[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 09:30:29 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม  (อ่าน 2486 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 26 เมษายน 2562 14:28:36 »



ขอขอบคุณภาพจากเว็บไซต์ pantip.com

คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม
เอกสารจากหอหลวง

คำนำกรมศิลปากร

กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ๔๑๗ ปี แต่เอกสารที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับกรุงศรีอยุธยามีไม่มากนัก เอกสารหลักได้แก่พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับต่างๆ ซึ่งส่วนมากจะเป็นพระราชพงศาวดารที่คัดลอก รวบรวม หรือชำระในสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ พระราชพงศาวดารฉบับร่วมสมัยกรุงศรีอยุธยา ที่นักประวัติศาสตร์ให้ความสำคัญว่าถูกต้องแม่นยำที่สุดคือ พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ ซึ่งสมเด็จพระนารายณ์มีรับสั่งให้เขียน เมื่อ พ.ศ.๒๒๒๓ ส่วนพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับที่สันนิษฐานว่าเก่าที่สุดเท่าที่พบคือ ฉบับที่นายไมเคิล วิกเคอรี (Michael Vickery) ค้นพบจากหอสมุดแห่งชาติ เมื่อ พ.ศ.๒๔๑๔ เป็นสมุดไทยดำ มี ๓๗ หน้า เป็นฉบับคัดลอกจากฉบับที่เก่ากว่า ไม่พบตอนเริ่มต้นและตอนจบ นักประวัติศาสตร์วิเคราะห์จากเนื้อเรื่องและภาษาสันนิษฐานว่าเขียนขึ้นก่อนสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เรื่องราวความสำคัญของกรุงศรีอยุธยาที่ปรากฏในเอกสารไทยร่วมสมัยมีน้อยมาก อีกส่วนหนึ่งจึงได้จากงานวรรณกรรมร่วมสมัย ซึ่งต้องสกัดคัดกรองข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์จากงานที่ให้ความสำคัญกับความงดงามและไพเราะของภาษามากกว่าจะสะท้อนความเป็นจริงอย่างตรงไปตรงมา นอกจากนี้ ยังได้ข้อมูลรายละเอียดจากเอกสารชาวต่างชาติที่เข้ามากรุงศรีอยุธยาและจดบันทึกเรื่องราวไว้ ข้อมูลส่วนนี้ให้ประโยชน์ในการสอบค้นกับเอกสารและหลักฐานอื่นๆ แต่ต้องวิเคราะห์ข้อเท็จจริงจากความเข้าใจของชาวต่างชาติที่อาจคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงไปบ้าง

การค้นพบเอกสารจากหอหลวงเรื่องคำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรมนั้น ถือว่าเป็นเอกสารที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ไทยมากในฐานะที่เป็นเอกสารร่วมสมัยบรรยายสภาพกรุงศรีอยุธยาโดยละเอียด เริ่มต้นด้วย ภูมิสถาน กำแพงป้อมคูประตูหอรบ สภาพภายในเขตกำแพงพระนคร การวางผังเมืองเขตพระราชฐานในและนอกเกาะเมือง ขุมชนโดยรอบ ตลาดในกรุงและรอบกรุง ชนต่างเมืองและต่างชาติที่เข้ามาติดต่อค้าขายในพระนคร สิ่งสำคัญที่เป็นหลักเมือง ได้แก่ พระราชมณเฑียร พระมหาธาตุ พระมหาเจดีย์และพระพุทธปฏิมากร สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่นอกพระนคร ข้อมูลที่บันทึกไว้นั้นเมื่อศึกษาสำรวจพื้นที่แล้ว พบว่ามีความถูกต้องแม่นยำ ทำให้เห็นภาพความเจริญรุ่งเรืองของกรุงศรีอยุธยา และการใช้ชีวิตของผู้คนในสมัยนั้น

ในส่วนหลังของเอกสารบรรยายถึงโบราณราชประเพณี ได้แก่ ธรรมเนียมถือน้ำ พระราชพิธีลงสรงเจ้าฟ้า พิธีโสกันต์ ว่าด้วยเครื่องยศสำหรับศพ กระบวนแห่พระบรมศพ แบบอย่างการพระเมรุ จากนั้นบรรยายถึงตำแหน่งยศพระราชาคณะฐานานุกรม ทำให้ทราบถึงลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ในสมัยอยุธยา อีกตอนหนึ่งว่าด้วยพระพิไชยเสนา เป็นตำราสอนข้อควรประพฤติของข้าราชการ มี ๒๔ ข้อ แสดงให้เหินถึงภูมิปัญญาและธรรมจริยาของผู้ปกครองสมัยนั้น ตอนสุดท้ายเป็นคำให้การเกี่ยวกับเหตุการณ์สมัยอยุธยาตอนปลายตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระสรรเพ็ชญที่ ๘ (พระเจ้าเสือ) ถึงสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์

เอกสารประเภทคำให้การที่เป็นที่รู้จักกันดี คือ คำให้การขุนหลวงหาวัด และคำให้การชาวกรุงเก่า มีประวัติความเป็นมาในการพบเอกสาร ดังนี้

หนังสือคำให้การขุนหลวงหาวัด พิมพ์ครั้งแรกที่โรงพิมพ์หมอสมิท เมื่อ พ.ศ.๒๔๒๖ เนื้อหาเป็นเรื่องพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ตั้งแต่สมัยพระเจ้าบุเรงนองตีกรุงศรีอยุธยาได้ในแผ่นดินสมเด็จพระมหินทราธิราช และพรรณนาภูมิสถานกรุงศรีอยุธยา ทำเนียบต่างๆ ตลอดจนราชประเพณี เชื่อกันว่าเป็นคำให้การของพระเจ้าอุทุมพรที่พระเจ้าอังวะโปรดให้สอบถามและจดไว้ แต่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเห็นว่ามีความคลาดเคลื่อนหลายตอน อาจจะเนื่องจากการแปลต้องผ่านล่าม ซึ่งไม่เข้าใจธรรมเนียมกัน หรือไม่ก็น่าจะเป็นเรื่องที่ชาวกรุงเก่าผู้มีอายุอยู่มาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์เรียบเรียงไว้ตามที่รู้เห็น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระบรมราชาธิบายว่าได้เคยทอดพระเนตรเห็นหนังสือเรื่องนี้ที่หอหลวง และทรงทราบว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใช้ในพระราชนิพนธ์หลายแห่ง ต่อมาใน พ.ศ.๒๔๕๔ หอพระสมุดวชิรญาณได้หนังสือคำให้การขุนหลวงหาวัดที่เป็นฉบับหลวงมา สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ จึงทรงสันนิษฐานว่าเมื่อพม่าตีกรุงศรีอยุธยาได้ใน พ.ศ.๒๓๑๐ ได้พาชาวไทยนับตั้งแต่พระเจ้าอุทุมพร ข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อย และชาวเมืองไปเมืองพม่า พระเจ้าอังวะมีรับสั่งให้จดคำให้การของชาวไทยเป็นภาษามอญ แล้วแปลเป็นภาษาพม่ารักษาไว้ในหอหลวง เมื่ออังกฤษตีเมืองมัณฑะเลย์ได้จึงนำมาเก็บไว้ที่เมืองย่างกุ้ง ฉบับที่สันนิษฐานว่าเป็นคำให้การของพระเจ้าอุทุมพร เรียกว่า คำให้การขุนหลวงหาวัด ส่วนคำให้การของคนอื่นๆ เรียกว่าคำให้การชาวกรุงเก่า ความถูกต้องแม่นยำของเอกสารยังคลาดเคลื่อนตามความทรงจำของผู้เล่า และความเข้าใจของผู้จดบันทึกและผู้แปล

ส่วนคำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรมเป็นเอกสารสำคัญมากในกลุ่มคำให้การและเป็นเอกสารร่วมสมัยที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์อย่างยิ่ง ความเป็นมาของเอกสารนี้ นายฉันทิชย์ กระแสสินธุ์ กรรมการและเลขานุการ คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทยได้บรรยายไว้ในแถลงงานประวัติศาสตร์ เอกสาร โบราณคดี ฉบับปีที่ ๓ เล่ม ๑ เดือนมกราคม ๒๕๑๒ ความว่า ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ งานในหน้าที่กรมราชเลขาธิการในพระองค์โอนมาอยู่ในหน้าที่ของกรมเลขาธิการ คณะรัฐมนตรี ได้มอบเอกสารสมุดไทย ใบบอก ใบลาน และอื่นๆ มาเก็บรักษาไว้ ต่อมาจึงส่งเอกสารดังกล่าว ให้กรมศิลปากรดูแลรักษา นายปรีดา ศรีชลาลัย ข้าราชการกรมศิลปากรอ่านพบและนำเสนอที่ประชุมคณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย พิจารณาเห็นว่าเป็นเอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์ให้พิมพ์เผยแพร่เป็นครั้งแรกในแถลงงานประวัติศาสตร์ เอกสาร โบราณคดี ตั้งแต่ฉบับปีที่ ๓ เล่ม ๑ (มกราคม ๒๕๑๒) ถึงฉบับปีที่ ๕ เล่ม ๒ (พฤษภาคม ๒๕๑๔) เรียกชื่อเอกสารนี้ว่า “คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม” โดยเข้าใจว่าเป็นเอกสารครั้งกรุงเก่า และเป็นคำให้การของขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม คือพระเจ้าอุทุมพร และในปี พ.ศ. ๒๕๓๔ คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทยมอบหมายให้ ดร.วินัย พงศ์ศรีเพียร ตรวจสอบชำระเอกสารนี้อย่างละเอียดและพบว่า ต้นฉบับที่มีผู้คัดลอกจากเอกสารเดิมในหอหลวงมี ๓ ฉบับ กล่าวคือ ฉบับแรก ต้นฉบับเป็นมรดกของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศวรฤทธิ์ ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพประทานแก่พระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์) ใช้ศึกษาในการทำแผนที่ภูมิสถานพระนครศรีอยุธยาที่ปรากฏในงานของท่านเรื่องตำนานกรุงเก่า ประกอบด้วยประวัติกรุงเก่า พระราชพงศาวดารสังเขป ภูมิสถานพระนคร และอธิบายแผนที่พระนครศรีอยุธยา (รวมพิมพ์อยู่ในประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๓ และตรวจสอบชำระใหม่ในประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม ๕) ซึ่งได้ทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในงานพระราชพิธีรัชมงคล พ.ศ. ๒๔๕๐

ต้นฉบับคัดลอกจากหอหลวงฉบับที่ ๒ กรมศิลปากรได้มาเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๐ เป็นสมุดไทยเมื่อสอบทานกับต้นฉบับแรกแล้วปรากฏว่ามีข้อความมากกว่าฉบับเดิมหลายหน้า สำนวนเดียวกัน จึงได้คัดสำเนาข้อความตอนที่ได้มาใหม่ส่งไปให้คณะกรรมการจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจัดพิมพ์ใช้ชื่อว่า “ภูมิสถานกรุงศรีอยุธยาฉบับต่อจากที่เคยพิมพ์แล้ว” แจกในงานทอดกฐินพระราชทาน ณ วัดตูม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๒

ต้นฉบับคัดลอกจากหอหลวงฉบับที่ ๓ คือ ฉบับที่นายปรีดา ศรีชลาลัย ค้นพบดังที่ได้กล่าวถึงรายละเอียดแล้ว ถือเป็นฉบับที่สมบูรณ์ที่สุด ดร.วินัย พงศ์ศรีเพียร และคณะนักวิจัยของโครงการวิจัยเมธีวิจัยอาวุโส ได้ตรวจสอบชำระ จัดเรียงเนื้อความให้เป็นหมวดหมู่เป็นระบบขึ้น จัดทำคำอธิบายศัพท์ยากเพิ่มเติมจากที่พระยาโบราณราชธานินทร์ได้จัดทำไว้แต่เดิม และได้ลงพื้นที่สำรวจพร้อมทั้งจัดทำแผนที่ แผนผัง ประกอบ จัดพิมพ์เผยแพร่ใน พ.ศ. ๒๕๕๑ ให้ชื่อหนังสือว่า “มรดกความทรงจำแห่งพระนครศรีอยุธยา เล่ม ๑ พรรณนาภูมิสถานพระนครศรีอยุธยา เอกสารจากหอหลวง (ฉบับความสมบูรณ์)” หากนำมาศึกษาประกอบด้วยจะได้ความกระจ่างยิ่งขึ้น

การที่มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชนำ “คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม เอกสารจากหอหลวง” มาจัดพิมพ์เผยแพร่ โดยเพิ่มบทนำของ รองศาสตราจารย์ ดร.ไพฑูรย์ มีกุศล นับว่าเป็นประโยชน์ทางวิชาการสำหรับนักประวัติศาสตร์และผู้สนใจประวัติศาสตร์อยุธยา โดยเฉพาะด้านสังคม และเป็นการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าของชาติ กรมศิลปากรหวังว่า ทุกท่านจะได้รับประโยชน์จากเอกสารนี้สมเจตนารมณ์ทุกประการ


(นางโสมสุดา ลียะวณิช)
อธิบดีกรมศิลปากร
สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์
พฤศจิกายน ๒๕๕๔




คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม
เอกสารจากหอหลวง
(อักขรวิธีใช้ตามต้นฉบับ)

ภูมิสันฐาน
จะกล่าวถึงภูมิลำเนากรุงเทพมหานคร บวรทวารวะดีศรีอยุธยา ราชธานี พระนครตั้งอยู่บนเกาะหนองโสนในประเทศสยาม มีแม่น้ำล้อมรอบเกาะ เกาะนั้นมีสัณฐานคล้ายสำเภานาวา พระนครนั้นมีนามปรากฏว่า กรุงเทพมหานครบวรทวาราวดีศรีอยุธยา มหาดิลกภพนพรัตนราชธานี บุรีรมย์อุดมพระราชนิเวศน์มหาสฐาน มีสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยาม เสด็จดำรงศิริราชสมบัติในพระมหานครเปนพระบรมราชาธิราชใหญ่ในสยามประเทศ มีพระราชอาณาเขตรกว้างขวาง ทิศเหนือถึงแดนลาว ทิศใต้ถึงแดนแขกมาลายู ทิศตะวันออกถึงแดนเมืองเขมร ทิศตะวันตกถึงแดนมอญ มีเจ้าประเทศราชลาวพุงขาว ลาวพุงดำ เขมร แขกมาลายู มาถวายดอกไม้ทองเงินเสมอมิได้ขาด มีพระราชอภินิหารเดชานุภาพล้ำเลิศประเสริฐยิ่งนักหนา ทรงรักษาไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินโดยทางทศพิธราชธรรม ทรงทำนุบำรุงพระบวรพุทธศาสนา และสมณพราหมณจาริยแลไพร่ฟ้าประชากร ให้อยู่เย็นเป็นสุขสโมสรหาสิ่งเสมอมิได้ พวกพานิชนานาประเทศ ทราบเหตุว่า กรุงศรีอยุทธยาผาศุกสมบูรณ ด้วยสินค้าอุดมดี พวกพานิชก็แตกตื่นกันเข้ามาถวายบรรณาการ ขอพระราชทานพึ่งพระบรมโภธิสมภาร ค้าขายในพระมหานครเปนอันมากจะนับคณะนามิได้ กรุงศรีก็ไพศาลสมบูรณเป็นรัตนราชธานี ศรีสวัสดิพิพัฒมงคลแก่ชนชาวสยามความเจริญทั่วพระนคร

อนึ่งกรุงศรีอยุธยา มีด่านขนอนคอยเหตุการต่างๆ ตั้งอยู่ตามลำแม่น้ำรอบกรุงทั้ง ๔ ทิศ ซึ่งเปนทางแม่น้ำใหญ่จะเข้ามาในพระนครนั้น ทิศตะวันออกตั้งด่านที่ตำบลบ้านเข้าเม่าด่าน ๑ ทิศใต้ตั้งด่านที่ตำบลบ้านบางตะนาวศรีด่าน ๑ ทิศตะวันตกตั้งด่านที่ตำบลบ้านปากคูด่านหนึ่ง ทิศเหนือตั้งด่านที่ตำบลบ้านบางหลวงด่านหนึ่ง ๑ รวมเปนด่าน ๔ ตำบล เรียกว่าขนอนหลวง ๔ ทิศ รอบกรุงมีขุนด่าน หมื่นขนอน แลไพร่หลวงรักษาด่าน นาย ๒ ไพร่ ๒๐ ในเดือน ๑ ผลัดเปลี่ยนเวียนเวรละ ๑๕ วัน สำหรับตรวจตราของต้องห้ามตามกฎหมายแลเครื่องสาตราวุธที่แปลกปลาด แลผู้คนที่แปลกปลอมเข้าออก ต้องทักท้วงไต่ถามตามเหตุการที่ด่านทั้ง ๔ ตำบลนั้น มีม้าใช้ เรือเร็วไว้สำหรับคอยบอกเหตุการมาในกรุง



ว่าด้วยเรือจ้างรอบกรุง
อนึ่งกรุงศรีอยุทธยานั้นมีแม่น้ำล้อมรอบกำแพงพระมหานคร มีทำนบรอฃ้ามแม่น้ำมาแต่ฝั่งฟากตะวันออกเฉียงเหนือ เข้ามาที่ชานกำแพงพระนครตรงพระราชวังจันทน์บวรริมป้อมมหาไชยใกล้ฉางวังน่าทำนบรอนั้น กว้างสามวามีช่องกลางแม่น้ำ สำหรับเรือใหญ่น้อยไปมาได้ในระหว่างนั้น บนทำนบรอทั้งสองฝั่งมีกระดานปูเป็นพื้น มีลูกฟูกไม้ห่างศอกหนึ่งเป็นที่ลาดลงมาถึงตลิ่งทั้งสองฟากที่กลางนั้นปูกระดานเปนเหมือนตะพานช้าง ทำนบรอนี้สำหรับสมณพราหมณาจาริยอณาประชาราษฎรและช้างม้าเกวียนต่างเดินเข้าออกในพระนครแต่ทางเดียว เรียกว่าหัวรอ ที่เชิงลาดตะพานทำนบนั้นมีเจ้าพนักงานกรมพระนครบาลรักษาอยู่ที่ศาลาเชิงทำนบ ห้ามไม่ให้ช้างม้าเกวียนกระบือต่างโคเดินเลยเป็นอันขาด ยกเว้นไว้แต่ราชการหลวงเท่านั้นเดินได้ แต่มีบาดหมายมาบอกก่อน

ทำนบรอนี้มีขี้นเมื่อ จุลศักราช ๙๑๘ ปีมะโรงอัฐศก ในแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราช พระเจ้าแผ่นดินที่ ๑๖ ในกรุงศรีอยุทธยา เพราะครั้งนั้นพระเจ้ากรุงหงษาวดียกกองทัพมาทำสงครามล้อมกรุง แล้วมอญเอาไม้ตาลโตนดมาปักเปนทำนบรอถมดินทำตะพานเรือก ข้ามแม่น้ำเข้ากรุงได้ ภายหลังต่อมาก็ไม่ได้ทำลายรื้อถอน เอาไว้ใช้เปนตะพานใหญ่ ข้ามแม่น้ำเข้ากรุงได้โดยสดวก เมื่อทำนบรอเก่าของพวกมอญนั้นผุหักพังไป ไทยก็ทำซ่อมแปลงผลัดเปลี่ยนต่อมาเนือง ๆ เป็นตะพานใหญ่

กรุงศรีอยุทธยาด้านกว้างทิศตะวันออก มีท่าเรือจ้างข้ามรับส่งคนไปมาเข้าออก ๕ ตำบล คือตั้งแต่หัวรอมาถึงวัดตะพานเกลือ มีเรือจ้างฃ้ามเข้ากรุงที่ท่า ๘ ตำรวจท้ายวังน่าตำบล ๑ เรือจ้างฃ้ามเข้ากรุงที่ท่าช้างวังน่า แลมาท่าวิลันดา ๑ เรือจ้างข้ามออกจากกรุงไปวัดนางชี ๑ เรือจ้างฃ้ามออกจากกรุงไปวัดพิไชย ๑ เรือจ้างฃ้ามออกจากกรุงไปวัดเกาะแก้ว ๑ เรือจ้างข้ามรับส่งคนเข้าออกกรุงด้านตะวันออก ๕ ตำบล

กรุงศรีอยุทธยาด้านยาวทิศใต้นั้น มีท่าเรือจ้างฃ้ามรับส่งคนเข้าออกที่กรุงหกตำบลคือเรือจ้างท่าประตูช่องกุตหัวตลาดโรงเหล็ก ฃ้ามออกจากกรุงไปน่าวัดเจ้าพระนางเชิง ๑ เรือจ้างท่าหอยข้ามออกจากกรุงไปวัดป่าจาก ๑ เรือจ้างท่าพระยาราชวังสัน ฃ้ามออกจากกรุงไปขึ้นวัดขุนพรม ๑ เรือจ้างท่าด่านชีข้ามออกไปวัดสุรินทราราม ๑ เรือจ้างท่าฉะไกรน้อยข้ามออกจากกรุงไปวัดทาราม ๑ เรือจ้างท่าวังไชยฃ้ามออกจากกรุงไปวัดนาดปากคลองลคอนไชย ๑ รวมท่าเรือจ้างด่านยาวกรุงทิศใต้ ๖ ตำบล

กรุงศรีอยุทธยาด้านกว้างทิศตะวันตกนั้น มีท่าเรือจ้าง ๔ ตำบล คือ เรือจ้างท่าบ้านซีฃ้ามออกจากกรุงไปวัดไชยาราม ๑ เรือจ้างท่าพระราชวังหลัง ฃ้ามออกจากกรุงไปวัดลอดช่อง ๑ เรือจ้างท่าด่านลมฃ้ามออกจากกรุงไปวัดกระษัตรา ๑ เรือจ้างท่าบ้านเจ้าพระยาพลเทพ ฃ้ามออกจากกรุงไปวัดธรมา ๑ รวมท่าเรือจ้างด่านกว้างกรุงทิศตระวันตก ๔ ตำบล

กรุงศรีอยุทธยาด้านยาวทิศเหนือนั้น มีท่าเรือจ้างเจดตำบล คือเรือจ้างท่าปตูสัตกปฃ้ามออกจากกรุงไปวัดฃุนญวน ๑ เรือจ้างท่าม้าอาบน้ำข้ามออกจากกรุงไปวัดตินท่า ๑ เรือคอยราชการประจำทั้งกลางวันและกลางคืนที่ท่าขุนนางพระราชวังหลวง ฃ้ามออกจากกรุงไปขึ้นท่าศาลากระเวรฟากสระบัวหลวง ๑ เรือจ้างท่าช้างวังหลวง คือท่าสิบเบี้ยนั้น ฃ้ามออกจากกรุงไปวัดสีโพ ๑ เรือจ้างท่าทรายฃ้ามออกจากกรุงไปวัดโรงฆ้อง ฃ้างบ้านเจ้าพระยาจักรกรีที่ท่าทรายนั้น มีศาลาคู่อยู่สองหลังสำหรับคนไปมาภักอาไศรยเปนศาลาฉ้อทาน ๑ เรือจ้างท่าวัดชรองตรงถนนโรงช้างพระราชวังน่านั้น ฃ้ามออกจากกรุงไปวัดป่าคนที ตรงถนนปั้นม่อ ๑ เรือคอยราชการประจำทั้งกลางวันกลางคืน ที่ท่าขุนนางวังน่าริมป้อมมหาไชยน่าพระราชวังจันทน์บวร ข้ามออกจากกรุงไปขึ้นที่วัดนางปลื้มแลท่าโขลง ๑ รวมท่าเรือจ้างด้านยาวกรุงทิศเหนือ เปนเรือจ้างแท้ ๕ ตำบล เรือคอยราชการ ๒ ตำบล รวมเปนเจดตำบล

แม่น้ำล้อมรอบกรุงทั้ง ๔ ด้าน มีตะพานใหญ่ ทำนบรอตำบล ๑ มีท่าเรือคอยราชการ ๒ ตำบล มีท่าเรือจ้างยี่สิบตำบล รวมทางคนฃ้ามแม่น้ำเข้าออกในกรุง ๒๓ ตำบล

มีตลาดเรือที่แม่น้ำรอบกรุงเปนตลาดท้องน้ำเปนตลาดใหญ่ในท้องน้ำมี ๔ ตลาด คือตลาดน้ำวนบางกะจะน่าวัดเจ้าพระนางเชิง ๑ ตลาดปากคลองคูจามท้ายสู่เราแขก ๑ ตลาดปากคลองคูไม้ร้อง ๑ ตลาดปากคลองวัดเดิมใต้ศาลเจ้าปูนเท่าก๋ง ๑ เปนตลาดเอกในท้องน้ำ ๔ ตลาดเท่านี้

มีตลาดบนบกนอกกำแพงพระนคร ตามชานพระนครบ้าง ตามฝั่งฟากกรุงบ้างติดแต่ในรอบบริเวณในขนอนใหญ่ทั้ง ๔ ทิศรอบกรุงเข้ามาจนฟากฝั่งแม่น้ำตรงกรุง และชานกำแพงกรุงนั้นด้วยรวมเปน ๓๐ ตลาด คือ ตลาดน่าวัดน่าพระธาตุหลังขนอนบางหลวง ๑ ตลาดลาวเหนือวัดคูหาสวรรค์ ๑ ตลาดริมคลองน้ำยา ๑ ตลาดป่าปลาเชิงทำนบรอ ๑ ตลาดน่าวัดแคลง แลวัดตะพานเกลือ ๑ ตลาดท่าเรือจ้างวัดนางชีน่าบ้านโปรตุเกต ๑ ตลาดบ้านบาตร์วัดพิไชย ๑ ตลาดวัดจันทนารามหลังวัดกล้วย ๑ ตลาดหลังตึกห้างวิลันดา แถววัดหมู ๑ ตลาดวัดสิงหน่าตึกยี่ปุ่น ๑ ตลาดวัดทองถนนลายสอง ๑ ตลาดวัดท่าราบน่าบ้านเจ้าสัวซีมีตึกแถวยาว ๑๖ ห้องสองชั้น ๆ ล่างตั้งร้านขายของ ชั้นบนคนอยู่หัวตลาดนี้มีโรงตีเหลกแลโรงเยบรองท้าว ทำยาแดง สูบกล้องฃายตลาด ๑ ตลาดบ้านปูนวัดเขียน ถนนลายสอง ๑ ตลาดบ้านจีนปากคลองขุนละครไชยมีหญิงละครโสเภณี ตั้งโรงอยู่ท้ายตลาด ๔ โรง รับจ้างทำชำเราแก่บุรุษ ตลาดนี้เปนตลาดใหญ่ใกล้ทางเรือแลทางบก มีตึกกว้านร้านจีนมาก ฃายของจีนมากกว่าของไทย มีศาลเจ้าจีนศาลหนึ่งอยู่ท้ายตลาด ๑ ตลาดบ้านกวนลอดฉ้อง ๑ ตลาดท่าเรือจ้างวัดธรมา ๑ ตลาดบ้านป้อมตรงขนอนปากคู ๑ ตลาดแหลมคลองมหานาค ถนนบัณฑิตย์ ๑ ตลาดวัดขุนญวนศาลาปูน ๑ ตลาดคูไม้ร้องหลังโรงเรือพระที่นั่ง ๑ ตลาดน่าวัดตะไกรลงมาน่าวัดพระเมรุ ๑ ตลาดฃ้างวัดควายวัดวัว ถนนบ้านทำม่อ ๑ ตลาดป่าเหลกหลังบ้านเฃมรโยมพระ ๑ ตลาดวัดครุธ ๑ ตลาดคลองผ้าลาย ริมวัดป่าแดงหลังวังฟักเจ้าลาว ๑ ตลาดริมบ้านโรงกูบน่าวัดกุฎีทอง ๑ ตลาดวัดโรงฆ้อง ๑ ตลาดน่าวัดป่าคนที ๑ ตลาดบ้านป่าเหลกท่าโขลง ๑ ตลาดวัดมะพร้าวริมบ้านญวนทะเล ๑ รวมตลาดบกนอกกำแพงพระนคร ๓๐ ตลาด เปนตลาดใหญ่



ว่าด้วยที่ค้าขายนอกกรุง
อนึ่ง ริมแม่น้ำทั้งสองฝั่งฟากรอบกรุงศรีอยุทธยานั้น ข้าทูลลอองธุลีพระบาทแลราษฎรทำของต่างๆ ขายแลประกอบการค้าขายต่างๆ กัน เปนหมู่เปนย่านเปนตำบลมากมาย ย่านสำพนีตีสกัดน้ำมันงาน้ำมันลูกกะเบา น้ำมันสำโรงน้ำมันถั่วขาย ๑ บ้านหมู่หนึ่ง ทำฝาเรือนอยู่แลเรือนหอด้วยไม้ไผ่กรุกระแชงบ้าง กรุแผงกำบ้าง ทำไว้ฃายแลรับจ้างบ้าง ๑ บ้านหมู่หนึ่งทำการหล่อเหลกเปนครกสากเหลกขายแลตั้งเตาตีมีดพร้าแลรูปพรรณต่างๆ รับจ้างแลทำไว้ฃาย ๑ บ้านทั้งสามพวกนี้อยู่ในย่านสัมพนี บ้านม่อปั้นม่อเข้าม่อแกงใหญ่เลก แลกะทะเตาขนมครกขนมเบื้อง เตาไฟตะเกียง ใต้ตะคันเชิงไฟพานภู่มสีผี้งถวายพระเข้าวษา บาตร์ดินกะโถนดิน ๑ บ้านกระเบื้องทำกระเบื้องผู้เมียแลกระเบื้องเกลดเต่ากระเบื้องขอกระเบื้องลูกฟูกซาย ๑ บ้านศาลาปูนตั้งเตาทำปูนแดงขาย ๑ บ้านเขาหลวงพวกจีนตั้งโรงต้มสุราฃาย ๑ บ้านห้าตำบลนี้อยู่ในแขวงเกาะทุ่งขวัญ บ้านเกาะขาดหล่อผอบยาเต้าปูนทองเหลือง แลเท้าพานไม้ควักปูนลนหงษฃาย ๑ บ้านวัดครุธปั้นนางเลิ้งสำหรับใส่น้ำฃาย ๑ บ้านริมวัดธรณีเลื่อยกระดานไม้งิ้วไม้อุโลกฃาย ๑ บ้านริมวัดพร้าวพวกพราหมณ์แลไทย ทำแป้งหอมน้ำมันหอม กระแจะ น้ำอบ ธูปกระแจะ ธูปกระดาษแลเครื่องหอมทาฃาย ๑ บ้านท่าโขลงตั้งเตาตีเหลกตะปูตะปลิงใหญ่น้อยฃาย ๑ บ้านคนทีปั้นกระโถนดินกระถางดินปลูกต้นไม้ แลตะคันเชิงไฟเตาไฟ และปั้นรูปช้างรูปม้าตุกตาต่างๆ ซาย ๑ บ้านริมวัดโรงฆ้องแถวถนนน่าบ้านเจ้าพระยาจักรีนั้น พวกหมู่นั้นเปนแม่ค้าซื้อกล้วยดิบมาบ่มแลต้มขาย ๑ บ้านเจดตำบลนี้อยู่ในเกาะทุ่งแก้ว บ้านนางเลิ้ง บ้านหอแปลพระราชสาสนนั้น ทำกระดาษข่อยแลสมุดดำฃาวขาย ๑ บ้านคลองธนูเอกพะเนียดชาวบ้านนั้น ตั้งโรงร้านเรือนแพฃายไม้ไผ่ป่าไม่ผ่สีสุก ไม้รวกฃายเสาใหญ่น้อยเป็นไม้แก่น แลไม้พรึงรอด ๑ บ้านรามเฃาระบุบาตรเหลกน้อยใหญ่ฃาย ๑ บ้านริมวัดพิไชยต่อหุ่นตลุ่มพานแว่นฟ้าสองชั้นขาย ๑ บ้านนางเอียนฝั่งกำแพงกรุงเลื่อยไม้สักทำฝาเรือนปรุงเรือน ฝากระดานแลเครื่องสับฝาสำรวดฃาย ๑ บ้านวัดน้ำวนพวกจีนตั้งโรงตีเหลก ทำขวานหัวเหลกป้านแลขวานมะลูซาย ๑

อนึ่ง เรือใหญ่ท้ายแกว่งชาวเมืองพระพิศณุโลกยฝ่ายเหนือ บันทุกน้ำอ้อยยาสูบขี่ผึ้งน้ำผึ้งสินค้าต่างๆ ฝ่ายเหนือล่องเรือลงมาจอดขาย ตั้งแต่น่าวัดกล้วยลงมาจนปากคลองเกาะแก้ว ที่ใต้ปากคลองเกาะแก้วลงมาหน่อยหนึ่งนั้น เรือมอญใหญ่ปากกกว้าง ๖- ๗ ศอกพวกมอญบันทุกมะพร้าวห้าว แลไม้แสมทเลแลเกลือฃาวมาจอดซาย ๑

อนึ่งที่บ้านศาลาเกวียนนั้นมีศาลาใหญ่ห้าห้องสองหลังสำหรับเกวียนเมืองนครราชสีหมาแลเมืองพระตะบองมาจอดที่ศาลานั้นในระดูเดือนสามเดือนสี่ ต่างแลเกวียนเมืองนครราชสีหมาบันทุกสินค้าต่างๆ คือน้ำรัก ขี้ผึ้งปีกนก ผ้าตรางผ้าสายบัวสี่คืบน่าเกบทอง แลผ้าตาบัวปอกตาเลดงา แลหนังเนื้อ เอนเนื้อ เนื้อแผ่น ครั่ง ไหม กำยาน ดีบุก หน่องาของป่าต่างๆ เกวียนเมืองพระตะบองพวกเขมรบันทุกลูกเร่วกระวานไหมกำยาน ครั่งดิบุก หน่องาแลผ้าปูมแพรญวนทองพรายพลอยแดงแลสินค้าต่าง ๆ ตามอย่างเมืองเขมร พวกโคราชแลพวกเขมรเอาสินค้ามาขายที่ศาลาเกวียน ถ้ามามากศาลาไม่พออยู่ต้องปลูกกระท่อมอยู่ตามแถบนั้น ศาลานั้นเปนของเรี่ยไร พวกลูกค้าเกวียนแลลูกค้ารับรวมกันทำขึ้นแลซร้อมแซรมต่อๆ มา ในระดูลูกค้าต่างแลเกวียนมานั้น ชาวบ้านนั้นทำของกินต่างๆ ออกนั่งร้านขายเปนตลาดคราวหนึ่ง

แถวน่าวัดสมอวัดขนุนวัดขนานสามวัดนั้น ชาวเมืองอ่างทองแลเมืองลพบุรี เมืองอินทร์ เมืองพรหม เมืองสิงห เมืองสรรค เมืองสุพรรณ เอาข้าวเปลือกบันทุกเรือใหญ่น้อยมาจอดซายที่นั้น ๑ แลชาวบ้านแถวน่าวัดทั้งสามนั้นตั้งโรงสีโรงกระเดื่องสีเข้าซ้อมเข้าฃายชาวพระนคร แลขายพวกโรงต้มสุรา ถึงระดูสำเภาเข้าทำเข้าสารฃายจีนในสำเภาเป็นเสบียง ๑ บ้านปากเข้าสารพวกจีนตั้งโรงต้มสุรา แลเลี้ยงสุกรฃาย ๑

อนึ่ง เรือระแหงแขวงเมืองตาก แลเรือหางเหยี่ยวเมืองเพชรบูรณ์นายมบันทุกครั่งกำยาน เหลกหางกุ้ง เหลกล่มเลยเหลกน้ำภี้ใต้หวายชันน้ำมัน ยางยาสูบ เขาหนัง หน่องาสรรพสินค้าตามเพศบ้านเพศเมือง มาจอดเรือขายตามแถวปากคลองสวนพลู ตลอดมาจนน่าวัดเจ้าพระนางเชิง ๑ บ้านในคลองสวนพลู พวกจีนตั้งเตาต้มสุราเลี้ยงสุกรฃาย แลทำเส้นหมี่แห้งฃาย ๑ บ้านขนมตาล ชาวบ้านนั้นรับเรือเถาเรือพ่วงไว้ฃาย ๑ บ้านสกัดน้ำมันหุงขี้ผึ้งแดงแลขี้ผึ้งขาว เชยน้ำมันงาฃาย ๑ บ้านคลองเกลือ ชาวบ้านนั้นตั้งโรงสีเข้า ซ้อมเข้าฃายพวกโรงสุราแลสำเภาจีน ๑ บ้านยี่ปุ่น ชาวบ้านนั้นเปนชาวไทย ตั้งบ้านเรือนอยู่หลังบ้านตึกยี่ปุ่น ชาวบ้านนั้นรับกงเรือน้อยใหญ่แลกงสำเภาไว้ขายแลรับไม้กงกางไว้ขายพวกทำฟันสีเข้า ๑ บ้านข้างกำแพงนอกกรุงตรงหัวเลี้ยวตำบลสารพานั้น จีนตั้งโรงย้อมครามผ้าแลด้ายแลผ้าฃาย ๑ บ้านน้ำวนบางกะจะมีเรือปากใต้ปากกว้างสามวาสิบศอก พวกลูกค้าจีนแลแขกจามทอดสมอขายน้ำตาลซายน้ำตาลกรวด สาคูเมดใหญ่เลก กำมถัน จันทน์แดง หวายตะค้ากระแชงเตยแลสินค้าต่างๆ ข้างปากใต้ ๑ แลแถวนั้น มีแพลอยพวกลูกค้าไทยจีนแขกเทศแขกจาม นั่งร้านแพขายสรรพสิ่งของต่างๆ กันทั้งสองฟากฝั่งแม่น้ำ ตั้งแต่ท้ายปากคลองวัดสุวรรณดาราราม ตลอดลงมาจนน่าพระราชวังหลัง แถวนี้เปนฝั่งพระนคร แต่ฝั่งตรงพระนครนั้นแพจอดตั้งแต่ท้ายวัดเจ้าพระนางเชิง ตลอดมาจนท้ายวัดพุทไธยสวรรค์ แลเลยไปจอดเปนระยะจนน่าวัดไชยวัฒนารามแลแม่น้ำตรงตลอดมีแพลูกค้าพานิชจอดฝั่งตระวันตก ตั้งแต่ปากคลองตะเคียนเรี่ยรายขี้นมาถึงน่าวัดแขกตะเกียมีชุกชุมมากขึ้นมาจนถึงท้ายวัดกุฎบางกะจะ ตรงวัดเจ้าพระนางเชิงฝั่งตะวันออกตั้งแต่ท้ายเกาะเรียนมีแพจอด เรี่ยรายขึ้นมาจนถึงท่าเสือข้าม มีแพชุกชุมมากขึ้นมาจนถึงท้ายวัดเจ้าพระนางเชิง ประมาณแพแต่บริเวณกรุงศรีอยุทธยารอบพระนครนั้น ราวสักสองหมื่นเสศพันปลายเปนแน่ ทั้งแพอยู่แลแพค้าขายในแขวงจังหวัดรอบกรุง ไม่น้อยต่ำลงมาจากสองหมื่นเสศพันเลยเป็นแน่

ครั้นถึงระดูลมสำเภาพัดเข้ามาในกรุง เปนมรสุมเทศกาลพวกลูกค้าพานิชสำเภาจีนแลลูกค้าแขกสลุป ลูกค้าฝรั่งกำปั่น ลูกค้าแขกกุศราช และพวกลูกค้าแขกสุรัดแขกชวามาลายูแขกเทศฝรั่งเศส ฝรั่งโลสงโปรตุเกศวิลันดาอิศปันยอนอังกฤษ แลฝรั่งดำฝรั่งเมืองลังกุนีแขกเกาะ เปนพ่อค้าพานิช คุมสำเภาสลุปกำปั้นแล่นเข้ามาทอดสมออยู่ท้ายคู ขนสินค้าขึ้นมาไว้บนตึกห้างในกำแพงพระนครกรุงศรีอยุทธยา ตามที่ของตนซื้อแลเช่าต่างๆ กัน เปิดร้านห้างตึกขายของตามเพศตามภาษา ๑

อนึ่ง ที่น่าท่าประตูท่าหอยนั้นมีเรือลูกค้าชาวทเล มาจอดขายหอยแมงพู่หอยตะพงปูทเลแมงดาปลาทเลย่างแลสดบ้าง ๑ ย่านป่าจากฃายเชือกกระแซงหวายใต้ชันน้ำมันยางหมันเรือตามร้านเรือนแพแลมีเรือปากกว้างแปดศอกสิบศอกบันทุกจากมาจอดฃาย ๑ ย่านบ้านริมวัดขุนพรม ชาวบ้านย่านนั้นเอาผ้าฃาวเทศมาเขียนพิมพ์ตีพิมพ์เปนดอกผ้าลายน้ำจืดฃาย บ้างต่อโลงไม้อุโลกสำหรับใส่สพไว้ฃายก็หลายบ้าน ๑ ย่านบ้านท่ากายีนอกกำแพงกรุง เปนบ้านแขกเก่าพวกแขกนั้นฟั่นเชือกเปลือกมะพร้าวตีเปนสายสมอ ยาวเส้นหนึ่งบ้างยาวสามสิบวาบ้าง ลางทีทำยาวถึงห้าสิบวา ฃายแก่นายกำหั้นสลุปสำเภา แลฟั่นชุดจุดบุหรี่ด้วยเปลือกมะพร้าวฃายขุนนางแลราษฎร ที่ต้องการใช้แลทำบุญ ๑ ย่านบ้านท้ายคูพวกแขกจามสานเสื่อลันไตผืนใหญ่น้อยฃายแลสมุกฃาย ๑

อนึ่ง ลูกแขกชวามาลายูบันทุกหมากเกาะแลหวายตะค้ากระแชงเตย สรรพเครื่องสินค้าปากใต้บันทุกเรือปากกว้างสิบศอกสามวา มาทอดสมอฃายอยู่ที่ตรงปากคลองคูจาม ๑ บ้านท่าราบรับพเนียงหูไว้ฃาย แลพวกลูกค้าจีนแขกฝรั่งเสศอังกฤษวิลันดาโปรตุเกศ พวกนี้รับซื้อไว้ใส่ครามใส่ปูน ๑ บ้านสกัดน้ำมันหลังวัดพุทไธยสวรรค์ พวกนั้นตีสกัดน้ำมันงาแลน้ำมันลูกไม้ฃาย ๑ บ้านเชิงฉะไกรนอกกำแพงพระนคร ชาวบ้านนั้นตั้งโรงร้านขายเสาไม้เต็งรัง แลไม้รอดพรึงไม้ไผ่ป่าแลไม้รวกไม้ลายมาแต่บ้านอำพวา ๑

อนึ่ง เรือปากใต้ปากกว้าง ๖ ศอก ๗ ศอก ชาวบ้านยี่สารบ้านแหลมเมืองเพชรบุรี แลบ้านบางตะบูนแลบ้านบางทะลุบันทุกกะปิน้ำปลาปูเคมปลากุเราปลากะพงปลาหูปลากะเบนย่างมาจอดเรือฃายแถววัดเจ้าพระนางเชิง ๑ บ้านปูนริมวัดเขียนท่าปูนแดงฃาย ๑ บ้านพระกราน ชาวบ้านนั้นจับปลาหมอเกราะหามมาเร่ขายบ้างใส่เรือมาเร่ฃายบ้าง ในระดูกรุษน์สงกรานต์ ชาวกรุงซื้อปล่อยทำบุญ ๑ บ้านริมวัดลอดช่อง พวกแขกตานีทอผ้าไหมผ้าด้ายเป็นผ้าพื้นผ้าม่วงเกลี้ยงม่วงดอกฃาย ๑ บ้านน่าวัดราชพรีวัดธรมานอกนั้น ทำโลงไม้ศักไม้อุโลกแลเครื่องศพสำหรับศพต่างๆ ไว้ฃาย ๑ บ้านป้อมหัวแหลมพวกแขกเก่าแลลาวเก่าจับนกอันชังแลนกกระจายฆ่าตายเที่ยวเร่ฃาย ๑ แลจับนกสีชมภูนกปากตะกั่ว นกแดงอิฐ นกกระทินกระจาบเปนใส่กรงขังไปเที่ยวเร่ขาย ให้ชาวพระนครซื้อปล่อย เมื่อรดูเทศกาลกรุศนสงกรานตที่แม่น้ำหัวแหลมน่าวัดภูเขาทอง ใต้ศาลเจ้านางหินลอยนั้น พวกจีนตั้งโรงต้มสุราแลเลี้ยงสุกรฃาย ๑

อนึ่ง เรือใหญ่ท้ายแกว่งชาวเมืองสวรรคโลกย์ แลหัวเมืองฝ่ายเหนือบันทุกสินค้าต่าง ๆ ฝ่ายเหนือมาจอดเรือฃายริมแม่น้ำแลในคลองใหญ่วัดมหาธาตุในเทศกาลน่าน้ำ ๑ รวมที่ค้าขายนอกกำแพงกรุง ๕๒ ตำบล


โปรดติดตามตอนต่อไป

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10 มิถุนายน 2562 18:12:19 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 05 มิถุนายน 2562 16:06:14 »

.



