รู้จักพันธุ์นก ก่อนสูญพันธุ์

<< < (10/11) > >>

Kimleng:



นกอีเสือหลังแดง

นกอีเสือหัวแดง ชื่อวิทยาศาสตร์: Lanius collurioides ชื่อสามัญ: Burmese Shrike

ลำตัวค่อนข้างสั้น ตัวผู้ แถบคาดตาดำ หัวและท้ายทอยสีเทา ลำตัวด้านล่างสีขาว หัวไหล่ หลัง ตะโพกสีน้ำตาลแดง ขนคลุมปีกและขนปีกสีน้ำตาล ขอบสีน้ำตาลแดง หางสีน้ำตาลเข้ม ปลายหางและขอบหางขาว มีจุดสีขาวบริเวณโคนขนปลายปีก ตัวเมีย หัวตาสีขาว นกวัยอ่อน หัวสีน้ำตาลอ่อน มีจุดสีเข้มกระจายทั่วกระหม่อมและท้ายทอย หลังและสีข้างมีลายเกล็ด หางสีน้ำตาลแดง พบตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าสนเขา ชายป่า รวมถึงทุ่งโล่ง นกประจำถิ่นและนกอพยพนอกฤดูผสมพันธุ์ พบบ่อย

ตัวเมีย : สีจางกว่าตัวผู้ หัวตาขาว

นกวัยอ่อน : คล้ายตัวเมีย แต่มีแต่มีลายเกล็ดทั้งด้านบนและล่าง จุดขาวที่ปีกเล็กมากหรืออาจมองไม่เห็น

ถิ่นอาศัยในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง : ชายป่าติดกับพื้นที่เปิดโล่งและพื้นที่เกษตรกรรมต่างๆ ตั้งแต่ที่ราบถึงความสูง ๑,๘๐๐ เมตร พบบ่อยบางพื้นที่ เช่น ชายป่าเต็งรังเขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาน้อย-เขาประดู่และอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า จังหวัดพิษณุโลก และมีรายงานการขยายพันธุ์ในที่สูง ๙๐๐ เมตรขึ้นไป

นกอีเสือเป็นนกที่ล่าสัตว์อื่นกินเป็นอาหาร หางยาว มีปากที่หนาและปลายงุ้มเหมือนตะขอ เอกลักษณ์ของพวกมันคือแถบคาดตาสีดำเหมือนหน้ากากโจร (bandit-mask) นอกจากนกอีเสือสีน้ำตาลแล้วแทบทุกปีตามสวนสาธารณะในเมืองกรุงเทพและปริมณฑลจะมีรายงานการพบ นกอีเสือหลังแดง (Burmese Shrike) และ นกอีเสือหลังเทา (Grey-backed Shrike) ทั้งสองชนิดล้วนเจอตัวทางภาคเหนือได้ง่ายกว่า นกที่พบในภาคกลางตอนล่างส่วนใหญ่น่าจะเป็นเพียงนกอพยพพลัดหลงเท่านั้น โดยเฉพาะชนิดหลังที่ปกติจะอาศัยอยู่บนที่สูง

ถึงแม้โดยรวมทั้งสองชนิดจะไม่ใช่นกที่พบยาก แต่การพบใน กทม. หรือจังหวัดใกล้เคียงนับว่าอยู่นอกพื้นที่ที่มีการพบเห็นตามปกติ ควรค่าแก่การรายงานเป็นข้อมูลให้ทางสมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย (BCST) รวบรวมและเผยแพร่ ปีนี้มีรายงานการพบนกอีเสือหลังแดงเพียงหนึ่งตัวเท่านั้นในภาคกลางตอนล่าง (ที่สวนลุมพินี ใจกลาง กทม.นี่เอง) ส่วนนกอีเสือหลังเทาที่จะพบได้บ้างนั้นปีนี้ไม่มีรายงานเลย

เรามักสังเกตนกอีเสือหลังแดงขณะเกาะสายไฟฟ้าหรือกิ่งไม้โล่งๆได้จากลำตัวด้านล่างสีขาวโพลนตัดกับด้านบนสีเข้ม มันมีหลังสีน้ำตาลแดงสมชื่อ กระหม่อมสีเทาเข้ม มีแต้มสีขาวที่ปีก เพศเมียมีบริเวณหัวตาสีขาว กระหม่อมและหลังสีอ่อนกว่าตัวผู้ บริเวณสีข้างมีสีน้ำตาลแดง ไม่ขาวสะอาดเหมือนเพศผู้

นกอีเสือหลังแดงทำรังวางไข่ตามป่าโปร่งและชายป่า โดยเฉพาะป่าผลัดใบและป่าสน ในระดับความสูงอย่างน้อย ๖๐๐  เมตรจากระดับน้ำทะเล แต่พอเข้าสู่ฤดูหนาวนกบางส่วนจะอพยพกระจายลงมาอยู่ในที่ราบ พบได้ตามทุ่งโล่งและสวนสาธารณะ มีรายงานทั่วทุกภาคยกเว้นภาคใต้ มักหากินตามทุ่งที่มีไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นประปราย ไม่ค่อยพบในที่โล่งมากเท่านกอีเสือสีน้ำตาลและ นกอีเสือหัวดำ (Long-tailed Shrike)

