[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 มีนาคม 2567 18:10:23 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สักการะสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ณ ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ อ.เมือง จ.ตาก  (อ่าน 2564 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 08 ธันวาคม 2561 13:33:32 »



พระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระมหากษัตริย์ผู้ทรงกอบกู้เอกราชของชาติไทย
ให้กลับคืนมาดำรงอิสรภาพสืบมา
ประดิษฐาน ณ ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสิน อ.เมือง จ.ตาก

ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
บริเวณสี่แยกถนนจรดวิถีถ่อง อ.เมือง จ.ตาก


เฉลยนามบพิตรเจ้าตากสิน พระเอย
ชลเนตรราษฎร์ไหลริน         หลั่งแล้ว
หวนตรึกระลึกจินตน์จอมกษัตริย์ นี้นา
ท่านหรอกไทยจึงแคล้ว คลาดเงื้อมมือมารฯ


สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระมหากษัตริย์พระองค์เดียวในสมัยธนบุรี ได้รับการยกย่องว่าเป็นมหาราชพระองค์หนึ่งของไทย เนื่องจากพระปรีชาสามารถในการสงคราม ทรงเป็นผู้นำในการกอบกู้เอกราชของชาติไทยคราวเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าในปี พ.ศ.๒๓๑๐ ตลอดจนทรงรวบรวมอาณาจักรไทย ซึ่งในขณะนั้นตกอยู่ในสภาพแตกแยกเป็นก๊กเป็นเหล่าให้กลับตั้งตัวเป็นชาติไทยได้อีกครั้งหนึ่ง

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงมีกำเนิดในตระกูลสามัญชน เสด็จพระราชสมภพในปีขาล ฉอศก จุลศักราช ๑๐๙๖ ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๕ ตรงกับวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ.๒๒๗๗ (ดวงพระชะตาปรากฏอยู่ในสมุดของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์) ในแผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ หรือ พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยา พระนามเดิมว่า สิน บิดาชื่อไหยฮอง  เป็นขุนพัฒน์ นายอากรบ่อนเบี้ยผู้มั่งคั่ง มารดาชื่อนกเอี้ยง ตั้งบ้านเรือนอยู่หน้าทำเนียบท่านเจ้าพระยาสมุหนายก  

ขณะประสูติออกจากครรภ์มารดานั้น ปรากฏว่า ได้เกิดฟ้าผ่าลงมาตรงที่เสาดั้ง ณ ห้องเรือนที่ประสูติ แต่ไม่มีผู้ใดเป็นอันตราย ต่อจากวันประสูติได้ ๓ วัน มีงูเหลือมตัวใหญ่เข้าไปขดอยู่ในกระด้ง เป็นทักษิณาวัตรรอบพระวรกาย ท่านบิดามารดาเห็นดังนั้นก็ตกใจ เกรงว่าจะเป็นนิมิตร้าย ซึ่งตามประเพณีจีนนั้น เมื่อเกิดนิมิตดังนี้ บิดามารดาของเด็กจะต้องนำเด็กนั้นไปฝังเสียทั้งเป็น แต่สำหรับเมืองไทย ท่านบิดามารดาจะกระทำเช่นนั้นไม่ได้ ด้วยเกรงอาญาบ้านเมือง จึงตั้งใจแต่เพียงจะนำบุตรชายของตนไปทิ้งเสียให้พ้นเขตบ้าน เพื่อมิให้เกิดความอัปมงคลเสนียดจัญไรแก่บ้าน และแก่บิดามารดา  ครั้นรุ่งเช้าของวันที่ ๑๘ เมษายน ๒๒๗๗ รุ่งขึ้นจากวันพระราชสมภพ ท่านเจ้าพระยาจักรี สมุหนายก ได้ออกมาตักบาตรพระสงฆ์ตามกิจวัตรของท่าน ได้ทราบว่าจีนไหยฮองจะนำบุตรไปทิ้งเพราะเข้าใจว่าจะเกิดเสนียดจัญไรแก่ตนเองและครอบครัว และคิดว่านิมิตที่เกิดอัศจรรย์นั้น ชะรอยเด็กนั้นจะเป็นผู้มีบุญญาธิการต่อไปในภายหน้า จึงขอรับเด็กทารกนั้นไปเลี้ยงดูเป็นบุตรบุญธรรม ก็เป็นที่พออกพอใจของบิดามารดา  และนับแต่ท่านรับทารกบุตรจีนไหยฮองมาเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม นับแต่กาลบัดนั้นมา ท่านเจ้าพระยาจักรี สมุหนายก ก็ได้ลาภและทรัพย์สินหลั่งไหลมาเป็นอัศจรรย์ จนทำให้ท่านรู้สึกว่า การที่ท่านได้ลาภทรัพย์สินเป็นจำนวนมากมายนั้นคงเนื่องมาจากบุญญาธิการของเด็กทารกนั้นประการหนึ่ง ท่านจึงตั้งนามทารกบุตรจีนไหยฮอง นางนกเอี้ยง ว่า “สิน”

ครั้นเติบใหญ่เด็กชาย “สิน” อายุได้ ๕ ขวบ ท่านเจ้าพระยาจักรี จึงนำตัวไปฝากให้ศึกษาเล่าเรียนในสำนักพระอาจารย์ทองดีมหาเถระ ณ วัดโกษาวาสน์  (หรือวัดคลัง) เด็กชายสินได้ศึกษาหนังสือไทยและหนังสือขอม จนมีความรู้พอสมควรแล้ว จึงได้เรียนพระไตรปิฎกในกาลต่อมา จากนั้นก็ถวายตัวทำราชการเป็นมหาดเล็ก ในสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ (สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำราชการอยู่ในหลวงศักดิ์นายเวร และได้เลื่อนเป็นพระยาตากปกครองเมืองตากในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ พระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งกรุงศรีอยุธยา  

กรณีเรื่องราวเกี่ยวกับพระราชบิดาพระราชมารดาของพระองค์ หนังสือซือสือเอ้อเหม๋จู ซึ่งเขียนขึ้นในสาธารณรัฐประชาชนจีน ยุคหลังราชวงศ์แมนจูแล้ว ให้ข้อมูลว่า พระราชบิดาพระนามเดิม เซิ่นยัง หรือ เซิ่งหยง เป็นชาวกวางตุ้ง ชอบเที่ยวเตร่ใช้เงินจนยากจนลง จึงอพยพมาเมืองไทย เกิดโชคดีมีฐานะมั่งคั่งเพราะการพนัน และได้สมรสกับหญิงไทยชื่อ ลั่วยั้ง หรือ นางนกยาง (จากการสังเกตเอกสารเก่า พบว่า ก.ศ.ร.กุหลาบ คงเป็นคนแรกที่ออกพระนามพระราชบิดาว่า หยง แซ่แต้ และออกพระนามพระราชมารดาว่า นกเอี้ยง)  อย่างไรก็ตาม ต้วนลี่เซิงได้พบสุสานบรรจุฉลองพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ที่ตำบลหัวฟู่ อำเภอเฉิงไห่ จังหวัดแต้จิ๋ว  รวมทั้งศาลประจำตระกูลซึ่งสร้างขึ้นใน พ.ศ.๒๔๖๔  คงเป็นผู้สืบสกุลของสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ส่งไปฝังแทนพระบรมศพตามธรรมเนียมจีน  สิ่งนี้อาจเป็นหลักฐานว่า สายพระราชบิดามีถิ่นฐานเดิมอยู่ที่ตำบลนั้น ซึ่งเป็นถิ่นที่แห้งแล้ง ทำให้ต้องอพยพมาอยู่พระนครศรีอยุธยา

พระราชพงศาวดารบันทึกว่า พ.ศ.๒๓๐๘ พระยาตากมาช่วยราชการสงครามป้องกันพม่าในพระนครศรีอยุธยา เนื่องจากพระยาตากมีฝีมือในการรบเข้มแข็ง มีความชอบในการสงคราม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนตำแหน่งเป็นพระยาวชิรปราการ เจ้าเมืองกำเมืองเพชร  ระหว่างทำศึกรักษาพระนครศรีอยุธยา แม้จะพยายามบัญชาการรบและต่อสู้ข้าศึกจนสุดความสามารถ แต่ด้วยความอ่อนแอของผู้บังคับบัญชา ทำให้พระยาวชิรปราการเกิดความท้อแท้ใจหลายครั้งหลายคราว เมื่อเห็นว่าจะอยู่ช่วยรักษากรุงก็ไม่เกิดประโยชน์อันใด พระยาวชิรปราการ จึงตัดสินใจพาพรรคพวกประมาณ ๕๐๐ คน (พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรีฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ว่า ๑,๐๐๐ คน) ยกออกจากค่ายวัดพิชัย ตีฝ่าทัพพม่าไปทางทิศตะวันออก ในเวลากลางคืนของวันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น ๔ ค่ำ ปีจอ พ.ศ.๒๓๐๙

เรื่องการตีฝ่าวงล้อมพม่าไปตั้งตัวเพื่อกลับมากอบกู้เอกราชของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ตามพระราชพงศาวดารไทย พระยาตากซึ่งได้เลื่อนเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชรตัดสินใจพาสมัครพรรคพวกตีฝ่าวงล้อมออกไปทางหัวเมืองชายทะเลตะวันออก พระยาตากกับพรรคพวกได้สู้รบชนะพม่าไปตลอดทาง จนกิตติศัพท์ความสามารถเป็นที่เลื่องลือ ทำให้มีผู้คนมาขอเข้าเป็นบริวารมากมาย เส้นทางการเดินทัพปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ดังนี้  ออกจากค่ายวัดพิชัยนอกกำแพงเมืองไปบ้านโพธิ์สังหาร บ้านพรานนก ผ่านนครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ครั้นถึงเมืองระยอง พระระยองพาพรรคพวกออกมาต้อนรับแต่โดยดี แต่ก็ยังมีกรมการเมืองบางส่วนคิดแข็งข้อ บังเอิญพระยาตากรู้ตัวเสียก่อน จึงวางแผนปราบผู้คิดร้ายแตกพ่ายไป และเข้ายึดเมืองระยองเป็นสิทธิ์ขาด พวกบริวารจึงเรียกว่า "เจ้าตาก" แต่นั้นมา

ขณะนั้นทางกรุงศรีอยุธยายังไม่เสียแก่พม่า เจ้าตากจึงระวังตัวมิให้คนทั้งหลายเห็นว่าเป็นกบฏและให้เรียกคำสั่งเพียง พระประศาสน์ อย่างเจ้าเมืองเอก




ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช บริเวณสี่แยกถนนจรดวิถีถ่อง อ.เมือง จ.ตาก สถานที่ที่พระองค์
ได้รับมอบหมายหน้าที่และสร้างความดีความชอบในราชการ จนได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็น
“หลวงยกกระบัตรเมืองตาก” และ “พระยาตาก” ในเวลาต่อมา  แต่เดิม ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสิน
เป็นศาลเล็กๆ อยู่ในวัดดอนเขาแก้ว ต.แม้ท้อ อ.เมืองตาก จ.ตาก


ประชาชนจำนวนมากเข้าสักการะ บรมรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช บริเวณสี่แยกถนนจรดวิถีถ่อง อ.เมือง จ.ตาก


อาณาเขตของราชอาณาจักรไทยสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ครองราชย์ ณ กรุงธนบุรี พระราชอาณาจักรไทยได้ขยายกว้างขวางมากกว่าสมัยกรุงศรีอยุธยา เพราะได้
รวมเมืองต่างๆ เข้าไปด้วย ทิศเหนือ ตลอดลานนา (อาณาจักรล้านนา) ถึงสิบสองปันนา ไทยใหญ่
ทิศใต้ ตลอดเมือง ไทรบุรี ปะริด กลันตัน ตรังกานู และเมืองยักตรา เมืองปัตตานี ก็มาผูกไมตรีด้วย
ทิศตะวันออก  ตลอดประเทศเขมร จดญวนใต้ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ  ตลอดนครเวียงจันทน์ เมืองพวน (หรือพาน)
เมืองหลวงพระบาง หัวพันทั้งห้าทั้งหก สิบสองจุไทย จดฮุนหนำของจีน ทิศตะวันออกเฉียงใต้  ตลอดเมืองบันทายมาศ
(หรือเมืองพุทไธมาศ หรือเมืองฮาเตียน) คือที่ต่อจากเมืองตราดออกไป ทิศตะวันตก  จดเมืองมะริด ตะนาวศรี
ออกมหาสมุทรอินเดีย


ภาพประวัติศาสตร์แสดงพระราชภารกิจการกอบกู้เอกราชคืนจากพม่า คราวเสียกรุงครั้งที่ ๒

มีต่อ โปรดติดตามตอนต่อไป

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15 ธันวาคม 2561 15:53:32 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 15 ธันวาคม 2561 15:44:47 »



ครั้นถึงเดือน ๕ พ.ศ.๒๓๑๐ กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า ราชบัลลังก์ทะลายสิ้นสูญ เมืองไทยก็ว่างกษัตริย์ เป็นจลาจล ความคิดของบรรดาผู้มีกำลังอำนาจก็เปลี่ยนไปตามสถานการณ์ บางพวกก็คิดตั้งตัวเป็นใหญ่ แม้แต่พระยาจันทบุรีซึ่งเดิมเคยสัญญาว่าจะเป็นไมตรีกับเจ้าตากก็ไม่ทำตามสัญญา เจ้าตากจึงยกทัพไปปราบ  ระหว่างทางผ่านเมืองชลบุรี นายทองอยู่นกเล็กก็พาสมัครพรรคพวกออกมาสวามิภักดิ์ เจ้าตากจึงตั้งให้เป็น พระยาอนุราฐบุรี ผู้ว่าการเมืองชลบุรี จากนั้นยกทัพไปยึดจันทบุรีและตราดตามลำดับ หลังจากยึดเมืองตราดได้แล้วเจ้าตากก็ยกทัพกลับมาตั้งมั่นที่จันทบุรีและใช้เป็นที่จัดเตรียมเสบียงอาหารและอาวุธ ระหว่างนั้นก็ได้แม่ทัพนายกองมาเพิ่มเติม ที่สำคัญคือ นายสุดจินดา มหาดเล็กหุ้มแพร (สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคลในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช)

หลังจากฤดูมรสุม เจ้าตากก็ยกทัพออกจากจันทบุรีเข้าปากแม่น้ำพระยาในเดือน ๑๒ ปีเดียวกัน เมื่อยึดธนบุรีได้แล้วจึงบุกเข้าโจมตีค่ายโพธิ์สามต้นที่พระนครศรีอยุธยา และสามารถยึดค่ายโพธิ์สามต้นได้ใน ๒ วัน  การที่เจ้าตากมีชัยชนะเหนือพม่าที่ค่ายโพธิ์สามต้นนั้น เปรียบเสมือนเจ้าตากกอบกู้เอกราชของชาติไทยกลับคืนมาได้อีกครั้ง  รวมเวลาไทยสูญเสียเอกราชแก่พม่าคราวนั้นเพียง ๗ เดือน  ครั้นยึดค่ายโพธิ์สามต้นเป็นที่มั่นได้แล้ว เจ้าตากได้จัดการบ้านเมืองให้อยู่ในสภาพปกติ จัดหาที่ประทับให้แก่บรรดาเจ้านายที่ถูกพม่าควบคุมตัวไว้แต่ยังไม่ทันส่งไปพม่า จัดการปลดปล่อยผู้คนที่ถูกกักขังพร้อมทั้งแจกจ่ายทรัพย์สินเครื่องอุปโภคบริโภคโดยถ้วนหน้า แล้วให้จัดการพระบรมศพสมเด็จพระเจ้าเอกทัศอย่างสมพระเกียรติ  จากนั้นก็อพยพผู้คนมาตั้งราชธานีอยู่ที่เมืองธนบุรี เพราะมีชัยภูมิเหมาะสมกว่ากรุงศรีอยุธยาหลายประการ เมื่อย้ายมาประทับที่กรุงธนบุรีแล้ว เจ้าตากทำพิธีปราบดาภิเษกขึ้นครองราชสมบัติ แต่ไม่มีหลักฐานปรากฏชัดเจนว่าเมื่อใด ทางราชการจึงกำหนดเอาวันแรกสุดที่เสด็จออกขุนนางตามที่ปรากฏในจดหมายเหตุโหร เป็นวันคล้ายวันปราบดาภิเษก คือ วันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๓๑๑

ภายหลังปราบดาภิเษกแล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ทรงดำเนินการสร้างชาติให้เป็นปึกแผ่นมั่นคงทันที โดยนอกจากจะทรงทำสงครามขับไล่พม่าแล้ว ยังทรงปราบปรามบรรดาคนไทยที่แยกตัวไปตั้งเป็นชุมนุมต่างๆ ดังนี้
๑.ชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) เป็นเจ้าพระยาเมืองพิษณุโลก เมื่อนับกุงโปแม่ทัพหน้าของเนเมียวสีหบดียกลงมาจากเชียงใหม่เมื่อเดือนเจ็ด ปี พ.ศ.๒๓๐๘ นั้น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยามรินทร์ทรงโปรดให้เจ้าพระยาพิษณุโลกคนนี้ เกณฑ์กองทัพฝ่ายเหนือต่อสู้รบกันที่เมืองสุโขทัย  ในระหว่างที่เจ้าพระยาพิษณุโลกเรืองสู้รบกับกองทัพพม่า ณ เมืองสุโขทัยนั้น  อยู่ข้างหลัง เจ้าฟ้าจืดขึ้นไปเมืองพิษณุโลกจับครอบครัวของเจ้าพระยาพิษณุโลกขังไว้แล้ว เจ้าฟ้าจืดขึ้นนั่งเมืองเสียเอง  ครั้นเจ้าพระยาพิษณุโลกเรืองทราบเข้าก็กลับมาจับเจ้าฟ้าจืดถ่วงน้ำเสีย แล้วก็ไม่กลับไปรบพม่าอีก เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า เจ้าพระยาพิษณุโลกเรืองจึงตั้งตัวเองขึ้นเป็นเจ้า มีอาณาเขตตั้งแต่เมืองพิษณุโลกลงมาถึงเมืองนครสวรรค์  

๒.ชุมนุมเจ้าพระฝาง (เรือน) เจ้าพระฝางคนนี้ นามเดิมชื่อ เรือน เป็นชาวเมืองเหนือ ได้มาเล่าเรียนพระไตรปิฎก ณ กรุงศรีอยุธยา ได้เป็นมหา เรียกกันว่า “มหาเรือน” ต่อมาได้เป็นพระราชาคณะที่พระพากุลเถร  สำนักวัดศรีอโยธยา ต่อมาได้เลื่อนขึ้นเป็น พระสังฆราชาเมืองสวางคบุรี คือ เมืองฝางนั้นเอง  เจ้าพระฝางมีคนนับถือมาก ลูกศิษย์ลูกหาทั่วบ้านทั่วเมือง ครั้นรู้ว่ากรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าข้าศึก เจ้าพระฝางก็เกลี้ยกล่อมหาสมัครพรรคพวกหลายเมือง ตั้งตัวขึ้นเป็นเจ้าทั้งๆ อยู่ในสมณะเพศ นุ่งห่มผ้าแดง ผู้คนเกรงกลัวมาก มีอำนาจตั้งแต่เหนือเมืองพิษณุโลกขึ้นไป จนถึงเมืองแพร่ น่าน และหลวงพระบาง เป็นการแปลกประหลาดเท่าที่ปรากฏในประวัติศาสตร์ไทย เจ้าพระฝางตั้งแม่ทัพนายกองเป็นพระสงฆ์องค์เจ้าทั้งนั้น มีนามปรากฏว่าเป็นพระครูศิริมานนท์ พระครูเพ็ชรัตน พระอาจารย์ทอง พระอาจารย์เกิด พระอาจารย์จันทร์ เป็นต้น แล้วเจ้าพระฝางก็ยกทัพมาตีเมืองพิษณุโลก ตั้งค่ายล้อมเมืองพิษณุโลกไว้ทั้งสองฟากแม่น้ำ  เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) ก็ยกกองทัพออกต่อสู้รบกันอยู่ประมาณ ๖ เดือน เมืองพิษณุโลกก็ไม่แพ้ เจ้าพระฝางจึงเลิกกองทัพกลับไป

๓.ชุมนุมเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (หนู) เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งตั้งตัวเป็นเจ้านครครั้งเสียกรุงศรีอยุธยา เดิมคือ หลวงสิทธิ์นายเวร ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งออกไปจากรุงศรีอยุธยา มีอำนาจทางการปกครองบ้านเมือง แต่เนื่องจากเจ้าพระยานครศรีธรรมราชมีความผิดถูกถอดกลับเข้ากรุงศรีอยุธยา ก็บังเอิญเกิดศึกพม่าจนกระทั่งเสียกรุงศรีอยุธยา จึงตั้งตัวขึ้นเป็นเจ้าครองเมืองนครศรีธรรมราช คนทั้งหลายเรียกว่าเจ้านคร มีอาณาเขตปกครองตั้งแต่เมืองปะทิว เมืองชุมพร ตลอดแดนเมืองมลายู ผู้คนทางปักษ์ใต้นิยมนับถือ นับว่ามีอำนาจมากอยู่ในยุคจลาจลครั้งนั้น

๔.ชุมนุมเจ้าพิมาย หรือกรมหมื่นเทพพิพิธ พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ แห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง ซึ่งได้รวบรวมสมัครพรรคพวกพร้อมด้วยพระยารัตนาธิเบศหนีพม่าไปจากเมืองปราจีนบุรี ตั้งแต่เดือน ๘ ปี ๒๓๐๙ ไปตั้งมั่นอยู่ ณ ด่านโคกพระยา เมืองนครราชสีมา แล้วไปอยู่อาศัย ณ เมืองพิมาย ครั้นเมื่อกรุงศรีอยุธยาแตก จึงยกขึ้นเป็นเจ้าแผ่นดิน เรียกว่า เจ้าพิมาย มีอาณาเขตทางทิศตะวันออกไปจนถึงแดนกรุงศรีสัตนาคนหุต และกรุงกัมพูชาทางใต้ลงไปถึงเมืองสระบุรีตลอดลำน้ำแควป่าสัก นับว่าเป็นชุมนุมที่มีหัวหน้าเป็นเจ้านายราชวงศ์ไทย มีขุนนางและผู้มีศักดิ์หนีพม่าไปพึ่งพระบารมีเป็นจำนวนมาก

 กระทั่งถึง พ.ศ.๒๓๑๓ ในที่สุดแห่งการต่อสู้เพื่อชาติบ้านเมือง เจ้าตากสินจึงสามารถมีชัยเหนือชุมนุมต่างๆ ได้ทั้งหมด ส่งผลให้ชาติไทยกลับมารวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอีกครั้ง ในขณะเดียวกันก็ทรงดำเนินการแผ่ขยายพระราชอาณาเขตของกรุงธนบุรีออกไปอีกจนกว้างใหญ่ไพศาลกว่าสมัยกรุงศรีอยุธยา กล่าวคือ ทิศเหนือตลอดอาณาจักรล้านนา ทิศใต้ตลอดเมืองไทรบุรี และตรังกานู ทิศตะวันออกตลอดกัมพูชาจดญวนใต้ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือตลอดเวียงจันทน์ หัวเมืองพวน และนครหลวงพระบาง หัวพันห้าทั้งหก ทิศตะวันออกเฉียงใต้ตลอดเมืองพุทไธมาศ ทิศตะวันตกจดเมืองมะริดและตะนาวศรี ออกมหาสมุทรอินเดีย  ซึ่งในการขยายพระราชอาณาเขตของกรุงธนบุรีตลอดจนการทำสงครามขับไล่ข้าศึกศัตรูแต่ละครั้งนั้น แม่ทัพคนสำคัญที่มีบทบาทตลอดสมัยกรุงธนบุรีคือสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก และเจ้าพระยาสุรสีห์ น้องชาย (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ตามลำดับ)

แม้ว่าตลอดรัชสมัยจะเต็มไปด้วยการศึกสงคราม พระองค์ก็ยังทรงเอาพระทัยใส่ดูแลทำนุบำรุงบ้านเมือง โปรดให้ชำระกฎหมายขึ้น โปรดให้พิจารณาตัดสินคดีความต่างๆ ตามปกติไม่ให้คั่งค้างแม้ในยามสงคราม โปรดให้ส่งสำเภาหลวงไปค้าขายถึงเมืองจีนตลอดถึงอินเดียตอนใต้  โปรดให้สร้างถนนขุดคูคลองเพื่อประโยชน์ด้านการค้าขายและด้านยุทธศาสตร์ไปพร้อมกัน  นอกจากนี้ยังทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ไว้ถึง ๔ เล่มสมุดไทย โปรดให้บำรุงการศึกษาตามวัดวาอารามต่างๆ ให้ตั้งหอหนังสือหลวง รวบรวมตำราต่างๆ ที่กระจัดกระจายเมื่อคราวเสียกรุง โปรดให้ปฏิสังขรณ์วัดวาอารามใหม่และให้คัดลอกพระไตรปิฎกที่ยังหลงเหลือสร้างเป็นฉบับหลวง เป็นต้น

ครั้นล่วงปลายรัชกาล พระราชพงศาวดารบันทึกว่าเกิดจลาจลในกรุงธนบุรี ด้วยเหตุว่า สมเด็จพระเจ้าตากสิน ทรงใฝ่พระทัยในทางศาสนาทำให้สำคัญพระองค์ว่าบรรลุโสดาบัน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชวิจารณ์เกี่ยวกับพฤติกรรมของสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ไว้ในจดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวีว่า มิได้ทรงมีสัญญาวิปลาสอย่างที่เข้าใจกัน หากแต่ทรงอยู่ในลักษณะของคนที่รู้เท่าแต่หลงหน่อยๆ พระสติก็อยู่ข้างจะฟั่นเฟือง เกิดความวุ่นวายทั้งแผ่นดิน ผู้คนถูกลงโทษโดยปราศจากความผิดมีเพิ่มขึ้นทุกวัน  ชาวกรุงเก่าบางพวกจึงรวมตัวกันก่อการกบฏ โปรดให้พระยาสรรค์ขึ้นไปปราบกบฏ แต่พระยาสรรค์กลับเข้าด้วยกับพวกกบฏยกทัพมาตีกรุงธนบุรีบังคับให้ทรงออกผนวช ซึ่งก็ทรงยินยอมแต่โดยดี  ในระหว่างนั้นกรุงธนบุรีเกิดความวุ่นวายฆ่าฟันกันไม่เว้นแต่ละวัน เกิดสงครามกลางเมือง ระหว่างกรมขุนอนุรักษ์สงคราม(พระเจ้าหลานเธอในสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ) กับพระยาสุริยอภัย (กรมพระราชวังบวรสถานพิมุขในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) โดยพระยาสุริยอภัยเป็นฝ่ายมีชัยในที่สุด และเมื่อสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกซึ่งกำลังยกทัพไปตีเขมรทราบข่าวการจลาจลก็รีบเลิกทัพกลับกรุงธนบุรีทันที หลังจากไต่สวนจนทราบเหตุการณ์ทั้งปวงและให้บรรดาข้าราชการทั้งปวงพิจารณาปรึกษาโทษสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ แล้วก็ให้สำเร็จโทษสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เสีย หลังจากนั้นเหล่าไพร่ฟ้าประชาราษฎร์จึงอัญเชิญสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์สืบต่อมา

สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ สวรรคตในวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ.๒๓๒๕ พระชนมพรรษาได้ ๔๘ พรรษา รวมเวลาครองสิริราชสมบัติ ๑๕ ปี (วันสวรรคตนี้ยังหาข้อยุติไม่ได้ จดหมายเหตุโหรว่าวันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ.๒๓๒๕  ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๓๙ ว่าวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ.๒๓๒๕ และพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ว่า วันที่ ๖ เมษายน พ.ศ.๒๓๒๕ เนื่องจากทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้มีพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่แก่ปวงชนชาวไทย ทางราชการจึงกำหนดให้วันที่ ๒๘ ธันวาคม ของทุกปีเป็นวันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และให้มีรัฐพิธีถวายสักการะ ณ พระบรมราชานุสาวรีย์ที่วงเวียนใหญ่ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๙๗ สืบมาทุกปี และวันที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๒๕ คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้เทิดพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช


ภาพพระราชภารกิจสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ในการกอบกู้เอกราชคืนจากพม่า คราวเสียกรุงครั้งที่ ๒
จิตรกรรมฝาผนัง ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช อ.เมือง จ.ตาก


































« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15 ธันวาคม 2561 15:49:03 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ข้าวหมกไก่ เมือง มัณฑเลย์
สุขใจ ไปเที่ยว
sithiphong 0 3073 กระทู้ล่าสุด 03 พฤษภาคม 2553 19:41:54
โดย sithiphong
ปี 2010 จานผีลึกลับแวะมาเที่ยวจีนถึง 10 เมือง
เรื่องราว จากนอกโลก
มดเอ๊ก 3 3982 กระทู้ล่าสุด 10 กุมภาพันธ์ 2554 01:47:43
โดย wondermay
หลวงพ่อทองเพชร จันทโชโต วัดชลธาราราม บ้านท่าแพ ต.เมือง อ.เมือง จ.เลย
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 1761 กระทู้ล่าสุด 21 กุมภาพันธ์ 2560 20:15:38
โดย ใบบุญ
หลวงปู่ท่อน ญาณธโร วัดศรีอภัยวัน ต.นาอ้อ อ.เมือง จ.เลย
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 1131 กระทู้ล่าสุด 14 กุมภาพันธ์ 2562 12:51:01
โดย ใบบุญ
พระภัทรธรรมสุธี (สุพัฒน์ สุวัฑฒโน) วัดศรีสุทธาวาส อ.เมือง จ.เลย
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 925 กระทู้ล่าสุด 14 กุมภาพันธ์ 2562 13:04:46
โดย ใบบุญ
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.467 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 2 ชั่วโมงที่แล้ว