[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 16:02:10 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: วัดถาวรวราราม(คั้นถ่อตื่อ) อ.เมือง จ.กาญจนบุรี และความเป็นมาของวัดญวนในประเทศไทย  (อ่าน 2464 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5392


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 11 มิถุนายน 2562 13:55:15 »







วัดถาวรวราราม (คั้นถ่อตื่อ)
ตำบลบ้านเหนือ อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี  

วัดถาวรวราราม (คั้นถ่อตื่อ) หรือที่ชาวบ้านนิยมเรียกสั้น ๆ ว่า “วัดญวน” นั้น เป็นวัดญวนในพระพุทธศาสนาฝ่ายอนัมนิกายลัทธิมหายาน และมีชื่อตามภาษาญวนว่า “คั้นถ่อตื่อ” ที่แปลเป็นไทยว่า “อยู่อย่างมั่นคงถาวร”

ชื่อวัดถาวรวรารามนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ พระราชทานนามไว้ ส่วนการสร้างวัดเกิดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ และถือเป็นวัดญวนแห่งแรกของจังหวัดกาญจนบุรีที่มีอายุกว่าร้อยปีแล้ว โดยการก่อสร้างริเริ่มจากครอบครัวชาวญวนที่นับถือพระพุทธศาสนา (ชาวญวนที่อพยพมาหลังการทำสงครามระหว่างไทยกับเวียดนามในสมัยรัชกาลที่ ๓) ร่วมแรงร่วมใจบริจาคทุนทรัพย์สร้างวัดขึ้นในราวปี พ.ศ.๒๓๗๗

อุโบสถสร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๖ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ศิลปะแบบจีนผสมกับญวน ภายในเป็นที่ประดิษฐาน “หลวงพ่อโต” มีพุทธลักษณะประทับนั่งปางมารวิชัย (ปางพิชิตมาร) หน้าตักกว้าง ๓ ศอก สูง ๔ ศอก ๑ คืบ สร้างจากศิลาแดง แต่เดิมเป็นพระประธานวัดนางพิมพ์ (วัดร้างสมัยอยุธยา) ซึ่งตั้งอยู่เขตเมืองกาญจนบุรีเก่า พระอธิการเหยี่ยวเค ได้อัญเชิญมาประดิษฐานเป็นพระประธานของวัดพร้อมกับพระพุทธรูปอีก ๒ องค์ที่ตั้งประดิษฐานขนาบข้างซ้ายขวา ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๙ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน เมื่อทรงดำรงพระอิสริยยศที่ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารได้พระราชทานนามใหม่ว่า “พระพุทธสถาพรมงคล” พ.ศ.๒๕๓๙ องสรภาณมธุรสเริ่มก่อสร้างพระตำหนักสมเด็จพระญาณสังวรเพื่อน้อมถวายพระองค์ท่าน และเป็นการเฉลิมพระเกียรติยศสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ ที่ทรงมีชาติภูมิที่จังหวัดกาญจนบุรี ทั้งนี้พระตำหนักฯ หลังนี้ใช้เวลาการก่อสร้างทั้งสิ้นกว่า ๑๐ ปีจึงแล้วเสร็จ

กุฏิบูรพาจารย์สร้างเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ๒ ชั้น ตัวอาคารมีลวดลายประติมากรรมแบบจีนประสมญวนที่งดงาม ภายในมีรูปหล่อเหมือนจริงของอดีตเจ้าอาวาส วัด และเป็นที่ต้อนรับผู้มาเยือนด้วยเมตตาธรรมของเจ้าอาวาสด้วย

