รู้จักพันธุ์นก ก่อนสูญพันธุ์

<< < (2/11) > >>

Kimleng:


ภาพระบายสีไม้

นกติ๊ดหลังสีไพล
Japanese Tit

นกติ๊ดใหญ่ (Great Tit) เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่ชัดเจน หากไล่รายชื่อนกฉบับล่าสุดจะเห็นว่าไม่มีชื่อนกชนิดนี้ในเมืองไทยแล้ว เพราะ “นกติ๊ดใหญ่” จริงๆ แล้วประกอบไปด้วยอย่างน้อย ๓ ชนิด ประชากรทางเอเชียตะวันออกและเอเชียใต้ซึ่งไม่มีสีเหลืองที่ลำตัวถูกแยกออกมาเป็น Japanese Tit และ Cinereous Tit (ได้ชื่อว่า นกติ๊ดหลังสีไพล และนกติ๊ดหลังเทา ตามลำดับ) สองชนิดนี้เองที่พบได้ในเมืองไทย ส่วน Great Tit ของแท้กระจายตั้งแต่ยุโรปมาจนถึงไซบีเรีย ไม่พบในเขตร้อนของเอเชียใต้และเอเชียตะวันออก

นกติ๊ดหลังสีไพลมีลักษณะก้ำกึ่งระหว่างนกติ๊ดใหญ่ และนกติ๊ดหลังเทา คือมันมีหลังสีเขียวไพลเหมือนนกติ๊ดใหญ่ แต่มีลำตัวสีขาวนวลเหมือนนกติ๊ดหลังเทา ชนิดหลังนี้ในเมืองไทยเป็นนกที่มีถิ่นอาศัยจำกัดมากๆ พบตามป่าโปร่งระดับต่ำทางภาคอีสาน และป่าชายเลนทางภาคใต้ เพียงไม่กี่แห่งเท่านั้น ในขณะที่นกติ๊ดหลังสีไพล มักพบกระโดดหากินห้อยโหนตีลังกาได้อย่างคล่องแคล่วตามกิ่งไม้โล่งๆ พบง่ายบนดอยสูงหลายแห่ง

แปลจากภาษาอังกฤษ-หัวนมญี่ปุ่นหรือที่รู้จักกันในชื่อ Oriental tit คือนก passerine ที่มาแทนที่หัวนมใหญ่ที่คล้ายกันในญี่ปุ่นและ Russian Far East นอกเหนือจากแม่น้ำ Amur รวมถึงหมู่เกาะ Kuril จนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้สายพันธุ์นี้ถูกจำแนกเป็นสายพันธุ์ย่อยของหัวนมที่ดี

นกติ๊ดหลังสีไพล Japanese Tit

ชื่อวิทยาศาสตร์/Scientific name : Parus minor

ลำดับ/Order : asseriformes

วงศ์/Family : นกติด Tits, chickadees : Paridae
 
สถานภาพในประเทศไทย/Seasonal status : นกประจำถิ่น/Resident
 
สถานภาพการอนุรักษ์/Conservation status : เป็นกังวลน้อยที่สุด/Least Concern
สถานภาพ/ Distribution : พบบ่อย หรือ พบเห็นทั่วไปในถิ่นอาศัยที่เหมาะสม/Common

...ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย (ภาษาอังกฤษ), เว็บไซต์ birdsofthailand.org & soclaimon.wordpress.com
750-26

Kimleng:


ภาพระบายสีไม้

นกจับแมลงสีคล้ำหางแถบขาว 
Sun Conure

นกประจำถิ่นแห่งป่าดิบเชิงเขาที่พบได้ตั้งแต่ตีนเขาหิมาลัยทางตะวันออกสุดของอินเดียยาวไปจนถึงลาวใต้ เวียดนามและคาบสมุทรมลายู รวมทั้งเกาะสุมาตราและบอร์เนียว

อาจพูดได้ว่าประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของแหล่งกระจายพันธุ์ และยังพบได้ถึงสองชนิดย่อย โดยชนิดย่อยหลัก (concretus) มีรายงานใน จ.ตรัง ละป่าดิบใกล้ชายแดนมาเลเซียในยะลาและนราธิวาส ส่วนชนิดย่อย cyaneus ที่พบในป่าตะวันตกและป่าแก่งกระจานเพศผู้มีลำตัวสีน้ำเงินจางกว่า เพศเมียซึ่งตัวสีน้ำตาลก็มีโทนสีอมเทามากกว่า โดยเฉพาะบริเวณใบหน้าซึ่งจะไม่มีสีอมแดงเลย ชนิดย่อยที่ไม่พบในไทยคือ everetti ซึ่งเป็นนกเฉพาะถิ่นของบอร์เนียว คล้ายชนิดย่อยหลักแต่มีขนาดเล็ก สีสันของเพศผู้จืดชืดที่สุด นอกจากนี้เพศผู้ยังไม่มีขนสีขาวที่หาง เสียงร้องของทั้งชนิดย่อยที่พบในไทยนั้นต่างกันค่อนข้างชัดเจน เป็นไปได้ว่าจะถูกแยกชนิดในอนาคต

ขอขอบคุณข้อมูล oknation.nationtv.tv
750

Kimleng:


ภาพวาดระบายสีไม้

นกจับแมลงป่าโกงกาง
Mangrove Blue Flycatcher

ชื่อวิทยาศาสตร์ / Scientific name       Cyornis rufigastra ลำดับ / Order     Passeriforme วงศ์ / Family     นกจับแมลงและนกเขน Chats, Old World Flycatchers : Muscicapidae สถานภาพในประเทศไทย /     นกประจำถิ่น / Resident Seasonal status     . สถานภาพการอนุรักษ์ /     ไม่น่ากังวลว่าจะสูญพันธุ์ / Least Concern Conservation status     . สถานภาพ / Distribution     พบเห็นยาก (เนื่องจากพฤติกรรม) หรือมีจำนวนน้อยมาก .     ในถิ่นอาศัยที่เหมาะสม / Rare
ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซต์ birdsofthailand.org

750-24

Kimleng:


ภาพระบายสีไม้
ภาพถ่ายจากโทรศัพท์มือถือ ความคมชัดน้อย

นกตะขาบทุ่งอกสีม่วง มีลำตัวยาวประมาณ ๓๘ เซนติเมตร หน้าผากและคิ้วสีขาว
กระหม่อมสีเขียวอ่อน มีแถบสีดำพาดผ่านดวงตา แก้มสีส้มแดง คางสีขาว คอและอก
สีม่วงแดงแซมด้วยสีขาว  ใต้ท้องสีน้ำเงินม่วง  ด้านหลังสีน้ำตาล ขนหางสีม่วงน้ำเงิน
ดวงตาสีน้ำตาลเข้ม จะงอยปากสีดำ ขาและตีนสีชมพูเหลือง   อาศัยตามทุ่งหญ้าและ
ดงไม้ อาหารหลักได้แก่ แมลง, กิ้งก่า และงู  รวมถึงตะขาบ, แมงป่อง, หอยทาก, นก
ขนาดเล็ก และสัตว์ฟันแทะขนาดเล็กด้วย พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในทวีปแอฟริกาจนถึง
คาบสมุทรอาหรับ สามารถแบ่งออกได้เป็น ๒ ชนิดย่อย  จัดเป็นนกที่มีสีสันสดใสและ
สวยงามมากชนิดหนึ่ง...ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย

Kimleng:


ภาพระบายสีไม้

นกแก้วสุริยะ
Sun Conure

นกแก้วสุริยะ หรือ Sun Conure ชื่อวิทยาศาสตร์ Aratinga solstitialis แพร่กระจายพันธุ์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศบราซิล, ซูรินาเม และภาคตะวันออกเฉียงใต้ของเวเนซุเอลา พบอยู่อาศัยตามธรรมชาติ ป่าเปิด และป่าที่มีต้นปาล์มมากๆ พฤติกรรมทั่วไป อาศัยอยู่เป็นฝูงเล็กๆ ๔-๑๒ ตัว และอาจมากถึง ๓๐ ตัว ตามต้นไม้ที่มีผลดก

ทั้งเพศผู้และเพศเมีย มีลักษณะเหมือนกัน ถ้าจะให้รู้ต้องคลำบริเวณตำแหน่งอวัยวะเพศ มีตุ่มๆ ตัวผู้

ขนลำตัวส่วนใหญ่เป็นสีเหลืองสด แต่ที่ใบหน้าและส่วนท้องมีสีส้มสดใส ขนปีกสีเขียวเข้มปนน้ำเงิน ขนหางสีเขียวและมีสีเหลืองแซม ขนคลุมปีกมีสีเหลือง ขนคลุมใต้โคนหางสีเขียวขลิบเหลือง หนังบริเวณรอบตาสีขาวอมชมพู ม่านตาสีน้ำตาลเข้ม จะงอยปากสีดำ ฝ่าเท้าสีเทา ความยาวลำตัว ๓๐ ซม. น้ำหนัก ๑๐๐-๑๒๐ กรัม

สามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดปี เมื่อจับคู่แล้ว ออกไข่ได้หลายครอกต่อปี ครั้งละ ๔-๕ ฟอง กกไข่ ๒๓ วัน ฟักออกมาเป็นลูกประมาณ ๕๐ วัน เมื่อลูกโตพอออกมาจากรังเองได้ ควรปล่อยให้อยู่กับพ่อ-แม่ อีกสักระยะเพื่อซึมซับสัญชาตญาณ อายุเฉลี่ย ๑๕-๒๕ ปี

น.สพ.เกษตร สุเตชะ หน่วยสัตว์ชนิดพิเศษ โรงพยาบาลสัตว์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ความรู้ในการนำนกแก้วสุริยะมาเลี้ยง...ต้องเข้าใจในธรรมชาติ เป็นนกที่พูดไม่ได้ไม่เหมือนนกแก้วนกขุนทองในบ้านเรา แต่มักจะส่งเสียงเจี๊ยวจ๊าวเกือบตลอดเวลาทั้งวันทั้งคืน โดยเฉพาะเวลาไม่พอใจ หรือต้องการสิ่งหนึ่งสิ่งใด

แต่สามารถเลี้ยงให้เชื่องได้ง่าย ชอบอยู่ติดคน กล้าแสดงออก ชอบอาบน้ำ กัดเจ็บพอควร บางครั้งชอบเอาแต่ใจตัวเอง ขี้อิจฉา ฉะนั้นควรมีของเล่น หรือกิ่งไม้ให้กัดแทะเพื่อระบายอารมณ์

เมื่ออยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ จะมีพฤติกรรมก้าวร้าว เพราะจะเปิดศึกการคัดเลือกจ่าฝูง เกิดการต่อสู้จิกกัดกัน จนกระทั่งรู้แพ้-ชนะ นกที่ชนะทุกตัวจะขึ้นเป็นจ่าฝูง และมักจะเกาะอยู่จุดเด่นที่สูงสุดของกรง....ข้อมูลจาก ไทยรัฐออนไลน์

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว