไป่ลี้หนีราชอาชญา จักฆ่าฤๅเฆี่ยนเจียนตาย
ข้าขอทูลถามความขำ เงื่อนงำโฉมยงทรงฉาย
ตูฉงนจนใจไม่วาย มั่นหมายมาทูลมูลมี
นางมีชีวิตพิศเห็น เหมือนเพ็ญจันทร์ตรูอยู่นี่
เหตุไฉนในกนกธานี จึ่งมีศพนางวางไว้ ฯ
         ๏ เมื่อนั้น อรพินท์สิ้นทรงสงสัย
ยินข่าวกล่าวความตามนัย ทราบได้แจ้งจัดชัดแท้
ชายนี้สามารถกาจกล้า เคยฝ่าไปเห็นเปนแน่
ตรึกพลันขวัญอนงค์ทรงแล เห็นแปรเปลี่ยนไปในบรรพ์
รำลึกชาติเก่าเค้ากี้ จำพญาสามีได้มั่น
ถูกสาปฤๅษีมีธรรม์ จากสวรรค์ตกตรงลงมา ฯ
๏ ยุพยงทรงถลาคว้าสอด กรกอดยุพราชชาติกล้า
ชลนัยน์ไหลซาบอาบตา เศียรซบอังสาสามี
กาลเก่าเรารกำลำบาก กรรมซัดพลัดพรากจากที่
กรมทุกข์ทุกวารนานปี แต่นี้จักร่ำสำรวล
สรวลพลางนางซั้นกันแสง สำแดงโศกพลางนางสรวล
ขุ่นเศร้าเคล้าสุขทุกข์ทวน อักอ่วนอกใจไฟฮือ ฯ

------------------------------------------------------------------

อ.๑๐๐  “ข้าหรือคือพญามกระ”. “มกระ” เปนชื่อสัตว์น้ำบางชนิด คือปลาฉลามเปนต้น แลแปลเปนคำที่เราใช้ว่ามังกรด้วย มกรเปนพาหนะของพระวรุณเจ้าน้ำ. ↩
อ.๑๐๑  “เพราะพระวารุณีวัลลภะ”. “วารุณีวัลลภะ” เปนนามๆ หนึ่งของพระวรุณ. ↩
อ.๑๐๒ “เดชะพระมหากาละ”. “มหากาล” เปนนาม ๆ หนึ่งของพระอิศวร. ↩
อ.๑๐๓  “ภาระพระวิศวชิต”. “วิศวชิต” เปนนามๆ หนึ่งของพระวรุณ. ↩
อ.๑๐๔  “มหาธาตุแถวถนนล้นหลาม”. “มหาธาตุ” แปลว่าทองคำ. ↩
อ.๑๐๕  “ปราสาทชาตรูปจูบฟ้า”. “ชาตรูป” แปลว่าทองคำ ↩
อ.๑๐๖  “สูงสง่าเงื้อมเยี่ยมเทียมนค”. “นค” แปลว่าภูเขา. ↩
อ.๑๐๗  “หิรัณย์ศาลามาฬก”. “หิรัณย์” แปลว่าทองคำ (นานๆ มีแปลว่าเงินบ้าง). ↩
อ.๑๐๘  “สกาวแก้วแกมทองส่องใส”. “สกาว” คือขาว. ↩
อ.๑๐๙  “ดูสดมภ์ชมเดินเพลินใจ”. “สดมภ์” แปลว่าเสา. ↩
อ.๑๑๐  “ดาริกาภาแพร้วเพริศสิ้น”. “ดาริกา” คือดาว. ↩
อ.๑๑๑
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 ธันวาคม 2561 15:48:16 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #10 เมื่อ: 13 ธันวาคม 2561 15:54:30 »

                                     
       . กนกนคร  .
       พระนิพนธ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ (น.ม.ส.)