คำให้การขุนหลวงประดู่ทรงธรรม
เอกสารจากหอหลวง
(อักขรวิธีใช้ตามต้นฉบับ)

ว่าด้วยเรือต่างๆ ในโรง    
อนึ่ง กรุงศรีอยุทธยานั้นมีโรงเรือต่างๆ อยู่นอกกำแพงพระนครเป็นอันมาก อนึ่ง ที่ย่านบ้านวัดท่าการ้องนั้น ตั้งโรงเรือรบน้ำจืดแถวหนึ่งสามสิบหลัง เสาไม้มะค่าหลังคามุงกระเบื้องลูกฟูกหลังหนึ่งไว้เรือรบได้ ๑๐ ลำบ้าง ๖ ลำบ้าง ตามเรือใหญ่เรือเล็กมีขุนหมื่นแลไพร่หลวงรักษาทุกเดือน ถ้ามีราชการสงครามก็ยาแลเขนออกจากอู่ในโรง ไปใช้ราชการได้พร้อมเพรียง ๒๐๐ ลำ อนึ่งใต้ปากคลองตะเคียนนั้นมีโรงเรือรบทเลใหญ่น้อยต่างๆ ไว้ในโรงในอู่โรงเรียงกันตามแม่น้ำใหญ่ ท้ายเรืออยู่ปากอู่ลำเรือขวางแม่น้ำทุกลำใส่โรงละลำบ้าง โรงละสองบ้างมีเรือใหญ่ท้ายสำเภา เปนเรือรบทะเลสามสิบลำ เรือเล็กท้ายปลา เรือรบทะเลร้อยลำทำด้วยไม้ตะเคียนทั้งสิ้น โรงนั้นปักเสาไม้มะค่าหลังมุงกระเบื้องลูกฟูก มีฝาแลประตูมีผู้รักษาทั้งนายแลไพร่ พระยาราชวังสันได้ว่ากล่าวดูแลเปนแม่กอง แต่เรือรบน้ำจืดนั้นพระยามหาอำมาตย์ได้ว่ากล่าวดูแลรักษา ที่ท้ายบ้านท่าเสือข้ามนั้น มีอู่สำหรับต่อกำปั้นแลสำเภาหลวง เรียงกันสิบแปดอู่แลอู่กำปั่นแลสำเภาที่อยู่ริมกำแพงพระนครมีอยู่ ๔ อู่ที่ใต้ประตไชยสองอู่ ที่ป่าตองสองอู่เปนอู่หลวงเก่ามาแต่เดิม

อนึ่งโรงเรือนพระที่นั่งซ้ายโรง ๑ ขวาโรง ๑ แต่ละโรงนั้นยาวเส้นหนึ่งก็มี ยาวเส้นห้าวาก็มี ยาวเส้น ๑๐ วาก็มี โรงนั้นเสาไม้มะค่าแปดเหลี่ยม หลังคามีพไลสองข้างซ้ายขวา มีช่อฟ้าหางหงษทุกโรง ฝาก่อเปนผนังอิฐโบกปูนมีช่องลม โรงเรือขวาเรียงมาตามน้ำถึงน่าวัดตินท่า ไว้เรือรูปสัตว แลเรือต้นเรือไชยทั้งสิ้นถึงยี่สิบโรงๆ ละห้าลำบ้างสิบลำบ้าง แต่โรงเรือที่อยู่บนบกริมศาลากระเวนนั้น เสาก่ออิฐฝาอิฐหลังคามุงกระเบื้องมีฉ้อฟ้าโรง ๑ ใส่เรือศีศะพระครุธพาหนะพระที่นั่งกำปาง ๑ ใส่เรือศีศะรูปยักษ์มีปีกเรียกว่าพระที่นั่งอสุราวายุภักษลำ ๑ โรงเรือซ้ายอยู่บนบกที่คูไม้ร้องเรียงกันมาจนถึงวัดตินท่า ใส่เรือพระที่นั่งศีศะหงษพาหนะ พระที่นั่งกำปางลำ ๑ เรือพระครุธพาหนะสองลำ ๑ สำหรับทรงเสด็จไปประพาษทรงเบดปลาฉนากฉลามตามชายทะเล

อนึ่งเรือพระที่นั่งกิ่งใหญ่ชื่อแก้วจักรมณีขวาลำ ๑ ชื่อสุวรรณจักรรัตนซ้ายลำ ๑ เรือพระที่นั่งกิ่งรองทรงชื่อสุวรรณพิมานไชยขวาลำ ๑ ชื่อสุมมุติพิมานไชยซ้ายลำ ๑ เรือแก้วตอกรองขวาลำหนึ่ง ๑ เรือสาลิกาล่องลมซ้ายลำ ๑ เรือทองแผ่นฟ้าซ้ายลำ ๑ เรือทองแผ่นฟ้าขวาลำ ๑ เรือเอกไชยซ้าย ๔ ลำ ชื่อสีเทพพายกรลำ ๑ ชื่ออำมรรัตนาศนลำ ๑ ชื่อปราสาทอำมรินทรลำ ๑ ชื่อสินธุประเวศลำ ๑ เรือเอกไชยขวา ๔ ลำ ชื่อรัตนพิมานอำมเรศลำ ๑ ชื่อพิเศศบันลังก์ลำ ๑ ชื่ออาศนภุชฌงลำ ๑ บันยงนาเวศลำ ๑ แลเรือพระที่นั่งศีศะนาคราชเจดเศียร ๒ ลำ ชื่อพิมานวาสุกรีลำ ๑ อีกลำ ๑ ชื่อศรีมงคลนาคินทรลำ ๑ มีบุษบกอยู่กลางลำทุกลำเปนพระแท่นบันลังก์พระที่นั่งทรง ลางลำก็มีจตุรมุขแลยอดมณฑป ลางลำก็มีแต่มณฑปบุษบกเปล่าไม่มีมุข แลเรือเหราลอยล่องสมุทลำ ๑ มีหลังคาบัญลังก์สีมุขฉ้อฟ้าแลเรือรูปสัตวต่างๆ มากมายเหลือที่จะพรรณา เรือเหล่านี้อยู่ในโรงฉ้อฟ้าทั้งสิ้น ในโรงเรือนั้นขุดอู่ทุกโรงมีทำนบน่าโรงสำหรับปิดน้ำในโรงนั้น มีเสาเตาม่อทุกโรง ถ้าจะเอาเรือขึ้นคานก็เปิดทำนบน่าโรงเสีย ให้น้ำไหลเข้าไปในอู่เตมแล้ว เอาคานพาดเสาเตาม่อไว้ ครั้นน้ำลงแห้งท้องเรือก็ตั้งอยู่บนคานแล้วปิดทำนบไว้ไขน้ำออกให้หมดในอู่ แต่เรือพระที่นั่งศรีสักลาด แลเรือพระที่นั่งกราบซ้ายขวาทั้งปวงนั้นอยู่ตามโรงแถววัดตินท่าเรียงต่อมา แลเรือดั้งเรือกัน เรือกระบวนต่างๆ ก็อยู่ในโรงแถวขวาแลซ้ายเปนอันมาก ฝีพายเรือพระที่นั่งนั้น คือพวกบ้านโพเรียงบ้านพุทเลาเปนพนักงานพายมีเจ้ากรม ปลัดกรมนายกอง ปลัดกองนายหมู่นายหมวด แต่พระอินทรเทพได้ว่าพวกฝีพายซ้าย พระพิเรนทรเทพได้ว่าพวกฝีพายขวาตามตำราในโบราณราชประเพณีสืบมา พวกฝีพายนั้นได้พระราชทานตราภูมคุ้มห้าม ด่านขนอนอากรตลอดไม่ต้องเสีย โปรดพระราชทานให้เปนกำลังแก่ราชการ ปีหนึ่งใช้ราชการสามเดือน แต่ฝีพายลำทรงทุกหมู่
 


ว่าด้วยในพระนครกรุงศรีอยุธยา    
จะกล่าวถึงภูมลำเนาพระนคร ตั้งอยู่บนเกาะหนองโสนในประเทศสยามมีแม่น้ำล้อมรอบเกาะ เกาะนั้นมีสันถานคล้ายรูปสำเภานาวา ด้านยาวอยู่ทิศเหนือและทิศใต้ ด้านกว้างข้างรูปศีศะสำเภานั้นอยู่ทิศตะวันออก ด้านกว้างช้างท้ายสำเภาอยู่ทิศตะวันตก มีกำแพงก่อด้วยอิฐบ้างศิลาแลงบ้างก่อด้วยศิลาแดงบ้างล้อมรอบเปนพระนคร พระนามกรปรากฏว่า กรุงเทพมหานครบวรทวาราวดีศรีอยุทธยา กำแพงตั้งแต่พื้นดินสูงสุด ใบสีมาสามวามีชานเชิงเทินช่องเนินบันพทโดยสูง ๘ ศอก มีป้อมค่ายคูประตูใหญ่น้อยเรียงรายล้อมรอบพระนครๆ ด้านยาวร้อยเส้นเสศ ด้านกว้างห้าสิบเส้นเสศ พรรณาตามมีในฉบับพระตำหรับหอหลวงท่านกล่าวไว้ว่ากรุงศรีอยุทธยานั้นตั้งต้นทิศตะวันออกเวียนขวาตั้งแต่ป้อมมหาไชยท้ายทำนบรอมาถึงประตูใหญ่ ชื่อประตูท่าช้างวังจันทนบวร คือท่าช้างวังน่า ๑ แลจึ่งมาถึงประตูใหญ่ชื่อประตูฉนวนน้ำ ประจำท่าพระราชวังจันทนบวร คือประตูฉนวนวังน่า ๑ จึ่งมาถึงประตูช่องกุฎสามช่องแล้วจึงมาถึงป้อมวัดฝาง ๑ แล้วจึงมาถึงประตูช่องกุฎ ๑ จึ่งมาถึงประตูใหญ่คลองน้ำชื่อประตูหอรัตนไชย ๑ แล้วจึ่งมาถึงประตูช่องกุฎสามช่อง จึ่งมาถึงประตูใหญ่ ห้ามไม่ให้เอาศพออกชื่อประตูเจ้าจันทน ๑ แล้วมีประตูช่องกุฎสองช่อง จึ่งมาถึงป้อมปืนตรงเกาะแก้ว ๑ แล้วมีประตูช่องกุฎ ๑ จึ่งมาถึงมุมกรุงศรีอยุทธยาด้านตะวันออกเฉียงใต้นั้น โลกยสมมุติเรียกว่าหัวสาระภา ที่ตำบลตรงนั้นคล้ายกับที่ถอนสมอสำเภา สุดท้ายด้านตระวันออกเพียงนี้

กรุงศรีอยุทธยาด้านยาวทิศใต้ ตั้งแต่มุมกรุงที่ตำบลหัวสาระภามานั้น มีประตูช่องกุฎหนึ่งจึ่งมาถึงป้อมปืนใหญ่ ๑ แล้วมามีประตูช่องกุฎ ๑ จึ่งมาถึงประตูป้อมปืนใหญ่ก่อด้วยศิลาแลงมั่นคงแข็งแรงสูง ๓ วา สองศอก ป้อมนี้สูงกว่ากำแพงกรุง ๒ ศอก มีชานชาลารอบป้อมกว้างสามวา มีกำแพงแก้วล้อมรอบชานป้อม มีประตูช่องกุฎข้างซ้ายป้อมประตู ๑ ข้างขวาป้อมประตู ๑ ประตูทั้งสองนั้นเดินออกตามชานป้อมใหญ่ได้รอบป้อม มีปืนแซกตามช่องแปดกระบอก ชั้นล่างปืนใหญ่รางเกวียนบันจุทุกช่อง ๑๖ กระบอก ป้อมใหญ่นี้มีชื่อป้อมเพชร ตั้งอยู่ตรงแม่น้ำตะลาดบางกระจะป้อม ๑ แล้วจึ่งมาถึงประตูคลองน้ำชื่อในไก่ ๑ แล้วมีประตูช่องกุฎ ๕ ช่อง จึ่งมาถึงป้อมอกไก่หนึ่ง แล้วมาถึงประตูช่องกุฎ ๒ ช่อง จึ่งมาถึงประตูใหญ่คลองน้ำชื่อประตูจีน ๑ แล้วมีประตูช่องกุฎ ๒ ช่อง จึ่งมาถึงประตูใหญ่คลองน้ำชื่อปะตุเทสมี ๑ จึ่งมาถึงท่าด่านชีมีประตูช่องกุฎสองช่อง จึ่งมาถึงป้อมปืนตรงปากคลองคูจามแล้วมีประตูช่องกุฎ ๑ อยู่ในด่านท่าชี แล้วถึงประตูใหญ่คลองน้ำชื่อประตูไชย ๑ แล้วมาถึงประตูช่องกุฎ ๒ ช่อง จึ่งมาถึงประตูใหญ่ชื่อประตูชะไกรน้อย ๑ แล้วมามีประตูช่องกุฎ ๓ ช่อง จึ่งมาถึงประตูใหญ่คลองน้ำชื่อประตูชะไกรใหญ่ ๑ แล้วมาถึงประตูช่องกุฎ ๒ ช่อง จึ่งมาถึงป้อมปืนตรงปากคลองลครไชย ๑ แล้วมีประตูช่องกุฎช่อง ๑ สุดด้านยาวทิศใต้เพียงนี้

กรุงศรีอยุทธยา ด้านกว้างทิศตะวันตกตั้งแต่หัวเลี้ยววังไชยมาบ้านชี มีประตูช่องกุฎ ๓ ช่อง จึ่งมาถึงประตูใหญ่ชื่อประตูคลองน้ำแกลบ ๑ แล้วมีประตูช่องกุฎ ๒ ช่อง จึ่งมาถึงประตูใหญ่ชื่อประตูท่า พระราชวังหลัง ๑ แล้วมีประตูช่องกุฎสองช่อง จึ่งมาถึงประตูใหญ่ชื่อประตูคลองฉางมหาไชย ๑ แล้วมีประตูช่องกุฎ ๓ ช่อง จึงมาถึงประตูใหญ่ชื่อประตูคลองฝาง ๑ แล้วมาถึงป้อมปืนตรงแม่น้ำหัวแหลมชื่อป้อมสัดกบ ๑ สุดด้านกว้างตะวันตก

กรุงศรีอยุทธยาด้านยาวฝ่ายทิศเหนือนั้น ตั้งแต่ป้อมสัดกบนั้นมาตามด้านเหนือมีประตูช่องกุฎ ๑ จึ่งมาถึงประตูใหญ่ออกไปตลาดขายปลาสดชื่อประตูสัดกบ ๑ แล้วมามีประตูช่องกุฎ ๑ จึงมาถึงป้อมปืนใหญ่ ก่อใหม่ชื่อป้อมสุพรัตน ๑ แล้วมีประตูช่องกุฎ ๑ จึ่งมาถึงประตูใหญ่ชื่อประตูห่าน ๑ แล้วมาถึงประตูช่องกุฎ ๑ จึงมาถึงประตูใหญ่ชื่อหมูทะลวง ๑ ประตูนี้สำหรับเชิญพระศพพระเจ้าลูกเธอ แลพระเจ้าหลานเธอลงเรือขบวนแหไปถวายพระเพลิงที่ในพระเมรุวัดไชยวัฒนารามแล้วมีประตูช่องกุฎ ๑ แล้วจึ่งมาถึงประตูใหญ่คลองน้ำอยู่ตรงมุมกำแพงพระราชวังหลวงนั้นชื่อประตูปากท่อแต่มุมกำแพงพระราชฐานด้านตะวันตกไปจนมุมกำแพง พระราชสฐานด้านตวันออกนั้น มีประตูใหญ่ชื่อประตูท่าขันธ ๑ แล้วมามีประตูช่องกุฎ ๑ จึ่งมาถึงประตูใหญ่ชื่อประตูท่าชัก ๑ แล้วมีประตูช่องกุฎสามช่องจึงมาถึงประตูใหญ่ ช้างลงอาบน้ำ ชื่อประตูท่าสิบเบี้ย ๑ ที่ริมท่าสิบเบี้ยนั้น มีโรงช้างระหว่างค่ายนอกกำแพงกรุง ริมน้ำโรงสี่ห้องใส่ช้างพลายห้องละช้างสี่ช้าง แล้วถัดมามีประตูช่องกุฎ ๑ ริมกำแพงออกไปทุ่ง จึ่งมาถึงประตูช่องกุฎมหาเถรไม้แซ ๑ ที่ตรงนั้นเขาคิดอ่านแบ่งน้ำให้ไหลเข้ามาใต้ถนนหลวง น้ำนั้นไหลทลุเลยมาตามลำคูปากสระ คิดฝังท่อดินเผามุดมาใต้ถนน ตะพานนาด กระแสน้ำไหลเข้าในท่อที่ฝังนั้นโดยแรง น้ำในท่อไหลออกมาบันจบคลองประตูเขาสมี ถัดนั้นมามีประตูช่องกุฎสองช่อง จึ่งมาถึงประตูใหญ่ชื่อประตูท่ากระลาโหม แล้วมีประตูช่องกุฎอีกสองช่อง จึ่งมาถึงประตูใหญ่คลองน้ำชื่อประตูเข้าเปลือก ๑ แล้วมีประตูช่องกุฎ ๑ จึ่งมาถึงป้อมปืนชื่อป้อมจำปาพล ๑ แล้วมีประตูช่องกุฎ ๒ ช่อง จึงมาถึงป้อมปืนใหญ่ชื่อป้อมมหาไชย ๑ อยู่ตรงมุมกำแพงพระนครด้านเหนือ สุดด้านยาวทิศเหนือเท่านี้

ตามกำแพงรอบกรุงศรีอยุทธยานั้น มีป้อมปืนใหญ่ น้อยยี่สิบสองป้อม มีประตูใหญ่มียอดทาแดงยี่สิบสามประตู มีประตูช่องกุฎหกสิบเอดประตู
 


ว่าด้วยในกำแพงพระนครตั้งค่ายผนบบ้านหล่อรักษาพระนคร  
ภายในกำแพงพระนครศรีอยุธยา มีถนนหลวงชื่อ มหารัฐยาอยู่กลางพระนครกว้างหกวาปูศิลาแลงเรียบร้อยสำหรับมีการใหญ่ ได้ตั้งกระบวนแห่พยุหยาตรา แลสะฃนานช้างม้าพระที่นั่งต่างๆ แลแห่กระบวนกฐินบกเปนการแห่ด้วยช้างบ้างแห่ด้วยยานคานหามบ้างเปนพระราชกฐินหลวงประจำปีแห่ผ้าไตรยแล้วเจดวันจึ่งได้เสด็จพระราชทานพระกฐิน ตามพระอารามหลวงทั้งทางบกทางเรือ ถนนหลวงนี้เป็นที่แห่นาคหลวง แลแห่พระบรมศพแลพระศพต่างๆ ตั้งต้นกระบวนแต่ประตูไชยทิศใต้พระนคร

อนึ่งค่ายผนบนั้นตั้งแต่ถนนน่าวังตรา ๑ มาปลายถนนวังตราตั้งค่ายผนบบ้านหล่อ ตรงประตูท่าสิบเบี้ย ๑ ค่ายผนบบ้านหล่อตั้งสุดหัวถนนป่าตะกั่ว ๑ ค่ายผนบบ้านหล่อตั้งที่หัวเลี้ยวถนนป่าโทน ๑ ค่ายผนบบ้านหล่อตั้งหัวถนนป่าเกรียบท่าพระประเทียบ ๑ ค่ายผนบบ้านหล่อตั้งท้ายถนนป่าเกรียบ ๑ ค่ายผนบบ้านหล่อตั้งหัวถนนบ้านขันเงิน ๑ ค่ายผนบบ้านหล่อตั้งท้ายถนนป่ายา ๑ ค่ายผนบบ้านหล่อตั้งหัวเลี้ยวถนนป่าชมภู ๑ ค่ายผนบบ้านหล่อตั้งหัวถนน ป่าไม้ป่าเหลกร่วมกัน ๑ ค่ายผนบบ้านหล่อตั้งหัวถนนป่าฟูก ๑ ค่ายผนบบ้านหล่อตั้งกลางถนนผ้าเขียว ๑ ค่ายผนบบ้านหล่อตั้งหัวถนนตะแลงแกง ๑ ท้ายถนนตะแลงแกง ๑ ค่ายผนบบ้านหล่อตั้งหัวถนนป่าตองตรงจวนเจ้าพระยาพระคลัง ๑ ตั้งท้ายถนนป่าตองตรงท่าฉางประตูไชย ๑ ค่ายผนบบ้านหล่อตั้งรอบพระราชวังหลวงนั้นคือ ค่ายผนบบ้านหล่อตั้งหัวถนนโรงม้าไชยกฤษ ตรงประตูจักรมหิมา ๑ ค่ายผนบบ้านหล่อตั้งมุมวัดธรรมิกราชตรงกำแพงคั่นทองสนามน่าจักรวัติ ๑ ค่ายผนบบ้านหล่อตั้งหัวถนนตลาดเจ้าพรม ๑ ค่ายผนบบ้านหล่อตั้งตรงศาลาสารบาญชีริมโรงสัก ๑ ค่ายผนบบ้านหล่อตั้งตรงป้อมกลางตรงวัดสีเชียง ๑ ค่ายผนบบ้านหล่อตั้งตรงมุมจะเลี้ยวมาน่าวัดระฆัง ๑ ค่ายผนบบ้านหล่อตั้งตรงมุมป้อมจะเข้ามาท้ายสระแก้วในพระราชสถาน ๑ ค่ายผนบบ้านหล่อตั้งมุมป้อมปากท่อจะเลี้ยวมาถนนประตูดินมาอยุดจนพระฉนวนน้ำประท่า ๑ ตั้งค่ายผนบบ้านหล่อล้อมพระราชวังหลวงแปดตำบลตามถนนหลวงในกำแพงพระนครสิบหกตำบล รวมทั้งสิ้นเป็นยี่สิบสี่ตำบล ค่ายผนบบ้านหล่อ
 


ว่าด้วยตะพานในพระนคร    
ภายในกำแพงพระนครกรุงศรีอยุธยา มีตะพานซ้ามคลองใหญ่ทำด้วยอิฐสิบห้าตำบล ทำด้วยไม้สิบห้าตำบล รวมด้วยกันเป็นสามสิบตำบล แต่ถนนหลวงนั้นตะพานไม้ซ้ามคลองหอรัตนไชย ๑ ตะพานอิฐข้ามคลองประตูในไก่ จะเลี้ยวมาหอรัตนไชย ๑ ตะพานไม้ชื่อตะพานสี่แสก ๑ แล้วมาถึงตะพานใหญ่ชื่อตะพานหัวจะกา ๑ มาถึงตะพานอิฐตรงประตูในไก่ชื่อตะพานในไก่ ๑ คลองประตูเข้าเปลือกตะลอดตรงประตูจีนมีตะพานซ้ามคลองนั้นก่อด้วยศิลาแลงชื่อตะพานช้าง ๑ จึ่งมาถึงตะพานอิฐชื่อตะพานถนนป่าภาน ๑ จึ่งมาถึงตะพานไม้ชื่อตะพานวัดลาด ๑ จึ่งมาถึงตะพานอิฐชื่อตะพานชีกุน ๑ จึ่งมาถึงตะพานไม้ชื่อตะพานวัดขุนเมืองใจ ๑ จึ่งมาถึงตะพานอิฐชื่อตะพานตลาดจีน ๑ มีคลองน้อยลัดมาแต่คลองในไก่มาออกคลองประตูจีน มีตะพานอิฐข้ามคลองน้อยนั้น ชื่อตะพานบ้านดอกไม้เพลิง ๑ คลองประตูเทศสมีเข้ามาจนลำคูปากสมุท คิดแบ่งน้ำในคลองกลางพระนครให้ไหลออกทางคลองตะพานนาค บันจบกับคลองประตูเทศ มีตะพานอิฐตรงถนนบ้านแขกใหญ่ฃ้ามมาถนนบ้านแห ชื่อตะพานวานร ๑ มีคลองน้อยลัดมาจากคลองใหญ่ประตูจีนมาทลุออกคลองประตูเทศ มีตะพานอิฐเดินมาถนนบ้านแขกใหญ่ ฃ้ามมาศาลาอาไศรยที่ถนนป่าหญ้าชื่อตะพานป่าหญ้า ๑ แล้วมีตะพานอิฐเดินมาแต่น่าวัดอำแม่ท้ายบ้านแขกใหญ่เจ้าเซนตรงมา ออกถนนหลวงตรงน่าวัดฉัตรทันตชื่อตะพานวัดฉัตรทันต ๑ คลองประตูไชยตรงเข้ามาถนนตแลงแกงมุมวัดป่าใน มีตะพานไม้ฃ้ามคลองริมพระคลังสินค้าไกลป่าตอง แลเดินฃ้ามเข้าไปวัดบรมจักรวัติ ชื่อตะพานวัดจักรวัติ ๑ มีตะพานอิฐฃ้ามคลองน่าวัดบรมพุทธาราม ฃ้ามมาถนนป่าดินสอถนนวัดพระงาม ชื่อตะพานบ้านดินสอ ๑ มีตะพานไม้ฃ้ามคลองบ้านช่างเงินฃ้ามไปวัดป่าใน ชื่อตะพานบ้านช่างเงิน ๑ ลำคลองประตูไชยเลี้ยวไปทางตะวันออก มีตะพานไม้ฃ้ามคลองนั้นตรงถนนป่าผ้าเขียว ฃ้มไปบ้านพราหมณ์น่าวัดป่าในแลใกล้โบถพราหมณ์ ชื่อตะพานบ้านโบถพราหมณ์ ๑ มีตะพานไม้ตรงหัวถนนป่าฟูก ข้ามไปถนนน่าวัดสักชื่อตะพานนาค ๑ ลำคลองประตูไชยมีคลองน้อยเลี้ยวทางตะวันตก ไปออกคลองชะไกรใหญ่ มีตะพานไม้ฃ้ามเข้ามาถนนป่าตองชื่อตะพานงู ๑ มีตะพานไม้ตรงชะไกรน้อยข้ามมาถนนวัดทอง บ้านม่อชื่อตะพานบ้านม่อ ๑ คลองประตูปากท่อตรงออกประตูชะไกรใหญ่ มีตะพานไม้ชื่อตะพานขุนโลกย ๑ มีตะพานไม้ตรงถนนวัดขวิด ข้ามคลองไปวัดกุฎีสลักชื่อตะพานนางหงษ ๑ มีตะพานอิฐตรงถนนตะแลงแกง ฃ้ามคลองไปถนนลาวชื่อตะพานลำเหย ๑ มีตะพานอิฐตรงมหาโภคราชที่ขุนนางเข้าเฝ้ายังพระที่นั่งทรงปืนนั้น ตรงข้ามถนนน่าโรงไหม ชื่อตะพานสายโซ่ ๑ ลำคลองปากท่อมีคลองน้อย เลี้ยวเข้ามาท้องสระแก้วพระคลังใน มีตะพานไม้ตรงถนนน่าวัดระฆัง ข้ามคลองน้อยเข้ามาสวนอาหงุ่นในพระราชสถาน ชื่อตะพานไตรลาศ ๑ มีตะพานอิฐตรงถนนหลังวัดระฆัง ข้ามคลองน้อยแยกเข้ามาทางท้ายสระ ชื่อตะพานพระอุทยาน ลางทีเรียกว่าตะพานสวนอาหงุ่น ๑ ลำคลองปากท่อ มีคลองน้อยเลี้ยวไปตระวันตก ออกไปประตูใหญ่ฉางมหาไชย วัดสวนหลวงสบสวรรค์ มีตะพานอิฐเดินตามริมคลองหัวไผ่ชื่อตะพานแก้ว ๑ คลองท่อนั้นมีตะพานข้ามปากคลองเข้ามาในชานพระราชสถานตรงศาลาคู่ท้ายประตูคูหาช่องลม ข้ามไปถนนหลวงน่าศาลาฉ้อทานกลางย่านตะพานนี้ชื่อตะพานทอง ห้ามไม่ให้คนเดิน ต่อมีพระราชพิธีแห่จึ่งเดินได้ทางตะพานทองนั้น มีประตูหูช้างปิดต้นตะพานทั้งสองข้าง ๑ รวมเปนตะพานอิฐ ๑๕ ตำบล ตะพานไม้ ๑๕ ตำบล รวมตะพานข้ามคลองเปนถนนหลวงในพระนครทั้งอิฐทั้งไม้สามสิบตะพานมีชื่อทั้งสิ้น  


ว่าด้วยตลาดในพระนครศรีอยุธยา      
.....(ความขาดไป).....ชื่อตลาดผ้าเหลือง ๑ ถนนย่านป่าโทนมีร้านขายทับโทนเรไรปีแก้วจังหน่อง เพลี้ยขลุ่ยแลหีบไม้อุโลกไม้ตะแบกไม้ขนุนใส่ผ้า แลช้างม้ากระดาษอู่เปลศาลพระภูมจะเวจเขียน เทวรูปเสื่อลำแพนปลาตะเพียนใบลานจิงโจ้ ชื่อตลาดป่าโทน ๑ ถนนย่านป่าขนมชาวบ้านย่านนั้นทำขนมขาย แลนั่งร้านขายขนมชะมดกงเกวียนสามเกลอหินฝนทอง ขนมกรุบขนมพิมพ์ถั่วขนม สำปะนีแลขนมแห้งต่างๆ ชื่อตลาดป่าขนม ๑ ถนนย่านป่าเตรียบมีร้านฃายตะลุ่มมุก ตะลุ่มกระจก แลมุกแกมเบื้อตะลุมเขียนทองภานกำมะลอภานเลวภานหมาก ชื่อตลาดป่าเตรียบ ๑ ถนนย่านป่าถ่าน มีร้านตลาดของสรรพ ผลไม้ส้มกล้วยของสวนในแลสวนนอกต่างต่าง แลมีร้านขายของสดเช้าเยน ชื่อตลาดป่าถ่าน ๑ ตลาดน่าวัดพระมหาธาตุ มีร้านตลาดขายเสื่อตะนาวสีแลเสื่อแขก เครื่องอัฐมุรีขานเครื่องบวชนาค เครื่องทอดกระถิน คือฝาบาตร เชิงบาตร กราด ตาลิปัต ตะลุ่มโอ ชื่อตลาดบริขาน ๑ ถนนย่านป่าขันเงิน มีร้านฃายขันขายผอบตลับ ซองเครื่องเงินแลถมยาดำ กำไลมือแลท้าวปิ่นซ่นปิ่นเขม กระจับปิ้งพริกเทศขุนเพ็ด สายสอิ้งสังวาลทองคำขี้รักแลสายลวด ชื่อตลาดขันเงิน ๑ ถนนย่านป่าทองมีร้านขายทองคำเปลว คำเปลวเงินคำเปลวนาค มีของสดขายเช้าเยน ชื่อตลาดถนนตีทอง ๑ ถนนย่านป่าหญ้า มีร้านซายเครื่องเทศเครื่องไทยครบสรรพคุณยาทุกสิ่ง ชื่อตลาดป่ายา ๑ ที่เชิงตะภานชีกุนตระวันตกพวกแขกนั่งร้าน ฃายกำไลมือกำไลท้าวปิ่นปักผมแหวนหัวมะกล่ำ แหวนลูกแก้วลูกปัตเครื่องประดับประดาล้วนแต่เครื่องทองเหลืองตะกั่วทั้งสิ้น ชื่อตลาดชีกุน ๑ ถนนย่านป่าชมภูมีร้านฃายผ้าชุมภู คาตราตคตหนั่งไก่ย่นหนั่งไก่ไกเอ้งปักเถา ผ้าชุมภูเลวผ้าตีพิมพ์เลว ชื่อตลาดป่าชุมภู ๑ ถนนย่านป่าไหมกับย่านป่าเหล็กต่อกัน อยู่ข้างละฟากถนน ซีกหนึ่งมีร้านขายไหมครุยฟั่นไหมเบญจพรรณ ไหมลาว ไหมเขมร ไหมโคราช ฟากถนนซีกหนึ่งมีร้านขายมีดพร้า ขวานจอบเสียมพร้าโต้พร้าหวดศีศะตัดตะปูตะปลิงบิดหล่าสว่าน เครื่องเหล็กมีคมต่างๆ แล้วมีร้านขายของสดเช้าเย็น ชื่อตลาดแฝด อยู่ในย่านตะภานน่าดู ๑ ถนนย่านป่าฟูก มีร้านขายฟูกเบาะเมาะหมอน มุ้งผ้ามุ้งป่านผ้าตาโถงผ้าไส้ปลาไหมผ้าฃาววา ชื่อตลาดป่าฟูก ๑ ถนนย่านป่าผ้าเขียวหลังคุก มีร้านฃายเสื้อเขียวเสื้อขาว เสื้อแดงชมภูเสื้อยี่ปุ่นเสื้อจีบเอว เสื้อฉีกอกเสื้อสรวมศีศะ กังเกงสีต่างๆ ล่วมสักลาด ล่วมแพรล่วมผ้าลายใช้ในราชการใส่หมากกินแต่ผู้ชาย ถุงหมากสักลาดลายปักทองประดับกระจก ถุงหมากเลวด้วย มีถุงยาสูปปักทองประดับกระจก ถุงยาสูปเลวซองพลูศรีต่างๆ แล้วลูกค้าที่นั้น รับเอาผ้าแขกจามวัดแก้วฟ้า วัดลอดช่อง มาใส่ร้านวางขายในตลาด ชื่อตลาดถุงหมากก็เรียก ตลาดป่าผ้าเขียวก็เรียกเปนสองอย่าง เปนตลาด ๑

ถนนย่านตะแลงแกงมีร้านขายของสดเช้าเย็น ชื่อตลาดน่าคุก ๑ ถนนย่านน่าศาลพระกาฬมีร้านชำขายศีศะในโครงในที่ปั่นฝ้ายชื่อตลาดศาลพระกาฬ ๑ ถนนย่านบ้างช่างทำเงิน มีร้านชำขายหีบฝ้าย น้ำรักศิลาปากนกสำหรับตีเหล็กไฟ มีร้านฃายของสดเช้าเย็นน่าพระคลังสินค้า ชื่อตลาดข้างต้นหัวถนน น่าตลาดบ้านช่างเงิน ปลายตลาดชื่อว่าตลาดคลังสินค้า แต่ว่าเปนตลาดอันเดียวกัน ๑ ถนนย่านป่าดินสอริมวัดพระงาม มีร้านขายดินสอ ศิลาอ่อนแก่แลดินสอฃาวเหลื่องดินสอดำ ชื่อตลาดบ้านดินสอ ๑ ถนนย่านบ้านแหมีร้านขายแหแลเปลป่านเปลด้ายตะกอแลลวด มีตลาดซายของสดเช้าเยนอยู่ในบ้านแขกใหญ่ ใกล้วัดอำแมชื่อตลาดจีน ๑ ถนนย่านบ้านพราหมณ์น่าวัดช้าง มีตลาดต้นฃายกะบุงตะกร้ากะโล่ครุเชือกเสื่อลวดเครื่องสารครบ ชื่อตลาดบ้านพราหมณ์ ๑ ถนนย่านชีกุนมีร้านฃายดอกไม้เพลิงต่างต่าง ขายสุราเข้มสุรากะแช่ ที่ศาลาริมเสาชิงช้ามีร้านตลาดฃายของสดเช้าเยนเปนตลาดใหญ่ ชื่อตลาดเสาชิงช้าน่าโบดพราหมณ์เก่าตลาด ๑ ถนนย่านบ้านกระชีมีช่างธรรมพระพุทธรูปทองเงินนาค แลหล่อด้วยทองเหลื่องทองสำฤทธิ ชื่อตลาดทำพระ ๑ ถนนย่านขนมจีนมีร้านโรงจีน ทำขนมเปียขนมโก๋เครื่องจังอับขนมจีนแห้งขายเปนร้านชำชื่อตลาดตลาดขนมจีน ๑ ถนนย่านบ้านวัดน้อยประตูจีน ซายเครื่องทองเหลื่องเคลือบแลปรอด ชื่อตลาดประตูจีน ๑ ถนนย่านในไก่เชิงตะภานประตูจีนไปถึงเชิงตะภานประตูในไก่ เปนตลาดใหญ่ มีตึกกร้านร้านจีนตั้งตึกทั้งสองฟากถนนหลวงจีนไทยนั่งร้านฃายของสรรพสิ่งของ เครื่องสำเภาเครื่องทองเหลื่องทองขาว กระเบื้องถ้วยโถชามแพรสีต่างอย่างจีน แลไหมศรีต่างๆ เครื่องมือเหล็กแลสรรพเครื่องมาแต่เมืองจีนมีครบ มีของรัปทานเปนอาหารแลผลไม้มาแต่เมืองจีนวางรายในร้านฃายที่ท้องตลาด มีฃองสดขายเช้าเย็นสุกรเปดไก่ ปลาทเลแลปลาน้ำจืด ปูหอยต่างๆ หลายอย่างพันเปนตลาดใหญ่ยวดยิ่งในกรุง ชื่อตลาดใหญ่ท้ายพระนครอยู่ย่านในไก่ ๑

ถนนย่านสามม้าตั้งแต่เชิงตะภานในไก่กระวันออกไป จดถึงหัวมุมพระนครที่ชื่อตำบลหัวสาระภานั้น จีนตั้งโรงทำเครื่องจังอับแลขนมแห้งจีนต่างต่างหลายชนิดหลายอย่าง แลช่างจีนทำโต๊ะเตียงตู้เก้าอี้น้อยใหญ่ต่างต่างฃายต่อไป ช่างจีนทำถังไม้ใส่ปลอกไม้แลปลอกเหล็ก ถังใหญ่น้อยหลายชนิดฃายชาวพระนครรับซื้อไปใช้ต่างนางเลิ้ง แลทำสรรพเครื่องเหล็กต่างต่างฃาย แลรับจ้างตีเหล็กรูปพรรณ์ตามใจเชาเมืองมาจ้าง แลมีตลาดขายของสดเช้าเย็น ในท้ายตลาดตั้งแต่หัวโรงเหล็กต่อไป จนถึงประตูช่องกุตท่าเรือจ้างข้ามไปวัดเจ้าพระนางเชิง ชื่อตลาดน้อยอยู่ในย่านบ้านสามม้า ตลาดน้อยนี้ต่อเนื่องกับตลาดใหญ่ในย่านในไก่ เปนตลาดจีนชื่อตลาดน้อยหนึ่ง ถนนย่านป่าทุ่งวัดโควัดกระบือต่อกันแต่ก่อนโบราณมีพวกมอญแลพม่าแขก ฆ่าเปดไก่ฃายในตลาดนั้นชุกชุม ครั้นสมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า พระพุทธเจ้าอยู่หัวบรมโกษเสด็จเถลิงถวัลราชสมบัติ ปราบดาภิเศกเปนพระเจ้าแผ่นดินที่ ๓๒ ในกรุงเทพพระมหานครบวรทวาราวดีศรีอยุธยา ทรงพระมหากรุณา โปรดเกล้าฯ แก่สัตวโลกยที่ถึงที่ตายให้จำเปนดำรัสสั่งให้ตั้งกดพิกัด ห้ามปรามมิให้ฆ่าเปดไก่ฃายแก่ฝ่ายคนที่นับถือพุทธสาศนา แต่พวกมิจฉาทิฏฐิจะฆ่าก็ตามยะถากำมแห่งสัตว ตลาดนี้ชื่อตลาดวัดงัวควาย ๑ ถนนย่านประตูเจ้าจันทนมีตลาดฃายของสดเช้าเยนชื่อตลาดเจ้าจันทน ๑ ย่านหอรัตนไชยมีของสดขายเช้าเยนชื่อตลาดหอรัตนไชย ๑ ย่านโรงเกรียงท้ายหอรัตนไชย จีนทำโตะเตียงเก้าอี้ถักหวายขาย ชื่อตลาดย่านเตรียง ๑ ย่านถนนวัดฝางใกล้พระราชวังจันทนบวรฯ มีร้านโรงทำหัวในโครงในหีบฝ้ายขาย มีฃายสดเช้าเยนชื่อตลาดย่านวัดฝาง ๑ ถนนย่านประตูดินพระราชวังจันทนบวรฯ นั้นมีของสดฃายเช้าเยน ชื่อตลาดประตูดินวังน่า ๑ ถนนย่านประตูท่าช้าง พระราชวังจันทนบวรฯ มีของสดขายเช้าเยนชื่อตลาดท่าช้างวังน่า ถนนย่านวัดซรองมีร้านขายของสดเช้าเยน ชื่อตลาดวัดซรอง ๑ ย่านท่าทรายมีร้านชำขายผ้าสมปักเชิงปูม ผ้าไหมผ้าลายกรุษราชยำมะหวาด สมปักเชิงสมปักล่องจวนสมปักริ้ว แลผ้ากราบใหญ่น้อยเมื่อข้าราชการหายไม่หันจะหามาเปลี่ยน ก็ต้องซื้อนุ่งเข้าเฝ้า แลมีของสดขายเช้าเยน ชื่อตลาดท่าขุนนาง ๑ ย่านถนนเชิงตะภานช้าง ด้านตระวันออกมีร้านฃายของสดเช้าเยนที่น่าวัดคลอง ชื่อตลาดช้างวัดคลอง ๑ ย่านเชิงตะภานช้างด้านตระวันตกมีร้านฃายฃองสดเช้าเยน ชื่อตลาดเชิงตะภานช้าง ๑ มาย่านหลังวัดนกน่าวัดโพง มีร้านชำไทยมอญขายขันถาดภานน้อยใหญ่ เครื่องทองเหลืองครบ มีฃองสดฃายเช้าเยน ชื่อตลาดมอญ ๑ น่าวัดพระมหาธาตุมีศาลาห้าห้อง มีแม่ค้า มานั่งคอยซื้อมีดพร้าขวานชำรุดแลเหลกเลกน้อยด้วย มีจีนมานั่งต่อศาลานั้นไปเปนแถวคอยเอาเข้าพองตังเมมาแลกของต่างๆ ในที่น่าวัดพระมหาธาตุเปนตลาด ชื่อตลาดแลกน่าวัด ๑ ย่านสาระภากรในแลนอกมีร้านขายของสดเช้าเยน ชื่อตลาดเจ้าพรม ๑

ถนนย่านป่าสมุดแต่วัดพระรามมาจึงถึงศาลเจ้าหลักเมือง มาถึงน่าวัดหลาววัดป่าฝ้าย มีร้านชำขายสมุดกระดาษขาวดำ ชื่อตลาดป่านสมุด ๑ ริมคลองหลังวัดระฆังมีตลาดขายของสดเช้าเยนเรียกชื่อตลาดหลังวัดระฆัง ๑ ถนนย่านตะภานลำเหย ด้านตระวันออกมีร้านขายของสดเช้าเยน ชื่อตลาดเชิงตลาดลำเหย ๑ ที่ปากคลองท่อทิศตระวันตกน่าวัดบวรโพธิริมทำกำแพงโรงไหม มาจนถึงบ้านชาวแตร มีร้านฃายฃองสดเช้าเยน ชื่อตลาดยอด ๑ ถนนย่านประตูห่านมีร้านฃายฃองสดเช้าเยนชื่อตลาดประตูห่าน ๑ ถัดย่านตลาดยอดไปนั้น มีร้านฃายฃองสดเช้าเยน ชื่อตลาดหัวเลี้ยว ๑ ถนนน่าประตูสัตกป มีร้านฃายฃองสดเช้าเยน ชื่อตลาดสัตกป ๑ ริมคลองฟากหนึ่งมีร้านฃายฃองสดเช้าเยนชื่อตลาดเลม ๑ น่าวัดสิงห์มีร้านฃายฃองสดเช้าเยนชื่อตลาดหัวสิงห์ ๑ น่าวัดเกษฃ้างฉางมหาไชยมีร้านฃายฃองสดเช้าเยนชื่อตลาดหัวฉาง ๑ ย่านถนนบ้านลาวมีร้านฃายฃองของสรรพดอกไม้สดชื่อตลาดดอกไม้ ๑ ถนนย่านป่าเหลกวัดป่าฝ้าย มีร้านฃายฃองสรรพเครื่องเหลกมีดพร้า มีร้านฃายฃองสดเช้าเยน ชื่อตลาดหัวถนน ๑ ถนนย่านวังไชย มีช่างทำขันทองเหลืองใหญ่น้อย มีร้านฃายฃองสดเช้าเยนชื่อตลาดวังไชย ๑ ถนนย่านฉะไกรใหญ่ซื้อไม้ไผ่มาทำเปนฝาเรือนหอฃาย แลมีร้านฃายผ้าลายสุรัศ ผ้าขาวแลผ้าฉลาง มีร้านฃายฃองเช้าเยน ชื่อตลาดผ้าลาย ๑ ถนนย่านป่าพัดทำพัดใบโตนดคันกลมแลคันแบนใหญ่น้อยฃายแลมีร้านฃายฃองสดเช้าเยน ชื่อตลาดบ้านพัด ๑ ถนนเชิงตะพานขุนโลกน่าวัดแก้วฟ้า มีร้านฃายฃองสดเช้าเยน ชื่อตลาดขุนโลก ๑ ที่ถนนเชิงตะพานแก้วหัวไฝ่ มีร้านฃายฃองสดเช้าเยน ชื่อตลาดหัวไฝ่ตะพานแก้ว ๑ รวมตลาดร้านชำยี่สิบเอดตำบล ตลาดฃองสดฃายเช้าเยนสี่สิบตำบล รวมเข้ากันทั้งสิ้นเปนตลาด ๖๑ ตำบล แต่ในจังหวัดกำแพงพระนครนั้นมีตลาดหกสิบเอดตลาด ๑
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 มิถุนายน 2562 16:17:23 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 10 มิถุนายน 2562 18:22:44 »

.



คำให้การขุนหลวงประดู่ทรงธรรม
เอกสารจากหอหลวง
(อักขรวิธีใช้ตามต้นฉบับ)

ว่าด้วยพระคลังโรงช้างโรงม้าคุกหอกลองซึ่งมีอยู่ในกำแพงกรุงศรีอยุทธยาดังนี้    
อนึ่งในกรุงศรีอยุทธยามีโรงช้างพลายพัง ซึ่งขึ้นรวางมีชื่อนั้นอยู่ในโรงโดยเรียบร้อยปรกติ โรงช้างพลายมีผนังก่อด้วยอิฐหลังคามุ่งกระเบื้อง ลูกฟูกมีฉ้อฟ้าหางหงษทาแดงทุกโรงช้างพลายยืนในโรงฉ้อฟ้าโรงละตัว โรงช้างพลายตั้งข้างฃวามือแต่หัวถนนน่าวังตรงไป เปนระยะห่างถนนโรงหนึ่งไป จนหัวเลี้ยวถนนป่ามะพร้าว โรงช้างพังตั้งซ้ายมือเปนโรงแถวโรงละ ๑๕ ห้อง ช้างพังยืนห้องละช้าง ตั้งแต่หัวถนนป่าตกั่วไปจนช่องตะพานช้าง รวมช้างพลาย ๓๐ โรง ช้างพัง ๕๐ ห้อง รวมช้างพลายช้างพัง ๘๐ ตัว

โรงม้าต้นซ้ายขวา ตั้งตามถนนนอกกำแพงห้องสนามน่าจักรวัติ ตึกโรงม้าต้นขวาตั้งแต่หัวถนนตลาดเจ้าพรมขวามือหลังศาลพระบัญชรสิงห์ ไปโดยยาว ๒๐ ห้องใส่ม้าห้องละตัว น่าตึกโรงม้ามีเกยแลศาลเพียงตา สำหรับบวงสรวงเทพารักษ์ แต่โรงม้าแซงห้องนั้นต่อไปอิก ๕ แถว ๓๐ ห้อง ใส่ม้าห้องละม้า จนถึงกำแพงวัดพระราม แต่ตึกโรงม้าต้นซ้ายตั้งแต่หัวถนนตลาดเจ้าพรมซ้ายมือไปหลังศาลสุภาไชยแพ่งกระเษมโดยยาว ๒๐ ห้องใส่ห้องละม้า น่าตึกโรงม้าต้นซ้ายมีเกยเหมือนกัน แลโรงม้าแซรงในต่อไปอิกสามโรง จนถึงกำแพงวัดธรรมิกราชใส่ม้าห้องละสามสิบม้า โรงม้าใช้ห้าสิบห้อง ใส่ห้องละม้า ๕๐ ห้อง ม้า ๕๐ ม้าด้วยกัน โรงม้าใช้โรงตั้งแต่มุมกำแพงวัดธรรมิกราช ตรงไปจนใกล้ประตูจักรหิมาโรงม้าแซรงนอก ตั้งแต่ริมถนนตะแลงแกงซ้ายโรง ๑ ขวานั้นตั้งแต่หัวถนนป่าผ้าเขียวหลังคุก ถึงป่าตองโรง ๑ ขวาโรงละ ๓๐ ห้อง ซ้ายโรง ๓๐ ห้อง ใส่ม้าห้องละม้าเหมือนกัน

พระคลังในอยู่ริมพระราชวังสระแก้ว ๑ พระคลังราชการอยู่ริมถนนวัดน่าป่าฝ่าย ๑ พระคลังสินค้าอยู่ริมป่าตอง ๑ พระคลังใส่เครื่องม้าศึกอยู่ริมกำแพงวัดธรรมิกราช พระคลังสาระพากรในแลนอกอยู่ริมถนนตลาดเจ้าพรม ๑ พระคลังแสงสรรพายุทธอยู่ริมคลองนครบาล ๑ ตรงวัดศรีเชียงสอง พระคลังทั้งแสงนอกด้วย ๑ พระคลังตึกใส่ลูกปืนดินประสิวอยู่น่าวัดจันทนหลังวัดสังกะปัถ ๑ ตึกพระคลังสำหรับไว้เชือกบาศช้างแลชนักช้างอยู่ริมวัดยานุเสนทร ๑ ถ้าถึงปีใหม่มีโขนลคอน หนัง ช่องระธา สมโภชทุกปีมิได้ขาด

อนึ่งมีคุกสำหรับขังคนนักโทษโจรผู้ร้ายปล้นสดมมีแปดคุก มีตรางน่าคุกสำหรับใส่บุตรภรรยาอ้ายผู้ร้ายมีทุกน่าคุก ซึ่งนักโทษเบาเปนแต่โทษเบจเสรจใส่โซร่คอเปนพวงหนึ่ง ๑๐ คน ใช้ทำราชการพระนครทุกแห่ง ถ้านักโทษหนักใส่โซร่คอพวงละ ๒๐ คน บ้าง ๓๐ คนบ้าง ต่อวันพระ ๕ ค่ำ แปดค่ำ ๑๑ ค่ำ สิบห้าค่ำ จึ่งจ่ายให้ออกไปฃอทานกิน ตามตลาดทุกวันพระ เดือนสิบครั้ง บุตรภรรยาอ้ายผู้ร้ายนั้นใส่ตรวนสองชั้น แล้วเอาเชือกผูกบั้นเอว ร้อยต่อกันออกใช้การ

อนึ่งที่ถนนตะแลงแกงมีหอกลอง มียอดซุ้มทาแดงหอกลองนั้นทำเปนสามชั้นสูงสามสิบวาแต่ชั้นยอดนั้นคอยดูฃ้าศึกมาจึ่งตีกลองๆ ชื่อ พระมหาฤกษ กลองชั้นกลางสำหรับตีด้วยเมื่อเพลิงไหม้ ชื่อพระมหาระงับดับเพลิง ถ้าเพลิงไหม้ฟากฝั่งแม่น้ำนอกกรุงคาดกลองสามที ถ้าเพลิงไหม้เชิงกำแพงแลในพระนครคาดกลองเสมอกว่าเพลิงจะดับ ชั้นต้นใส่กลองใหญ่สำหรับตีย่ำเที่ยงย่ำสันนิบาต เวลาตระวันยอแสงพลบค่ำตามประเพณีกรุงศรีอยุทธยา กลองชั้นต้นชื่อพระทิวาราตรี เจ้าพนักงานกรมพระนครบาล ได้พิทักษรักษากลองทั้งสามชั้น ผู้รักษาต้องเลี้ยงวิฬาป้องกันมิให้มุสิกะกัดกลอง เวลาเช้าเยน กรมพระนครบาล เกบเบี้ยตามร้านตลาดน่าคุก แต่ในจำหล่อไปจนหอกลาง เอาร้านละ ๕ เบี้ย สำหรับมาซื้อปลาย่างให้วิฬากิน อนึ่ง น่าหับเผยนั้นมีกองตระเวนรักษาเหตุการพระนครแลคุก ด้วยมีผู้กำกับกวดขัน อนึ่งคุกสำหรับใส่คนทำการสำเภาแลเรือรบต่างๆ แลขุดอู่นอกกำแพงพระนครเปนอู่สำเภา ส่งพระราชสาสนจิมก้องกรุงปักกิ่งทุกปี พวกนักโทษฝากระดานหลังเจียด พื้นฝาทาแดงเซียนลายทองทรงเซ้าบินเทพนมพรหมภักตร เปนพระตำหนักฝ่ายในหลัง ๑ แล้วมีพระตำหนักใหญ่ห้าห้องฝาทาแดงเปล่าเรียงต่อกันมาเปนพระตำหนักสำหรับประทมเพลิงอยู่ริมประตูต้นส้มโอหลัง ๑ อยู่ฝ่ายใน

แลฝ่ายทิศใต้พระที่นั่งสุริยามรินทรมหาปราสาทนั้น มีพระตำหนักตึกหลังน้อย ไว้พระรูปสมเด็จพระนเรศวรเปนเจ้า กับเครื่องพระแสงต้นด้วย ฝาปิดทองหลังคามีฉ้อฟ้าหางหงษ์ มีเกยอยู่น่ามุขพระตำหนักนั้น พระที่นั่งวิหารสมเด็จมหาปราสาทมียอดปรางห้ายอดหลังคามุงดีบุกยอดหุ้มดีบุกปิดทองเปนปราสาทสำคัญในพระนคร เปนที่บุษยาภิเศกพระมหากษัตรแต่ก่อนมา มีมุขโถงยาวออกมาจากองค์ที่มุขโถงนั้นมียอดมณฑปต่างหากจากองค์ปราสาทใหญ่ ในมุขโถงนั้นมีพระแท่นมณฑปตามแว่นฟ้าเปนพระที่นั่งตั้งในมุขโถง ต่อน่าพระที่นั่งวิหารสมเด็จมหาปราสาทออกมามีทิมดาบคดซ้ายซวา มิกำแพงแก้วสูงสองศอกล้อมรอบพระมหาปราสาท ซึ่งชานชาลาพระมหาปราสาทนั้นปูศิลาอ่อน มีเสาโคมทำด้วยศิลาจีนตั้งอยู่ ๘ ทิศ มีสิงหสิลาแลรูปภาพทหารจีนตั้งเรียงรายไปตามชานชาลาพระมหาปราสาท

พระที่นั่งสรรเพชรมหาปราสาทมียอดซุ้มมณฑปนพสูญเก้ายอด มีมุขสั้นสองด้าน มีมุขยาวสองด้าน มีมุขโถงออกมาจากปราสาทใหญ่มุมนั้นไม่มียอด มีแต่หลังคา (ศร)* สามชั้นน่าบัณประเจิดมีเสาครีพสิงหเทพพนม มีนารายน์ยืนย้อยลงมาตามน่าบัณ ในมุขโถงนั้นมีพระแท่นมณฑปบุษบกทองคำตั้งในมุขโถง เปนที่เสด็จออกทรงพระราชปราไสยแก่แขกเมืองต่างประเทศถวายบังคมน่ามุขโถงในกลางพระที่นั่งสรรเพชรมหาปราสาทนั้น มีพระแท่นปัญญงคกาญจนเนาวรัตน์สามชั้นรูปอย่างพระเบญจา ไม่มีมณฑป มีพระมหาเสวตฉัตรปักที่หลังแท่นปัญญงคๆ นั้นทำด้วยทองคำนพคุณน้ำเก้าประดับเพชระแลพลอยต่างๆ มีค่าสูงสามศอก ทองคำหุ้มหนักถึงเก้าสิบชั่งลงยาราชาวะดีประดับเนาวรัตนพร้อมทุกศี บนพื้นพระแท่นปัญญงคทองคำนั้นปูหนังราชสีห์ ซึ่งมีมาแต่โบราณนั้นเปนที่เสด็จขึ้นนั่งออกรับแขกเมืองบ้าง ออกรับเจ้าประเทศราชบ้าง ออกขุนนางเมื่อวันราชาภิเศกบ้าง มีเครื่องสูงปักรอบพระแท่นปัญญงค น่าพระที่นั่งสรรเพชรมหาปราสาทนั้น มีทิมดาบคดซ้ายขวา บนชานชาลานั้นมีกำแพงแก้วสูงสองศอกล้อมรอบพระมหาปราสาท มีประตูหูช้างเล็กๆ แปดประตูอยู่ตามกำแพงแก้ว ล้อมพระมหาปราสาท

หว่างพระมหาปราสาทสรรเพชรแลวิหารสมเด็จนั้น มีถนนแลประตูออกน่าพระมหาปราสาทสำหรับแห่พระเจ้าลูกยาเธอออกไปโสกันต์แลลงสรง ชื่อประตูพิมานมงคลศาลาลวด ๑ ในท้องสนามน่าพระมหาปราสาททั้งสองนั้น มีโรงพระคชาธารสี่โรง มีซุ้มยอดทั้งสี่โรง มีโรงม้าพระที่นั่งเปนโรงม้าเทศโรงหนึ่งสี่ห้อง ไว้ห้องละม้า ท้ายโรงม้าเทศมีพระคลังเครื่องม้าต้นสำหรับยืนให้แขกเมืองดูพระคลังหนึ่งต่อนั้นไปมีพระคลังมหาสมบัติไว้เงินพระราชทรัพย์แผ่นดิน มีโรงช่างทำรูปเงินตราอยู่ในกำแพงล้อมพระมหาสมบัติ มีกำแพงคั่นท้องสนามน่าพระลานทิศเหนือ แลมีประตูซุ้มยอดสำหรับแห่พระเจ้าลูกเธอในพระราชพิธีลงสรง จึ่งเปิดชื่อประตูไชยมงคลไตรภพชยนต์ ๑ มีประตูช่องกุตโคหาออกไปประตูเสาธงไชย ชื่อประตูช่องกุตโคหา ๑ มีกำแพงคั่นน่าสนามน่าพระที่นั่งสุริยามะรินทร์มหาปราสาท แล้วมีประตูที่กำแพงคั่นนั้นประตูไพชยนต์ทะวาร ๑ มีทิมดาบชาววังอยู่ข้างซวา ทิมดาบตำรวจในอยู่ข้างซ้าย นอกประตูไพชยนต์ทะวารนี้มีโรงพระโอสถ ๑ มีโรงพระราชยานหมู่พนักงานกันเจียกอยู่โรง ๑ มีโรงพรมเสื่อพวกสนมรักษาโรง ๑ มีโรงจีนช่าง (สะนะ) สำหรับเย็บเสื้อผ้าโรง ๑ มีโรงช่างสะนะไทสำหรับเย็บม่านแลผ้าต่างๆ โรง ๑ มีโรงช้างเผือกพัง มีซุ้มยอดโรง ๑ มีกำแพงคั่นสวนไพชยนต์เบญจรัตน์ไปลงพระคลังมหาสมบัติ

ถึงมุมกำแพงพระคลังวิเศศ มีประตูเข้าไปสวนไพชยนต์เบญจรัตน ชื่อประตูสวรรคภิรมย์ ๑ มีหอพระมณเฑียรธรรมอยู่กลางสระ ๑ มีโรงช่างทำเงินบาทเงินสลึงเงินเฟื้อง อยู่ที่ปากสระมีพระคลังสุพรัตไว้สะบงจีวรผ้าไตร ๑ มีพระคลังพิมานอากาษไว้กระจกเทศพรมเทศเครื่องแก้วมาแต่เทศกาหลาป๋า ๑ มีหอพระเทพบิดรสำหรับให้พระบรมวงษานุวงษ แลข้าทูลอองธุลึพระบาทฝ่ายน่าฝ่ายใน ถือภานพระขันหมากแลดอกไม้ธูปเทียนเข้าไป ถวายบังคมพระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง ในหอพระเชฐอุดรก่อน แล้วจึงได้เข้าไปถือน้ำพระพิพัฒสัจจาในวัดพระศรีสรรเพชร มีกำแพงคั่นริมหอพระเทพบิดร ล้อมสวนไพชยนต์เบญจรัตน์ มีประตูออกถนน หว่างกำแพงล้อมพระตำหนักตึกวัดชื่อประตูสวรรคไพชยนต์รัตน์ ๑ ถนนนี้มีประตูออกไปห้องสนามน่าจักรวัติริมโรงปืนใหญ่ชื่อปะขาวกวาดวัด ชื่อประตูภิรมยเจษฎา ๑ ถนนนี้มีประตูชื่อสุนทรภูสิตเข้าไปพระคลังวิเศศ ๑ ประตูจะออกจากกำแพงพระคลังวิเศศมาออกถนนวัดพระศรีสรรเพชรนั้น ชื่อประตูอุดมพัตรา ๑ ถนนนี้มีถนนเลี้ยวเข้าพระตำหนักตึกน่าจักรวัติมีประตูเข้าไป พระตำหนักตึกชื่อประตูภิรมยธารา ๑ แล้วมาถึงประตูหูช้างริมกำแพงวัดพระศรีสรรเพชรเข้าไปพระคลังแสงใส่เครื่องมือช่างครบชื่อประตูช้าง ๑ ท้ายจะระนำพระที่นังวิหารสมเด็จ แลพระที่นั่งสรรเพชรทั้งสององคนั้น มีพระฉนวนมีฝาผนังกว้างสิบศอกเปนโคหาตลอดน่าหลังพระฉนวน มีประตูฉนวนสำหรับเสดจออกประตูภพชลทวารอุทก ลงเรือพระที่นั่งน่าพระขนานน้ำประจำท่าวาศุกรี ชื่อประตูโคหาภพชน ๑ มีสิงห์สองตัวอยู่ที่เชิงอัฒจันทน ประตูสิงห์นี้ยายแอ่นรักษา ประตูท้ายพระฉนวนสำหรับเสดจออกไปวัดพระศรีสรรเพชร ชื่อประตูสวรรคโคหา ๑ ประตูนี้ยายยมรักษา ๑ ประตูข้างพระฉนวนมาถนนต้นดอกเหลก ถนนนี้ผู้หญิงชาวบ้านท่าทรายแลบ้านท่าแขกเข้ามานั่งร้านขายผ้าต่างๆ ถนนนี้ตรงมาประตูสุเมรุ ตรงมาประตูตะพานแพะฯ ตรงมาเข้าประตูพระฉนวนลงท้องสระฯ ตรงมาน่าพระที่นั่งบัญญงครัตนาศน์มหาปราสาท ยอดมณฑปนพสูญยอดเดียวมีมุขโถงออกมาจากมุขใหญ่ทั้งสี่ด้าน เปนพระที่นั่งอยู่ในสระน้ำล้อมรอบ เปนที่ทรงประพาศได้รอบทั้งสี่ทิศ ตรงน่าพระที่นั่งบัญญงครัตนาศน์นั้นมาออกประตูจักรพัติผัน ยายมิ่งรักษาเปนนายประตู นางจ่าโขลนกำนันกำกับรักษาฝ่ายใน กรมวังรักษาทั้งนอกใน ท้ายสระนั้นมีโรงพระโอสถอยู่น่าประตูสวนองุ่น ๑ มีพระตำหนักสองห้องสำหรับมีราชกิจ ให้พระราชาคณะอาจารยเข้าไปอยู่จำวัด ๑ มีทิมสงฆ์ห้าห้องสำหรับพระสงฆพักคอยสดัปกรณบ้าง สวดพระพุทธมนต์ บ้าง ๑ มีทิมดาบมหาดเลกอยู่นอกเวร ๑ มีห้องเครื่องสำหรับมหาดเลกรักษา ๑ มีพระตำหนักสำหรับกรมพระราชวังน่าเสด็จเข้ามาหยุดพักคอยจะเข้าเฝ้า ในพระตำหนักนั้น มีพระแท่น สำหรับกรมพระราชวังน่าด้วย มีโรงนาฬิกาประโคมยาม ๑ มีโรงเครื่องต้น ๑ มีโรงเครื่องม้าต้น ๑ มีโรงพระแสงเครื่องต้น ๑ มีโรงช่างทำมุกอยู่ที่น่าพระที่นั่งทรงปืน ๑ มีหออาลักษอยู่ริมกำแพงสวนกระต่าย ๑ มีหอหลวงใส่พระราชดำหรับ แต่ก่อนมาอยู่ในสระมุมกำแพง มุมกำแพงสวนกระต่าย ๑ มีพระตำหนักห้าห้อง ฝาเขียนทองพื้นลงรักอยู่ในกลางสวนกระต่าย ๑ มีประตูเข้าไปพระตำหนักตึกใหญ่ ผนังนอกทาแดง ชื่อพระตำหนักโคหาสวรรค์ ๑ พระตำหนักนี้เปนที่ประทับของสมเดจพระพรรวษาใหญ่ ซึ่งเปนพระราชเทวีสมเดจพระนารายน์แต่ก่อนมา ครั้นภายหลังมาเปนพระคลังฝ่ายใน ท่านท้าวทรงกันดารรักษา มีกำแพงล้อมมีประตูชื่อสวรรคภิรมย์ ออกไปท้องสนามจันทน์เลี้ยวท้องสนามจันทน์ มาถนนริมกำแพงล้อมตึกห้าห้อง สำหรับนางพนักงานวิเสศต้น แต่งเครื่องพระสุพรรณภาชนหุงพระกระยาเสวยเครื่องต้น ถนนนี้เลี้ยวไปหัวสิงหน่าพระฉนวนใหญ่ มีกำแพงคั่นแลมีประตูซุ้มชื่อประตูอุดมนารี ออกไปตลาดซายซองสดเช้าเยน ตรงประตูดินเข้ามาเปนลานปลาใหญ่มีท่อไขน้ำฝนให้ไหล ออกไปพ้นชลาปากท่อลงแม่น้ำใหญ่ใต้ประตูดินมีพนักงานชาวท่อรักษาที่ศาลาปากท่อประจำ

อนึ่งพระที่นั่งบัญญงครัตนาศนมหาปราสาทนั้น เปนยอดมณฑปยอดเดียว มีมุขโถง ยาวออกมาจากมุขใหญ่ทั้งสี่ด่าน มุขโถงทั้งสี่ทิศนั้น มีพระแท่นแว่นฟ้าบุษบกตั้งในมุขโถงทั้งสี่มีเกย น่ามุขโถงมีบันใด นาคราช ข้างเกยทั้งสี่เกย มีกำแพงแก้วล้อมรอบชาลาพระมหาปราสาท แล้วมีสระล้อมรอบกำแพงแก้วชาลาพระมหาปราสาททั้งสี่ด้าน สระกว้างด้านละ ๖ วา ในสระระหว่างมุขโถงมุมพระมหาปราสาท ด้านเหนือนั้นมีพระตำหนักปลูกปักเสาลงในสระด้านเหนือหลังหนึ่งห้าห้อง ฝากระดานเซียนลายรดน้ำทองคำเปลวพื้นทารักมีฉ้อฟ้าหางหงษมุขซ้อนสองชั้น มีพระบัญชรลูกกรงเหลก ระเบียงชานเฉลียงรอบนั้นมีลูกมะหวดกลึงล้อมรอบ มีตะพานลูกกรงค่ามมาจากพระมหาปราสาทถึงพระตำหนักๆ นี้เปนที่มีเทศนาพระมหาชาติคำหลวงทุกปีมิได้ขาด ในสระหว่างมุขโถงด้านใต้นั้น ปลูกพระที่นั่งปรายเข้าตอกหลังหนึ่ง เสาลงในสระหลังคามีฉ้อฟ้าหางหงษมุขซ้อนสองชั้น ฝาไม่มี มีแต่ลูกกรงมะหวดรอบพระเฉลียง เสารายทารักเซียนทองคำเปลวลายทรงเข้าบิณฑ์มีกาพพรหมศรกริมวินต้นเสาปลายเสา มีตะพานลูกกรงข้ามมาจากพระมหาปราสาทถึงพระที่นั่งปรายเข้าตอก พระที่นั่งปรายเข้าตอกนี้ สำหรับเสดจทรงประทับโปรยข้าวตอก พระราชทานปลาหน้าคนแลปลากะโห้ ปลาตะเพียนทองแลปลาต่างๆ ในท้องสระ ในระหว่างมุมมุขโถงด้านตระวันออกนั้น ปลูกเปนพระที่นั่งทอดพระเนตรดาวเสาลงในท้องสระ ไม่มีหลังคา มีแต่พื้นแลลูกกรมมะหวดรอบ มีตะพานข้ามสระออกมาจากมุมมาพระมหาปราสาท ถึงพระที่นั่งทรงดาวๆ นี้สำหรับทอดพระเนตรดาว แลทอดพระเนตรสุริยุปปราคาแลจันทรุปราคา ชีพ่อพรหมณทำพิธีถวายน้ำกรดน้ำสังข์ในวันสุริย จันทร } เมื่อโมกขบริสุทธิบนพระที่นั่งทรงดาวทุกคราวไป

ในท้องสระระหว่างมุมมุขโถงด้านตระวันตกนั้น ปลูกเปนตะพานพระฉนวน มีหลังคาร่มตะพานข้ามออกมาจากพระมหาปราสาท เสาตะพานพระฉนวนนั้น ระยะห่างๆ แต่พอเรือน้อยพายลอดได้ใต้ตะพานๆ ข้ามมาขอบสระถึงพระที่นั่งทรงปืน เปนตึกใหญ่มีฉ้อฟ้าหางหงษมุขศร (ซ้อน) เปนท้องพระโรงสำหรับเสดจออกว่าราชการแผ่นดิน พระราชวงษาแลข้าทูลลอองธุลีพระบาทเข้าเฝ้าพระกรุณา ในพระที่นั่งทรงปืนท้ายสระ ขอบสระนั้นมีกำแพงแก้วสูง ๖ ศอก ล้อมรอบสระมีประตูสี่ด้านสระ ในกำแพงแก้วขอบสระข้างใน มีถนนเดินได้รอบสระ บนกำแพงแก้วรอบสระนั้นมีซุ้มโคมห่างคืบหนึ่งรอบกำแพงสระเปนซุ้มโคมพันหนึ่ง สำหรับตามไฟในการพิธีวิสาขะบูชากลางเดือนหกในท้องสระนั้นน้ำใสสอาดไหลเข้าออกได้ ไม่เน่าเหมนเปนที่น่าชมเชย

อนึ่งพระที่นั่งเบญจรัตนมหาปราสาทนั้นมียอดมณฑปห้ายอด มีมุขศรสี่ชั้นเสมอกันทั้งสี่ด้านมีมุขยาวออกมาจากมุขใหญ่ทั้งสี่ด้าน แต่มุขยาวทั้งสี่ด้านนั้น น่ามุขทั้งสี่ด้านเปนจตุรมุขมียอดมณฑปทุกมุขเปนสี่ยอด แต่พื้นมุขทั้งสี่ด้านต่ำเปนท้องพระโรงทั้งสี่ด้าน สำหรับเสดจออกว่าราชการตามระดูทั้งสามระดูสามมุข แต่มุขด้านหลังเปนมุขฝ่ายในสำหรับเสดจออกว่าราชการฝ่ายใน ฝ่ายพระมหาปราสาทแลฝา มุขใหญ่นั้นเปนผนังปูนทารัก ประดับกระจกปิดทองคำเปลวเปนลายทรงเข้าบิณฑ์ ใต้พระบัญชรเปนรูปสิงห์ทุกช่อง ซุ้มจระนำพระบัญชรเปนรูปพรหมภักตรทุกช่อง ถานปัตพระมหาปราสาทเป็นรูปปั้น ชั้นต้นเป็นกุมภัณฑ์ ชั้นสองเป็นรูปครุธจับนาค ชั้นสามเป็นรูปเทพนมถวายกรจึงถึงชั้นรูปสิงหรับพระบัญชร บานพระบัญชรจำลักเปนรูปเทพบุตรแลเทพธิดาเปนคู่กันกันทุกช่อง บานพระทวารเป็นรูปนารายน์สิบปาง บานละปางมีทิมคตล้อมรอบพระมหาปราสาท มีประตูด้าน ๑ พระมหาปราสาทองค์นี้เปนที่ทรงพิภาคษาตราสินคดี แลกิจการพระนครสำคัญเปนที่ประชุมใหญ่ฝ่ายมหามาตยาธิบดี

๏ อนึ่งพระที่นั่งจักรวัติไพชยนต์มหาปราสาทนั้นมียอดมณฑปยอดเดียว ไม่มีปราลี มีมุขซ้อนสี่ด้าน แต่ด้านตระวันออกตระวันตกนั้น มีมุขสั้นซ้อนสองชั้น ด้านเหนือใต้มีมุขซ้อนสี่ชั้น เปนมุขยาวมาจดประตูเหนือใต้ ฝาไม่มีเปนปราสาทโถงอยู่บนกำแพงพระราชวัง เปนปราสาทสามชั้นๆ ล่างสำหรับข้าทูลลอองธุลีพระบาทฝ่ายน่าเฝ้า ชั้นกลางสำหรับข้าทูลลอองธุลีพระบาทฝ่ายในภักดูแห่แลการมโหระศพชั้นบนสำหรับพระราชวงษานุวงษฝ่ายหน้าฝ่ายในเฝ้า แลตูกระบวนแห่ต่างๆ ในมุขยาวทั้งสองด้าน แต่ที่กลางจตุระมุขชั้นบนนั้น เปนที่ตั้งพระแท่นทรงประทับทอดพระเนตรกระบวนแห่ แลการมโหระศพแลยกทับพยุหยาตรา น่าพระมหาปราสาทนี้มีสนามใหญ่ยาวตลอดกำแพงพระราชวังมีถนนใหญ่กว้าง ๖ วา น่าพระที่นั่งจักรวัดไพชยนต์มหาปราสาทที่เรียกว่าถนนน่าจักระวัติ แลสนามน่าจักระวัติหลังพระมหาปราสาทองค์นี้ เปนสนามในมีเป้าปืนแลถนนด้วย พระที่นั่งจักระวัติไพชยนต์มหาปราสาทองค์นี้ อยู่บนกำแพงพระราชวังด้านตระวันออก

อนึ่ง พระที่นั่งไพฑูริยมหาปราสาท ยอดปรางยอดเดียวมีมุขซ้อนสี่ชั้น มุขเสมอกัน หามีมุขยาวออกมาจากมุขใหญ่ไม่ องค์หนึ่ง พระที่นั่งไพชยนต์มหาปราสาทยอดมณฑปยอดเดียวมีมุขซ้อนสี่ชั้นเปนมุขใหญ่ แลมีมุขยาวออกมาจากมุขใหญ่ด้านเหนือด้านใต้ ยาวมาจดกำแพง น่าทิมดาบคต แลมีมุขยาวออกมาจดมุขใหญ่ ด้านตระวันออกด้านตระวันตก แต่สั้นกว่ามุขด้านเหนือใต้ พระมหาปราสาททั้งสามองค์นี้อยู่ข้างทิศใต้พระราชวัง เปนพระมหาปราสาทเก่ามาแต่ก่อน ไม่ได้เสด็จประทับอยู่ที่นั่น ทั้งสามองค์เปนที่ไว้พระพุทธปฏิมากรซึ่งมีพุทธานุภาพเปนที่ทรงสะการะบูชาเปนพุทธมณเฑียรอยู่ภายในพระราชสฐาน ทรงนมัสการทุกค่ำเช้า แลเปนที่ทรงถวายทานแก่พระภิกษุสงฆ์ประชุมใหญ่ในพระมหาปราสาททั้งสามนั้น เปนที่สำคัญในพระศาสนา เปนมหาพุทธมณเฑียรในพระราชสฐาน
 
* คือซ้อนสามชั้น


ว่าด้วยพระราชวังน่า    
อนึ่งพระราชวังบวรสถานมงคล คือวังน่าเก่านั้นตั้งอยู่ใกล้พระราชวังหลวง วังน่าเก่านั้นเปนที่คับแคบ แล้วภายหลังมาจึงยกวังจันทน์เฉลิมชั้นเปนพระราชวังบวรสฐานมงคล เปนพระราชสฐานที่ดำรงค์ของพระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสฐานมงคลฝ่ายน่า เสดจประทับอยู่ในพระราชวังจันทน์บวรๆ ห่างจากพระราชวังหลวงทางห้าสิบเส้น พระราชวังจันทนบวรตั้งอยู่ในทิศตระวันออกของกรุงศรีอยุธยาใต้ทำนบรอ ภายในพระราชวังจันทน์บวรนั้น มีพระที่นั่งปราสาทจัตุรมุข แต่ซุ้มยอดไม่มีพระที่นั่งต่างๆ หลายหลังมีฉ้อฟ้าหางหงษมุขศร (ซ้อน) แต่หัวยอดซุ้ม มิได้มีทุกหลังมีตำหนักใหญ่น้อย ซ้างน่าซ้างในมากมายหลายหลัง มีพระคลังต่างๆ ทุกพนักงานครบบริบูรณ์ มีโรงปืนใหญ่น้อยแลโรงแสงสรรพาวุธ มีโรงช้าง โรงม้าโรงรถ ช่างทำการต่างๆ แลศาลาพิภากษาตราสินถ้อยความต่างๆ ทุกกระทรวง มีศาลาใหญ่ไว้พักขุนนางเมื่อจะเข้าเฝ้า เรียกว่าศาลาลูกขุนวังน่า มีศาลาเวร มหาดไทย กระลาโหม กรมท่ากรมวังกรมนากรมเมือง แลศาลาทั้งหกนี้ เปนที่ชำระความตามกรมทั้งหกนั้น ซึ่งมีคะดีพระราชวังน่า แลมีศาลาสารบาญชีฝ่ายในพระราชวังน่าทสัสดีมีคุกใส่นักโทษสองคุก มีท่าช้างแลท่าฉนวนน้ำประจำท่า มีศาลากระเวนตามมุมพระราชวังน่า มีโรงเรือพระที่นั่งแลโรงเรือกระบวนต่างๆ อยู่ตามวัดทองปุวัดปราสาท อนึ่งตึกดินปืนไม่มี โรงศักไม่มี เตาทำเงินไม่มี ภายในพระราชวังจันทน์บวรนั้นมีพระอารามหนึ่ง ชื่อวัดขุนแสนมีพระอุโบสถวิหารกานบุเรียญ แลพระมหาธาตุแลเจดียถานพร้อมบริบูรณ์ พระสงฆ์ไม่มีเพราะเปนวัดในวัง


ว่าด้วยธรรมเนียมถือน้ำ
อนึ่งธรรมเนียมข้าราชการ รับพระราชทานน้ำพระพิพัฒสัตยาเปนมาแต่จารีตขัดติยราชประเพณีโบราณ การพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒสัตยานั้น ปีละสองครั้ง คือ เดือนห้าขึ้นสามค่ำ ครั้งหนึ่งเปนต้นปี แลเดือนสิบแรมสิบสามค่ำครั้งหนึ่งเปนกลางนี้ เจ้าพนักงานกรมพระสังฆการี เชิญพระคัมภีร์พระพทธสาตร เข้าไปตั้งบนพานทองคำสองชั้น แว่นฟ้ามณฑปในกลางพระวิหารยอดซุ้มเหมมหาปราสาท ในวัดพระศรีสรรพเพชรอารามภายในพระราชวังหลวง แลพระมหาราชครูพิธีพราหมณ์ แลชีพ่อพราหมณ์ทั้งหลาย เชิญพระคัมภีร์ไสยสาตรเข้าไปตั้งบนพานทองคำเหมือนพระคัมภีร์พระพุทธสาตร์ดังว่ามาแล้วแต่หลังนั้น ชีพ่อพราหมณ์ตั้งพระราชพิธีไสยเวตรเวทางคสาตรทุกประการ ตามวิทีชีพ่อพราหมณ์ ฝ่ายพระพุทธสาตร์นั้น พระพิมลธรรมพระราชาคณะผู้ใหญ่ ๑ พระธรรมโคดมพระราชาคณะ ๑ พระธรรมเจดีย์พระราชาคณะ ๑ พระเทพโมลีพระราชาคณะ ๑ พระพรหมมุนีพระราชาคณะ ๑ พระพุทธาจาริยพระราชาคณะ ๑ พระสุเมธาจาริยพระราชาคณะ ๑ พระครูพิธีสองรูปรวมเปน ๙ รูป เปนประธานแก่พระราชาคณะถานานุกรมเปรียญเจริญพระพุทธมนตร์ เจ้าพนักงานกรมแสงต้นนุ่งซาวเชิญพระแสงต้นต่างๆ ไปตั้งตามที่ตามทางตามพนักงาน เจ้าพนักงานกรมสนมพลเรือนเชิญพระเต้าน้ำทองคำสามองค์ นาคชมภูนุชสามองค์ เงินสามองค์ ทองสัมฤทธิสามองค์ แก้วสามองค์ นางเลิ้งใหม่ใหญ่ห้าใบ แม่ขันสาครใหญ่สามขัน บาตร์ตินสามบาตร์ บาตร์เหลกสามบาตร์ บาตร์แก้วของสมเด็จพระสังฆราชบาตร์ ๑ พระมหาสังขทักขิณาวัติ ๑ พระมหาสังขอุตราวัฏสามสังข พระสังขทองคำ ๑ พระสังขนาก ๑ พระสังขเงิน ๑ พระสังขศิลามาแต่เมืองสิงหฬเกาะลังกาทวีป ๔ สังข พระสังขแก้วมาแต่กรุงปักกิ่ง ๓ สังข พระครอบสัมฤทธิรูปเปนดอกบัวบานมีกลีบร้อยแปดกลีบมาแต่กรุงกำภูชาธิบดีเปนซองครั้งพระเจ้าประทุมสุริยวงษตกต่อๆ มาถึงพระเจ้ากรุงกำภูชาช้างเผือก ถวายในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราช พระครอบนี้โตสามกำชื่อพระประทุมธารา ถ้าน่าแล้งจะปราถนาให้มีฝนตก เอาพระครอบพระประทุมธาราองค์ออกตากแดด เตมว่าช้าสามวันก็บันดานให้มีฝนตกลงมาไม่มากก็น้อยเปนมหัศจรรย์ แลเชิญพระไชยมาตั้งที่น่าพระพุทธสิหิงค์ แล้วเจ้าพนักงานเชิญเครื่องต้นเบญจราชกุกกุธพรรณ มาตั้งในที่พระราชมณฑลพิธีสาตร์ไสยเวท

แลเจ้าพนักงานจัดการครบทุกตำแหน่งแต่งตามพระราชพิธีโบราณาจาริย์พร้อมแล้ว พระมหาราชครูปโรหิตาจารย์ พระครูมหิธร อ่านคาถาพระราชโองการแช่งษาบาลตามโบราณราชประเพณี ฝ่ายพระราชครูพิเชตเอาผ้าขาวพันมือซ้ายมือขวาคอยถ้าเชิญพระแสงทุกองค์ ฝ่ายพระครูพิรามเอาผ้าขาวพันมือซ้าย แล้วถวายบังคมสามครา แล้วเอางานสามลา จึ่งจับเชิญพระแสง ๑๒ องค์คือพระแสงขรรคไชยศรีแล้วถวายบังคมสามครา แล้วเอางานสามลา จึ่งจับเชิญพระแสง ๑๒ องค์คือพระแสงขรรคไชยศรีองค์ ๑ เปนพระแสงของพระยาแกรกสืบต่อมาในกรุง พระแสงดาบปราบณรงค์พ่ายองค์ ๑ แล้วเป็นพระแสงของพระนารายน์ พระแสงกระบี่องค์หนึ่ง ชื่อพระแสงปิ่นค่ายของพระนเรศวร พระแสงกั้นหยั่นองค์ ๑ พระแสงกริชองค์ ๑ พระแสงง้าวองค์ ๑ พระแสงหอกองค์ ๑ พระแสงขอช้างองค์ ๑ ชื่อพระแสงแสนพลพ่ายของพระนเรศวร พระแสงศรองค์ ๑ พระแสงคราธรองค์หนึ่ง พระแสงแซ่ขนจามจุรีสีขาวบริสุทธิองค์หนึ่งกับงาช้างเผือกงาดำ ครั้งพระร่วงเจ้าฝ่ายเหนือสืบมา ทำปลอกทองคำลงยาราชาวดี ประดับเนาวรัตน์ต่างสีอันมีค่า รัดงาหัวเปราะเรียกว่าพระแสงเขื่อนเพชร รวมพระแสงสิบสององค์เรียกว่าพระแสงสิบสองราษี พระครูพิรามมือพันผ้าขาว ถวายบังคมสามลา แล้วเอางาน จึ่งจับเชิญพระแสงสิบสองราษีนี้ส่งให้แก่พระราชครูพิเชตๆ ถวายบังคมสามลาเอางานแล้ว จึ่งจับรับเชิญพระแสงสิบสองราษี แทงลงที่น้ำในพระเต้าครบสามลาทุกพระเต้าแลพระสังข์แลบาตร แลแม่ขันสาครแลพระครอบ ทุกภาชนะใส่น้ำเสร็จแล้วพระราชครูพิเชตส่งพระแสงสิบสองราษีให้แก่พระศรีสาสตร์ๆ นั้นมือซ้ายขวาพันผ้าขาวถวายบังคมสามลาเอางาน แล้วจับรับพระแสงทั้งสิบสององค์มาเช็ดด้วยผ้าขาวเนื้อดีมาแต่เทศ เช็ดที่ละองค์ส่งให้เจ้าพนักงานกรมแสงต้นๆ ถวายบังคมสามลา เอางานแล้วจับรับเชิญพระแสงเข้าฝักทุกองค์ แล้วเชิญขึ้นตั้งไว้บนพระบันใดแก้วตรงหน้าพระเบ็ญจาทองคำ รับพระพุทธรูปพรชัย ในพระวิหารปราสาทนั้น

ครั้นได้พระฤกษ์ดีอุดมแล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเครื่องต้น ในเดือนห้าทรงพระมหาพิชัยมงกุฎ เดือนสิบทรงพระเครื่องต้นอย่างน้อย เสด็จเปนขบวนพยุหยาตรามาในพระราชฐานประทับที่เกยไชย หน้าวัดพระศรีสรรเพชรอารามทรงเปลื้องเครื่องที่ในศาลาพลับพลาพักหน้าวัดนั้นแล้วก็เสด็จพระราชดำเนินขึ้นไปพระมหาวิหารปรางค์ปราสาท ซึ่งไว้พระพุทธสิหิงค์นั้น ทรงถวายอังคาตแก่พระราชาคณะฐานาเปรียญติๆ ถวายอดิเรก ถวายไชยมงคล สัพพุทธา ขณะนั้นพระราชวงศานุวงศ์ แลข้าทูลลอองธุลีพระบาทฝ่ายหน้าฝ่ายใน แต่ที่มีบรรดาศักดิ์ ถือพานรองขันหมาก ธูปเทียน ข้าวตอกดอกไม้ไปถวายบังคมพระบรมรูปสมเด็จพระเจ้ารามาธิบดีศรีสุนทรบรมนารถบพิตรพุทธเจ้าอยู่หัวอู่ทอง ในหอพระเทพบิดร ฝ่ายหน้าถวายบังคมหน้าหอ ฝ่ายในถวายบังคมหลังหอแล้วมารับพระราชทานน้ำพระพิพัฒสัตยา ฝ่ายหน้ารับพระราชทานน้ำข้างหน้าพระลานพระมหาวิหารปรางค์ปราสาท ฝ่ายในและภรรยาข้าทูลละอองธุลีพระบาทนั้นรับพระราชทานถือน้ำตามพระระเบียงแลหลังพระมหาวิหารปรางค์ปราสาทในวัดศรีสรรเพชรอารามการถือน้ำนั้น ฝ่ายจ้าวนั้น ตั้งแต่พระมหาอุปราช กรมราชวังบวรฯ ตลอดลงไปถึงจ้าวฟ้าจ้าวมีกรม และจ้าวยังไม่มีกรม หม่อมจ้าว หม่อมราชวงศ์ และจ้าวราชนิกูลเชื้อพระวงศ์ที่ทำราชการทั้งฝ่ายหน้าฝ่ายในทั้งสิ้น ฝ่ายขุนนางนั้นตั้งแต่เจ้าพระยามหาอุปราชชาติเสนาธิบดีอะไภยพิริยปรากรมพาหุเอกอุมนตรี แลเจ้าอัครมหาเสนาบดีสอง เจ้าพระยาจตุสดมภ์ ๔ แลพระยา พระ หลวง ขุน หมื่น พัน ทนาย มหาดเล็กขอเฝ้า ตลอดไพร่หลวง ที่ได้รับพระราชทานเบี้ยหวัดผ้าปี มีธรรมเนียมสืบมาแต่โบราณดังนี้

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 มิถุนายน 2562 16:16:44 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 13 มิถุนายน 2562 16:17:40 »

.



คำให้การขุนหลวงประดู่ทรงธรรม
เอกสารจากหอหลวง
(อักขรวิธีใช้ตามต้นฉบับ)

ว่าด้วยสิ่งซึ่งเปนหลักเปนประธานเปนศรีพระนคร
อนึ่งสิ่งซึ่งเปนหลักเปนประธานพระนคร แลเปนที่เฉลิมพระเกียรติยศกรุงศรีอยุธยานั้นคือพระที่นั่งมหาปราสาท ยอดปรางค์ ๓ องค์ ยอดมณฑป ๑๑ องค์ รวมเปน ๑๔ องค์ เปนพระราชมณเฑียรของพระเจ้าแผ่นดินทุกพระองค์สืบมา พระมหาประสาทยอดปรางค์สามองค์นั้นคือพระที่นั่งมังคลาภิเศกมหาปราสาท องค์ ๑ นี้เดิมมียอดปรางค์ห้ายอด ภายหลังเพลิงไหม้จึ่งทำใหม่เปลี่ยนนามว่าพระที่นั่งวิหารสมเด็จพระมหาปราสาทองค์ ๑ แลพระที่นั่งไพฑูรย์มหาปราสาท มียอดปรางค์ยอดเดียวองค์ ๑ ทั้งสององค์นี้อยู่ในพระราชวังหลวงกับพระที่นั่งพระนครหลวง ปราสาทยอดปรางค์ยอดเดียวเปนที่ทรงประทับร้อนแรมอยู่นอกพระนครทิศตะวันออกเปนกลางย่านไปพระพุทธบาทองค์ ๑

แลพระที่นั่งมหาปราสาทยอดมณฑป ๑๑ องค์นั้นคือพระที่นั่งสรรเพชรมหาปราสาท มียอดมณฑปเก้ายอดองค์ ๑ พระที่นั่งเบ็ญจรัตน์มหาปราสาท มียอดมณฑปห้ายอดองค์ ๑ พระที่นั่งสุริยามรินทรมหาปราสาท มียอดมณฑปห้ายอดองค์ ๑ พระที่นั่งจักรวรรดิ์ไพชยนต์มหาปราสาท มียอดมณฑปยอดเดียวองค์ ๑ พระที่นั่งบรรยงก์รัตนาศนมหาปราสาท มียอดมณฑปยอดเดียวองค์ ๑ พระที่นั่งไพชยนต์มหาปราสาท มียอดมณฑปยอดเดียวองค์หนึ่ง พระที่นั่งไอยสวรียมหาปราสาทมียอดมณฑปยอดเดียวองค์ ๑ พระที่นั่งคชประเวศมหาปราสาท มียอดมณฑปยอดเดียวพระที่นั่งองค์นี้อยู่นอกพระนคร ที่พะเนียดจับช้างองค์ ๑ พระที่นั่งไอยสวรีย์ทิพยอาศน์มหาปราสาท มียอดมณฑปยอดเดียวเปนที่ประทับร้อนแรมอยู่ที่พระราชฐานเกาะบางประอินนอกพระนครทิศใต้องค์ ๑ พระที่นั่งสุทไธสวรีย์มหาปราสาท มียอดมณฑปยอดเดียวองค์ ๑ พระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาท มียอดมณฑปยอดเดียว สององค์นี้เปนที่ทรงประทับร้อนแรมอยู่ในพระราชฐานที่เมืองลพบุรี เปนที่ประทับนอกพระนครกรุงศรีอยุธยารวมมหาปราสาทในกรุงเก้าองค์ นอกกรุงห้าองค์ รวมทั้งสิ้นเปนสิบสี่องค์ เปนที่ทรงประทับของพระเจ้าแผ่นดินทุกพระองค์

พระมหาธาตุที่เปนหลักกรุงศรีอยุธยา ๕ องค์ คือ พระมหาธาตุวัดพระราม ๑ พระมหาธาตุวัดมหาธาตุ ๑ พระมหาธาตุวัดราชบูรณ ๑ พระมหาธาตุวัดสมรโกฏ ๑ พระมหาธาตุวัดพุทไธสวริย ๑

พระมหาเจดีย์ฐานที่เปนหลักกรุง ๕ องค์ คือพระมหาเจดีย์วัดสวนหลวงสพสวรรค์ ๑ พระมหาเจดีย์วัดขุนเมืองใจ ๑ พระมหาเจดีย์วัดเจ้าพระยาไทย ๑ พระมหาเจดีย์วัดภูเขาทอง สูงเส้นห้าวา ๑ พระมหาเจดีย์วัดใหญ่ไชยมงคลสูงเส้น ๕ วา ๑

พระมหาพุทธปฏิมากรที่มีพระพุทธานุภาพเปนหลักกรุงนั้น ๘ องค์ คือ พระพุทธศรีสรรเพชรดาญาณยืนสูง ๘ วา หุ้มทองคำทั้งพระองค์อยู่ในพระมหาวิหารวัดพระศรีสรรเพชร ๑ พระพุทธสิหิงค์นั่งคัดสมาธิเพชรหน้าตัก ๔ ศอก หล่อด้วยนาคชมภูนุชอยู่ในพระมหาวิหารยอดปรางค์ปราสาทในวัดพระศรีสรรเพชร ๑ พระพุทธบรมไตรภพนาถนั่งสมาธิหน้าตักศอกคืบ หล่อด้วยทองคำทั้งแท่งทรงเครื่องต้นอยู่ในพระวิหารวัดพระศรีสรรเพชร ๑ พระพุทธสยมภูวญาณโมฬี นั่งสมาธิหน้าตัก ๑๖ ศอก หล่อด้วยทองเหลืองอยู่ในพระมหาวิหารยอดมณฑปในวัดสุมงคลบพิตร ๑ พระพุทธบรมไตรโลกนารถศาสดาญาณนั่งสมาธิหน้าตักหกศอก หล่อด้วยทองเหลืองอยู่ในวัดโคก ๑ พระพุทธเจ้าทรงนางเชิง ทรงนั่งสมาธิหน้าตัก ๑๐ ศอก อยู่ในพระวิหารวัดพระนางเชิง ๑ พระพุทธคันธารราษฎร์นั่งสมาธิหน้าตักศอกหนึ่งหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ ลอยน้ำมาแต่ปักษ์ใต้เชิญไว้ ในวิหารวัดธรรมิกรารชมีพระพุทธานุภาพมากขอฝนให้ตกก็ได้ ๑ พระพุทธจันทน์แดงอยู่ในพระวิหารวัดพระศรีสรรเพชร ๑ รวม ๘ พระองค์

พระพุทธไสยาศน์วัดป่าโมกขยาวเส้นห้าวา ๑ พระพุทธไสยาศน์วัดพระนอนจักศรียาว ๑๖ วา ๑ พระพุทธไสยาศน์วัดขุนอินประมูลยาว ๑๘ วา ๑ พระพุทธไสยาศน์วัดโพธิ์อรัญญิก ยาว ๑๕ วา ๑ พระประทม พระประโทน เปนพระมหาธาตุใหญ่ อยู่ที่แขวงเมืองนครไชยศรีสององค์ รอยฝ่าพระบรมพุทธบาทอยู่เขาสวรรณบรรพต ๑ พระปัถวีเปนพระบรมพุทธฉาย อยู่ในเงึ้อมเขาน้อยยางกรงในป่าแขวงเมืองสระบุรี ๑ สิ่งที่นี้เปนศรีพระนครกรุงศรีอยุธยา สืบมาแต่โบราณ



ว่าด้วยตำแหน่งยศพระราราชาคณุฐานานุกรม  
ลำดับตำแหน่งยศพระสงฆราชาคณะ ครั้งกรุงเทพฯ มหานครบวรทวาราวดีศรีอยุธยาแต่ที่จำได้ ตำแหน่งยศพระราชาคณะฐานานุกรม ฝ่ายอรัญญาวาสี เจ้าคณะกลางนั้น คือพระพุทธาจารย์อยู่วัดโบสถราชเดชะ ๑ พระญาณไตรโลกย์เจ้าคณะรองอยู่วัดโรงธรรม ๑ พระอุบาลีอยู่วัดบางกะจะ ๑ พระญาณโพธิอยู่วัดเจ้ามอญ ๑ พระธรรมโกษา อยู่วัดประดู่ ๑ พระเทพมุนีอยู่วัดกุฎีดาว ๑ พระเทพโมฬีอยู่วัดสมณโกฎ ๑ พระธรรมกิจอยู่วัดมเหยงคณ์ ๑ รวมเป็นพระราชาคณะ ฝ่ายอรัญญาวาสีคณะกลาง ๘ องค์ อนึ่งพระครูฝ่ายวิปัสสนา แล้วพระครูเจ้าคณะรามัญ แลพระครูเจ้าคณะลาว ฤๅพระครูเจ้าคณะเขมรทั้งปวงนั้น ก็ต้องมาขึ้นคณะฝ่ายอรัญวาสีทั้งสิ้น

อนึ่งพระสงฆฝ่ายสมถะวิปัสสนา ซึ่งอยู่ในป่าดอนดงแขวง หัวเมืองปักษ์ใต้ฝ่ายเหนือก็ต้องมาขึ้นคณะอรัญวาสีทั้งสิ้น แต่พระสงฆมิใช่สมถะวิปัสสนาซึ่งอยู่หัวเมืองต่างๆ ทั้งสิ้นนั้น มิได้มาขึ้นคณะฝ่ายอรัญวาสี พระพุทธาจารย์เจ้าคณะกลางอรัญวาสี ได้เปนอธิบดีสิทธิ์ขาด ในสมณะกิจจานุกิจได้ว่ากล่าวบังคับบัญชา พระสงฆ์ฝ่ายสมถะวิปัสสนาทุกตำบลทั้งสิ้น อนึ่งถ้ามีเสด็จพระราชดำเนินออกจากพระนคร ก็เปนพนักงานพระสงฆ์ราชาคณะฝ่ายอรัญวาสี ต้องไปตามเสด็จถวายพระพรไชยและพระปริตด้วย ต้องผลัดเปลี่ยนเวรกันตามสมควรแก่กาล

ตำแหน่งยศพระสงฆ์ราชาคณะฝ่ายขวาพระวันรัตน ซึ่งสถิตอยู่วัดป่าแก้ว ในกำแพงกรุงศรีอยุธยา ๑ มีฐานานุกรม ๑๑ รูปสำหรับตำแหน่งยศพระครูอาจารย์ วงษาจารย์ญาณมุนีพระครูปลัด ๑ พระครูวินัยธร ๑ พระครูวินัยธรรม ๑ พระครูพรหมศร ๑ พระครูอมรสัตย์ ๑ พระครูธรรมคุต ๑ พระครูธรรมบาล ๑ พระครูญาณกิจ ๑ พระครูสงฆรักขิตร ๑ พระครูสมุห พระครูใบฎีกาเปน ๑๑ รูป มืพระราชาคณะเปนวัดขึ้น ๑๗ วัด พระธรรมโคดมวัดธรรมมิกราช ๑ พระธรรมไตรโลกย์วัดสุธาสวรรค์ ๑ พระธรรมเจดีย์อยู่วัดสวนหลวงสพสรรค์ ๑ พระโพธิวงศ์อยู่วัดสวนหลวงค้างคาว ๑ พระธรรมวิโรจน์อยู่วัดโพธาราม ๑ พระนารถอยู่วัดดุสิตาราม ๑ พระพุทธโฆษาอยู่วัดพุทธไธสวรรค์ยาวาศ ๑ พระวิเชียรเถรอยู่วัดชัยวัฒนาราม ๑ พระธรรมสารเถรอยู่วัดปราสาท ๑ พระญาณสมโพธิอยู่วัดป่าตอง ๑ พระอริยโคดมอยู่วัดแก้วฟ้า ๑ พระอริยวงศ์มุนีอยู่วัดวรเชษฐาราม ๑ พระอริยมุนีอยู่วัดราชบุรี นอกกำแพงพระนคร ๑ พระนิกรมอยู่วัดธงไชย ๑ พระนิโครธรญาณอยู่วัดลอดช่อง ๑ พระญาณรังษีอยู่วัดสาทติชน ๑ พระอริยธัชะอยู่วัดจงกรม ๑ รวมพระราชาคณะ ๑๑ องค์ ขึ้นเจ้าคณะฝ่ายขวาคามวาสีฯ

มีหัวเมืองปักใต้ขึ้นเจ้าคณะฝ่ายขวา ๔๗ เมืองคือเมืองสุพรรณบุรี ๑ เมืองนครไชยศรี ๑ เมืองสาครบุรี ๑ เมืองนครนายก ๑ เมืองปราจิณบุรี ๑ เมืองฉะเชิงเทรา ๑ เมืองสมุทรสงคราม ๑ เมืองราชบุรี ๑ เมืองกาญจนบุรี ๑ เมืองศรีสวัสดิ์ ๑ เมืองไชยโยค ๑ เมืองสมุทรปราการ ๑ เมืองชลบุรี ๑ เมืองบางละมุง ๑ เมืองระยอง ๑ เมืองระแส ๑ เมืองตราด ๑ เมืองทุ่งใหญ่ ๑ เมืองจันทรบุรี ๑ เมืองเพ็ชรบุรี ๑ เมืองชะอำ ๑ เมืองกุย ๑ เมืองปราณ ๑ เมืองอุทุมพร ๑ เมืองสวี ๑ เมืองประทิว ๑ เมืองบางสน ๑ เมืองไชยา ๑ เมืองนครศรีธรรมราช ๑ เมืองสงขลา ๑ เมืองพัทลุง ๑ เมืองตะกั่วทุ่ง ๑ เมืองตะกั่วป่า ๑ เมืองถลาง ๑ เมืองตระ ๑ เมืองตะนาวศรี ๑ เมืองมฤท ๑ เมืองสิงขร ๑ หลังเมืองสวน ๑ กรุงกำภูชาธบดี ๑ เมืองจอมปะ ๑ เมืองโขง ๑ เมืองขุขันธ์ ๑ เมืองป่าดงยาว ๑ เมืองสังข์ ๑ เมืองสุรินทร์ ๑ เมืองนครพนม ๑ รวม ๔๗ เมืองขึ้นแก่คณะฝ่ายขวา ซึ่งเรียกว่าเจ้าคณะใต้นั้น ก็ได้พระราชาคณะฝ่ายคามวาสี

เจ้าคณะเหนือฝ่ายซ้ายนั้น สมเด็จพระอริยวงศ์สังฆราชาธิบดีมีเครื่องยศ ตาลปัดแฉกพื้นตาดเทศสีทองยอดเปนรูปหน้าพรหม ๑ พาน พระศรีถมปัตเหลือง ๑ พระเต้าน้ำถมปัต ๑ บ้วนพระโอฐถมปัต ๑ ถาดสรงพระพักตร์ถมปัต ๑ บาตรแก้วฝาแลเท้าก็เปนแก้ว ๑ ถ้าถลกบาตรพื้นกำมะหยี่ลายทองหักทองขวาง ๑ ย่ามกำมะหยี่หักทองขวาง ๑ ไตรผ้าครองโปร่งปักไหม ๑ คานหามวอช่อฟ้า ๑ ม่านแพร ๑ พระกรดคันสั้นชุบสีผึ้ง ๑ เรือพระที่นั่งศรีเขียนทองพื้นแดง ลำ ๑ เรือพระที่นั่งเก๋งพังประพาษลำหนึ่ง มีฐานานุกรม ๔ รูป คือพระครูสดำมหันตปิฎกดิลกโลกาอาจารย์ญาณมุนี ๑ พระครูปลัดใหญ่ขวา ๑ พระครูเฉวียงปลัดซ้ายหนึ่ง ๑ พระครูวินัยธร ๑ พระครูวินัยธรรม ๑ พระครูเมธังกร ๑ พระวรวงษาพระครูสมุห ๑ พระครูใบฎีกา ๑ รวม ๘ รูป

พระพิมลธรรมอยู่วัดรามาวาส ๑ พระเทพกวีอยู่วัดพระราม ๑ พระพรหมมุนีอยู่วัดราชประดิษฐาน ๑ พระราชมุนีอยู่วัดภูเขาทอง ๑ พระปรากรมอยู่วัดหน้าพระเมรุ ๑ พระราชกวีอยู่วัดบวรโพธิ์ ๑ พระศรีสมโพธิ์อยู่วัดฉัตรทันต ๑ พระภากุลเถรอยู่วัดศรีอโยธยา ๑ พระญาณสิทธิอยู่วัดสังฆวาส ๑ พระอนุรุทธอยู่วัดท่าทราย ๑ พระโชติบาลอยู่วัดรากแค ๑ พระศรีสัจญาณมุนีอยู่วัดพระยาแมน ๑ พระธรรมวิโรจน์อยู่วัดกระษัตราวาส ๑ พระอภัยสารทอยู่วัดป่าใน ๑ พระอภัยสารอยู่วัดป่าฝ้าย ๑ พระญาณรักขิตรอยู่วัดสังกะทา ๑ พระไตรสะระณะธัชอยู่วัดตองปุ ๑ รวม ๑๗ ขึ้นคณะซ้าย

เจ้าคณะซ้ายมีเมืองฝ่ายเหนือขึ้น ๔๙ เมือง ตามพระวัดฝ่ายเหนือนั้น คือ เมืองธนบุรี ๑ เมืองนนทบุรี ๑ เมืองสามโคก คือ เมืองบัวทอง ๑ เมืองวิเศษไชยชาญ คือ เมืองอ่างทอง ๑ เมืองลพบุรี ๑ เมืองพรหมบุรี ๑ เมืองอินทบุรี ๑ เมืองสิงห์บุรี ๑ เมืองสรรค์บุรี ๑ เมืองชัยนาท ๑ เมืองอุทัยธานี ๑ เมืองมโนรมย์ ๑ เมืองนครสวรรค์ ๑ เมืองนครชุม ๑ เมืองบัวชุม ๑ เมืองกำพราน ๑ เมืองไชยบาดาล ๑ เมืองสระบุรี ๑ เมืองท่าโรง ๑ เมืองนครราชสีมา ๑ เมืองนางรอง ๑ เมืองพิมาย ๑ เมืองศรีเทพ ๑ เมืองเพชร์บูรณ์ ๑ เมืองพิจิตร ๑ เมืองหล่ม ๑ เมืองนครไทย ๑ เมืองษารการ ๑ เมืองพิษณุโลก ๑ เมืองพิชัย ๑ เมืองสุโขทัย ๑ เมืองสวรรคโลก ๑ เมืองบางโพ ๑ เมืองทุ่งยั้ง ๑ เมืองสวางคบุรี ๑ เมืองลับแล ๑ เมืองกำแพงเพชร ๑ เมืองระแหง ๑ เมืองตาก ๑ เมืองเชียงทอง ๑ เมืองเชียงเงิน ๑ เมืองเกิน ๑ เมืองจอมทอง ๑ เมืองนครลำปาง ๑ เมืองนครลำพูนไชย ๑ เมืองนครเชียงใหม่ ๑ เมืองหอก ๑ เมืองแพร่ ๑ เมืองน่าน ๑ รวม ๔๙ เมืองขึ้นคณะซ้าย ตำแหน่งยศพระสงฆ์ราชาคณะพระครูฐานานุกรม จำได้เท่านี้
 


ว่าด้วยเครื่องยศสำหรับศพ  
เครื่องราชอิศริยยศ สำหรับพระบรมศพพระเจ้าแผ่นดิน และสำหรับพระราชทานในการพระศพพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการฝ่ายหน้า ฝ่ายในที่มีความชอบ และตามตำแหน่งยศ แลพระสงฆ์ที่มีฐานันดรสมณศักดิ์ ได้รับพระราชทานนิตยภัตร ตั้งตำลึงหนึ่งขึ้นไปท่านทั้งนั้นสิ้นชีพมีเครื่องยศสำหรับศพตามบรรดาศักดิ์ สูงแลต่ำ คือพระบรมศพ พระเจ้าแผ่นดิน นั้น พระบรมโกษฎคลุมยอดเหมบุษบกทุ่มทรงเข้าบิณฑ์ มีเทพนม พรหมพักตร์พระโกษฎ จำลักลายกุดั่น กาพพรหมศรกรีบบุษบงบวรทำด้วยทองคำลงยาราชาวดีประดับเนาวรัตน์ ตั้งบนเบญจาใต้พระมหาเศวตฉัตร ๙ ชั้น มีเครื่องสูงเศวตฉัตรอภิรุมชุมสายพัดโบกจามร ชอนตะวัน บังสุริยัน บังแซกแซง ครบเครื่องสูงสำรับหนึ่ง เครื่องประโคมมีสังข์แตรงอน แตรลำโพง มโหรทึก กลองชนะทอง ๕๐ กลองชนะเลิศ ๕๐ กลองแดง ๑๐๐ จ่าปี่ จ่ากลอง ฆ้องไชยประโคมที่ว่านี้แต่พระบรมศพพระเจ้าแผ่นดิน อย่างนี้เท่านั้น

ถ้าเป็นพระศพ เจ้าฟ้า พระองค์เจ้า หม่อมเจ้า ราชตระกูลเชื้อพระวงศ์ต่างๆ นั้น ต้องยกเศวตฉัตร ๙ ชั้น อภิรุมชุมสาย เครื่องสูงสำคัญ ยกสังข์ ยกมโหรทึก ยกกลองชนะทองเงินออกเสียไม่ควรประดับศพให้คงไว้แต่เครื่องสูงตามสมควรกับยศศพนั้น แตรงอน แตรลำโพง กลองชนะแดง จ่าปี่ จ่ากลอง คงไว้ ตามควรแก่ศพบรรดาศักดิ์ ถ้าศพข้าราชการให้คงไว้ แต่เครื่องสูงตีพิมพ์ กับกลองชนะเขียว จ่าปี่ จ่ากลอง ตามควรแก่บรรดาศักดิ์ อนึ่งอย่างธรรมเนียมโบราณราชประเพณี กลองชนะตีประโคมศพมีเสียงเปนสองอย่าง ดังจะแสดงต่อไปนี้

ตั้งแต่พระบรมศพพระเจ้าแผ่นดิน และพระศพพระองค์เจ้า หม่อมเจ้า ราชนิกูลข้าราชการเชื้อพระวงศ์ ศพที่ว่ามานี้ กลองชนะต้องตีดังนี้ ๏ติงเปิง ครุบ – ติงเปิงเปิงครุบ – ติงเปิงเปิงเปิงครุบ อย่างนี้ เป็นการประโคมศพในราชนิกูล ถ้าศพสมเด็จพระสังฆราช และเจ้าพระยาเสนาบดี ข้าราชการทั้งหลายที่มิใช่ราชนิกูล เชื้อพระวงศ์ กลองชนะต้องตีดังนี้ ติง เปิง ครุบ ครุบ ครุบ-ติง เปิง เปิง ครุบ ครุบ-ติงเปิง เปิง เปิง ครุบ ครุบ ครุบ อย่างนี้เป็นการประโคมศพมิใช่ตระกูลเชื้อพระวงศ์

เครื่องยศสำหรับศพเอก ดังนี้ ๏พระโกษฎ ไม้สิบสอง สำหรับพระศพอย่างเอกตั้งแต่พระมหาอุปราช และพระอรรคมเหษี พระชนนี และพระบรมวงศ์ ผู้มีบันดาศักดิ์สูง แลพระเจ้าลูกยาเธอเท่านั้น พระโกษฎ ยอดทรงมณฑปนพสูร สำหรับพระศพอย่างโทเท่านั้น พระโกษฎแปดเหลี่ยมลายกุดั่น ยอดทรงมงกุฎ สำหรับพระศพอย่างตรีเท่านั้น พระโกษฎทั้งสามชนิดนั้นสำหรับพระศพพระองค์เจ้าในพระราชวังหลวงทั้งสิ้น พระโกษฎทั้งสามนั้นตั้งบนแท่นแว่นฟ้าสองชั้น มีเครื่องสูงเก้าคัน กลองชนะแดง ๕ คู่ แตรงอน ๑ คู่ แตรลำโพง ๑ คู่ จ่าปี่ ๑ จ่ากลอง ๑

พระราชบุตร พระมหาอุปราช ถ้าสิ้นพระชนม์ มีเครื่องยศสำหรับพระศพ ดังนี้ พระโกษฎหลังเจียด ย่อเหลี่ยม รับพระศพตั้งบนแท่นแว่นฟ้าทั้งสอง มีเครื่องสูง ๔ คัน กลองชนะแดง ๕ คู่ แตรงอน แตรลำโพงสิ่งละคู่ จ่าปี่ จ่ากลอง ๑ ประโคมศพ

พระองค์เจ้าไม่ได้เป็นพระราชบุตร พระเจ้าแผ่นดิน พระมหาอุปราช ถ้าสิ้นพระชนม์อย่างหนึ่งกับเจ้าประเทศราชใหญ่ ถึงพิลาไลยอย่างหนึ่ง ท่านเสนาบดี สมุหนายกกลาโหมถึงแก่อสัญกรรมอย่างหนึ่ง สมเด็จพระสังฆราช และสมเด็จพระวันรัตน์ ถึงแก่มรณะภาพอย่างหนึ่งศพ ๔ อย่างนี้ มีเครื่องยศสำหรับศพดังนี้ ๏โกษฎผลุงสี่เหลี่ยมตั้งบนแท่นแว่นฟ้าสองชั้นมีเครื่องสูงอย่างน้อยเจ็ดคันกลองชนะ ๔ คู่ แตรงอน ๑ คู่ แตรลำโพง ๑ คู่ จ่าปี่ ๑ จ่ากลอง ๑ เจ้าพระยาเสนาบดี จตุสดมภ์แลเจ้าพระยาสามัญ ถ้าถึงแก่อาสัญกรรม มีเครื่องยศสำหรับศพดังนี้ โกษฎผลุงสี่เหลี่ยม ตั้งบนแท่นแว่นฟ้า ๒ ชั้น มีเครื่องสูงอย่างน้อยหกคัน กลองชนะเขียว ๔ คู่ จ่าปี่ ๑ จ่ากลอง ๑

พระพิมลธรรม ๑ พระธรรมอุดม ๑ พระญาณสังวร ๑ พระมหาสุเมธ ๑ พระพุทธโฆษา ๑ พระพรหมมุนี ๑ พระธรรมเจดีย์ ๑ พระธรรมไตรโลกย์ ๑ พระธรรมราชา ๑ พระราชาคณะผู้ใหญ่ ๙ องค์นี้ ถึงมรณะภาพศพเข้าโกษฎ ถ้าพระราชาคณะสามัญ กับข้าราชการฝ่ายหน้าฝ่ายในที่มีความชอบก็สิ้นชีพ จะพระราชทานโกษฎนั้น ต้องโกษฎตู้สี่เหลี่ยมตั้งบนแท่นแว่นฟ้าชั้นหนึ่งมีเครื่องสูงตีพิมพ์แปดคัน กลองชนะเขียว ๕ คู่ จ่าปี่ ๑ จ่ากลอง ๑ เปนเกียรติยศ หม่อมเจ้าสิ้นชีพตัษสัย หีบทองทึบรับศพมีเครื่องสูงสามชั้นหกคัน กลองชนะเขียวสามคู่ จ่าปี่ ๑ จ่ากลอง ๑ เปนเกียรติยศในการศพ พระยา พระ พระราชาคณะ ท้าวนางอย่างเอก พระสนมเจ้าจอมมารดา พระสนมสามัญ ภรรยาเจ้าพระยา ภรรยาพระยาพานทองเหลี่ยม หม่อมราชวงศ์ทำราชการ ราชนิกูลเชื้อพระวงศ์ ท่านทั้งนี้ที่ออกชื่อมานั้น ถ้าถึงอนิจกรรม แลถึงแก่กรรมพระราชทานหีบทองทึบรับศพ พระยาช้าง หลวง ขุน หมื่น จ่า พันทนาย หุ้มแพรในตำแหน่ง ท้าวนางอย่างโท เฒ่าแก่ หม่อม พนักงาน ๑๒ กำนัน พระครู เปรียญ ท่านที่ออกชื่อมานี้ ถ้าถึงแก่กรรม ได้พระราชทานหีบเชิงชายลายทองทรงเข้าบิณฑ์รับศพ เป็นเกียรติยศ เครื่องยศสำหรับศพช้างเผือกแห่ไปฝังที่ปากคลองตะเคียน เรือข้าราชการเปนกระบวนแห่ มีธงประจำทุกลำรวมเรือแห่ ๑๐ คู่ เรือดั้งนำสามคู่ เรือคู่เคียงศพคู่หนึ่ง มีเครื่องสูงพร้อมสำรับหนึ่งมีกลองชนะแดงยี่สิบคู่ สังข์ ๑ คู่ แตรงอน ๔ คู่ แตรลำโพง ๔ คู่ จ่าปี่ ๑ จ่ากลอง ๑ ศพลอยน้ำ มีปรำผ้าขาวคลุมศพด้วย
 


กระบวนแห่พระบรมศพ    
กระบวนแห่พระบรมศพ มีม้าน่าริ้วคู่ ๑ แล้วมีธงต่าง ๆ แลมีเครื่องผ้าย่ามทำบุญแห่หน้าด้วย ถัดมามีรูปสัตว แรต รับบุษบกไฟ มีคันชิงหน้าแรตคู่ ๑ ถัดมารูปสัตว์ จตุบาททวิบาต รับบุศบกสังเฆศ แล้วถึงเทวดาถือดอกบัว แล้วจึ่งถึงรถพระสังฆราชสำแดงพระอภิธรรมคาถาหน้ารถพระสังฆราชนั้น มีมหาดเล็กนุ่งสองปักทองขาว สรวมเสื้อครุย สวมพอกเกี้ยว เชิญพระแสงดาบคู่ ๑ พระแสงหอก ๑ พระแสงง้าว ๑ พระแสงตรี ๑ เดินน่าหน้ารถพระสังฆราชฯ มีเครื่องสูง แตรสังข์กลองชนะประโคมข้างรถพระสงฆ์ มีขุนนางนุ่งสองปักลายทองขาวสวมเสื้อครุย สวมพอกเกี้ยว เดินเปนคู่เคียงซ้าย ๔ คน ขวา ๔ คน ถัดมาถึงรถโปรยข้าวตอกดอกไม้ และรถโยงพระภูษารถทั้งสองนั้นมีคู่เคียงแตรสังข์กลองชนะเหมือนดุจรถพระสังฆราชถัดมาถึงรถพระบรมศพ มีมหาดเล็กเชิญพระแสงน่าหน้ารถและขุนนางคู่เคียง เครื่องสูง แตรสังข์มีกลองชนะทอง ๕๐ เงิน ๕๐ แดง ๑๐๐ มโหรทึก ๒ คู่ หลังพระมหาพิชัยราชรถนั้น มีเจ้าพนักงานเชิญเครื่องราโซปโภคสำหรับพระบรมราชอิศริยยศพระเจ้าแผ่นดิน ถัดมาถึงรถพระโกษฎจันทน์ เปนพระที่นั่งรองถัดมาถึงรถพานทองรับท่อนจันทน์ รถพระโกษฎจันทน์ รถท่อนจันทน์ นั้นมีคู่เคียง และเครื่องสูงเหมือนรถพระบรมศพ ราชรถทั้ง ๗ นั้น เทียมด้วยม้ารถละ ๔ ม้า เปนธรรมเนียมแลรถทั้ง ๗ นั้นมีบุศบกยอดมณฑปทุกรถ ถัดมาถึงรถพระประเทียบ มีหลังคาช่อฟ้า ๑๒ รถ ในรถพระประเทียบนั้น มีเจ้าจอมพระสนมนุ่งขาวนั่งมาในรถตามพระบรมศพ ถัดมาถึงกระบวนสิบสองพระกำนัล นางข้างในเดินตามพระบรมศพ ถัดมาถึงกระบวนพระราชวงศานุวงศ์ ที่เปนชายทรงม้า ทรงเครื่องต้นตามพระบรมศพเปนคู่ๆ มาตามรัฐยาราชวัติ ฉัตรเป็นเบ็ญจรงค์รายทางแห่พระบรมศพ  


แบบอย่างการพระเมรุ เอก โท ตรี    
พระเมรุเอก เสายาว ๒๐ วา ขื่อยาว ๗ วา ทรงตั้งแต่ฐานบัดถึงยอดตรี ๔๐ วา มียอดปรางค์ใหญ่ ๑ ฐานปรางค์มีชั้นแว่นฟ้ารอบสองชั้น ถัดชั้นแว่นฟ้าลงมามีรูปพรหมภักตร์ประดับยอดฐานถัดมามีรูปเทพนมรอบ ถัดมามีรูปอสูรแบกฐานบัตรรอบฐาน ตามช่วงซุ้มคฤหะกุดาคารน้อยๆ นั้น มีรูปเทพสถิตยประจำอยู่ทุกช่วงซุ้มแลมุขคฤหกุดาคารใหญ่ เปนหน้ามุขซ้อนสองชั้นทั้งสี่มุขๆ นั้นมียอดปรางค์ย่อมๆ ตั้งอยู่บนหลังคามุขทั้ง ๔ ทิศ ที่เรียกว่าเมรุทิศนั้นที่ระวางมุขใหญ่ในร่วมมญฑปที่ย่อเก็จนั้น มียอดปรางค์ย่อมๆ ตั้งอยู่ตามระวางมุขนั้นทั้ง ๔ ทิศที่เรียกว่าเมรุแซก แล้วมีหลังคาใหญ่ซ้อนสองชั้น รองหลังคามุขทิศนั้นๆ เปนมุขยาวออกมาทั้ง ๔ ทิศ ที่อกไก่บนหลังคามุขยาวทั้ง ๔ ก็มียอดบลาลีตั้งเปนระยะห่างกันศอกหนึ่งเปนแถวไปทั่วทุกมุขใต้หน้าบรรณมุขนั้นเปนซุ้มคูหา ตามอกไก่แลเชิงกลอน มีครีบสิงห์ครีบครุฑทับหลังคาทั้งสิ้น ตามเชิงกลอนน้ำตก มีพวงมโหดโคมเพ็ชร ห้อยตามหน้ามุขใหญ่เล็ก แลมณฑปมีช่อฟ้าใบระกา หางหงส์ นาคสดุ้ง พร้อมสรรพางค์ ที่ย้ำเมรุมีมีช่องบัญชรทุกห้อง หลังบัญชรมีซุ้มเปนยอดมณฑปนพสูร หว่างบัญชรมีเสาย่อเก็จประกอบนอกฝา ต้นเสากาพย์พรหมศรกลางเสามีตาบประจำยามรัด ปลายเสาเปนกาพย์กลีบบัวทรงเครื่อง บนปลายเสามีทวยนาครับเชิงกลอน ยอดปรางค์แลหลังคาหน้ามุข ช่อฟ้าใบระกาบราลีผ้าหน้า บัญชรจรนำลำยอง ล้วนแต่หุ้มดีบุกทองน้ำตะโกทั้งสิ้นภายในพระเมรุเปนพื้นขาวเขียนลายทรงข้าวบิณฑ์เทพนม เพดานดาษผ้าขาวเขียนลายดาวทองเปนระยะทั่วไป บานพระบัญชรฝ่ายนอก เขียนลายรดน้ำทองน้ำตโกฝ่ายในเขียนรูปเทพบุตรเทพธิดา ในกลางพระเมรุมีพระเมรุทองยอดมณฑปนพสูรย์ สูง ๑๐ วา มีซุ้มคูหาหน้ารวงผึ้ง ครีบสิงห์ย้อยลงมาตามเสาเมรุทอง ที่ซุ้มคูหาหน้ามุขใหญ่ทั้งสี่ด้านนั้น มีม่านผ้าแดงรอยทองปิดบังแดดในระหว่างพระเมรุทองตั้งพระเบ็ญจาทองคำรับพระบรมโกษฎ ที่เพดานพระเมรุทองนั้น แขวนพระมหานพดลเศวตฉัตร์ตามชั้นพระเบ็ญจาตั้งเครื่องสักการบูชา แต่ล้วนพานทองคำรองรับพุ่มข้าวตอกดอกไม้ รอบฐานพระเบ็ญจามีรูปปักเปนเทวดานั่งพับพระนางเชิงถือเครื่องสูงทุกอย่างตามรอบฐานปูนภายนอก พระเมรุตามมุมระหว่างมุขทั้งสี่มีซุ้มมณฑปกินนรและเทพยดามุมละสองซุ้ม ตามชานพระเมรุตีแตะเรือกไม้ไผ่รอบพระเมรุที่สุดชานเรือกพระเมรุ มีราชวัติทึบแผงเขียนเรื่องรามเกียรต์ แล้วปักฉัตร์ทองนาคเงินอย่างละเก้าชั้น ปักรายไปตามราชวัติทึบรอบพระเมรุ หลังราชวัติทึบมีสามสร้างรอบพระเมรุ ที่มุมสามสร้างทั้งสี่ทิศ มีพระเมรุยอดปรางค์ทั้งสิ้นทุกทิศ กลางสามสร้างระหว่างเมรุทิศ เปนประตูๆ ทั้ง ๔ ด้านตรงกับมุขเมรุใหญ่ บนซุ้มประตูทั้ง ๔ ด้าน เปนพระเมรุยอดปรางค์ แง้มประตูเมรุภายนอก มีรูปอสูรกุมภัณฑ์ยักษ์ใหญ่ยืนถือกระบองรักษาประตู ประตูละคู่ ๔ ประตู เป็นยักษ์ ๘ ยักษ์ ภายนอกสามสร้างมีรูปสัตว์รับบุศบกสังเฆศรายตามหลังสามสร้าง รอบพระเมรุหน้าโรงรูปสัตว์มีราชวัติทรงเครื่องทำด้วยไม้จริงล้อมรอบสามสร้างหน้าราชวัติทรงเครื่องราชวัติมีไม้ไผ่แลปักฉัตร์เบ็ญจรงค์เปนระยะล้อมรอบพระเมรุอีกชั้นหนึ่ง หน้าราชวัติไม้ไผ่มีร้านหลังคาย่อมๆ ตั้งตุ่มน้ำให้ทาน ต้นพุ่มปักดอกไม้เพลิงปักล้อมรอบพระเมรุชั้นนอกอีกชั้นหนึ่งต้นกัลปพฤกษตั้งทั้ง ๘ มุมรอบพระเมรุ หน้าพระเมรุมีระธาใหญ่สำหรับดอกไม้เพลิงสูง ๑๒ วา สิบหกระธานั้นๆ มียอดมณฑปทั้งสิ้น ระหว่างระธามีโรงระบำ ๑๕ โรง หน้าระธาใหญ่มีเสาไม้สามต่อ ๑๒ ต้น เสาต่ายลวด ๔ ต้น เสาหกคะเมนเท้าชี้ฟ้า ๔ ต้น เสายืนลำแพน ๔ ต้นรวมเปน ๑๒ ต้น หน้าเสาไม้สามต่อมีไม้ลอยลวด เลอลวดลังกา มีคมดาบค้อนนอนหอกดาบลอดบ่วงเพลิง กะอั้ว แทงควาย กุลาตีไม้ โมงครุมการเล่นอีกหลายอย่างต่างๆ แลมี โขน หุ่น งิ้ว ละคร สิ่งละสองโรง ละครชาตรี เทพทอง มอญรำ เพลงปรบไก่ เสภา เล่านิยายอย่างละโรง พระเมรุเอกมีอาการดังกล่าวมาแล้วนั้น

พระเมรุโท ชื่อห้าวา เสายาว ๑๗ วา ระธาใหญ่สูง ๑๐ วา ๑๔ ระธา มียอดมณฑปเหนือสองระธา ใต้สองระธา กลาง ๑ ระธา เปนยอดป้อมยอด ปรางค์ทิศแซกไม่มีหลังคาสี่มุข บลาลีไม่มีหน้าพรหมภักตร์ รอบยอดปรางค์ใหญ่ไม่มีพระเมรุทองสูง ๗ วา อยู่ภายในเมรุใหญ่ พระเมรุตรี ขื่อ ๔ วา เสา ยาว ๑๙ วา ระธาใหญ่ ๑๒ คัน สูง ๘ วามียอดป้อมทั้งสิ้น ปรางค์ยอดทิศแซกไม่มี พรหมภักตร์รูปสัตว์ไม่มี ยักษที่ประตูไม่มี พระเมรุทองภายในไม่มี เมรุทิศเปนยอดนพสูรย์ ซุ้มประตูเปนยอดนพสูรย์ ซุ้มเทวดาไม่มี  


พระราชพิธีลงสรงเจ้าฟ้า
เจ้าพนักงานจัดกระบวนแห่ แลตั้งพระราชพิธีบนพระที่นั่งสรรเพ็ชรมหาปราสาทแล้วผูกแพไม้ไผ่มาประทับที่หน้าพระฉนวนน้ำประจำท่าวาสุกรี บนแพไม้ไผ่นั้น มีพระมณฑปทำด้วยไม้อุทุมพรหุ้มผ้าขาวระจังแลกรอบปิดทองตั้งอยู่กลางแพไม้ไผ่ มีกรงที่สรงอยู่ในพระมณฑป กรงนั้นปูด้วยกระดานล้อมด้วยซี่กรงชั้นหนึ่ง ตารางไม้ไผ่ชั้นหนึ่ง ร่างแหชั้นหนึ่งผ้าหุ้มนอกอีกชั้นหนึ่งมีกระดานเรียบรอบนอกเสมอพื้นกรง พอคนลงไปยืนได้ในกรงนั้น ก็กรุผ้าชั้นล่างข้างกรงมีบันไดเงินบันไดทอง ด้านเหนือ ด้านใต้ ด้านตะวันออกริมพระฉนวนน้ำนั้น เป็นอัฒฐจรรย์ลงไป เรียกว่าบันไดแก้ว ด้านข้างตะวันตกตั้งเปนพระแท่นสองชั้นสำหรับเปนที่สรงน้ำมุรธาภิเศกในกรงนั้นมี กุ้ง ทอง นาค เงิน แล ปลา ทอง นาค เงิน มีมะพร้าวงอกคู่หนึ่งปิด ทอง เงิน มีผ้ารอบพระมณฑป มีฝารอบพระมณฑปมีซุ้มประตูซุ้มประตู ๔ ทิศมีราชวัตรฉัตรทองล้อมพระมณฑปชั้นหนึ่ง ราชวัตรฉัตรนาคชั้นหนึ่ง ราชวัตรฉัตรเงินชั้นหนึ่ง พราหมณ์ตั้งโต๊ะรองน้ำสังข์ น้ำกรดบูชาถวายชัยสี่มุมกรง ราชวัตรชั้นกลางมีทหารนั่งถือทวนด้ำหุ้มทองสามด้านๆ ละ ๑๐ คน หว่างราชวัตรชั้นนอกมีทหารนั่งถือดาบถือโล่ห์สามด้านๆ ละ ๑๕ คนทหารถือดาบนั่งรายริมแพนอกราชวัตรสามด้านๆ ละ ๑๖ คน ทหารถือดาบอยู่ในริมแพสามด้านๆ ละ ๑๖ คน ทหารถือปืนคาบศิลา อยู่นอกราชวัตรด้านเหนือแปดคน มีเรือบันลังก์ประทับหน้าพระฉนวนน้ำวาสุกรี แล้วมีเรือพิฆาตเขียนรูปสัตว์ต่างๆ มีเรือดั้ง เรือกัญญา เรือกระบี่ เรือครุฑ เรือรูปสัตว์ เรือไชยรวม ๑๐๐ ลำ ทอดทุ่นเหนือน้ำท้ายน้ำรายรอบล้อมวงพลพายสวมเสื้อแดงสวมหมวกแดง มีเรือหมอจรเข้ เรือทอดแหอยู่ในที่ล้อมวง

กระบวนแห่ญการเล่นต่างๆ ก็เหมือนกันกับการพระราชพิธีโสกัณฑ์เจ้าฟ้าแล้วเจ้าพนักงานก็จัดกระบวนแห่หน้าหลังทั้งปวงพร้อม คือ จัดเอาบุตรพระยา พระหลวง ๒๐๐ คน แต่งตัวพรรณนุ่งสองปักลายทองขาวเสื้อครุยสำริดทอง สวมพอกเกี้ยว แต่งเป็นเทวะเสนาเดินกระบวนหน้า ๔ แถวๆ ละ ๕๐ คน รวม ๒๐๐ คน แลมีนางงามเชิญพระมยุระแซ่คนหนึ่งเดินน้ำหน้าพระยานนุมาศ แลมีกระบวนพลถือสังข์แตร จ่าปี่กลองชนะมโหรทึกเดินไปข้างหน้าแต่ล้วนแต่งตัวใส่กางเกงแดง ห่มเสื้อแดง ใส่หมวกตุ้มปี่แดง แล้วมีกระบวนมยุรฉัตรเศวตฉัตร ขนัดอภิรุมชุมสายพรายพรรณกลดกลิ้งกรรเชิง ธงทิวปลิวไสวไพโรจน์ตามราชประเพณี แต่กระบวนหลังนั้นมีนางเชิญเครื่องราโชปโภคครบตามตำแหน่ง แต่งตัวแต่ล้วนเครื่องขาวทุกคน ถัดมามีกระบวนนางสะ ๒๐๐ คน แต่งตัวแต่ล้วนเครื่องขาวทั้งสิ้น เดินกระบวนหลังสี่แถวๆ ละ ๕๐ คน รวม ๒๐๐ คน ครั้นแต่งกระบวนแห่พร้อมเสร็จถึงพระฤกษ์มงคลวาร สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าดอกมะเดื่อ สอดทรงเครื่องราชกุมารอาภรณ์พร้อมเสร็จ เสด็จขี้นทรงพระที่นั่งพุดตาลยานนุมาศ สพรั่งพร้อมด้วยราชบริวาร กระบวนแห่ทั้งหลายจึ่งแห่แหนเสด็จมาตามรัฐยาราชวัตรเสด็จมาฟังพระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ที่พระที่นั่งสรรเพ็ชรมหาปราสาท ในเวลาเย็นครบทั้งสามวันครั้นรุ่งขี้นวันที่สี่ เวลาเช้าแบ่งพระสงฆ์ในพระราชพิธีลงไปคอยสวดไชยมงคลที่ทิมสรงท่าน้ำ ๑๕ รูป แล้วแห่ลงไปประทับที่เกย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวคอยรับพระกรอยู่บนเกย ขุนนางราชนิกุลรับต่อพระหัตถ์จูงพระกรมาประทับที่พระพลับพลา เปลื้องเครื่องทรงผลัดเครื่องขาว แล้วพระราชวงศานุวงศ์ผู้ใหญ่ก็จูงพระกร สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าตามเสด็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวลงสู่พระมณฑป พระกระยาสนาน เสด็จประทับอยู่บน พระเก้าอี้ในราชวัตรสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าประทับอยู่บนเบาะขาวริมพระเก้าอี้ พระมหาราช ครูพราหมณ์ปล่อยกุ้งทอง กุ้งนาค กุ้งเงิน สี่มุมกรงลอยมะพร้าวลงในพระกรงพระโหราลอยบัดตามสายน้ำ พอได้อุดมฤกษ์โมงหนึ่งกับสามบาท เจ้าพนักงานก็ลั่นฆ้องไชย ประโคมยิงปืนสัญญาหน้าเรือขึ้นพร้อมกัน พระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอุ้มสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าอัฒจรรยบันใดแก้ว เจ้าฟ้ากรมขุนสุเรนทราพิทักษ์ ลงอยู่ในกรงรับต่อพระหัตถ์แล้วสรงด้วยมะพร้าวในกรงก่อนแล้ว ยกเสดจขึ้นบนพระแท่น สรง พระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานน้ำสงข์ทักษิณาวัตร สมเด็จพระสังฆราชประพรหมน้ำพระปริต พระราชวงศ์ชั้นผู้ใหญ่สรงน้ำประทุมนิมิตรพราหมณ์ถวายน้ำสังข์น้ำกรด

ครั้นเสด็จการสรงกระยาสนานแล้ว เสด็จมาทรงเครื่องอย่างเทศที่พลับพลาพักกระบวนแห่ก็ผลัดเครื่องแดงแห่กลับคืนไป ไม่ได้แวะพระมหาปราสาทเลยเข้าประตูไชยมงคลไตรภพยนต์ ขึ้นสู่พระมหามณเฑียรเปลื้องเครื่อง แล้วสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตามกระบวนแห่ขึ้นมาแวะที่พระที่นั่งสรรเพชญ์มหาปราสาท ทรงประเคนอังคาตพระสงฆ์หาภัตตากิจเสร็จแล้ว สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าครั้นเปลื้องเครื่องเสร็จแล้ว เสด็จมาทางในพระราชวังขึ้นประตูหลังพระมหาปราสาท ทรงถวายผ้าไทยธรรมพระสงฆ์ แล้วเสด็จกลับเข้าในพระราชวังตามทางใน ครั้นเวลาบ่ายแห่มาสมโภชเวียนเทียน รับพระสุพรรณบัตรที่พระที่นั่งสุริยมรินทรมหาปราสาท เจ้าพนักงานตกแต่งบายศรีแก้ว บายศรีทองบายศรีเงิน ตั้งเตียงหน้าบายศรี สำหรับทรงนั่ง ห่างพระแท่นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สามศอก คือ หกนิ้ว ครั้นเวลาบ่ายก็ตั้งกระบวนแห่ออกมาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้จูงพระกรสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าทรงขึ้นพระราชยานแล้ว ก็เสด็จมาทางในพระราชวัง คอยรับพระกรอยู่ที่เกยหน้าพระที่นั่งสุริยามรินทรมหาปราสาท กระบวนแห่มาถึงแล้ว ก็ทรงรับเข้าไปในพระที่นั่งสุริยามรินทร ให้เสด็จขึ้นสถิตย์บนเตียง ได้ฤกษ์บ่ายสองโมงหกบาตก็พระราชทานพระสุพรรณบัตรจารึกพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าอุทุมพรบวรราชกุมาร แล้วชาวประโคมก็ประโคมเวียนพระเทียนแล้วก็แห่กลับ ครั้นรุ่งขึ้นเวลาบ่ายแห่มาสมโภชอีกสองเวลา เป็นสามเวลาด้วยกัน การลงสรงครั้งนั้น ก็เหมือนอย่างโสกันต์ทุกสิ่งทุกประการ ผิดกันอยู่แต่ที่มีกรงลงสรงแทนเขาไกรลาศเท่านั้น



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 มิถุนายน 2562 16:15:59 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 19 มิถุนายน 2562 14:58:02 »

.



คำให้การขุนหลวงประดู่ทรงธรรม
เอกสารจากหอหลวง
(อักขรวิธีใช้ตามต้นฉบับ)

พิธีโสกันต์เจ้าฟ้า
พระฤกษ์โสกันต์ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าอุทุมพรบวรราชกุมาร โปรดให้ทำเขาไกรลาศขึ้นที่ท้องสนามในหน้าพระที่นั่งวิหารสมเด็จมหาปราสาท สูงเจ็ดวามีมณฑปยอดเขา มีราชวัตรฉัตรเครื่องสูงล้อมมณฑป ในพระมณฑปยอดเขาตั้งระย้ากิ่งทองคำมีกิ่งข้างล่างหกกิ่งนั้นเป็นรูปเทพธิดาถวายกร ชั้น ๒ สี่กิ่งทำเป็นรูปเทพบุตรถวายกรมีภู่กลิ่นทองคำห้อยทุกกิ่ง ชั้น ๓ เป็นโกฎทองคำลงยาราชาวดี บรรจุพระบรมธาตุเรียกว่าระย้าฉัตรไชยสำหรับตั้งในการพระราชพิธีใหญ่ๆ ที่มีเทียนไชยข้างมณฑปใหญ่มีมณฑปน้อยสองข้างตั้งพระไชยน้อยซ้ายขวา พระสิหิงค์ เป็นประธานมีเครื่องทรงนมัสการโต๊ะราม ๔ ขา พานสองชั้นเครื่องหนึ่ง มณฑปน้อย เหนือตั้งพระอิศวรพระอุมา พระพิฆเนศวรมณฑป ใต้ตั้งพระนารายน์ พระลักษณมี พระมเหศวรมีเครื่องทรงนมัสการทั้งสองแห่ง ในพระมณฑปใหญ่ มีม่อน้ำมนต์ศิลาอ่อนตั้งน้ำพระปริตมีพระสงฆ์สวด ๕ รูปมณฑป ๔ มุมมีรูปหุ่นเครื่องทองคำทั้ง ๔ มุมมณฑป มีสระอโนดาษแลท่อไขน้ำออกจากปากสัตว์ทั้ง ๔ คือราชสีห์ โค ช้าง ม้า แลรูปสัตว์จตุบาททวิบาทในป่าพระหิมพานต่างๆ หลายอย่าง พระยาครุทและกินนรพระยานาค พระยาช้างอัฐทิศซึ่งสถิตอยู่ตามทิศเชิงเขาเมรุมาศ ประดับแต่งไว้ในบริเวณทุกสิ่งทุกประการ ครั้นการเสร็จแล้วเมื่อเวลาบ่ายตั้งกระบวนแห่เครื่องขาว เกณท์จตุสดมภ์และมุขมนตรี ที่ได้รับพระราชทานพานทองเป็นเครื่องอิศริยยศ เป็นคู่เคียงแห่ไปฟังพระสงฆ์เจริญพระปริตที่พระที่นั่งสรรเพชรปราสาท รุ่งขึ้นเวลาเช้าพระฤกษ์ได้โสกันต์บนพระที่นั่งสรรเพชรมหาปราสาท เนื้อผ้าที่ปักเป็นรูปราชสีห์มีเทพชุมนุมแล้วเสด็จกลับลงไปสรงน้ำสระอโนดาษ ไหลออกจากปากสัตว์ทั้ง ๔ ครั้นสรงแล้วก็ทรงผลัดที่พลับพลาน้อยทิศหรดีทรงภูษาจีบเขียนลายทอง ฉลองพระองค์คลุมเฉวียงพระอังษา เจ้าพระยาอรรคมหาเสนาบดี เจ้าพระยาอภัยมนตรี จูงพระกรคนละข้างเสด็จขึ้นไปทางปัจจิมทิศบนพระมณฑปยอดเขาไปเฝ้าพระอิศวร ครั้งนั้นเจ้าฟ้านาคราช กรมขุนพลาศินีแต่งพระองค์ทรงเครื่องเป็นพระอิศวรประทานน้ำมหาสังขทักษิณาวัตรแล้วประทานเครื่องบนมณฑป เสร็จแล้วอรรคมหาเสนาบดีผู้ใหญ่ทั้งสองเชิญเสด็จกลับลงมาทางบันใดทางทิศทักษิณ กระบวนแห่ก็ผลัดเครื่องแดงทั้งสิ้นเสด็จประทับที่เกย พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็เสด็จส่งขึ้นพระที่นั่งพุดตาลตามโบราณราชประเพณี โสกันต์เจ้าฟ้าแห่เวียนประทักษิณเขาไกรลาศสามรอบแล้ว ก็แห่เช้าในพระราชวังทางประตูไชยมงคลไตรภพชนม์ ครั้นเวลาบ่ายตั้งบายศรีแก้วบายศรีทอง บายศรีเงินแห่เครื่องแดงไปสมโภชเวียนพระเทียนบนพระที่นั่งบรรยงก์รัตน์นาศน์มหาปราสาท เสด็จนั่งเหนือพระแท่นราชาอาศน์ ปักเป็นรูปราชสีห์เวียนเทียนแล้วก็แห่เสด็จกลับเข้าไปพระราชวัง โดยทางประตูพิมานมงคลข้างศาลาลวดเวลาบ่ายก็แห่มาสมโภชอีกสองวัน เป็นสามเวลา พระราชทานเงินทองเป็นของสมโภช แล้วพระราชวงศานุวงศ์ เสนาบดี ก็พากันสมโภชตามผู้ใหญ่ผู้น้อย ครั้นวันสุดท้ายแห่ผอบซึ่งไว้พระเกษา เป็นกระบวนเรือลงไปลอยน้ำที่ท้ายวัดไชยวัฒนาราม ตามที่ได้จดจำไว้ได้แต่เท่านี้


เรื่องพระพิไชยเสนา เป็นตำราสำหรับข้าราชการควรประพฤติ
สมเด็จพระผู้มีพระภาคย์ ทรงพระนามว่าดังนี้ สมเด็จพระบรมนารถศาสดาจาริย์ญาณะพิชิตมารโมลีศรีสรรเพชร พระองค์เสด็จสถิตย์เหนือรัตนบรรลังก์ในโรงธรรมภาคย์ศาลา ณ มหาวรวนาราม ทรงพระมหากรุณาตรัสพระสัทธรรมเทศนา พระราชทานสั่งสอนวิไชยเสนานุวัตแก่เสนาบดี ด้วยพระสารพระคาถาเป็นไนยะ พระอาจาริย์ผู้ประกอบด้วยความกรุณาจิตรแก่เสนาบดี กุลบุตรซึ่งจะมาอุบัติภายหน้า ท่านจึงสาทกยกข้ออธิบายตามวาระพระพุทธฎีกาเป็นเอกเทศดังนี้มี ๒๕ ข้อเป็นมาตรา

ข้อ ๑ ผู้เป็นเสนาบดีมีปรีชาสามารถให้ตั้งอยู่วิริยะ เพียรภักดีซื่อตรงต่อพระบวรพุทธศาสนาแลพระมหากษัตริยาธิราชสมณพราหมณาจาริย์ ประชาราษฎร์เป็นต้น และให้คิดตั้งจิตรทำนุบำรุงพระเกียรติยศพระเจ้าแผ่นดิน ให้ถาวรขจรฟุ้งเฟื่องไปโดยทิศนุทิศ จงหมั่นตรวจตราราชกิจสนองพระเนตรพระกรรนดังพระราชหฤทัย แห่งพระมหากษัตริย์ ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ จงลงใจในราชการโดยยุติธรรมตามแบบโบราณราชประเพณีให้รุ่งเรืองสืบไป

ข้อ ๒ ผู้เป็นเสนามาตยาธิบดี จงตั้งจิตรอยู่ในพระรัตนตรัยาธิคุณ หมั่นรักษาอุโบสถศีลและเบญจศีลต้องรักษาเป็นนิจ หมั่นสดับพระสัทธรรมเทศนา เพื่อจะได้เป็นปัจจัย เป็นทางสุนทรอันประเสริฐ แล้วต้องปราศจากทุจริตจิตรในสันดานเสีย จึงตั้งจิตรอยู่ในสุจริตธรรมสามประการ กายวจีใจ สุจริตเจริญแล้วในอารมณ์ สติ ปัญญา ก็อาจสามารถเห็นทุขภัยของนรชน แลมหาภัยพิบัติในอิทโลกย์ประโลกย์ ปัญญาก็จะรุ่งเรืองระงับความร้อนได้ในครั้ง ๑ ก็จะเป็นที่พี่งของจตุบรรพสัตว์สืบไปในราชอาณาจักร

ข้อ ๓ ผู้เป็นเสวะกามาตย์ราชปรินายกพึงให้คำรพ กตัญญูต่อ บรมมิตร ทั้ง ๑๐ ประการ คือ พระพุทธเจ้า ๑ พระปัจเจตโพธิ์เจ้า ๑ พระธรรมเจ้า ๑ พระอริยสงฆ์ ๑ พระมหากษัตริย์ ๑ บิดา ๑ มารดา ๑ เชษฐา ๑ ญาติผู้ใหญ่ ๑ ผู้มีศีล ๑ บัณฑิต ๑ เป็น ๑๐ ประการ ควรเคารพ*

๔ ผู้เป็นราชบุรุษสมมติเสนาบดี ให้รอบรู้ศิลปศาสตร คุณอธิปรีชาสามาตย์ องอาจทราบในไตรศาสตรพิไชยสงคราม แลความรู้ตามขนบธรรมเนียมราชกิจทุกประการ แลเครื่องศาสตราวุธยุทธนา ตระเตรียมรักษาพระนครจงจัดไว้ให้พร้อม และธัญญาหารเครื่องอุปโภคสำหรับทหารหาไว้อยู่ให้พร้อม และทหารหมั่นฝึกหัดเพลงอาวุธให้ชำนาญการยุทธนา ช้าง ม้า โค กระบือ เกวียนต่างๆ จัดไว้โดยปรกติ เมื่อมีข้าศึกภายในภายนอกมา จะได้สู้รบทันท่วงทีข้าศึก ไม่เสียเปรียบลงใจในการรักษาพระนครสิ่งนี้

ข้อ ๕ ผู้เสวะกาตมาตย์ราชมนตรี พึงมีใจโอบอ้อมอารี เลี้ยงดูหมู่จตุรงค์พระยุหะทั้ง ๔ หมู่ให้รื่นเริงกล้าหาญชำนาญรบ คือพลช้าง พลม้า พลรถ พลเดินเท้า ซึ่งเป็นพาหนะพระมหากษัตริย์ให้เลี้ยงจตุรงค์ทั้ง ๔ หมู่นี้มีกำลังไว้เสมอ ข้าศึกภายนอกภายในก็ยำเกรง ถึงมาทว่าจะมีศึกสงครามมาก็จะรักษาพระนครเป็นสุขได้ถ้ามีเหตุควรจะยาตราไปประจันรณรงค์ด้วยอรินราชภัยรีย์ โดยทิศานุทิศก็จะเอาชัยชนะได้โดยเร็ว เหตุที่ประพฤติมิได้ประมาท แลกำลังจตุรงค์พลสปรียบูรณ์พร้อมมูลอยู่

ข้อ ๖ ผู้เป็นมุขมนตรีพึงให้วิจารณะด้วยปัญญาอันสุขุมให้พึงรู้กำลังตนกำลังท่าน กำลังปัญญา กำลังพาหนะ ให้รอบรู้จักคุณานุรูปฐานานุรูปแห่งทหารไพร่พลทั้งหลาย ว่าบุคคลผู้นั้นมีคุณอย่างนั้นคนโน้นมีคุณอย่างนี้ และให้ไกรตราตรึกตรองตรวจดู หมู่พิริยะโยธาพลากรทั้งปวงว่าผู้นี้มีกำลัง ผู้นี้หากำลังมิได้ ผู้นี้มีคุณวุฒิ ผู้นี้หาคุณวุฒิมิได้ ผู้นี้มีศิลปศาสตร์ ผู้นี้หาศิลปศาสตร์มิได้ ผู้นั้นผู้นี้มีคุณศิลปศาสตร์จะควรกับอาการอย่างไร ให้พึงแจ้งทุกประการ จะได้ชุบเลี้ยงผู้นั้นตามสมควรกับความดีและกำลังผู้นั้นๆ คนทั้งหลายเหล่านั้นก็จะมีน้ำใจประกอบในราชกิจยิ่งๆ ขึ้นไป ไม่ได้คิดโทรมนัสน้อยใจต่อราชการ

ข้อ ๗ ผู้เป็นมาตยาธิบดีมนตรี ให้พึงตรึกตราอย่ามีอาฆาตพยาบาทแก่ผู้น้อย ถ้าเห็นเหตุผู้น้อยมีพยศร้ายก็ให้ทรมานพยศร้ายผู้นั้นให้ราบคาบเป็นอันดี ดุจนายสารถฝึกสอนม้า ถ้าผู้นั้นยังไม่ละพยศร้าย ยังกระด้างกระเดื่องอยู่ไซร้ ให้ขับไล่ผู้นั้นเสีย ฤๅจะลงทัณฑกรรมตามอาญา ก็ตามแต่โทษานุโทษ ให้พึงปลงใจว่าเป็นผลวิบากสัตว์เอง

ข้อ ๘ ผู้เป็นเสนามาตยาธิบดีพึงมีด้วยคำอันไพเราะอ่อนหวาน จะเจรจากับผู้น้อยและผู้ใหญ่ให้ไพเราะห์ตามควรเมื่อกิจนั้น กิจทั้งหลายก็อาจสำเร็จโดยประสงค์ มาทว่าจะใช้ไปในป่าดงทางกันดานก็อาจสามารถจะไปได้เพราะวาจา

ข้อ ๙ ผู้เป็นเสนาบดีพึงให้รู้จักลักษณะอังคาพยพแห่งพระนครทั้งสี่ประการ คือ จักษุพุงไส้เอ็นแห่งพระนคร จักษุคือบัณฑิตปราชญ์ โหราจาริย พุงคือพ่อค้า พานิชที่ประกอบกิจค้าขายให้กำลังพระนคร ไส้คือนรเสรษฐีผู้มีทรัพย์ สำหรับพระนครจะได้เจริญ พระนครคือมุขมนตรีมาตยาธิบดีพิริโยธาทวยหารรักษาพระนครให้เจริญ สี่อย่างนี้คืออังคาพยพสี่ เป็นเครื่องประดับพระนครให้เกษมสุขบริบูรณ์วัฒนาการ ผู้เป็นเสนาบดีพึงจงมีใจโอบอ้อมอารี ทำนุบำรุงอังคาพยพสี่ให้บริบูรณ์ พระนครจึงจะวัฒนาถาวรได้มั่นคง

ข้อ ๑๐ ผู้เป็นปรินายกมนตรีพึงแสวงหาฉบับตำหรับราชประเพณีไว้ทำนุบำรุงพระนคร ให้เกษมสุขดังโบราณ อนึ่งฉบับขนบธรรมเนียมประเพณีโบราณสำหรับพระนคร ให้ทำนุบำรุงไว้ให้ปกติให้ดีอย่าให้สาปสูญ ล้างราชประเพณีโบราณได้ จะไม่เป็นที่ชอบใจแก่คนพลเมืองเป็นอันมาก

ข้อ ๑๑ ผู้เปนเสนาบดีให้พึงพิจารณาดูประชาราษฎร ประพฤติกิจการงานสิ่งใดที่เป็นประโยชน์แก่ปัจจุบันแลประโลกย์ ก็จึงเตือนให้กระทำให้ยิ่งๆ ขึ้นไป ให้ลดภาษีอากร ให้ล่อใจคนให้ทำมากขึ้น ถ้าไพร่ฟ้าประชาราษฎรประพฤติการงานไม่เปนประโยชน์แก่ปัจจุบันแลประโลกย์ ก็ให้ห้ามปรามเสียด้วยคำดี หรืออาญาตามควร

ข้อ ๑๒ ผู้เปนเสนาบดีถืออาญาสิทธิ์ของพระเจ้าแผ่นดินให้พึงพิจารณา ถ้าผู้ใดมากล่าวความประการใด ได้ฟังก็อย่าเชื่อคำนั้นก่อนให้สอบสวนดูจงดี

ข้อ ๑๓ ผู้เปนเสนาบดีจะวินิจฉัยตัดสินความราษฎรต้องตั้งใจให้เปนธรรม ใจปราศจากอคติสี่ประการ ฉันทา โทษา โมหา ภยา คือปราศจากการโลภอย่าเห็นแก่อามิศ สินบน สินจ้าง ทำใจให้เป็นกลางดังตราชู แลปราศจากพยาบาทอาฆาตจองเวรแก่ผู้มีคดีทั้งสองฝ่าย ตั้งใจเป็นกลางดังคนมาต่างเมืองหารู้จักไม่ ดุจดังเขาเมรุ แลตั้งจิตรให้องอาจแก่ความยุติธรรม จะตัดสินความของผู้ใดก็ตัดสินตามพระราชกำหนดกฎหมายแผ่นดินโบราณ อย่าเกรงว่าท่านผู้นั้นมีบรรดาศักดิ์ และมีบุญคุณมียศ มีลาภ อย่าถือว่าญาติแลมิตร จงตัดสินตามยุติธรรมจึงจะควร เสนาบดีประพฤติได้ดังนี้ ก็จะเป็นที่พึ่งแก่ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน ดุจปริมณฑลพระศรีมหาโพธิมีคุณแก่แผ่นดินหนัก

ข้อ ๑๔ ผู้เปนเสวะกามาตยาธิบดีจงประพฤติน้ำจิตรให้เปนปฏิภาคมัทยัตถ้าอ่อนหนักมักเปนที่ตระหนกตกใจ ไพร่พลผู้พึ่งพาว่าปลาดนัก ก็จะเปนที่ติเตียนดูหมิ่นดูถูก เสียเกียรติยศ ศักดานุภาพก็เสื่อมจะลงหนัก ถ้าองอาจกล้าแข็งแรงร้ายกาจหนักไพร่พลทั้งปวงก็จะกริ่งเกรงเข็ดขาม ไม่อาจสามารถจะเข้าสู่สมาคมสโมสรได้ ก็จะถดถอยเกียรติยศ เพราะหากำลังพาหนะมิได้ ให้ประพฤติกิจตั้งจิตรเปนทุติยะมัชชิมาปานกลางไม่คลาดไม่คลา ดุจสายพิณเส้นกลางไพเราะหนักจงมัทยัตดุจดังกล่าวนั้นควรหนัก

ข้อ ๑๕ ผู้เป็นเสนาบดีมิอำนาจถืออาชญาสิทธิ์ อาชญาจักรเปนอธิบดี ถ้าแม้นมุขมนตรีพิริยะโยธามาตยทหารแลไพร่พลทั้งปวงที่อยู่ในบังคับบัญชานั้นไซร้ ถ้าพลั้งพลาดผิดในราชการมหันตโทษแลอุกฤษฐโทษ แลมัชชิมะโทษให้มีจิตรกรุณาถ้าผู้นั้นผิดแต่ครั้ง ๑ ถ้าโทษเปนมหันตะโทษให้ลงแต่โทษมัชชิมะ มัชชิมะโทษให้ลงแต่ลหุโทษฤๅลหุโทษให้พากฑันฑ์ไว้ครั้งหนึ่งก่อนสั่งสอนกำชับขู่ลู่ดี ถ้าผู้ผิดเปนคนสุระทะนงองอาจมิฟังคำสั่งสอนไซร้ ยังขืนกระทำความผิดสืบต่อไปเปน ๒-๓ ครั้งอีกเล่า ครั้นจะลดงดหย่อนผ่อนโทษอีกผู้ผิดนั้นก็จะมีใจกระทำความชั่วเหิมฮึกไปอีกเล่า คนอื่นที่ดีที่ชั่วก็จะดูเยี่ยงอย่างกันต่อไปจะไม่เข็ดขามขยาด ราชอาณาจักรจะเสื่อมเสีย ธุระสิงหนาทราชบัญญัติพระมหากษัตริย์ควรลงโทษานุโทษตามยะถากรรมของสัตว์ผู้ผิด ถ้าผู้ทำผิดคิดหาความชอบมาก่อกู้ตัวไซร้ให้ดีก็อย่าผูกไพรีอาฆาตแก่ผู้นั้นต่อไปให้มีรางวัลบำเหน็จบำนาญ ตามสมควรแก่ความชอบ จึ่งจะควรด้วยความยุติธรรมราชประเพณีสืบไป

ข้อ ๑๖ ผู้เป็นเสนาบดีปรีนายกให้พึงหมั่นตรึกตราด้วยธรรมดาผูกช้างด้วยปลอกให้มั่นคงจะชอบกับการจะผูกใจมนุษย์ทั้งหลาย ต้องใช้ไมตรีจิตรเปนต้นให้ผู้ที่มาสู่สำนักที่ตนตั้งอยู่ในความสุขพอควร ตามความดีและความชั่วของเขา ให้แผ่ไมตรีจิตรแก่ผู้อาสาให้เสมอสมานรอบคอบ ประกอบไปด้วยความกรุณาทั่วทั้งหมู่คณะ เช่นนั้นจึ่งจะผูกใจยุติไว้ได้โดยสุนทร เหล่าพิริโยธาหารก็มีความปฏิพัทรักใคร่ยำเกรง ด้วยคุณธรรมเที่ยงตรง จะสู้เสียชีวิตแลร่างกายเข้าอาสาสืบไป ไม่คิดแก่ความยากลำบากด้วยเห็นผลความกรุณา

ข้อ ๑๗ ผู้เปนเสนาบดีไซร้ ให้ทราบในคติจร ตั้งตนให้เปนที่นิยมนับถือของหมู่นิกรบัพสัตว์ไซร้ ดุจดังพฤกษาป่ากว้างทะเลภูเขาเปนที่อาศรัยของสัตว์ธรรมดานกทั้งหลายย่อมอาศรัยต้นไม้ อันมีปริมณฑลกิ่งก้านสาขาตระการด้วยลูกดอกที่จะเปนประโยชน์แก่สัตว์ อนึ่งสัตว์จตุบาททั้งหลายย่อมอาศรัยราวป่าเปนกำบังกายและอาศรัยเปนภักษาหารเลี้ยงชีพ แลผลาหารที่จะปองประโยชน์เลี้ยงอาตมาสัตว์ ถ้าไม้ปราศจากกิ่ง ก้าน ลูก ดอกไซร้ ก็ไม่มีสัตว์จตุบททวิบาทมาอาศรัยไม้นั้นก็ไม่รุ่งเรืองเจริญงาม ป่าไม่มีไม้และภูเขาไม่มีสัตว์อาศรัยฉันใดได้แก่เสนาบดีย่อมเปนที่พึ่งพำนักของไพร่พลอันทุพลภาพ ขัดข้องต้องปกครองตามควรที่ชอบ ไพร่ฟ้าประชาราษฎรที่ย่อมอาศรัยใบบุญบารมีเสนาบดี ผู้มีปรีชาญาณที่จะทำนุบำรุงไพร่ ให้ชุ่มชื่นปกป้องไพร่ให้สำเร็จประโยชน์ตามคุณานุคุณความดีความชอบตะบะ เดชเกียรติยศอำนาจของท่านเสนาบดีนั้นไซร้ก็จะวัฒนาถาวรยิ่งๆ ขึ้น ดุจป่าไม้ฤดูฝน เปนการเจริญด้วยอำนาจวสันตฤดูกลบเกื้อการไม้ไม่มีกิ่ง ไม่มีผล ได้ป่าไม่มีไม้ สระบัวไม่มีประทุมชาติก็จะไม่มีสัตว์อาศรัย เปนสิ่งสง่างามตามธรรมเนียม ดุจเสนาบดีไม่มีความกรุณาวิจารณ์ปัญญาไม่ได้ทำนุบำรุงเลี้ยงไพร่พลตามชาติตามวงศ์ตามความดี แลความชั่วให้มีสุขตามควรไพร่พลทหารทั้งหลายก็จะเหนื่อยหน่าย ไม่รักใคร่ไม่ภักดีโดยความกตัญญูก็จะมีไปอาศรัยที่ชุ่มชื่นโดยทางอื่นที่เปนสุข เสนีมนตรีผู้นั้นก็จะเสื่อมสูญเกียรติยศ ไป เพราะไม่มีไพร่พลจะเปนเครื่องอุดหนุนกำลังตนให้งามดีได้ฉันใดได้แก่ป่าไม้หาที่พึ่งมิได้ ก็ไม่มีสัตว์อาศรัยดุจกัน ผู้เป็นเสนีมนตรีมุขมาตยาธิบดี พึงสดับคิดยุติธรรมดังนี้ แลคิดที่อื่นที่ชอบด้วยยุติธรรม ควรประพฤติเปนกำลังสติปัญญาประกอบเกียรติยศสืบไป

ข้อ ๑๘ ผู้เป็นเสนีมนตรีมุขมาตยาธิบดีไซร้ ให้หมั่นประพฤติใจเปนกลาง ตั้งอยู่ให้อุเบกขาหาฉันทาพยาบาทมิได้ ย่อมเปนเกื้อกูลแก่ผู้น้อยให้ยิ่งใหญ่ตามความดีของเขา ตนเปนผู้ใหญ่ต้องเอาใจเกื้อหนุนผู้น้อย ดุจดั่งปริมณฑลพระไทรสาขามีกิ่งก้านอันพระโรจน์ เปนที่อาศรัยแห่งสกุณาแห่งปักษาชาตินกใหญ่น้อยทั้งปวงมาอาศรัยจับและบังแสงพระสุริยา แลอาศรัยผลาผลพระไทรด้วย ถ้าไม่ใช่ฤดูผลไทรต้องอาศรัยทำรวงรังถ่ายฟองฟักเมื่อนกนั้นออกจากไข่เป็นตัวมีปีกหางอันเจริญกล้าก็ย่อมบินไปสู่ประเทศทุกทิศานุทิศฉันใดก็ดี ท่านผู้เป็นเสนาบดีมุขมนตรีต้องเปนดุจต้นไทรเปนที่อาศรัยของนิกรบันพสัตว์โยธา ผู้อาสาไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินมิได้มีความรังเกียจอิจฉาดุจพระไทรฉันนั้น ธรรมดานกอาศรัยไม้ สัตว์เดินเท้าอาศรัยป่า ปลาอาศรัยสมุทรและแม่น้ำ ข้าอาศรัยจ้าว บ่าวอาศรัยนาย ไพร่อาศรัยมุขมนตรี เสนีปรินายกราษฎรทั่วเขตอาศรัยพระมหากษัตริย์เปนที่พึ่งพำนักนิ สิ่งที่สัตว์อาศรัยทั้งนี้ไม่มีแล้ว พระนครก็ไม่ถาวรวัฒนาการนานได้

ข้อ ๑๙ ผู้เปนมุขมาตยาเสนาบดีผู้รับพระราชโองการพระมหากษัตริย์ดำรงพระราชหฤทัยไว้ในที่อคฐานอันประเสริฐรุ่งเรืองด้วยอุกฤษยศเกียรติยศบริวาณยศดุจดั่งสุวรรณบรรพตเปนที่อาศรัยแห่งนิกรบรรพสัตว์ฉันใดให้มีจิตรเจตนาดั่งมหาปัตพีเปนชื่อาศรัยแห่งสรรพสัตว์มิได้หวาดหวั่นไหวสดุ้งแก่ภัยใกล้และไกลให้ตั้งใจดั่งภูเขาหลักพระนคร ก็จะเปนที่ยำเยงเกรงกลัวแห่งสตรูหมู่ปัจจามิตร

ข้อ ๒๐ ผู้เปนมาตยาธิบดีมุขมนตรีอำมาตย์นั้นไซร้ให้รู้จักลักษณะชัยชนะสามประการ คือ ธารณพล ๑ กาลเทศพล ๑ วิไสยพล ๑ ก็ธารณพลนั้นคือให้รู้จักกำลังนายทหาร ที่จะเข้าสู่ณรงค์นั้นว่าผู้นี้มีกำลังปัญญาอาวุธแลกล้าหาญหรือไม่ กาลเทศพลนั้น คือให้รู้จักชัยภูมิที่จะสู้ศึกสงครามว่าจะได้เปรียบหรือเสียเปรียบประการใด วิไสยพลนั้น คือให้รู้จักอัชฌาศัยว่า ผู้นั้นกล้าหาญหรือขลาดจึ่งใช้ตามวิสัยกำลังทหารอย่าขืนใจจะเสียการ ถ้าเมื่อการจวนจราจล จึ่งระดมตามหมู่มากและน้อยพอควร กาลในปัจจุบันถ้ารู้จักผ่อนปรนกำลังศึกสงครามแล้วอาจเอาชัยชำนะได้

ข้อ ๒๑ ผู้เปนอำมาตยาราชมนตรีเสนาบดี ให้พึงทราบการบำเหน็จบำนาญที่ควร ถ้าจะประสาทรางวัลแก่ทหารไพร่พลทั้งปวงที่มีความชอบมากและน้อย จึ่งวิจารณ์ก่อนว่าผู้นั้นมีความ มาก หรือกลางหรือเลวประการใด จงให้ตามมากแลกลางหรือน้อยเลวจะได้เปนบันเทิงใจในลาภผู้นั้นจะได้อาสาตามความนิยมลาภยศตามมากและน้อยกำลังราชการก็จะกล้าหาญเจริญยิ่งขึ้นไปตามความรางวัล

ข้อ ๒๒ ผู้เปนเสวะกามาตยาธิบดีให้มีปรีชาญาณวิจารณ์การสมาคม มิตรมีหลายสถานเมื่อจะผูกไมตรีให้ดูว่ามิตรจะมาซ้อนกลอุบายแยบด้วยคารม จะมาเกลี้ยกล่อมเอาความในไปฝักใฝ่อรินทรราชปัจจามิตร คิดเอาชัยชำนะแก่เราหรือเปนผู้ซื่อตรงจริงให้วิจารณ์ก่อน จึ่งสมาคมคบหามาสู่สำนักที่สุดแต่อย่าให้เสียเปรียบ

ข้อ ๒๓ ผู้เปนอำมาตย์ราชเสนีมุขมนตรีจะคบหาสมาคมให้พิจารณาโดยละเอียดเห็นว่าสมควรจะสมาคมจึ่งคบหา แต่อย่าแสดงความลับอันตรายร้ายแรงออกให้แจ้งปรากฏแก่มิตรที่สนิทนั้นหาควรไม่ ถ้าได้พิโรธกัน ก็จะแสดงความลับออกให้ปรากฏแก่ผู้อื่นก็จะเปนการอัปยศ แลอันตรายแก่ตน จงมัทยัตไว้ในอารมย์

ข้อ ๒๔ ผู้เปนเสนาบดีให้พึงทราบว่า ตนมีอำนาจสนองพระโองการ ดุจดังอำนาจแห่งพระยาราชสีห์ จึงต้องประพฤติกิริยาบทดุจดั่งพระยาไตรสรราชสีห์ ธรรมดาว่าพระยาราชสีห์เปนสัตว์ใหญ่ร้ายกาจในราวป่า แต่เช่นนั้นยังไม่มีความประมาท ประกอบไปด้วยความหวังมีกิริยาบท ๔ ประการคือ กินนอนเดินหยุดพัก ๔ อย่าง มิประมาท ผู้เปนเสนาบดีควรประพฤติกิริยาบทดั่งพระยาราชสีห์

ข้อ ๒๕ ท่านผู้เปนเสวะกามาตย์ราชมนตรี ควรประพฤติดังที่กล่าวมานี้ก็จะเปนการดีงามแก่พระเกียรติยศซึ่งทรงพระมหากรุณาชุบเกล้าชุบกระหม่อมให้มีอำนาจศฤงคารบริวาร จะได้ทำนุบำรุงพระนครไพร่ฟ้าประชากร นครเขตประจันต์ประเทศขอบเขตขันธเสมามณฑลทุกตำบล อาณาจักรของพระมหากษัตริย์เจ้าให้วัฒนาการ เปนที่พำนักของจตุบรรพสัตว์ เปนที่รื่นเริงบันเทิงใจ หมู่ไพร่ราษฎรนิกรโยธาหารบริวาร เสวะกามาตย์ราชมนตรีประพฤติได้ปานดั่งฉบับนี้ ก็จะมีเกียรติยศปรากฏยืนนานชั่วกาลปาวสารดุจปริมณฑลพระจันทรแจ่มกระจ่างในนภางค์ ปราศจากหมอกเมฆโอภาสด้วยรัศมีรุ่งเรืองสว่างในนภางค์วิถี เทพเจ้าก็จะซร้องสาธุการสรรเสริญอำนวยพระพิพัฒน์เฉลิมสวัสดิมงคลโดยสราผลเห็นประจักษ์ในปัจจุบันทันทโลก ใช่แต่เท่านั้นจะเปนทางกุศลสุจริตที่ประพฤติซื่อตรงต่อพระเจ้าแผ่นดิน และไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินก็เปนผลานิสงส์เปนบัจจัยอุปถัมภ์ร่างกายไปในอิทธิโลกและประโลก อาจสำเร็จมนุษย สมบัติ และ สวรรค์สมบัติ เปนอนุโลมปฏิโลมแก่พระอะมัถะมหานครนฤพาน ระงับดับชาติทุขกันดานเปนประโยชน์สาระยิ่งเลิศประเสริฐแท้
* ความจริงในที่นี้นับได้ ๑๑ ประการ ที่กล่าวว่า “บิดา ๑ มารดา ๑” นั้นอาจเป็น “บิดามารดา ๑” บรรณาธิการ


ความแทรก "คำให้การ" เกี่ยวกับสมัยพระนครศรีอยุธยาตอนปลาย
*
จึงตรัสห้ามพลทั้งนั้น ว่าใครอย่าออกไปรบพุ่ง ไว้พนักงานกูตามที ให้มันเข้ามา ครั้นประจุพระแสงปืนแล้ว พระองค์เสด็จขึ้นยืนอยู่ต่อสู้ อันเหล่าราชศัตรูทั้งนั้น ก็กรูกันข้ามมาสะพานใหญ่จึ่งทรงยิงด้วยพระแสงมหาไชย ก็ถูกอกอ้ายธรรมเถียรเข้ากระเด็นตกลงไปบันที อันผู้คนทั้งนั้นก็กระจัดพลัดพรายบ้างล้มตายบ้างก็วิ่งหนี ชาวกรุงจึ่งไล่ตามตีก็จับตัวได้ บ้างก็วิ่งหนีซุกซนไป ที่เป็นไพร่ก็ไม่ตายแต่ตัวนายจึ่งฆ่าเสีย ให้ถึงแก่มรณา อันพระสุริเยนทราธิบดีนั้น องอาจมีอำนาจหนักหนา ทั้งทรงทศพิธราชธรรม มิได้เที่ยวรบพุ่งบ้านเมืองใด จนถึงพระยาสามนต์อันเป็นใหญ่ อยู่ในกรุงศรีสัตนาคนหุตก็เลื่องลือชาไปว่าพระองค์นี้ ตั้งอยู่ในธรรม ทั้งมีกฤตยาอาคม ทั้งพระเดชเดชาก็กล้าหาญนักหนา จึ่งแต่งพระราชธิดา มีพระนามเรียกว่า พระกรัดนางกัลยาณีมาถวาย อันพระบุตรีนั้นมีโฉมประโลมโสภางามนักหนา พระชันษาได้สิบห้าปี กับพระราชสาส์นแลเครื่องบรรณาการเปนอันมากมาถวายด้วยใจจงรักภักดี ทั้งสวามิภักดิ์สมัครสมาคม จักเปนที่พึ่งโพธิสมภารสืบไปเบื้องหน้า ครั้นมาถึงจึ่งถวายพระราชธิดาทั้งเครื่องบรรณาการและราชสาส์น อันพระองค์นั้นก็ทรงพระยินดีปรีดา จึ่งแต่งรับพระธิดาแล้วตั้งไว้เปนที่พระมเหษี ตามที่ตามเมืองน้อยใหญ่ พระองค์ก็ประพฤติตามโดยดี ตามสวัสดีอันเปนธรรมอันดี แต่บรรดาพระยาแสนท้าวเหล่าลาวเมืองล้านช้าง ซึ่งมาเปนการราชไมตรีนั้น แต่บรรดาอำมาตย์ราชเสนาที่มาทั้งสิ้น แล้วไพร่พลทั้งนั้น ทั้งเหล่าผู้คนข้าไททั้งหญิงชาย อันเปนบริวารของพระบุตรีทั้งสิ้น พระองค์ก็ประทานบำเหน็จ รางวัล ทั้งเงินทองเสื้อผ้า สิ่งของปวงเปนอันมากประทานให้ครบตัวกันทั้งสิ้น แล้วจึงตอบเครื่องบรรณาการโดยราชประเพณี แล้วให้ไปกับพระเจ้าล้านช้างเปนอันมาก อันพระราชบุตรีนั้น พระองค์ปลูกตำหนักแลเรือนหลวงให้อยู่ตามถิ่นฐาน จึ่งเรียกว่าเจ้าตำหนักใหม่ อันบรรดาสมัครพรรคพวก ผู้คนข้าไทของพระบุตรีทั้งสิ้น พระองค์ให้ถิ่นฐานเย่าเรือน ทั้งวัวควายไร่นาแลเรือกสวน อันที่บ้านนั้นเรียกว่าม่วงหวาน ครั้งนั้นพระเกียรติยศปรากฏฟุ้งเฟื่องเลื่องลือไปทุกประเทศเขตขันธ์ก็ชื่นชม พระสมภารของพระองค์ยิ่งนัก.

อันพระสุริเยนทราธิบดีนั้น พระองค์พอพระทัยเล่นกาพย์โคลง ฉันท์ ทั้งพระราชนิพนธ์ของพระองค์ก็ดี จึ่งมหาดเล็กคนหนึ่งเปนนักปราชญ์ช่างทำกาพย์โคลงฉันท์ดีนัก พระองค์โปรดปรานแล้วประทานชื่อเสียงเรียกว่า ศรีปราชญ์ เปนสำหรับได้ทำโคลงหลวง ครั้นอยู่มาศรีปราชญ์นั้นทำโคลงให้กับพระสนมข้างใน ครั้นพระองค์ทราบก็ทรงพระโกรธ แต่ไม่ลงโทษฑัณฑจึ่งส่งไปไว้เมืองนคร ศรีปราชญ์จึงต้องไปอยู่เมืองนครตามรับสั่ง ศรีปราชญ์จึ่งไปทำโคลงให้กับภรรยาน้อยเจ้าเมืองนคร ครั้นเจ้าเมืองนครรู้ว่าศรีปราชญ์นี้ ทำโคลงให้กับเมียน้อยของตัวนั้น จึ่งขึ้งโกรธแล้วจึ่งเอาตัวศรีปราชญ์ไปฆ่าเสีย เมื่อจักฆ่าศรีปราชญ์นั้น ศรีปราชญ์จึ่งว่าเรานี้เปนนักปราชญ์หลวง แล้วก็เปนลูกครูบาอาจารย์ แต่องค์พระมหากษัตริย์ยังไม่ฆ่าเราให้ถึงแก่ความตาย ผู้นี้เปนแต่เจ้าเมืองนครจักมาฆ่าเราให้ตาย เราก็จักต้องตายด้วยตามเจ้าเมืองนคร สืบไปเมื่อหน้าขอให้ดาบอันนี้คืนสนองเถิด ครั้นศรีปราชญ์ว่าแช่งไว้ดังนั้นแล้ว ศรีปราชญ์ก็ตายด้วยตามเจ้าเมืองนครสั่ง ที่ศรีปราชญ์เขียนแช่งไว้นั้นเปนคำโคลง เขียนกับแผ่นดินให้เปนทิพยพยาน ครั้นอยู่มาพระองค์มีรับสั่ง ให้เรียกหาตัวศรีปราชญ์ ก็ไม่ได้ดังพระประสงค์ เสนาจึงกราบทูลว่าพระยานครฆ่าเสีย อันว่าตัวศรีปราชญ์นั้นถึงแก่ความตาย แล้วพระองค์จึงตรัสถามเสนาว่า ศรีปราชญ์มีโทษประการใด จึ่งฆ่ามันเสีย เสนาจึ่งทูลว่า ศรีปราชญ์ทำโคลงให้กับภรรยาน้อยเจ้าเมืองนคร ครั้นเจ้าเมืองนครรู้ก็โกรธ จึ่งฆ่าศรีปราชญ์เสีย พระองค์ก็ทรงพระโกรธ แล้วจึ่งตรัสสั่งว่า อันศรีปราชญ์นี้เปนนักปราชญ์ แล้วก็เปนสำหรับเล่นกาพย์โคลงกับกู โทษมันแต่เพียงนี้ แต่กูยังไม่ฆ่ามันให้ตาย อ้ายเจ้าเมืองนครมันไม่เกรงกู มันฆ่าศรีปราชญ์เสียให้ตาย มันทำได้จึงมีรับสั่งกับเสนาให้เร่งออกไป แล้วให้เอาดาบเจ้าเมืองนครที่ฆ่าศรีปราชญ์นั้นฆ่าเจ้าเมืองนครเสียให้ตาย เสนาก็ถวายบังคมลา แล้วจึงออกไปถึงเมืองนคร ครั้นถึงจึงเอาดาบที่เจ้าเมืองนครฆ่าศรีปราชญ์นั้น ฆ่าเจ้าเมืองนครเสียตามมีรับสั่งอันเจ้าเมืองนครนั้นก็ถึงแก่ความตายด้วยพระราชอาญา

อันพระสุริเยนทราธิบดีนั้นได้เสวยราชสมบัติมาช้านาน อันชาวกรุงเทพมหานครทั้งสิ้น แลอานาประชาราษฎรทั้งปวงก็อยู่เย็นเปนสุขทั้งสิ้น อันพระสุริเยนทราธิบดีนั้น วัน ๓ ได้เสวยราชสมบัติมาแต่เมื่อจุลศักราชได้ ๑๐๖๒ ปีมะโรงโทศก พระชนม์ได้ ๔๙ ปี อยู่ในราชสมบัติ ๗ ปี เปน ๕๖ ปี สวรรคตเมื่อจุลศักราช ๑๐๖๙ ครั้นพระสุริเยนทราธิบดีสวรรคตแล้ว พระราชโอรสาอันชื่อพระสุรินทรกุมารอันเปนเชษฐานั้นได้ผ่านพิภพธานีสืบไป ในเมื่อจุลศักราชได้ ๑๐๖๙ ปีกุนนพศกจึ่งทำราชาภิเศกตามประเพณี จึ่งถวายนามเรียกว่า พระภูมินทราชาก็เรียก พระบรรยงก์รัตนาก็เรียก ทรงเบ็ดก็เรียก อันพระมเหษีนั้นพระนามเรียกเจ้าท้าวทองสุข จึ่งมีพระราชบุตรและพระราชธิดา ในเจ้าท้าวทองสุขนั้นหกองค์ พระราชโอรสองค์ใหญ่นั้นพระนามเรียกเจ้าฟ้านเรนทร์ ถัดมาซื่อเจ้าฟ้าอภัยแล้วถัดมาชื่อเจ้าฟ้าปรเมศร์ ถัดมาชื่อเจ้าฟ้าทัต พระกุมารสี่องค์ ยังพระราชธิดาสององค์ องค์หนึ่งนามเรียกเจ้าฟ้าเทพ พระธิดาสุดพระครรภ์นั้นชื่อเจ้าฟ้าปทุม ในพระครรภ์เจ้าท้าวทองสุขนั้นทั้งพระราชบุตรีเปนหกองค์ด้วยกัน แล้วมีในสนมเอกนั้นองค์หนึ่งพระนามเรียกพระองค์เจ้าเชษฐาเปนกุมาร ยังพระราชนัดดาชื่อหม่อมเจ้าเพชรหนึ่งเปนกุมาร ยังบุตรีสี่องค์นั้น ชื่อหม่อมเจ้าฝรั่งหนึ่ง หม่อมเจ้าปุกหนึ่ง หม่อมเจ้าหงส์หนึ่ง หม่อมเจ้าอึ่งหนึ่ง อันราชกุมารทั้งนัดดาแลบุตรีทั้งสี่องค์ด้วยกัน ทั้งพระราชบุตรแลพระราชธิดาทั้งพระนัดดาสิ้นทั้งเจ้าฟ้าพระองค์เจ้าทั้งสิ้น เปนสิบเบ็ดองค์ด้วยกัน พระองค์จึงตั้งพระอนุชาอันชื่อพระวรราชกุมารนั้น ให้เปนที่พระมหาอุปราช อันเจ้าฟ้านเรศร์เชษฐานั้น พระมหาอุปราชขอเอามาเลี้ยงไว้เปนพระราชโอรส อันสมเด็จพระบิดานั้นเสน่หาในพระราชโอรสสององค์ยิ่งนัก พระองค์หมายจักให้ครอบครองสมบัติแทนพี่ พระองค์จึ่งสร้างวัดมเหยงอารามหนึ่ง จึ่งสร้างพระพุทธไสยาศพระองค์ใหญ่ที่ปากโมกของค์หนึ่ง ยาวได้เส้น ห้าวา

ครั้นอยู่มาในเมื่อครั้งจุลศักราชได้ ๑๐๗๖ ปีมะแมฉศก ญวณใหญ่จึงยกทัพมานักหนา อันตัวนายที่เปนใหญ่มานั้น ชื่อนักพระแก้วฟ้า มารบเมืองเขมร กษัตริย์เมืองเขมรจึงหนีเข้ามาพึ่งพระเดชในกรุง อันที่ชื่อนักเสด็จนั้น ผู้เปนท่านธานี หกนางมเหษี อันนักองเอกนั้นเปนอนุชานักพระศรีสุธรรมาราชานั้น เปนที่มหาอุปราช อันพระโอรสในมเหษีนั้นชื่อพระรามาธิบดีองค์หนึ่ง พระศรีไชยเชษฐาองค์หนึ่ง ชื่อพระสุวรรณกุมารองค์หนึ่ง นักพระองค์อิ่มองค์หนึ่ง นักพระองค์ทององค์หนึ่ง นักพระอุทัยองค์หนึ่ง กุมารของบุตรีสององค์คือพระสุภากษัตริย์องค์หนึ่ง พระศรีสุดาองค์หนึ่ง ทั้งบุตรแลธิดาเปนแปดองค์ด้วยกัน ยังหลานสององค์คือนักองปาน นักองตน อันเหล่ากษัตริย์ยังเสนาสองคือฟ้าทะละหะนั้นฝ่ายขวา ฝ่ายซ้ายนั้นฟ้ากลาโหม เปนต้น บรรดาอำนาจทั้งปวงน้อยใหญ่เปนหลายคนกับพลห้าร้อยปลาย กับช้างเผือกพังตัวหนึ่งชื่อบรมรัตนากาศไกรลาศคีรีวงศ์ อันช้างพังตัวนี้นักเสด็จก็พาเอามาแล้วจึงถวายกับพระภูมินทราชา แล้วกับตัวนักเสด็จกับพี่น้องลูกหลานทั้งสิ้น ก็เข้ามาพึ่งโพธิสมภารอยู่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ก็ทรงพระเมตตา แล้วสงสารกับนักเสด็จยิ่งนัก จึ่งแต่งกองทัพกรุงแล้วให้ออกไปช่วย ครั้นทัพช้างกรุงยกออกไปรบ ฝ่ายญวณใหญ่ก็แตกหนีมอดม้วยฉิบหายบ้างจับได้บ้างหนีเร้นบ้างล้มตาย ทัพกรุงไล่รบไปจนถึงเมืองอันตัวนักพระแก้วฟ้านั้นเมื่อขณะรบกันหนีไปได้ แต่บรรดากษัตริย์เมืองเขมรนั้น พระองค์แต่งรับทั้งเครื่องอุปโภคบริโภค ก็ประทานครบครัน ทั้งที่อยู่ที่กินก็ตกแต่งให้ตามที่ แต่พระราชวงษาลงไปจนพลทัพพระองค์แต่งให้ทั้งสิ้น แล้วก็เลี้ยงดูให้กินอยู่บริบูรณ์ครบครัน ให้เข้าเฝ้าในท้องพระโรงในพระองค์ทรงพระปราณีมิได้มีความรังเกียจเดียดฉันท์ ทั้งพระองค์แลทั้งพระมเหษีทั้งพระราชบุตรี ก็ได้ออกมาปราศรัย ฝ่ายกษัตรียเมืองเขมรนั้นพระองค์ทำนุบำรุงมิให้อนาทร อันกิริยานั้นเหมือนพระญาติวงษา ทั้งพระองค์ทั้งพระมเหษีนั้นก็มีความเสน่หาอาวร จนเครื่องเสวยก็ประทานออกไป

-------------------------
*
ข้อความตอนนี้ เปนสมุดข่อยได้มาจากกรมเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ มีเนื้อความเล่าถึงแผ่นดินพระพุทธเจ้าเสือแทรกเข้ามา - บรรณาธิการ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 มิถุนายน 2562 16:15:10 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 19 มิถุนายน 2562 15:43:21 »

.



คำให้การขุนหลวงประดู่ทรงธรรม
เอกสารจากหอหลวง
(อักขรวิธีใช้ตามต้นฉบับ)

ความแทรก "คำให้การ" เกี่ยวกับสมัยพระนครศรีอยุธยาตอนปลาย (ต่อ)
ครั้นราชการสงครามสงบสงัดเรียบร้อยแล้ว พระองค์จึงสั่งให้เทียบทัพใหญ่จักไปส่งนักเสด็จให้ถึงเมืองกำพูชาธิบดี อันว่านักเสด็จนั้นก็กราบลง แล้วจึ่งทูลกับพระองค์ว่า ไม่อาลัยแล้วกับเมืองกำพูชาธิบดี จักขออยู่ที่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทไปจนตาย พระองค์จึงตรัสปลอบโยนกับนักเสด็จเปนนักหนา อันนักเสด็จนั้น มิได้เงยหน้าขึ้นดู ก้มพักตร์แล้วกอดพระบาทไว้ น้ำตาก็หลั่งไหลลงที่พระบาทพระองค์สงสารกับนักเสด็จยิ่งนัก ด้วยความสวามิภักดิ์ด้วยจงรักภักดี พระองค์จึงมีสีหนาทราชโองการว่า เพราะเรารักท่านจึ่งจักให้ไป เราเสียดายกรุงกำพูชาธิบดีด้วยว่าเปนเมืองใหญ่ จักสูญชื่อสุริยวงศ์กษัตริย์ไป เราจึ่งว่าด้วยใจเราเมตตา เมื่อนักเสด็จจักมิใคร่ไปก็ตามใจเถิด เราไม่หักหาญ พระองค์จึงสั่งเสนาให้ไปรักษากรุงเขมรไว้ กับนักเสด็จเขาก็ยังอยู่ ให้เสนาช่วยป้องกันดูแลเอาใจใส่ แล้วจึ่งแต่งม้ารายไว้ตามทางทุกแห่ง ถ้าญวนใหญ่จักมาย่ำยี ก็ให้เร่งรีบบอกเข้ามา เราจักแต่งทัพออกไปช่วยให้ทันที อันการนี้เปนธุระเรา อันกษัตริย์กรุงขอมก็กราบเกล้าบังคมลา เพราะฉนี้เมืองขอมกับกรุงศรีอยุธยาจึ่งไปมาเข้าออกมิได้แคลงใจกัน เปนเสน่หายิ่งกว่าทุกเมือง แต่แรกเริ่มพระประทุมสุริยวงศ์ลงมา อันเมืองเขมรกับกรุงศรีอยุธยาจึ่งเปนไมตรีกันมา จะรำเรื่องถึงเมืองขอมนี้ เปนหลายครั้งหลายทีอยู่นักหนา ลางทีออกไปแล้วก็คืนกลับมา เปนหลายครั้งหลายครามานักหนาแล้ว อันองค์กษัตราตามเกณฑ์มีชื่อที่เมืองเขมรไปมาเข้าออกอยู่กับเมืองกรุงนี้ เปนหลายองค์มาแล้ว จึ่งจะรวบรัดเอาแก่ตัวนายที่มีชื่อที่เข้ามาถวายบังคมกับพระองค์

ครั้นอยู่มาพระภูมินทราชาประชวรหนักลง จึ่งพระโอรสาสององค์ คือ เจ้าฟ้าอภัย กับเจ้าฟ้าประเมศร์สององค์นี้อยู่ในที่พระราชวังนั้น จึ่งคิดอ่านกันทั้งสององค์ ที่จะทำสงครามกันกับพระมหาอุปราช ซึ่งเป็นปิตุลา จึ่งมีรับสั่งให้ตั้งค่ายตามทิศตะวันออกนอกวัง ตั้งแต่วัดราชประดิษฐาน ไปจนตามคลองประตูข้าวเปลือกมา อันฟากคลองทิศตะวันตกนั้นฝ่ายของวังหลวง อันฟากตะวันออกนั้นฝ่ายของวังหน้า จึ่งตั้งค่ายสองฟากน้ำ ฝ่ายข้างวังหลวงนั้นตั้งหน้าชิงชัยรบพุ่ง อันโรงช้างรายปากตะกล้อนั้นตัดจั่วเสีย แล้วจึงขันช่อเอาปืนใหญ่ขึ้นใส่ ข้างวังหลวงจะระดมปืนยิงไป ฝ่ายข้างวังหน้า ก็มิได้รบพุ่งต่อตีแต่ตรวจตราสารวัตรกันไว้ทุกเวลา ต่อใครล่วงข้ามเกินหน้าที่มา จึ่งสั่งให้ประหารชีวิตเสียให้ตาย ด้วยว่าพระองค์ก็รักษาความสัจอยู่ในธรรม สิว่าพระเชษฐาประชวรหนักอยู่ ยังไม่ประจักษ์ว่าสวรรคต เกลือกว่ายังดีอยู่ยังไม่นิพพาน ที่ทำสัจไว้ต่อกันก็จักเสียไป เพราะพระองค์ทรงดำริอย่างนี้จึ่งรั้งรออยู่ไม่รบพุ่ง แล้วทรงพระปรารมภ์ว่าซึ่งจักมาชิงชัยกันบัดนี้ พฤฒามาตราษฎรทั้งปวงก็จักล้มตายลงไม่ควรที่ จำจักคิดอ่านผ่อนผันให้ได้ที่ เปนทีอุบายกลศึกกลชิงชัย

ครั้นทรงพระดำริดังนั้นแล้วจึ่งเรียก ขุนชำนาญบริรักษอันเปนเสนาผู้ใหญ่ ที่ร่วมรักไว้พระทัยจึ่งให้เข้ามาในที่ แล้วจึ่งปรึกษากันที่ในการสงคราม ทั้งชิตภูบาล ชาญภูเบศร์ จ่านิต จ่าเนตร แต่บรรดาเสนาห้าคนด้วย พระองค์จึ่งให้ตีฆ้องร้องเป่าให้เร่งหาทหารคนดี มีความรู้แล้วอยู่คง ที่ผู้ใดจักรับอาสาได้ ให้พามาที่พลับพลาไชย พระองค์จึ่งตรัสเปนกลในที ไม่ช้าก็ได้คนดีเข้ามา จึ่งให้เข้ามาที่หน้าฉานแล้วตรัสถาม เหล่าทหารบรรดาที่จักอาสานั้น จึ่งว่าใคร่รู้อันใดที่ในวิชาการ ข้างอยู่คงกะพันทั้งคาถามนต์ดนก็ดี ทั้งอยู่คงด้วยว่านยาก็ดี ลางคนก็ทูลว่า ข้าพเจ้านี้อยู่ยงคงกะพัน ด้วยมนต์ดนคาถา ลางคนก็ทูลว่า ข้าพเจ้านี้คงด้วยกินว่านยาผลาหาร ลางคนก็ทูลว่าหายตัวได้ แต่ทูลดั่งนั้นต่างๆ นานากันทั้งสิ้น พระองค์จึ่งตรัสว่าจะลองให้เข้าทีละคน จึงลอบลองที่ในพระราชฐาน แล้วพระราชทานรางวัลเปนหนักหนา บ้างก็ได้เสื้อผ้าเงินทอง บ้างก็ได้ช้างม้า บ้างก็ประทานชื่อเสียงแล้วเอาพระแสงทรงออกประทาน แต่บรรดาเหล่าทหารทั้งนั้นแจกทั่วกันสิ้น อันกิติศัพท์นั้นลือไปว่า ทหารวังหน้านี้ลองได้ทุกตัวคน ก็รู้ทั่วกันไปทั้งกรุง ฝ่ายข้างวังหลวง ก็เลื่องลือระบือว่า วังหน้านี้มีคนดีเปนหนักหนาว่าจะมารบพุ่งชิงชัย แล้วจะมารบราญหักหาญ ฆ่าฟันเข้ามาปล้นเอากรุงแลวังให้ได้

ฝ่ายคนทั้งวังหลวงก็คร้ามเชิงสงครามในฝีมือของวังหน้า แต่เรรวนป่วนปั่นกันอยู่ไปมา มิได้ตั้งหน้าทำการสงครามด้วยจำใจ ขุนนางลางคนก็คืนกลับ จึ่งลอบเขียนหนังสือลับ แล้วให้ออกมาถวายวังหน้านั้นก็เปนหนักหนา จนมหาดเล็กทั้งคนใน ทั้งหมื่นเสมอใจและสุดจินดาก็สอดส่งหนังสือลับแล้วลอบให้ออกมาถวาย จึ่งปริยายความเชษฐานั้นถ้วนดี ว่าพระองค์สวรรคตแต่เวลาวานนี้ในปฐมราตรี แล้วบอกความลับข้างวังหลวง ว่าบัดนี้เสนาทั้งปวงคอยจะหนี มิได้เปนใจด้วยราชไพรีมีสารในบัญชีทุกตัวคน ที่เปนใจด้วยที่ในสององค์นั้น ก็รายชื่อแล้วส่งมาแจ้งความถวายกับวังหน้า ครั้นพระองค์ทราบในหนังสือลับแล้ว ก็เร่งให้โยธารบพุ่งชิงชัย ด้วยพระเดชเดชาอานุภาพ จักได้ทันรบพุ่งปราบปรามก็หามิได้ แต่พอส่องสว่างแสงพระอาทิตย์ขึ้นมา จึ่งมีม้าขาวใหญ่ตัวหนึ่งไม่มีคนขี่ เป็นม้าแหล่งในโรงขวา จึ่งหลุดจากแหล่งแล้ววิ่งแผลงฤทธามา แล้วไล่ตีไล่ชกผู้คนวุ่นวาย แล้ววิ่งไปตามถนนหนทางน้อยใหญ่ทั้งปวง ก็ตระหนกตกตื่นทั้งหญิงชาย ว่าวังหน้าแกล้งปล่อยม้าร้ายมา อันคนดีนั้นมีมนต์กำบังแล้วหายตัวได้ อันกิติศัพท์ก็ดังไปหนักหนารู้ทั่วกัน ทั้งกรุงฝ่ายทัพข้างวังหลวงก็แตกมาจนกระทั่งหน้าวัง อันองค์เจ้าฟ้าอภัยกับเจ้าฟ้าปรเมศร์นั้น รู้เหตุก็พลั่นพระทัยหนักหนา ให้ทหารที่จักต้านทานรบพุ่งชิงชัยได้ ให้ต้านทานไว้ก็กลับเข้าในปราสาททันที จึ่งเอาพระขรรค์ไชยศรี กับพระธำมรงค์วงดีอันมีราคาค่ากรุง กับเงินทองที่ในคลังเป็นอันมาก กับสมัครพรรคพวกผู้คนทั้งนั้นก็เร่งหนีไปทันที ต่างคนต่างกระจัดกระจายพรัดพรายกันไป แต่ตัวนายพี่น้องทั้งสองกับนายบุญคงผู้มีความภักดีกับพลไพร่ จึ่งลงเรือลำหนึ่งแจวพายหนีไป จึ่งเอาพระธำมรงค์กับพระขรรค์ไชยศรีนั้นทิ้งเสียที่ในแม่น้ำใหญ่ ตรงหน้าตลาดหัวแหลม ก็พายหนีไปตามแม่น้ำตาลาน จึ่งขึ้นบกหนีแยกกันไป เหล่าไพร่ทั้งปวงก็แตกกันไปทั้งสิ้น มีแต่นายบุญคงผู้ภักดีคนหนึ่งอยู่ด้วยจักสู้ตายด้วยเจ้าพี่น้องสององค์ด้วยกัน

ครั้นเหตุรู้ไปถึงวังหน้า พระองค์จึงให้แต่งทัพบกไปไล่จับตัว ไม่ช้าก็ไปพบเข้าทันที จึงจับตัวนายบุญคงได้แล้วก็ไถ่ถามด้วยกุมารทั้งสองนาย บุญคงให้การว่าซ่อนอยู่ที่สุมทุมอันนั้นๆ ครั้นนายบุญคงให้การชี้ที่สองกุมารที่ซ่อนอยู่นั้น ทหารทั้งปวงจึงล้อมสุมทุมไว้แล้ว จึงเข้าไปเชิญเสด็จพระกุมารทั้งสองพี่น้อง ว่ามีพระโองการให้มาจับแล้วก็ทูลขอพระแสงที่พระกุมารทั้งสองถือไว้นั้น อันสองกุมารก็ทิ้งพระแสงให้ จึ่งเข้าจับสองกุมารแล้วก็เอาตัวมาถวาย พระองค์จึงให้ไถ่ถามตามความ กับพระขรรค์ไชยศรีกับพระธำมรงค์วงดี ครั้นพระองค์ทราบว่าเอาไปทิ้งเสียที่ในแม่น้ำอันใหญ่ พระองค์จึงมีบัญชาว่าถ้าใครประดาน้ำดำได้ จะให้ทองร้อยชั่งตามราคา อันผู้คนทั้งนั้นก็ลงประดาน้ำแล้วก็หาไม่ได้โดยตามพระทัยปราถนา คือว่า พระขรรค์องค์นี้ของพระยาแกรกก็มาสูญสิ้นเสียด้วยพี่น้องสองกุมาร อันมงกุฎพระยาแกรกนั้น ยังอยู่จนเสียกรุง อันกุมารทั้งสองนั้น พระองค์ให้สังหารชีวิตตามกฎพิพากษา อันชัยสุรินทรอินอภัยนั้น ก็มาพลอยตายด้วยไม่ตรง อันพระยาอภัยราชา กับพระยายมราชหนีไปบวชเป็นสงฆ์ เป็นกรรมที่จักตายนั้น จึ่งแต่งแขกอาสาออกไป ครั้นเวลาค่ำแขกอาสาจึ่งเข้าไปแทงเสียทั้งสองคน อันพระยาอภัยกับพระยายมราชก็ถึงแก่ความตาย อันเจ้าพระองค์แก้วนั้น พระองค์โปรดปรานว่าเป็นอนุชา อันความที่เจ้าฟ้าอภัยกับเจ้าฟ้าปรเมศร์นี้ก็พลอยล้มตายเป็นอันมาก อันสมรรคพรรคพวกนอกนั้นลงแต่โทษไม่ล้มตาย อันนายบุญคงนั้นพระองค์มีรับสั่งว่าอย่าฆ่าฟันมันให้ตาย มันเป็นคนกตัญญูต่อเจ้า มันรักษาเจ้ามัน มันตรงต่อเจ้า มันจักตายด้วยเจ้า ได้ให้เลี้ยงไว้ ที่มีภักดีทั้งหญิงชายคือถวายลับ พระองค์ก็ประทานพูนบำเน็จให้ตามที่แต่ตัวนายไปจนคนที่ใช้ แล้วจึ่งประทานให้คนที่จับสองกุมารมาถวาย

อันพระภูมินทราชานั้น วัน ๔ ได้เสวยราชสมบัติมา แต่เมื่อครั้งจุลศักราชได้ ๑๐๖๙ ปีกุน นพศก พระชันษาได้ ๓๐ ปี อยู่ในราชสมบัติได้ ๒๔ ปี เป็น ๕๔ ปี สวรรคตเมื่อจุลศักราชได้ ๑๐๙๓ ปีกุนตรีนิศก พระมหาอุปราชครั้นปราบไพรีเสร็จสรรพแล้ว เสด็จขึ้นครอบครองกรุงแทนที่พระเชษฐาสืบไป อันพระมหาอุปราชนั้นพระนามเดิมนั้นชื่อเจ้าฟ้าอาภร ครั้นอยู่มาพระบิดาจึ่งประทานพระนามเรียกพระวรราชกุมาร อันมหาเสนาบดีทั้งปวงและปุโรหิตทั้งแปดคน จึ่งตั้งการปราบดาภิเษก ตามเยี่ยงอย่างประเพณีกระษัตรแต่ก่อนมา จึ่งถวายพระนามว่า พระมหาบรมราชาก็เรียก พระบรมโกฏก็เรียก อันอัครมเหสีขวานั้นมีพระนามเรียกว่า พระพันวสาใหญ่ อันเจ้ากรมนั้นเรียกว่า กรมหลวงอภัยนุชิต อันพระราชมเหสีนั้นพระนาม พระพันวสาน้อย อันเจ้ากรมนั้นชื่อ กรมหลวงพิพิทธมนตรี อันพระมเหสีซ้ายนั้นพระนามเรียกว่าเจ้าฟ้าสังวาลย์ พระนามตามที่ ชื่อ อินทสุดาวดี อันอัครมเหสีนั้นมีพระราชธิดาหกพระองค์ กุมารองค์หนึ่ง เป็นเจ็ดองค์ด้วยกัน อันพระราชธิดาเดิมนั้นพระนามเรียกเจ้าฟ้าบรม อันเจ้ากรมนั้นชื่อกรมขุนเสนีนุรักษ์ แล้วถัดมาจึ่งเจ้าฟ้าอิ่ม อันชื่อประทานนั้นชื่ออินทประชาวดี ถัดจึ่งเจ้าฟ้าสุริยวงศ์ ถัดมาจึ่งเจ้าฟ้าธิดา แล้วถัดมาจึ่งเป็นพระกุมาร ชื่อเดิมเจ้าฟ้ากุ้ง พระบิดาจึ่งประทานพระนามเรียกว่า เจ้าฟ้านราธิเบศไชยเชษสุริยวงศ์องค์ราชกุมาร อันเจ้ากรมนั้นชื่อกรมขุนเสนาพิทักษ์ แล้วถัดจึ่งพระราชธิดาพระนามเรียกเจ้าฟ้าสุริยา ถัดมาจึ่งเจ้าฟ้ารัศมีนั้นสุดพระครรภ์

อันสมเด็จพระพันวสาใหญ่นั้นมีพระบุตรี ๖ องค์ มีพระกุมารองค์หนึ่ง จึ่งเป็นเจ็ดองค์ด้วยกัน อันสมเด็จพระพันวสาน้อยนี้คือพระราชมเหสีกลางนั้น มีพระธิดาเดิมพระนามเรียกว่าเจ้าฟ้าไม้กลัดพระบิดาจึ่งให้เรียกพระชีประชา แล้วถัดมาจึ่งเจ้าฟ้าชีน้อย ชื่อชีพัมพา ถัดมาเรียกเจ้าฟ้าเรไร พระบิดาจึ่งประทานพระนามให้เรียกเจ้าฟ้ากษัตรี แล้วถัดมาจึ่งเจ้าฟ้าพิน พระนามเรียกพินทวดี แล้วถัดมาจึ่งพระราชกุมาร พระบิดาจึงสมมุตินามประทานเรียก เจ้าฟ้าเอกทัศน์ อันเจ้ากรมนั้นให้เรียกกรมขุนอนุรักษ์มนตรี แล้วถัดมาอีกจึ่งพระบุตรีพระนามเรียกเจ้าฟ้าจัน แล้วถัดมาเรียกเจ้าฟ้านุ่ม อันเจ้ากรมนั้นเรียกกรมขุนยิสารเสนีย์ แล้วจึงสุดพระครรภ์นั้น เป็นพระราชกุมาร พระบิดาจึ่งสมมดินามเรียกเจ้าฟ้าดอกเดื่อ อันเจ้ากรมนั้นชื่อกรมขุนพรพินิจ อันสมเด็จพระพันวสากลางนั้น พระราชธิดาหกพระองค์ พระราชบุตรเป็นราชกุมารสององค์ จึ่งเป็นแปดองค์ด้วยกันทั้งสิ้น ยังฝ่ายมเหสีซ้ายนั้น มีพระราชธิดาเดิมนั้น เจ้าฟ้ากุณฑล แล้วถัดมาเป็นกุมารชื่อเจ้าฟ้าอาภรณ์ แล้วถัดมาจึ่งเป็นบุตรีชื่อเจ้าฟ้ามงกุฎ แล้วถัดมาเป็นกุมารชื่อเจ้าฟ้าสังขีต พระบุตรีสององค์ พระกุมารสององค์ เป็นสี่องค์ด้วยกัน อันพระราชบุตรและราชธิดาในพระมเหสีทั้งสามองค์นั้นมีสิบเก้าองค์ด้วยกันทั้งสิ้น อันพระราชนัดดาเป็นกุมารองค์หนึ่ง ชื่อเจ้าฟ้าจิต อันเจ้ากรมนั้นชื่อ กรมขุนสิรินทรสงคราม ถัดมาจึ่งเจ้าฟ้าสังวาลย์แล้วถัดมาจึ่งเจ้าฟ้านิ่ม พระนัดดาทั้งบุตรีเกณฑ์เจ้าฟ้าสามองค์ด้วยกัน ยังพระราชบุตรในพระสนมเอกนั้นจัดเอาแต่เกณฑ์ที่มีกรม คือเจ้าแขกนั้น กรมหมื่นเทพพิพิท เจ้ารดนั้นคือ กรมหมื่นจิตรสุนทร อันเจ้าเจ้าแมงคุดนั้น คือ กรมหมื่นสุนทรเทพ เจ้าปานนั้น คือ กรมหมื่นเสพภักดี เจ้าไตรนั้น กรมหมื่นรักษนรินทร์ อันพระราชบุตรในพระสนมเอก ที่มีกรมนั้นมีห้าพระองค์ด้วยกัน ยังอยู่พระสนมทั้งนั้นมีเป็นอันมาก จึ่งมีพระราชบุตร ๒๒ พระองค์ มีพระราชธิดา ๒๐ พระองค์ จึ่งเป็น ๔๒ พระองค์ทั้งเจ้าฟ้าและพระองค์เจ้าเข้ากันทั้งสิ้นเป็น ๖๔ พระองค์ด้วยกัน ทั้งล้มทั้งตายเป็น ๑๐๐ หนึ่งกับ ๙ องค์ด้วยกัน

พระองค์จึ่งตั้งราชโอรสในพระอัครราชมเหสีขวานั้นให้เป็นที่พระมหาอุปราช พระนามเรียกว่าเจ้าฟ้านราธิเบศไชยเชษสุริยวงศ์องค์ราชกุมาร อันเจ้ากรมนั้นชื่อกรมขุนเสนาพิทักษ์ได้เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล อันวังนั้นชื่อวังจันทเกษม มีพระมเหสีพระนามเรียกเจ้าฟ้านุ่ม อันเจ้ากรมชื่อกรมขุนยี่สารเสนีย์ อันพระมเหสีซ้ายนั้น ชื่อเจ้าฟ้าฉิม จึ่งมีพระมเหสีเดิมองค์หนึ่ง ชื่อเจ้าฟ้าเทพ จึ่งมีพระธิดาทับเจ้าฟ้าเทพนั้นองค์หนึ่ง ชื่อเจ้าฟ้าศรี แล้วมีในพระสนมนั้น ๔ องค์ ชื่อหม่อมเจ้าอาทิตย์องค์หนึ่ง อันเจ้ากรมนั้นชื่อกรมหมื่นพิทักษ์ภูเบศ ถัดมาหม่อมเจ้าเสสังข์ ถัดมาชื่อหม่อมเจ้าฉัตร ถัดมาชื่อหม่อมเจ้ามั่ง กุมาร ๔ องค์ ยังบุตรีชื่อหม่อมเจ้ามิตรองค์หนึ่ง หม่อมเจ้าหาดองค์หนึ่ง หม่อมเจ้าฉิมองค์หนึ่ง หม่อมเจ้าดาราองค์หนึ่ง บุตรี ๔ องค์ทั้งสิ้น จึงเป็นแปดองค์ด้วยกันทั้งเจ้าฟ้า อันพระมหาอุปราชนั้นได้ครองกึ่งพิภพ ก็อยู่เย็นเป็นสุขมาช้านาน ครั้งหนึ่งจึ่งสมิงทัวจีนมอญ เป็นศึกยกมาจักตีกรุง พระองค์จึงให้ยกทัพไปปราบปราม อันราชไพรีก็แตกแล้วหนีไปทั้งสิ้น

อันพระองค์นั้นมีบุญญาธิการ อยู่ในทศมิตราราชธรรม พระองค์จึ่งได้ช้างเผือกผู้ตัวหนึ่ง ชื่อบรมคชลักษณ์อคเชนทรเรนสุประดิษฐสิทธิสนธยา มหามงคลเลิศฟ้า ตัวนี้มีศรีสุทธิดีต่างๆ เจ้าพระยานครศรีธรรมราชาเอามาถวายแต่เมืองนคร ครั้นอยู่มาอีกครั้งหนึ่ง จึงได้ช้างเผือกผู้กระดำตัวหนึ่ง ชื่อบรมราชไกรสรบวรเศวตร เดชอัคณียวงศ์ สมพงศ์ถนิมพรรตเอกทันตะไอยรา ตัวนี้นักอุไทยเมืองกัมพูชาธิบดี เอามาถวายพระบรมราชาแต่เมืองขอม ครั้นอยู่มาพระองค์ จึงได้ช้างเผือกพังอีกตัวหนึ่ง จึงให้ชื่อวิเชียรหัสดินทรกระวินชินราชกิริณี ศรีสุนทรลักษณ์อัครเชนทรวเรนเลิศฟ้า อันช้างเผือกพังตัวนี้นักพระแก้วฟ้าเมืองกัมพูชาธิบดี เอามาถวายพระบรมราชา ครั้นอยู่มาอีกครั้งหนึ่ง จึ่งได้ช้างอันเป็นช้างสพังถนิมพันธุเกณฑ์เผือกอีกตัวหนึ่ง มาเข้าเพนียด พระองค์เสด็จออกไปจับได้นั้นครั้งหนึ่ง อันช้างเผือกเกณฑ์เผือกนั้นเป็นสี่ช้างด้วยกัน ครั้นอยู่มาอีกครั้งหนึ่ง พระองค์จึ่งได้ช้างนิยัมตัวหนึ่ง จึ่งให้ชื่อบรมราชนาเคชนทรวเรนทรมหันตอนันคุณวิบูลยเลิศฟ้า อันช้างนิยัมตัวนี้ มีมูลหนักแลเบากินได้เป็นยาแก้โรคต่างๆ พระยาเพชรบุรีเอามาถวายพระบรมราชา ครั้นอยู่มาอีกครั้งหนึ่ง จึ่งมีช้างนิยัมตัวหนึ่งมาเข้าเพนียดในกรุง พระองค์เสด็จออกไปจับ ครั้งจับได้จึ่งประทานชื่อเรียก พระบรมกุญชร ครั้นอยู่มาอีกครั้งหนึ่ง จึ่งมีช้างนิยัมตัวหนึ่งมาเข้าเพนียด พระองค์เสด็จออกไปจับได้ จึ่งประทานชื่อว่าพระบรมจักรพานท์ ครั้นอยู่มามีช้างนิยัมมาเข้าเพนียดอีก พระองค์เสด็จออกไปจับ ครั้นได้ประทานชื่อเรียกพระบรมประทุม ต่อยกงวงขึ้นจึ่งเห็นงา พระองค์ได้ช้างเผือกบ้างเกณฑ์เผือกบ้างเป็น ๔ ช้างด้วยกัน ยังช้างนิยัมนั้นก็ห้า ช้างเผือกเกณฑ์เผือก ทั้งช้างนิยัมเข้ากันทั้งสิ้น เป็น ๙ ด้วยกัน

อันพระบรมราชานั้น พระองค์จึ่งให้มีพระมหากฐินบกแลเรือ แล้วจึ่งให้สร้างมหาพิไชยราชรถจัตรุมุขแล้วจึงสร้างวัดกุฎีดาววัดหนึ่ง วัดคูหาสวรรค์วัดหนึ่ง วัดราษฎร์บูรณะวัดหนึ่ง วัดพระรามวัดหนึ่ง จึ่งปฏิสังขรวัดวรเชษฐารามวัดหนึ่ง วัดบวรโพธวัดหนึ่ง จึ่งปฏิสังขรวัดภูเขาทองวัดหนึ่ง วัดเจ้าพระยาไทวัดหนึ่ง แต่พระองค์สร้างวัดแลปฏิสังขรทั้งสิ้น เป็น ๑๐ วัด ด้วยกันแล้วพระองค์จึ่งปฏิสังขรมณฑปพระพุทธบาทที่เศร้าหมองไปจึ่งทำใหม่ อันพระพุทธบาทนั้นมีอยู่บนยอดเขาสุวรรณบรรพตอยู่บนศิลาแห่งเดียว เป็นรอยพระบาทเบื้องซ้าย อันปลายพระบาทนั้นผันไปทิศตะวันตก มีพระมณฑปนั้นสูงประมาณได้ ๑๒๐ วา มีบันแลมุขทุกชั้น เป็นไม้ ๑๒ จึ่งมีพระมณฑปใหญ่อยู่กลาง อันหลังคามณฑปใหญ่นั้น ๑๑ ชั้น มียอดนั้น ๕ ยอดแล้วจึ่งมีพระมณฑปเล็กล้อมทิศนั้น ก็มียอด ๕ ยอด เหมือนกันทั้งสี่ทิศ แต่บรรดายอดพระมณฑปทั้งสิ้น จึ่งเป็น ๒๕ ด้วย อันเครื่องช่อฟ้าบราลีนั้น จำลักเป็นดอกเป็นลวดลายงามหนักหนา อันหลังคาพระมณฑปนั้นหุ้มทองคำจนถึงกันสาด อันพระบรมราชาหุ้มหลังคาพระมณฑปเมื่อครั้งนั้นสิ้นทอง ๙๐ ชั่ง ได้ ๙ ชั้น ครั้นมาถึงพระราชบุตรมาหุ้มเมื่อครั้งหลังสิ้นทองหนัก ๕๕ ชั่ง ได้ ๒ ชั้น ก็พอสำเร็จสิ้นทั้ง ๑๑ ชั้น เป็นทองทั้งสิ้นหนักได้ ๑๔๕ ชั่ง อันฝาพระมณฑปนั้น ดาดกระจกทั้งข้างนอกข้างใน อันพื้นข้างในนั้นดาดด้วยเงิน อันพระมณฑปสองข้างในนั้นรีกว้างได้ ๔ ศอก โดยสูงได้ ๑๐ ศอกหุ้มทองทั้งนั้น อันเพดานนั้นมีอัจกลับพู่แก้ว อันพระมณฑปใหญ่นั้น มีประตูสี่ประตู ทิศบูรพนั้น ๒ ประตู ทิศประจิมนั้นสองประตู จึ่งเป็นสี่ประตูด้วยกัน อันบานประตูนั้นประดับมุขทั้ง ๔ ประตู จึ่งพระราชบำเหน็จช่างมุกนั้นเงิน ๑๐ ชั่ง แล้วจึ่งมีกันสาด อันลับแลที่ติดเสานั้นปิดทองทิบ อันพื้นหลังคานั้นคาดดีบุก จึ่งมีกำแพงทั้งสี่ทิศ อันกำแพงแก้วนั้นหุ้มดีบุกแล้วปิดทองทึบ อันบนหลังกำแพงนั้นมีพระเจดีย์ ทำด้วยศิลาปิดทอง ทองทึบแล้วรายรอบ ห่างกันประมาณได้แปดนิ้ว แล้วจึ่งลดลงมาเป็นชานชั้น ข้างทิศทักษิณนั้น กว้างและยาวประมาณ ๑๒๐๐ วา จัตุรัสจึ่งมีกำแพงหุ้มดีบุกปิดทองทึบบนหลังกำแพงนั้น มีโคมดอกบัวทำด้วยทองแต่งปรุแล้ว ตั้งห่างกันประมาณ ๑๐๐ ศอก แล้วจึ่งมีพระอุโบสถ แลวิหาร ๑๕ ห้องแล้ว จึ่งมีวิหาร พระป่าเลไล มีคลังมหาสมบัติ มีขุนหมื่น ข้าพระสงฆ์ส่อผึ้งน้ำมันเป็นอันมาก แล้วจึ่งมีพระสงฆ์ราชาคณะเป็นเจ้าอธิการ ชื่อพระมหามงคลเทพ ได้ถือตลปัฐแฉกมีพระครูแลปลัด ชื่อพระวินัยธรพระวินัยธรรมสมุทรใบฎีกามีกระชิงคานหาม มีข้าพระแลโยมสงฆ์เป็นอันมาก อันบ้านข้าพระนั้นเรียกบ้านขุนโขลนเกณฑ์ส่งจังหันแลนิตย์พัดประจำเดือนอยู่อัตรา อันรอยรูปพระพุทธบาทนั้น คือ สัจจพันดาบส ทูลขออาราธนาพระองค์ จึ่งประดิษฐานไว้

๏ครั้นอยู่มาเมื่อจุลศักราชได้ ๑๐๙๖ ปีขาน ฉศก จึ่งพระเจ้าลังกา อันได้ครองศิริวัฒนบุรี จึ่งมีพระประสงค์ที่จะบำรุงศาสนา ในเมืองศิริวัฒนบุรีที่เศร้าหมองไป จึ่งให้แต่งพระราชสาส์นใส่แผ่นสุพรรณบัตรแลสำเนา จึ่งให้ศิริวัฒน์อำมาตย์เป็นราชทูต กาลอำมาตย์เป็นอุปทูต อันเครื่องบรรณาการนั้น คือ สังขทักขิณา วัดปากเลี่ยมทอง กับเครื่องบรรณาการทั้งปวงเป็นอันมาก จึ่งให้ราชทูตอุปทูตถือพระราชสาส์นคุมเครื่องบรรณาการทั้งปวง กับผู้คนอันมาก ลงสำเภาแล้วใช้ใบเข้ามากรุงศรีอยุธยาเป็นพระราชไมตรี ครั้นสำเภาเข้ามาจอดแล้ว ราชทูตอุปทูตจึ่งเข้ามาแจ้งความกับอัครมหาเสนาบดีผู้ใหญ่คือเจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ฝ่ายกรมท่า ส่วนเสนาผู้ใหญ่ครั้นแจ้งความแล้ว ก็เข้าไปกราบทูลฉลองกับพระมหาบรมราชา พระองค์จึ่งมีพระราชโองการ ให้เบิกราชทูตเข้ามาในพระราชวังใหญ่ เสนาผู้ใหญ่รับพระราชโองการแล้วออกมา จึ่งสั่งกรมเมืองให้ตกแต่งบ้านเมืองให้งามให้สะอาด กรมเมืองจึ่งสั่งให้นครบาลไปป่าวร้องให้ทำทาง แล้วให้พ่อค้าทั้งปวงมาตั้งร้านค้าขายกัน ทั้งผ้าผ่อนแพรพรรณต่างๆ นานา ทั้งเครื่องสิ่งของอันดีๆ ครั้นแล้วให้มานั่งซื้อขายกันตามที่ถนนหนทาง ที่แขกเมืองจักเข้ามาเฝ้า แล้วให้เอาช้างลงน้ำทุกประตูเมืองตามทางที่แขกเมืองจักมานั้น ครั้นตกแต่งบ้านเมืองแล้ว ส่วนเจ้าพระยากรมท่านั้นจึ่งปลูกโรงรับแขกเมือง ตามที่ตามทาง แล้วก็เลี้ยงดูตามอย่างธรรมเนียมแต่ก่อนมาแล้วเจ้าพระยากรมท่าราชมณูเทพมณูนำแขกเมืองลังกาเข้ามา ครั้นแขกเมืองเข้ามาแล้ว จึ่งรับแขกเมืองรั้งไว้บนศาลาหลวง แล้วให้ล่ามแปลสำเนาราชสาส์นที่มีมาทั้งสิ้น พระองค์เสด็จออกแขกเมืองนานาประเทศ ตามอย่างธรรมเนียมที่มีในนี้ อันหน้าฉานซ้ายขวานั้นตั้งเศวตฉัตร อันคันนั้นหุ้มทอง อันยอดและกำพูขอบระบายนั้นทอง จึ่งตั้งตรงหน้าฉานนั้น ซ้าย ๔ คัน ขวา ๔ คัน แล้วรองมาจึ่งมยุรฉัตรตั้งซ้าย ๔ ขวา ๔ แถวแต่บรรดาเครื่องสูงนั้นคือ จามร บังสูรย์ อพิรุมพัชนี อันเครื่องสูงเหล่านี้ล้วนทองประดับทั้งสิ้น จึ่งตั้งตรงหน้าฉานซ้าย ๔ ขวา ๔ แถว อันหน้าเครื่องสูงนั้นจึ่งตั้งเตียงทองประดับกระจกแล้วปูสุจนีย์ทั้งซ้ายขวาสำหรับตั้งพานพระราชสาส์น อันที่พานรองพระราชสาส์นนั้นพานทองประดับอันที่พระมหาอุปราชนั่งนั้น ตั้งเครื่องมหาอุปโภคพานทองประดับใส่พระศรีแล้วพานพระศรีแล้วพระเต้าครอบทองคำประดับ พระพรรณศรีประดับ แล้วรองพระมหาอุปราชมา จึ่งถึงที่ลูกหลวงเอก คือเจ้าฟ้าเสด็จนั่งเฝ้าซ้ายขวา ตั้งเครื่องมหาอุปโภคนั้นลดลงมากับพระมหาอุปราช แล้วจึงถึงลูกหลวงโท คือพระองค์เจ้าต่างกรม อันเครื่องอุปโภคนั้นลดลงมากับเจ้าฟ้า แล้วจึ่งพระราชวงศาราชนิกูล คือพระพิเรนทรเทพ พระเทพวรชุน พระอภัยสุรินทร์เทพ พระอินทร์อภัย แล้วจึ่งถึงที่อัครมหาเสนาบดีผู้ใหญ่คือเจ้าพระยามหาอุปราชแล้ว เจ้าพระยาจักรีกลาโหมที่อัครมหาเสนาบดีผู้ใหญ่จึ่งนั่งซ้ายขวากัน แล้วถึงพระยาสุระเสนา พระยามหาอำมาตย์ซ้ายขวา สองคนนี้รองจากเจ้าพระยาลงมา แล้วจึ่งพระอภัยราชา พระยาอภัยมนตรี เป็นซ้ายขวากันแล้ว จึ่งจตุสดมภ์ทั้งสี่ คือ กรมเมืองพระยายมราช กรมวังพระยาธรรมา กรมคลังพระยาราชภักดี กรมนาพระยาพหลเทพ แล้วพระยารัตนาธิเบศร พระยาธิเบศรบริรักษณ์สองคนนี้นั่งทั้งซ้ายขวากัน แล้วจึ่งเจ้าพระยาราชสงคราม พระยาเดโช นั่งซ้ายขวากัน แล้วจึ่งพระมหาเทพ พระมหามนตรีราชวรินทร์อินทรเดช อันสี่นี้กรมวังทั้งสี่ที่หัวหมื่นตำรวจใน ก็นั่งตามตำแหน่งเป็นซ้ายขวากัน แล้วพระเทพโยธา พระสมบัตยาธิบาล พระพิพัฒน์ พระอำมาตย์ พระบำเรอภักดี พระชำนิ พระกำแพงพระราชวังเมือง สองคนนี้กรมช้าง พระศรีเสาวพาหะ หลวงทรงพล อันสองคนนี้ กรมม้านั่งเฝ้าซ้ายขวากันตามที่ตามทางยังเหล่ามหาปโรหิตราชครูคือพระครูพิราม พระครูมโหสถ พระครูพิเชต พระครูเหธร พระครูสังขาราม พระครูกริศนา พระครูกริศนราช อันมหาปโรหิตนั้น ๘ คนนี้ ก็นั่งเฝ้ากันอยู่ ซ้ายขวาตามที่ แต่บรรดาเจ้าพระยาและพระยา และราชนิกูล หลวงขุนหมื่น ทั้งขุนนาง พราหมณ์ ขุนนางแขก ขุนนางฝรั่ง ขุนนางเจ๊ก ขุนนางมอญ ขุนนางลาว และทั้งเศรษฐี คหบดีทั้งปวงนั่งเฝ้าตามที่ตามตำแหน่ง ซ้าย ๘ แถว ขวา ๘ แถว เบ็ดเสร็จ เป็นมุขอำมาตย์ ๔๐๐ อันเจ้าพระยาแลพระยานั้น ตั้งเครื่องอุปโภคนั้นพานทองเจียดทองแลเครื่องทั้งปวง เป็นชั้นเป็นหลั่นกันลงมาตามที่ อันพระหลวงขุนหมื่นนั้นไม่มีเครื่องบริโภค อันชั้นหน้าพลานหน้าฉานนั้น ตั้งกลองโยน ๑๐๐ หนึ่ง มีฆ้องแต่งสำหรับเสด็จอันหน้าพระลานซ้ายขวา มีทหารข้างละ ๑๐๐๐ ใส่หมวกทองใส่เสื้อเสนากุฎสรรพสรรพ์อาวุธครบมือกันทั้งสิ้น อันข้างปราสาทซ้ายขวานั้นมิได้โกลา อางบังสรรพ์ผูกช้างต้นช้างเผือกแสน ช้างนิยาม อันเครื่องช้างนั้นทองประดับอย่างฝรั่งเศส มีข่ายทองปักหน้าภู่ผ้าปักหลังคองเชิงประดับสีท้าว อันเครื่องกินนั้นแต่ของทองเงิน มีฝาใส่หญ้ากล้วยอ้อย แล้วมีสับประทนแสกตั้งคันเงิน มีเครื่องกินกระยาหารเงิน อันเหล่าช้างจลุงรายซ้าย ๘ ขวา ๘ เชือกนั้นตกแต่งประดับประดาเป็นหลั่นกันตามที่ อันม้าต้นช้างขวานั้น ผูกอานมหาเนาวรัตน์ อันเครื่องกินนั้นมีตะคองน้ำทอง มีถาดเงินรองหญ้าถั่ว เข้า แล้วสับประทน แลไม้เตือนคันเงิน อันเหล่าม้าที่นั่งรองซ้าย ๘ ขวา ๘ นั้น ผูกเครื่องทอง รองเป็นหลั่นกันตามที่ อันฝ่ายบนพระที่นั่งนั้น มีเครื่องราชอุปโภค มีพานพระขันหมาก ๒ ชั้น เชิงครุฑถมยาราชาวดี ประดับตั้ง ซ้าย ๔ ขวา ๔ แล้วมีพานพระสุพรรณราช พระคนทีทองประดับ พระเต้าครอบทองประดับ จึ่งตั้งซ้าย ๔ แถว ขวา ๔ แถว แล้วจึ่งตั้งเครื่องเบญจราชกุกกุพรรณทั้ง ๕ คือ คือพระมหามงกุฎ พระขรรค์ พระแส้ ธารพระกร ฉลองพระบาท ตั้งเครื่องมหาพิชัยสงครามทั้ง ๕ คือ พระมาลา พระแสงศร พระแสงง้าว พระแสงหอก พระแสงซอ เป็น ๕ สิ่งด้วยกัน จึ่งตั้งซ้ายขวา แล้วจึ่งหัวหมื่นมหาดเล็กเกณฑ์นั่งหลัง เครื่องสูงหน้าราชบัลลังก์นั้น คือจหมื่นสรรเพชรภักดี จหมื่นศรีสรรักษณ์ จหมื่นไววรนารถ จหมื่นเสมอใจราช อันสี่คนนี้เป็นนายมหาดเล็กทั้งสิ้น แล้วจึ่งบำเรอภักดี หมื่นจง อันสองคนนี้เป็นปลัดวัง รองหัวหมื่นมหาดเล็กลงมา จึ่งนั่งซ้ายขวากัน จึ่งหลวงศักดิ์หลวงสิทธิ หลวงฤทธิ หลวงเดช อันสี่คนนี้เป็นรองหัวหมื่นมหาดเล็ก เป็นนายเวรมหาดเล็กทั้งปวง จึ่งนั่งซ้ายขวาตามที่ ยังเหล่ามหาดเล็กหุ้มแพรนั้น คือจ่าเรศ จ่ารง จ่ายง จ่ายวด นายกวด นายชัน นานจันมีชื่อ นายจิต นายสนิท นายเสน่ห์ นายเล่ห์อาวุธ นายสุดจินดา นายชัยขรรค์ นายสรรค์วิชัย นายพลไพล่ นายพลพัน อันมหาดเล็กหุ้มแพรนี้ ถือดาบทองประนมมือแล้วนั่งเฝ้าอยู่ข้างบัลลังก์ เป็นซ้ายขวากันตามที่ ยังเหล่าเกณฑ์คลังและชาวที่ ๔ คนนี้ คือหลวงรักษาสมบัติ หลวงทิพย์สมบัติ หลวงเทพสมบัติ ขุนวิสูตร อันชาวคลังและชาวที่สี่คนนี้ นั่งเฝ้าอยู่ริมเครื่องอุปโภค แต่บรรดามุขอำมาตย์ราชเสนาทั้งสิ้นนั้น แต่งตัวนุ่งห่มสองปักใส่ลำพอกมีเกี้ยวดอกไม้ไหวทั้งสิ้น

ครั้นพร้อมแล้ว พระองค์จึ่งสระสรงทรงเครื่อง แล้วจึ่งทรงพระภูษาพื้นแดงปักทองทรงจีบโจงแล้ว ทรงฉลองพระองค์ซับในอย่างน้อยพื้นทอง แล้วทรงฉลองพระองค์ซับนอกอย่างเทศ แล้วทรงตาบทิพทาบนาบประดับ แล้วสังวาลย์ประดับเพชร แล้วทรงพระมหามงกุฎประดับเพชร แล้วทรงพระธำมรงค์ราคาค่ากรุง แล้วจึ่งทรงถือพระแสงดาบตราใจเพชร จึ่งเสด็จทั้งพระมเหสีสามพระองค์ ทั้งพระสนมกำนันอันพรึดพร้อม แวดล้อมตามเสด็จออกมาเป็นอันมาก ครั้นได้เวลาสัญญาแล้ว จึ่งประโคมแตรงสังข์ ฆ้องกลองมโหรีปี่พาททั้งปวงแล้ว จึ่งชักม่านทองสองไข ครั้นเสด็จออกจึ่งหยุดประโคม กรมมาลาการนั้น คือราชมณูเทพมณูนั้น ชูดอกไม้ทอง แล้วจึ่งนำแขกเมือง เข้ามาในพระราชวัง แล้วจึ่งนำกราบสามครั้ง จึ่งถึงที่เฝ้าจึ่งตรัสเรียกหมากกลาง ขนทินบรรณารับสั่ง ขุนทานกำนันตั้งหมาก แล้วพระอาลักษณ์ จึ่งรับพระราชสาส์นนั้น เชิญขึ้นไว้บนเตียงประดับกระจก จึ่งตั้งไว้บนพานทองสองชั้น แล้วพระองค์จึ่งปราศัยตามอย่างตามธรรมเนียม ถ้าเป็นแขกเมืองใหญ่ ทรงพระราชประดิษฐาน ๗๙ นัด ถ้าเป็นแต่แขกเมืองน้อย พระราชประดิษฐาน ๓๕ นัด พระองค์จึ่งประดิษฐานตามเมืองใหญ่ ๗ นัด จึ่งทรงพระปราศัยเจ็ดคำ ว่ากรุงลังกานั้นพระศาสนารุ่งเรืองอยู่ฤๅคำหนึ่ง ข้าวปลาอาหารบริบูรณอยู่ฤๅสองคำ อันฝนฟ้านั้นบริบูรณอยู่ฤๅสามคำ พ้นจากโรคภัยอยู่ฤๅสี่คำ อันบ้านเมืองนั้นพ้นจากโจรผู้ร้ายเบียดเบียฬอยู่ฤๅห้าคำ พระมหากษัตริย์เป็นธรรมอยู่โทหกคำ อันเสนาอำมาตย์นั้นอยู่ในธรรมอยู่โทเจ็ดคำ อันนี้ทรงพระปราศัย เป็นตามอย่างธรรมเนียม ทูตจึงกราบทูลตามมีพระสีหนาถราชโองการตั้ง ๗ นัด แล้วอาลักษณ์จึ่งอ่านถวายว่า พระเจ้ากรุงศิริวัฒนบุรีนั้น มีพระราชสาส์นแลเครื่องบรรณาการเข้ามาถวายเป็นทางไมตรี อันพระเกียรติยศนั้น ฦๅไปถึงกรุงศิริวัฒนบุรี... (ความขาดหายไป)

ศาสนา ทั้งพระศาสนาก็รุ่งเรืองแจ่มใส อันพระเกียรติยศ.....ก็เลื่องฦๅไปถึงเมืองกรุงศรีอยุธยา พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา......ก็มีพระทัยรักใคร่เมตตายิ่งนัก ด้วยว่าเป็นกรุงสัมมาทิษฐิด้วยกัน จึ่งให้ราชสาส์นแลบรรณาการขึ้นมา เป็นทางพระราชไมตรีเพื่อจะใคร่เป็นทอง.........ด้วยสองกรุงนี้เป็นกรุงใหญ่กว่ากรุงทั้งปวง แล้วจะได้ช่วยกันทำนุบำรุงพระศาสนาจะได้เป็นเพดานทองกั้นกางในโลกยพิภพ ทั้งสองกรุงจะได้เป็นตะพานเงินตะพานทองแผ่นเดียวกันทั้งสองกรุง แลอานาราษฎรทั้งปวงก็จะได้ไปมาค้าขายถึงกันสืบไป ตราบเท่าจนสิ้นพระศาสนาฯ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 มิถุนายน 2562 16:14:30 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: 19 มิถุนายน 2562 15:52:11 »

.



คำให้การขุนหลวงประดู่ทรงธรรม
เอกสารจากหอหลวง
(อักขรวิธีใช้ตามต้นฉบับ)

ความแทรก "คำให้การ" เกี่ยวกับสมัยพระนครศรีอยุธยาตอนปลาย (ต่อ)
ส่วนพระบรมราชา ครั้นแจ้งที่ในลักษณะพระราชสาส์นทั้งสิ้น ก็ทรงพระยินดียิ่งนักจึ่งประทานบำเหน็จรางวัลกับราชทูตทั้งสองคน ทั้งเงินทองเสื้อผ้าต่างๆ ทั้งสิ่งของก็ประทานเป็นอันมาก แต่บรรดาพม่าที่มาทั้งสิ้นก็ประทานบำเน็จรางวัลให้ครบตัวกันทั้งบ่าวนาย แล้วเลี้ยงดูให้กินวันละสามเวลา มิได้อนาทรสิ่งหนึ่งสิ่งใด ครั้นเมื่อทูตทั้งสองทูลลากลับ ก็แต่งบรรณาการให้ไปเป็นอันมาก ครั้งนั้นกรุงรัตนะบุระอังวะกับกรุงศรีอยุธยาไปมาถึงกันเป็นหลายครั้ง ฯฯ

ครั้นอยู่มาเมื่อครั้งจุลศักราช ๑๑๑๐ ปีมะโรงสำเร็จธิศก จึ่งมีสมิงธอคนหนึ่ง เป็นชาติกวยมีบุญญาธิการยิ่งนัก ได้ราชสมบัติในกรุงหงสาวดี จึ่งคิดอ่านให้อำมาตย์มาทูลขอพระราชธิดา เมืองกรุงศรีอยุธยา ครั้นพระบรมราชาแจ้งเหตุ ทรงพระโกรธจึงตรัสว่า มันเป็นแต่ชาติกวย มันมาขอลูกสาวกู ครั้งทรงพระโกรธดั่งนั้นแล้ว ก็มิได้ว่าขานประการใด ครั้นอยู่มาเมื่อจุลศักราชได้ ๑๑๑๐ ปี ในปีมะโรงสำเร็จธิศกนั้น เจ้าเมืองมัตมะทั้งผัวเมีย กับผู้คนบ่าวไพร่ทั้งปวงเป็นอันมาก ทั้งเจ้าเมืองทวายด้วยกันกับบ่าวไพร่ผู้คนหนีมาจากเมืองมัตมะ แลเมืองทวายเข้ามาในแดนกรุงศรีอยุธยาข้างด่านทางพระเจดีย์สามองค์ นายด่านชื่อขุนนราขุนละคร จึ่งพาเอาตัวเจ้าเมืองมัตมะเจ้าเมืองทวายทั้งสองนายเข้ามาแจ้งกับเจ้าพระยาชำนาญบริรักษณ์ๆ ซักไซร้ไต่ถาม จึ่งแจ้งความว่า ตัวข้าพเจ้าผู้เป็นเจ้าเมืองมัตมะนี้ ชื่อแมงนราจูสูเมียข้าชื่อแมงสันเป็นมอญ เรียกชื่อภาษามอญนั้นว่านางเหมยมิดฉาน อันเจ้าเมืองทวายนั้นชื่อ แมงแลกแอซอยคอง หนีมาจากเมืองทวายแลเมืองมัตมะ จะมาพึ่งโพธิสมภารพระเจ้ากรุงศรีอยุธยา ตัวข้าพเจ้าผัวเมียกับผู้คนสมกำลังบ่าวไพร่ทั้งปวงด้วยกันทั้งสิ้นจักขอเข้ามาอยู่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท อันเจ้าเมืองทวายก็ให้การตามที่มีมาทั้งสิ้น แล้วให้การว่าเจ้าอังวะ ตั้งให้ข้าพเจ้ามาเป็นเจ้าเมืองมัตมะ เป็นผู้รักษาแดนมัตมะแลแดนทวาย บัดนี้มอญชื่อพระยากรมช้างพระเจ้าอังวะตั้งลงมาให้เป็นเจ้าเมืองหงสาวดีคิดกบฏต่อพระเจ้าอังวะ แล้วต่อสู้รบกันเป็นอันมาก ข้าพเจ้าจะยกทัพไปช่วยตีเมืองหงษาจึงเกณฑ์ผู้คนเมืองมัตมะ มอญเมืองมัดมะจึ่งเป็นกบฏ แล้วไล่จับตัวข้าพเจ้าจักฆ่าเสีย ข้าพเจ้าจึงหนีไปอยู่เมืองกลิอ่องแดนทวาย จึงไปพบเจ้าเมืองทวายเข้าที่เมืองกลิอ่อง ข้าพเจ้ากับเจ้าเมืองทวายจึงคิดอ่านกันแล้ว ก็เกณฑ์ผู้คนชาวเมืองกลิอ่องจะขึ้นไปช่วยอังวะ ชาวเมืองกลิอ่องจึงแข็งเมืองเอา แล้วไล่ข้าพเจ้าจักฆ่าเสีย ข้าพเจ้าจึงหนีเข้ามาพึ่งพระโพธิสมภาร จักอยู่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทพระเจ้ากรุงศรีอยุธยา ไปจนตราบท้าววันตาย

แล้วยกแมงนราจอสูให้การว่า ข้าพเจ้าไปเรียกสมิงธอนั้นๆ ว่าขานท้าทายมาดังนี้ ฝ่ายกรมช้างคิดครั่นคร้ามกลัวทางสมิงธอจะขึ้นมา จึ่งให้ไปปลอบโยนมาแต่โดยดี แล้วจึ่งเอานางคุ้งผู้เป็นลูกสาวนั้นยกให้เป็นเมีย แล้วจึ่งยกราชสมบัติให้กับสมิงธอ กรมช้างจึงทำการราชาภิเศกให้สมิงธอครอบดรองกรุงหงสาวดี ในปีนั้นจึงตั้งนางคุ้งให้เป็นที่มเหสี ครั้นสมิงธอไต้ครองเมืองหงสาวดี ก็มีบุญญาธิการยิ่งนัก จึ่งได้ช้างด่างกระดำตัวหนึ่ง จึ่งให้ชื่อรัตนาฉัตทัน ครั้งอยู่มาสมิงธอจึ่งให้ราชสาส์นไปถึงพระเจ้าหงส์ดำอันเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่ ส่วนพระเจ้าเชียงใหม่นั้นก็กลัวบุญญาอานุภาพสมิงธอ จึงยกลูกสาวอันชื่อนางเทพลิลานั้นให้เป็นเมียสมิงธอ สมิงธอจึงตั้งนางเทพลิลาอันเป็นลูกสาวพระเจ้าเชียงใหม่นั้นให้เป็นที่มเหสี อันนางคุ้งลูกสาวกรมช้างนั้นให้เป็นที่มเหสีขวา อันสมิงธอนั้นรักใคร่ ลุ่มหลงไปแต่ฝ่ายนางเทพลิลา มิได้ทำนุบำรุงกับนางคุ้งที่เป็นมเหสีขวา ฝ่ายกรมช้างผู้เป็นพ่อตานั้นก็น้อยใจ ว่าสมิงธอนี้ไม่รักใคร่ลูกสาว กรมช้างจึ่งคิดอ่านทำการทั้งปวง ครั้นอยู่มากรมช้างจึ่งบอกข่าวช้างเผือก ว่ามีช้างเผือกผู้ตัวหนึ่ง อยู่ในป่าแดนเมืองตองอู มีรูปอันงามยิ่งนัก สมิงธอครั้นแจ้งว่าช้างเผือก จึ่งยกทัพไปตามช้างเผือกที่ในป่า ครั้นสมิงธอไปตามช้างเผือก พระยากรมช้าง จึ่งซ่อมสุมผู้คนแล้วจึ่งปิดประตูเมือง ให้ขึ้นหน้าที่เชิงเทิน จึ่งเกณฑ์ทัพไปรบพุ่งสมิงธอ สมิงธอนั้นสู้รบต้านทานพระยากรมช้างมิได้ จึ่งพาเอานางเทพลิลาผู้เป็นมเหสีนั้นไปส่งเสียเมืองเชียงใหม่ แล้วจึ่งยกทัพกลับมาสู้รบกับพระยากรมช้าง สมิงธอรบ... ต้านทานพระยากรมช้างมิได้ก็แตกหนี จึ่งเข้ามาพึ่งโพธิสมภารพระเจ้ากรุงศรีอยุธยา ครั้นสมิงธอให้การดั่งนี้ เจ้าพระยาพระหลวงจดหมายเอาคำที่ให้การนั้นเข้าไปทูลฉลองกับพระบรมราชา ครั้นทราบจึ่งตรัสว่า อ้ายสมิงธอนี้มันเป็นชาติกวย เมื่อครั้งมันได้นั่งเมืองหงสาวดีนั้น มันจัดให้มาขอลูกสาวเราใจมันกำเริบมันไม่คิดถึงตัวมันว่าไม่ใช่เชื้อกษัตริย์ มันจองหองมาขอลูกสาวเราจึ่งมีโองการตรัสสั่งให้เอาใส่คุกไว้ แล้วให้จองจำตัวมันไว้ เจ้าพระยากรมท่าจึ่งเอาตัวสมิงธอนั้นมาใส่คุกไว้แล้วจองจำตามรับสั่ง อันสมิงธอนั้นเป็นคนดีมีความรู้ ฝ่ายข้างวิปัสนาธุระคันถธุระแผ่เมตตาดีนัก ผลที่สมิงธอแผ่เมตตานั้น อันผู้คุมแลนายคุก ก็มีเมตตาแล้วมิได้จำจองก็ลดลาให้อยู่ดีๆ แล้วเลี้ยงดูให้กินอยู่บรบูรณ มิได้ลำบากยากใจ ครั้นกิติศัพท์นั้นรู้ไปถึงเจ้ากรมหมื่นจิตรสุนทรผู้เป็นพระราชบุตรว่าสมิงธอนี้ เป็นคนดีมีวิชา ความรู้ดียิ่งนัก จึ่งมาเรียนความรู้แล้วจึ่งทำนุบำรุงเลี้ยงดูให้กินอยู่มิได้อนาทรร้อนใจ แล้วจึงทูลเบี่ยงบ่ายแก้ไขให้สมิงธอได้ออกจากคุก

ครั้นอยู่มาพระยากรมช้างซึ่งเป็นเจ้าเมืองหงสาวดีรู้ไปว่าสมิงธอหนีเข้าไปอยู่ในเมืองกรุงศรีอยุธยา จึ่งให้เสนาถือหนังสือเข้ามากราบทูล กับพระเจ้ากรุงศรีอยุธยาว่าอย่าให้พระเจ้ากรุงศรีอยุธยารับตัวสมิงธอไว้ มันเป็นคนไม่ตรงอกตัญญู ให้พระเจ้ากรุงศรีอยุธยาส่งตัวมันมาจักฆ่ามันเสีย พระเจ้ากรุงศรีอยุธยาก็มิได้ส่งตัวสมิงธอไป จึ่งฝากสำเภาจีนส่งไปเสียเมืองจีน เมื่อครั้งจุลศักราชได้ ๑๑๑๘ ปีชวดอัฐศก เมื่อพระบรมราชาจักใกล้สวรรคต ส่วนเจ้าสำเภาจีนรับเอาตัวสมิงธอไปสำเภาแล้ว จึ่งปล่อยเสียที่กลางทางแล้ว สมิงธอจึ่งตรงไปเข้าแดนเมืองเชียงใหม่ไปหานางเทพลิลาอันเป็นลูกเจ้าเชียงใหม่ผู้เป็นบิดา แล้วจึ่งให้ทูลขอกองทัพจักไปรบเมืองหงษา พระเจ้าเชียงใหม่ก็มิให้เกณฑ์ทัพ ตามใจนางเทพลิลาทูลขอ ครั้นสมิงธอให้นางเทพลิลาทูลขอกองทัพไม่ได้ดั่งใจ จึ่งลักเอานางเทพลิลาได้แล้วก็พาหนีจากเมืองเชียงใหม่ กับผู้คนสมกำลังเป็นอันมาก ครั้นมาถึงกลางทาง จึ่งมาพบมังลองยกทัพออกไปรบเมืองหงสามังลองจึงจับเอาตัวสมิงธอได้แล้วก็ส่งขึ้นไปเมืองอังวะ ครั้นมังลองได้เมืองหงสาแล้ว มังลองจึงยกทัพไปรบกรุงไทย เมื่อครั้งจุลศักราช ๑๑๒๒ ปีมะโรง โทศก ฯฯ

อันพระบรมราชานั้น พระองค์มีเมตตาแก่สัตว์ทั้งตั้งอยู่ในยุติธรรม ถ้าใครชอบพระองค์ก็ตอบรางวัล ถ้าใครผิดก็ให้ลงทัณฑโทษา ที่ควรเลี้ยง พระองค์ก็เลี้ยงตามศักดิ์ ที่ควรฆ่าก็ฆ่าให้บรรลัยจนพระราชบุตรแลพระราชธิดาพระองค์ก็มิได้ไว้หน้า อันพระราชอาชญาของพระองค์นี้ดั่งขวานชัยของรามสูร จนแต่พระมหาอุปราชที่รักใคร่เสน่ห์หา ครั้นไม่อยู่ในยุติธรรมแล้ว พระองค์ก็มิได้ไว้หน้าพระองค์ก็สังหารให้ถึงแก่พิลาไลย ยังพระราชบุตรสององค์พระองค์ก็ปลงชีวิตให้ถึงแก่ความตายแล้วพระองค์จัดตั้งเจ้าฟ้าดอกเดื่อเป็นที่มหาอุปราชแทนที่ด้วย เดิมทีเมื่อแรกจะมีพระครรภ์เจ้าฟ้าดอกเดื่อนั้น พระองค์ก็ทรงพระสุบินนิมิตรฝันว่าพระองค์ได้ดอกมะเดื่อ พระองค์ก็ทรงทำนายฝันพระองค์เอง อันว่าดอกมะเดื่อนี้ไม่มีหายากนัก ก็มาได้ดอกมะเดื่อนี้เป็นลาภใหญ่ดีหนักหนา เป็นที่ยิ่งอยู่ในโลก พระองค์จึงคิดจะให้ครอบครองราชสมบัติสืบไป จึ่งตั้งเจ้าฟ้าดอกเดื่อให้เป็นที่มหาอุปราช เพื่อเหตุว่าทรงพระสุบินนิมิตรดั่งนี้ จึงตั้งให้เป็นกรมราชวังสถานมงคล อยู่วังจันทะเกษมได้ครองกึ่งพิภพภารา พระบิดาจึ่งสมมุตินามเรียกพระอุทุมพร เมื่อครั้งจุลศักราชได้ ๑๑๑๙ ปีฉลูนพศก ฯฯ

พระอุทุมพรได้เป็นที่พระมหาอุปราช รององค์สมเด็จพระบิดาให้ว่าราชการกึ่งพิภพอันพระบรมราชานั้น ได้เสวยราชสมบัติมาช้านานหนักหนา แต่เป็นที่มหาอุปราชมาก็ช้านานได้ถึงยี่สิบปี พระชนม์ได้เจ็ดสิบพระวะษา เมื่อกาลจะมาถึงที่ด้วยพระองค์เป็นอธิบดีได้เป็นใหญ่อยู่ในพิภพแลนคร จึ่งมีวิปริตด้วยเทพสังหรต่างๆ อันกะลาบาตนั้นก็ตกลงมาที่ในเมือง ทั้งฟ้าก็แดงดูดั่งแสงเพลิง อันน้ำที่ในแม่น้ำนั้นก็บรรดาลในเดือดแดงเป็นสีเลือด ประทุมเกศก็ตกถูกปราสาท ทั้งกละพฤกษใหญ่ก็ขึ้นมาทั้งอินทนูลำภู่กันดาวหางก็ขึ้นมา ทั้งคลองช้างเผือกก็ขวางขึ้นมาตามโดยอากาศ ทั้งตรีกาลกลาจักร์ก็ขึ้นมา ทั้งดาวก็เข้าในพระจันทร์ ทั้งพระอาทิตย์ก็ให้มืดเย็นเยือกไปทั่วทุกทิศ ทั้งพระจันทร์ก็แดงเหมือนแสงเพลิง ก็พากันเงียบเหงาเศร้าใจไปด้วยกันทั้งสมณแลชีพราหมณ์ ทั้งเสนาแลอาณาราษฎรชายหญิง แลเด็กใหญ่เถ้าแก่ ทั้งกรุงแลขอบขันธเสมาของพระองค์ทั้งสิ้น ด้วยนิมิตด้วยพระองค์จะนิพพาน อันพระบรมราชานั้นวัน ๗ ได้เสวยราชสมบัติมาช้านาน แต่เมื่อครั้งจุลศักราชได้ ๑๐๙๓ ปีชวดตรีนิศก พระชนมายุศมได้ ๕๑ ปี อยู่ในราชสมบัติ ๒๗ ปี เป็น ๗๘ ปี จึ่งสวรรคต เมื่อปีสวรรคตนั้นจุลศักราชได้ ๑๑๒๐ ปีขาลสำเร็จธิศก เดือนเก้า แรมหกค่ำ วันพุธ เพลาได้ ยามเศษ ฯ

พงศาวดานทอดหลัง นับตั้งแต่พระอุทุมพรได้ราชสมบัติไปจนถึงเมื่อสิ้นกรุงสิ้นเรื่อง สิ้นสมุดยุติแต่เท่านั้น

เมื่อจุลศักราช ๑๑๒๐ ปีขาล สำเร็จธิศก วันพุธ เดือนหก แรมห้าค่ำ พระบรมราชาสวรรคตแล้ว พระอุทุมพรราชาได้ว่าราชการกรุงทั้งปวง จึ่งคิดอ่านกันกับพระเชษฐาธิราช ที่จะแต่งการพระบรมศพสมเด็จพระบิดา จึ่งมีรับสั่งให้เรียกบรรดาพระญาติวงศ์ทั้งปวงเป็นอันมาก ฝ่ายพระญาติวงศ์น้อยใหญ่ทั้งสิ้นก็เข้ามาถวายบังคมพร้อมกันทั้งสิ้น แล้วมีพระโองการรับสั่งให้ถือน้ำพระพิพัฒสัจจาตามประเพณีตามอย่างแต่ก่อนมา บรรดาพระราชตระกูลเสนาอำมาตย์น้อยใหญ่เป็นอันมากก็ถือน้ำพิพัฒสัจจาตามอย่างธรรมเนียมแต่ก่อนมา ฝ่ายกุมารทั้งสามนั้นคือกรมจิตรสุนทร กรมสุนทรเทพ กรมเสพภักดี กุมารทั้งสามนั้นพระโองการให้ไปเรียกก็มิได้มาตามรับสั่ง ขัดรับสั่งแลซ่องสุมผู้คนแลศัตราอาวุธเป็นอันมากมิได้ปกติตามอย่างธรรมเนียมแต่ก่อนมา

ฝ่ายพระสังฆราชานั้น มีเมตตาแก่สัตว์ทั้งปวงกลัวจะเกิดเหตุ จะมีอันตราย แก่สัตว์ทั้งปวงจึ่งไปเรียกกุมารทั้งสามองค์มา ฝ่ายกุมารทั้งสามองค์นั้นก็เข้ามาตามพระสังฆราช จึ่งเข้าไปกราบพระศพแลกราบพระอุทุมพรราชาแล้ว ก็ถือน้ำพิพัฒสัจจาตามประเพณีตามอย่างตามธรรมเนียมแต่ก่อนมา แล้วก็คืนมายังบ้านหลวง อันเป็นที่อยู่แต่ก่อนมา ก็มิได้ปกติมิได้เลิกทัพ ที่ซ่องสุมผู้คนแลศัตราอาวุธทั้งปวงนั้น เสนาบดีก็ให้ผู้คนไปสอดแนมดู แลก็เห็นผู้คนแลศัตราอาวุธครบตัวกัน ซ่องสุมอยู่เป็นอันมาก ครั้นคนที่ไปดูนั้นเห็นแล้วจึงเอาความมาแจ้งเหตุแก่เสนาบดีผู้ใหญ่ ฝ่ายเสนาบดีผู้ใหญ่จึงปรึกษาโทษตามอย่างตามธรรมเนียมกฎพระอัยการก็เห็นว่าโทษผิดเป็นอันมาก โทษนี้ถึงตาย ครั้นปรึกษาพร้อมกันสิ้นแล้วบันดาเสนาบดีน้อยใหญ่แลราชบัณฑิตทั้งปวงจึ่งใส่ในกฎพระอัยการ จึงทำเรื่องราวกราบทูล ครั้นทำเรื่องราวแล้วเสนาบดีทั้งปวงพร้อมกันเข้าไปกราบทูลฉลองแก่สมเด็จพระอุทุมพรราชา ครั้นพระอุทุมพรราชาทราบแล้ว จึ่งมีพระโองการตรัสให้ทำตามบทพระอัยการตามโทษ ครั้นมีพระโองการตรัสออกมาแล้วฝ่ายเสนาบดีผู้ใหญ่ จึ่งจดหมายพระโองการมาตามมีรับสั่ง แล้วจึ่งให้อำมาตย์ผู้น้อยคุมผู้คนไปเรียกสามกุมารเป็นอันมาก ครั้นอำมาตย์ไปเรียกก็ยกผู้คนตามมามีศาสตราอาวุธเป็นอันมาก ครั้นมาถึงประตูพระราชวังแล้วฝ่ายผู้คนที่รักษาประตูพระราชวังนั้นจึงออกห้ามปรามมิให้ผู้คนทั้งปวงนั้นเข้าไป บรรดาผู้คนทั้งปวงที่ตามสามกุมารมานั้นก็หยุดอยู่ที่นั้นมิได้ตามไปในพระราชวัง ฝ่ายกุมารทั้งสามองค์นั้นก็เข้าไปในพระราชวังทั้งสามองค์ ฝ่ายเสนาบดีทั้งนั้นจึ่งจับกุมารทั้งสามนั้นล้างเสียให้ถึงแก่ความพิลาไลยทั้งสามองค์ ตามกฎพระอัยการที่มีมาแต่ตามอย่างธรรมเนียมแต่ก่อน ตามมีพระโองการรับสั่งมา

ครั้งสิ่นเสี้ยนศัตรูแล้ว พระอุทุมพรราชา กับพระเชษฐาธิราชนั้น ก็คิดอ่านกันที่จะทำพระบรมศพ แล้วพระองค์จึงมีพระโองการให้มีตราพระราชสีห์ไปทุกประเทศราช ให้ชุมนุมกษัตริย์ทั้งปวงทุกหัวเมืองขึ้นแลบรรดาหัวเมืองน้อยใหญ่ทั้งสิ้นให้มาปลงพระบรมศพสมเด็จพระบิดา แล้วจึ่งเอาน้ำหอมแลน้ำดอกไม้เทศแลน้ำกุหลาบน้ำหอมต่างๆ เป็นอันมาก มาแล้ว พระอุทุมพรราชาพระเอกทัตทั้งสองพระองค์ก็ทรงกรรแสงร่ำไร ด้วยคิดถึงพระคุณสมเด็จพระบิดาก็เศร้าโศรกร่ำไรทั้งสองพระองค์ พระราชบุตรแลพระราชธิดาพระญาติพระวงศ์ทั้งปวง แลพระสนมกำนัลทั้งปวงเป็นอันมาก เสนาบดีน้อยใหญ่แลราชนิกูลน้อยใหญ่ประเทศราชทั้งปวง เศรษฐีคหบดีพร้อมกันร้องไห้อื้ออึงไปในปราสาทด้วยความรักพระบรมราชาทั้งสิ้น ครั้นสรงน้ำหอมแล้ว จึ่งทรงสุคนธารส แลกระแจะจวงจันทน์ทั้งปวงแล้วทรงสนับเพลาเซิงงอนทองชั้นใน แล้วทรงพระภูษาพื้นขาว ปักทองชั้นนอก แล้วจึงทรงเครื่องต้นแลเครื่องทองแล้วจึงทรงฉลองพระองค์อย่างใหญ่ กรองทอง สังเวียรหยัดแลชายไหว ชายแครงตาบทิพแลตาบหน้า แลสังวาลประดับเพชร แล้วจึ่งทรงทองต้นพระกร แลปลายพระกรประดับเพชรพระมหาชฎาเดินหน มียอดห้ายอด แล้วทรงพระธำมรงค์เพชรอยู่เพลิงทั้งสิบนิ้วพระหัตถ์ แลสิบนิ้วพระบาท แล้วจึงเชิญเสด็จขึ้นบนฐานกาจับหลักแล้วจึ่งเอาไม้ง่ามหุ้มทองนั้นค้ำพระหนุเรียกว่าไม้กาจับหลัก จึ่งประนมกรเข้าแล้วเอาซรองหมากทองปากประดับในใส่พระหัตถ์ แล้วเอาพระภูษาเนื้ออ่อนเข้าพันเป็นอันมาก ครั้นได้ที่แล้วจึ่งเอาผ้าขาวเนื้อดีสี่เหลี่ยมเข้าห่อเรียกว่าผ้าห่อเมี่ยงตามอย่างตามธรรมเนียมมา แล้วจึงเชิญเข้าโกฎลองในทองหนักสิบสองชั่งแล้วจึงใส่ในโกฏทองใหญ่เป็นเฟืองกลีบจงกล ประดับพลอยมียอดเก้ายอด เชิงนั้นมีครุฑแลสิงอัดทองหนัก ๒๕ ชั่ง แล้วเชิญพระโกฎนั้นขึ้นเตียงหุ้มทอง แล้วจึงเอาเตียงที่รองพระโกฎนั้นขึ้นบนพระแท่นแว่นฟ้า แล้วจึงกั้นราชวัตตาไข่ปะวะหล่ำแดง แลราชวัตรฉัตรอันทำด้วยแก้ว มีเครื่องสูงต่างๆ แล้วจึงเชิญพระพุทธรูปมาตั้งที่สูงเป็นธิบดีแล้วจึงตั้งเครื่องราชบริโภคนานา ตั้งฐานพระสุภรรณปัต ถมยาใส่บนพานทองประดับสองชั้น แล้วจึ่งตั้งพานพระสำอาง พานพระสุพรรณศรี แลพระสุพรรณราช แลพระเต้าครอบทอง แลพระคณฑีทอง แลพานทองประดับแลเครื่องอุปโภคบริโภคนานา ตั้งเป็นชั้นหลั่นกันมาตามที่ซ้ายขวาเป็นอันดับกันเป็นอันมาก แล้วจึ่งตั้งมยุรฉัตรขวามียอดหุ้มทอง ระไบทอง แลคันหุ้มทองประดับทั้งแปดคันทั้งแปดทิศ แลมีบังพระสูรย์ แลอภิรุม แลบังแซกจามรทานตะวันแลพัดโบกสารพัดเครื่องสูงนานาตั้งซ้ายขวา เป็นชั้นเป็นหลั่นกันตามที่ตามทาง แล้วจึงปูลาดพระสุจนียี่ภู่ จึ่งตั้งพระแท่นประดับแว่นฟ้าในพระยี่ภู่เข้ามาแล้วจึ่งปูลาดที่บรรทม แล้วตั้งพระเขนยกำมะหยี่บักทองอันงาม แล้วจึ่งตั้งฝ่ายซ้ายขวาสำหรับสองพระองค์จะนั่งอยู่ตามที่กษัตราธิบดี แล้วจึ่งกะเกณฑ์ให้พระสนมกำนัลทั้งปวงมานั่งห้อมล้อมพระบรมศพ แล้วก็ร้องไห้เป็นเวลานาทีเป็นอันมาก แล้วมีนางขับรำเกณฑ์ทำมโหรี กำนัล นารีน้อยๆ งามๆ ดั่งกินร กินรีมานั่งห้อมล้อม ขับรำทำเพลงอยู่เป็นอันมาก แล้วจึ่งให้ประโคมฆ้องกลองแตรสังข์ แลมโหรีปี่พาทย์อยู่ทุกเวลา พระองค์จึ่งให้ตั้งที่อาสนสงฆ์ แล้วจึ่งให้ธรรมโกลิต ซึ่งเป็นพนักงานสังฆการีให้นิมนต์พระสังฆราชเป็นต้น แลราชาคณะอันมีชื่อตามตำแหน่งเป็นประธานแก่พระสงฆ้ทั้งนอกกรุงแลในกรุงแลบรรดาพระสงฆ์หัวเมืองเป็นอันมาก เวลาค่ำให้เข้ามาสดัปกรณ์แล้วสวดพระอภิธรรม

ครั้นเพลาเข้าถวายพรพระแล้วฉัน ครั้นเพลาเพลให้มีเทศนาแล้วถวายไชยทานไตรจีวร ติจีวริกแลเครื่องเตียบเครื่องสังเขป ทั้งต้นกัลปพฤกษ์ อันมีสิ่งของต่างๆ ครบครันวันหนึ่งเป็นพระสงฆ์ร้อยหนึ่งทุกวันมิได้ขาด ครั้นแล้วจึ่งตั้งโรงงานการเล่นมโหรสพทั้งปวงให้มีโขน หนัง ละคร หุ่นแลมอญรำ ระบำทองทั้งมงคลุ่มผาลากุลาตีไม้ สารพัดมีงานการเล่นต่างๆ นานา แล้วทั้งสองพระองค์จึ่งแจกเสื้อผ้า เงินทองสารพัดสิ่งของนานา ครบครันให้ทานแก่อานาประชาราษฎรทั้งปวง ทั้งหญิงทั้งชายเด็กแลผู้ใหญ่เฒ่าแก่ก็แตกกันมารับพระราชทานเป็นอันมาก พระองค์ก็ให้ด้วยมีน้ำพระทัยศรัทธายินดี อานาประชาราษฎรก็ชื่นชมยินดี แล้วยอกรอัญชุลีเหนือเกล้าเกศา ถวายพระพรทั้งสองพระองค์ บ้างก็มาโศกาอาดูร รำไรคิดถึงพระธรรมราชา แล้วก็พากันไปดูงานเล่นทั้งปวงอันมีต่างๆ ทั้งเด็กแลผู้ใหญ่ก็พากันรื่นเริงไปทั้งกรุงศรีอยุธยา ทั้งสองพระองค์จึงมีรับสั่งให้ตั้งพระเมรุทองที่ท้องสนามหลวง แล้วตั้งพระเมรุใหญ่สูง แล้วปิดทองประดับกระจกผูกเป็นลวดลายต่างๆ แล้วมีเพดานรองสามชั้น เป็นหลั่นๆ ลงมาตามที่จึ่งมีพระเมรุใหญ่สูงสุดยอดพระสเดานั้น ๔๕ วา ฝานั้นแผงหุ้มผ้าปิดกระดาษปูพื้นแดง เขียนเป็นชั้นนาค ชั้นครุฑ ชั้นอิสูร ชั้นเทวดา ชั้นอินทร์ แลชั้นพรหม ตามอย่างเขาพระสุเมรุ ฝาข้างในเขียนเป็นดอกสุมณฑาทอง แลมณฑลเงินแกมกัน แลเครื่องพระเมรุนั่น มีบันแลมุข ๑๑ ชั้น เครื่องบนจำหลักปิดทองประดับกระจก ขุนสุเมรุทินราชเป็นนายช่างอำนวยการ พระเมรุใหญ่นั้นมีประตู ๔ ทิศ ตั้งรูปก็นร รูปอิสูร ทั้ง ๔ ประตู พระเมรุใหญ่นั้นปิดทองทึบจนเชิงเสากลางพระเมรุทอง ก่อเป็นแท่นรับเชิงตะกอน อันเสาเชิงตะกอนนั้นก็ปิดทองประดับกระจกเป็นที่ตั้งพระบรมโกษฐ แล้วจึงมีเมรุทิศ ๔ เมรุ แซก ๔ เป็น ๘ ทิศ ปิดทองกระจกเป็นลวดลายต่างๆ แล้วจึงมีรูปเทวดา รูปเพทยาธร คนธรรพ์ แลครุฑกินร ทั้งรูปคชสีห์ ราชสีห์ แลเหมหงส์ แลรูปนรสิงห์ แลสิงส์โต ทั้งรูปมังกร เหรา นาคา แลรูปทักธอ รูปช้างม้า เรียงผาสารพัดรูปสัตว์ทั้งปวงต่างๆ นานาครบครัน ตั้งรอบพระเมรุเป็นชั้นกั้นตามที่แล้วจึงกั้นราชวัตรสามชั้น ราชวัตรนั้นก็ปิดทอง ปิดนาค ปิดเงิน แล้วตีเรือกเป็นทางเดินที่สำหรับจะเชิญพระบรมศพมาริมทางนั้นจึ่งตั้งต้นไม้กระถางอันมีดอกต่างๆ แล้วประดับประดาด้วยฉัตรแลธงงามแล้วงามไสว ครั้นแล้วพระองค์ก็เสด็จเข้าในพระราชวัง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 มิถุนายน 2562 16:13:10 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #7 เมื่อ: 19 มิถุนายน 2562 16:00:06 »

.



คำให้การขุนหลวงประดู่ทรงธรรม
เอกสารจากหอหลวง
(อักขรวิธีใช้ตามต้นฉบับ)

ความแทรก "คำให้การ" เกี่ยวกับสมัยพระนครศรีอยุธยาตอนปลาย (ต่อ)
ฝ่ายข้างสมเด็จพระพันวษาใหญ่นั้นก็ประชวรหนักลง ก็เสด็จสู่สวรรคาไลยไปเป็นสองพระองค์ด้วยกัน พระเอกทัต แลพระอุทุมพรราชาทั้งสองพระองค์ก็ทรงพระกันแสงพิลาปพร่ำรำไรถึงสมเด็จพระชนนี แลพระบิดาทั้งพระราชบุตร แลพระราชธิดา ทั้งพระญาติวงศ์ทั้งปวง แลพระสนมกำนัล สาวสรรค์ทั้งปวง ทั้งเสนาบดีแลราชตระกูลเป็นอันมากก็พากันโศกาอาดูรดังอื้ออึง ครื้นเครงไปทั้งปราสาทศรี แล้วจึ่งสรงน้ำกุหลาบ น้ำบุปผาเทศน้ำหอมต่างๆ ครั้นสรงแล้วจึ่งประดับประดาเครื่องทั้งปวง ประดุจดังสมเด็จพระบิดา แล้วจึ่งเชิญมาใส่ในพระโกศทองสองชั้น แล้วจึ่งตั้งบนพระแท่นประดับแว่นฟ้า ตั้งไว้ฝ่ายซ้ายพระบิดา แล้วสดัปกรณ์แลสวดฉันแลทำการทั้งปวงประดุจดังสมเด็จพระบิดา แล้วพระองค์จึงมีรับสั่งให้ปลงพระบรมศพพระบิดาแลพระชนนี อันบรรดาพระญาติวงศ์ทั้งปวงแลพระสนมกำนันนารี แลพระยาประเทศราชแลราชนิกูล แลเสนาบดีใหญ่น้อย แลเศรษฐีคหบดีทั้งสิ้นให้แต่งตัวด้วยเครื่องขาวอันให้ครบตัวกันทั้งสิ้น บรรดาคนเกณฑ์แห่ทั้งปวงนั้นก็ให้แต่งเครื่องขาวใส่ลำพอกถือพัดไปซ้ายขวาเป็นอันมากแล้วมีฆ้อง แตร สังข์ ลำโพงแลแตรงอนแลปี่พาทย์ ตีแห่ไปดังครื้นเครงไปทั้งพระราชวังน่า ปี่พาทย์นั้นเครื่องชัยทานทั้งปวงเป็นอันมาก แล้วจึงเชิญพระมหาพิชัยราชรถ ทั้งสองเข้ามาเทียบแล้ว จึ่งเชิญพระโกฎทอง ทั้งสองนั้นขึ้นสู่พระราชรถทั้งสองแล้วจึ่งเทียมด้วยม้า ๔ คู่ ม้านั้นผูกประกอบรูปราชสีห์กรวมตัวม้าลงให้งามแล้วจึ่งมีนายสารถีขับรถ แต่งตัวอย่างเทวดาข้างละ ๔ คน อันรถที่นำหน้านั้น สมเด็จพระสังฆราชอ่านพระอภิธรรม ถัดมาถึงรถเหล่าพระญาติวงศ์ ถือจงกลปรายข้าวตอกดอกไม้ ถัดนั้นไปรถพระญาติวงศาถือผ้ากาษา มีปลอกทองประดับเป็นเปลาะๆ ห่างกันประมาณสามวาแล้วถือซองหมากทองโยงไปหน้า ถัดนั้นมาถึงรถพระบรมศพ ถัดมารถใส่ท่อนจันทน์ แลกฤษณากลำภักปิดทองรูปเทวดาถือกฤษณากระลำภักท่อนจันทร์นั้นถือชูไปบนรถด้วยกันจึ่งมีรูปสัตว์ ๑๐ อย่างๆ ละคู่เป็น ๒๐ ตัว มีรูปช้างสอง ม้าสอง คชสีห์สอง ราชสีห์สอง สิงโตสอง มังกรสอง ทักขธอสอง นรสิงห์ ๒ เหม ๒ หงส์ ๒ แลรูปภาพทั้งนี้สูง ๔ ศอกมีมณฑปบนหลังสำหรับใส่ธูป น้ำมันภุมเสน แลเครื่องหอมต่างๆ มีคนชักรถพระบรมศพแซงไปทั้งซ้ายขวา แต่งตัวอย่างเทวดาใส่กำไลต้นแขนแลกำไลมือ ใส่สังวาลทับทรวงใส่เทริดแล้วเข้าชักรถพระบรมศพไปซ้ายขวาเป็นอันมากชักด้วยเชือกหุ้มด้วยสักหลาดแดงไป ๔ แถว รถนั้นชักไปบนเรือกสองข้างทาง ประดับด้วยราชวัตรแลฉัตรธง เบญจรงค์ทองนาคเงิน แล้วไปฝ่ายหน้าหลังฝ่ายซ้ายขวามีเครื่องสูงกระบวนพยุหยาตราอย่างใหญ่ แลมีผู้ถือเครื่องราชาบริโภคครบครัน แล้วจึ่งถึงเกณฑ์แห่เสด็จขุนหลวงจึ่งมีเสนาบดีน้อยใหญ่นั้นแต่งตัวนุ่งขาว ใส่เสื้อครุยขาว ใส่ลำพอกขาว ถือพัดแล้วเดินแห่ไปซ้ายขวา แล้วจึ่งถึงเหล่าปุโรหิตราชครูถือพัดแห่ไปซ้ายขวาแล้วจึงถึงเหล่าราชนิกูล ถือพัดแห่ไปซ้ายขวาเป็นอันมาก แล้วจึ่งถึงเหล่าดนตรีกลองชนะ แลกลองโยน แลแตรสังข์ลำโพง แลแตรงอนนั้นก็เป็นอันมาก ซ้ายขวานั้นมีมหาดเล็กถือดาบทอง แห่ไปซ้ายขวาเป็นอันมาก แล้วจึ่งมีตำรวจในตำรวจนอกนั้นพนมมือเดินแห่ไปซ้ายขวาแล้วจึงถึงหัวหมื่นมหาดเล็กนั้น พนมมือเดินแห่ไปซ้ายขวา แล้วจึ่งมาถึงมหาดเล็กเกณฑ์ถือพาน พระสุพรรณศรีแลสุพรรณราช แลพระเจ้าครอบทอง แลพานทอง แลเครื่องทองทั้งปวงต่างๆ นั้นก็เป็นอันมาก แล้วเกณฑ์มหาดเล็กเหล่าถือพระแสงปืน แลพระแสงหอก แลพระแสงง้าว แลพระแสงกั้นหยั่น แลพระแสงประดับพลอย แลพระแสงดาบฝักทอง แลพระแสงต่างๆ เป็นอันมากเดินแห่เสด็จไปซ้ายขวา แล้วมีมหาดเล็กแลตำรวจใน แลมหาดไทยถือกระสุนเดินแห่ไปซ้ายขวาดูสูงต่ำเดินห้ามแหนไปตามทางเสด็จทั้งซ้ายขวา ครั้นพร้อมแล้วพระองค์จึ่งแต่งองค์ทรงเครื่องประดับประดาทั้งปวงล้วนเครื่องขาวแล้วเสด็จขึ้นสู่พระเสลี่ยงทองประดับกระจกมีพระกลดขาวยอดทองระบายทองคันหุ้มทองประดับ มหาดเล็ก ๔ คนเดินคั่นไปซ้ายขวา มีพระบุตรีแต่งองค์ทรงเครื่องประดับประดาด้วยสร้อยถนิมพิมพาภรณ์เป็นอันงาม นั่งบนพระเสลี่ยงสองหลังสององค์เป็น ๔ แห่แหนตามขบวนพยุหยาตราไปฝ่ายหลังพระบรมศพสมเด็จพระบิดาแลพระชนนี แล้วจึงพระญาติวงศ์พระสนมกำนันในทั้งปวง ก็ตามเสด็จไปเป็นอันมาก อันเหล่ามหาดเล็กแลขอเฝ้าเหล่าเศรษฐี คหบดีทั้งปวง แลอำมาตย์น้อยใหญ่ทั้งปวงเป็นอันมากพร้อมกันตามเสด็จไปฝ่ายหลังกระบวนพระพยุหยาตรา แล้วจึ่งทำลายกำแพงวังหว่างประตูมงคลสุนทรแลประตูพรหมสุคตต่อกัน ครั้นถึงพระเมรุใหญ่ที่ท้องสนามหลวงแล้วจึ่งชักรถ พระบรมศพทั้งสองนั้น เข้าในเมรุทิศเมรุแซก ทั้ง ๘ ทิศแล้วจึ่งทักษิณเวียนพระเมรุใหญ่ได้สามรอบ แล้วเชิญพระโกศทั้งสองนั้นเข้าในพระเมรุใหญ่ตามอย่างตามธรรมเนียม จึงไว้พระบรมศพ ๗ ราตรี แล้วจึงนิมนต์พระสังฆราชพระพิมลธรรม แลพระราชาคณะ คือ พระเทพมุนี พระเทพกวี พระเทพเมาลี พระธรรมโคดม พระอุบาลี พระสิมพะลี พระพุทธโฆษา พระมนเทปะนี พระธรรมถึกพระวินัยธร พระวินัยธรรม พระนาค แลพระสังฆราชหัวเมือง และพระสังฆราชนอกกรุงแลในกรุงเป็นอันมากก็เข้ามาสดัปกรณ์กัน ๗ วัน แล้วถวายผ้าไตรจีวรแลเครื่องชัยทานสังเคต แลเตียบ แลต้นกัลปพฤกษ์ อันมีสิ่งของทั้งปวงต่างๆ นานาครบครัน มีต้นกัลปพฤกษ์แขวนเงินใส่ในลูกมะนาวลูกหนึ่งต้นหนึ่ง ใส่เงิน ๓ ชั่ง มีทั้ง ๘ ทิศพระเมรุ ทิ้งทานวันละ ๘ ต้นทั้ง ๗ วัน เป็นเงิน ๑๓๔๔๐ บาท เท่ากับ ๑๖๘ ชั่ง แล้วพระองค์จึ่งให้ทานผ้าผ่อนแลสิ่งของทั้งปวงต่างๆ เป็นอันมาก แล้วจึ่งให้มีการมโหรสพครบต่างๆ นานา เหล่าไพร่พลเมืองทั้งกรุง ก็มารับทานเงินข้าวของต่างๆ ครั้นรับพระราชทานแล้วก็พากันไปดูงานการที่ท่านให้แต่งไว้ต่างๆ นานา แลเครื่องแต่งพระบรมศพทั้งปวงอันงาม มีรูปสัตว์นานา อันประดับประดาพระเมรุอันสูงใหญ่มีรทาดอกไม้เพลิง แลดอกไม้ต่างๆ ตั้งรายรอบพระเมรุเป็นอันมาก ครั้นเห็นที่ตกแต่งพระศพด้วยเครื่องนานาบ้าง ก็โศกาอาดูร พูนโศกคิดถึงพระบรมราชา แล้วก็พากันครื้นเครงไปด้วยงานการเล่นทั้งปวง อันประกอบไปด้วยเสียงดุริยางดนตรี มีงานมหรสพครบ ๗ ราตรี พระองค์จึงมีพระโองการตรัสสั่งให้ถวายพระเพลิงสมเด็จพระราชบิดา แลพระพันปีหลวงอันประเสริฐทั้งสองพระองค์

สมเด็จบรมเอกทัศ และพระอนุชาธิราช แลพระราชบุตรบุตรี แลพระสนมสาวสรรค์กำนัลทั้งซ้ายขวา แลพระญาติพงศา ก็ห้อมล้อมพระบรมศพอยู่ จึ่งรับสั่งให้ถวายพระเพลิงด้วยไฟฟ้า แล้วจึ่งเอาท่อนกฤษณา กะลำภัก แลท่อนจันทน์อันปิดทอง บันดาเครื่องของหอมทั้งปวงนั้น ใส่ในใต้พระโกฏทองทั้งสองแล้ว จึ่งจุดเพลิงไฟฟ้า แล้วจึ่งสาดด้วยน้ำหอม แลน้ำดอกไม้เทศ แลน้ำกุหลาบแลน้ำหอมทั้งปวง อันมีกลิ่นหอมฟุ้งขจร ตลบอบไปทั้งพระเมรุทอง ฝ่ายองค์บรมเอกทัตราชา แลพระอุทุมพรราชา ทั้งสองพระองค์ก็ทรงพระกรรแสงพิลาปร่ำไรพระทัยคนึงถึงพระปิตุเรศพระชนนี ทั้งพระราชบุตรแลพระราชธิดา แลพระญาติวงศาทั้งปวง พระสนมสาวสรรกำนัลก็มากรรแสงไห้พิลาศร่ำไรไปสิ้น อันว่ากษัตริย์ประเทศราชทั้งปวงนั้น ก็ห้อมล้อมอยู่รอบพระเพลิง แล้วปรายข้าวตอกดอกไม้ บูชาถวายบังคมอยู่สลอน ทั้งอำมาตย์ราชเสนาบดีใหญ่น้อย ทั้งราชนิกูล เศรษฐีคหบดีทั้งปวง ก็นั่งห้อมล้อมพระเมรุทองอยู่ แล้วก็มาโศกาอาดูร ร่ำรักพระบรมราชาอยู่อึงคนึงไป ทั้งในพระเมรุหลวง ครั้นเพลิงสิ้นเสร็จสรรพ์ จึ่งให้ดับด้วยน้ำหอมแลน้ำกุหลาบ แล้วจึ่งแจงพระบรมรูป ทั้งสองพระรูปพระสังฆราชาแลพระสงฆ์ แลพระราชาคณะทั้งปวง ก็เข้ามาสดัปกรณ์ พระอัฐิทั้งสองพระองค์ อันใส่ในผอบทองทั้งสองพระองค์ ครั้นแล้วจึ่งเชิญพระอัฐิทั้งสองพระองค์นั้นใส่ในผอบทองทัง. สองจึ่งเชิญขึ้นสู่เสลียงทองทั้งสองแล้วแห่ออกไปตามทางออกประลูมะนาภิรม แล้วจึ่งตีฆ้อง กลอง แตร ลำโพง และแตรงอน แลกลองชนะกลองโยนแลปี่ภาทย์ ตั้งกระบวนมะหาพยุหะยาตราจึ่งให้กั้นราชวัตฉัตรธงไปตามมรรคา อันอนาประชาราษฎรนั้น ก็โปรยข้าวตอกดอกไม้ต่างๆ แล้วจึ่งแห่แหนไปจนถึงริมคงคา แล้วจึ่งเชิญผอบทองอันใส่พระอัษฐิทั้งสองพระองค์ขึ้นเรือพระธินั่งกิ่งแก้วจักระรัตน์เปนสองลำเปนหน้าหลังกันไป จึ่งมีเครื่องสูงต่างๆ บนเรือพระอิษฐินั้น ตั้งเปนชั้นๆ เปนลั่นๆ ตามที่แล้ว พระเอกกะทัศนั้นทรงเรือพระธินั่งเอกกะไชย มหาดเล็กนั้นกั้นพระกลดขาวข้างพระองค์ ซ้าย ๔ คัน ขวา ๔ คัน เปนแปดคัน พระอุทุมภรอนุชานั้น ทรงเรือพระธินั่งทองขวานฟ้า เปนหน้าหลังกันตามที่แต่บันดาเรือเกนแห่เรือนำ แลเรือรองแห่ไปซ้ายขวา หน้าหลังกันตามตำแหน่งตามที่ เรือพระธินั่งครุธ พระธินั่งหงษ เปนซ้ายขวากัน แล้วจึ่งถึงเรือนาคเหรานาคะวาสุกรี แล้วจึ่งถือเรือมังกรมะโหรนพมังกรจับสายสินธุ์ แล้วจึ่งถือโตมะโหรนพ โตจบภพพระไตร แล้วจึ่งถึงโตจบสายสินธุ์ แล้วจึ่งถึงเหิรหาวหลาวทองสิงหรัตนาวา สิงหาศนาวา นรสิงห์วิสุทสายสินธุ์ นรสิงห์วินอากาษ แล้วจึ่งถึงไกรสรมุขมณดพไกรสรมุซนาวา อังสระพิมาน นพเสกล่อกา จึ่งถึงเรือดั้งซ้ายขวานำร่อง แลเรือคชสีห์ราชสีห์ เรือม้าเลียงผาเรือเสือ แลเรือเกนรูปสัตว์ต่างๆ แลเรือดั้งเรือกันแห่ไปซ้ายขวา บันดาเครื่องสูงราชอุปะโภคทั้งปวงคือสัปะทนแลฉัตรขวา ภิรุมชุมสายพัดโบกจามรทานตวัน บังสูรบังแซกและเครื่องสูงนานาทั้งนั้นเหล่ามหาดเลกเกนถือ ขี่เรือพระธินั่งธรงบ้าง พระธินั่งรองบ้าง พายแห่ห้อมล้อมไปหน้าหลังบันดาเครื่องทองพานพระสุพรรณศรี แลสุพรรณราช พระเต้าน้ำครอบทองนั้น มหาดเลกถือลงเรือธรงข้างพระองค์ อันเครื่องอุปโภคบริโภคทั้งปวงเปนอันมากนั้น มหาดเลกเวนหุ้มแพรถือขี่เรือธินั่ง รองไปซ้ายขวาเปนอันมาก บันดามหาดเลกเกนถือพระแสงประดับต่างต่างนั้น ลงเรือธินั่งธรงนั่งริมพระธินั่งเรียกว่ารายตีนทอง อันเกนมหาดเลก ถือพระแสงทั้งปวงเปนอันมากนั้นขี่ธินั่งรอง แล้วพายแห่ไปซ้ายขวาหน้าหลังนั้น เปนอันมาก อันพระราชบุตร พระราชธิดานั้นลงเรือศรีสักกลาดไปหลังพระธินั่ง อันเหล่าสนมพระกำนัลลงขี่เรือศรี ผ้าแดงตามเสด็จไปท้ายพระธินั่ง อันเจ้าพญาจักรีแลพญากลาโหมนั้นมีทานทองแลเจียดกระบี่ซ้ายขวา แลสัปะทนปักน่าเรือตามตำแหน่งแล้วขี่เรือคชสีห์แลราชสีห์มีกูปก้านแย่งแล้วพายซ้ายขวาแห่ไป อันพญายมมะราชาธิบดีสีโลกทันทาธรขี่เรือนรสิงห์มีพานทอง แลเจียดกระบี่สัปะทน ตามตำแหน่งบันดาจตุสดมทั้ง ๔ นำหน้าเสดจ์ดูน้ำฦกแลตื้นบันดาอำมาตย์ราชเสนาบดีทั้งปวงนั้น ขี่เรือดั้งแลเรือกันมีเครื่องอุปะโภคตามตำแหน่ง แล้วพายแห่ไปซ้ายขวาหน้าหลัง บันดาเหล่ามหาดเลกขอเฝ้าทั้งปวงนั้น ขี่เรือตามเสดจ์หลังกระบวนแห่ อันนายเพชฆาฏนั้น ขี่เรือเสือแล้วดาบแดงไปหน้าเรือตามเสดจ์ไปหลังพยุบาตตราตามตำแหน่ง อันเหล่าเกนฝีพายนั้น บ้างก็โห่ร้องพายแห่ไปฯ

บันดาเรือดั้งเรือกันนั้น ก็พายแห่แล้วร้องโยนยาวอื้ออึงไปในแม่น้ำ อันที่พายเรือพระที่นั่งเอกนั้น บ้างก็พายนกบินแลพายกราย แล้วทำเพลงร้องเห่เรือเปนลำๆ เสียงเพราะพร้อมกันต่างๆ บ้างโห่ร้องอื้ออึงแล้วพายไป ดังไปด้วยเสียงฆ้องกลอง แลปี่พาทย์ราดตะโพน แลเสียงดุริยางค์ดนตรีทั้งปวง บ้างก็ร้องรำทำเพลงพายไปเตมทั้งแม่น้ำเสียงอื้ออึงคนึง ครั้นแห่ไปถึงวัดไชยธนารามแล้วจึ่งห่อพระอัษฐิทั้งสองพระองค์นั้น ลงถ่วงน้ำแล้วเรียกว่าจรดพระอังคารตามอย่างตามธรรมเนียมแต่ก่อนมา ครั้นแล้วจึ่งแห่เสดจกลับมาประทับเรือพระที่นั่งที่น่าฉนวนน้ำ แล้วเสดจขึ้นบนท้องฉนวน จึ่งเข้าประตูฉนวนในพระราชวัง อันการพระบรมศพครั้งนี้เกินที่เกินทางแต่ก่อนมา เพราะแทนคุณพระมารดาแลพระปิตุรงค์ทั้งสององค์ ยินดีเปนหนักหนา ด้วยความสุจริตของพระราชา พระกรุณาไปทั้งกรุงศรี อันเหล่าพระญาติวงษ์ที่พระองค์เมตตา ชมแล้วก็วันทาอัญชุลีด้วยใจจงรักภักดี เพราะคิดถึงคุณพระภูมีอยู่อัตตราที่กุศลมีมาต่อกัน พระทรงธรรมก็พิทักธรักษา ที่ไม่รักก็ติเตียน พระพันปีเศร้าโศกโศกีแล้วค่อนว่านังตฤกนึกแล้วก็ถอนใจร่ำไรถึ บรมราชา กัลยาพางเพียงจะขาดใจ ว่าครั้งนี้มีกำม์ ณ อกเอ๋ย ใครเลยจะมาช่วยเราได้ มาต้องระกำช้ำใจโศการ่ำไรไปมา แล้วพระองค์จึ่งมีพระโองการ รับสั่งให้เอาพระโกษทองทั้งสอง แลเครื่องอุปะโภคบริโภคเครื่องทองทั้งปวง แลเครื่องประดับประดาทั้งปวงมา จึ่งเรียกบันดาช่างทั้งปวงเข้ามา แล้วจึ่งให้หล่อพระพุทธรูปทั้งสององค์ประดับประดาทรงเครื่อง แล้วจึ่งประดับพลอยเพชร์มรกฎแลทับทิมอันมีราคาค่ากรุงบ้าง ราคาร้อยชั่งบ้าง ราคาห้าสิบชั่งบ้าง ทั้งพลอยเพชร์แลมรกฎแลทับทิมแลพลอยต่างๆ เปนอันมาก แล้วให้ประดับประดาพระพุทธรูปทั้งสองพระองค์แทนที่ พระบิดาแลพระชนนีไว้เปนธิบดี แล้วจึ่งให้มีการสมโภชฉลอง จึ่งนิมนต์พระสงฆ์มีองค์พระสังฆราชเปนต้น แลมีพระราชาคณะทั้งปวงเปนอันมาก ก็เข้ามาในพระราชวังบนปราสาทที่นั่งสุริยามรินทร แล้วจึ่งตั้งบายศรีดอกไม้ แลบายศรีของกินต่างๆ แล้วจึ่งตั้งเครื่องแก้วใส่เข้าตอกดอกไม้ทั้งปวง แลธูปเทียนแลฉัตรทองธงทอง แลสิ่งของทั้งปวงต่างๆ แล้วพระสงฆ์ทั้งปวงจึ่งสวดถวายพรพระแล้ว จึ่งจุดธูปเทียนถวายเข้าตอกดอกไม้ บูชาพระพุทธรูปทั้งสอง แล้วจึ่งนมัศการบูชาพระสงฆ์ทั้งปวง จึงมีรับสั่งให้ประเคนของฉัน แล้วจึ่งถวายเครื่องไทยทานทั้งปวงเปนอันมากแล้วเวียนได้เก้ารอบ แล้วดับด้วยเทียนด้วยเครื่องหอม แลกะแจะจวงจันทน์ แล้วโบกควันเจิมกะแจะจวงจันทน์ตามเยี่ยงตามอย่างธรรมเนียม จึ่งทำมะโหรีตีปี่พาทย์ทั้งปวงต่างๆ นาๆ จึ่งมีนางขับรำมะโหรี ล้วนนางกำนันนารีที่น้อยๆ งามๆ ดีๆ ประดุจดังกินรีขับรำอยู่ตามเพลงเปนอันมาก

แล้วพระองค์จึ่งแจกเงินทองสิ่งของทั้งปวงเปนอันมาก ประทานกับพระญาติวงษา แลพระสนมกำนันแลเสนาบดีแลราชนิกุลทั้งปวงเปนอันมาก แล้วแจกทานแก่อาณาประชาราษฎร์ทั้งปวงเปนอันมาก มีงานมะโหระศพครบเจดวัน แล้วจึ่งเชิญพระพุทธรูปทั้งสองนั้นเข้าไว้ในวัดพระศรีสรรเพช ตามอย่างธรรมเนียมมาแต่ก่อน ครั้นการพระบรมศพสำเรจแล้ว ฝ่ายข้างพระอุทุมพรราชา จึ่งเวนสมบัติถวายแก่พระเชษฐาธิราช ก็มิได้รับที่จะครองราชสมบัติ จึ่งตรัสว่าสมเด็จพระบิดาสั่งไว้ให้แก่องค์อนุชาธิราชครอบครองราชสมบัติสืบประเพณีต่อไป อันนี้มิควรเกินคำสมเด็จพระบิดา ฝ่ายองค์พระอุทุมพรราชานั้นขัดพระเชษฐามิได้ จึ่งครองราชสมบัติตามที่พระบิดาสืบไป จึ่งทำการราชาภิเศกโดยไนยตามวิไสยกระษัตริยแต่ก่อนมา พระองค์ก็ตั้งอยู่ในธรรมสิบประการ แล้วทำนุบำรุงพระศาสนาแลครองราษฎรทั้งปวงเปนศุขทั้งกรุง จึ่งสร้างวัดเรียกว่า วัดอุทุมพรรารามพระนามวัดหนึ่ง พระองค์จึ่งปฏิสังขรณหลังคาพระมณฑปพระพุทธบาทหุ้มทองสองชั้น หลังคาพระมณฑปสิ้นทองร้อยสี่สิบกับสี่ชั่ง ครั้นแล้วพระองค์จึ่งฉลองถวายไทยทานเปนอันมาก กับพระสังฆราชแลราชาคณะทั้งปวงแลสงฆ์ทั้งปวงเปนอันมาก แล้วแจกเงินทองสิ่งของต่างๆ ครบครันให้เปนทานกับราษฎรทั้งปวงเปนอันมาก แล้วพระองค์จึ่งหลั่งน้ำอโณทกแผ่กุศลไปกับพระบิดาแลพระชนนีแลเวไนยสัตวทั้งปวง ครั้นแล้วจึ่งว่าราชการงานกรุงทั้งปวง ดูผิดแลชอบตามกฎหมายพระไอยการ แลกฎหมายที่มีมาแต่ก่อน ตามเยี่ยงตามอย่างประเพณีกระษัตรยแต่ก่อนมา แล้วพระองค์จึ่งมาทรงดำริห์ว่า เรานี้เปนอนุชา อันว่าราชสมบัตินี้ควรแต่พระเชษฐาธิราช ที่จะครอบครองราชสมบัติแทนที่พระบิดาสืบไป พระองค์ตั้งอยู่ในราชสมบัติได้ ๓ เดือน แล้วพระองค์ก็ออกทรงบรรพชิตฯ อันพระอุทุมพรราชานั้น วัน ๔ ได้เสวยราชสมบัติมาเมื่อจุลศักราชได้ ๑๑๒๐(* ต้นฉบับเป็น ๑๑๒)
 
๔ ปีขานสำเรจธิศกเดือน ๑๒ ขึ้น ๙ ค่ำ วัน ๖ พระชนม์ได้ ๒๘ ปี อยู่ในราชสมบัติได้ ๓ เดือน จึ่งออกทรงบรรพชาในปีนั้นฯ

เมื่อออกทรงบรรพชานั้น เดือน ๓ ขึ้น ๙ ค่ำ วัน ๔ เพลายามเสศ ครั้นพระอุทุมพรราชาออกทรงบรรพชิตแล้ว พระเอกะทัศอันเปนพระเชษฐาธิราช จึ่งเสวยราชสมบัติสืบสุริยวงษ์ต่อไป ในเมื่อจุลศักราชได้ ๑๑๒๐(* ต้นฉบับเป็น ๑๑๒)  

ปีขานสำเรจธิศก เดือน ๓ ขึ้น ๑๐ ค่ำ วัน ๗ จึ่งอัคมหาเสนาแลมหาปะโรหิตทั้งปวง จึ่งตั้งการราชาภิเศกตามอย่างธรรมเนียม ครั้นได้วันเพชฤกษแล้ว จึ่งตั้งการพิธีครบครันอันการมะโหรศพนั้น มีงานการทั้งปวงเปนอันมาก จึ่งตั้งพิธีสรง ๓ วัน จึ่งสวดพระปริตแล้ว ถวายพรพระแล้วถวายไทยทานแล้วฉัน ครั้นแล้วจึ่งตั้งพิธีพราหมณ์ ๓ วัน แล้วเชิญเสด็จขึ้นบนเตียงทอง จึ่งมหาปโรหิตราชครูอันมีชื่อทั้ง ๘ คนคือ พระครูพิราม พระครูมเหธร พระครูวิเชฐ์ พระครูมโหสถ พระครูรามราชา พระครูสังขาราม พระครูกฤษนา พระครูกฤษณราชา ทั้ง ๘ คน จึ่งเข้ามาอ่านพระเวทแล้วจึ่งถวายพรทั้งแปดทิศ แล้วจึ่งเสด็จขึ้นเบญจาสนามอาสิภาคสรงสะทัศธาราน้ำดั้นน้ำดาษแล้วจึ่งเปลื้องเครื่องที่ทรงนั้น ออกให้แก่พราหมณ์ แล้วจึ่งเสด็จขึ้นบนภัทรบิฐอันทำด้วยไม้มะเดื่อ ราชครูทั้ง ๘ คน จึ่งร้องถวายพระพรทั้ง ๘ ทิศ แล้วตั้งอาหุระดี ชักสายสิญจน์ แล้วเสด็จขึ้นบนเตียงทอง จึ่งถวายเครื่องเบญจกุกกุธภัณฑ์ ทั้ง ๕ ทั้งเครื่องมหาพิไชยสงครามทั้ง ๕ แล้วมหาปโรหิตทั้ง ๘ คน จึ่งป่าวมหาสังข์ทักขิณาวัฏ จึ่งตีกลองอินทเภรี แล้วจึ่งลอยพระเคราะห์ ครั้นแล้วจึ่งคุมมหาเสนาบดีผู้ใหญ่และทั้งมหาปโรหิตราชครูทั้ง ๘ คน จึ่งร้องถวายอาณาจักรเวรภิภพ ให้เสดจขึ้นครอบครองราชาอาศน์แลราชบัลลังก์ตามที่ตามอย่างกระกษัตริยแต่ก่อนมา

พระองค์เสดจขึ้นสู่บนราชาอาศน์ราชบัลลังก์อันปูลาดพระยี่ภู่ บนพระยี่ภู่นั้น ปูหนังราชสีห์แล้วจึ่งมหาปโรหิตราชครูทั้ง ๘ คนนั้น ถวายพรที่น่าราชบัลลังก์มีเตียงตั้งเครื่องราชอุปะโภคแลเครื่องเบญจกุกกุธภัณฑ์ แลพานทองประดับสองชั้นใส่รองพระสุพรรณบัตรสมญาแล้ว มีพานพระขันหมากทองประดับเชิงครุธถมราชาวดี เครื่องในประมีพระเต้ากรอบทองพระคนทีทองแลพานพระสุพรรณะศรีและพระสุพรรณราชอุปโภคต่างๆ เป็นอันมากตั้งซ้ายสี่แถว ขวาสี่แถว แล้วมีพระเสวตรฉัตรซ้ายขวาข้างละสองคัน จึ่งมีกำภูฉัตรข้างละสี่คัน อันยอดแลระบายและคันนั้นหุ้มทองประดับตั้งซ้ายสี่แถวขวาสี่แถว แล้วจึ่งตั้งอภิรุมแลธงทองแลพัดโบกจามรทานตวัน แลบังสูริยบังแทรก แลพัดชะนีคันนั้นหุ้มทองทั้งสิ้น ตั้งซ้ายสี่แถว ขวาสี่แถว ตรงที่นั่งบัลลังก์มานั้น มีเตียงซ้ายขวาประดับแล้ว จึ่งปูสุจนีแล้วจึ่งตั้งพานทองสองชั้น ประดับสำหรับรองพระราชสาส์น ตามอย่างธรรมเนียมมา แล้วพระองค์จึ่งทรงภูษาพื้นแดงประดับทรงฉลองพระองค์อย่างน้อยชั้นใน จึ่งทรงทรับนอกอย่างเทศกรองทองประดับสังเวียนยก จึ่งทรงพระมหามงกุฎประดับเพชร แลตาบทิพยตาบหน้าประดับสังวาลประดับจึ่งทรงพระธรรมรงค์เพชรราคาค่ากรุง แล้วจึ่งทรงพระแสงบาตราใจเพชร