ลำดับเจ้าอาวาส
๑. พระอธิการบ๋าวหาย  ระหว่าง พ.ศ.๒๓๗๗ ถึง พ.ศ.๒๔๓๖
๒. พระอธิการเหยี่ยวเค  ระหว่าง พ.ศ.๒๔๓๖ ถึง พ.ศ.๒๔๕๕
๓. พระอธิการเทียม  ระหว่าง พ.ศ.๒๔๕๕ ถึง พ.ศ. ๒๔๘๓
๔. พระสมณานัมวุฑฒาจารย์ ไพศาลคณกิจ (หลวงพ่อโฝ) ระหว่าง พ.ศ.๒๔๘๓ ถึง พ.ศ.๒๕๐๒ (ย้ายไปดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดอุภัยราชบำรุง กรุงเทพฯ)
๕. พระอธิการอดุลย์ เหว่เจื๋อง (ฮับยิ้ว) ระหว่าง พ.ศ.๒๕๐๒ ถึง พ.ศ.๒๕๑๒ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ระหว่าง พ.ศ.๒๕๑๒ ถึง พ.ศ.๒๕๒๘ และในปี พ.ศ.๒๕๒๘ ได้ลาสิกขา
๖.องสรภาณมธุรส ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๐ - ปัจจุบัน
 ขอขอบคุณข้อมูลจาก เว็บไซต์อนัมนิกายแห่งประเทศไทย มา ณ โอกาสนี้


พระโพธิสัตว์กวนอิม เมื่อสมัยพุทธกาล องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จประทับอยู่
ณ นิโครธาราม เมืองกบิลพัสดุ์ ในท่ามกลางพระภิกษุห้อมล้อมสดับพระธรรมเทศนา พระองค์
ได้ตรัสว่า เมื่อครั้งอดีตกาล พระองค์ทรงเกิดในตระกูลพราหมณ์ในพระโพธิสัตว์ ทรงพระนามว่า
พระโพธิสัตว์กวนอิม  ในพิธีบริจาคทานทิ้งกระจาด ที่ปฏิบัติเป็นประจำที่วัดญวนนั้น จะต้องมี
รูปพระโพธิสัตว์กวนอิม (แบ่งภาค) เป็นประธานสำหรับแจกเครื่องไทยทานทิ้งกระจาด ซึ่ง
พระโพธิสัตว์องค์นี้ปรารถนาจะโปรดทั้งมนุษย์และสัตว์ให้ถึงพร้อมด้วยพรหมวิหาร ๔ คือ เมตตา
กรุณา มุทิตา และ อุเบกขา










เข้าใจว่าเป็นพระไตรปิฎกหรือคัมภีร์ทางพุทธศาสนา ที่บันทึกคำสอนของพระโคตมพุทธเจ้า



Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 มิถุนายน 2562 15:57:54 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5392


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 11 มิถุนายน 2562 15:31:16 »


คนญวนนับถือพุทธศาสนาอนัมนิกาย   อนัมนิกายก็คือนิกายมหายานแบบเวียดนาม ซึ่งรับมาจากนิกายมหายานแบบจีน
หากแต่ได้มีการปรับเปลี่ยนแบบแผนประเพณี พิธีกรรม และวัตรปฏิบัติของสงฆ์ให้สอดคล้องกับพุทธศาสนาเถรวาทของไทย


ความเป็นมาของวัดญวนในประเทศไทย
ภาพประกอบบทความ : ภาพจากวัดถาวรวราราม (คั้นถ่อตื่อ)
ตำบลบ้านเหนือ อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี
 

วัฒนธรรมของชาวญวนเป็นวัฒนธรรมแบบเอเชียตะวันออก ซึ่งได้รับอิทธิพลความเชื่อทางพุทธศาสนาแบบอุตรนิกาย ที่เผยแผ่เข้ามายังประเทศทางภาคตะวันออกของทวีปเอเชีย คือ จีน ทิเบต มองโกเลีย ญี่ปุ่น และญวน  การที่เวียดนามตกอยู่ภายใต้การปกครองของจีนเป็นเวลานานกว่าพันปี ทำให้ลัทธิความเชื่อและพิธีกรรมทางศาสนาของชาวญวนหรือชาวเวียดนามส่วนใหญ่คล้ายคลึงกับชาวจีน  

ความเชื่อและศาสนาของชาวญวนประกอบด้วยลัทธิบูชาเทพที่สิงสถิตตามธรรมชาติ มีการเคารพสักการะผีและวิญญาณต่างๆ ต่อมาจึงได้รวมเอาความเชื่ออื่นๆ คือ ลัทธิขงจื๊อ และลัทธิเต๋า รวมทั้งพระพุทธศาสนานิกายมหายานจากอิทธิพลของจีนเข้าไว้ด้วย

วัดญวนถือกำเนิดขึ้นในประเทศไทยก่อนวัดจีน เมื่อมีการตั้งหลักแหล่งของชาวญวนที่อพยพลี้ภัยสงครามเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของพระมหากษัตริย์ไทยตั้งแต่ปลายสมัยกรุงธนบุรี ประมาณปี พ.ศ.๒๓๑๙ ซึ่งสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้โปรดเกล้าฯ ให้รับไว้และพระราชทานที่ให้พวกญวนตั้งบ้านเรือน เมื่อมาอยู่ในประเทศไทย ตั้งภูมิลำเนาอยู่แห่งใดชาวญวนก็ได้สร้างวัดสำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนาของพวกตนที่อยู่ ณ ที่แห่งนั้น ตามแบบอย่างประเพณีที่สืบทอดกันมา โดยปรากฏหลักแหล่งหรือชุมชน และมีบริบททางสังคมวัฒนธรรมตามความเชื่อของกลุ่มชนเชื้อชาติญวนที่นับถือพุทธศาสนามหายานฝ่ายอนัมนิกาย  

เมื่อมีวัดญวนขึ้นในประเทศไทยก็ได้มีการนิมนต์พระสงฆ์ซึ่งอุปสมบทจากประเทศญวนเข้ามาประจำวัดที่สร้างขึ้น พระสงฆ์อุปสมบทมาจากประเทศเวียดนามนี้ ในครั้งแรกก็คงบวชมาจากเมืองญวน คือในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช คณะสงฆ์ญวนชุดแรกๆ มีพระชั้นผู้ใหญ่ที่สำคัญ ๒ รูป เป็นผู้นำคณะสงฆ์อนัมนิกาย คือ พระครูคณาณัมสมณาจารย์ (ฮึง) และพระครูสมณานัมสมณาจารย์ (เหยี่ยวกร่าม) และเนื่องจากในสมัยนั้นยังไม่มีวัดจีนในประเทศไทย พวกจีนก็มักไปทำบุญที่วัดญวนด้วย เพราะอยู่ในพุทธศาสนาฝ่ายมหายานด้วยกัน มีพิธีกรรมต่าง ๆ ทางศาสนา เช่น พิธีกงเต๊ก เป็นต้น อย่างเดียวกัน  ส่วนไทยแม้ไม่สู้นับถือแต่ก็ไม่รังเกียจเพราะเห็นว่านับถือพระพุทธเจ้าองค์เดียวกัน

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๒ และรัชกาลที่ ๓ ประเทศไทยและเวียดนามมีปัญหาขัดแย้งกัน ทำให้คณะสงฆ์ญวนในประเทศไทยขาดการติดต่อกับพระสงฆ์ญวนในเมืองญวน และได้กลับมาติดต่อสัมพันธ์กันอีกครั้งในรัชกาลที่ ๔ และรัชกาลที่ ๕ ในสมัยนั้นมีพระสงฆ์ญวนเข้ามาในประเทศไทยอีก แต่เนื่องจากขณะนั้นญวนตกอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส พระสงฆ์ญวนในประเทศไทยไม่สามารถติดต่อกับพระสงฆ์ญวนในเมืองญวนได้สะดวกนัก พระสงฆ์ญวนในประเทศไทยจึงได้แก้ไขปรับปรุงระเบียบพิธีประเพณีและวัตรปฏิบัติให้สอดคล้องตามอย่างพระสงฆ์ไทยหลายประการ เป็นต้นว่า ออกบิณฑบาต ถือสิกขาบทวิกาลโภชนา (ไม่ฉันอาหารเวลาวิกาลคือเวลาเย็น) ทำวัตรเช้า-เย็น ครองผ้าสีเหลืองแต่เพียงสีเดียว ไม่ใส่รองเท้าและถุงเท้าเหมือนพระในประเทศจีนและประเทศญวน และการผนวกพิธีกรรมเถรวาท เช่น การมีพิธีอุปสมบท พิธีทอดกฐิน ทอดผ้าป่า พิธีเข้าพรรษา  สำหรับข้อวัตรปฏิบัติอื่นๆ ตลอดจนกิจพิธี คงทำตามแบบในเมืองญวนตลอดมา จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้พระญวนมีสมณศักดิ์ และได้โปรดเกล้าฯ ให้พระญวนมาทำพิธีกงเต๊ก เป็นพิธีหลวงบ่อยๆ  จึงได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมกิจพิธีคล้ายกับพระสงฆ์ไทยมากยิ่งขึ้นอีกหลายประการ.