๏ พระเอยพระเสด็จเตร็จเตร่ เดินเอ้องค์เดียวเจียวหรือ
รู้เรื่องเมืองงามตามลือ เหตุคือพระได้ไปลุ
ชาติเก่าเราอยู่คู่รัก คราวร้างปางควักจักขุ
ก่อกรรมทำตามความยุ มุทลุเลศเลาเบารู้
ผลกรรมลำบากยากแท้ จักแก้จักเกื้อเหลือกู้
บาปใหญ่ไล่ลามตามตู พึ่งรู้จักกันวันนี้
ผัวเมียเสียทีมีชาติ แคล้วคลาดจากกันวันกี้
ครั้นพบสบหน้าสามี ต้องลีลาไปไกลองค์อ.๑๑๕
พระจงทรงเสาะเบาะแส กอบแก้กรรมหนุนบุญส่ง
สบน้องสองครั้งดังจง จักคงคืนสุขทุกข์ไร้
พระองค์จงจำคำน้อง เพียรท่องเที่ยวค้นจนได้
บรรจบพบกันวันใด จักไปสุขสันต์ทันที ฯ
๏ ตรัสพลางยุพยงนงลักษณ์ หัตถ์ผลักองค์พระผละหนี
แขงขึงอึ้งสิ้นอินทรีย์ ทรงศรีส่องสว่างพางเพ็ญ
จำรัสรัศมีสีเนตร สังเกตเกินใครได้เห็น
ชนมากหลากใจไม่เว้น ยิ่งเด่นยิ่งชแง้แลดู
ยิ่งเปล่งเพ่งจริงยิ่งปลั่ง ต่างนั่งพิศเพ็ญเปนหมู่
แปลกจริงนิ่งชมโฉมตรู ไม่รู้เหตุใหญ่ใกล้กาล ฯ
๏ ผ่ายท้าวชัยทัตขัติเยศ ทรงเดชแสนทรงสงสาร
พักตร์พิศจิตต์พวงนงคราญ อาการเปล่งปลั่งดังเดือน
ก่องก้ำล้ำลบภพสาม เคยงามแต่ไหนไม่เหมือน
ยิ่งพิศยิ่งติดตาเตือน ชักเงื่อนหฤทัยให้ชม
นางใคร่ได้คู่ชูชื่น แสนหมื่นใช่ชายหมายสม
คนนี้ลักษณ์ล้ำขำคม อารมณ์พระลูกถูกแล้ว
ได้เขยเลยได้ไร้ทุกข์ เสพสุขกอบเกื้อเชื้อแถว
สืบวงศ์ทรงฉายพรายแพรว ผ่องแผ้วเพราะบุญหนุนทัน ฯ
๏ ฝ่ายโหราจารย์ชาญเวท สังเกตหลักแผนแม่นมั่น
เห็นราชชาดาลาวัณย์ ยิ่งจันทร์แจ่มงามยามเพ็ญ
ต่างดูตากันสั่นพักตร์ ประจักษ์ท่วงทีที่เห็น
ร้อนอกตกรกำลำเค็ญ ทุกข์เข็ญอันหนักจักมี ฯ
๏ ขณะนั้นโฉมยงทรงลักษณ์  ผิวพักตร์เผือดสลดหมดสี
ล้มองค์ลงพลันทันที ชีวีปลิดปลดหมดไป ฯ
๏ ปางราชบิตุรงค์ทรงภพ เห็นศพยุวดีศรีใส
ดาลทุกข์รุกรัดอัดใจ ภูวนัยซ้อนสลบซบลง ฯ
         ๏ เมื่อนั้น ยุพราชฟั่นเฟือนเหมือนหลง
พึมพำพร่ำเพ้อเผลอองค์ ผินตรงเดินออกนอกวัง
ผู้คนอลหม่านพล่านพลุก อุกหลุกเหลือนับคับคั่ง
พระเสด็จดุ่มไปไป่ยั้ง ไม่ฟังถ้อยคำส่ำคน
เหมือนเมาเหล้าเข้มเต็มที่ ท่วงทีโซเซเตร่หน
ก้มหน้าฝ่าแหวกแซกวน มึนมนมัวเมอเพ้อพึม
เดี๋ยวทำหน้าบูดพูดพร่ำ เดี๋ยวทำนิ่งหน้าท่าขรึม
เดี๋ยวหนึ่งนั่งเหงาเซาซึม มำมึมเหมือนบ้าน่ากลัว
ฝูงชนยลเธอเมอจิตต์ วิปริตทำท่าน่าหัว
บ้างหลีกบ้างลี้หนีตัว บ้างยั่วบ้างเย้าเข้าชิด
บ้างชี้บอกกันนั่นแน่ ชายนี่ขี้แยศักดิ์สิทธิ์
เปรอะเปื้อนเหมือนเด็กเล็กนิด กจิริดน่าเล่นเอ็นดู
บ้างกล่าวข่าวใหญ่ในวัง น่าชังชายอยาบจาบจู่
หมายคู่ยุวดีศรีตรู เหมือนงูเปนเสนียดเกลียดชัง
นางเห็นหน้าเจ้าเข้าหน่อย สาวน้อยหนีเตลิดเสริดสรัง
ละชีพรีบไปไป่ยั้ง เหลือรั้งรออยู่ดูพักตร์
ท่าทางอย่างนี้มีหน้า หมายหายุพยงทรงศักดิ์
เหมือนมาฆ่าองค์ทรงลักษณ์ หนักนักความทลึ่งถึงดี
ปวงชนบ่นว่าน่าโกรธ กล่าวโทษยุพราชปราศศรี
พระยินพระไม่ไยดี หรือที่แท้ไม่ได้ยิน
หลีกคนด้นออกนอกผลู ไป่ดูไป่ฟังทั้งสิ้น
ความคิดปลิดปลดหมดชิ้น ความถวิลจำได้ไม่มี ฯ
๏ ถึงสระซุดองค์ลงนั่ง จวนคลั่งฆ่าคนป่นปี้
พอเพอินจำเพาะเคราะห์ดี เกิดมีรู้สึกตรึกไตร
เหตุผลข้นแค้นแสนเข็ญ กลับเห็นแจ้งจิตต์คิดได้
นัยนาพร่าพร่ำช้ำใจ หลั่งไหลหลากหล่นฝนเค็ม
เหมือนสมุทมีไว้ในเนตร สังเวชชลนัยน์ไหลเข้ม
ตาแดงแสงก่ำน้ำเต็ม จักเม้มให้อยุดสุดรู้
สิ้นแขงแรงโรยโหยหวน กำสรวลโศกสิงยิ่งสู้
กรมเกรียมเทียมไฟไหม้ภู หล่ออยู่ในทุกข์คลุกเคล้า ฯ
๏ ล้มองค์ลงนอนอ่อนเปลี้ย ละเหี่ยหฤทัยไห้เศร้า
หลับพลันฝันเห็นเพ็ญเพรา นงเยาว์ยิ้มแย้มแช่มตา
กองรกำกำสรดหมดสิ้น พิศนิลเนตรน้องจ้องหน้า
รัศมีสีครามงามตา วนิดาพักตร์พริ้มยิ้มยืน
อาบในแสงเนตรนงลักษณ์ ประจักษ์สุขยิ่งสิ่งอื่น
ปรีดาอารมณ์กลมกลืน เต็มตื้นหฤทัยใดปาน ฯ
๏ เสวยสุขในฝันหรรษา ศัยยาร่มไม้ไพศาล
หลับเหมือนไม้ขอนนอนนาน ภูบาลพักผ่อนอ่อนล้า
กลางคืนฟื้นองค์ทรงตื่น ดึกดื่นเงียบเหงาเศร้าหน้า
คำนึงนงขวัญกันดา นัยนานองน้ำช้ำแด ฯ
๏ อ้าเจ้าเสาวภาคเพ็ญโฉม ยิ่งโสมส่องขำล้ำแข
กรรมทันปั่นป่วนปรวนแปร ถ่องแท้ทางบาปหลาบจริง
พบแล้วแคล้วกันวันนี้ หมดที่มุ่งมองน้องหญิง
ร้างชีพรีบลี้หนีทิ้ง กูกลิ้งกลางดินสิ้นคิด
แต่ก่อนมีหวังตั้งหน้า เสาะหาสืบถามตามติด
กรรมซัดบัดนี้ชีวิต ปลดปลิดไปแล้วแคล้วรัก
นางว่าอย่าขามตามหา บากหน้าเสาะแสวงแหล่งหลัก
เมื่อวันบรรจบพบพักตร์ เราจักสุขสันต์ทันที
รำพึงถึงคำกำชับ อาภัพจริงใจไฟจี่
วายชนม์พ้นไปใครมี ถิ่นที่ ๆ ให้ไปตาม
จักจำคำสั่งดังกล่าว สืบข่าวข้อไขไป่ขาม
ท่องเที่ยวเลี้ยวเลาะเสาะความ ติดตามจนตายวายชนม์ ฯ
๏ ตรึกพลางพระเสด็จเตร็จเตร่ เที่ยวเร่ร่อนไปในหน
ทุกเขตเทศคามถามคน สืบค้นเสาะข่าวกล่าวคำ
ท่านพบภริยาข้าหรือ   นางคือเยาวเรศเนตรขำอ.๑๑๖
รัศมีสีครามงามล้ำ ส่องกล้ำกลบกลั้วทั่วไกล
เปนราชนารีศรีฉาย แต่หายไม่รู้อยู่ไหน
พบแล้วแคล้วคลาดปราศไป สั่งไว้ให้ข้ามาตาม
ท่านรู้อยู่ไหนได้โปรด ยกโทษที่ข้ามาถาม
อย่าเห็นเปนกวนลวนลาม บอกความแก่ข้าสามี ฯ
๏ ปวงคนยินคำพร่ำเพ้อ บ้าเบ้อเบื่อหูจู้จี้
นารีสีใสไหนมี รังสีเนตรครามงามครัน
ท่าทางอย่างบ้าน่าเบื่อ พูดเบื้อบุ่มใจใฝ่ฝัน
จักตรับยับยั้งฟังมัน เห็นบ่นว่าเหลวเลวซาม
พระเสด็จเตร็จเตร่เร่ด้น ฝูงคนหัวเราะเยาะหยาม
ทุกแลวกแซกซุกทุกคาม สืบความทุกแคว้นแดนคน
ทุกที่ใกล้ไกลในโลก ทุกโกรกทุกกรอกซอกหน
หุบเขาเลาน้ำลำชล ปราศผลมุ่งหมายดายแด ฯ
๏ พระเสด็จดั้นพงดงพฤกษ์ ยิงรลึกรักร้างห่างแห
บ่ายบทลดเลี้ยวเหลียวแล ยลแถงยามหงายฉายฟ้าอ.๑๑๗
คิดแขไขแสงแข่งศรี ขันสู้ยุวดีเด่นหล้า
เพ็ญจันทร์พรรณ์นวลยวนตา หย่อนกว่ารัศมีสีนิล
หาแถงแง่ฟ้าหาง่าย เบื่อหน่ายบงนักพักตร์ผิน
หาเดือนเพื่อนเถินเดินดินอ.๑๑๘ คือนิลนัยนาหาดาย
เพ็ญเดือนเพื่อนดินสิ้นหา เพ็ญเดือนเลื่อนฟ้าหาง่าย
เดือนเดินแดนดินนิลพราย เดือนฉายเวหาสปราศนิล.
เสาะในไตรภพสบแล้ว คลาดแคล้วคือวิหคผกผิน
เหลือรกำจำใจไต่ดิน เสาะสุโนคโบกบินบนฟ้า
จักทันฉันใดใคร่รู้ โอ้กูอกกรมคมกล้า
ครวญพลางครางคร่ำน้ำตา โศกากลิ้งเกลือกเสือกกาย ฯ
         ๏ เมื่อนั้น พระศุลีศรีมานฉานฉายอ.๑๑๙
สถิตแท่นแผ่นผาอ่ากาย พรรณรายรังสีถีระ
ใคร่เสด็จเตร็จเตร่เร่เล่น ยามเพ็ญไพบุลย์ชุณหะ
ชมจันทร์ดั้นทเลเมฆะ บานพระหฤทัยในฟ้า
ชวนเยาวชายาปรารภ นางนบนิ้วน้อมจอมหล้า
พระโอบองค์ขวัญกันดา กัลยาณิ์อิงแอบแนบพระ
เหิรเหาะเลาะลัดตัดเมฆ รุจิเรขรังสีอีศะ
ชมผาป่าไม้ไศละ พระศิวะอุ้มนางกลางฟ้า
สององค์ทรงสราญบานเบิก เอิกเกริกภูตไพรใต้หล้า
จวบขณะพระศิวะพระศิวาอ.๑๒๐ ทัศนาแนวไพรในพง
เห็นองค์อมรสิงห์วิ่งเพ้อ พร่ำเผลอเพรียกไพรใหลหลง
โหยหานารีมี่ดง ทอดองค์ครวญคร่ำรำพรรณ
พระศิวะระลึกนึกได้ เปนไปเพราะบาปสาปสรร
เคราะห์ใหญ่ไล่ลามตามทัน แกล้งกลั่นบถร้ายบ้ายร้อน
ภูตผีปีศาจมาดหมาย ยักย้ายย้อนยอกหลอกหลอน
กูจำอำนวยช่วยช้อน ผันผ่อนพอให้ภัยพ้น
ตรึกพลางพระศุลีตรีเนตร เล่าเลศเลาเรื่องเบื้องต้น
อมรสิงห์วิ่งเพ้อเผลอตน อนุสนธิ์คำสาปบาปบรรพ์
พระศิวะทูลนางพลางพา พระศิวาวรรณฉายผายผัน
สู่หิมาลัยในพลัน ฝากบรรพตผู้ชูยศอ.๑๒๑
ส่งเสร็จพระเสด็จเตร็จฟ้า เรืองโรจน์โชติหล้าปรากฎ
เหาะจากเขาคันธ์บรรพต หมายบถบ่ายสู่ภูดล
ลงในไพรกว้างกลางเขต ทรงเพศโยคีชีต้น
แหวกทางหว่างรุกข์บุกพน ดั้นด้นอารัณย์จัณฑึก
บรรดาลฆ้องใหญ่ให้เกิด แขวนเชิดชูไว้ในดึก
พระศุลีตีฆ้องก้องคึก อึกทึกภูตผีมี่เกรียว
ปีศาจรากษสหมดหลาย แทตย์ร้ายทารุณฉุนเฉียว
แรดช้างกวางม้ามาเครียว งูเงี้ยวหมีหมูหมู่ร้าย
มวญมหิงส์จิ้งจอกออกวิ่ง ทั้งกทิงถึกเสือเหลือหลาย
ดาษดามาเฝ้าเจ้านาย ต่างถวายเคารพนบน้อม ฯ
๏ ปางปศุบดีตรีเนตรอ.๑๒๒ ปวงเปรตป่วงป่ามาห้อม
ผีภูตทูษณ์แทตย์แวดล้อม พรั่งพร้อมทานพครบครัน
คลาคล่ำส่ำสัตว์ยัดเยียด เบียดเสียดแซกแซงแข่งขัน
เรียงรอบนอบน้อมพร้อมกัน ฟังบัญชาองค์ทรงฤทธิ์
พระเผยพจมานหว่านล้อม โอบอ้อมโองการบานจิตต์
อ้าเจ้าเหล่าคนองปองนิตย์ จักคิดเข่นฆ่ามานุษ
จงฟังดังเราเล่าชี้ ป่านี้ชายหนุ่มกลุ้มสุด
มาเดียวเที่ยวเร่เซซุด เดินอยุดเดินยั้งคลั่งไคล้
ตามหานารีมีลักษณ์ แสงจักษุครามงามไข
ฝ่ายองค์นงรามทรามวัย ร้องไห้ร่ำโหยโพยพาย
แม้นพบในพงจงเจ้า จดจำคำเราเล่าหมาย
อย่าบั่นหั่นห้ำทำลาย ทำร้ายชีวิตปลิดปราณ
จักล่อล้อหลอกหยอกเย้า ยั่วเร้าอย่างไรในย่าน
ไม่ห้ามตามจิตต์คิดการ พอสราญใจเล่นเปนพอ
อย่าฆ่าอย่าขบตบขวิด ชีวิตสองเขาเราขอ
จงจำคำสั่งรั้งรอ คิดข้อที่ห้ามปรามนี้
รันทมกรมกรรมจำจอง ทั้งสองถูกสาปบาปกี้
ทนทุกข์ทุกห้วงบ่วงมี ตามที่ถูกแช่งแหล่งเดิม
เวรกรรมทำไว้ไล่ล้าง สองห่างเหินสุขทุกข์เสริม
ทุกเหยียบทุกข์ย่ำซ้ำเติม โศกเพิ่มเศร้าเพียบเสียบซ้อน
วันใดได้พบสบพักตร์ สองจักสมสุขทุกข์ถอน
กูมีเม็ตตาอาทร จักช้อนสู่แหล่งแห่งโน้น
ปวงเจ้าเข้าใจใส่จิตต์ อย่าคิดร้ายกาจผาดโผน
ขืนทำพล้ำเพลี่ยงเอียงโอน คือโยนทุกข์ใหญ่ใส่ตน ฯ
๏ ตรัสพลางพระศุลีตรีโลจน์อ.๑๒๓       ช่วงโชติเฉิดฉายพรายหน
จรจากฟากมหากานนอ.๑๒๔ ก่องถกลเกียรติ์เฟื่องเลื่องฟ้า ฯ
๏ จำจะกล่าวบทไป ถึงร่างนางกนกเรขา
วางแท่นแผ่นทองผ่องตา ในมหาปราสาทมาศล้วน
สงัดสงบศพเดียวเปลี่ยวดาย วังหม้ายอยู่ร้างกลางสวน
เวียงมาศปราศชนคนกวน ศพนวลนอนนานปานเปน ฯ
๏ สาวสวรรค์วันเมื่อเมื้อชีพ ดังปทีบด่วนดับวับเห็น
หลีกพระอมรสีห์หนีเร้น เหมือนเล่นซ่อนหาถาทิ้ง
นางออกนอกร่างนางไป จากอินทิราลัยไวยิ่ง
พริบเนตรเดียวไปไกลจริง เข้าสิงทรากนางทางโน้น
พักตร์เผือดเลือดค่อยๆ แล่น แร้นแค้นเหมือนไม้ใบโกร๋น
โลหิตกิจกอบปลอบโยน ซีดโพลนเปลี่ยนแปลงแดงไป
ค่อยรู้สึกองค์นงลักษณ์ ลืมจักษุสองส่องใส
ผุดผวาหาองค์ทรงชัย เห็นได้แต่ห้องทองล้วน
อยู่เดียวเปลี่ยวเปล่าเศร้าแสน คิดแค้นขุ่นค้ำกำสรวล
เหลือบเหลียวเที่ยวแลแปรปรวน อักอ่วนอกรทมกรมทุกข์
เหมือนฟื้นตื่นพรากจากฝัน ใครสรรแสร้งให้ไร้สุข
เอองค์ทรงเศร้าเร้ารุก เคล้าคลุกอยู่ในภัยร้อน
เหตุเข็ญเปนไฉนใคร่ทราบ ชรอยบาปกรรมลามตามหลอน
หลอกให้เห็นภัยไฟฟอน ยามนอนหลับเผลอเมอมันท์
ลองหยิกจิกเล็บเจ็บเนื้อ พอเชื่อว่าใช่ใฝ่ฝัน
เหลือรู้เหลือเราเดาทัน แม่นมั่นว่ากรรมทำไว้
อยู่วังทั้งเขือเมื่อกี้ บัดนี้นี่กูอยู่ไหน
เวียงร่างว่างคนหนใด ทำไมมาอยู่ผู้เดียว
พรากพญาสามีมีเดช โดยเขตคำสาปขวาบเขวียว
สุดหมายบ่ายเบี่ยงเลี่ยงเลี้ยว แสนเสียวใจสั่นพรั่นพรึง
สุขสันต์มั่นหมายภายหน้า จำหาทางให้ไปถึง
มัวซึมงึมงำคำนึง จักสึงสุขได้ไป่มี
สีดาจากรามตามพบ ราฆพคืนสู่คู่ศรี
๏ หนึ่งนางนกเลี้ยงเยี่ยงมีอ.๑๒๕ หนึ่งไวทรรภีศรีบูรณ์อ.๑๒๖
สามีละร้างห่างหาย เจียนวายชีวิตปลิดสูญ
แสนเศร้าเคร่าหาอาดูร อากูลกรมกรรมทำงน
ความรักชักใจให้สู้ ยอมอยู่กลิ้งเกลือกเสือกสน
ไม่หมายวายพรากจากชนม์ ดิ้นรนรอหาสามี
สำเร็จอารมณ์สมมาด คืนสู่คู่ราชเรืองศรี
ตั้งสติตริไตรได้ดี เพราะมีความรักชักใจ
นางไหนใต้หล้ามาเทียบ ความรักจักเปรียบเราได้
ฤทธิ์รักหนักแน่นแล่นไป คงได้สมตามความรัก ฯ
๏ เหลียวแลแง้แหงนแสนเงียบ โศกเสียบใจเหน็บเจ็บหนัก
อยู่เดียวเปลี่ยวองค์นงลักษณ์ อกอักอ่วนร้าวคราวร้อน
รีบย่องมองซ้ายย้ายขวา แลหน้าเหลียวหลังยั้งหยอน
กริ่งภัยใจว้าอาวรณ์ อื้นอ้อนอกโหยโรยรา
ถึงทวารบานทองผ่องเพริศ ลายเลิศล้วนมณีมีค่า
แนวผลูปูคำก่ำตา ดาษดาด้วยแก้วแกมกาญจน์
เสด็จออกนอกวังตั้งหน้า จินตนาข่มขลาดอาจหาญ
ลดเลี้ยวเที่ยวดูอยู่นาน ไป่พานพบใครในเวียง
กรุงไกรไร้ราษฎร์ปราศสัตว์ แสนสงัดเหงาใจไร้เสียง
เถือกทองส่องแหวแลเรียง ไฟเพนียงสีฉานปานกัน
ยุพยงทรงยาตร์บาทย่าง อ้างว้างเวียนเร่เหหัน
ถึงทเลเวลาสายัณห์ อึงอรรณพกว้างทางลม
แขงขืนยืนยังฝั่งน้ำ ทุกข์ช้ำชอกชกอกขม
งามนิลนัยนาน่าชม เนตรผสมแสงสองส่องน้ำ
สีสมุทดุจครามยามอยู่ เดียวดูเพลินใจใสฉ่ำ
ครั้นนิลนัยนามานำ ยิ่งทำให้สมุทสุดงาม
สมุทเฒ่าเจ้ากลยลเล่ห์ รู้คเนในจิตต์คิดขาม
ไป่แขงแข่งคู่วู่วาม ครั่นคร้ามเนตรนิลยินยอม
แต่ใคร่ได้ความงามเพิ่ม หวังเฉลิมเลื่องลือชื่อหอม
ยอมให้นัยนามาย้อม เพื่อพร้อมเพรียงความงามตน ฯ
๏ นางยืนกลืนกลัดอัสสุ อัมพุยิ่งเพลิงเริงหลน
แลสมุทสุดเศร้าเปล่าชนม์ ยิ่งจนใจนางครางครวญ ฯ
๏ อ้าพญาสาครฉ่อนคลื่น ท่านสอื้นอกไข้ไห้หวน
เหตุเหี้ยมเกรียมกล้ามากวน กำสรวลโศกสลักรักรื้อ
พลัดคู่ผู้เคยเชยชื่น จึ่งคลื่นเครงกลิ้งจริงหรือ
อกทเลเล่ห์ไฟไหม้ฮือ อึงอื้อเพราะพรากจากรัก
น้ำนิลดิ้นเซ็นเปนฝอย พร่ำพร้อยพรมหน้าข้าหนัก
เค็มคือชลนัยน์ไหลพักตร์ พรากรักคือพรากจากภพ
อกตูอกสมุทสุดแม้น มั่นแม่นคือไอไฟอบ
ทุกข์เราเท่าทันอรรณพ ช่วยลบเคราะห์บ้างล้างทุกข์
เกื้อหนุนจุนใจให้สม อารมณ์รีบถึงซึ่งสุข
ช้อนชุบอุปถัมภ์ทำนุก โปรดปลุกชีพไว้ให้ฟื้น ฯ
๏ พร่ำพลางนางเล็งเพ่งแล ท้อแท้ทุกข์เฝือเหลือฝืน
ดูสมุทสุดหวั่นครั่นครืน เครงคลื่นลมใหญ่ไล่ยอ
ละลอกหัวขาวฉาวฉ่า หลั่น ๆ กันมาสอ ๆ
ฉาดฉานซ่านเซ็นเล่นล้อ วิ่งล่อไล่หลามตามกัน
ยุพยงบงคลื่นดื่นดิ้น พลางผินพักตร์แลแปรผัน
โน่นอไรในน้ำสำคัญ กำปั่นเข้มแขงแข่งลม
เรือใหญ่ใบกว้างกางแล่น มั่นแม่นหมายใจได้สม
รอยบุญหนุนทบอบรม อาจข่มเคราะห์บาปคาบนี้ ฯ
๏ ยุพยงทรงโบกภูษา ลมพาปลิวปลายคลายคลี่
เห็นไปในมหาวารี ถึงที่เรือแล่นแกว่นชล ฯ
         ๏ บัดนั้น หัวหน้าวาณิชคิดผล
แห่งการค้าขายหมายตน เปนคนมั่งคั่งทั้งมวญ
อุตส่าห์ฝ่าสมุทสุดกว้าง อ้างว้างคืนวันหันหวน
สลาตันปั่นเหเซซวน เจียนจวนจักยับอับปาง
ลมซัดพลัดห่างทางหมาย แล่นตกายกลางคลื่นดื่นข้าง
เห็นเกาะเหมาะใจใกล้ทาง เกาะว่างถิ่นฐานบ้านเมือง
มีหญิงยืนเดียวเปลี่ยวอยู่ คิดใคร่ไปดูรู้เรื่อง
แร้นแค้นแสนเศร้าเปล่าเปลือง จักเปลื้องชีวิตปลิดไป ฯ
๏ อันกนกธานีศรีฉาย แพรวพรายพรรณ์ทองผ่องใส
ปราสาทมาศก่ำอำไพ เมืองใหญ่ทั้งเมืองเรืองรอง
ชนหลายแลไปไป่เห็น เหมือนเช่นฉากบังทั้งผอง
เห็นเกาะกรวดรายทรายรอง เวียงทองไม่มีที่นั้น
เพราะเทพารักษ์ศักดิ์ล้ำ เธอกำบังมิดชิดมั่น
ฝูงชนธรรมดาสามัญ ใช่ขวัญเนตรซึ่งพึงยล ฯ
๏ หัวหน้าวาณิชคิดหลาก ชลมารคห่างไกลในหน
สตรีนี้เดียวเปลี่ยวตน อยู่ทนทุกข์ยากตรากตรำ
เกาะเปล่าปราศผู้รู้จัก โศกสลักทรวงเศร้าเช้าค่ำ
ฝนตกแดดออกชอกช้ำ ยามร้อนๆ ล้ำจำร้อน
ยามหนาวๆ น้ำจำหนาว ลมกร้าวแดดกล้าน่าหยอน
ปราศที่กำบังนั่งนอน อาวรณ์เวรกรรมทำไว้ ฯ
๏ คิดพลันหันลำกำปั่น เข้าพลันบังเกาะเหมาะได้
ให้หย่อนเรือน้อยลอยใน น้ำใสสีครามงามซึ้ง
เรียกพลกันเชียงเพรียงพร้อม ออกอ้อมเรือใหญ่ไป่หึงอ.๑๒๗
คนแรงแขงขันดันดึง ตีตบึงไปยังฝั่งพลัน
เชิญองค์นงเยาว์เนาเรือ รีบเมื้อคืนลำกำปั่น
เห็นนางพางเห็นเพ็ญจันทร์ กระสันเสียวทรวงบ่วงรัก
พูดจาปราไสในที มารศรีเหน็ดเหนื่อยเมื่อยหนัก
เชิญนางวางองค์ลงพัก บนตักแห่งพี่นี้เจียว
ขอเปนเก้าอี้ที่นั่ง บัลลังก์ภูลศักดิ์หนักเหนียว
อย่าคิดบิดเบี่ยงเลี่ยงเลี้ยว เชิญเหลียวแลบ้างข้างนี้ ฯ
         ๏ เมื่อนั้น นางกนกเรขามารศรี
ยินข้อพ่อค้าพาที ยุวดีเดือดอกตกใจ
โอ้กรรมเอ๋ยกรรมทำเข็ญ หมายเร้นไม่ลี้หนีได้
ตกในมือมันทันใด ยลภัยยิ่งพ้นชนม์มรณ์
เมืองมาศปราศคนค่นแค้น โศกแม้นไหม้หมกอกอ้อน
คิดว่ามาพรากจากร้อน ยิ่งย้อนทุกข์ยับทับทุกข์
อยู่เดียวเปลี่ยวตนบนเกาะ มั่นเหมาะไม่มีที่สุข
แต่ยังดีกว่ามาคลุก ถูกรุกรานเล่นเช่นนี้
อกเอ๋ยเคยกรรมทำไว้ เห็นได้ว่าเหลือเมื้อหนี
จักบอกออกความตามที มันมีความขลาดอาจกลัว
ว่าเราเจ้าหญิงยิ่งยศ ปรากฎเกียรติ์ไกรไปทั่ว
บิตุราชเรืองรณคนกลัว มีผัวเรืองรงค์ทรงฤทธิ์
มันเยงเกรงนามขามเดช ภูธเรศลือชัยไกรกิตต์
สยดสยองพองเกล้าเบาคิด อาจดีมีจิตต์เม็ตตา ฯ


อ.๑๑๕ “ต้องลี้ลาไปไกลองค์”. จงสังเกตว่า ลี้ลา เปนคำ ๒ คำ คือ “ลี้” กับ “ลา” ไม่ใช่ลีลา.
อ.๑๑๖  “นางคือเยาวเรศเนตรขำ”. “เยาวเรศ” คำนี้ปทานุกรมแปลว่า “นาง” ลุ่นๆ แต่รูปศัพท์ชอบกล
อ.๑๑๗  “ยลแถงยามหงายฉายฟ้า”. “แถง” คือพระจันทร์.
 อ.๑๑๘  “หาเดือนเพื่อนเถินเดินดิน”. “เดือน” คือพระจันทร์.
อ.๑๑๙  “พระศุลีศรีมานฉานฉาย” “ศรีมาน” แปลว่ามีสิริ เปนคำเรียกพระอิศวร พระนารายณ์ ท้าวกุเวร แลผู้เปนเจ้าเปนใหญ่ทั่ว ๆ ไป.
อ.๑๒๐  “จวบขณะพระศิวะพระศิวา”. “ศิวา” เปนเพศหญิงแห่งศัพท์ ศิวะเปนนามเรียกพระอุมาในตำแหน่งที่เปนชายาพระอิศวร.
อ.๑๒๑  “ฝากบรรพตผู้ชูยศ”. เขาหิมาลัยนั้นมีนามว่า ฤษีบรรพต เปนชนกของพระอุมา.
อ.๑๒๒  “ปางปศุบดีตรีเนตร”. “ปศุบดี” แปลว่าเจ้าแห่งสัตว์ เปนนามพระอิศวร คำว่าภูตบดีอีกคำหนึ่ง แปลว่า เจ้าแห่งภูต ก็เปนนามพระอิศวร เหมือนกัน พระอิศวรเปนเจ้าแห่งปศุแลเจ้าแห่งภูต จึงห้ามได้อย่างในเรื่องนี้.
อ.๑๒๓  “ตรัสพลางพระศุลีตรีโลจน์”. “ตรีโลจน์” แปลว่าสามเนตร.
อ.๑๒๔  “จรจากฟากมหากานน”. “กานน” แปลว่าป่า.
อ.๑๒๕ “หนึ่งนางนกเลี้ยงเยี่ยงมี”. “นางนกเลี้ยง” คือนางศกุนตลา มเหสีท้าวทุษยันต มีเรื่องว่าครั้งหนึ่งฤษีวิศวามิตรทำตบะเชี่ยวชาญจนร้อนถึงพระอินทร์ ๆ ให้นางอัจฉราลงมายวน ฤษีหลงจนเสียตบะ นางมีครรภ์คลอดลูกทิ้งไว้แล้วกลับไปสวรรค์ มีศกุนตะ (นก) มาเลี้ยงเด็กไว้ เด็กจึงได้ชื่อว่านางศกุนตลา แปลว่านางนกเลี้ยง.
อ.๑๒๖ “หนึ่งไวทรรภีศรีบูรณ์”. “ไวทรรภี” แปลว่านางแห่งกรุงวิทรรภ์ คือนางทมยันตี ผู้เปนมเหสีพระนล.
อ.๑๒๗ “ออกอ้อมเรือใหญ่ไป่หึง”. “ไป่หึง” แปลว่าไม่นาน.

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 13 ธันวาคม 2561 16:13:14 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #11 เมื่อ: 13 ธันวาคม 2561 16:07:26 »

                                     
       . กนกนคร  .

นางตรัสแก่นายวาณิชว่า .
๏ ดูราพาณิชสิทธิโชค อย่าโหยกเหยกกล่าวกร้าวกล้า
แม้นเราเล่าเรื่องเนื่องมา วาจาอนุสนธิ์ต้นปลาย
ท่านผู้ผลูธรรมนำคิด ใช่จิตต์ชั่วจักมักง่าย
การก่อกองกรรมทำลาย ย่อมหมายเมื้อหลีกปลีกตัว
ชายอันปัญญากล้ายิ่ง พบหญิงพลัดพรากจากผัว
ไป่เข้าพัลวันพันพัว กริ่งกลัวเกรงกรรมนำพา
ขอบอกออกไขให้แจ้ง สำนักหลักแหล่งแห่งข้า
กรุงไกรใหญ่พ้นคณนา อินทิราลัยเรืองเลื่องยศ
ภูวนัยชัยทัตเทียมสีห์ ฤทธีเกรียงกล้าปรากฎ
ปวงปัจจามิตรคิดคด ย่อมสยดสยองย่อท้อคิด
นั่นคือพระชนกปกเกล้า แห่งเราผู้รทมกรมจิตต์
พรากพระผัวขวัญครรชิต ชีวิตมีเดียวเปลี่ยวดาย
สามีมีกิตติ์ฤทธิ์กล้า อยู่มาๆ พรากจากหาย
จักตั้งใจตนจนตาย ร่อนร่ายเร่หาสามี
พบแล้วแคล้วกันวันโน้น เหมือนโจรจับพาล่าหนี
มุ่งพักตร์จักแสวงแหล่งตรี ดังที่บุญกรรมทำไว้
ท่านมีเม็ตตาการุญ บุญคุณเลิศล่วงตวงได้
จงเร่งเพ่งพาข้าไป เพื่อให้พบหาสามี
เมื่อพระบิตุรงค์ทรงลักษณ์ ประจักษ์จิตต์ล้วนถ้วนถี่
ทรงศักดิ์จักทรงยินดี ในที่ท่านอวยช่วยช้อน
ต่างๆ รางวัลมั่นแท้ ผ้าแพรเงินทองกองก้อน
จักสิ้นกังวลรนร้อน เที่ยวซอนซอกค้ามาไป
ปวงสูอยู่เย็นเปนสุข มวญมุขมั่งคั่งหลั่งไหล
ได้ราชอุปการบานใจ เพราะไท้ขอบคุณจุนเจือ ฯ
         ๏ บัดนั้น วาณิชคิดคำฉ่ำเหลือ
สั่งไพร่ให้บอกออกเรือ ลมเหนือพัดพุ่งมุ่งไป
พิศนางพลางนึกตรึกว่า นวลหน้าน่าคิดพิสมัย
คำไขไพเราะเหมาะใจ แจ่มใสเลิศสิ้นดินแดน
ข้อเค้าเล่าบอกออกแจ้ง หลักแหล่งส่อสัตย์ชัดแสน
หาจบพบไตรไม่แม้น นึกแม่นมั่นเห็นเปนจริง -
ว่าราชนารีมีลักษณ์ สูงศักดิ์เกียรติ์ไกรใหญ่ยิ่ง
เหี้ยมทุกข์เทียมผามาพิง เหมือนกลิ้งกลางหล่มจมนาน
เหี้ยมทุกข์เทียมผามาพิงอ.๑๒๘ เหมือนกลิ้งกลางหล่มจมนาน
อยู่เดียวเปลี่ยวตนบนเกาะ คราวเคราะห์ห้ำหั่นบั่นหาญ
เยียใดใครทำรำบาน สงสารเศร้าเสียดเบียดเบียน ฯ
พ่อค้ากล่าวว่า .
๏ อ้าองค์ยุวดีมีลักษณ์อ.๑๒๙ แสนสลักโศกศัลย์หันเหียน
ยศศักดิ์อัคคฐานนานเนียร จวบเจียนจักปลดหมดปราณ
เหตุเข็ญเปนไฉนใคร่ทราบ รอยบาปไล่เบียดเสียดผลาญ
อยู่กรุงฟุ้งเฟื่องเนื่องนาน นงคราญทรงสวัสดิ์อัตรา
เกิดเหตุเภทพานปานไหน คือใครปกปักรักษา
จึ่งพรากจากพลัดซัดมา มรรคาข้ามสมุทสุดไกล
เกาะเลี่ยนเตียนโล่งโปร่งเปล่า นงเยาว์อยู่เดียวเปลี่ยวได้
บ้านเมืองเคืองแค้นแสนใจ ฤๅไฉนนางลี้หนีมา ฯ
         ๏ เมื่อนั้น ยุพยงทรงพรั่นปัญหา
ยินเค้าเขาถามความมา ไตร่ตราตรึกตรองคลองความ
เวียงทองก่องไกรใหญ่กว้าง แลสล้างลอยฟ้าน่าขาม
สีคำก่ำสดงดงาม เรืองอร่ามแลเหมือนเดือนเพ็ญ
เมืองใหญ่ใช่น้อยร้อยยอด ตาบอดฤๅไรไม่เห็น
อารักษ์ศักดิ์สิทธิ์ปิดเร้น มิดเม้นมิให้ใครพบ
แม้นเราเล่าเรื่องเมืองมาศ โอภาสพรายแสงแจ้งจบ
ทั้งเกาะเหมาะมั่นอรรณพ งามลบเลิศจริงยิ่งฟ้า
ชี้บอกไป่เห็นเช่นชี้ เห็นทีจักเห็นเปนบ้า
แม้นกล่าวราวเรื่องเนื่องมา เห็นว่าจักเห็นเปนบอ
ควรบอกออกนัยไปบ้าง กล่าวคำอำพรางบางข้อ
ชอกช้ำน้ำตามาคลอ ย่อท้อทางกรรมลำเค็ญ ฯ
นางตรัสตอบว่า .
๏ อ้าท่านชาญสมุทสุดหาญ ไขขานซึ่งข้อส่อเข็ญ
ข้าแสนแค้นเศร้าเช้าเย็น เพราะเปนกองกรรมทำมา
พระชนกยกเขยเชยคู่ สมสู่เษกคล้องสองข้า
ยามยากพรากพลัดภัดดา เวรพากรรมพัดซัดเซ
เธอเที่ยวเลี้ยวเลาะเสาะหา ตามข้าๆ จรร่อนเร่
เถลถลำลำบากวากเว้ อยู่เอ้องค์คร้ามตามค้น
จวบตูสู่เกาะเสาะหา พระสวามีร้างห่างหน
สองข้าอาภพอับจน จำด้นเดินดั้นวันคืน
ท่านตรึกนึกความยามเข็ญ ลำเค็ญโศกแค้นแสนขืน
เอ็นดูตูด้วยช่วยฟื้น สู่พื้นดินแคว้นแดนคน
อันผู้รู้หลักรักชื่อ นับถือความสัตย์ชัดผล
ตรึกตรองถ่องความงามมน ย่อมยลทางชอบกอบการ ฯ
         ๏ บัดนั้น วาณิชคิดคำร่ำขาน
ตรึกกริ่งนิ่งในใจนาน เยาวมาลย์ทรงลักษณ์ศักดิ์ล้ำ
เชื่อได้ใช่ปดคดเค้า แม้นเราเร้ารุกปลุกปล้ำ
ฤๅเข้าเย้าหยอกชอกช้ำ จักนำเปนเรื่องเครื่องร้อน
รู้ถึงซึ่งพระบิตุราช น่าขยาดฤทธิรงค์ทรงศร
ยากนักจักบุกซุกซอน ซอกซ่อนเร้นราชอาชญา
เราจำทำเช่นเห็นชอบ โดยรบอบแบบอย่างนางว่า
ล่อลวงบ่วงเล่ห์เวลา ที่พาสู่แหล่งแห่งเรา
โฉมเฉลาเบาคิดจิตต์คุ้น รู้คุณคงคลายวายเศร้า
เราลอบปลอบโฉมโลมเล้า ค่อยพเน้าพนอนวลชวนรัก
เชยชมสมหวังดังว่า ภริยาผ่องศรีมีศักดิ์
มอบกายหมายถนอมพร้อมพรัก นงลักษณ์ยินยอมน้อมใจ
สิงสู่อยู่สองครองสุข ทำนุกนวลน้องผ่องใส
นางอวยด้วยแล้วๆ ไป บิดาว่าใดไป่กลัว
รักลูกจำใจให้ลูก อยู่มั่นพันผูกลูกผัว
กูนี้มีบุญจุนตัว เหมือนวัวทรงเครื่องเรืองยศ
ลมพัดซัดไปใกล้เกาะ โชคงามยามเคราะห์เหมาะหมด
พบพานกานดาลาลดอ.๑๓๐ รัดทดทุกข์ภัยใช่น้อย
ลาภกูสู่หน้าปรากฎ เหมือนมดมาพบสบอ้อย
นงนุชบุษบามาย้อย อีกหน่อยหนึ่งภู่จู่ชม ฯ
วาณิชกล่าวว่า .
๏ อ้าองค์นงลักษณ์ศักดิ์ล้ำ พจน์ร่ำไพเราะเหมาะสม
ตูหวังตั้งหน้าปรารมภ์ จักชมบุญนางพางเพ็ญ
อุปถัมภ์ค้ำจุนหนุนโชค เฉลิมโฉลกเร็วคิดปลิดเข็ญ
หวังสึงพึ่งเยาว์เช้าเย็น อยู่เปนสุขสวัสดิ์อัตรา
บัดนี้มีคลื่นดื่นดุ วายุซ้อนซัดพัดกล้า
มีงานภารหนักจักลา ไปพาเรือแล่นแกว่นลม
ข้าเหลือเบื่อค้าวาณิชย์ แม้นคิดค้าศักดิ์จักสม
นางจงปลงโศกโรคกรม อารมณ์ร้างเศร้าเบาใจ ฯ
๏ ทูลนางพลางลามาพลัน ให้หันหางเสือเรือใหญ่
ตั้งทิศพิศแผนแล่นไป เจนใจชำนาญการเรือ
แผนที่ชี้ทางกลางคลื่น ดึกดื่นเดินเบี่ยงเฉียงเหนือ
คลื่นคล่ำน้ำเซ็นเปนเกลือ ลมเอื้อแล่นอ้าวราวบิน
เทพเจ้าเนาเรือเมื้อด้วย อำนวยนิรภัยในสินธุ์
วันสามยามเย็นเห็นดิน แถวถิ่นภูมิ์ฐานบ้านเมือง
เวียงชัยใหญ่กว้างอย่างเอก รุจิเรขชนลือชื่อเลื่อง
นาครัฐนามกรุงรุ่งเรือง ไกรเกรื่องเกียรติ์กล้าธาตรี
ราชาปรากฎยศยิ่ง เศิกกริ่งเกรงหน่ายพ่ายหนี
ทรงนามรามเสนฤทธี เหมือนมณีช่วงเชิดเลิศชน
ปวงราษฎร์ปราศร้อนนอนสุข ทำนุกถิรนานบานผล
แย้มหยิ่มอิ่มมุขทุกตน โภคล้นทรัพย์ล้ำสำเริง ฯ
๏ กล่าวฝ่ายนายลำกำปั่น มาดมั่นจิตต์มุ่งยุ่งเหยิง
ใจคอพ่อค้าร่าเริง แต่เพลิงราคเร่าเร้ารึง
ใบกว้างกางแล่นแม่นเข็ม ลมเต็มเร็วพามาถึง
วิ่งอ้าวอ่าวใหญ่ใบตึง ห่อนหึงให้ปลดลดใบ
เรือเลียบเทียบแอบแทบท่า พลันพายุพดีศรีใส
จากเรือเมื้อเรือนเหมือนใจ ทรามวัยหวาดหวั่นพรั่นแด ฯ
๏ ฝ่ายชนชาวกรุงมุงเห็น นงเพ็ญเพียงจันทร์พรรณแข
บอกกันพลันพามาแล จอแจโจษจรรลั่นเวียง
พ่อค้าพานางพลางเดิน นางสเทินใจแท้แซ่เสียง
คือเดือนเลือนฟ้ามาเมียง สำเนียงบรรลืออื้อไป
ว่าวาณิชใหญ่ไปค้า ได้สาวชาวฟ้ามาใหม่
ทั่วภพจบแผนแดนไกล หาไม่มีนางอย่างนี้ ฯ
๏ ปางพระราชาปรากฎ พระยศยรรยงทรงศรี
แรมป่าล่ามฤคถึกมี เสือสีห์ซอกซอนซ่อนเร้น
หลายวันดั้นพงดงพฤกษ์ คักคึกพลไพร่ไล่เล่น
ต้อนเต้าเช้าสายบ่ายเย็น เคี่ยวเข็ญฆ่าเนื้อเหลือนับ
ผ่อนราชอารมณ์สมหมาย ทรงสบายเจ็ดวันผันกลับ
ยามเที่ยงเบี่ยงร้อนผ่อนทัพ อยู่พลับพลาใหญ่ใกล้เมือง
ฝูงคนกล่นไกลไปมา มากหน้ามากผู้รู้เรื่อง
นงเพ็ญเช่นพรรณ์จันทร์เรือง ชนเลื่องลือว่าน่าชม
ใต้หล้าหาใครไม่เหมือน คือเดือนเด่นพักตร์ศักดิ์สม
จำเริญเพลินตาอารมณ์ งามคมคิดเหมือนเลื่อนฟ้า ฯ
๏ อันคำร่ำลือชื่อไซร้ ทราบไปถึงท้าวเจ้าหล้า
ยินข่าวท้าวทรงสงกา นึกน่าใคร่เห็นเย็นนี้
กล่าวความงามสุดผุดผาด เหลือคาดเหลือคิดอิตถี
งามเพ็ญเช่นจันทร์วรรณี จักมีฤๅไรใคร่รู้
ความจริงกริ่งใจไม่เชื่อ วาจาบ้าเบื้อเบื่อหู
แต่จิตต์คิดใคร่ไปดู จักสู้นางในได้ฤๅ ฯ
๏ พระเสด็จเยื้องยาตร์บาทย่าง ทรงช้างมันมัวตัวดื้อ
หมอควานชาญคชกดมือ ขอถือข่มรั้งบังคับ
สิ้นแดดแผดเผาเบาร้อน ซับซ้อนเกณฑ์แห่แลสรรพ
ผู้คนพลเมืองเนืองนับ คั่งคับกันดูภูมี ฯ
๏ ฝ่ายองค์นงคราญกานดา นางกนกเรขาไขศรี
พ่อค้าพาสู่บูรี ยุวดียำเยงเกรงภัย
สังเกตกิริยาอาการ ห้าวหาญเห็นเหลือเชื่อได้
นิสัยใช่ซื่อถือใจ จักไว้วางจิตต์ผิดจริง
เขาพามาขังยังบ้าน ปิดทวารบานใหญ่ไว้นิ่ง
มุ่งพักตร์จักแนบแอบอิง สู่สิงสมสองครองนาง
นางนึกตรึกไตรในจิตต์ จักคิดหลบลี้หนีห่าง
เยี่ยมแกลแลไกลในทาง เห็นช้างไย่ๆ ไต่เดิน
นางพยักกวักหัตถ์ตรัสขาน อ้าท่านเที่ยวท่องคล่องเถิน
ขับสารผ่านแกลแลเพลิน ขอเชิญอยุดยั้งฟังตู ฯ
๏ ปางนายช้างต้นยลนาง เกี่ยวช้างยั้งไว้ในผลู
อยุดพลันผันหน้ามาดู จอมภูทรงพยักพักตร์ยิ้ม
เขาเกี่ยวช้างไปใกล้แกล พิศแขไขงามครามจิ้ม
ชมเนตรนงลักษณ์พักตร์พริ้ม แสนอิ่มตาปลื้มลืมพริบ ฯ
๏ ฝ่ายพระทรงชัยไกรยศ ปรากฎศักดิ์สิทธิ์ทิศสิบ
เห็นองค์นงรามงามทิพย์ เหมือนหยิบจันทร์จากฟากฟ้า
ลืมองค์ทรงตลึงอึ้งอัด จอมกษัตร์แสนโฉดโอษฐ์อ้า
พบความงามเลิศเปิดตา ปัญญาอัดอั้นตันไป
แลตลึงถึงหน้าหน้าต่าง ยินนางกล่าวตรัสชัดใกล้
นายช้างยั้งช้างอย่างใจ ท้าวให้เทียบแอบแทบแกล ฯ
๏ เมื่อนั้นนงรามงามลักษณ์ ผิวพักตร์ผ่องเห็นเพ็ญแข
ช้างอยุดยืนดังหวังแด นึกแน่ในบุญหนุนชนม์
เกาะหน้าหน้าต่างพลางปีนปล่อยตีนลงกลางช้างต้น
เสียหลักจักยั้งยังตน ให้พ้นพลัดตกหกไป
จึ่งนางกางคว้าหาท้าว จอมด้าวเอื้อมรับจับได้
สัมผัสหัตถ์นางพางใจ เพียงได้สุขสันต์ชั้นบน
หมอช้างไสช้างย่างไย่ เต้าไต่ตามแถวแนวหน
ท้าวปริ่มอิ่มอาบซาบมน เหมือนผจญได้แคว้นแสนดิน ฯ
๏ กล่าวฝ่ายพ่อค้าบ้าจิตต์ เพลินคิดความรักจักดิ้น
เอิบอาบปลาบปลื้มลืมกิน นึกนิลนัยนาน่าชม
กรุ้มกริ่มอิ่มก้อพอบ่าว บอกข่าวแขงขืนขื่นขม
หน้าหมองมองหายาดม เปนลมเลยตายวายปราณ ฯ
๏ ปางองค์พงศ์สูรย์ภูลศักดิ์ ฤทธิ์รักรุมร้าวห้าวหาญ
เอมใจได้องค์นงคราญ ภูบาลเร่งช้างย่างดิน
ครั้นถึงซึ่งราชนิเวศน์ นรเศรษฐ์ปลาบปลื้มลืมสิ้น
๏ เล็งพักตร์ลักษณ์นางพางอินทุ์อ.๑๓๑ งามนิลนัยนาน่าเพลิน
ตรัสว่าอ้าเจ้าเพราพักตร์ จงหักใจรหวยขวยเขิน
ปราศจิตต์คิดข้องหมองเมิน ขอเชิญนางช่วยอวยความ
ให้รู้ลู่แหล่งแห่งเจ้า โฉมเฉลาอย่าขลาดหวาดขาม
ตรงๆ จงบอกออกนาม นงรามอย่าพวงสงกา ฯ
         ๏ เมื่อนั้น โฉมยงองค์กนกเรขา
ยินเลศเกศกษัตร์ตรัสมา กัลยาณิ์ทูลความตามจริง ฯ
นางทูลว่า .
๏ ข้าแต่พระมหาราชา โศกข้าแสนเข็ญเปนหญิง
ไร้ผู้กู้เกื้อเอื้ออิง ทุกสิ่งทุกส่วนล้วนทุกข์
กุลเลิศเกิดดีมีชาติ เปนราชชาดาผาสุก
กรรมกล้ามาตามลามลุก บั่นบุกเบียนเบียดเสียดซ้อน ฯ
พระราชาตรัสว่า .
๏ อ้าเจ้าเสาวภาคจากฟ้า ใจข้าร้อนเริงเพลิงศร
กานดาอย่าสลัดตัดรอน ยั้งหย่อนอยู่ยังวังนี้
เปนราชนารีมีลักษณ์ อ่าศักดิ์เอี่ยมทรงพงศ์ศรี
พ่อค้าบ้าใจใคร่มี กษัตรีอยู่เย่าเนาเรือนอ.๑๓๒
เปรียบอย่างนางสีห์มีศักดิ์ อยู่พักโพรงหมาพาเปื้อน
คาดคิดผิดเปรอะเลอะเลือน ฟั่นเฟือนไพร่ๆ ใจมัน
นงเยาว์เนาปนคนบ้า นึกน่ารังเกียจเดียดฉัน
พี่เห็นเพ็ญเจ้าเพราจันทร์ หมายมั่นจักถนอมจอมนาง
เหมือนมณีมีมาหาพี่ มารศรีอย่ารคนหม่นหมาง
ตูหวังฝังเสน่ห์เล่ห์วาง เพชรกลางมงกุฎสุดรัก
จักผดุงกรุงไกรใหญ่เกิด เกียรติ์เชิดชูสูงจูงศักดิ์
โชคงามยามเคราะห์เหมาะนัก นงลักษณ์เร่งลดปลดร้อน ฯ
นางทูลว่า .
๏ อ้าองคทรงเดชเกศหล้า พระอย่าย้อนยอกหยอกหยอน
พระองค์ทรงธรรมกำจร ชนช้อนชูชมสมภาร
ทรงศักดิ์รักชื่อถือสัตย์ บำบัดทุกขราษฎร์อาจหาญ
ทศพิธราชธรรมนำมาน ปราบพาลพรรคเผ่าเหล่าร้าย
ตูข้าสามีมีแล้ว แต่แคล้วคลาดร้างห่างหาย
เวียนหวังตั้งใจไม่วาย มั่นหมายเมื้อหาสามี
พระองค์จงยั้งฟังข้า เทพดาอารักข์สักขี
ปราศธรรมนำหทัยไม่ดี บาปกรรมยำยีชีวิต
ข้าไซร้ไม่มีที่พึ่ง ท้าวพึงเอื้อเฟื้อเกื้อจิตต์
ละความลามลวนชวนชิด ทรงฤทธิ์จักล้ำจำเริญ ฯ
พระราชาตรัสว่า .
๏ อ้าองค์นงรามงามหล้า คือเดือนเลื่อนฟ้ามาเหิร
แยบอย่างทางธรรมจำเริญ ตูเพลินจิตต์รักนักธรรม์
เจ้าไซร้ใจซื่อถือสัตย์ สารพัดไพเราะเหมาะมั่น
ผัวร้างห่างไปไกลกัน สู่สวรรค์เสียแล้วแคล้วรัก
ทางธรรม์นั้นตูรู้บ้าง แต่นางนำคลาดปราศหลัก
เพราะนิลนัยนามาชัก ให้พวักพวนใจใคร่ชิด
แรงราคมากมั่นพันผูก ไม่รู้จักถูกจักผิด
มึนเมาเบาเต็งเพ่งพิศ หมายจิตต์มุ่งจักรักน้อง
ถ้อยธรรมคำเทศน์เลิศซื่อ ไป่ถือว่าสัตย์ขัดข้อง
นางจักชักใจให้ปอง ทำนองทางธรรมนำคิด
เหมือนเอาไยบัทม์มัดช้างอ.๑๓๓ มัดอย่างใดๆ ไม่ติด
คลาดรักจักลี้ชีวิต เชิญขนิษฐ์น้อมใจในรัก
กานดาการุญหนุนสุข จักทนุกนงรามงามศักดิ์
อุปถัมภ์จำเริญเชิญชัก ความรักล้อมนางอย่างรั้ว
หวังผดุงจุงใจให้นุช แสนสุดสุขปลื้มลืมผัว
เหมือนหนองน้อยน้ำคล้ำมัว แห้งทั่วเพราะแดดแผดร้อน ฯ
นางทูลตอบว่า .
๏ อ้าพระราชาปรากฎ พระยศแผ่ย่านพาลหยอน
พลัดผัวตัวข้าอาวรณ์ คือฟอนไฟลุกทุกข์เร้า
เหมือนสมุทสุดลึกทึกมาก แสนยากที่แดดแผดเผา
พระอย่ามายั่วมัวเมา ขอเนาความสัตย์อัตรา
ตั้งใจไปเดียวเที่ยวทั่ว ทุกคามตามตัวผัวข้า
พากเพียรเวียนหวังตั้งตา เดินหนด้นหาสามี ฯ
๏ ปางพระภูเบศเกศแคว้น หมายแม่นมั่นชมสมศรี
อิ่มจิตต์พิศหน้านารี เปนที่จำเริญเพลินรัก
ฟังนางอย่างผู้หูหนวก ยิ่งบวกความใคร่ให้หนัก
ข้อธรรมคำที่ชี้ชัก พิศพักตร์เพลินไปไป่ยิน
คำขัดทัดทานฐานซื่อ เปรียบคือรดชลบนหิน
น้ำลี้หนีไหลในดิน แห้งสิ้นสูญไปไป่คง
แย้มพยักพักตร์ยิ้มอิ่มเอิบ กำเริบราครุมลุ่มหลง
กลุ้มกลัดหัตถ์อ้าหาองค์ สุดทรงเสียวศัลย์ปั่นทรวง ฯ
          ๏ เมื่อนั้น นงเพ็ญเห็นท่าบ้าหลวง
โอ้กรรมทำแค้นแสนตวง จักล่วงหลีกจากยากจริง
ห้วงหนึ่งพึ่งลี้หนีได้อีกห้วงบ่วงใหญ่ภัยยิ่ง
ใจเสือเหลืออ้อนวอนวิง ค้านติงไม่หยุดสูดรู้
จำใจใช้มายาหญิงซึ่งสิ่งอื่นไซร้ไป่สู้
กลศึกตรึกตัดศัตรู เนตรกูอาวุธสุดคม
นึกพลางนางพริ้มยิ้มเยื้อง ชำเลืองเนตรครามงามสม
ท่วงทียียวนชวนชม เหมือนกลมเกลียวใจในรัก ฯ



อ.๑๒๘ “เหี้ยมทุกข์เทียมผามาพิง”. “เหี้ยม” แปลว่าเหตุ.
อ.๑๒๙ “ยศศักดิ์อัคคฐานนานเนียร”. “นานเนียร” หมายความว่าไม่มีมานาน (เนียร = นิร)
อ.๑๓๐ “พบพานกานดาลาลด”. “ลาลด” แปลว่าลห้อย.
อ.๑๓๑ “เล็งพักตร์ลักษณ์นางพางอินทุ์”. “อินทุ” แปลว่าพระจันทร์.
อ.๑๓๒ “กษัตรีอยู่เย่าเนาเรือน”. “กษัตรี” แปลว่านางกษัตริย์ ใจความตรงนี้มีอธิบายว่าคนในตระกูลพ่อค้ามีวรรณต่ำ จะกำเริบเอานางกษัตริย์ซึ่งเปนคนวรรณสูงไปเลี้ยงไว้ในเรือนนั้นผิดแบบแผนประเพณีตลอดถึงพระเวท นับว่าเปนบาป.
อ.๑๓๓ “เหมือนเอาไยบัทม์มัดช้าง”. “ไยบัทม์” แปลว่าไยบัว.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 ธันวาคม 2561 14:50:50 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #12 เมื่อ: 19 ธันวาคม 2561 13:55:25 »

                                     
       . กนกนคร  .
       พระนิพนธ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ (น.ม.ส.)

นางทูลว่า .
๏ อ้าพระทรงฤทธิ์กิตติ์เลิศ ยศเชิดชูวงศ์ทรงศักดิ์
ตัวข้ามาเดียวเปลี่ยวนัก หมายพักตร์พึ่งองค์ทรงแคว้น
มาสู่อยู่ในมือท้าว จอมด้าวเอื้อเฟื้อเหลือแสน
โอบอ้อมออมใจไป่แคลน เห็นแม่นมั่นว่าการุญ
ท้าวเลี้ยงเพียงนี้มีหรือ จักดื้อใจเดี่ยวเฉียวฉุน
มอบกายหมายสึงพึ่งบุญ คิดคุณจอมกษัตร์อัตรา
ขอสนองรองบาทนาถเจ้า ใฝ่เฝ้าภูลภักดิ์รักษา
นบนอบมอบปราณผ่านฟ้า เปนข้าช่วงใช้ใกล้ท้าว
แต่วันนี้น้องข้องขัด ขอผัดภูมินทร์ปิ่นด้าว
หวังรมย์กลมกลืนยืนยาว ปราศร้าวร่มราบตราบม้วย
วันนี้เปนวันอุบาทว์ โลกาวินาศน์อีกด้วย
จักสู่คู่ชื่นรื่นรวย เหมือนช่วยปลูกเคราะห์เพาะทุกข์
ลำบากยากแค้นแสนเข็ญ ย่อมเปนไปเฉกเสกปลุก
เชื่อข้าอย่าเข้าเร้ารุก สำบุกสำบันวันนี้
พระองค์จงฟังดังว่า ใจข้าไม่หมายหน่ายหนี
แม้นไม่เมตตาปรานี ชีวีจักบั่นสั้นไป ฯ
         ๏ เมื่อนั้น ภูมินทร์ยินคำร่ำไข
หื่นเหมเปรมปริ่มอิ่มใจ จักได้รื่นรมย์สมนึก
นางนัดผัดรุ่งพรุ่งนี้ วันดีฤกษ์งามยามดึก
วันนี้ผิวขืนครื้นครึก อึกทึกเปล่าๆ เบาความ
ไม่ให้นงลักษณ์พักผ่อน บังอรจักคิดจิตต์ขาม
พึงงดอดออมยอมตาม โฉมงามปลงใจให้แล้ว
ใจหญิงจริงอยู่กูทราบ มีสภาพโอนอ่อนหย่อนแกล้ว
เพียรเกี้ยวเดี๋ยวใจไม่แคล้ว ผ่องแผ้วอารมณ์สมคิด ฯ
๏ ตรองตรึกนึกในใจท้าว จอมด้าวดูดดื่มปลื้มจิตต์
ใคร่เข้าเคล้าคู่ชูชิด เพลินพิศเพราทรงนงลักษณ์
ท้าวยลนางยิ้มพริ้มเนตร ทรงเดชลืมองค์ทรงศักดิ์
จักขยับจับจูบลูบพักตร์ แสนขยักขย่อนอกฟกร้าว
ได้คิดๆ ว่าอย่าเพ่อ ทำเซ่อซุ่มซ่ามความฉาว
จักชมสมใจในคราว เมื่อสาวน้อยน้อมยอมองค์ ฯ
๏ ท้าวเสด็จเดินออกนอกห้อง กลับย่องมาเมียงเยี่ยงหลง
พิศนางร่างสลวยงวยงง ยุพยงยิ้มพรายชายตา
เชิญไท้ให้ยาตร์บาทออก ไปนอกห้องกลางข้างหน้า
ฤกษ์งามยามดีมีมา อย่าช้าเชิญกลับฉับไว
ขอเปนทาสีมีจิตต์ มานิตน้อมพักตร์รักใคร่
ปราโมทโปรดปรานฐานใด เต็มใจจักยอบมอบกาย ฯ
๏ ปางพระราชานายก ทรงวกเวียนเพลินเดินหลาย
ไปแล้วมาเล่าเมามาย วุ่นวายสับสนวนเวียน
หักใจไปนั่งยังอาสน์ ว่าราชการปรามหนามเสี้ยน
ปวงโจรใจร้ายตายเตียน ฆ่าเฆี่ยนตามทรงบงการ
ฟังคดีมีสัตย์ตัดสิน สอบสิ้นซ้อมซักหลักฐาน
ยุติธรรมดำริห์พิจารณ์ เพ่งใจในงานบ้านเมือง ฯ
๏ ฝ่ายพระยุพยงทรงเลศ ใช้เนตรนงรามงามเลื่อง
เปนศัสตราวุธยุทธเยื้อง ปลดเปลื้องทุกข์ภัยใดพลาง
ขวัญอนงค์ทรงเรียกสาวใช้ ไวๆ เปิดทวารบานข้าง
จงแสดงแจ้งที่ชี้ทาง ปิ่นนางคือนงองค์ใด
เปนพระมหิษีมีศักดิ์ ตำหนักโฉมตรูอยู่ไหน
สูเร่งเพ่งพาคลาไคล ตูใคร่เฝ้าฟังบังอร ฯ
๏ บัดนั้นสาวใช้ใจสั่น หวาดหวั่นภัยองค์ทรงศร
อันองค์นงรามงามงอน ภูธรพิสมัยใคร่ชม
แม้นเราเข้าคัดขัดขาน เยาวมาลย์หมายใจไม่สม
นางโกรธโทษแค้นแสนคม กูจมทุกข์แท้แน่ใจ
อันองค์ทรงศักดิ์จักรพรรดิ เหมือนดินในหัตถ์จัดได้
นงลักษณ์จักปั้นฉันใด เปนไปตามอย่างนางทำ
คิดพลันผันหน้าพานาง เยื้องย่างเร็วไปในค่ำ
นงรามตามพลางนางนำ สู่ตำหนักใหญ่ในวัง ฯ
๏ จวบขณะพระราชมหิษี เธอมีหฤทัยไคล้คลั่ง
เรื่องราวข่าวร้ายหมายฟัง กำลังเรียกข้ามาทูล
แค้นใจใคร่ทุบอุบอก นายกแดนใหญ่ไอสูรย์
ปรากฎยศไกรไพบูลย์ ประยูรพร้อมพรั่งดังดาว
ควรหรือถือแยบแบบไพร่ เครื่องให้คนฟังรังหยาว
คบนางกลางตลาดชาติคาว เกี้ยวสาวเมื่อเฒ่าเจ้าชู้
ใครเถือเนื้อเล่นเช่นแกะ ใคร่แฉละอกเล่นเช่นหมูอ.๑๓๔
เจ็บหนักจักใคร่ไปดู โอ้กูอกเกรียมเทียมไฟ ฯ
๏ กำลังนางกษัตร์กลัดกลุ้ม รึงรุมเพลิงโกรธโรจน์ไหม้
บัดเดี๋ยวเหลียวแปรแลไป สบนัยนานางย่างเดิน
ท่าทางอย่างยอบนอบน้อม งามลม่อมมรรยาทปราศเขิน
นิ่มนวลยวนยิ้มพริ้มเพลิน จำเริญแลสง่าน่ารัก
มหิษีมีจิตต์พิศวง เห็นองค์มารศรีมีศักดิ์
เข้ามาคารพซบพักตร์ นงลักษณ์สงสัยนัยนา ฯ
         ๏ เมื่อนั้น โฉมยงองค์กนกเรขา
อภิวาทน์บาทมูลทูลมา กัลยาณิ์จงทราบบทมาลย์
นางเปนที่พึ่งหนึ่งเดียว ข้าเปลี่ยวเปล่าใจภัยผลาญ
แม้นไม่ปราโมทโปรดปราน จักลาญรอนชีพรีบมรณ์
วันนี้ภูเบศเกศรัฐ จอมกษัตร์เรืองรงค์ทรงศร
เธอเถลิงหลังช้างย่างจร เนืองนรแห่แหนแน่นมา
ทรงเขม้นเห็นข้าหน้าต่าง เทียบช้างอยุดทัพรับข้า
สู่วังตั้งเปนชายา เชิดหน้าชูนวลชวนชม
ตัวข้าสวามีมีแล้ว แต่แคล้วคลาดร้างห่างสม
อาภัพอับโชคโศกกรม รันทมทุกข์ทำยำยี
ไม่สมัครักท้าวเจ้าหล้า มุ่งหน้าเปนนิตย์คิดหนี
รักข้าๆ ไม่ไยดี เทวีจงไว้ใจวาง
ช่วยตูสู่ป่าล่าหนี รีบลี้เร็วเดินเหินห่าง
เมตตาข้าเถิดเปิดทาง ในกลางราตรีนี้เจียว
เวลาจำเพาะเหมาะแล้ว ขอแคล้วคลาดไปไป่เหลียว
ช้านักจักฉาวกราวเกรียว คืนเดียวคืนนี้ดีนัก ฯ
         ๏ เมื่อนั้น องค์พระมหิษีมีศักดิ์
ยินคำพร่ำว่าน่ารัก แสงจักษุสองส่องฟ้า
ทรวดทรงนงเยาว์เพราพริ้ง ทุกสิ่งหมายเหมือนเลื่อนหล้า
เกศแก้มแช่มชื่นรื่นตา นาสาสวยสมกลมกลืน
ฉนี้หรือทรงศักดิ์จักแคล้ว คลาดแร้วความรักหักขืน
ฟั่นเฟือนเหมือนไฟไหม้ฟืน ยากหนักจักฟื้นฝืนไฟ
อันความงามนางอย่างนี้ จักมีใครหักรักได้
เห็นนิลนัยนายาใจ คลั่งไคล้คือบ้าสามานย์
เหมือนศรพระอนงค์ทรงแผลง จากแล่งทั้งห้ามาผลาญ
แม้นพระภูมินทร์ปิ่นปราณ ได้สราญเริงรมย์ชมนาง
ท้าวจะละเลยเฉยทิ้ง ทุกสิ่งสารพัดขัดขวาง
บ้านเมืองเคืองขุ่นวุ่นวาง จะรคางใจเคืองเครื่องร้อน
ฝ่ายกูผู้พระมหิษี จักมีทุกข์เถือเหลือถอน
จำกูจักกันบั่นทอน ตัดตอนแต่ต้นหนภัย ฯ
พระมหิษีตรัสว่า .
๏ อ้าเจ้าเยาวมาลย์หวานถ้อย สาวน้อยคือพรรณ์จันทร์ไข
แยบอย่างทางธรรมนำใจ งามหทัยเทียมความงามองค์
จักช่วยอวยทางอย่างว่า เดินป่าอย่าเดินเพลินหลง
ไว้หวังตั้งใจให้ตรง สงวนองค์สงวนสัตย์อัตรา ฯ
๏ ตรัสพลางนางกษัตร์ตรัสสั่ง กำนัลอันนั่งพร้อมหน้า
ล้วนสนิทชิดใช้ใกล้ตา วิ่งหาเครื่องแต่งแปลงวรรณ
ปลอมองค์นงเยาว์เค้าไพร่ พาให้รีบลี้ผลีผลัน
ออกจากวังในไปพลัน สาวสวรรค์หลบหลีกปลีกไป ฯ
๏ ปางพระภูเบศเกศรัฐ จอมกษัตร์ชื่นแช่มแจ่มใส
คอยฤกษ์เบิกบานดาลใจ จักใคร่สู่สมชมนาง
คิดเข้าเล้าโลมโฉมศรี พูดจาพาทีแผ้วถาง
นึกซ้อมวาจาท่าทาง อางขนางไปไยใช่ควร
อุ๊ยอย่าหยิกซีพี่เจ็บ คมเล็บใช่ซึ่งพึงสรวล
นึกจูบลูบคางนางนวล นึกข่วนนางขีดกรีดเกา
ยามดึกนึกซ้อมออมอุ้ม ในจิตต์คิดจุมพิตเจ้า
นึกก่ายกายองค์นงเยาว์ นึกเดากำดัดอัศจรรย์ ฯ
๏ ครั้นทราบว่านางร้างหนี ภูมีเฉียวฉุนหุนหัน
คลั่งคล้ายคชสีห์มีมัน วิ่งถลันแล่นบ้าฆ่าคน
สำเนียงเวียงวังดังล่ม บ้างล้มบ้างถลากาหล
อุตลุดสุดใจไพร่พล แตกร่นล้มตายรายตา ฯ
         ๏ เมื่อนั้น ยุพยงองค์กนกเรขา
หนีออกนอกเมืองเนื่องมา ถึงป่านางยั้งนั่งพัก
รันทมกรมใจใหญ่หลวง สุดตวงเต็มโอฆโศกสัก
เหน็ดเหนื่อยเมื่อยองค์นงลักษณ์ กรรมสลักทรวงเร้าเศร้าล้น
โศกลึกนึกในใจนาง อ้างว้างอารัณย์ดั้นด้น
แม้นแอบแทบฐานบ้านคน ฝูงชนเดินดูรู้เค้า
จักตกคืนไปในวัง เนานั่งหน้าเปลี้ยเมียเจ้า
ท้าวผัวปัวเปียเคลียเคล้า ค่ำเช้าเชยชิดติดกรง
แม้นไม่คืนไปในหัตถ์ แห่งกษัตร์ซึ่งใจใหลหลง
เหลือหลายชายอื่นดื่นองค์ อันทนงน้ำใจใคร่เรา
เห็นแสงนัยนาหน้ามืด เพาะพืชเสนหาบ้าเขลา
กระสันพันพัวมัวเมา เหลือเต้าไต่ลี้หนีมัน
หญิงงามยามร้างห่างผัว พึงกลัวภัยชายหมายมั่น
บุกไพรไคลคลาอารัณย์ ไป่พรั่นสิงห์สัตว์กัดตน
ส่ำสีห์หมีเสือเนื้อร้ายอ.๑๓๕ ทั้งหลายที่ในไพรสณฑ์
โดยมากหากหาญผลาญคน เพราะผลอาหารการกิน
ภัยชายร้ายยิ่งสิงห์ร้าย ทำลายเกียรติ์หญิงยิ่งฉิน
จำกูอยู่ไพรไต่ดิน สู่ถิ่นสีห์เสือเนื้อร้าย ฯ
๏ นางเสด็จเตร็จดั้นบั่นบุก เหล่ารุกข์ล้วนหลากมากหลาย
วันคืนขืนองค์ทรงกาย ทุกข์มลายรักล้ำจำราญ
สงสารการเสวยเคยเอก รสอเนกนานาอาหาร
ยามยากตรากตรำรำคาญ ยังปราณอยู่ป่วนปรวนแปร
มันเผือกเลือกหามาได้ ก็ไม่มีรสหมดแก้
ลำธารที่เสวยเชยแด จอกแหนไหลหลากมากเจียว
ดงหนามคร้ามครั่นมันเหลือ นางเมื้อมันมองจ้องเกี่ยว
เจ็บเนื้อเหลือขามหนามเรียว ลดเลี้ยวกีดกั้นมรรคา
หนามเชือดเหลืดไหลใสแสง คือแดงทับทิมจิ้มหญ้า
อัสสุพุหล่นบนคา คือว่าเพ็ชร์แพรวแววพราย
ทรมาทารกำลำบาก แสนยากยามร้างห่างหาย
พลัดพรากจากผัวตัวตาย จักสลายชีพสลัดตัดลง
เดินป่ามาเดียวเปลี่ยวแสน คับแค้นขุ่นเข็ญเปนผง
ครั้งนี้ชีวิตปลิดปลง ไป่ทนงว่ามีชีวะ ฯ
๏ อ้าอโศกปราศโศกโชคชื่นอ.๑๓๖ ยั่งยืนอยู่สถิตอิศระ
เหลือคเนเวลาวาระ วัฒนะอยู่ในไพรนี้
ช่อช้อยย้อยยวนชวนชื่น เริงรื่นรุกขมูลภูลศรี
อยู่เปนหลักป่าตาปี เปนที่ร่มร้อนผ่อนทุกข์
อ้าศรีวีตโศกโบกบัตรอ.๑๓๗ คือฉัตรชูเฉลิมเสริมสุข
ตูโศกโรคเศร้าเร้ารุก เคล้าคลุกเคราะห์กรรมลำเค็ญ
จงอโศกศรีไพรไพศาล ช่วยสมานทุกข์ข้ากล้าเข็ญ
บอกแจ้งแหล่งทิศมิดเม้น ซึ่งเร้นซ่อนตัวผัวตู
น่าที่ศรีอโศกโบกเศร้า พฤกษ์เฒ่าจงแถลงแจ้งผลู
ปัดโบกโศกในใจตู จึ่งสูจักสมสมญา ฯอ.๑๓๘
อ้าพยัคฆ์ศักดิ์กล้าสามารถ น่าขยาดยามโกรธโอษฐ์อ้า
เข้มแขงแรงเรี่ยวเที่ยวมา แยกเขี้ยวเคี้ยวข้าสาใจ
โอ้มฤคราชากล้าหาญ ถิ่นฐานคูหาอาศัย
เจนแผนแดนป่าราชัย ข้าไหว้จงบอกออกมา
ว่าพระอมรสีห์มีศักดิ์ สำนักอยู่ไหนในป่า
ช่วยข้าอย่าเผด็จเม็ตตา กอบการุญตูผู้เมื้อ
แม้นไม่ให้ทางอย่างว่า กินข้าเสียเถิดเลิศเหลือ
โอ้กูผู้ปราศญาติเครือ บอกเสือๆ ไม่ไยดี
เชิญกินไป่กินผินหลีก ปลดปลีกตัวหายหน่ายหนี
รังเกียจเดียดฉันทันที บัดสีสุดแสนแค้นใจ
สัตว์ดีมีเกียรติ์เกลียดข้า จำจิตต์คิดหาหมาไพร่
ชาติศวาสามานย์พาฬไพรอ.๑๓๙ คงไม่ปล่อยปละละลด
เชื้อชาติราชกุลบุญมาก ยามยากบาปตุ้นบุญหด
กรรมใหญ่ไล่ทันรันทด แสนสลดเหลือสลัดปัดทิ้ง ฯ
๏ อ้าพญากาสรร้อนหนัก ลงปลักตีแปลงแหล่งสิง
นอนทึกนึกเห็นเย็นจริง เกลือกกลิ้งกลางหล่มจมโคลน
พาหนะพระยมสมยศ ปรากฎเก่งกาจผาดโผน
ข้าทำกรรมอยาบบาปโยน โทษโพ้นเร็วลามตามรุก
ถึงที่ชีวิตปลิดปลด รันทดทุกข์เถือเหลือปลุก
ขอพึ่งซึ่งมหิงส์ทิ้งทุกข์ สู่สุขปรโลกโศกไร้
พาเฝ้าเจ้าแห่งแหล่งหน้า พึ่งอารีท้าวด้าวใต้อ.๑๔๐
จากโคลนโผนพาเข้าไป ไวๆ บัดนี้ดีนัก ฯ



อ.๑๓๔ “ใคร่แฉละอกเล่นเช่นหมู”. เมื่อกำลังแต่งกลอนนี้ ในเวลาอ่านทวนได้มีผู้ทักว่าเรื่องนี้กล่าวว่าเปนเรื่องแขก เหตุใดจึงใคร่แฉละหมู ผู้แต่งคิดว่าเมื่อพิมพ์หนังสือนี้แล้ว อาจถูกทักเช่นนี้อีกหลายราย จึงเห็นควรจะชี้แจงไว้บ้าง.
เรื่องนี้เนื้อเรื่องเดิมเปนเรื่องแขกฮินดู แลแขกนั้นมีหลายพวก ถ้าจะกล่าวให้เข้าใจเรื่องแขกทุกประเภทก็เห็นจะต้องมีสมุดเล่มโตๆ อีกเล่มหนึ่งจึงจะพอเล่าย่อ ๆ ได้ อันที่จริงคำว่าแขกนั้นภาษาไทยเดิมก็แปลว่าคนมาจากด้าวอื่นเท่านั้น คำที่เราใช้ว่า “แขกเมือง” เดี๋ยวนี้ใช้ตรงตามความเดิม.
แขกเกลียดหมูนั้นแขกอิสลามหรือที่เรียกว่าแขกมหะหมัด แขกฮินดูไม่เกลียดหมูยิ่งกว่าสัตว์อื่น พวกที่มี “วรรณ” สูงแลถือเคร่งย่อมไม่กินเนื้อสัตว์เลย ไม่ว่าหมูหรืออะไรหมด แต่พวกที่ “ วรรณ “ ต่ำหรือไม่เคร่งย่อมกินเนื้อสัตว์รวมทั้งหมูด้วย.
อนึ่งควรเปนที่เข้าใจกันว่าเรื่องนี้เนื้อเรื่องเดิมแขกก็จริง แต่ในที่นี้ไทยแต่งสำหรับไทยอ่าน จึงกลายเปนไทยยิ่งกว่าแขกแปลงชาติ ท่านอย่าลืมว่าเรื่องรามเกียรติ์นั้นก็เรื่องแขกฮินดู แต่พระรามทำอะไรหลายอย่างที่แขกไม่ทำ
อ.๑๓๕ “ส่ำสีห์หมีเสือเนื้อร้าย”. วาฬมิค แล วฺยาลมฤค คือสัตว์ซึ่งกินสัตว์อื่นเปนอาหาร ได้แก่เสือเปนต้น เหล่านี้เรียกว่า “เนื้อร้าย”
อ.๑๓๖ “อ้าอโศกปราศโศกโชคชื่น”. คำกล่าวแก่ต้นอโศกทำนองนี้ได้แต่งไว้หลายปีแล้วในพระนลคำฉันท์ ครั้งนี้ลองเอามาว่าเปนกลอนดูบ้าง กลอนสู้ฉันท์ไม่ได้ แต่เมื่อลองอ่านทวนดูก็เห็นว่าพอไปได้ จึงเอาลงไว้ในที่นี้.
อ.๑๓๗ “อ้าศรีวีตโศกโบกบัตร”. “วีตโศก” เปนชื่อต้นอโศกอีกชื่อหนึ่ง อโศกแปลว่าไม่มีโศก แลต้นอโศกก็คือต้นไม้ที่เรามักเรียกกันว่าต้นโศกนี้เอง.
อ.๑๓๘ “จึ่งสูจักสมสมญา” “สมญา” แปลว่าชื่อ.
อ.๑๓๙ “ชาติศวาสามานย์พาฬไพร”. “ศวา” แปลว่าหมา พาฬ แปลว่า สัตว์กินสัตว์อื่นเปนอาหาร (แลแปลว่างูก็ได้).
อ.๑๔๐ “พึ่งอารีท้าวด้าวใต้”. พระยมเปนโลกบาลประจำทิศใต้.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 ธันวาคม 2561 14:19:16 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #13 เมื่อ: 19 ธันวาคม 2561 14:04:15 »

                                     
       . กนกนคร  .
       พระนิพนธ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ (น.ม.ส.)

๏ ควายยินผินหน้ามาเบิ่ง สูงเทิ่งยืนใหญ่ในปลัก
มีจิตต์บิดเบือนเชือนชัก หันพักตร์วิ่งแล่นแสนเปรียว ฯ
๏ หลายวันดั้นเสด็จเตร็จเตร่ ร่อนเร่ไปในไพรเขียว
ร่ำไห้ในดงองค์เดียว ลดเลี้ยวอารัณย์จัณฑึก
ยามหนาวๆ เนื้อเหลือหนาว พรอยพราวน้ำค้างกลางดึก
วายุดุนักคักคึก หนาวลึกลงไปในทรวง
ยามร้อนๆ เนื้อเหลือร้อน ทินกรส่องใสในสรวง
เผาแผดแดดเข้มเต็มดวง เหมือนล้วงในอกหมกไฟ
อิดโรยโหยหิวผิวเผือด คือมีดกรีดเชือดเลือดไหล
เหน็ดเหนื่อยเมื่อยเหน็บเจ็บใจ ทรามวัยทอดองค์ลงพัก
แทบร่มไม้ใหญ่ใบรื่น ทรงสอื้นไหม้หมกอกหัก
นัยนานองน้ำพร่ำพักตร์ นงลักษณ์ซบซ้อนอ่อนแรง ฯ
๏ จักกล่าวชาวป่าล่าสัตว์ เลาะลัดมรรคากล้าแขง
ดินแดนแผนใหญ่ไพรแวง เจนแจ้งทุกก้าวราวพน
พวกภิลล์หินชาติกาจกล้า อ.๑๔๑ มากหน้ามีในไพรสณฑ์
ถมึงทึงดึงดื้อถือตน เปนคนเก่งกล้ากว่าใคร
พากันดั้นพงดงคา เห็นหญ้าโลหิตติดใหม่
ในจิตต์คิดเดาเข้าใจ สัตว์ไพรลำบากยากตน
ตามรอยโลหิตทิศนี้ จรลีกลิ้งเกลือกเสือกสน
เจ็บหนักจักดิ้นสิ้นชนม์ ในหนไม่ห่างทางไป
คิดพลางต่างคนด้นมอง ย่างย่องแยกกันดั้นไล่
ยินเสียงหญิงเศร้าเร้าใจ ร้องไห้แลเห็นเข็ญจริง
หลากในใจภิลล์สิ้นพูด แทตย์ทูษณ์แปลงร่างอย่างหญิง
จักใกล้ใจขามคร้ามจริง ต่างนิ่งแอบมองจ้องนาง
มามากด้วยกันพลันกล้า วิ่งร่าเข้าล่อมพร้อมข้าง
นงรามงามพบอยู่กลาง เหมือนอย่างราหูจู่จันทร์
หน้าไพร่ใจดำต่ำช้า นึกน่ารังเกียจเดียดฉัน
ภาษาสุดต่ำคำมัน ฟังกันไป่เดาเข้าใจ
มันนิ่งดูนางพลางคิด ในจิตต์มาดม่งหลงใหล
ชั่วพ่อชั่วแม่แต่ไร ก็ไม่เห็นนางอย่างนี้
อันความงามเพ็ญเปนพิษ ต่อติดลามเลื่อนเหมือนฝี
ต่างแยกแตกสามัคคี ต่างมีมุ่งหมายร้ายกัน
ต่างคนสนใจใคร่นาง ต่างหมางใจเพื่อนเฟือนฟั่น
เกิดการรบราฆ่าฟัน แย่งกันอุดลดฉุดนาง
คนนั้นกั้นนางพลางยุด คนนี้เข้าฉุดอีกข้าง
คนโน้นโผนฟันบั่นกลาง กีดขวางวุ่นวิ่งชิงองค์
ฆ่าฟันกันตายวายวอด ม้วยมอดยับยุ่ยผุยผง
ยิงแย่งแทงฟันลั่นดง เปลืองปลงชีวิตปลิดไป ฯ
๏ ปางองค์นงลักษณ์พักตร์เผือด เห็นเลือดเหล่าภิลล์รินไหล
บุ่มบ้าฆ่ากันบรรลัย อรไทยอกสั่นขวัญบิน
มันวิ่งชิงยุดฉุดคร่า บ้างคว้าหัตถ์พลางนางดิ้น
แทงฟันกันล้มจมดิน ทั้งสิ้นเจ็บตายวายไป
ทรามวัยได้ทีหนีเร้น มิดเม้นในป่าอาศัย
เหนื่อยหนักพักยั้งบังไม้ แลไปเห็นศพซบซ้อน
แขนขาดขาขาดดาษป่า บ้างฆ่ากันม้วยด้วยศร
สุดสิ้นภิลล์ร้ายตายนอน บังอรเบาอกฟกองค์
ยับยอกชอกช้ำดำเขียว เจ็บแสนแปลบเสียวเที่ยวหลง
เวียนวนด้นไปในดง ยุพยงเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า
นัยนาคลอคลองนองน้ำ ทุกข์ค้ำขุ่นแค้นแสนสา
ภัยภิลล์สิ้นแล้วแคล้วมา ภัยป่าอื่น ๆ ดื่นดง
๏ ยามเย็นเห็นหนองส่องใส มลไร้แลสอาดปราศผงอ.๑๔๒
ยุพยงทรงยั้งนั่งลง ล้างองค์บังอรอ่อนกาย
สาวสวรรค์บรรธมล้มหลับ อัจกรับคือแขแลฉาย
แจ่มแจ้งแสงจันทร์พรรณ์พราย งามลม้ายรัศมีสีคราม
โสมส่องมองพักตร์รักรูป ลอบจูบนางนอนห่อนขาม
ใช้แสงส่องโลมโฉมงาม นงรามหลับใหลใต้พฤกษ์
ส่ำสีห์หมีเสือเนื้อร้าย โคควายแรดช้างกวางถึก
หวังหาอาหารธารทึก บ้างนึกดื่มน้ำลำนั้น
เห็นนางนอนอยู่ดูหลาก แสนอยากขบฆ่าอาสัญ
นึกว่าอาหารหวานมัน เขี้ยวคันใคร่เคี้ยวเสียวใจ
พระศุลีมีคำดำรัส ห้ามสัตว์ๆ จำคำได้
ขืนคิดผิดอัตถ์ตรัสไว้ เกรงภัยศัมภูรู้ฤทธิ์
ส่ำสัตว์จัตุบาทชาติร้าย กล้ำกรายใกล้ๆ ใคร่จิตต์
จักลิ้มชิมกลืนยืนพิศ นางนิทร์แน่หลับกับพื้น ฯ
๏ อันหนองน้ำใสในพน งามชลพราวไพรใช่อื่น
คือหนองส่องกว้างกลางคืน วานซืนอมรสิงห์นิ่งแล
นางแทตย์ทอดกรฟ้อนเล่น งามเช่นสาวฟ้าหน้าแข
นงเยาว์เย้ายวนกวนแด รังแกเล่ห์กลท้นทึก ฯ
๏ คืนนี้นางอสูรภูลศรีจรลีแลงามยามดึก
ถึงหนองน้ำใสไหลลึก หมายนึกมาเล่นเช่นเคย
เห็นนางหนึ่งนอนอ่อนนัก พิศพักตร์เพราสรรพหลับเฉย
แปลกมากหลากใจใครเลย มาเกยกายอ่อนนอนดิน
บรรเจิดเลิศหล้าหน้าพริ้ม จิ้มลิ้มแลพริ้งยิ่งสิ้น
ชื่อเรียงเสียงไรใคร่ยิน ศศพินทุ์พรากฟ้ามาไพร
เนตรหลับนงรามงามปลื้ม เนตรลืมจักเปนเช่นไหน
จับนางพลางสั่นทันใด อรไทยผู้หลับกลับฟื้น ฯ
๏ โฉมยงองค์กนกเรขา ผุดผวาองค์สั่นพลันตื่น
ทรามวัยไทตยามายืนอ.๑๔๔ กลางคืนแลงามยามเพ็ญ
ต่างนางต่างคิดพิศวง งามทรงยิ่งใครได้เห็น
ทุกส่วนยวนใจไม่เว้น คือเค้นเอาความงามไว้ ฯ
นางแทตย์กล่าวว่า .
๏ ดูรานารีมีลักษณ์ ผิวพักตร์ผุดผ่องส่องใส
เนตรงามครามซึ้งถึงใจ คือไข่สองแขแลมา
โฉมงามนามใดใคร่แจ้ง หลักแหล่งบ้านเมืองเลื่องหล้า
กุลกษัตร์ชัดแท้แน่ตา เดินป่าเหตุผลกลใด
ดงใหญ่ใช่ถิ่นมานุษ ยากสุดที่กล้ามาได้
นี่หนองของตูอยู่ไพร ทำไมมานอนผ่อนพัก
พงไพรใช่รัตน์ปัจถรณ์ เห็นห่อนงดงามตามศักดิ์
ผิดถิ่นดินดงนงลักษณ์ อย่าสมัคมาแย่งแข่งกัน
กับตูผู้ความงามลบ สามภพปราศผู้คู่ขัน
จงยั้งฟังคำสำคัญ มิฉนั้นขัดใจไม่ดี ฯ
นางกนกเรขาตรัสว่า .
๏ ดูรานงเยาว์เพราพักตร์ ทรงลักษณ์สุทธิ์ใสไขศรี
ข้าหรือคือราชนารีบุตรีจอมกษัตริย์ฉัตร์ฟ้า
มาเดียวเที่ยวเถินเดินทุ่ง มาดมุ่งหมายถามตามหา
สามีมีแล้วแคล้วคลา พลัดหน้าพรากกายหายไป
เธอได้ไปเดียวเลี้ยวเลาะ สืบเสาะกรุงทองผ่องใส
ลำบากยากจนพ้นใจ จวบในอารมณ์สมคิด
ถึงกนกนครตอนหนึ่ง แล้วจึ่งคืนวังดังจิตต์
พบกันพลันจากพรากทิศ จำติดตามไปให้พบ
วันใดวันหนึ่งพึงหวัง จักตั้งหน้าค้นจนสบ
โฉมตรูผู้ข้าคารพ ทราบจบเจนแผนแดนไพร
ย่อมรู้ลู่ทางกลางย่าน เชิญท่านบอกกล่าวข่าวไข
เหนือใต้ใกล้ห่างทางใดควรไปตามหาสามี ฯ
๏ นางแทตย์ยินนางพลางนึก รู้สึกขึ้งเคียดเสียด
นี่หรือคือว่านารี ซึ่งมีเนตรคมผมงาม
ยิ่งเกศเนตรกูผู้ยิ่ง กว่าหญิงทั่วแคว้นแดนสามอ.๑๔๔
น้อยหรือถือดีมีความ อยาบหยามโอหังตั้งตัว
ได้เล่นเห็นกันวันนี้ อวดดื้อถือดีมีผัว
เปนไรเปนไปไป่กลัวจักหัวฤๅไห้ใคร่รู้
นึกพลางนางแทตย์แปรดแปร้น โลดแล่นแผดร้องก้องหู
แปรร่างอย่างยักษ์พักตร์ชู โอษฐ์ขู่อ้าเขี้ยวเคี้ยวฟัน ฯ
นางแทตย์กล่าวว่า .
๏ นี่แน่ะนางงามสามหล้า จักหาเปรียบเนื้อเหลือสรร
ข้ารู้ใจเจ้าเท่าทัน หมายมั่นมาล่วงล้วงคอ
ตั้งหน้าหาผัวตัวเอก อภิเษกกันใหม่ได้หนอ
พบตัวผัวเมียเคลียคลอ รูปลออองค์เคียงเรียงพักตร์
เมินเสียเถิดเจ้าเราบอก ใช่หลอกจงแจ้งแหล่งหลัก
ลูกสาวแทตย์ใหญ่นายยักษ์ แผ่ศักดิ์สำราญย่านนี้
ไม่ให้เจ้าไปได้พ้น เวียนวนอยู่ในไพรนี่
ตรำตรากยากแค้นแสนดี จักทวีทุกข์ใหญ่ไล่ร้อน
อย่าเร่งละชีพรีบหนี อยู่นี่ทนภัยไปก่อน
ข้าชอบชมหน้าอาวรณ์ ไฟฟอนคือทุกข์รุกราน ฯ
๏ ขบเขี้ยวเกรี้ยวพลางนางเยาะ หัวเราะก้องไพรไพศาล
เที่ยวเหาะเสาะไปไป่นาน พบพานเพื่อนป่าหน้าลิงอ.๑๔๕
คือรากษสเฒ่าเจ้าเลศ แปลงเพศหลอกพระอมรสิงห์
เล่าความตามในใจจริง ว่าหญิงมานุษสุดงาม
คู่รักของชายร้ายกาจ บังอาจจ้วงจาบอยาบหยาม
ท่านจงตรงไปไล่ตาม ลวนลามล่อลวงบ่วงกล
ทรมานฐานไหนไม่ว่า ให้ฆ่าตัวในไพรสณฑ์
เร้ารุกทุกข์ทับอับจน วายชนม์ลงเองเกรงไย ฯ
๏ มันยินนางบอกออกบถ รากษสยินดีมีไหน
คิดได้ให้แสนแค้นใจ กูไซร้มันทำช้ำนัก
ตัดลิ้นชิ้นใหญ่ใช่เล่น กระเด็นออกไปไกลหนัก
พบหน้านารีที่รัก จำจักแก้แค้นแทนคุณ
แต่การนี้ไซร้ใช่ง่าย อาจร้ายแรงเรี่ยวเฉียวฉุน
แม้นถลำทำพลาดปราศบุญ คือตุ้นตัวกูสู่เคราะห์
พระศุลีมีคำกำชับ เราสดับรู้กันมั่นเหมาะ
ตามใจให้ทำจำเพาะเพียงเหลาะแหละหลอกหยอกเย้า
กูจักชักใจให้บ้า แม้นฆ่าตัวนางช่างเจ้า
ทรงชัยไม่ห้ามปรามเรา อาจเย้ายั่วเล่นเช่นใจ ฯ
๏ ตรึกพลันมันรีบถีบถา มายาหมายหยอกหลอกใหญ่
เมียงมองช่องทางหว่างไม้ พอได้ทีทำยำยี ฯ
         ๏ เมื่อนั้น นางกนกเรขามารศรี
ตกใจไทตยาพาที ยุวดีอกสั่นขวัญปลิว
นางแทตย์แผดเสียงเพียงสาย ฟ้าฟาดปราศกายหายฉิว
เหมือนลมเร็วปัดพัดริ้ว ลิ่วๆ ลอยไปในฟ้า
โฉมตรูอยู่เดียวเปลี่ยวดง ยุพยงเย็นชืดมืดหน้า
กริ่งภัยในพงสงกา ไทตยาโกรธเกลียดเคียดตู
เหตุผลกลใดไม่ทราบ มันอยาบยิ่งเสือเหลือสู้
โอ้อกเอ๋ยกรรมทำกู เหลือรู้เหลือปลีกหลีกตัว
จักวายชีวิตคิดแน่ เว้นแต่ได้พบสบผัว
ลำบากยากแค้นแสนกลัว พันพัวทุกข์ภัยไล่ล้อม
รั้วภัยใหญ่เหลือเบื่อหลีก จักปลีกตัวเมื้อเหลืออ้อม
จำเพาะเคราะห์กรรมจำยอม หวังถนอมชีพมั่นฉันใด ฯ
๏ แสนขยาดหวาดเสียวเปลียวเปล่า นงเยาว์ชอกช้ำร่ำไห้
เวลาอาทิตย์อุทัย ทรามวัยหิวโหยโรยรา
ขณะนั้นขวัญอนงค์ทรงรู้ มีผู้แหวกชัฎลัดป่า
ใกล้องค์นงเยาว์เข้ามา นางถลาเร้นองค์โพรงไม้
อกสั่นขวัญหนีดีฝ่อ ใครหนอบุกฝ่าป่าใหญ่
พวกภิลล์หินชาติกาจไพร มาไล่ลวนลามตามตู
ฤๅสัตว์สิงห์เสือเนื้อร้าย กล้ำกรายมาไปในผลู
ยุพยงทรงเอียงเมียงดู โฉมตรูดีใจใดปาน ฯ
๏ เพราะพระสามีลี้ลัด บุกชัฎมาในไพรสาณฑ์
องอาจยาตราอาการ ห้าวหาญปราศความขามใคร
ทรงเครื่องเรืองรองทองแก้ว เพริศแพร้วพลอยมุกด์สุกใส
กุมขรรค์ดั้นดงพงไพร ไฉไลรูปลักษณ์ศักดิ์ทรง
อรไทยใจปลื้มลืมหมด ทุกข์ปลดปราศไปใหลหลง
วิ่งเข้าเคล้าสอดกอดองค์ โฉมยงซบเสือกเกลือกพักตร์ ฯ
๏ โอ้พระภัดดากล้าแกล้ว มาแล้วหรือองค์ทรงศักดิ์
จงอยู่คู่ครองน้องรัก ปกปักษ์ปวงภัยไปพ้น
น้องเที่ยวเลี้ยวเลาะเสาะหา บุกป่าเถื่อนแถวแนวหน
ชอกช้ำลำบากยากตน ภัยคนภัยสัตว์อัตรา
พบกันวันนี้ดีนัก เพราะยักษ์กายใหญ่ไล่ข้า
พรรคเผ่าเหล่าร้ายหมายมา ตั้งหน้าทำร้ายกายน้อง ฯ
๏ นางซบพักตร์ตรับหลับเนตร สิ้นเหตุขุ่นเคืองเครื่องข้อง
หมดทุกข์หมดกรรมจำจอง อยู่สองแสนเพลินเดินไพร ฯ
๏ ครู่หนึ่งนางปลื้มลืมเนตร สังเวชหวีดสั่นหวั่นไหว
ผัวหายกลายกลับวับไป ยักษใหญ่กำยำง้ำตัว
แอบอิงพิงผัวมัวเผลอ พูดเพ้อพร่ำไปใช่ผัว
ยักษ์หยอกกลอกตาน่ากลัว ยิ้มยั่วแยกแสยะแพละโลม
โฉมยงองค์สั่นงันงก ในอกคือไฟไหม้โหม
กรีดกราดหวาดทุกข์รุกโรม ถาโถมจากมันทันใด
องค์สั่นขวัญหายร้ายยิ่ง นางวิ่งเร็วพลันมันไล่
หวุดหวิดชิดนางกลางไพร ทรามวัยล้มสลบซบลง ฯ
๏ เที่ยงคืนชื่นฉ่ำน้ำค้าง กระจ่างจันทร์แล้งแสงส่ง
สาวน้อยค่อยฟื้นตื่นองค์ ในดงนอนเดียวเปลี่ยวแด
โอ้กูผู้หลาบบาปโทษ อยู่โดดดงร้างห่างแห
กรรมเกรี้ยวเคี่ยวเข็ญเห็นแท้ จักแก้เหลือกู้ผลูทุกข์
ยามรงับหลับอยู่กูฝัน ยักษ์มันเข้าทำปล้ำปลุก
หนีมันๆ ตามลามรุก อุกหลุกไล่กั้งรังแกอ.๑๔๖
ฝันหรือใช่ฝันตันตื้น ตื่นหรือใช่ตื่นไม่แน่
เดี๋ยวนี้นี่ฝันผันแปร หรือตื่นยืนแลเหล่าพฤกษ์
ความจริงกริ่งจิตต์คิดพรั่น ใช่ฝันดอกกูรู้สึก
ตื่นๆ ขืนใจไม่นึก ยิ่งตรึกยิ่งกริ่งยิ่งล้น
จักอยุดเกรงภัยในเถิน จักเดินเกรงภัยในหน
ริกรัวกลัวกรรมจำทน นิรมลย่องย่างหว่างไม้ ฯ
๏ งามจันทร์ดั้นฟ้ากล้าแสง แขแข่งรังสีศรีใส
นางท่องช่องทางกลางไพร อำไพเดือนเพ็ญเห็นมด
เดินพลางนางชแง้แลเหลียว แสนเสียวใจซ้ำกำสรด
รำพึงถึงองค์ทรงยศ ยิ่งสลดจิตต์หลาบบาปแรง
โฉบยงทรงแลแปรพักตร์ พลางชงักแขงขืนยืนแหยง
โน่นผัวหรือผัวตัวแปลง มาแสร้งนอนนิ่งพิงไม้
เห็นหน้าสามีมีศักดิ์ นงลักษณ์ยิ่งทรงสงสัย
คร่ำคร่าผ้าเสื้อเหลือใจ จำได้ทุกอย่างนางนึก
นงลักษณ์อักอ่วนป่วนจิตต์ สุดคิดสุดข้องตรองตรึก
แสนพรั่นนั่นใครใต้พฤกษ์ ล้ำลึกเลศหลากยากล้วน
ผัวหรือใช่ผัวกลัวนัก ยักษ์หรือใช่ยักษ์อักอ่วน
แกว่งไกวในแดแปรปรวน จักควรฉันใดใคร่รู้
ความใคร่พ้นภัยไพรผอง ความใคร่คืนสองครองคู่
ความใคร่ไร้เศร้าเนาภู ความใคร่ได้สู่สุขซึ้ง
เหมือนเชือกสี่เกลียวเหนี่ยวรั้ง     ลากบังอรไปให้ถึง
ความกลัวความจำคำนึง แย่งดึงองค์นางห่างไว้
สาวสวรรค์ปั่นป่วนหวนเห เหลือคเนใจนางอย่างไหน
พิศพักตร์พระเผือดเลือดไร้ เหตุไฉนแน่นิ่งกริ่งนัก
ฤๅมาป่านานปานนี้ สิ้นชีพรีบลี้หนีผลัก
จากไปใจชายหน่ายรัก ฤๅภักดีจิตต์ติดตาม
นิ่งนอนอ่อนใจใช่หลับ จักจับกริ่งจิตต์คิดขาม-
ยักษ์ใหญ่มายาบ้ากาม นงรามเรรวนป่วนคิด ฯ
๏ เมื่อนั้นสามีมีเดช ลืมเนตรเห็นนวลยวนจิตต์
ลุกทลึ่งถึงเยาว์เข้าชิด พระพิศพักตร์นางพางกลืน
โฉมยงองค์สั่นงันงก แสนสทกสท้อนใจใฝ่ฝืน
เธอโอบองค์พลางนางยืน ใจตื้นเต็มทรงสงกา ฯ
๏ พระว่าอ้าเจ้าเพราพักตร์ ยอดรักผู้ร่วมใจข้า
กรรมซัดพลัดพรากจากมา เดินป่าเสาะถามตามกัน
สิ้นรักชีวิตคิดไว้ ว่าใกล้เวลาอาสัญ
แสนยากหากบุญหนุนทัน จากวันนี้ไปไร้ทุกข์
แต่ไฉนโฉมยงทรงนิ่ง เหมือนกริ่งเกรงขามความสุข
เรามาพากันดั้นรุกข์ บ่ายมุขสู่เมืองเรืองยศ ฯ
๏ อ้าพระผัวขวัญครรชิต ทรงฤทธิ์ลือชาปรากฎ
น้องไซร้ใช่จิตต์คิดคด หากสยดสยองในใจนัก
ภูมีนี้เห็นเช่นผัว แต่กลัวใช่องค์ทรงศักดิ์
แน่หรือคือตัวผัวรัก ใช่ยักษ์จำแลงแปลงล้อ ฯ
๏ เธอว่าอ้าน้องของพี่ มารศรีตรัสหลากมากหนอ
นงเยาว์เจ้ายั้งรั้งรอ เพราะข้อขุ่นช้ำกำบัง
จำพี่มิได้ในดง โฉมยงลืมตามความหลัง
ใช่ว่าช้าเหลือเมื่อครั้ง อยู่ยังโรงคัลวันโน้น
พบกันพลันนางร้างชีพ เหมือนรีบลี้เล่นเผ่นโผน
เข็ดหลาบบาปย่ำกรรมโยน คือโค่นภูเขาเอาทับ
นางว่าอย่าคร้ามตามหา พี่มาเหนื่อยอ่อนนอนหลับ
พบนางอย่างคำกำชับ นางกลับหดห่อท้อแท้ ฯ
๏ นางว่าอ้าองค์ทรงศักดิ์ น้องรักกริ่งใจไม่แน่
กลัวภัยใจป่วนปรวนแปร เดือดแดเพราะยักษ์ลักษณ์ร้าย
แปลงเปนเช่นตัวผัวข้า มายามันยุ่งมุ่งหมาย
ข้าเขลาเข้าไปใกล้กาย เจียนสลายเพราะหลงงงงวย ฯ
๏ อ้าเจ้าเสาวภาคจากหล้า น้องอย่ามัวเมินเขินขวย
เหี้ยมโรคโศกใจใกล้ม้วย จึ่งช่วยให้เห็นเปนไป
ยักษ์ใหญ่ไหนเล่าเจ้าเอ๋ย ทรามเชยอย่าทรงสงสัย
คนไข้ใจเผลอเพ้อไป ฉันใดนางเปนเช่นนั้น
บุกป่าฝ่าภัยไพรกว้าง เหตุร้ายหลายอย่างนางฝัน
อย่าท้อหนอเจ้าเพราจันทร์ ลืมมันให้หมดปลดทุกข์
พบกันวันนี้ดีแล้ว จักแคล้วคลาดเศร้าเนาสุข
งามเพลินเดินร่มชมรุกข์ ความสนุกในป่าน่าคิด
ยามพรากจากไปใจเศร้า พบเจ้าใจชื่นรื่นจิตต์
ทรามเชยเงยพักตร์สักนิด จุมพิตพอให้ใจชื้น ฯ
๏ โฉมตรูชูพักตร์จักจูบ เห็นรูปผัวหายกลายอื่น
ยักษ์ใหญ่กำยำง้ำยืน มันยื่นปากอ้าหานาง
หน้าตาน่ากลัวตัวขน สองทนต์โง้งงอกออกข้าง
นางกรีดหวีดร้องก้องพลาง ล้มกลางไพรพลันทันที ฯ
๏ ยุพยงองค์อ่อนซ้อนซบ นอนสลบเหมือนหลับกับที่
จนล่วงเวลาราตรี สุริย์ศรีส่องใสไขฟ้า
แสงสว่างนางฟื้นตื่นขึ้น เศียรมึนพักตร์มืดชืดหน้า
ชอกช้ำกำลังวังชา นอนป่านึกปลดหมดปราณ
ใคร่ลุกๆ ขึ้นมึนเศียร จักเพียรเหลือจักหักหาญ
องค์เย็นเช่นน้ำลำธาร นอนนานจนแดดแผดร้อน
กำลังยังมีมาบ้าง โฉมนางลุกนั่งยังอ่อน
น้อยๆ ค่อยทรงองค์อร บทจรช้าๆ คลาไคล
บาทนางพานางย่างเต้า จิตต์เจ้าไป่คิดทิศไหน
จักไปไม่ห้ามตามใจ ยอมให้สองบาทยาตร์พา
ไปถึงซึ่งหนองหมองนัก นงลักษณ์เยี่ยมน้ำช้ำหน้า
เห็นเงาเศร้าเหลือเบื่อตา เหมือนบ้าซีดซูบรูปตน ฯ
๏ โอ้อกกูเอยเคยสุข สบทุกข์ที่ในไพรสณฑ์
เวลาอาภัพอับจน เพราะผลกรรมเก่าเร้ารุก
จักหนีที่ไหนไม่พ้น เหลือด้นเหลือดั้นบั่นบุก
ในยุคทุกข์ยอมตรอมทุกข์ ความสุขโลกใหม่ใกล้แล้ว
ควรกูอยู่นี่ดีกว่า เปนอาหารเสือเชื้อแกล้ว
อยู่นี่อยู่ไหนไม่แคล้ว จักแผ้วพ้นภัยไป่มี
ผีเสื้อเสือสีห์มีหมด รากษสแทตย์ทูษณ์ภูตผี
เก่งกาจอาจทำยำยี บ้างมีมายาน่ากลัว
ทำเล่ห์เสแสร้งแปลงรูป เศร้าซูบท่าทางอย่างผัว
ลวงเราเข้าไปใกล้ตัว กูมัวมึนไปไม่คิด
ล่อใจให้ปลื้มลืมเศร้า แล้วเข้าขีดล้วงดวงจิตต์
โอ้กูผู้กรรมนำทิศ ความผิดชาติก่อนร้อนรุก
ชาตินี้ทุกขยากมากล้น ทานทนไปไยใช่สุข
จักดั้นรันทมล้มลุก เพิ่มทุกข์ทำไม่ใช่ดี
กำลังวังชาหาไม่ เห็นใกล้ซึ่งเบื้องเมืองผี
ลำบากยากเข็ญเช่นนี้ จักมีชีพไว้ไยกู ฯ
๏ โฉมยงทรงรำกำสรด แสนสลดโศกสิงยิ่งสู้
โหยหวนครวญครางกลางภู คืออยู่กองเพลิงเริงเร้า
แดดเที่ยงเบี่ยงผ่อนร้อนหาย แดดบ่ายเบี่ยงถอยน้อยเข้า
สายัณห์พลันองค์นงเยาว์ ยิ่งเร้ารุมอกหมกไฟ
แรงโรยโหยหวนครวญหา นัยนานองน้ำคร่ำไห้
เหนื่อยอ่อนนอนเศร้าเปล่าใจ หลับใหลอยู่ดงองค์เดียว
ฝันว่าสามีลี้ลัด บุกชัฎมาในไพรเขียว
อรไทยใจสั่นขวัญเปรียว แสนเสียวอกอนาถหวาดจริง
ตื่นเขม้นเห็นผัวกลัวหนัก นงลักษณ์ผันผละจะวิ่ง
พบผัวขวางหน้าท่าพริ้ง ยืนนิ่งหน้าพริ้มยิ้มล้อ
หันซ้ายพบผัวตัวกล้า หันขวาพบผัวหัวร่อ
ซ้ายขวาหน้าหลังนั่งรอ ยืนกล้ออยู่กลางทางดง
บ้างแข่งแซงแซกแหวกสู่ บ้างจู่มาใกล้ไล่ส่ง
อมรสิงห์วิ่งไขว่หลายองค์ โฉมยงกายสั่นงันงก
หลบซ้ายย้ายขวาหาที่ หลีกลี้วิ่งวุ่นมุ่นหมก
เหนื่อยหนีผีป่าลามก นางยกสองหัตถ์อัดกรรณ
หลับเนตรวิ่งไปในป่า เปนบ้าเพราะใจไหวหวั่น
ล้มลุกคลุกคลานนานครัน พระจริตผิดผันฟั่นเฟือน ฯ



