[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 22:48:58 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: วัดมเหยงคณ์ จ.พระนครศรีอยุธยา  (อ่าน 3171 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5392


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 06 มกราคม 2562 16:31:30 »






ประชาชนเข้ากราบนมัสการขอพรหลวงพ่อหินทราย (แกะสลักจากหินทราย) สร้างแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ประดิษฐานในพระอุโบสถเก่าวัดมเหยงคณ์
ปัจจุบันเหลือเพียงบางส่วนของพระเศียร ซึ่งศรัทธากันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์มาก

วัดมเหยงคณ์
ตำบลหันตรา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา


วัดมเหยงคณ์ ตั้งอยู่เลขที่ ๙๕ หมู่ที่ ๒ ตำบลหันตรา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

เดิมเป็นพระอารามหลวงฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่เคยรุ่งเรืองสำคัญยิ่งมาในอดีตสมัยอยุธยา โดยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา) ทรงสร้างขึ้น ได้รับการปฏิสังขรณ์หลายครั้งหลายสมัย และกลายเป็นวัดร้างไป เข้าใจว่านับตั้งแต่เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ เมื่อ พ.ศ.๒๓๑๐ รวมเวลาล่วงเลยมา ๒๐๐ กว่าปี  ถึงแม้ในปัจจุบันนี้จะเป็นวัดร้างที่สภาพโบราณสถานและโบราณวัตถุที่ยังเหลืออยู่ได้ปรักหักพังไปมาก แต่ก็พอมีเค้าเป็นหลักฐานบ่งบอกถึงศิลปะการก่อสร้างอันประณีตงดงามมโหฬารและระดับความสำคัญของพระอารามแห่งนี้ได้เป็นอย่างดี

แนวความคิดทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีเกี่ยวกับการสร้างวัดมเหยงคณ์ ได้แตกแยกออกเป็น ๒ แนวทาง คือ

• ตามพงศาวดารเหนือได้บันทึกไว้ว่า พระนางกัลยาณี มเหสีของพระเจ้าธรรมราชา (พ.ศ.๑๘๔๔-๑๘๕๓) กษัตริย์องค์ที่ ๘ ของอโยธยาเป็นผู้สร้างวัดมเหยงคณ์ ซึ่งแสดงว่าวัดมเหยงคณ์สร้างในสมัยอโยธยาก่อนตั้งกรุงศรีอยุธยาอย่างน้อย ๔๐ ปี

• ส่วนพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา กล่าวว่า ศักราช ๗๘๖ มะโรงศก (พ.ศ.๑๙๖๗) สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า (เจ้าสามพระยา) กษัตริย์กรุงศรีอยุธยาเป็นผู้สร้างวัดมเหยงคณ์ ขณะที่พงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ กล่าวว่า ศักราช ๘๐๐ มะเมียศก (พ.ศ.๑๙๘๑) สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า (เจ้าสามพระยา) เป็นผู้สร้างวัดมเหยงคณ์

มีการวิเคราะห์กันว่า อาจเป็นไปได้หรือไม่ว่า วัดมเหยงคณ์นั้นสร้างแต่ครั้งอโยธยา แต่ชำรุดทรุดโทรมเมื่อเวลาผ่านไปกว่า ๑๐๐ ปี ถึงสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชทรงเห็นว่าเป็นวัดเก่าแก่ จึงบูรณะและสร้างเพิ่มเติมให้ใหญ่โตจากโครงสร้างเดิมที่มีอยู่แล้ว

วัดมเหยงคณ์ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ ในสมัยกษัตริย์พระนามว่า พระภูมิมหาราช (พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ) ในปีฉลู เอกศก (สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย พ.ศ.๒๒๕๒) วัดมเหยงคณ์ได้เจริญรุ่งเรืองอย่างมากในสมัยกรุงศรีอยุธยา และคงรุ่งเรืองมาตลอดจนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาแตกใน พ.ศ.๒๓๑๐



โบราณสถานวัดมเหยงคณ์ พระนครศรีอยุธยา


พระอุโบสถวัดมเหยงคณ์ ที่นับว่าเป็นพระอุโบสถที่ใหญ่ที่สุดในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา






พระเจดีย์ฐานช้างล้อม - เจดีย์องค์ประธานของวัดมเหยงคณ์
เป็นเจดีย์ทรงระฆังอยู่บนฐานทักษิณมีช้างล้อมเป็นประธานของวัด   เจดีย์ช้างล้อมนั้นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ทรงสันนิษฐานว่าคงเอาแบบอย่างมาจากพระเจดีย์ชัยของพระเจ้าทุษฐคามินี มหาราชในลังกาทวีป ซึ่งทรงช้างชื่อกุณฑล ทำสงครามได้ชัยชนะ
ได้ครองราชสมบัติ มีโอกาสทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาในลังกาให้รุ่งเรืองยิ่งในสมัยพระองค์ เจดีย์ช้างล้อมลักษณะคล้ายกันนี้เคยพบมาแล้วที่เมือง
สุโขทัย เมืองศรีสัชนาลัย และเมืองกำแพงเพชร ...ข้อมูล - กรมศิลปากร





ฉนวน (The Corridor)เป็นทางเดินที่มีกำแพงตั้งอยู่ทั้งสองข้างทางเดิน เชื่อมระหว่างซุ้มประตูทางเข้าและพระอุโบสถ
ลักษณะกำแพงเป็นกำแพงที่มีบัวประดับอยู่ด้านบนคล้านกำแพงแก้ว เป็นทางเดินสำหรับพระมหากษัตริย์หรือเจ้านายชั้้นสูงใช้เสด็จเข้าออก

ภายในวัดมเหยงคณ์ มีพระอุโบสถ ตั้งอยู่บนฐานสูง ๒ ชั้น ลดหลั่นกัน ขนาดพระอุโบสถกว้าง ๑๘ เมตร ยาว ๓๖ เมตร นับว่าเป็นพระอุโบสถที่ใหญ่ที่สุดในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา หลังพระอุโบสถทางทิศตะวันตกพ้นเขตกำแพงแก้ว จะพบพระเจดีย์ฐานช้างล้อม ซึ่งเป็นเจดีย์องค์ประธานของวัดมเหยงคณ์ ตั้งอยู่บนฐานทักษิณสี่เหลี่ยมจตุรัส กว้างยาวด้านละ ๓๒ เมตร มีกำแพงแก้วล้อมรอบ มีบันไดทางขึ้นทั้ง ๔ ทิศ ที่ฐานทักษิณมีรูปช้างปูนปั้นยืนประดับอยู่ตามซุ้มรอบฐาน รวม ๘๐ เชือก องค์เจดีย์ประธานยอดเจดีย์หักตั้งแต่ใต้บัลลังก์ลงมา ฐานชั้นล่างของพระเจดีย์มีซุ้มพระพุทธรูปจตุรทิศยื่นออกมาเห็นชัดเจน




พระภาวนาเขมคุณ วิ. (สุรศักดิ์ เขมรํสี) เจ้าอาวาสวัดมเหยงคณ์ พระนครศรีอยุธยา














อุโบสถปราสาทพระบรมธาตุเจดีย์มหาวิหาร ขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้าง
ท่านใดมีกุศลจิต ศรัทธาร่วมสร้างมหากุศลกับพระอาจารย์ฯ กรุณาติดต่อร่วมสร้างบุญได้ที่วัดมเหยงคณ์ จ.พระนครศรีอยุธยาค่ะ


หลังจากสิ้นกรุงศรีอยุธยา วัดมเหยงคณ์ถูกทอดทิ้งให้รกร้าง ไม่มีพระสงฆ์อยู่จำพรรษา จนกระทั่งปี พ.ศ.๒๕๒๗ พระอธิการสุรศักดิ์ เขมรํสี ปัจจุบันเป็นพระภาวนาเขมคุณ วิ.  ได้จัดตั้งสำนักกรรมฐานขึ้นในบริเวณวัดมเหยงคณ์  โบราณสถานได้รับการดูแล ถากถางพันธุ์ไม้ต่างๆ ที่ขึ้นปกคลุมโบราณสถานไว้ ปรับบริเวณพื้นที่ในฝ่ายพุทธาวาสและสังฆาวาสให้ร่มรื่น สะอาดน่าอยู่และสงบเงียบจากสิ่งรบกวน

กรมศิลปากรเองก็เข้ามาดำเนินการขุดแต่งและปฏิบัติงานตามโครงการบูรณะฟื้นฟูดินแดนกลุ่มอโยธยา ทำให้สภาพของวัดมเหยงคณ์ ที่เปรียบเสมือนทองคำจมดินอยู่ ได้รับการขัดสีฉวีวรรณให้สุกปลั่ง ปรากฏแก่สายตาของผู้มาพบเห็นได้ชื่นชมและประจักษ์ในคุณค่าของสถาปัตยกรรมไทยในพระอารามแห่งนี้ได้เต็มที่

ปัจจุบันนี้กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนวัดมเหยงคณ์เป็นโบราณวัตถุโบราณสถานของชาติ ตั้งแต่วันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ.๒๔๘๔ กรมศิลปากรได้เข้าไปบูรณะ และเนื้อที่นอกเขตโบราณสถานได้จัดเป็นสำนักปฏิบัติกรรมฐาน โดยมีประชาชนเข้าไปรับการอบรมเป็นจำนวนมาก ได้จัดให้มีกิจกรรมทางศาสนา ได้แก่
- จัดอบรมวิปัสสนากรรมฐาน
- จัดอบรมปฏิบัติธรรมพิเศษ
- จัดบวชเนกขัมมภาวนาประจำเดือน
- จัดบวชถือศีล ๘ ประจำวัน
- จัดบวชพระสงฆ์ประจำเดือน และ พระสงฆ์จำพรรษา

ปฏิปทาของวัดมเหยงคณ์
- สร้างสถานที่ให้สัปปายะ เพื่อรองรับผู้ปฏิบัติธรรม
- ตั้งโรงเรียนสอนพระปริยัติธรรมเพื่อให้ความรู้ทั้งพระสงฆ์และประชาชนทั่วไป
- เป็นศูนย์กลางการเผยแพร่พุทธศาสนาในชุมชน
- จัดบวชเนกขัมมภาวนา อบรมจริยธรรม การปฏิบัติธรรม แก่ประชาชนทั่วไป


ที่มาข้อมูล :
- หนังสือคู่มือชาวพุทธ เล่ม ๑ ทำวัตรสวดมนต์แปล บทสวดมนต์พิเศษ วัดมเหยงคณ์ ต.หันตรา อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา
- http://www.watmaheyong.org


พระอุโบสถวัดมเหยงคณ์ พระนครศรีอยุธยา


ภายในพระอุโบสถวัดมเหยงคณ์


ภายในพระอุโบสถวัดมเหยงคณ์


ภายในพระอุโบสถวัดมเหยงคณ์


สมเด็จพระสัพพัญญูบรมปฐมเทศนา (พระพุทธรูปหินทรายแกะสลัก หน้าตัก ๙๙ นิ้ว)
ประดิษฐาน ณ ถ้ำอมตธรรม วัดมเหยงคณ์






ผู้โพสท์มักหาเวลาจากงานประจำ ปลีกตัวไปปฏิบัติธรรมที่วัดมเหยงคณ์อยู่เป็นประจำ
๗ วันบ้าง ๓ วันบ้าง ตามแต่โอกาสอันควร ปี ๒๕๖๒ ก็ไปมาแล้ว ๑ ครั้ง
และตั้งใจจะไปอีกในเดือนกุมภาพันธ์ที่ถึงนี้ค่ะ


และชอบจะพาตัวเองไปพักที่เรือนไม้เก่าแก่ข้างโบสถ์  ไม่ชอบไปพักอาคารที่สะดวกสบายที่ทางวัดจัดไว้ให้ผู้มาปฏิบัติธรรมเข้าพักอาศัย

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 มกราคม 2562 09:42:48 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5392


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 20 กุมภาพันธ์ 2562 16:35:59 »


ภาพบรรยากาศการเวียนเทียน ณ โบราณสถาน อุโบสถหลังเก่า
วัดมเหยงคณ์ ตำบลหันตรา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
วันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ ตรงกับวันจันทร์ที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๖๒



พระภาวนาเขมคุณ วิ. (สุรศักดิ์ เขมรังสี) เจ้าอาวาสวัดมเหยงคณ์ แสดงธรรมแก่พุทธบริษัทก่อนการเวียนเทียน
ณ โบราณสถานพระอุโบสถหลังเก่า ในค่ำคืนพระจันทร์เต็มดวง วันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๖๒


อุบาสก-อุบาสิกา ในอิริยาบถสงบสำรวม


โดยรอบโบราณสถาน (พระอุโบสถ เจดีย์สถาน) มีการจุดประทีปในภาชนะดินเผาหล่อน้ำมัน




แสงไฟจากการจุดประทีปสว่างไสวสวยงาม เป็นบรรยากาศที่หาชมได้ยากมากในสมัยปัจจุบัน
















ความเป็นมา ของ วันมาฆบูชา
โดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

วันมาฆบูชาเป็นวันบูชาสำคัญวันหนึ่งในพระพุทธศาสนา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงเริ่มทำพิธีบูชานี้ขึ้นตั้งแต่เมื่อทรงผนวชอยู่ในรัชกาลที่ ๓ ตามที่มีกล่าวไว้ในตำนานวัดบวรนิเวศวิหาร พระนิพนธ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสว่า “ถึงวันเพ็ญเดือน ๓ ที่กำหนดว่าเป็นวันที่สมเด็จพระบรมศาสดาทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ในที่ประชุมสาวกสงฆ์ ๑,๒๕๐ องค์ ล้วนเป็นพระอรหันต์เอหิภิกขุ มาถึงโดยลำพังมิได้รับเรียกร้อง ซึ่งเรียกว่าจาตุรงคสันนิบาต ทรงทำมาฆบูชา มีเทศนาด้วยเรื่องนั้น” ส่วนการทำมาฆบูชาทางราชการและประชาชนทั่วไปน่าจะมีมาตั้งแต่ในรัชกาลที่ ๔ และในปลายรัชกาลน่าจะได้มีการทำมาฆบูชากันทั่วไปแล้ว จึงได้มีประกาศว่าด้วยวันธรรมสวนะแห่งปีระกา ตรีศก จ.ศ.๑๒๒๓ ตรงกับ พ.ศ.๒๔๐๔ ตอนท้ายว่า “อนึ่ง ถ้าจะทำพิธีมาฆบูชา ตามนิยมซึ่งมีกำหนดในคัมภีร์อรรถกถาว่าเป็นวันที่ชุมนุมพระสาวก ๑,๒๕๐ และพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์นั้น ให้ทำในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ ทั้งสองวันเป็นอันถูกต้องแล้ว อย่าได้สงสัยเลย ถ้าไม่เชื่อก็ให้พิเคราะห์ดูพระจันทร์ในอากาศนั้นเทอญ”  คำบูชาเป็นภาษาบาลี ในวันมาฆบูชาที่ใช้กันทั่วไปในบัดนี้ก็เข้าใจว่าเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แม้ในบัดนี้ เรื่องมาฆบูชาได้เป็นที่ทราบกันโดยมากแล้ว แต่เมื่อวันมาฆบูชาเวียนมาถึงเข้าก็ควรจะกล่าวฟังกันอีก

เรื่องที่เป็นเหตุปรารภให้ทำมาฆบูชาได้เกิดขึ้นในสมัยพุทธกาลตอนต้น (ตามที่มีเล่าไว้ในพระสูตรและอรรถกถาบางแห่งรวมความโดยย่อว่า เมื่อพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้พระธรรมแล้ว ทีแรกได้ทรงพิจารณาเห็นว่าพระธรรมที่พระองค์ได้ตรัสรู้เป็นของลุ่มลึกยากที่คนทั่วไปจะเข้าใจได้ ถ้าจะทรงแสดงพระธรรมสั่งสอนและคนทั้งหลายไม่เข้าใจ ก็จะไม่เกิดประโยชน์อะไร จะทรงเหน็ดเหนื่อยเปล่า จึงมีพระหทัยน้อมไปในทางจะไม่ทรงแสดงพระธรรม แต่อาศัยพระมหากรุณาตามที่ท่านแสดงว่ามีพระพรหมมากราบทูลอาราธนา (ดังที่ได้ผูกเป็นคำอาราธนาพระแสดงธรรมในบัดนี้ว่า พฺรหฺมา จ โลกา เป็นต้น) ได้ทรงพิจารณาดูหมู่สัตว์โลก ทรงเห็นว่าผู้ที่มีกิเลสธุลีในจักษุน้อยอาจจะรู้ธรรมที่ทรงแสดงได้ก็มีอยู่ จึงตกลงพระหทัยว่าจะทรงแสดงพระธรรมสั่งสอน และทรงอธิษฐานคือทรงตั้งพระทัยว่า จะทรงดำรงพระชนมายุอยู่ต่อไปเพื่อประกาศพระธรรม ประดิษฐานพระพุทธศาสนาและพุทธบริษัทให้ตั้งหยั่งรากลงมั่นคงในโลก จะยังไม่เสด็จดับขันธปรินิพพาน ตราบเท่าที่พระพุทธศาสนาและพุทธบริษัทยังไม่ประดิษฐานหยั่งรากลงมั่นคง ต่อจากนั้นก็ได้เสด็จจาริกไปแสดงพระธรรมสั่งสอนตั้งต้นแต่พระปัญจวัคคีย์ที่อิสิปตนมิคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี เมื่อวันอาสาฬหปุณณมี (คือวันจันทร์เพ็ญหน้าวันเข้าพรรษาต้น) ทรงจำพรรษาแรก ณ ที่นั้น ทรงได้พระสาวกเพิ่มขึ้นโดยลำดับ ออกพรรรษาแล้วทรงส่งพระสาวกไปประกาศพระศาสนาในทิศต่างๆ แยกย้ายกันไป ส่วนพระองค์เองเสด็จตรงไปยังกรุงราชคฤห์ ทรงแสดงธรรมโปรดและได้พระสาวกตามเสด็จมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อใกล้กรุงราชคฤห์ ได้ประทับพักที่ลัฏฐิวัน พระเจ้าพิมพิสารได้เสด็จออกมาเฝ้า และถวายพระเวฬุวันซึ่งอยู่ภายนอกพระนครทางด้านเหนือให้เป็นวัดที่ประทับ พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระสงฆ์สาวกได้เสด็จไปประทับ ณ พระเวฬุวันพระอารามหลวงนั้น แต่บางคราว ก็เสด็จขึ้นไปประทับบนเขาคิชฌกูฏ ทรงได้พระอัครสาวกทั้ง ๒ คือพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะที่กรุงราชคฤห์นี้ และได้มีเหตุการณ์ที่เรียกว่า “จาตุรงคสันนิบาต ความประชุมแห่งองค์ ๔” ขึ้นที่พระเวฬุวันในวันเพ็ญเดือนมาฆะ (ซึ่งโดยปกติตรงกับวันเพ็ญกลางเดือน ๓ ของไทยเรา)  วันนั้น พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมแก่ปริพพาชกผู้หนึ่งบนเขาคิชฌกูฏ  พระสารีบุตรนั่งถวายงานพัดฟังอยู่ด้วย ท่านฟังจบแล้วก็มีจิตพ้นจากอาสวะ (ส่วนพระโมคคัลลานะได้มีจิตพ้นจากอาสวะก่อนนั้นแล้ว)  พระพุทธเจ้าได้เสด็จลงจากเขาคิชฌกูฏไปสู่พระเวฬุวัน ขณะนั้นเป็นเวลาตะวันบ่าย ได้มีพระภิกษุจำนวนรวมกันถึง ๑,๒๕๐ องค์ ซึ่งล้วนเป็นพระอรหันต์เอหิภิกขุมาเข้าเฝ้าพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย กล่าวได้ว่าเป็น “จาตุรงคสันนิบาต ความประชุมแห่งองค์ ๔” คือ

๑. ภิกษุ จำนวน ๑,๒๕๐ ซึ่งมาประชุมกัน ล้วนเป็นพระอรหันต์ผู้สิ้นอาสวะแล้ว
๒. ล้วนเป็นเอหิภิกขุ คือ เป็นภิกษุซึ่งได้รับอุปสมบทโดยตรงจากพระพุทธเจ้าเองด้วย วิธีที่ตรัสเรียกว่าจงเป็นภิกษุมาเถิด อันเรียกว่าเอหิภิกขุอุปสัมปทา
๓. ล้วนมิได้มีการนัดหมายกัน ต่างมาสู่สำนักพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าในพระเวฬุวัน
๔. ในวันอุโบสถมาฆปุณณมี คือวันจันทร์เพ็ญเดือนมาฆะ
(พระพุทธเจ้าจึงทรงทำอุโบสถอันบริสุทธิ์ ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ในสังฆสันนิบาตนั้น)

นึกดูว่าเวลานั้นเป็นสมัยต้นพุทธกาล พระบรมศาสดาเพิ่งจะประกาศพระพุทธศาสนาได้ไม่นาน แต่ก็ได้พระสาวกผู้สำเร็จกิจเป็นพระอรหันต์สิ้นอาสวะแล้วจำนวนมากถึงเท่านั้น เมื่อมานั่งประชุมเฝ้าอยู่พร้อมหน้ากันทั้งหมด โดยมิได้มีรับสั่งเรียกหรือนัดหมายกันเอง ในวันและเวลาที่เหมาะดังนั้น อันเรียกได้ว่าจาตุรงคสันนิบาต พระบรมศาสดาเองก็ได้ทอดพระเนตรเห็นผลงานของพระองค์ที่ได้ทรงทำมาแล้ว ถ้าคิดอย่างจิตใจคนสามัญก็เป็นที่น่าปลาบปลื้มใจเพียงไร แต่พระบรมศาสดามิได้ทรงเพลิดเพลินอยู่กับผลที่ทรงได้รับทั้งปวง ทรงเล็งเห็นประโยชน์ที่จะพึงเกิดขึ้นจากพระสาวกเหล่านั้นต่อไปเป็นอันมาก และขณะนั้นทรงมีบุคคลเป็นเครื่องมือในการประกาศพระศาสนาพรั่งพร้อมแล้ว พระอัครสาวกขวาซ้ายก็ทรงมีแล้ว แต่ยังมิได้ทรงวางหลักแห่งพระพุทธศาสนาโดยสังเขปที่พึงใช้สั่งสอนได้ทั่วๆ ไป จึงทรงใช้โอกาสนั้นทรงทำปาริสุทธุโบสถ คือทรงทำอุโบสถที่บริสุทธิ์ร่วมกับพระสงฆ์ซึ่งเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วทั้งหมด ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ คือ พระโอวาททั้งปวงถือเป็นหลักเป็นประธาน ชี้ว่าอะไรเป็นพุทธวาทะ อะไรเป็นพุทธศาสนา เพื่อให้พระสาวกทั้งปวงถือเป็นหลักในการประกาศพระพุทธศาสนาให้เป็นไปในทางเดียวกันว่า ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกขา เป็นต้น

อะไรเป็นพุทธวาทะ (วาทะของพระพฺทธะ) ๑ ขันติคือความทนทานเป็นตบะอย่างยิ่ง  ๒ นิพพานเป็นธรรมอย่างยิ่ง  ๓ บรรชิตคือนักบวชผู้ยังทำร้ายว่าร้ายผู้อื่นอยู่หาชื่อว่าสมณะไม่ พระพุทธะทั้งหลายกล่าวอย่างนี้

อะไรเป็นพุทธศาสนา (คำสอนของพระพุทธ)  ๑ การไม่ทำบาปทั้งปวง  ๒ การทำกุศลให้ถึงพร้อม  ๓ การชำระจิตของตนให้ผ่องแผ้ว (ต่อจากนี้มีขยายความออกไปอีกเล็กน้อย แต่ก็รวมอยู่ใน ๓ ข้อนั้น) นี้เป็นคำสอนของพระพุทธะทั้งหลาย

ใจความของพระโอวาทปาติโมกข์มีเพียงเท่านี้ ดูสั้นเหลือเกินแต่ก็รวมสิ่งสำคัญในพระพุทธศาสนาไว้ทั้งหมด ตั้งต้นแต่ระบุบรมตบะ คือ ติติกขา ขันติและบรมธรรม คือ นิพพานตลอดถึงลักษณะของสมณะที่ตรัสในทางปฏิเสธ แต่ก็มีความหมายในทางตรงกันข้ามและโยงความถึงตอนต้นด้วยว่า ที่จะเป็นบรรพชิตเป็นสมณะเต็มที่จำต้องมีธรรมสองข้อข้างต้นนั้น และได้แสดงพระพุทธศาสนาว่าคือการไม่ทำบาป การทำกุสลให้ถึงพร้อม การชำระจิตของตนให้ผ่องใส พระพุทธะทั้งหลายสอนดังนี้ หรือ คำสอนของท่านว่าดังนี้ พระสาวกทั้งหลายจะไปสอนโดยปริยายคือทางใดทางหนึ่งก็ตามแต่ก็ย่อมรวมอยู่ในหลักดังกล่าว  พระโอวาทนี้ตรัสแก่พระอรหันต์ทั้งนั้นมิใช่เพื่อจะโปรดท่านทั้งปวงนั้น แต่เพื่อประกาศข้อที่เป็นหลักเป็นประธานสมดังที่เรียกว่าโอวาทปาติโมกข์ พระอาจารย์แสดงว่าในวันอุโบสถต่อมาทุกวันอุโบสถ พระพุทธเจ้าทรงทำอุโบสถร่วมด้วยพระสงฆ์ ทรงแสดงพระปาติโมกข์ที่เป็นพระโอวาทนี้ด้วยพระองค์เองจนถึงทรงพระอนุญาตให้สงฆ์สวดพระวินัยที่ทรงบัญญัติขึ้นเป็นปาติโมกข์ในวันอุโบสถ จึงทรงหยุดทำปาติโมกข์ร่วมด้วยสงฆ์ ทรงอนุญาตให้สงฆ์ทำปาติโมกข์ตามลำพัง ดังที่ได้ทำสืบต่อมาจนถึงทุกวันนี้.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 กุมภาพันธ์ 2562 16:38:04 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
จิตกับอารมณ์ โดย พระอาจารย์สุรศักดิ์ เขมรํสี วัดมเหยงคณ์ จ.พระนครศรีอยุธยา
เสียงธรรมเทศนา
ใบบุญ 0 3717 กระทู้ล่าสุด 06 พฤษภาคม 2557 12:42:10
โดย ใบบุญ
กรรม 12 โดย พระอาจารย์สุรศักดิ์ เขมรํสี วัดมเหยงคณ์ จ.พระนครศรีอยุธยา
เสียงธรรมเทศนา
ใบบุญ 0 5729 กระทู้ล่าสุด 08 พฤษภาคม 2557 11:03:51
โดย ใบบุญ
สังสารทุกข์ โดย พระอาจารย์สุรศักดิ์ เขมรํสี วัดมเหยงคณ์ จ.พระนครศรีอยุธยา
เสียงธรรมเทศนา
ใบบุญ 0 3582 กระทู้ล่าสุด 14 พฤษภาคม 2557 06:08:41
โดย ใบบุญ
สังสารทุกข์ โดย หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี วัดมเหยงคณ์ พระนครศรีอยุธยา
เสียงธรรมเทศนา
Kimleng 0 2139 กระทู้ล่าสุด 06 กุมภาพันธ์ 2560 06:22:31
โดย Kimleng
ขอเชิญร่วมสมทบทุนสร้างอุโบสถปราสาทพระบรมธาตุเจดีย์ วัดมเหยงคณ์ พระนครศรีอยุธยา
ห้องประชาสัมพันธ์ ทั้งทางโลก และทางธรรม
Kimleng 0 1713 กระทู้ล่าสุด 08 ตุลาคม 2561 09:48:48
โดย Kimleng
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.446 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 25 มีนาคม 2567 10:23:28