ในรัชกาลที่ ๓ ระหว่างที่เจ้ามงกุฎ (ต่อมา คือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) ทรงพระผนวชอยู่ ทรงสนพระทัยในลัทธิประเพณีและการปฏิบัติของพระสงฆ์ฝ่ายมหายาน ซึ่งในขณะนั้น พระสงฆ์ฝ่ายมหายานมีแต่ฝ่ายอนัมนิกาย ยังไม่มีฝ่ายจีนนิกาย จึงโปรดให้นิมนต์องฮึง เจ้าอาวาสวัดญวนตลาดน้อยในขณะนั้นมาเข้าเฝ้า ซึ่งทรงถูกพระราชอัธยาศัยเป็นอย่างดี เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คณะสงฆ์ฝ่ายอนัมนิกายเข้ามาอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ และอยู่ในสถานะดังกล่าวเรื่อยมา แม้จะมีการผลัดเปลี่ยนรัชกาลมาจนถึงปัจจุบัน ในช่วงแรกที่วัดญวนได้เข้ามาอยู่ใต้พระบรมโพธิสมภาร วัดญวนแห่งแรกๆ เช่น วัดญวนตลาดน้อย ก็ได้รับพระราชทานเงินช่วยเหลือในการปฏิสังขรณ์ และยังโปรดเกล้าฯ ให้พระสงฆ์ญวนเข้าเฝ้าเป็นประจำ รวมทั้งให้มีพิธีกรรมตามความเชื่อของฝ่ายอนัมนิกาย ในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ซึ่งเป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน



พระอวโลกิเตศวรกวนอิม



การสร้างวัดญวนในประเทศไทย

ลักษณะของวัดญวนประเทศไทย มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมที่ผสมผสานระหว่าง จีน ญวน และไทย วัดญวนไม่นิยมสร้างโบสถ์ที่มีช่อฟ้าใบระกา และหางหงส์อย่างไทย แต่มีการสร้างเจดีย์บรรจุอัฐิบรรพบุรุษ หอกลอง หอระฆัง ซึ่งมีลักษณะคล้ายสถาปัตยกรรมจีน ส่วนรูปเคารพที่เป็นสัญลักษณ์ของวัดญวน คือ รูปท้าวมหาชมพู บางวัดมีเมรุเผาศพและสุสานสำหรับฝังศพ บริเวณวัดส่วนใหญ่จะมีลานกว้างรอบโบสถ์และมีขนาดต่างๆ กันไป  ปรากฏเป็นไปโดยลำดับ ดังนี้

- สมัยก่อนกรุงรัตนโกสินทร์ (ปลายสมัยกรุงธนบุรี) ญวนเข้ามาอยู่ในประเทศไทย กล่าวคือ ญวนพวกที่หนีกบฏมากับองเชียงชุนครั้งกรุงธนบุรี ได้มาสร้างวัดขึ้นที่บ้านหม้อ  ๒ วัด คือ
   ๑. วัดกามโล่ตื่อ (วัดทิพยวารีวิหาร) ตั้งอยู่หลังสถานีตำรวจบ้านหม้อ กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันกลายเป็นวัดจีน  
   ๒. วัดโห่ยคั้นตื่อ (วัดมงคลสมาคม) เดิมตั้งอยู่ที่บ้านญวน หลังวังบูรพาภิรมย์ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้ทำผาติกรรมแล้วพระราชทานที่ดินบริเวณนั้นสร้างถนนพาหุรัด (วัดอยู่ในแนวถนน) แล้วพระราชทานที่ดินริมถนนแปลงนาม เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร ให้เป็นที่สร้างวัดโห่ยคั้นตื่อขึ้นใหม่

- สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ (รัชกาลที่ ๑)  ญวนที่อพยพเข้ามาพร้อมองเชียงสือ ได้สร้างวัดขึ้น ๒ วัด คือ
   ๑. วัดคั้นเยิงตื่อ (วัดอุภัยราชบำรุง) รู้จักกันในนาม วัดญวนตลาดน้อย อยู่ที่หลังตลาดน้อย (ริมถนนเจริญกรุง) เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร  เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์ใน พ.ศ.๒๔๑๑ ได้ทรงปฏิบัติตามแบบอย่างสมเด็จพระบรมชนกนาถในเรื่องที่เกี่ยวกับการอุปถัมภ์และปฏิสังขรณ์วัดญวน โดยพระราชทานเงินช่วยเหลือปฏิสังขรณ์วัดญวนตลาดน้อยอีกครั้ง และได้พระราชทานนามใหม่ว่า “วัดอุภัยราชบำรุง”  คำว่า “อุภัย” แปลว่า สอง  แสดงให้เห็นถึงความหมายว่า เป็นวัดที่ได้รับพระบรมราชูปถัมภ์จากพระมหากษัตริย์ ๒ พระองค์ คือพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
   ๒. วัดกว๋างเพื๊อกตื่อ (วัดอนัมนิกายาราม) ตั้งอยู่ในซอยถนนประชาราษฎร์ บางโพ เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เรียกกันทั่วไปว่า วัดญวนบางโพ  
 
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ (รัชกาลที่ ๓) ญวนที่อพยพเข้ามาในสมัยรัชกาล ๓ ได้สร้างวัดขึ้น ๓ วัด คือ
   ๑. วัดคั้นถ่อตื่อ (วัดถาวรวราราม) ตั้งอยู่บนถนนเจ้าขุนเณร อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี
   ๒. วัดเกี๋ยงเพื๊อกตื่อ (วัดสมณานัมบริหาร) ตั้งอยู่ที่ถนนลูกหลวง ริมคลองผดุงกรุงเกษม เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เรียกกันทั่วไปว่า วัดญวนสะพานขาว
   ๓. วัดเพื๊อกเดี้ยนตื่อ (วัดเขตร์นาบุญญาราม) ตั้งอยู่ที่ถนนขวาง อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี

ต่อมาภายหลังได้มีวัดญวนที่พวกญวนและพวกจีนร่วมกันสร้างอีก ๔วัด คือ
   ๑. วัดโผเพื๊อกตื่อ (วัดกุศลสมาคร)  ตั้งอยู่ที่ถนนราชวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร
   ๒. วัดตี๊หง่านตื่อ (วัดชัยภูมิการาม)  ตั้งอยู่ที่ถนนเยาวพานิช เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร
   ๓. วัดเบี๋ยนเพื๊อกตื่อ (วัดบำเพ็ญจีนพรต)  ตั้งอยู่ที่ตำบลจักรวรรดิ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันกลายเป็นวัดพระจีน
   ๔. วัดตื้อเต้ตื่อ (วัดโลกานุเคราะห์)  ตั้งอยู่ถนนผลิตผล ตำบลจักรวรรดิ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร
   ๕. วัดคั้นถ่อตื่อ  (วัดถาวรวราราม)  ตั้งอยู่ที่ถนนแสงจันทร์ อำเภอหาดใหญ่  จังหวัดสงขลา วัดแห่งนี้สร้างในปี พ.ศ.๒๕๐๐