อ.๑๔๑ “พวกภิลล์หินชาติกาจกล้า”. “ภิลล์” เปนชื่อชนชาวป่าจำพวกหนึ่ง กล่าวว่าเปนพวกดุร้าย เลี้ยงชีพด้วยการฆ่าสัตว์ แลโจรกรรมเปนพื้น.
อ.๑๔๒ “มลไร้แลสอาดปราศผง” “มล” คือมลทิน.
อ.๑๔๓ “ทรามวัยไทตยามายืน”. “ไทตยา” คือนางแทตย์.
อ.๑๔๔ “กว่าหญิงทั่วแคว้นแดนสาม”. “แดนสาม” หรือ สามภพ สามโลกเหล่านี้หมายความว่า โลกสวรรค์ ๑ โลกมนุษย์ ๑ โลกบาดาล ๑.
อ.๑๔๕ “พบพานเพื่อนป่าหน้าลิง”. รากษสแลอสูรประเภทอื่นๆ นั้นกล่าวว่ามีมากที่ตัวเปนคนหน้าเปนสัตว์ หรือรูปสัตว์หน้าคน มีลักษณะวิปริตต่าง ๆ ผิดกับลักษณะเทวดาแลมนุษย์.
        เทวดานั้นรูปร่างอย่างเดียวกับมนุษย์ เพราะมนุษย์เปนผู้แต่งหนังสือจึงบัญญัติให้เทวดามีลักษณะรูปร่างอย่างเดียวกับตน.
อ.๑๔๖ “อุกหลุกไล่กั้งรังแก”. กั้ง = กั้น.
อ.๑๔๗ “เหลียวเฉวียงแลสดำร่ำค้น”. “เฉวียง” แปลว่าซ้าย “สดำ”แปลว่าขวา.
อ.๑๔๗ “เปลี่ยนเห็นเปนไวราคี”. “ไวราคี” คือฤษีผู้ปราศจากราคะ ในที่นี้คือรากษสที่แปลงเปนโยคี
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 ธันวาคม 2561 14:20:52 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #14 เมื่อ: 19 ธันวาคม 2561 14:27:37 »

                                     
       . กนกนคร  .
       พระนิพนธ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ (น.ม.ส.)

ภาค ๓ บนยอดเขาไกรลาส

         ๏ เมื่อนั้น พระอิศวรเปนเจ้าเนาผา
เห็นพญาคนธรรพ์ภรรดา ชายายุพยงนงคราญ
พากันผันจากฟากดิน สู่ถิ่นทิพาศัยไพศาล
ทราบแจ้งแห่งเหตุเภทพาน       เพราะกรรมนำการณ์เกิดเปน
บีฑาดาบสพรตเลิศ จึ่งเกิดการสาปบาปเข็ญ
สิ้นสาปหลาบจำลำเค็ญ เหาะเห็นลิบลิบกลับมา
เหมือนฟื้นจากฝันอันร้าย ผันผายสู่สวรรค์หรรษา
ภริยาสามีปรีดา ชื่นหน้านวลเรียงเคียงกัน ฯ
๏ ตรึกพลางพระศุลีอีศวร สำรวลก้องหล้าฟ้าลั่น
ชาวดินยินเสียงเยี่ยงนั้น สำคัญใจว่าฟ้าร้อง ฯ

จบภาค ๓ ในนิทานเรื่องกนกนคร แล จบบริบูรณ์


ปทานุกรม สังเขป
คำนำ การพิมพ์หนังสือกนกนครนี้ ผู้แต่งได้มอบให้ผู้อื่นตรวจตัวเรียงพิมพ์ทานกับต้นฉบับ ผู้ตรวจแสดงความเห็นว่า คำกลอนนี้ใช้ศัพท์หลายศัพท์ซึ่งผู้อ่านบางคนอาจไม่เข้าใจ เพราะคำแปลในภาคอธิบายยังน้อยนัก เห็นควรเติมปทานุกรมขึ้นอีกส่วนหนึ่ง

ผู้แต่งตอบว่าตามใจ ผู้ตรวจจะเก็บเอาศัพท์ไหนมาแปลบ้างก็ช่วยเก็บแลช่วยแปลให้ตลอดไปเถิด

ปทานุกรมสังเขปมีกำเนิดด้วยประการฉนี้ — น. ม. ส.


กัณฐ์ คอ
กัลยาณิ์ นางงาม.
กำเดา เข็ญใจ, ขัดสน.
ข่าวสาร ข่าวมีประโยชน์ยิ่ง.
ข่อน ๆ ปั่นป่วนใจพิลึก.
เขือ เจ้า, ท่าน (บุรุษสรรพนาม)
คนเสือ คนกล้า, คนสามารถ.
ครรชิต คำรน. รูปเดิม คัชชิต.
คารพ คำเดียวกับ เคารพ.คารพ เปนรูปบาลี. เคารพ เปนรูป สํสกฤต.
คำแหงเข้มแขงยิ่งนัก.
จัณฑึก ประกอบด้วยความดุร้าย.
ฉวาง กว้าง. ไพรฉวาง ป่ากว้าง.
ฉันทิต พอใจ, พึงใจ. (gratified – M. M. Williams)
ไฉไล งาม. ดู รางชาง.
ชำงือ แสนยาก, แสนลำบาก
ฌาน ความเพ่งใจจนเกิดสงบ. เชี่ยวฌาน ช่ำชองในกิจนี้.
ดาย เปล่า. หาดาย หาไม่ได้. ดายแด เปล่าใจ, เปลี่ยวใจ
ดิตถ์ ท่าน้ำ.
แด แดลาญ ใจพรั่น
ตบะ ความเพียรเผากิเลส. แรงตบะ เพียรเผากิเลสอย่างยวดยิ่ง.
ตรีทิพ สวรรค์ ถีนตรีทิพ แดนสวรรค์
ถิร มั่นคง. ถิรนาน มั่นคงมานาน.
ทฤษฎี เห็น (ด้วยทิพย์เนตร์). ทฤษฎีตรีภพ เลงทิพยเนตร์เห็นตลอด ๓ ภพ
ทานพ ยักษ์, อสูร.
ทำงน หนัก. กรรมทำงน กรรมหนัก คือครุกรรม.
ธรรมบถ คลองธรรม, ทางชอบ.
ธาตรี โลก. ลงมาธาตรี ลงมายังโลกนี้
นพศูล ยอดแหลม ๙ ยอด.
นรเทพ พระราชา. ตามอักษรว่า คนเทวดา หรือ เทวดาของคน.
นรเศรษฐ์ พระราชา ตามอักษรว่า คนประเสริฐ หรือคนสูงศักดิ์
นเรสูร พระราชา. ตามอักษรว่า ผู้กล้าในคน (นเร + สูร) เปนชนิด อลุต์ต ไม่ลบวิภัติ อย่างที่ใช้ในคำอื่นว่า เขจร (เข + จร)
นาคร ชาวเมือง.
นิศากร พระจันทร์. ตามอักษรว่าทำรัศมีในกลางคืน (นิศา + กร)
นิสัย ใจคอ. เนื้อความเช่นนี้ใช้ตามที่ชินกันในไทย. แท้จริงคำนี้ออกจากบาลีว่า
. นิสฺสโย ซึ่งแปลว่า เปนที่อาศัย ในบางแห่ง เลงอาจารย์ โดยความว่า เปนที่
. อาศัยของศิษย์ คู่กับคำ นิสฺสิตโก ศิษย์ มีอัตถ์ว่า ผู้อาศัยอาจารย์. แต่ไฉนคำนี้
. จึงเลือนมาไกลทีเดียว  น่าจะเปนเพราะคำที่ออกเสียงใกล้ๆ กัน คือ อัชญาสัย
. หรือ อัธยาศัย ซึ่งแปลว่า ความนิยมในใจ, ความคิดอ่าน, ความปราถนา
. อันพอไปกันได้กับอัตถ์แห่งใจคอ ในภาษาไทย.
นี่นัน มี่สนั่น
บถ ทาง.
บร ฆ่าศึก. บรขาม ฆ่าศึกพรั่น.
บวรณ์ เต็ม. จาก ปูรณในบาลี ที่แผลงรูปนี้ ตารที่กวีใช้กันในทางบทกลอน.
บังคัล เฝ้า (กิริยาที่ไปหาเจ้า).
บาปกรณ์ ทำบาป.
ประกาศิต ข้อความที่ประกาศ.
ปริมาณ นับ.
ปพาฬ แก้วชนิดหนึ่ง ฝรั่งเรียกว่า Coral.
ปัทมะ บัว. ปัทมะคันธิน บัวมีกลิ่นหอม.
ปาปนาศน์ ผู้ให้บาปฉิบหาย, ผู้ทำลายบาป.
ผลู ทาง.
เผด็จ ตัด.
พบู คำนี้หนังสืออนันตวิภาคแปลไว้ว่าหน้า; งาม. แต่ที่จริง เห็นจะมาจากคำบาลีว่า วปุ แปลว่า รูป, กาย, เนื้อตัว
พรรค์ พวก, เหล่า. พลสี่พรรค์ พลสี่เหล่า.
พรรณี มีผิว. คือ ผิวงาม.
พัลลภ สนิท, ชิด.
พินทุ์ รู้, ชำนาญ, คุ้นเคย. จาก วินฺทุ (knowing, acquainted or familiar with – M. M. Williams).
. ภูลพินทุ์ เชี่ยวชาญ, ช่ำชอง. พินทุ์คำนี้ ตามธรรมดาแปลว่า หยาด หรือ จุด หรือ วง ดุจคำ ศศพินทุ์ (ดู).  
ภวล เจริญ. จาก ภูล คำไทยกันเอง (ดู บวรณ์).
ภัดดา ผัว. ตามอักษรว่า ผู้เลี้ยง. คำนี้แลใช้กันเลือนไปเปน ภัสดา ซึ่งวิปริต.
ภูดล พื้นแผ่นดิน. ภู แผ่นดิน ดล พื้น. คำนี้ใช้เลือนมาเปน ภูวดล.
มนท์ อ่อน, เขลา, โง่.
มนเทียร ปราสาท. ตามธรรมดา หมายเปนเรือนของใครๆ ทั่วไปก็ได้.
มันท์ ดู มนท์.
มัตสยา คำนี้ คือ มัจฉา นั่นแล แต่เปนรูปสํสกฤต.
มาเครียว มาถึง.
มานพ คน, ประชา ถ้าเปนรูปนี้ มาณพ หมายว่า คนหนุ่ม.
มานิต นับถือ, เคารพ.
มาฬก เรือนหลวง.
มีนพ มี ๙ สี มณีมีนพ คือ มณีนพรัตน์.
แม้นแมน ขุด ดุจเทพดาขุด. แมน เทพดา.
โมหันธ์ หลงมืด, หลงงม. (โมห + อันธะ)
ยรรยง ขึงขัง เข้มแขง.
ยูนี นางสาว.
โยคะ เพียรทำ, เพียรบำเพ็ญ. สำรวมโยคะ เพียรทำอย่างเคร่งครัด หรืออย่างขมักเขม้น.
รงค์ ที่ สถาน รงค์สงคราม สนามรบ
รณรงค์ สนามรบ. รณ = ยุทธ์
รดิ ความยินดี, ความกำหนัด. (รดิกรรม ว่า “อัศจรรย์”).
ราฆพ พระราม. ตามอักษรว่า เหล่ากอแห่งรฆุ.
รางชาง งาม. รางชางไฉไล = งามงาม มีอัตถ์ว่า งามเลิศล้น หรืองามเลิศฟ้า.
ริปู ฆ่าศึก.
รุจิเรข ลวดลายงดงาม.
รูจี งดงาม. คำเดิม รุจิ.
แรงดวจเสือใหญ่ คือ แรงดุจเสือใหญ่. ดวจ จาก ดุจ (ดู บวรณ์).
ลาวัณย์ สวยงาม, งามพริ้ง.
ลำเภา งาม.
เลศ กลอุบาย.
วิชชุ สายฟ้า. วิชชุโชติช่วง สายฟ้าสว่างชัชวาล.
เวียงคำ เมืองทอง.
แวง ยาว. ไพรแวง ป่าเปนทิวยาว.
ศศพินทุ์ พระจันทร์. ตามอักษรว่า วงแห่งกระต่าย.
ศัลย์ คำนี้ รูปบาลีเปน สัลละ ซึ่งตามธรรมดาแปลว่า ลูกศร; หอก, หลาว, ฯลฯ  
. แต่สำนวนทางธรรมใช้เปนชื่อแห่งความโศก ดังคำเดิมว่า โสกลสลลํ ลูกศร
. คือโศก หรือ โศกดุจลูกศร ซึ่งไทยใช้ว่า โศกศัลย์ ฉนั้นคำ ศัลย์ในที่นี้ จึงหมายความเศร้าโศก.
ศานติ์ สงบ. ในประโยคที่ว่า มานิตภูวนัยใสศานติ์ หมาย นับถือภูวนัยด้วยน้ำใจ
.อันใสสงบ อย่างที่เรียกว่า น้ำใจใสจริง หรือน้ำใสใจจริง.
ศกุนี นก. นี้รูปสํสกฤต (ไม่ใช่ตัวเมีย) คำเดิม ศกุนิ.
สะโรช ดอกบัว. ตามอักษรว่าเกิดในสระ. สระโรชนงรามงามเจือ หมายความงาม
. แห่งดอกบัวกับความงามแห่งนางคละกันไป.
สังสนทนา เจรจาโต้ตอบกัน. คำนี้รูปเดิมเปนดังนี้แท้ แต่ใช้กันวิปลาสมา ตัด สัง
. ออกเสีย เหลือแต่ สนทนา ซึ่งวิปริต แม้คำ สังสนทนา อัตถ์เดิมแท้ว่า
.เปรียบ, เทียบ, เทียบเคียง.
สันต์ สงบ.
สากลย์ ทั้งหมด, ทั้งสิ้น.
สามินทร์ เจ้าใหญ่. (สามี + อินทร์).
สำนึง อาศัย.
สุภคา นางงาม หญิงสวย. ตามอักษรว่า ถึงความเปนคนงาม (สุภ คา).
สุรามร เทวดาผู้ไม่ตาย.
เสาวภาค ส่วนแห่งสวรรค์ เสาวแห่งสวรรค์ (heavenly – M. M. Williams).
เสาวรส รสแห่งสวรรค์.
หยาว ฉาว อึง.
อดิศัยสูงศักดิ์, ประเสริฐยิ่ง.
อนุสนธิ์ สืบต่อ.
อรพินท์ บัว, ดอกบัว. ใช้ในที่นี้เปนชื่อแห่งนาง โดยสมมติว่านางเปนดุจดอกบัว
อรัณย์ คำนี้ คือ อรัญ นั่นแล เปนรูปสํสกฤต.
อวนินทร์ พระเจ้าแผ่นดิน อวนิ แผ่นดิน.
อัจกรับ โคมแขวนของโบราณชนิดหนึ่ง.
อัมพุ น้ำ. อัมพุช ‘เกิดในน้ำ’ หมาย เปนบัวก็ได้ ปลาก็ได้.
อัสสุ น้ำตา
อากูล ยุ่งเหยิง, วุ่นวาย.
อานันท์ เปนที่เพลิดเพลิน.
อุตบล คำนี้ คือ อุปฺปล ดอกอุบลนั่นแลเปนรูปสํสกฤต
อุปเทศ ชี้แจง, แนะนำ
อุโรช นม, ถัน. ตามอักษรว่าเกิดที่อก
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 4.295 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 18 ชั่วโมงที่แล้ว