ครั้นได้เพลาก็เสด็จออก จึ่งประโคมฆ้องกลองแตรสังข์ชักม่านทองส่องไข ครั้นเสดจออกจึ่งหยุดประโคมแล้ว เสดจอยู่บนราชบัลลังก์ อันเหล่ามหาเสนาบดีแลอำมาตย์ราชครูน้อยใหญ่ จึ่งกราบถวายบังคมสามที แล้วจึ่งนั่งตามตำแหน่ง อันมหาราชครูแลหมู่ภิมุข อำมาตย์ราชเสนาบดีทั้งปวงนั้น ตั้งเครื่องอุปโภคพานทองแลเจียดตามบันดาศักดิ ตามตำแหน่งซ้าย ๘ แถว ขวา ๘ แถว ขุนนางประมาณสี่ร้อย ชั้นล่างลงมามีทหารซ้ายขวาข้างละพัน ใส่หมวกทองใส่เสื้อเกราะเสนากุฎ สรรพาวุธครบมือ ข้างปราสาทซ้ายขวานั้น มีโรงช้างสำอางบังสำหรับผูกช้างต้นแลช้างทรง เครื่องช้างนั้น ทองประดับเครื่องฝรั่งเสศ มีข่ายทองปกหน้าภู่ห้อยผ้าปกหลังกรองเชิงประดับสี่ท้าวแลทองรัดงา เครื่องกินนั้นตะข้องน้ำทอง ถาดเงินมีฝาใส่หญ้ากล้วยอ้อย มีสัปทนแลกระดักเงินขอทองรองหญ้าพานเงินช้างตลุงลายซ้ายแปด ขวาแปด ประดาประดับตามหลั่นกัน ม้าต้นซ้ายขวาน่าถานผูกมหาเนาวรัตน เครื่องกินตะค่องน้ำถาดเงินรองหญ้าถั่วเข้ามีสัประทนแส้ไม้คอนคันเงินมารองซ้าย ๘ ขวา ๘ ผูกเครื่องเปนหลั่นกันลงมาตามที่ ฝ่ายราชครูมหาปโรหิต แลเสนาผู้ใหญ่ จึ่งชูพานทองประดับใส่พระนามพระสุพรรณบัตรสมยาตามเรื่องกระษัตริยแต่ก่อนมา จึ่งอ่านพระนามถวายสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดีศรีสรรเพช บรมมหาจักรพรรดิราชาธิราชราเมศวรธราบดี ศรีสฤษฎิรักษสังหารจักรวาฬธิเบนทร หะริหะรินทราธาดาธิบดีศรีวิบุลย์คุณ อัคนิตวิจิตรรูจี ตรีภูวนาทิตยฤทธิพรหมเทพบดินทร ภูมินทราธิราชรัตนากาศ สมมุติวงษองคเอกาทษฐรถ วิสุทธิยโสตรบรมไตรยโลกนารถอาชาวไศรย สมุทยดะโรมรรตอะนันตคุณ วิบูลย์สุนทรธรรมมิกราชเตโชไชยไตรยโลกนารถ บดินทรอรินทราธิราชชาติพิพิธทศพลญาณ สมรรตะมะหรรตผาริตทวิไชยไอสุริยาธิปัต ขัตติยวงษองค์รามาธิเบศ โลกเชฐวิสุทธมกุฎรัตนโลก เมาลีศรีประทุมสุริยวงษ องค์สรรเพชพุทธางกูรสมเด็จบรมบพิตร พระเจ้ากรุงเทพยมหานคร บวรทวาราวดีศรีอยุธยามหาดิลกภพนพรัตนราชธานีบุรีรมย์ อันนี้พระนามเรื่องกษัตริย์แต่ก่อนมาจึ่งสมมุตินามว่าพระบรมเอกทัศราชาอันประเสริฐ

แล้วจึ่งมหาประโรหิตทั้ง ๘ นั้นจึ่งอ่านพระเวทถวายพระพร แล้วจึ่งประโคมฆ้องกลองแลอินทเภรี แลแตรสังข์มะโหรีปี่พาทย์ทั้งปวงอันมากแล้ว จึ่งตีกลองโยนส่งเสด็จเข้าข้างในฝ่ายข้างในนั้นฉลองพระโอฐ ๔ คนคือท้าวทรงกันดาร ท้าวอินสรแสง ท้าวสมศักดิ ท้าววรจรร ทั้ง ๔ คนนี้จึ่งทูลถวายพระอรรคมเหษีแลพระสนมชาวแม่พระกำนันสิบสองกรม แล้วถวายผ้าทรง ถวายอาภรณถวายฤกษที่เสด็จออกเลียบพระนคร ครั้นได้ฤกษแล้วพระองค์เสดจออกเลียบพระนคร จึ่งมีพระโองค์การตรัสสั่งมหาเสนาบดีผู้ใหญ่ ให้กะเกณฑ์ผู้คนเกณฑ์แห่แหนให้ครบสิ่ง ฝ่ายมหาเสนาบดีกะเกณฑ์ให้ตั้งกระบวนทัพใหญ่เป็นกระบวนมหาพยุหบาทตรา ฝ่ายพระยายมราชกรมเมืองแลทำมรงก็ไปตรวจตราให้ทำทาง แลปราบที่ทางทั้งรอบกรุง ให้กั้นราชวัดปักฉัตรแลดอกไม้ แล้วสาดน้ำทั้งรอบกรุงจึ่งให้มีการมะโหรศพ ทั้งรอบกรุงให้ราชภูมินทแลโต่เสนดูกำกับ จึ่งตั้งกระบวนทับ น่านั้นปืนใหญ่แห่ไปซ้ายขวา คือมหาฤกษมหาไชยแลปราบหงษาชวาพ่ายพิรุณสังหารมารประไลย มหาจักร มหากาลแล้วพิรุณสังหารมารพินาศ แล้วพินาศสังหารมารวิไชย อันปืนใหญ่เหล่านี้ แห่เปนซ้ายขวากันอันว่านายปืนใหญ่นั้นคือกรุงพานิชฤทธิสำแดงได้คุมแห่ไปซ้ายขวา แล้วจึ่งถึงทับน่าแปดทับหลังแปดทับ ทับน่านั้นมีธงขาวเปนต้น แล้วธงแดงธงเหลืองแห่น่าไปเปนอันมาก แล้วจึ่งถึงทหารใส่เสื้อเสนากุฎแลใส่หมวกทองมือถืออาวุธหอกดาบโล่เขนธนูน่าไม้ แลปืนน้อยปืนใหญ่ แลปืนขานกยางแห่ไปเปนชั้น ๒ เปนหลั่น ๒ กันมาตามที่ตามทางแล้งจึ่งมีช้างแพนแลช้างเขน มีคนขี่ถืออาวุธแลขอ แต่งตัวใส่เสื้อเกราะกำมะหยี่แดงขลิบทอง ใส่หมวกทองบนหลังนั้น มีคนถือปืนแล้วแห่ไปตามที่

ในกระบวนทับมียกกระบัตรเกียกกายนายทับนั้น ผู้มีชื่อตามตำแหน่งน่าแปดทับหลังแปดทับแล้วจึ่งถึงทับ แสงนอกแสงในซ้ายขวานั้น คือม้าห้อแลม้าอาษาเกราะทองแลม้าเครื่อง ม้าไชยนั้นคนขี่แต่งตัวใส่เสื้อเกราะแลเสื้อแพรใส่หมวกมือถือทวนแลธนูแห่ไปซ้ายขวา แล้วจึ่งถึงม้าพระที่นั่งเกณฑ์ มีชื่อม้าที่นั่งเอกซ้ายขวา คือเจ้าพระยาอาชาไนยไชยชาติราชพาหะนะนั้น ผูกอานแลเครื่องมหาเนาวรัตนเกณฑ์ม้าพระที่นั่ง เหล่าม้าต้นอันดีที่นั่งรองทั้งเจดสี อันมีชื่อนั้นคือทินกรรัศมีมณีพรรณเหมบังยงหงษ์พิมาน โลหิศดางคสรรพางครัด อะตูลยรัตนปทมราช อันม้าแดงเหล่านี้ทรงวันอาทิตย์ สังขรัศมี ศรีประภาสร สะริสุธรเขจรจันดาริทรดาราพาหพิมล รัตนมาลารูปาภิราม อันม้าขาวเหล่านี้ทรงวันจันทร์ชามภูวนัศสหัศรังษีเพาวรัศมี ธรณีสุทธอุดม พิลาพโอกาพย์สพันวสุทธิโชควิโรคดะรุณ อันม้าตะโนดเหล่านี้ทรงวันอังคาร รูปาสวัดิติพัทวิสุตวิสุนทรโสภาสุททินทพ โอฬารพรรนามรืคยลรัศมีศรีสุทาง อันม้ากเรียวเหล่านี้ทรงวันพุฒ กฤษณรังดาลกาญจนวิจิตร ไหรญทรัตกรนกภูษา จาดูลยละรัตจามณีกรจามรรมาศ อันม้าเหลืองเหล่านี้ทรงวันพฤหัศ อนันตสิงหาศนนี้ทรงวันสุกร กาลาคีรีนิลาวันสยามพรรณอังชังโชค กาลอาชาวรนานิลสิงขริน รัตนทองม้าดำเหล่านี้ทรงวันเสาร์ ต่างต่างแล้วเดินเปนชั้นๆ หลั่นๆ กันมาตามที่ แต่บันดาม้าแซงนอกแลแซงในแลม้าอาษาเกราะทองแลม้าห้อแลม้าใช้แลม้าพระที่นั่งเอกรองบันดาม้าเหล่านี้ พระศรีเสาวภาคยแลหลวงทรงพล ได้คุมดูตรวจตราไปซ้ายขวาเป็นมากแล้ว

จึ่งถึงช้างต้นพระที่นั่งเอกนั้นคือ เจ้าพระยาไชยยานุภาพปราบไตรจักร ที่นั่งเอกนั้นผูกเครื่องทองประดับรังเสด มีข่ายทองแลพู่ผ้าปกหลังกรองเชิงประดับสี่ท้าว แลทองรัดงาทั้งสองเครื่องนั้นกำมหยี่ทองบ้าง คลุมข่ายทองบ้าง แล้วจึ่งนายปราบแลนายทรงบาตรนั้นสำหรับถือขอทองประดับขี่ไปท้ายพระที่นั่งตามตำแหน่งช้างพระที่นั่งเอก แลพระที่นั่งรองเกณฑ์ช้างมีชื่อตำแหน่ง คือพระยาไชยยานุภาพปราบไตรจักร สองช้างหัศดินทรวิไชยไกรสรเดชสองช้าง ดำรุงภูบาลสารภูธรสองช้าง เกณฑ์ช้างพระที่นั่งเอกหกช้างนี้แล้ว จึ่งถึงช้างที่นั่งรองลงมานั้นผูกเครื่องทองต่างๆ กันตามที่ตามทาง เปนซ้ายขวาแห่มาเปนชั้นๆ เปนหลั่น แล้วเกณฑ์ช้างระวางนอกระวางในช้างดั้งช้างกัน ช้างพลายช้างพัง แลเกณฑ์ช้างมีชื่อเหล่านี้เปนอันมากแห่ไปทั้งซ้ายขวาแล้วจึ่งถึงช้างเกณฑ์ผูกพระที่นั่งพุทตาลแลที่นั่งกระโจมแลพระที่นั่งมณฑปแลที่นั่งปราสาทที่นั่งเขน แลที่นั่งโถงที่นั่งสัปประคับทองแลที่นั่งกูบต่างต่าง ทั้งช้างพังแลช้างพลายทั้งหลายเปนอันมากนั้น คือพระกำแพงแลพระยาราชรองเมืองได้เปนใหญ่ว่ากล่าวดูตรวจตราให้แห่ไปซ้ายขวาเปนหน้าหลังตามอย่างธรรมเนียมแต่ก่อนมา

ถัดนั้นมาจึ่งถึงรถทรงครืรถพระที่นั่งวรรณกฤษดาแสวรรณพางคบุศบก แล้วจึ่งจักรรัศเบ็ญจาแล้ววิเชียรรัตนาศน ถัดมารถดั้งรถเขนแลรถแพนต่างต่าง เปนอันซ้ายขวาเปนอันมาก บันดาคนที่ขี่รถทั้งปวงนั้นแต่งตัวใส่เสื้อเกราะ แลเสื้อเสนากุฎใส่หมวกทองมือถือธนูแลหอกซัดดาบตะพายแล่งทุกตัวคนครบทั้งสิ้น จึ่งแห่ไปซ้ายขวาเปนอันมาก แล้วจึ่งถึงเกณฑ์ตีกลองชะนะแลกลองโยน แลกลองอินทเภรีแลกลองไชยแตรสังข์มีหวายทองนำหน้าแห่ไป เหล่าคนที่ตีกลองนั้นใส่เสื้อสักลาดแดงใส่หมวกฝักแคแล้วจึ่งถึงเหล่าถือเครื่องราชอุปโภค แต่งตัวใส่เสื้อแดงแล้วนุ่งลาย ใส่ลำพอกแล้วถือฉัตรไชย แลอภิรุมสัปทนพัดโบกจามรทานตะวันบังสุรยบังแทรกข้างละสี่คู่ แห่ไปซ้ายขวาตามที่ตามทาง แล้วจึ่งถึงเหล่ามหาดเลกหุ้มแพรแต่งตัวใส่เสื้อครุยนุ่งสมปักใส่ลำพอกมีดอกแลกระจังตามที่ตามตำแหน่ง ถือดาบทอง แห่ไปซ้ายขวาเปนอันมาก แล้วถึงเกณฑ์มหาดเลกรองนั้น ถือพระแสงหอกพระแสงดาบพระแสงปืนแลธนูพระแสงง้าวแลพระแสงต่างต่างเปนอันมาก แล้วมหาดเลกเกณฑ์มีชื่อนั้นแต่งตัวตามที่ตำแหน่งน้อยใหญ่นั้นถือพระแสงเหล่ามีชื่อคือพระแสงบาตราใจเพชร แลเจ้าพระยาแสนพลพ่าย แลพระแสงฝักดำแลพระแสงกั้นหยั่น แลพระแสงกฤษแลพระแสงต่างต่างเปนอันมาก เดินน่าพระที่นั่งแล้วจึ่งถึงหัวหมื่นมหาดเลกนั้นนุ่งห่มตามตำแหน่ง แล้วถือดาบทองกับพัดสี่คนถือเดินแห่ไปน่าพระยานนุมาศ แล้วจึ่งหัวหมื่นตำรวจในกรมวังทั้งสี่นั้นถือดาบทองประดับกับพัดเดินแห่ไปข้างริมพระที่นั่งสี่คนอันฝ่ายซ้ายขวานั้นจึ่งถึงมหาประโรหิตราชครูนั้นแต่งตัวนุ่งขาวใส่เสื้อขาวกรอมตีน ใส่ลำพอกขาวถือพัดกับสังข์เดินแห่ไปซ้ายขวาเปนอันมาก

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 มิถุนายน 2562 16:12:25 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #8 เมื่อ: 19 มิถุนายน 2562 16:08:53 »

.



คำให้การขุนหลวงประดู่ทรงธรรม
เอกสารจากหอหลวง
(อักขรวิธีใช้ตามต้นฉบับ)

ความแทรก "คำให้การ" เกี่ยวกับสมัยพระนครศรีอยุธยาตอนปลาย (ต่อ)
แล้วจึ่งถึงเหล่าราชนิกุลนั้นก็แต่งตัวตามตำแหน่งพนมมือไปซ้ายขวาเปนอันมาก เหล่าเจ้าพระยาแลพระยาพระหลวงแลขุนหมื่นทั้งปวงนั้น ก็นุ่งห่มตามที่ตามตามตำแหน่งน้อยใหญ่ แล้วถือพัดแห่ไปซ้ายขวาเปนอันมาก แล้วจึ่งถึงมหาดเลกหุ้มแพรนั้นกั้นพระกรดขาวเดินไปริมพระยานนุมาศนั้นซ้ายสี่คนขวาสี่คน ฝ่ายหลังพระที่นั่งเหล่าตามเสด็จข้างหลังนั้น เหล่าตำรวจใน แลเกณฑ์ดาบทองแลหอกทองเดินแห่ไป ฝ่ายหลังพระที่นั่งเปนอันมากคือพระยาพระรามได้ดูแลตรวจตรา แล้วถึงทับพระราชธิดานั้น ทรงช้างกูบจำลองกูบทองประดับกระจก แล้วถัดมานั้นพระราชวงษาแลพระสนมกำนันทั้งปวงนั้นขี่กูบทองต่างต่างบ้างขี่สัปคับทองบ้างเปนชั้นหลั่นตามที่เปนอันมาก จึ่งมีขันทีมีชื่อคือราขารแลสังขสุรินได้ดูกำกับฝ่ายข้างกรม ฝ่ายแลขุนนางกรมฝ่ายในนั้นได้ดูแลข้างพระสนมกำนันทั้งปวงเปนอันมาก แล้วจึ่งถึงช้างเจ้าขรัวนายทั้งสี่คน จึ่งถึงเหล่าเจ้ากรมแลปลัดกรมแลขอเฝ้า มหาดเลกฝ่ายข้างในนั้นก็พฤกพร้อมกันตามเสดจไปเปนอันมาก แล้วจึ่งถึงเหล่าทับหลังแปดทับนั้นมีทั้งแห่แหนตีฆ้องกลองแลเครื่องสาตราวุธต่างต่างครบมือกันทุกตัวคน ช้างม้าแลรถแห่เป็นชั้นหลั่นกันตามไปเปนอันมากเปนน่ากันทั้งแปดทับยกเปนกระบวนตามไป ครั้นตั้งกระบวนแห่สำเรจแล้ว ฝ่ายมหาเสนาบดีจึ่งเข้าไปกราบทูลฉลอง ครั้นเสนาบดีทูลแล้วสมเด็จพระบรมเอกทัศราชาจึ่งเสดจเข้าสู่ที่ชำระสระสรงสรับเสรจเสด็จทรงพระภูษาพื้นทอง ประดับลายดอกก้านแย่ง ชั้นในนั้นทรงสนับเพลาทองเชิงงอนแล้วทรงพระภูษาห้อยน่ากรองทองประดับแล้วรัดบั้นพระองค์กรองประดับแล้ว จึ่งทรงคาดปั้นเหน่งทองประดับเนาวรัตนแล้วทรงฉลองพระองค์อย่างใหญ่กรองประดับแล้ว ทรงสังเวียนยกตรองทองประดับพลอย แล้วทรงพระมหามงกุฎประดับเพชรแลพระธำมรงค์ประดับเนาวรัตนแล้วจึ่งทรงพระแสงบาตราใจเพชรแลพระแส้แล้วจึ่งสอดใส่ฉลองพระบาทเชิงงอนปักทองประดับ แล้วเสดจออกจากสุรามรินทรประสาทไชย แลพระสนมกรมในทั้งปวงตามเสดจออกมาพฤกพร้อมกันมาเปนอันมาก แล้วเสด็จขึ้นสู่พระยานนุมาศทองประดับอันลาศปูพระยี่ภู่ทอง แลพระเขนยทองอันยิ่ง แล้วจึ่งมีพระราชบุตรีเชื้อพระวงษ์ อันเปนพรหมจารีแต่งองค์ทรงเครื่องประดับประดาอันงามดังนางเทพยธิดา นั่งประนมกรอยู่ฝ่ายน่าพระที่นั่งสององค์หลัง พระที่นั่งสององค์เปนสี่องค์ด้วยกันห้อมล้อมเปนยศบริวาร แล้วจึ่งมหาประโรหิตทั้งแปดคนนั้นจึ่งยืนถวายพระพรทั้งแปดคน ครั้นได้พิไชยฤกษแล้วจึ่งยิงปืนใหญ่ มหาฤกษมหาไชย แล้วก็คลี่คลายยกกระบวนทับแห่แหนไปเปนอันมาก จึ่งออกประตูพระราชวังฝ่ายทิศบูรพ์นั้นชื่อประตูมงคลสุนทรแล้วจึ่งแห่แหนไปออกประตูกรุงฝ่ายทิศบูรพ์นั้นชื่อท่ากระลาโหมแล้วแห่แหนไปทิศทักษิณมีที่ประทับร้อนทั้งสี่ทิศกรุง จึ่งตีฆ้องไชยกลองไชยแลอินทรเภรีแลกลองชะนะแลแตรงอนแลแตรลำโพงแลพิณพาทย์ทั้งปวง อันริมพระที่นั่งฝ่ายซ้ายขวานั้นมีมหาดเลกทำมะโหรีแห่ก็ดังคฤๅนเครงไปทั้งรอบกรุงเทพยฯ

อันสมเดจพระบรมเอกทัศราชานั้น พระองค์จึ่งโปรยปรายเงินแลสุวรรณให้ทานแก่อณาราษฎรทั้งปวง หญิงชายเดกผู้ใหญ่ เถ้าแก่อณาราษฎรทั้งปวงได้รับพระราชทานของพระองค์นั้น ก็ยอกรถวายบังคมกับพื้นปัถพี แล้วก็ร้องถวายพระพรต่างต่าง ครั้นเลียบพระนครไปรอบกรุงแล้วก็เสดจเข้าตามประตูทิศบูรพ์ยังเก่า แล้วก็เสด็จเข้าไนพระราชวัง อันสมเดจบรมเอกะทัศราชานั้น พระองค์จึ่งเสดจนั่งเหนือพระแท่นแว่นฟ้า แล้วจึ่งมีพระสิงหนาทราชโองการตรัสรับสั่งโปรดให้เลิกส่วยสาอากรสมพักศรแลขนอนตลาดแลค่าน้ำเชิงเรือนแลความเริศร้างค้างเก่าอย่าให้ว่าขานกัน แล้วให้ปล่อยคนโทษทั้งสี่คุกอันอยู่เรือนจำจองทั้งปวง มีรับสั่งให้ปล่อยทั้งสิ้นแล้ว พระองค์จึ่งมีพระโองการให้ตีฆ้องร้องป่าวทั้งนอกกรุงแลในกรุงให้อณาราษฎรทั้งปวง ให้อุส่าห์รักษาศีล ๕ แลอุโบสถศีลวันแปดค่ำสิบห้าค่ำ แล้วให้คำรพบิดาแลมารดาอย่าให้ฉ้อฉนฉกลักกัน ให้ตั้งอยู่ในศีลห้าแลศีลแปดแลเดือนหนึ่งสี่วันพระนั้น ทั้งนอกกรุงแลในกรุงบันดาจังหวัดกรุงเทพฯ นั้นมิให้ผู้หนึ่งผู้ใดทำปาณาติบาต ถ้าแลผู้ใดฆ่าสัตว์ตัวเปนจำตายในวันอุโบสถนั้น ให้ลงโทษทัณฑ์ตามกฎพระไอยการ แล้วพระองค์จึ่งเอาเครื่องประดับประดาทั้งปวงแลเครื่องอุปโภคต่างๆ สั่งให้หล่อพระพระพุทธรูปทรงเครื่องประดับพลอยมณีมีค่าเปนอันมาก แล้วฉลองถวายไทยทานทั้งสามวัน แล้วเชิญพระเสดจเข้าไว้ในวัดพระศรีสรรเพชรตามอย่างธรรมเนียมกระษัตริย์แต่ก่อนมา

เดิมพระองค์มีพระอรรคราชชายาทั้งสองแต่ยังเปนกรมมาด้วยกันนั้น พระองค์จึ่งไว้เปนที่มเหษีพระอรรคราชชายาองค์หนึ่งนั้นมีพระราชบุตรีแลพระราชบุตราเปนสององค์ด้วยกัน องค์หนึ่งเปนพี่นางพระนามชื่อประพาฬสุริยวงษ องค์พระน้องยานั้นชื่อประไภกุมารเปนสองด้วยกัน พระอรรคราชราชาองค์หนึ่งนั้น มีพระราชบุตรแลราชธิดาสององค์ พระพี่นางนั้นพระนามชื่อรุจจาเทวีพระน้องยานั้นพระนามชื่อสุทัศขัติยะราชกุมาร พระอรรคราชชายาทั้งสองนั้น มีพระราชบุตรแลพระราชธิดาเปนสี่องค์ด้วยกัน พระองค์จึ่งตั้งพระราชชายาองค์หนึ่ง ในพระวงษาพระนามนั้นเรียกเจ้าแมงเม่า อันเจ้ากรมนั้นเรียกกรมหมื่นพิมลภักดี จึ่งมีพระราชบุตรีองค์หนึ่งพระนามชื่อศิริจันทาเทวี อันสมเด็จพระบรมเอกทัศนั้น มีพระราชบุตร แลพระราชธิดาสี่ห้าองค์ด้วยกัน พระองค์ทรงพระเมตตาเสมอกันทั้งห้าองค์ พระองค์จึ่งตั้งที่ทางให้เสมอกันทั้ง ๔ องค์ พระองค์จึ่งประทานเครื่องสูงนานาแลเครื่องประดับประดานานาต่างต่าง แลเครื่องอุปะโภคต่างต่างทั้งแก้วแหวนเงินทอง แลเครื่องต้นเครื่องทรงทั้งผู้คนช้างม้าแลเรือทรงพระองค์ จัดแจงแต่งพระราชทานให้เสมอกันทั้ง ๔ องค์ อันเหล่าพระสนมกำนัลนอกนั้นมิได้มีพระราชบุตรแลพระราชธิดากับพระองค์

ฝ่ายพระบรมเอกทัศจึ่งประพฤดิ์ตามอย่างธรรมเนียมกระษัตริย์แต่ก่อนมา พระองค์ก็บำรุงพระสาศนาครอบครองอณาประชาราษฎร์ทั้งปวงตามประเพณีมา อันว่ากรมหมื่นเทพพิพิธนั้นเปนที่ปฤกษากันกับวังน่านั้น ครั้นพระอุทุมพรราชาออกทรงบรรพซาแล้ว ก็ว้าเหว่อยู่หาที่พึ่งมิได้ กับพระองค์นั้นก็ไม่ปรกติริรองโดยสุจริตจึ่งทูลลาออกอุปสมบท ครั้นได้อุปสมบทแล้วใจนั้นแตกฉานจึ่งคิดความร้ายมิได้ตรงต่อพระองค์ ครั้นความลับนั้นแพร่งพรายกระจายไปรู้ถึงเสนาบดีผู้ใหญ่จึ่งลอบหนีออกจากอาราม เสนาบดีผู้ใหญ่จึ่งเข้าไปทูลฉลองพระองค์ จึ่งมีพระโองการให้ไปจับมา ครั้นตามไปก็จับได้ถึงนอกด่าน พระองค์จึ่งให้ใส่บทพระไอยการพิภากษา ลูกขุนในจึ่งใส่บทมาควรฆ่าอย่าให้เลี้ยงสืบไป พระองค์จึ่งขอโทษไว้อย่าให้ตายด้วยว่าอยู่ในพรต ไม่ควรจะปลงชีวิตรให้ฉิบหาย ครั้นจะเลี้ยงไว้ก็เหนใจกลัวจะคิดร้ายสืบไป จึ่งฝากนายสำเภาพ่อค้าชื่อโครติงอังกฤษให้ไปส่งเสียเมืองลังกาบูรี
พระองค์จึ่งบำรุงพระสาศนาแล้วครอบครองบ้านเมืองก็อยู่เยนเปนศุขมา แล้วพระองค์ก็ส้างอารามชื่อวัดลมุด แล้วส้างวัดครุธราวัดหนึ่ง พระองค์จึ่งฉลองเลี้ยงพระสงฆ์พรรหนึ่ง จึ่งถวายไตรจีวรแลเครื่องสังเคดพรรหนึ่ง เครื่องเตียบสิ่งละพรร ต้นกัลปพกฤษก็พรรหนึ่ง จึงแจกทานสารพัดสิ่งของนาๆ สิ่งละพันแจกอนาประชาราษทั้งปวงเปนอันมาก จึงปรายเงินทองวันละสิบชั่งเจดวันเปนเจดสิบชั่ง จึงให้มีการมโหรศพทั้งปวงสรรพสิ่งต่างๆ เปนการใหญ่ท่วนเจดวันแล้ว พระองค์จึงหลั่งน้ำทักขิโณทกให้ตกลงเหนือแผ่นพสุธา จึงแผ่กุศลให้แก่สัตว์ทั้งปวง แล้วเสดจคืนเข้ายังพระราชวัง พระองค์ตั้งอยู่ในธรรมสุจริต บพิตรเสดจ์ไปถวายนมัศการพระศรีสรรเพช ทุกเพลามิได้ขาด พระบาทจงกรมอยู่เปนนิจบพิตรตั้งอยู่ในทศพิธสิบประการ แล้วครอบครองกรุงขันธสีมา ทั้งสมณพราหมณาก็ชื่นชมยินดี ปรีเปนศุขนิราศทุกขไภย ด้วยเมตตาบารมีทั้งฝนก็ดีบริบูรณภูลความศุขมิได้กันดาล ทั้งเข้าปลาอาหารแลผลไม้มีรศโอชา ฝูงอนาประชาราษฎรแลชาวนิคมชนบท ก็อยู่เยนเกษมสานต์ มีแต่จะชักชวนกันทำบุญให้ทานแลการมโหรศพต่างๆ ทั้งนักปราชผู้ยากผู้ดีมีแต่ความศุขทั่วทุกขอบขันธเสมา

ครั้นอยู่มาศักราชได้พันร้อยยี่สิบสองปีมะโรงโทศกนั้นเมื่อจะมีเหตุ คือสำเภาฝรั่งข้างอังวะนั้นซัดมาปะที่เมืองตะนาวสีที่ท่ามริดบูรีอรำมนีเปนนายสำเภามา ข้างกรุงเราเอานายกำปันไว้ สำเภาใหญ่ยังจอดอยู่ที่น่าท่า ก็เกบเบิกตามธรรมดา อันว่ากิติศับท์นั้นก็ฦๅไปถึงมังลองซึ่งครองกรุงพ้องอันเปนใหญ่ จึ่งให้ราชสาส์นส่งไปอันว่าใจความนั้นว่า สำเภาของเราอย่าเอาไว้ เร่งให้ส่งตัวนายกำปันมา อันว่าเมืองศรีอยุทธยาแต่ก่อนนั้น ก็ย่อมเป็นธรรมเปนทางพระราชไมตรี ถ้าแม้นไม่ส่งตัวอะรำมะนีให้เร่งแต่งบูรีไว้ถ้าฯ
เมื่อจุลศักราชได้พันร้อยยี่สิบสองปีมะโรงโทศกมังลองยกทับมาเปนคนหกหมื่น ก็ยกล่วงแดนเข้ามาแล้วจึ่งให้เกรี่ยงถือหนังสือเข้ามาให้กับนายด่านค่างมะริศ ฝ่ายนายด่านข้างมะริศนั้น ครั้นแจ้งเหตุแล้วก็เอาหนังสือเข้ามาแจ้งแก่เจ้าเมืองมะริศๆ รู้เร่งให้ม้าใช้รีบเอาหนังสือมาแจ้งแก่อรรคมหาเสนาผู้ใหญ่ มหาเสนาครั้นแจ้งเหตุที่ในหนังสือนั้นแล้ว ก็เข้าไปกราบทูลฉลองกับพระเจ้าอยู่หัวเอกะทัศราชา ครั้นพระองค์แจ้งเหตุในสาส์น จึ่งมีพระโองการตรัสให้คนเรวม้าใช้ เร่งเรวไปสืบข่าวดูว่าพม่ายกทับมาทางมะริศนั้นทางหนึ่ง ข้างทางท่ากะดานนั้นทางหนึ่งทางเชียงใหม่นั้นทางหนึ่ง ก็ให้กะเกณฑ์ผู้คนทหารทั้งปวงให้พร้อมให้เกณฑ์ทับแลยกระบัตรเกียกกายปีกซ้ายปีกขวาทั้งทับหนุนแลทับรองทับน่าทับหลัง กองร้อยกองเหตุนาๆ ทั้งเสือป่าแมวเซา เหล่าทับตัดเสบียงทับเหล่านี้เร่งเกณฑ์ให้ครบครันให้ไปกั้นไปจุกไว้ทั้งสามทาง แล้วให้อุทุมพรราชาศึกออกมาช่วยราชการเมือง ครั้นพระอุทุมพรราชาอนุชาธิราชนิราศจากบรรพชิตก็ช่วยกันคิดการบ้านเมือง กับพระบรมเชษฐาที่จักต้านทานพม่า จึ่งกะเกณฑ์ขุนนางที่จักตั้งให้เปนนายทับที่จักต้านทานพม่า จึ่งเกณฑ์ให้พระยาสงครามนามชื่อปลัดชูแลพระยารัตนาธิเบศร พระยาราชวังสมเสนี พระจุลาหลวงศรียศ หลวงราชพิมล ขุนศรีวรดน แลทหารอันมีชื่อออกมาอาษาที่จักแทนพระเดชพระคุณพระองค์นั้นเปนอันมาก แต่ล้วนคนอยู่คงกระพัน พระองค์จึ่งพระราชทานรางวัลเงินทอง เสื้อผ้าแพรพรันแลเครื่องสูงต่างๆ ตามตำแหน่งตามที่ แลให้เลื่อนที่เลื่อนทางชื่อเสียงตามตำแหน่งแม่ทับแม่กองให้สัประทนแลร่มแพรทอง แลช้างม้าเครื่องแต่งตัวครบครัน บันดาเกณฑ์ไพร่นั้น ก็ให้เงินทองเสื้อผ้าครบตัวกันทั้งสิ้นแล้ว จึ่งเกณฑ์พระยาราชสงคราม แลพระยาไชยาพระยามหาเสนา แลพระยาเพชรพิไชยพระยาสมบัติธิบาลพระยาตนาวพระยาตลุงแลหลวงไกร ขุนนางแปดคนนี้ให้คุมทับแปดทับ ทับหนึ่งคุมพันหนึ่ง จึ่งให้ส้องสุมเข้าปลาอาหารแล้วจึ่งเกณฑ์ทับสะเบียงให้ตามส่งทุกตำบลมิให้ไพร่พลอดอยาก ให้ตามไปส่งเปนอันมาก บันดาทับทั้งแปดทับนั้นเปนคนแปดพัน ให้ขุนนางแปดคนเปนนายทับแล้ว จึ่งให้พระยาอภัยราชาเปนแม่ทับใหญ่ แล้วยกไปจุกทางเชียงใหม่ แล้วจึ่งให้ราชามาตยราชาบาลทิพเสนาวิสุทธามาตยราชมะนู เทพมะนู หลวงศัก หลวงสิทธิ หลวงฤทธิ์ หลวงเดชเปนคนหมื่นหนึ่ง ตั้งทับสิบทับแล้วจึ่งให้พระยาอภัยมนตรีเปนแม่ทับยกไปจุกทางไว้ท่ากระดาน อันเชียงใหม่กับท่ากระดานนั้นพม่ามิได้ยกมา มาแต่ทางทวาย
ครั้งเมื่อมังลองยกมาเปนคนหกหมื่น ครั้นรู้ว่าตัวมังลองยกมา พระองค์จึ่งให้เพิ่มผู้คนแลทหารขึ้นอีกจึ่งเกณฑ์ให้หนุนสะเบียงแลข้าวปลาอาหารทั้งปวง เกณฑ์ผู้คนให้ยกทับสะเบียงตามส่งทุกตำบล แล้วจึ่งเกณฑ์พระวิพัทพระสินพระสรรพระวิไชยพระอินทามาตยพระเทพโยธา พระพิพิธพระสมบัติพระท้ายน้ำพระพิไชยรณฤทธิพระชิตณรงค์พระอินทรเทพพระศรีสุนทร พระพิธมนตรีเกณฑ์คนหมื่นหนึ่งกับสี่พันด้วยกันเปนทับสิบสี่ทับ ทับหนึ่งมีช้างสิบตัวช้างตัวหนึ่งมีปืนใหญ่หลังช้างสองบอก มีอาวุธถ้วนตัวช้างๆ ตัวหนึ่งมีคนสามคนมีอาวุธครบตัวกัน ทับหนึ่งมีม้าร้อยหนึ่ง เหล่าคนขี่ม้ามือถือทวนแลอาวุธครบตัวกัน เหล่าเกณฑ์ทับทั้งหลายนั้นมีสาตราอาวุธ หอกดาบปืนน้อยแลปืนใหญ่ นกสับคาบชุดเครื่องสัพยุทธเขนงลูกกระสุนดินประสิวครบตัวกันทั้งสิ้นเปนอันมาก ทั้งทับน่าทับหลังปีกซ้ายปีกขวา ทับน่าทับหนุนทับรองทั้งเสือป่าแมวเซาแลเหล่าทับตัดเสบียง แล้วจึ่งให้พระยาราชมนตรีเปนแม่ทับยกไปตั้งรับไว้ที่แกตุง จึงตั้งค่ายเขื่อนขันธเปนมั่นคงมีค่ายรายทั้งซ้ายขวา แล้วจึ่งเกณฑ์ทับหนุนไปอิกสิบทับ คือพระศรีสมบัติพระศรีไกรลาศราชภูมินทรพรหมธิบาล หลวงเทพราชาขุนศรีคชกัณ หมื่นหารจำบังหลวงราชรามกำแหงขุนโลกทีป ขุนนางสิบคนนี้ตั้งเปนนายทับๆ หนึ่งเปนคนพันหนึ่งมีช้างรบสิบช้าง มีม้ารบร้อยหนึ่งมีสาตราอาวุธครบตัวกันทั้งสิ้นเปนอันมาก ทั้งสิบทับนี้เปนหมื่นหนึ่งจึ่งให้พระยาธรรมราชาเปนแม่ทับยกไปตั้งเมืองราชบุรี แล้วจึ่งเกณฑ์พวกพลทหารอาทมาทเปนอันมาก ให้ยกไปตั้งไว้ที่เมืองเพชรบูรี แล้วตั้งค่ายรายรับโดยอันดับทางทุกช่องแคบขัน อันเหล่าผู้รั้งกรมการทุกหัวเมืองนั้นเกณฑ์ให้ส่งลำเลียงเข้าปลาอาหารมิให้ขาดได้ แล้วก็ให้จัดแจงแต่งบ้านเมืองค่ายคูปตูหอรบเขื่อนขันให้คงมั่น จึ่งเอาปืนใหญ่ขึ้นตั้งไว้บนน่าที่และเชิงเทินทุกช่องเสมาแล้วเกณฑ์ผู้คนเปนอันมาก กับเครื่องสาตราอาวุธทั้งปืนคาบชุดคาบศิลาทั้งขานกยาง ทั้งลูกกระสุนดินประสิว แล้วขึ้นอยู่รักษาน่าที่เชิงเทินทุกช่องเสมา อนึ่งมีคนรักษาสิบคน

อันพระอุทุมพรนั้นศึกออกมาดูแลตรวจตราน่าที่เชิงเทิน อันเสนาบดีนั้นก็ตามเสด็จมาพร้อมพรั่งเสนาทั้งปวงจึ่งมาบวงสรวงพระเสื้อเมือ แลเทวะดาอันรักษาพระศาสนาจงมาช่วยป้องกันอันตรายบ้านเมือง ฝ่ายทัพไทยที่ยกไปมะริต ก็พบกันกับทับพม่า ก็รบกันถ้อยทีถ้อยรบกัน ข้างไทยเข้าโหมหักตีกลางแปลงนักรบกันอยู่วุ่นวาย ข้างพม่าล้มตายเจบปวดอันมาก ฝ่ายข้างไทยก็ตายเจบปวด ทั้งสองฝ่ายแต่รบกันอยู่ประมาณได้สิบห้าวัน ข้างไทยนั้นเจบปวดลงมากมาย จึ่งยกทับเคลื่อนคลายมาประสมกันที่แก่งดุมทับละร้อย ทับละพันนั้นตั้งรับไว้ที่เมืองราชบุรี ครั้นพม่ายกมาก็รบพุ่งกันหนักหนา ฝ่ายพม่าก็ยกหนุนกันมากมาย ฝ่ายข้างไทยนั้นรบอ้ายญวนเจบปวดมากมาย ฝีมือรบไม่เหมือนกัน อันฝ่ายข้างกรุงนั้นจึ่งเกณฑ์คนห้าพัน ให้ยกไปตามทางพม่าก็ไม่ไหวบ้างก็ล้มตายเจบปวดเปนอันมาก แม่ทับทั้งปวงก็คิดอ่านกันแล้ว ก็ถอยทับเรือก็รับมาทุกตำบลจนมาตั้งรับที่บ้านกุ่มบางบาน ฝ่ายพม่ารุกรบเข้ามาถึงบ้านทุ่มบางบานแล้ว อยู่รอบกรุงเปนอันมาก ฝ่ายไทยก็ถอยเข้ารบในกรุงข้างกรุงจึ่งคิดกันให้พระราชประสิทธิเปนผู้ใหญ่ กับขุนทานกำนัน กับขุนศุภอักษรออกไปพูดจากันตามประเพณี ก็ไม่ตกลงกันตามที่ตามทาง ฝ่ายสามนายนั้นกลับมาสู่เมือง จึ่งขึ้นมาที่เชิงเทินรบกัน ประมาณได้เจ็ดราตรี ข้างพม่านั้นจึ่งยิงปืนใหญ่อยู่ได้สามวันแล้ว ก็พอมังลองเจบหนักลงจึ่งเลิกทับกลับมายกมาทางพิษณุโลกยแลทางระแหง พระอุทุมพรราชานั้นกลับคืนเข้าทรงบรรพชาอย่างเก่า ครั้นสิ้นอรินราชพระบาทก็อยู่เยน เปนศุขนิราษทุกขไภย ทั้งชาวกรุงไกรไม่มือันตราย ฝ่ายพระเอกทัศราชาก็ครองสมบัติอย่างแต่ก่อนมา พระองค์มาถือฝ่ายข้างปริยัติแลฝ่ายธุดงค์แล้วจำเริญเมตตาภาวนา ถือศีลมิได้ขาดเดือนหนึ่งสี่อุโบสถ

พระองค์เลี้ยงพระสงฆ์เช้าเพน มีเทศนาแลสวดมนต์แผ่ผลเมตตามิได้ขาดเปนนิจอัตรา อันเงินการบุญตักเข้าบาตรก็ตักอยู่อัตรา เกณฑ์จังหันนิตยภัตรก็ส่งอยู่อัตราทุกอารามมิได้ขาด แลเกณฑ์บุญที่ปฏิสังขรณวัดวาอารามที่สลักหักพังทุกอารามทั้งปวงทั้งนอกกรุงแลในกรุง แลเกณฑ์ข้าผ้าไตรจีวรที่ภิกขุสงฆ์อันอักกะฎกแลมีจีวรคร่ำคร่าก็ถวายมิได้ขาด ทั้งสังเค็ตแลการกะถินทั้งในกรุงนอกกรุงแลทั้งหัวเมืองก็มีทุกปี แล้วยังเกณฑ์เทียนพระวษาแลเครื่องบริขารครบครันก็มิได้ขาดเปนนิจทุกปี แล้วยังสมโภชพระศรีสรรเพช แลพระหัวเมืองก็ทุกปีมิได้ขาด ยังเกณฑ์ค่าโคเกวียนแลสมโภชพระพุทธบาทก็ทุกปี อันเงินเหล่านี้ทั้งสิ้นศิริเบ็จเสรจปีหนึ่งเปนเงินพันหนึ่งกับห้าร้อยชั่ง ยังเข้าเกณฑ์บุญนั้นปีหนึ่งเปนเข้าหมื่นหนึ่งกับห้าพัน ครั้นถึงเดือนแปดปถมาสาธวันเพ็ญสิบห้าค่ำนั้นพระองค์บวชนาคหลวงทั้งภิกษุและสามะเณรปีหนึ่งสามสิบองค์บ้าง สี่สิบองค์บ้างทุกปีมิได้ขาด ครั้นมีสูริยแลจันทรฆาฏ พระองค์ทรงแจกเงินทองเสื้อผ้า สรรพต่างๆ ก็เปนอันมาก แล้วพระองค์มีรับสั่งให้ตั้งศาลาฉ้อทานทั้งสี่ทิศกรุงก็ทุกปีมิได้ขาด ครั้นถึงเพ็ญเดือนสิบสองพระองค์ไห้ทำจุลกะถิน แลเครื่องเข้าตอกดอกไม้ธูปเทียนฉัตรธงทั้งปวงเปนอันมาก แห่ไปถวายพระทุกอารามนั้นก็มิได้ขาดปี ครั้นถึงเดือนสี่พระองค์เสดจไปนมัศการพระพุทธบาทตั้งเปนกระบวนพยุห์บาตราแห่ไป ครั้นถึงแล้วพระองค์จึ่งให้มีการสมโภชมีการมโหรศพมีโขนหนังทั้งระบำเทบทองมีละครแลหุ่น สารพัดต่างต่าง แล้วจึ่งตั้งรธาดอกไม้เพลิงหว่างช่องรธา ดอกไม้นั้นมีโขนหนังมงครุ่มผาลาระบำเทบทอง แลหกขะเมนสามต่อต่ายลวด รำแพนลวดบนปลายเสา แล้วพระองค์เลี้ยงพระสงฆ์ ๕ ร้อยองค์ฉันถ้วนเจ็ดวันแล้ว จึ่งถวายจีวรสังเค็ตแล้ว พระองค์จึ่งแจกทาน แก่อณาประชาราษฎร ให้เงินทองเสื้อผ้าสิ่งของครามครัน อณาประชาราษฎรที่มารับพระราชทาน ทั้งหญิงทั้งชายก็ชื่นชมยินดียอกรอัญชุลีเหนือเกล้าเกษา ถวายพระพรอยู่เซงแซ่แล้วก็พากันดูงานการมโหระศพต่างๆ เปรมปรีทั้งเด็กผู้ใหญ่ ครั้นเพลาค่ำก็จุดดอกไม้เพลิงรุ่งเรืองโอภาษประหลาดแก่ตาหญิงก็ภากันดูดอกไม้ต่างๆ ก็รื่นเริงบันเทิงใจ แล้วพระองค์เสดจขึ้นไปนะมัสการพระพุทธบาท เกณฑ์เห่แหนซ้ายขวาเปนอันดับกันเปนหลั่นๆ กันไปเปนพระประเทียบทั้งพระองค์และมะเหษี แลพระราชบุตบุตรีแห่งเปนที่ๆ ขึ้นไป ครั้นถึงแล้วพระองค์ก็เสดจพระดำเนินเข้าไปในพระมณฑป จึงถวายธูปเทียนทอง แลเครื่องบูชาเข้าตอกดอกบุบผาอันมีกลิ่นต่างๆ นาๆ แล้วโปรยปรายถวายบูชา พร้อมด้วยพระราชบุตรบุตรี และพระอรรคมเหษีแลพระสนมกำนัน ก็อภิวันทสพฤกพร้อมบังคมนมัสการ ครั้นแล้วพระองค์จึ่งโปรยปรายเงินทองให้เปนทาน แล้วก็ทิ้งทานต้นกัลปพฤกษวันละแปดต้น ต้นหนึ่งเปนเงินแปดชั่ง ให้ทิ้งทานทั้งเจ็ดวัน แล้วก็เสดจกลับมาอยู่ที่พลับพลา ครั้นมีการมะโหรศพสมโภช เสดจขึ้นไปนมัสการอยู่ครบเจ็ดวันแล้ว พระองค์ก็เสดจไปชมธารกระเษม เสดจทรงรถพระที่นั่งโถง อันพระมเหษีแลพระราชบุตรบุตรีนั้นทรงรถต่างๆ กัน เหล่าพระกำนันแลสนมสาวสันกัลยาทั้งปวงนั้นก็ขี่รถต่างๆ กันแล้วแห่แหนไปในไพรสณฑ์ ครั้นถึงจึ่งเสดจลงจากราชรถ ก็เสดจพระดำเนิน ดำเนินไปตามลำธารน้ำ อันพระสนมกำนันก็พฤกพร้อมตามเสดจไปตามธารน้ำ อันเหล่าพระกำนันนารีก็มีมะโนรื่นเริงใจ แล้วก็ชี้ให้ชมธารแลศิลาตรวจทราย อันมีศรีแดงแลศรีขาว บ้างก็เปนศรีเขียว ดังมรกฎอันดี ที่ดำนั้นดังศรีปีกแมลงทับมีศรีนั้นต่างๆ อันหว่างช่องศิลาในน้ำนั้นมีมัจฉาชาติว่ายเวียนเลี้ยวลอดไปตามช่องศิลาเปนคู่ๆ ยิ่งดูยิ่งเพลินใจ บนเนินคีรีมีภูผาเปนช่อช้อยลงมาต่างๆ บ้างก็เป็นภูกลีบห้อยย้อยลงมา บ้างก็มีน้ำดุดั้นไหลมาตามช่องศิลา อันพฤกษาสานที่บนคีรีมีดอกแลออกช่อมีศรีต่างๆ ฯ


จบ
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.401 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 22 มกราคม 2567 20:51:06