[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
01 พฤษภาคม 2567 19:07:01 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: นาฏกรรมการแสดงโขนของไทย ทำไมจึงต้องใช้ศรในการสู้รบกัน  (อ่าน 1868 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5470


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2561 16:08:05 »




นาฏกรรมการแสดงโขนของไทย
ทำไมจึงต้องใช้ศรในการสู้รบกัน

โขน ศิลปะการแสดงชั้นสูงอย่างหนึ่งของไทยที่มีมาแต่โบราณ จัดว่าเป็นมหรสพหลวงและเป็นเอกลักษณ์ของชาติ แต่เดิมพระมหากษัตริย์ของไทยทรงถือว่า โขนเป็นราชูปโภคส่วนพระองค์อย่างหนึ่ง จนปรากฏว่าในสมัยโบราณจัดเป็นการแสดงที่ต้องห้ามมิให้เอกชนมีไว้ นอกจากโขนหลวงที่มีประจำอยู่ในราชสำนักเท่านั้น โขนจึงเป็นนาฏกรรมหลวงที่พระมหากษัตริย์ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์สืบมาถึงปัจจุบัน เห็นได้จากพระปรีชาสามารถที่เด่นชัดในการพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ ในรัชกาลที่ ๑ รัชกาลที่ ๒ รัชกาลที่ ๔ และรัชกาลที่ ๖ ที่กรมศิลปากรนำมาเรียบเรียงเป็นบทการแสดงโขน นอกจากนี้พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ ยังมีคุณูปการต่อการแสดงโขนในด้านต่างๆ เป็นอย่างมาก

เรื่องที่นิยมนำมาแสดงโขน คือ รามเกียรติ์ ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงเป็นขัตติยะกวีของไทยแต่โบราณ ได้ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเป็นบทร้อยกรองจากเรื่องรามายณะของอินเดียที่รู้จักกันแพร่หลายทั่วโลก แต่มีบางตอนดำเนินเรื่องต่างไป และดำเนินความยืดยาวกว่ารามายณะ เนื้อหาส่วนใหญ่ของเรื่องรามเกียรติ์กล่าวถึงสงครามระหว่างพระรามกษัตริย์แห่งกรุงอโยธยากับทศกัณฐ์พญายักษ์ผู้ครองกรุงลงกา ตัวละครแบ่งเป็นสองฝ่าย คือ ฝ่ายพระราม ซึ่งมีเสนาวานรเป็นกองทัพ เรียกว่า “ฝ่ายพลับพลา” และฝ่ายทศกัณฐ์ ซึ่งมีเสนายักษ์กับพวกพ้องพงศ์พันธุ์เป็นกองทัพเรียกว่า “ฝ่ายกรุงลงกา” ต้นเหตุของสงคราม คือ พระรามกับนางสีดาพระมเหสี และพระลักษมณ์ พระอนุชา ไปบำเพ็ญพรตอยู่ในป่า แล้วทศกัณฐ์ไปลักพานางสีดามาไว้ในกรุงลงกา พระรามกับพระลักษณ์จึงยกกองทัพวานรติดตามมา แต่เนื่องจากเรื่องรามเกียรติ์มีเนื้อเรื่องยืดยาวมาก ในการแสดงโขนแต่ละครั้งจึงนิยมนำเรื่องเฉพาะตอนใดตอนหนึ่งมาปรับปรุงแสดงให้เหมาะสมแก่เวลาและโอกาส เรียกว่า “ชุด” และแต่ละชุดต่างก็มี “กลเม็ด” ที่ปรมาจารย์ทางศิลปะการแสดงโขนได้แทรกเข้าไว้ในแต่ละตอนด้วย

การทำสงครามระหว่างพระรามกับทศกัณฐ์และพวกพ้องพงศ์พันธุ์ อาวุธที่ใช้ในการรบส่วนมากจะเป็นศร เพราะปรากฏตามบทพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งปรมาจารย์ด้านศิลปะการแสดงโขนของไทยได้สร้างสรรค์กระบวนท่ารบด้วยการใช้ศรเป็นอาวุธอย่างหลากหลาย ตามบทพระราชนิพนธ์ไว้อย่างวิจิตรสวยงาม ตามหลักทฤษฎี แบบแผน จารีตประเพณี และมีสุนทรียะทางด้านนาฏศิลป์

ศร เป็นอาวุธชนิดหนึ่งที่ใช้ยิงด้วยกำลังสายให้ลัดลูกออกไป มีคันศรและลูกศร สำหรับศรที่ใช้ในการแสดงโขนนั้นมีความแตกต่างจากศรทั่วๆ ไป คือไม่มีสาย มีรูปร่างโค้งเล็กน้อย ปลายศรด้านบนเป็นรูปพญานาค ปลายศรด้านล่างแหลม มีขนาดยาวประมาณ ๑ เมตร เป็นอาวุธประจำกายของตัวละครที่ใช้สู้รบกัน ในการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ ดังปรากฏเรื่องศรของพระรามที่ได้รับจากพระวสิษฐ์กับพระสวามิตร ซึ่งเป็นศรที่พระอิศวรได้ชุบในขณะที่ทั้งสองพระมุนีตั้งพิธีกองกูณฑ์กาลากิจ เพื่อชุบศรในบทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ว่า
 

         เมื่อนั้น       ฝ่ายพระอิศวรรังสรรค์
เสด็จเหนืออาสน์พรายพรรณ     ในสุบรรณตรีมุขพิมาน
พร้อมฝูงสุรางค์อัปสร       จับระบำรำฟ้อนขับขาน
ไม่แสนเกษมสำราญ       . ให้บันดาลเร่าร้อนฤทัย
จึ่งเล็งทิพเนตรลงมา     เห็นสองพระมหาอาจารย์ใหญ่
กองกูณฑ์พิธีกะลาไฟ       จะชุบศิลป์ให้พระนารายณ์ ฯ
ฯ ๖ คำ ฯ

ควรกูจะประสาทศรสิทธิ์       ให้สัมฤทธิ์อาวุธทั้งหลาย
คิดแล้วเข้าที่สงัดกาย     ร่ายเวทสำรวมจิตใจฯ

ฯ ๒ คำ ฯ

บัดเดี๋ยวเกิดเป็นลูกศร       สิบสองเล่มฤทธิรอนจำเพาะให้
กับทั้งศรสิทธิ์ฤทธิไกร       ก็โยนไปในกองอัคคี ฯ
ฯ ๒ คำ ฯ

         เมื่อนั้น     ทั้งสองพระมหาฤๅษี
เห็นศรพิชัยโมลี       เกิดขึ้นที่กลางกาลา
พร้อมสิบสองเล่มเรืองฤทธิ์       มีจิตแสนโสมนัสสา
ก็หยิบออกมาพิจารณา     เห็นจารึกอักษรเป็นสำคัญ
มีนามสามราชวรนุช       กับพระทรงครุฑรังสรรค์
ศรนี้ฤทธีต่างกัน       สำหรับปราบอาธรรม์พาลา
แล้วส่งให้สี่พระกุมาร     ว่าศรพระทรงญาณนาถา
จารึกประสาทลงมา       อานุภาพเลิศล้ำธาตรี ฯ
ฯ ๘ คำ ฯ

เมื่อกรมศิลปากรนำบทละคร เรื่องรามเกียรติ์มาจัดทำเป็นบทการแสดงโขน ดำเนินเรื่องด้วยการ พากย์ เจรจา และขับร้อง จึงปรากฏบทโขนตอนที่ตัวละครสู้รบกันด้วยอาวุธศรอยู่หลายตอน เช่น บทโขน ตอนพระรามรบทศกัณฐ์ในการแสดงโขนชุดหนุมานอาสา ณ โรงละครแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๔๙๕ ดังบทเจรจาโขนว่า

ทศกัณฐ์ขุนมาร เข้าต่อกรรอนราญมิได้หยุดยั้ง เสียงเทพศัตราวุธกระทบกระทั่งดังฉาดๆ ประดุจสายอัสนีฟาดเห็นเป็นประกาย ต่างเขม้นหมายมุ่งล้างชีวิตของกันและกัน ครั้นจอมอสุรกุมภัณฑ์พลาดพลั้งเสียท่วงที พระจักรีก็หวดด้วยคันพระแสงศรทะนง ต้องพระองค์จอมพระนครลงกา หันเหเซถลาปิ้มว่าชีวิตจะวายปราณ สมเด็จพระอวตารก็ชักศรขึ้นพาดสาย พระเนตรหมายทศกัณฐ์จอมอสุรินทร์ แล้วผาดแผลงพระแสงศิลป์ไปด้วยศักดา ต้องพระหัตถ์ตัดพระเศียรจอมอสุราขาดกระเด็นในทันที บัดนี้ฯ


- ศรทะนง -
บทโขน ตอนอินทรชิต (แปลงเป็นพระอินทร์) แผลงศรต้องพระลักษมณ์ ในการแสดงโขน
ชุดพรหมาสตร์ ณ โรงละครศิลปากร พุทธศักราช ๒๕๐๓ ดังบทขับร้องว่า

ร้องเพลงเห่เชิดฉิ่ง
พาดสายหมายเขม้นเข่นเขี้ยว       น้าวเหนี่ยวด้วยกำลังอังสา
สังเกตลงตรงพระลักษมณ์อนุชา       อสุราก็ลั่นไปทันใด

- ปี่พาทย์ทำเพลงรัว -
ร้องเพลงร่ายรุด

ลูกศรกระจายเป็นสายฝน       ต้องพวกลิงพลไม่ทนได้
ต้องพระอนุชาเสนาใน       สลบไปไม่เป็นสมประดี ฯ

- ปี่พาทย์ทำเพลงโอด -
บทโขน ตอนอินทรชิต (แปลงเป็นพระอินทร์) ตีหนุมาน ในการแสดงโขน ชุดพรหมมาสตร์
ณ โรงละครศิลปากร พุทธศักราช ๒๕๐๓ ดังบทขับร้องว่า


ร้องเพลงลิงลาน
          เมื่อนั้น       อินทรชิตฤทธิไกรใจหาญ
ไม่หลีกหลบขบฟันประจัญบาน       รอนราญผัดผันทันท่วงที
หันเหียนเปลี่ยนท่าง่าศรจ้อง       ตีต้องหนุมานชาญชัยศรี
ตกกระเด็นไปกับเศียรกรี       สลบพับอยู่กับที่ยุทธนา ฯ

- ปี่พาทย์ทำเพลงโอด -
บทโขนตอน ทศกรรฐ์ไล่ตีพิเภษณ์ ในการแสดงโขน ชุดพิเภษณ์ถูกขับ บทพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังบทเจรจาโขนว่า
ทศกรรฐ์     ทศเศียรอสุรียิ่งทรงฟังยิ่งคั่งแค้น ทะลึ่งแล่นขวัดแขว่งพระแสงศร
.                         ไล่พิเภษณ์ไม่ผันผ่อนตลุยไปจนออกพ้นพระโรงชัยในฉับพลัน

- ปี่พาทย์ทำเพลงเชิด -
บทโขน ตอนพระรามตามกวาง ในการแสดงโขน ชุดสีดาหาย บทพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังบทขับร้องว่า
ร้องเพลงขึ้นพลับพลา
          เมื่อนั้น       พระหริวงศ์ทรงสวัสดิ์รัศมี
ต้อยตามสุวรรณมฤคี       เข้าที่ปาชัดสงัดพล
ครั้นจะดักจับเป็นเห็นไม่ได้       จะติดตามต่อไปไม่เป็นผล
พระจึงจับศรสิทธิ์ฤทธิรณ       ภูวดลก็ผาดแผลงไป

- ปี่พาทย์ทำเพลงเชิดฉิ่ง – ศรทะนง – รัว -
บทโขนตอนพระรามรบพญาขร พญาทูษณ์ ในการแสดงโขน ชุดปราบพญาขร พญาทูษณ์ ของกรมศิลปากร ดังบทเจรจาโขนว่า
พญาขร         ฮะเฮ้ย เหวย ธชีจะหนีไปไหน จงเตรียมรับกรรมที่ทำไว้ในบัดนี้ กริ้วพลางสองอสุรี
.       แผลงฤทธาโจนลงจากราชรถาและพาชี ต่างกวัดแกว่งพระแสงศาสตร์เข้าราวี
.       (พญาขรโจนลงจากราชรถ พญาทูษณ์ลงจากหลังม้า (ตลกนำม้าแผงเข้าเวที)
.       (สองยักษ์เข้ารบกับพระราม พระรามตีสองยักษ์เซถลาไป)

- เจรจา -
สองพญายักษ์       สองจอมอสุรีต้องคันศรศรีพระจักรา ให้ปวดร้าวราวชีวาจะอาสัญ ยิ่งทวีแค้นแน่นชีวัน
.       พลันชักลูกศรยิง ลูกศรพญาขรก็วิ่งไปต้องคันศรทรงพระจักรี

- ปี่พาทย์ทำเพลงรัว – เชิด -
(พญาขร พญาทูษณ์ แผลงศร ตลกลูกศร ๒ คน ออก ต่างเข้ารบกับพระราม
ตลกลูกศรพญาขรตีคันศรพระรามหล่นลงพื้นเวที สมมติว่าคันศรหัก และเก็บเข้าเวที)


- เจรจา -
พระราม       สมเด็จพระระฆุบดีครั้นสิ้นคันศร องค์พระภูธรทรงนิ่งนึกตรึกตรา ว่าสองจอมกุมภัณฑ์ นั้น
.       ฤทธาน่าเกรงขาม จำเราจะใช้คันศรปรศุรามที่ถวายให้ ซึ่งฝากไว้กับพระวรุณบนสวรรค์ นำมาบำราบ
.       ปราบอาธรรม์ริษยา คิดแล้วทรงตับหัตถาเปล่งพระสุรเสียง ได้ยินไปเฉพาะเพียงเทพวรุณโปรดกระทำคุณ
.       นำคันศรมาสู่ให้ใช้ปราบมาร

- ปี่พาทย์ทำเพลงรัว – เชิด – โอด -
(พระรามตบหัตถ์ขอศร พระวรุณออกนำคันศรมาถวายพระราม แล้วเข้าเวที)
(พระรามแผลงศรฆ่าพญาขร พญาทูษณ์ แล้วเข้าเวที)

-----------------------------------------------------------
ตัวสะกดตามบทพระราชนิพนธ์ ในรัชกาลที่ ๖


ที่มา : นาฎกรรมการแสดงโขนของไทย ทำไมจึงต้องใช้ศรในการสู้รบกัน
โดย ชวลิต สุทรานนท์ นักวิชาการละครและดนตรีทรงคุณวุฒิ กรมศิลปากร
ตีพิมพ์ใน นิตยสารศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ฉบัยที่ ๔ ก.ค. - ส.ค. ๒๕๖๑

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27 พฤศจิกายน 2561 16:10:22 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.767 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 22 เมษายน 2567 17:27:47