และหลังจากนั้นก็มีการสร้างขึ้นอีก ๓ วัด คือ
   ๑. วัดคั้นอังตื่อ (วัดสันทรประดิษฐ์) ตั้งอยู่ที่ถนนอดุลยเดช อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
   ๒. วัดลองเซิงตื่อ (วัดถ้ำเขาน้อย) ตั้งอยู่ที่ตำบลม่วงชุม อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี
   ๓. วัดซำปอกง (วัดอุภัยญาติการาม) ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา



พุทธศาสนามหายาน นอกจากจะชี้ทางเพื่อการพ้นทุกข์เหมือนคำสอนของพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท
ยังมีการผสมผสานกับความเชื่ออื่นๆ  มีพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์จำนวนมากมาย  พระพุทธเจ้า
องค์ที่สำคัญที่สุด คือ พระอมิตาภะ และพระโพธิสัตว์องค์สำคัญที่สุด คือ พระอวโลกิเตศวร
หรือ กวนอิม


พระญวนในประเทศไทยได้แก้ไขปรับปรุงแบบแผนและพิธีการต่างๆ ให้สอดคล้องตามอย่าง
พระสงฆ์ไทยหลายอย่าง เช่น  ออกบิณฑบาต  ถือสิกขาบทวิกาลโภชนา (ไม่ฉันอาหาร
เวลาวิกาลคือเวลาเย็น)  ทำวัตรเช้า-เย็น  ครองผ้าสีเหลืองแต่เพียงสีเดียว  ไม่ใส่รองเท้า
และถุงเท้าเหมือนพระในประเทศจีนและประเทศญวน


หัวใจการปฏิบัติธรรมของพุทธศาสนามหายาน คือ ต้องมีทั้งปัญญาและกรุณาควบคู่กันไป
เน้นการละความเห็นแก่ตัวและทำประโยชน์แก่ส่วนรวม ซึ่งเป็นที่มาขององค์กรการกุศลต่างๆ
เช่น มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ถนนศาลา โรงธรรม เป็นต้น


วินัยและวัตรปฏิบัติของคณะสงฆ์ฝ่ายอนัมนิกาย
คนญวนนับถือพุทธศาสนาอนัมนิกาย

อนัมนิกายก็คือนิกายมหายานแบบเวียดนาม ซึ่งรับมาจากนิกายมหายานแบบจีน หากแต่ได้มีการปรับเปลี่ยนแบบแผนประเพณี พิธีกรรม และวัตรปฏิบัติของสงฆ์ให้สอดคล้องกับพุทธศาสนาเถรวาทของไทย

พระสงฆ์ฝ่ายอนัมนิกายมีวัตรปฏิบัติที่คล้ายคลึงและที่แตกต่างจากพระสงฆ์ไทย (ฝ่ายเถรวาท) และพระสงฆ์ฝ่ายจีนนิกายในเรื่องต่างๆ ดังนี้
๑. จำนวนศีลสิกขาบท พระสงฆ์ทั้งฝ่ายอนัมนิกายและฝ่ายจีนนิกายถือศีลจำนวน ๒๕๐ ข้อ  ในขณะที่พระสงฆ์ฝ่ายเถรวาท ถือศีล ๒๒๗ ข้อ  ในจำนวน ๒๕๐ ข้อนั้น มีข้อหลักๆ ที่คล้ายกับศีลของพระสงฆ์ฝ่ายเถรวาท แต่มีข้อปลีกย่อยเพิ่มเติม
๒. เครื่องแต่งกาย พระสงฆ์ฝ่ายอนัมนิกายและฝ่ายจีนนิกายสวมเสื้อและกางเกง ครองจีวร และไม่โกนคิ้ว ส่วนพระสงฆ์ฝ่ายเถรวาทครองสบง จีวร สังฆาฏิ และโกนคิ้ว
๓. อาหาร เดิมพระสงฆ์ฝ่ายอนัมนิกาย ฉันเจ ๓ มื้อต่อวัน ภายหลังเปลี่ยนเป็นฉันชอ (เนื้อสัตว์) และลดลงเหลือ ๒ มื้อต่อวัน เช่นเดียวกับพระสงฆ์ฝ่ายจีนนิกาย โดยถือวิกาลโภชนา ส่วนพระสงฆ์ฝ่ายเถรวาทฉันอาหารทั่วไป และถือวิกาลโภชนาเช่นกัน
๔. การตื่นนอนและการบิณฑบาต พระสงฆ์ฝ่ายอนัมนิกายและฝ่ายจีนนิกายตื่นนอนและบิณฑบาตตามสะดวก ส่วนพระสงฆ์ฝ่ายเถรวาทตื่นนอนตั้งแต่เช้าตรู และออกบิณฑบาตเป็นกิจวัตร
๕. พิธีกรรม พระสงฆ์ฝ่ายอนัมนิกาย มีการปฏิบัติพิธีกรรมคล้ายฝ่ายจีนนิกายทุกประการ แต่มีพิธีบวช พิธีเข้าพรรษา พิธีสรงน้ำพระพุทธรูป คล้ายกับพระสงฆ์ฝ่ายเถรวาท  ในขณะที่ฝ่ายจีนนิกายไม่มี


บทความเรียบเรียงจาก :
- สารานุกรมไทยฯ โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เล่มที่ ๒๐ และ ๓๑
- สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคกลาง เล่มที่ ๑๓ จัดพิมพ์เโดย มูลนิธิสารานุกรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ นื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ
- เว็บไซต์ anamnikayathai.com
- เว็บไซต์ พันทิปดอทคอม
- เว็บไซต์ วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี


โปรดติดตามตอนต่อไป
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 มิถุนายน 2562 16:15:37 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5392


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 13 มิถุนายน 2562 14:42:09 »



พระพุทธเจ้าตามคติมหายาน

พุทธศาสนิกชนที่นับถือนิกายมหายานในหลายประเทศ เช่น จีน ทิเบต เนปาล เกาหลี ญี่ปุ่น และเวียดนาม มีความเชื่อว่า ในโลกนี้มีพระพุทธเจ้าอยู่มากมาย อาจกล่าวได้ว่ามีจำนวนเท่ากับเม็ดทรายในแม่น้ำคงคา มีพระพุทธเจ้าอยู่ทั่วไปในภาคพื้นดิน ในห้วงบรรยากาศ และในสรวงสวรรค์ ซึ่งตามคติมหายานแบ่งพระเจ้าออกเป็น ๓ ประเภท คือ

พระมานุษิพุทธเจ้า ตามคติของฝ่ายมหายาน พระมานุษิพุทธเจ้า คือ พระพุทธเจ้าที่เสด็จลงมาประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานในโลกมนุษย์ เช่น พระพุทธเจ้าในภัทรกัป ซึ่งเป็นกัปที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้มาแล้วถึง ๔ พระองค์ และจะเสด็จมาตรัสรู้ในภายภาคหน้าอีกพระองค์หนึ่ง มีพระนามตามลำดับคือ
๑. พระกกุสันโธ
๒. พระโกนาคมน์
๓. พระกัสสปะ
๔. พระโคตมะ
๕. พระศรีอริยเมตไตรย์ หรือพระศรีอาริย์

นอกจากนี้ยังมีพระพุทธเจ้าในกัปอื่นๆ ที่ปรากฏพระนามอยู่ในมนต์พิธีของพระสงฆ์อนัมนิกาย เช่น พระทีปังกร พระวิปัสสี พระสิขี พระเวสภู

พระฌานิพุทธเจ้า  
คือพระพุทธเจ้าที่สถิตอยู่ ณ สรวงสวรรค์ที่แบ่งเป็นแดนๆ ในแต่ละแดนเรียกว่า พุทธเกษตร หรือแดนแห่งพระพุทธเจ้าพระองค์ใดพระองค์หนึ่ง พระฌานิพุทธเจ้าทุกพระองค์จะอุบัติขึ้นด้วยอำนาจฌานของพระอาทิพุทธซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าองค์ปฐม พระอาทิพุทธมีสภาวะเป็นองค์สยมภู (คือ พระผู้เกิดเอง เหมือนกับพระพรหมในศาสนาพราหมณ์) ปราศจากเขตต้นและเขตปลาย

พระฌานิพุทธเจ้าทุกพระองค์เมื่ออุบัติขึ้นจากอำนาจฌานของพระพุทธเจ้าองค์ปฐมแล้ว จะตรัสรู้ในสรวงสวรรค์ซึ่งเป็นที่พักเพื่อรอการเข้าสู่พระนิพพาน จึงไม่ได้เสด็จมาตรัสรู้ในโลกมนุษย์ พระพุทธเจ้า ณ พุทธเกษตรบนสรวงสวรรค์นี้ มีปรากฏพระนามในคัมภีร์ต่างๆ เช่น พระไวโรจนพุทธเจ้า พระวรกายสีขาว ประทับเหนือดอกบัวสีน้ำเงิน มีสิงโตเป็นพาหนะ สถิตอยู่ ณ พุทธเกษตรเบื้องล่าง พระอักโษภัยภุทธเจ้า สถิตอยู่ ณ พุทธเกษตรทิศตะวันออก พระอมิตาภพุทธเจ้า สถิตอยู่ ณ พุทธเกษตรทิศตะวันตก พระอโมฆสิทธิพุทธเจ้า สถิตอยู่ ณ พุทธเกษตรทิศเหนือ พระรัตนสมภพพุทธเจ้า สถิตอยู่ ณ พุทธเกษตรทิศใต้

พระไภสัชยาคุรุพุทธเจ้า  
ตามคติของฝ่ายมหายานเชื่อกันว่า ทางทิศตะวันออกไกลจากพุทธเกษตรออกไปเป็นระยะทาง ๑๐ เท่า ของเม็ดทรายในแม่น้ำคงคา มีโลกอีกโลกหนึ่งที่สะอาดบริสุทธิ์ มีพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ไภสัชยาคุรุ ผู้เป็น “พระสัมมาสัมพุทธเจ้า” ทรงไว้ซึ่งความบริสุทธิ์ สมบูรณ์ทั้งจิตและกาย ทรงรอบรู้ในสัจจะ ทรงหยั่งรู้ในโลก และทรงเป็นผู้ชี้ทางให้มวลมนุษย์ด้วยความชำนาญ เช่นเดียวกับสารถีผู้ชำนาญในการบังคับม้า และทรงเป็นศาสดาของมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย
 

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24 มิถุนายน 2562 15:38:27 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
MP3 อบรมวิถีจิต โดย หลวงปู่พุทธะอิสระ ณ สถานบำบัดธรรมชาติทองผาภูมิ กาญจนบุรี
เสียงธรรมเทศนา
มดเอ๊ก 0 2991 กระทู้ล่าสุด 25 มิถุนายน 2553 20:17:50
โดย มดเอ๊ก
เปิดบันทึกตำนาน ตอน หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี
พุทธประวัติ - ประวัติพระสาวก
มดเอ๊ก 0 1970 กระทู้ล่าสุด 29 กรกฎาคม 2559 01:38:40
โดย มดเอ๊ก
หลวงพ่ออนันต์ เขมจิตโต วัดตะคร้ำเอน อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 807 กระทู้ล่าสุด 21 พฤศจิกายน 2561 15:40:35
โดย ใบบุญ
หลวงปู่เหรียญ สุวัณณโชติ วัดหนองบัว อ.เมือง จ.กาญจนบุรี
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 844 กระทู้ล่าสุด 20 ธันวาคม 2561 11:52:24
โดย ใบบุญ
วัดเมตตาธรรมโพธิญาณ อ.เมือง จ.กาญจนบุรี
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng 0 1705 กระทู้ล่าสุด 28 สิงหาคม 2562 17:26:44
โดย Kimleng
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.854 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 23 มีนาคม 2567 11:40:21