มองเผินๆ นกอีเสือหลังแดงมีสีสันละม้ายคล้ายนกอีเสือหัวดำชนิดย่อย schach ซึ่งมีกระหม่อมสีเทาเหมือนกัน ต่างจากชนิดย่อยประจำถิ่นที่มีกระหม่อมสีดำสนิท มันเป็นนกอพยพนอกฤดูผสมพันธุ์ที่หายากในประเทศไทย จำแนกได้จากสีเทาที่เลยไปจนถึงบริเวณหลังมากกว่านกอีเสือหลังแดงและมีขนาดตัวใหญ่กว่าเล็กน้อย


ขอขอบคุณ เพจ ชมรมนักดูนก (ที่มาภาพถ่าย) ต้นแบบของการวาด/ระบายสี
800/30

Kimleng:


นกปลีกล้วยหูเหลืองเล็ก

นกปลีกล้วยหูเหลืองเล็ก
       วงศ์ : Nectariniidae  
       ชื่อวิทยาศาสตร์ : Arachnothera chrysogenys (Temminck) 1826.
       ชื่อสามัญ : Yellow-eared Spiderhunter
       ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ : Lesser Yellow-eared Spiderhunter


มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Arachnothera chrysogenys ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษากรีกคือ chrys, -o, =us หรือ khrusos แปลว่าสีทอง และ geny, -o, =us หรือ genus แปลว่าแก้ม ความหมายคือ “นกที่มีแก้มสีเหลืองทอง” พบครั้งแรกที่เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ทั่วโลกมี ๒ ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ ๑ ชนิดย่อยคือ Arachnothera chrysogenys chrysogenys (Temminck) ที่มาและความหมายของชื่อ ชนิดย่อยเช่นเดียวกับชนิด

กระจายพันธุ์ : ในพม่า ไทย มาเลเซีย และหมู่เกาะ ซุนดาใหญ่

ลักษณะทั่วไป : เป็นนกขนาดเล็ก (๑๘ ซม.) ตัวเต็มวัยมีกระจุกขนบริเวณหูและวงรอบเบ้าตาสีเหลือง คอหอยและอกสีเขียวอ่อนแกมเทามีลายขีดเล็กน้อย ท้องและขนคลุมโคนขนหางด้านล่างสีเหลือง หาง ด้านล่างสีเขียวอ่อนแกมเทา ไม่มีสีขาว อกไม่มีพุ่มขน ปีกสั้นกว่า ๙๘ มม. ตัวไม่เต็มวัยสีจางกว่า สีเหลือง บริเวณหูมีขนาดเล็กจนเกือบไม่เห็น

อุปนิสัยและอาหาร : พบตามป่าดงดิบชื้น ป่าดง ดิบแล้ง และชายป่า ตั้งแต่พื้นราบจนกระทั่งความสูง ๑,๘๐๐ เมตรจากระดับน้ำทะเล อุปนิสัยไม่แตกต่าง จากนกปลีกล้วยหูเหลืองใหญ่

การผสมพันธุ์ :ผสมพันธุ์ช่วงฤดูร้อนระหว่าง เดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน และช่วงฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม ทำรังใต้ ใบไม้ในลักษณะเดียวกันกับนกปลีกล้วยชนิดอื่น รัง อยู่สูงจากพื้นดิน ๑.๕-๑๒ เมตร รังมีไข่ ๒ ฟอง

ไข่ :ไข่ สีเทาแกมขาว มีลายจุดสีน้ำตาลเหลืองและสีน้ำตาลเทา ยังไม่ทราบชีววิทยาคารสืบพันธุ์ด้านอื่น

สถานภาพ : เป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยและปริมาณปานกลาง พบทางภาคตะวันตกตอนใต้และภาคใต้ตั้งแต่คอคอดกระลงไป

กฎหมาย : ยังไม่จัดเป็นสัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าคุ้มครอง


ขอขอบคุณ
       - เว็บไซต์ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี (ที่มาข้อมูล)
       - เพจ ชมรมนักดูนก (ที่มาภาพถ่าย) ต้นแบบของการวาด/ระบายสี

Kimleng:


นกอีเสือหัวดำ

นกอีเสือหัวดำ (Long-tailed Shrike)

ชื่อภาษาอังกฤษ : Long-tailed Shrike

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lanius schach

สถานภาพ : นกประจำถิ่น

ขนาด : มีขนาด ๒๕ เซ็นติเมตร

ถิ่นที่อยู่ : เป็นนกที่ชอบอาศัยอยู่ในที่โล่ง ทุ่งนา ป่าละเมาะ หรือ แม้แต่ตามสายไฟฟ้าข้างถนน พบได้จากที่ราบ ขึ้นไปถึงที่สูงระดับกว่า ๒,๐๐๐ เมตร

เพศ : ตัวผู้ กับ ตัวเมีย มีลักษณะคล้ายกัน

อาหาร : สัตว์ขนาดเล็ก เช่น กบ เขียด นกขนาดเล็ก และแมลง ต่างๆ

พฤติกรรม : เป็นนกที่มีพฤติกรรมแปลก คือชอบจับเหยื่อเสียบไว้กับหนามแหลม แล้วจึงลงมือจิกกิน หรือ เสียบเหยื่อไว้กับหนามจนเหยื่อเริ่มเน่าแล้วจึงจิกกิน

เสียงร้อง : เป็นนกที่ร้องเลียนเสียงนกชนิดอื่นได้ แต่เลียนเสียงได้ไม่ดี ส่วนมากมักส่งเสียงร้อง (call) เป็นเสียงแหบๆ ๑ พยางค์ สั้นๆ ห้วนๆ

ชนิดย่อย ในประเทศไทย พบ ๒ ชนิดย่อย คือ longicaudatus (ภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคอีสานตอนใต้) หน้าและกระหม่อมสีดำ หลังสีน้ำตาลอมส้ม หัวไหล่และขนปีกสีดำ โคนขนปลายปีกมีจุดขาว ตะโพกสีน้ำตาลอมส้ม คอและอกสีขาว สีข้างสีส้ม หางสีดำ หางยาวกว่าชนิดย่อยอื่นๆ ชนิดย่อย tricolor (ภาคเหนือและภาคอีสานตอนบน) คล้ายชนิดย่อย longicaudatus แต่หลังตอนบนสีน้ำตาลอมเทา หางสั้นกว่า ชนิดย่อย schach (เคยมีรายงานทางภาคเหนือ) กระหม่อมและหลังตอนบนสีเทาเข้ม ชนิดย่อย bentet (ภาคใต้ตอนล่าง) ท้ายทอย หลัง สีเทาจางกว่าชนิดย่อยอื่น จุดสีขาวที่ปีกขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับชนิดย่อยอื่น นกประจำถิ่นและนกอพยพนอกฤดูผสมพันธุ์ พบบ่อย ชนิดย่อย longicaudatus พบไม่บ่อยและมีจำนวนประชากรลดลงอย่างมากในภาคกลาง



ขอขอบคุณ
       - เว็บไซต์ (ที่มาข้อมูล) www.bloggang.com / https://ebird.org/
       - เพจ ชมรมนักดูนก (ที่มาภาพถ่าย) ต้นแบบของการวาด/ระบายสี

800/30

Kimleng:


สุลาเวสี พิตต้า




ภาพจาก เว็บไซต์ .oknation.net
800

Kimleng:

นกแต้วแล้วลาย : ภาพวาดระบายด้วยสีชอล์คน้ำมัน

นกแต้วแล้วลาย

นกแต้วแล้วลาย นกขี้อายที่มีสีสันสวยงาม เป็นหนึ่งในนกแต้วแล้วชนิดหนึ่ง ที่มีสีสันสวยที่สุดชนิดในบรรดานกแต้วแล้วทั่วโลกก็ว่าได้ นกแต้วแล้วลายเป็นนกประจำถิ่น พบเฉพาะป่าดงดิบทางภาคใต้ของประเทศไทย และกระจายเป็นหย่อมๆ ในประเทศมาเลเซีย และอินโดนีเซีย นกแต้วแล้วลาย ขนาด ๒๑-๒๔ เซนติเมตร เป็นนกแต้วแล้วขนาดกลาง ตัวผู้และตัวเมียต่างกัน แต่งามกันคนละแบบ คิ้วสีเหลืองสดขับเน้นปลายคิ้วด้วยสีแดงชาด กระหม่อมคาดแถบดำ คอขาวแบบปุยหิมะ ใบหน้าเข้มดุดันด้วยแถบดำคาดตาด สีข้างลาย และปีกสีน้ำตาลคาดด้วยแถบขาวยาวตลอดแนวโดดเด่นและหางสีฟ้า เพศเมียมีท้องสีอ่อนกว่า มีลายขวางสีดำทั่วท้อง หาอาหารอย่างเงียบเชียบตามพื้นป่าในป่าดิบที่ราบ มักได้ยินเสียงร้องคล้ายเสียงครางในลำคอดัง “กรือออ”

สำหรับนกแต้วแล้วลายตัวผู้ต่างจากตัวเมียที่อกและท้องเป็นสีน้ำเงินเข้มไม่มีลาย ลูกนกคล้ายตัวเมียแต่สีจืดชืดกว่ามาก ส่วนการสร้างรังจะสร้างเหนือพื้นดินซึ่งอาจจะสูงถึง ๓ เมตรจากพื้น รังซุกตามง่ามไม้กลุ่มปาล์ม เช่น หวาย นกใช้รากไม้และกิ่งไม้แห้งขัดสานเป็นโครงแล้วบุด้วยใบไม้แห้ง โดยที่ตัวเมียจะวางไข่ครั้งละวางไข่ ๓-๔ ฟอง




800-30

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว