[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
19 มีนาคม 2567 17:44:24 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า:  1 [2]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: กำลังใจ โดย พระจุลนายก (สุชาติ อภิชาโต) วัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร จ.ชลบุรี  (อ่าน 27409 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 985


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 87.0.4280.141 Chrome 87.0.4280.141


ดูรายละเอียด
« ตอบ #20 เมื่อ: 19 มกราคม 2564 11:49:14 »




กัณฑ์ที่ ๕๐
พระศาสนา
๑๐ มีนาคม ๒๕๔๔

ในบรรดาทรัพย์สมบัติต่างๆ ที่มีค่า เช่น แก้วแหวน เงินทอง เพชรนิลจินดาที่มีอยู่ในโลกนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับพระพุทธศาสนา พระธรรมคําสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว ก็จะเป็นเหมือนกับก้อนอิฐก้อนทราย เพราะคุณประโยชน์ของพระพุทธศาสนานั้นมีค่ายิ่งกว่าสิ่งต่างๆ ในโลกนี้ทั้งหมด เพราะพระพุทธศาสนาเป็นแสงสว่างของชีวิต เป็นเครื่องนําทางให้แก่ผู้เดินทางให้เดินไปสู่จุดหมายปลายทางที่ดีที่งาม ที่สุขที่เจริญ แสงสว่างแห่งธรรม เปรียบเหมือนกับแสงสว่างของดวงอาทิตย์ ซึ่งมีความจําเป็นแก่มนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย ในโลกนี้ ถ้าขาดแสงสว่างของดวงอาทิตย์ การดํารงชีพก็จะเป็นไปด้วยความยากลําบาก ที่อยู่กันได้ก็เพราะมีดวงอาทิตย์ที่ให้แสงสว่างและความอบอุ่นแก่โลกฉันใด พระพุทธศาสนาก็ให้แสงสว่างและความอบอุ่นแก่จิตใจฉันนั้น นอกจากจะเป็นแสงสว่างแล้ว ศาสนายังเป็นปัจจัย ๔ ของจิตใจ คือ เป็นอาหาร เป็นที่อยู่อาศัย เป็นเครื่องนุ่งห่ม และเป็นยารักษาโรคของจิตใจ ถ้ามีศาสนาอยู่ในใจแล้วจิตใจจะมีอาหารหล่อเลี้ยง ทําให้มีความอิ่มเอิบ มีปีติมีความพอ ไม่มีความหิว ไม่มีความกระหาย ไม่มีความอยาก

ศาสนาเป็นเหมือนเสื้อผ้าอาภรณ์ที่สวยงามไว้สวมใส่ ผู้ที่ไม่มีศาสนาเป็นเหมือนคนที่ไม่มีเสื้อผ้าอาภรณ์ที่สวยงามไว้สวมใส่ ความสวยงามของคนที่แท้จริงนั้นอยู่ที่ความประพฤติที่มีศีลธรรม ถ้ามีศีลธรรมแล้วย่อมสวยงาม น่าดู น่าชม น่าคบค้าสมาคมด้วย น่าชื่นชมยินดี น่าเคารพศรัทธาเลื่อมใส เช่นพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ทรงพร้อมบริบูรณ์ด้วยศีลธรรม สวยงามด้วยศีลด้วยธรรม ถึงแม้พระพุทธองค์ได้เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้วเป็นเวลากว่า ๒๕๐๐ ปีก็ตาม แต่ความสวยงามของพระพุทธองค์ยังก้องกังวานอยู่ในจิตใจของพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย

ศาสนาเป็นเหมือนที่อยู่อาศัย เป็นที่พึ่งหลบภัยของจิตใจ ผู้มีศาสนาย่อมดํารงชีวิตด้วยความสงบสุข เพราะศาสนาสอนให้มีความเมตตา ไม่ไปก่อกรรมก่อเวรกับใคร เพราะรู้ว่า เวรย่อมไม่ระงับด้วยการจองเวร แต่เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร รู้จักการให้อภัย ถ้ามีการให้อภัย มีการไม่จองเวรกันแล้วจะอยู่ได้อย่างสงบร่มเย็นเป็นสุข ไม่ว่าจะถูกด่าว่ากล่าว ถูกทําร้ายร่างกาย ถูกฉกชิงทรัพย์สมบัติเงินทองข้าวของไป ก็จะไม่โกรธ ไม่อาฆาตพยาบาท ไม่โต้ตอบ แต่จะแผ่เมตตา มองทุกๆ คนเหมือนเป็นพี่เป็นน้องกัน เป็นเพื่อนกัน เป็นเพื่อนเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นเพื่อนร่วมสุขร่วมทุกข์กัน ทุกข์ของแต่ละคนก็มีมากมายอยู่แล้วไม่ควรเพิ่มทุกข์ให้แก่กันละกัน

อานิสงส์ของการแผ่เมตตามี ๑๑ ประการ ได้แก่ ๑. หลับก็เป็นสุข ๒. ตื่นก็เป็นสุข ๓. ไม่ฝันร้าย ๔. เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย ๕. เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย ๖. เทวดาย่อมรักษา ๗. ไม่ต้องภัยจากไฟ ยาพิษ หรือศัสตราวุธ ๘. จิตเป็นสมาธิง่าย ๙. สีหน้าผ่องใส ๑๐. เมื่อจะตายใจก็สงบ ไม่หลงใหลไร้สติ ๑๑. ถ้ายังไม่บรรลุคุณพิเศษที่สูงกว่า ย่อมเข้าถึงพรหมโลก ศาสนาจึงเป็นที่พึ่งอาศัย เป็นที่หลบภัยของจิตใจ ร่างกายต้องอาศัยบ้านช่องเป็นที่หลบภัยจากภัยต่างๆ ฉันใด ศาสนาก็เป็นที่หลบภัยของจิตใจฉันนั้น

ศาสนาเป็นเหมือนยารักษาโรคของจิตใจ โรคมีอยู่ ๒ ชนิด โรคกายกับโรคจิต โรคกายต้องอาศัยยาชนิดต่างๆ ที่หมอค้นคว้าขึ้นมารักษา เป็นยาเม็ดบ้าง เป็นยาฉีดบ้าง เป็นยานํ้าบ้าง เมื่อรับประทานยาเข้าไป โรคภัยต่างๆ ก็หายไป โรคจิตก็เหมือนกัน ต้องอาศัยธรรมโอสถ อาศัยยาทางศาสนา ไม่มีใครปฏิเสธได้เลยว่าตนไม่เป็นโรคจิต เพราะโรคจิตก็คือความทุกข์ใจนั่นเอง ความไม่สบายใจ ความกังวลใจ ความห่วงใย ความอาลัยอาวรณ์ ความเศร้าโศกเสียใจ เป็นโรคจิตทั้งนั้น โรคจิตเกิดจากเชื้อโรคของจิต คือ กิเลส เครื่องเศร้าหมอง ตัณหา ความอยาก อุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่น อวิชชา ความมืดบอด โมหะ ความลุ่มหลง สิ่งเหล่านี้เป็นเหตุที่สร้างความทุกข์ให้แก่จิตใจ

เวลากิเลสในใจกําเริบขึ้นมา ก็เหมือนกับเวลาที่เชื้อโรคในร่างกายกําเริบขึ้นมา ในร่างกายของเราทุกคนมีเชื้อโรคซ่อนแฝงอยู่ ถ้าไม่กําเริบก็จะไม่มีอาการ แต่ถ้าร่างกายอ่อนแอ ภูมิต้านทานตํ่า อาการของโรคภัยก็จะแสดงออกมา เชื้อโรคของจิตก็เช่นกัน เมื่อยังไม่มีเหตุให้กระเพื่อม ก็จะไม่แสดงอาการออกมา แต่เมื่อมีเหตุให้กระเพื่อมก็จะแสดงอาการออกมา เป็นความทุกข์ต่างๆ ทุกข์เพราะความโลภ ทุกข์เพราะความโกรธ ทุกข์เพราะความหลง ทุกข์เพราะความอยาก แต่ถ้ามีศาสนาอยู่ในจิตใจ ก็จะมีธรรมโอสถที่จะควบคุมไม่ให้เชื้อโรคของจิต เช่นกิเลส ตัณหา อวิชชา ออกฤทธิ์ออกเดช สร้างความทุกข์ให้แก่จิตใจ

การฟังเทศน์ฟังธรรมของญาติโยมในวันนี้เท่ากับเป็นการนําธรรมโอสถเข้าสู่จิตใจ ไว้ชําระความโลภ ความโกรธ ความหลงต่างๆ ถ้าไม่มีพระธรรมคําสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว จะไม่รู้จักวิธีระงับ แต่กลับจะส่งเสริมให้มีมากขึ้นไปอีก เช่นเวลามีใครมาทําให้โกรธ ก็จะต้องโต้ตอบออกไปทันที เพราะถือว่าเสียเกียรติ เสียศักดิ์ศรี ที่มาว่ามาดูถูกดูแคลน จะต้องโต้ตอบออกไป เพราะอะไร ก็เพราะความหลง ความมืดบอดนั่นเองที่ทําให้โกรธตอบ เมื่อโต้ตอบไปแล้วก็จะมีผลตามมา คือในที่สุดก็ต้องตายไปด้วยกันทั้งคู่ ต่างฝ่ายต่างโต้ตอบกัน ก็ต้องฆ่ากัน ถ้าไม่ตายไปทั้งสองฝ่าย อีกฝ่ายก็จะต้องไปติดคุกติดตะราง ถ้าโทษหนักก็ต้องถูกประหารชีวิตไป มีแต่ความเสียหายตามมา เมื่อเกิดความโกรธแล้ว ไม่ระงับความโกรธนั้น แต่กลับไปส่งเสริมความโกรธด้วยการกระทําทุจริตทางกาย ทางวาจา และทางใจ

แต่ถ้าได้ฟังพระธรรมคําสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว ก็จะรู้ว่าพระพุทธองค์ทรงสอนให้ดับความโลภ ความโกรธ ความหลง ที่อยู่ในจิตใจของเรา ไม่ใช่ไปดับคนที่สร้างความโกรธให้กับเรา เพราะความโกรธไม่ได้อยู่ที่ภายนอกแต่อยู่ภายในจิตใจ เหมือนกับเวลาไฟไหม้บ้านเรา เรากลับไปดับไฟด้วยการจุดไฟเผาบ้านของคนที่จุดไฟเผาบ้านเรา ไฟที่ไหม้บ้านเราก็จะไม่ดับ เราต้องเอานํ้าเข้ามาดับไฟที่บ้านเรา ไฟมันถึงจะดับได้เช่นเดียวกับเวลาที่มีคนมาสร้างความเจ็บชํ้านํ้าใจ สร้างความโกรธแค้นให้กับเรา ก็อย่าไปทุบตีเขา อย่าไปทําร้ายเขา อย่าไปด่าว่าเขา เพราะมันไม่ได้ดับไฟที่เกิดขึ้นภายในจิตใจเรา แต่กลับทําให้ไฟลุกมากขึ้นไปอีก เพราะเมื่อไปด่าว่าเขา ไปทุบไปตีเขา เขาก็จะตอบโต้กลับมา ยิ่งสร้างความโกรธแค้นให้มากขึ้นไปอีก ไฟยิ่งลุกโหมมากขึ้นไปอีก นี่คือความจริงที่ปุถุชนคนธรรมดาสามัญอย่างเราอย่างท่านยังไม่รู้ไม่เห็นกัน ถ้าไม่ได้ยินไม่ได้ฟังพระธรรมคําสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว ทุกๆ คนจะต้องมีปฏิกิริยาอย่างเดียวกัน คือ ต้องโต้ตอบ ต้องล้างแค้น ต้องอาฆาตพยาบาทจองเวรจองกรรมกัน เพราะคิดว่าเป็นวิธีที่ถูกต้อง แต่หารู้ไม่ว่ากลับเป็นวิธีที่จะทําลายทั้งตัวเราและคนอื่น ทําให้สังคมไม่สงบร่มเย็น มีแต่ความ เดือดร้อนวุ่นวาย

แต่ถ้ามีศาสนามีธรรมโอสถ เวลาเกิดความโกรธก็ดีเกิดความโลภก็ดีเกิดความหลงก็ดี เราก็เอาศาสนา เอาธรรมโอสถเข้ามาใช้ดับที่ตัวเรา ดับที่ใจเรา ไม่ได้เอาไปดับผู้อื่น ถ้าดับความโกรธ ความโลภ ความหลงได้แล้ว เราก็จะอยู่สบาย ไม่มีเวรกับใคร ดังที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ว่า การชนะผู้อืนจํานวนเป็นหมื่นเป็นแสนเป็นล้านก็ดีสู้ชนะตัวเราเพียงคนเดียวไม่ได้ สู้ชนะความโกรธที่มีอยู่ในจิตใจเราไม่ได้ ถ้าชนะความโกรธได้แล้ว ใจจะสงบ ใจจะเย็น จึงควรระงับดับความโกรธเสีย คนอื่นจะทําอะไรก็เป็นเรื่องของเขา กรรมคือการกระทํา พระพุทธองค์ทรงแสดงว่าสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของๆ ตน จะทํากรรมอันใดไว้ ดีหรือชั่ว จะต้องเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น เวลาจะมีเรื่องมีราว ถ้าหลบได้ก็หลบ ถ้าหลีกได้ก็หลีก ถ้าหลบหลีกไม่ได้ก็พูดกันดีๆ ด้วยเหตุด้วยผล ไม่เช่นนั้นก็นิ่งเสีย เรื่องก็จบ จึงขอให้ญาติโยมทั้งหลายจงเห็นพระศาสนาเป็นทรัพย์สมบัติอันลํ้าค่า มีคุณประโยชน์ กว่าสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่ในโลกนี้ เวลาเกิดความทุกข์ใจขึ้นมา เกิดความเสียใจขึ้นมา ข้าวของเงินทองที่มีอยู่มากมายจะไม่สามารถดับความทุกข์ใจได้ สิ่งที่จะดับความทุกข์ใจได้ต้องเป็นพระศาสนา ต้องเป็นธรรมโอสถที่อยู่ในจิตใจเท่านั้น สิ่งอื่นดับไม่ได้ คนที่มีศาสนาเป็นคนรวยความสุข ความสุขใจไม่ได้เกิดจากการมีเงิน มีทอง มีลาภ มียศ มีสรรเสริญ แต่เกิดจากการมีพระศาสนา มีธรรมโอสถอยู่ในจิตใจ ดังพระพุทธเจ้าถึงแม้จะทรงเป็นกษัตริย์ เป็นราชโอรสของพระเจ้าแผ่นดิน พระพุทธองค์กลับทรงเห็นว่าราชสมบัติเหล่านั้นไม่ใช่ความสุขที่แท้จริง จึงได้สลัดทิ้งไป ทรงแสวงหาธรรมจนกระทั่งได้ธรรมเต็มเปี่ยมอยู่ในพระหฤทัย เป็นบรมสุข ปรมังสุขัง สุขที่แท้จริง ไม่หิว ไม่อยากกับอะไรทั้งสิ้น มีเพียงปัจจัย ๔ ก็อยู่ได้แล้ว คืออาหาร ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค จีวรเครื่องนุ่งห่ม ก็พอแล้ว ความหิวความกระหาย ความอยาก เกิดจากกิเลสตัณหา ถ้าไม่ระงับดับกิเลสตัณหา ก็ต้องออกไปหาข้าวของเงินทองมากองไว้เต็มบ้าน แต่จะหาความสุขที่แท้จริงไม่ได้เลย ผู้มีศาสนาอยู่ในใจจึงไม่สะสมสิ่งเหล่านี้ แต่จะสะสมแต่ธรรมโอสถ สะสมแต่บุญแต่กุศล สะสมแต่ธรรมะ เพราะจะทําให้มีแต่ความสุขเต็มหัวใจ ความทุกข์แม้แต่นิดเดียวก็จะไม่มี นี่คือเรื่องของพระศาสนาที่สอนให้รู้จักความสุขที่แท้จริง การแสดงเห็นว่าสมควรแก่เวลา ขอยุติไว้เพียงเท่านี้
 

บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 985


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 90.0.4430.212 Chrome 90.0.4430.212


ดูรายละเอียด
« ตอบ #21 เมื่อ: 21 พฤษภาคม 2564 15:43:36 »




กัณฑ์ที่ ๕๑
มรดกอันล้ำค่า
๑๑ มีนาคม ๒๕๔๔

พระพุทธศาสนาเป็นมรดกอันลํ้าค่า ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงมอบไว้ให้กับพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ไว้เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ เป็นที่พึ่งทางจิตใจ เป็นแสงสว่างเพื่อนําพาชีวิตให้ไปสู่ที่ดีที่งาม ที่สุขที่เจริญ ที่สงบร่มเย็น จึงเป็นหน้าที่ของพุทธศาสนิกชนทุกๆ คน ที่จะต้องทํานุบํารุงดูแลรักษาพระพุทธศาสนา ด้วยการสืบทอดและถ่ายทอดพระพุทธศาสนาอย่างต่อเนื่อง เป็นประเพณีที่ได้ปฏิบัติกันมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาลจนกระทั่งถึงปัจจุบัน พระพุทธศาสนาจึงมีความเจริญรุ่งเรือง เป็นที่พึ่งของพุทธศาสนิกชนทั้งหลายมาโดย
ตลอด

การดูแลรักษาพระพุทธศาสนา พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนไม่ให้พุทธ ศาสนิกชนรักษาด้วยการรบราฆ่าฟันกัน ถึงแม้ศาสนวัตถุต่างๆ เช่น พระพุทธรูป โบสถ์ เจดีย์ วิหาร กุฏิ จะถูกทําลายไป เพราะศาสนวัตถุมิใช่องค์ศาสนาที่แท้จริง เป็นเพียงองค์ประกอบของศาสนาเท่านั้น ถึงแม้จะไม่มีศาสนวัตถุอยู่เลย ศาสนาก็ยังไม่สูญหาย เพราะศาสนาที่แท้จริงนั้นอยู่ในจิตใจของพุทธศาสนิกชนต่างหาก ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่มีใครจะสามารถทําลายได้ ศาสนวัตถุทั้งหลายเป็นสิ่งที่อยู่ภายใต้กฎของอนิจจัง คือความเป็นของไม่เที่ยง มีการเกิดขึ้นมาตั้งอยู่แล้วก็ต้องดับไปเป็นธรรมดา

ในสมัยที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ใหม่ๆก็ไม่มีศาสนวัตถุใดๆ ไม่มีโบสถ์ ไม่มีเจดีย์ ไม่มีกุฏิ ไม่มีวิหาร ไม่มีพระพุทธรูป เมื่อศาสนวัตถุถูกทําลายไปหรือเสื่อมไปตามกาลตามเวลา จึงไม่ต้องเศร้าโศกเสียใจ โกรธแค้น โกรธเคืองกับผู้ที่มาทําลาย เพราะเมื่อเกิดขึ้นมาได้ก็ต้องดับไปได้เป็นธรรมดา ถ้าไปรบราฆ่าฟันเพื่อปกป้องรักษากัน ก็เท่ากับไม่มีศาสนาอยู่ในใจ เพราะศาสนาสอนให้มีความเมตตากรุณา ไม่ให้เบียดเบียนกัน ให้อยู่ด้วยสันติธรรม มองกันด้วยไมตรีจิต ด้วยการให้อภัย ถือว่าอยู่ด้วยกันก็ต้องมีการผิดพลาด มีการกระทบกระทั่งกันบ้างเป็นธรรมดา ไม่จําเป็นต้องโกรธแค้นโกรธเคืองอาฆาตพยาบาทกัน ถ้ามีเมตตา มีการให้อภัยต่อกันและกัน ก็จะอยู่กันได้ด้วยความร่มเย็นเป็นสุข

การทํานุบํารุงพระพุทธศาสนาจึงต้องทําที่จิตใจ คือต้องสร้างศาสนาให้เกิดขึ้นในจิตใจด้วย ๑.ปริยัติธรรม ๒.ปฏิบัติธรรม ๓.ปฏิเวธธรรม ๔.เผยแผ่ธรรม ปริยัติธรรมคือการศึกษาพระธรรมคําสอน ปฏิบัติธรรมคือการนําเอาพระธรรมคําสอนที่ได้ศึกษาไปปฏิบัติ ปฏิเวธธรรมคือการบรรลุธรรมขั้นต่างๆ ตั้งแต่ขั้นโสดาปัตติผลจนถึงขั้นอรหัตตผล เผยแผ่ธรรมคือการสั่งสอนอบรมผู้อื่นให้รู้ให้เข้าใจในพระธรรมคําสอนของพระพุทธเจ้าและประพฤติปฏิบัติตามต่อไป นี่คือแนวทางที่พระพุทธเจ้าทรงสอนให้พุทธศาสนิกชนดําเนินตาม ในการทํานุบํารุงพระพุทธศาสนาให้อยู่คู่กับโลกนี้ไปนานแสนนาน

ในเบื้องต้นพุทธศาสนิกชนจึงต้องศึกษาพระธรรมคําสอนก่อน ด้วยการฟังเทศน์ฟังธรรม สมัยนี้ฟังที่ไหนก็ได้ ที่วัดก็ได้ ที่บ้านก็ได้ เพราะปัจจุบันมีสื่อใช้เผยแพร่อยู่หลายชนิดด้วยกัน เช่น วิทยุ โทรทัศน์ เครื่องเล่นเทป เครื่องเล่นวีดีโอ เครื่องเล่นซีดี เครื่องเล่นดีวีดี เครื่องคอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต มีการแสดงพระธรรมเทศนาผ่านสื่อเหล่านี้ ผู้สนใจก็สามารถฟังเทศน์ฟังธรรมได้ทุกหนทุกแห่ง ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน อยู่ที่บ้านก็ฟังเทศน์ฟังธรรมได้อยู่ในรถยนต์ก็ฟังเทศน์ฟังธรรมได้ เดินไปที่ไหนก็สามารถฟังเทศน์ฟังธรรมได้ เพราะสามารถเอาเครื่องไม้เครื่องมือเหล่านี้ติดตัวไปได้ทุกที่ทุกเวลา การอ่านหนังสือธรรมะก็เป็นอีกวิธีหนึ่งในการศึกษาพระธรรมคําสอน อ่านที่บ้านก็ได้ที่ห้องสมุดก็ได้ที่วัดก็ได้

การศึกษาพระธรรมคําสอนเป็นเหมือนกับการศึกษาแผนที่ การที่จะเดินทางจากจุดหนึ่งไปสู่อีกจุดหนึ่ง ถ้าไม่เคยไปมาก่อน ก็ต้องดูแผนที่ก่อน หรืออาศัยคนที่รู้จักทางบอกทางให้ก่อน ถ้าไม่เช่นนั้นก็จะหลงทางได้ การปฏิบัติทางพระพุทธศาสนาก็เช่นกัน ต้องรู้ว่าพระพุทธเจ้าทรงสอนให้พุทธศาสนิกชนทําอะไร โดยย่อพระพุทธเจ้าทรงสอน ๑.ไม่ให้ทําความชั่วทังหลาย ้ ๒.ให้ทําความดีทังหลายให้ถึงพร้อม ้ ๓.ให้ชําระจิตใจให้ผ่องแผ้ว ปราศจากความโลภ ความโกรธ ความหลง

เมื่อรู้แล้วว่าพระพุทธองค์ทรงสอนให้ทําอะไร ขั้นต่อไปคือการนําแนวทางนั้นมาประพฤติปฏิบัติด้วย ๑.การทําบุญให้ทาน ๒.การรักษาศีล ๓.การบําเพ็ญจิตตภาวนา คือการชําระจิตใจด้วยสมาธิและปัญญา เมื่อได้ประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมคําสอนแล้ว ผลที่พึงจะได้รับก็คือ มรรค ผล นิพพาน ถ้ายังไม่ได้มรรคผลนิพพานเมื่อตายไปแล้วก็ได้ไปสู่สุคติสู่ภพภูมิของมนุษย์ เทวดา พรหม และพระอริยเจ้าทั้งหลาย ในปัจจุบันก็อยู่ด้วยความร่มเย็นเป็นสุข ผลของการปฏิบัติธรรมนี้เรียกว่าปฏิเวธ คือการบรรลุธรรมขั้นต่างๆ การบรรลุธรรมก็เหมือนกับการรับประทานอาหาร ผลของการรับประทานอาหารก็คือความอิ่มนั่นเอง เป็นสันทิฏฐิโก ผู้บรรลุธรรมย่อมเห็นเองรู้เอง ประจักษ์แจ้งกับตน

หลังจากได้บรรลุธรรมแล้ว ขั้นต่อไปคือการเผยแผ่ธรรม สั่งสอนผู้อื่นต่อไป ดังที่พระพุทธองค์ได้ทรงประทานพระโอวาทให้กับพระอรหันตสาวก ๖๐ รูปแรกที่จะไปเผยแผ่พระธรรมคําสอนว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราพ้นจากบ่วงทั้งปวง ทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์ แม้พวกเธอก็พ้นแล้วจากบ่วงทั้งปวง ทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์ พวกเธอจงเที่ยวจาริก เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขง แก่ทวยเทพและมนุษย์ พวกเธออย่าได้ไปรวมทางเดียวกัน ๒ รูป จงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ ครบบริบูรณ์ บริสุทธิ์ สัตว์ทั้งหลายจําพวกที่มีธุลีคือกิเลสในจักษุน้อย มีอยู่ เพราะไม่ได้ฟังธรรมย่อมเสื่อม ผู้รู้ทั่วถึงธรรม จักมี

นี่คือการถ่ายทอดสืบทอดพระพุทธศาสนา เป็นการรักษาพระพุทธศาสนาให้อยู่คู่กับโลกไปอีกยาวนาน ตราบใดยังมีการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมอยู่ ตราบนั้นพระพุทธศาสนาจะไม่สูญหายไปจากโลก ถึงแม้จะมีใครมาทําลายศาสนวัตถุต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพระพุทธรูปก็ดี เป็นพระเจดีย์ก็ดี เป็นโบสถ์ก็ดี เป็นพระวิหาร หรือเป็นกุฏิก็ดีก็ไม่สามารถทําลายพระพุทธศาสนาได้ เพราะศาสนวัตถุไม่ใช่องค์พระศาสนา ศาสนธรรมที่อยู่ในใจต่างหากที่เป็นองค์ศาสนาที่แท้จริง เป็นสิ่งที่ถูกทําลายไม่ได้ จึงเป็นหน้าที่ของพุทธศาสนิกชนที่จะต้องสร้างศาสนธรรมให้เกิดขึ้นในจิตใจด้วย ปริยัติธรรม ปฏิบัติธรรม ปฏิเวธธรรม และการเผยแผ่ธรรม

พุทธศาสนิกชนประกอบด้วยสองส่วน คือ บรรพชิต และ คฤหัสถ์ งานของพุทธศาสนิกชนจึงแบ่งออกเป็นสองส่วนด้วยกัน คืองานของบรรพชิต และงานของคฤหัสถ์ บรรพชิตคือนักบวช คฤหัสถ์คือผู้ครองเรือน บรรพชิตเปรียบเหมือนกับเป็นนักรบผู้อยู่ในแนวหน้า คฤหัสถ์เปรียบเหมือนกับผู้อยู่ในแนวหลัง ที่คอยให้การสนับสนุนในเรื่องยุทโธปกรณ์ เรื่องเสบียงต่างๆ บรรพชิตไม่มีอาชีพ ไม่สามารถทํามาหากินได้ ต้องอาศัยคฤหัสถ์เป็นผู้สนับสนุนด้วยปัจจัย ๔ คือ อาหารบิณฑบาต จีวร เครื่องนุ่งห่ม เภสัชยารักษาโรค กุฏิที่อยู่อาศัย บรรพชิตมีหน้าที่ศึกษาปฏิบัติธรรมจนบรรลุธรรมแล้วจึงนําธรรมมาสั่งสอนอบรมศรัทธาญาติโยม เพราะศรัทธาญาติโยมไม่มีเวลามากพอที่จะศึกษาปฏิบัติธรรม ไม่ค่อยรู้เรื่องพระธรรมคําสอน จึงต้องอาศัยบรรพชิตคือพระภิกษุสามเณรเป็นผู้คอยให้การอบรมสั่งสอน แต่ศรัทธาญาติโยมมีกําลังทรัพย์มีเงินทอง จึงบํารุงพุทธศาสนาด้วยการสนับสนุนพระภิกษุสามเณรด้วยปัจจัย ๔ ที่มีความจําเป็นแก่การดํารงชีพ เช่น การตักบาตรถวายภัตตาหาร ถวายจีวรเครื่องนุ่งห่ม ถวายเภสัชยารักษาโรค และสร้างกุฏิถวายไว้เป็นที่อยู่อาศัย เป็นสิ่งที่สมควรแก่สมณะบริโภค

แต่มีสิ่งหนึ่งที่พระพุทธองค์ไม่ทรงปรารถนา ที่จะให้ญาติโยมถวายให้กับพระภิกษุ สามเณร เพราะพระพุทธองค์ทรงเห็นว่าไม่เป็นประโยชน์กับพระเณร แต่กลับจะเป็นโทษ สิ่งนี้ก็คือปัจจัยเงินทอง เงินทองนั้นเป็นสิ่งที่เหมาะสมกับฆราวาสมากกว่า เพราะฆราวาสญาติโยมจําเป็นต้องมีเงินทองไว้จับจ่ายซื้อข้าวของต่างๆ แต่บรรพชิตนักบวช ภิกษุ สามเณร ไม่มีความจําเป็นที่จะต้องมีเงินทองไว้ซื้อข้าวของอะไร เพราะว่าข้าวของต่างๆ ที่มีความจําเป็นต่อการบําเพ็ญสมณธรรมนั้น ก็มีญาติโยมคอยดูแลคอยประเคนถวายให้อยู่อย่างสมํ่าเสมอแล้ว

ยกเว้นการถวายไว้สําหรับใช้ส่วนกลางสงฆ์ เพราะว่าทางวัดก็ต้องมีค่าใช้จ่ายที่เป็นส่วนกลาง เช่นค่านํ้าค่าไฟ ค่าดูแลรักษาศาสนวัตถุต่างๆ ต้องมีการซ่อมแซม มีการทําความสะอาด ซึ่งต้องอาศัยปัจจัยเงินทองเป็นเครื่องมือ ถ้าถวายเฉพาะเจาะจงองค์หนึ่งองค์ใดก็ควรดูเหตุดูผลก่อนว่าควรไม่ควรอย่างใด บางครั้งท่านอาจจะมีความจําเป็น เช่น ต้องเดินทางไปไหนมาไหน ต้องซื้อตั๋วรถถวายท่าน ส่งท่านขึ้นรถไป อย่างนี้เป็นต้น แต่ไม่ควรถวายเงินถวายทองโดยไม่มีเหตุไม่มีผล เพราะจะกลายเป็นพิษเป็นภัยกับท่านเสียมากกว่า แทนที่จะเป็นคุณเป็นประโยชน์ พระพุทธองค์จึงทรงห้ามไม่ให้พระภิกษุสามเณรรับเงินรับทองจากศรัทธาญาติโยม การที่ศรัทธาญาติโยมจะทํานุบํารุงพุทธศาสนา ก็ต้องรู้จักวิธีการทํานุบํารุงศาสนาที่ถูกต้อง ไม่เช่นนั้นแล้วจะกลายเป็นการทําลายพระพุทธศาสนาไปโดยไม่รู้ตัว การแสดงเห็นว่าสมควรแก่เวลา ขอยุติไว้เพียงเท่านี้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21 พฤษภาคม 2564 15:45:50 โดย Maintenence » บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 985


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 96.0.4664.45 Chrome 96.0.4664.45


ดูรายละเอียด
« ตอบ #22 เมื่อ: 02 ธันวาคม 2564 12:02:24 »




กัณฑ์ที่ ๕๒
เกิดมาทำไม
๑๗ มีนาคม ๒๕๔๔

คนเราเกิดมาทําไม เกิดมาทําอะไร มีจุดหมายปลายทางหรือเปล่า หรือปล่อยให้ชีวิตเป็นไปตามเหตุการณ์ต่างๆ ที่จะฉุดกระชากลากพาไป ถ้าปล่อยให้ชีวิตเป็นไปในลักษณะนั้น ก็เหมือนกับเรือที่ไม่มีหางเสือ ไม่สามารถควบคุมเรือให้ไปในทิศทางที่ต้องการได้ต้องปล่อยให้เรือไหลไปตามกระแสนํ้า กระแสลม แล้วแต่จะพาไป แต่ถ้าได้ศึกษาพระธรรมคําสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว จะทราบคําตอบว่าเกิดมาทําไม เกิดมาทําอะไรพระพุทธศาสนาสอนว่า มนุษย์เรามีภารกิจอยู่ ๒ ส่วน ด้วยกัน คือภารกิจทางด้านร่างกาย และภารกิจทางด้านจิตใจ ต้องดูแลรักษาร่างกายและจิตใจให้มีแต่ความสุข ไม่มีความทุกข์ เพราะเป็นความปรารถนาของมนุษย์เราทุกๆคน ทุกๆคนปรารถนาที่จะมีความสุขด้วยกัน และไม่มีใครปรารถนาที่จะมีความทุกข์ภารกิจที่แท้จริงของมนุษย์ก็คือการดูแลร่างกายและจิตใจไม่ให้มีความทุกข์ ให้มีแต่ความสุข

ภารกิจทางด้านร่างกายเกี่ยวข้องกับการหาปัจจัย ๔ ที่เป็นสิ่งจําเป็นแก่การดํารงชีพ คือร่างกายต้องมี อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค ถ้ามีปัจจัย ๔ นี้พร้อมบริบูรณ์ร่างกายก็จะไม่หิวโหย ไม่เจ็บไข้ได้ป่วย สามารถอยู่ได้ด้วยความร่มเย็นเป็นสุขการที่จะหามาซึ่งปัจจัย ๔ นี้ ต้องเป็นไปในทางที่ไม่เกิดโทษกับตนและผู้อื่น คือต้องมีสัมมาชีพ เลี้ยงชีพด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ไม่ผิดศีลผิดธรรม ไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดประเวณีไม่พูดปดมดเท็จ ไม่เสพสุรายาเมา

ภารกิจทางด้านจิตใจก็เช่นกัน คือดูแลรักษาจิตใจไม่ให้ทุกข์ ให้มีแต่ความสุข ด้วยการปฏิบัติกิจในพระอริยสัจ ๔ ถ้าปฏิบัติได้ก็จะอยู่เหนือความทุกข์พระอริยสัจ ๔ คืออะไรคือ ๑.ทุกข์ ๒.สมุทัย ๓.นิโรธ ๔.มรรค พระอริยสัจ ๔ เป็นสัจธรรมอันประเสริฐ ที่จะทําให้ผู้ปฏิบัติพ้นทุกข์ดังที่พระพุทธองค์ได้ทรงปฏิบัติมา พระอริยสัจ ๔ เป็นคําสอนของพระพุทธเจ้าโดยตรง ไม่มีศาสนาใดในโลกที่สอนพระอริยสัจ ๔ เพราะผู้ที่จะรู้ได้ต้องเป็นพระพุทธเจ้าเท่านั้น

พระอริยสัจ ๔ เป็นสัจจะความจริงของโลก เป็นความจริงที่สัตว์โลกทั่วไปไม่สามารถบรรลุถึงได้ตามลําพัง เพราะจิตใจของปุถุชนคนธรรมดายังเป็นจิตใจที่มืดบอดอยู่ มีอวิชชาความไม่รู้ โมหะความหลงครอบงําจิตใจอยู่ ทําให้ไม่สามารถเห็นสัจธรรมความจริงของทุกข์ได้ต้องอาศัยคนอย่างพระพุทธเจ้าที่มีสติปัญญาบารมีที่สูงส่ง มาศึกษา มาประพฤติปฏิบัติจนบรรลุพระอริยสัจ ๔ เมื่อพระพุทธองค์ได้ทรงบรรลุแล้ว พระองค์จึงทรงประกาศสั่งสอนพระอริยสัจ ๔ ให้แก่สัตว์โลก

ผู้ที่มีศรัทธาสามารถศึกษาประพฤติปฏิบัติจนบรรลุถึงพระอริยสัจ ๔ ได้แล้ว ก็จะพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง ยุติการเวียนว่ายตายเกิด ตราบใดถ้ายังมีการเกิดอยู่ ตราบนั้นก็ยังต้องมีความทุกข์อยู่ เพราะว่าเมื่อเกิดแล้วก็ต้องมีการแก่ มีการเจ็บ มีการตาย มีการพลัดพรากจากของรักของชอบ เป็นสัจธรรมความจริงของโลก ถ้าตราบใดยังเกิดอยู่ตราบนั้นยังต้องทุกข์อยู่ ถ้าไม่ต้องการที่จะประสบกับความทุกข์ก็จะต้องไม่เกิด ดังในธรรมบทที่แสดงไว้ว่า ทุกข์ย่อมไม่มีกับผู้ไม่เกิด ตราบใดยังมีการเกิดอยู่ ตราบนั้นยังจะต้องมีการแก่ การเจ็บ การตาย การเวียนว่ายตายเกิดไม่มีที่สิ้นสุด ผู้ที่ปรารถนาความสิ้นทุกข์อย่างสิ้นเชิง จะต้องศึกษาพระอริยสัจ ๔ และปฏิบัติภารกิจของพระอริยสัจ ๔ ให้ครบบริบูรณ์ คือ ๑.ทุกข์ต้องกําหนดรู้ คือต้องรู้ว่าทุกข์คืออะไร อะไรคือทุกข์ พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ว่า ทุกข์คือ ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย การประสบกับสิ่งที่ไม่ปรารถนาการพลัดพรากจากของรักของเจริญใจทั้งหลายทั้งปวง อุปาทานความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕ ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

๒.สมุทัยเหตุให้เกิดทุกข์ ต้องละ คือต้องละตัณหาทั้ง ๓ ได้แก่ กามตัณหา ความอยากในกาม ภวตัณหา ความอยากมีอยากเป็น วิภวตัณหา ความอยากไม่มีอยากไม่เป็น

๓.นิโรธต้องทําให้แจ้ง นิโรธคือการดับทุกข์ เกิดขึ้นจากการละตัณหาทั้ง ๓ เมื่อละกามตัณหา ภวตัณหา ภวตัณหา ได้แล้ว นิโรธก็จะปรากฏขึ้นมาในใจ เท่ากับได้ทํานิโรธให้แจ้ง

๔.มรรคต้องเจริญให้มาก เพราะมรรคเป็นเครื่องมือที่ไว้ใช้กําหนดดูทุกข์ ด้วยสติปัญญา ด้วยสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ และเป็นเครื่องมือไว้ใช้ละตัณหา เพื่อทํานิโรธให้แจ้ง ถ้าได้เจริญมรรคแล้ว เท่ากับได้กําหนดรู้ทุกข์ ได้ละสมุทัย ได้ทํานิโรธให้แจ้ง คือได้ปฏิบัติภารกิจทั้ง ๔ ของพระอริยสัจ ๔ อย่างสมบูรณ์มรรคคือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ได้แก่ ทาน ศีล ภาวนา ผู้จะกําหนดรู้ทุกข์ จะละสมุทัย จะทํานิโรธให้แจ้ง จะเจริญมรรคให้มาก จึงต้องเจริญ ทาน ศีล ภาวนา

ทานคือการให้ การให้ข้าวของต่างๆ อย่างที่ญาติโยมได้มากระทํากันในวันนี้ ได้นําจตุปัจจัยไทยทานอาหารคาวหวานมาถวายพระ เรียกว่าเป็นการให้ทาน แต่การให้ทานนี้ไม่ได้เจาะจงเฉพาะว่าจะต้องให้กับพระเท่านั้นถึงจะเป็นบุญ การให้ทานนั้นจะให้กับใครก็ได้ เป็นบุญเป็นกุศลทั้งนั้น ให้กับสามีให้กับภรรยา ให้กับบิดามารดา ให้กับลูก ให้กับเพื่อนมนุษย์ เพื่อนสัตว์เดรัจฉานทั้งหลาย ถือว่าเป็นการทําบุญด้วยกันทั้งนั้น สุดแท้แต่กรณี แต่ถ้าได้เข้าวัดทําบุญกับพระภิกษุสงฆ์ ก็จะได้อานิสงส์เพิ่มขึ้นอีกประการหนึ่ง คือจะได้ยินได้ฟังธรรมะ จะได้ฟังเทศน์ฟังธรรม ดังที่ศรัทธาญาติโยมกําลังฟังเทศน์ฟังธรรมนี้อยู่ เป็นบุญสูงกว่าการให้ทานเสียอีก เพราะการฟังเทศน์ฟังธรรมเป็นการสร้างแสงสว่างกับชีวิต

ถ้าไม่ได้ฟังธรรมจะมีแต่ความมืดบอดในจิตใจ เหมือนคนตาบอดย่อมไม่สามารถดําเนินชีวิตไปได้อย่างราบรื่นดีงาม ถ้ามีแสงสว่างแห่งธรรมไว้นําทาง จะรู้ว่าอะไรคือความทุกข์ รู้ว่าอะไรคือความสุข จะสามารถดําเนินชีวิตให้ห่างไกลจากความทุกข์ได้ ให้มีแต่ความสุข การมาทําบุญที่วัดจึงได้บุญมากกว่า เพราะวัดเป็นเนื้อนาบุญที่ดีกว่าเนื้อนาบุญทั้งหลาย อนุตตรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ เป็นแหล่งเพาะปลูกและเผยแพร่ความดีที่ยอดเยี่ยม ได้บุญสองต่อ คือได้ความสุขใจจากการให้ทาน แล้วยังได้แสงสว่างแห่งธรรม คือปัญญา นําพาชีวิตให้ไปสู่ที่ดี ที่งาม ที่สุข ที่เจริญ

ศีลคือการละเว้นจากการเบียดเบียนผู้อื่น ดังที่ได้แสดงไว้ในเบื้องต้นว่า เวลาทํามาหากินเลี้ยงปากเลี้ยงท้องเพื่อดูแลร่างกาย ต้องดํารงอยู่ในกรอบของศีลธรรม คือไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดประเวณีไม่พูดปดมดเท็จ ไม่เสพสุรายาเมา

ภาวนาคือการฝึกอบรมจิตใจให้สุขสงบเกิดปัญญา ให้รู้เท่าทันในสภาวธรรมทั้งหลาย แบ่งเป็น ๒ ส่วน ได้แก่ ๑.สมถภาวนา ๒.วิปัสสนาภาวนา คือการทําให้มีสมาธิและมีปัญญา ถ้าจิตมีสมาธิคือความสงบแล้ว การเจริญปัญญาจะเป็นไปได้อย่างง่ายดาย เพราะจิตที่สงบเป็นจิตที่มีเหตุมีผล ปัญญาคือเรื่องของเหตุของผล เรื่องจริง ต้องอาศัยปัญญาซึ่งเป็นองค์ของมรรคเพื่อกําหนดรู้ทุกข์รู้ว่าเมื่อเกิดมาแล้วต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้อง
ตายเป็นธรรมดา ต้องพลัดพรากจากของรักของชอบเป็นธรรมดา ต้องพบกับสิ่งที่ไม่ปรารถนาเป็นธรรมดา เป็นสิ่งที่ทุกสัตว์ทุกบุคคลเมื่อเกิดขึ้นมาในโลกนี้แล้ว ไม่ว่าจะเป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระอรหันต์ หรือเป็นปุถุชนคนธรรมดาสามัญอย่างเราอย่างท่าน ก็จะต้องประสบกับสิ่งเหล่านี้ด้วยกันทั้งนั้น

การประสบกับสิ่งเหล่านี้เป็นไปได้ ๒ ลักษณะด้วยกัน คือประสบแบบมีความทุกข์ กับประสบแบบไม่มีความทุกข์ถ้ามีปัญญา ยอมรับความจริงของสิ่งเหล่านี้เช่นเกิดมาแล้วก็ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย ไม่ฝืน ไม่ขัดขวาง ยอมรับความเป็นจริง ปลงได้ ก็จะไม่ทุกข์เพราะละความอยากไม่แก่ อยากไม่เจ็บ อยากไม่ตายได้ เช่นพระพุทธเจ้ากับพระอรหันต์ ท่านไม่หวั่นไหวกับการแก่ การเจ็บ การตาย การพลัดพรากจากของรักของชอบ การที่จะต้องประสบกับสิ่งที่ไม่ชอบ เพราะจิตใจของท่านเป็นอุเบกขา ท่านปลงได้ ท่านวางได้ ท่านปล่อยวางได้แก่ก็ยอมรับความแก่ เจ็บก็ยอมรับความเจ็บ ตายก็ยอมรับความตาย เพราะเป็นสิ่งที่หนีไม่พ้น นี่คือการมองโลกด้วยปัญญา มองสภาพความเป็นจริงด้วยปัญญา มองแล้วปล่อยวาง ไม่ฝืน ไม่ต่อสู้ ไม่มีความอยากที่จะอยู่ไปนานๆ อยากจะไม่แก่ อยากจะไม่เจ็บ อยากจะไม่พลัดพรากจากของรักของชอบ เมื่อยอมรับความจริงแล้ว จิตใจก็จะไม่ทุกข์ มีความพอใจกับสิ่งที่มีอยู่ ยินดีกับสิ่งที่ได้รับ นี่คือปัญญา มีปัญญาก็ปล่อยวางตัณหาทั้ง ๓ ได้

จิตที่มีสมาธิมีปัญญาเป็นจิตที่มีความสงบ มีความสุข มีความอิ่ม ความพอ จิตไม่หิวโหยเพราะไม่มีตัณหา เหตุที่พวกเรายังมีความหิวอยู่กับ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะอยู่ ยังอยากออกไปเที่ยวดูหนังดูละคร ดูโทรทัศน์ ฟังเพลง ไปงานสังคมอยู่ ก็เพราะว่ายังมีความหิวอยู่ จิตยังไม่อิ่ม จิตยังไม่พอ เหตุที่จิตยังไม่อิ่มไม่พอ เพราะว่ายังไม่ได้เจริญมรรคให้สมบูรณ์นั่นเอง มรรคก็คือ ทาน ศีล ภาวนา คือการนั่งไหว้พระสวดมนต์ ทําจิตให้สงบ แล้วเจริญปัญญาให้เห็นสภาพความเป็นจริงของโลกว่า เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มีการเกิด การแก่ การเจ็บ การตาย เป็นธรรมดาหลีกเลี่ยงไม่ได้พระพุทธองค์ทรงสอนให้เจริญมรรคให้มาก คือต้องทําบุญทําทานให้มาก รักษาศีลให้มาก ไหว้พระสวดมนต์ให้มาก นั่งทําสมาธิให้มาก และเจริญวิปัสสนาปัญญาให้มาก ให้มองทุกสิ่งทุกอย่างไม่ว่าข้างในหรือข้างนอกว่าเป็นของไม่เที่ยงทั้งนั้น

ข้างนอกก็คือสิ่งต่างๆที่มาสัมผัสทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ข้างในก็คืออารมณ์ต่างๆ ที่มีอยู่ในใจ เช่นความโกรธ ความโลภ ความหลง ความดีใจ ความเสียใจ ให้ใช้ปัญญาดูอารมณ์เหล่านี้ แล้วก็ปล่อยวางตามความเป็นจริง อย่าไปเดือดร้อนกับอารมณ์ทั้งหลายเวลาเกิดความทุกข์ใจก็ไม่ต้องเดือดร้อน ทําใจให้เป็นอุเบกขาด้วยปัญญา ว่าความทุกข์นี้เดี๋ยวก็ดับ เดี๋ยวก็ผ่านไป เช่นเดียวกับความสุข เกิดขึ้นมาเดี๋ยวก็ดับไป ทุกสิ่งทุกอย่างไม่จีรังถาวร ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง ผู้มีสติมีปัญญาย่อมรู้จัก การวางเฉย การปล่อยวาง รู้จักคําว่าช่างมัน ไม่เดือดร้อน ถ้าทําอะไรไม่ได้ก็ไม่เดือดร้อน ช่างมันเสียบ้าง เรื่องไหนพอจะทําได้ แก้ไขได้ ก็ทําไป แก้ไขไป แต่อย่าไปคิดว่าจะแก้ไขทุกสิ่งทุกอย่างได้แม้แต่พระพุทธเจ้า พระอรหันต์ ท่านยังไม่แก้ไขทุกสิ่งทุกอย่างเลย แม้แต่ชีวิตของท่าน ท่านยังไม่แก้ไขเลย ท่านปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติไม่สบายมียากินก็กินไป หายก็หาย ไม่หายก็ยอมรับตามความเป็นจริง

ถ้ายอมรับความเป็นจริงแล้วจะไม่ทุกข์ จะอยู่เหนือความทุกข์ได้ นี่คือภารกิจในพระอริยสัจ ๔ ที่พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลายได้กระทําเสร็จเรียบร้อยแล้ว ดังที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ว่า ทุกข์ที่จะต้องกําหนดรู้ เราได้กําหนดรู้แล้ว สมุทัยที่จะต้องละ เราได้ละแล้ว นิโรธที่จะต้องทําให้แจ้ง เราได้ทําให้แจ้งแล้ว มรรคที่จะต้องเจริญให้มาก เราได้เจริญอย่างสมบูรณ์แล้ว นี่คือภารกิจทางด้านจิตใจของมนุษย์ ถ้าสามารถปฏิบัติภารกิจทั้ง ๔ นี้ได้สําเร็จ ก็จะกลายจากปุถุชนเป็นพระอรหันต์ขึ้นมา เป็นผู้ที่อยู่เหนือความทุกข์ อยู่เหนือการ เกิด แก่ เจ็บ ตาย คําตอบของคําถามที่ถามว่าเกิดมาทําไม ก็คือเกิดมาเพื่อทําภารกิจทางด้านร่างกายและจิตใจให้สมบูรณ์การแสดงเห็นว่าสมควรแก่เวลา ขอยุติไว้เพียงเท่านี
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
คำค้น:
หน้า:  1 [2]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
การให้ธรรมะเป็นการให้ที่ดีที่สุด พอจ.สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามฯ จ.ชลบุรี
สมถภาวนา - อภิญญาจิต
Maintenence 0 862 กระทู้ล่าสุด 16 ธันวาคม 2562 13:51:09
โดย Maintenence
อย่าไปยึดอย่างอื่นเป็นสรณะเป็นที่พึ่ง พอจ.สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามฯ ชลบุรี
สมถภาวนา - อภิญญาจิต
Maintenence 0 799 กระทู้ล่าสุด 16 มกราคม 2563 13:53:44
โดย Maintenence
วันพระ วันธัมมัสสวนะ พอจ.สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามฯ จ.ชลบุรี
สมถภาวนา - อภิญญาจิต
Maintenence 0 746 กระทู้ล่าสุด 20 กุมภาพันธ์ 2563 10:27:17
โดย Maintenence
สัจธรรมความจริงของชีวิต โดย พอจ.สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามฯ ชลบุรี
สมถภาวนา - อภิญญาจิต
Maintenence 0 1062 กระทู้ล่าสุด 10 กันยายน 2563 18:00:26
โดย Maintenence
นั่งเฉยๆสัก ๖ หรือ ๘ ชั่วโมง โดย พอจ.สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร
สมถภาวนา - อภิญญาจิต
Maintenence 0 40 กระทู้ล่าสุด 13 มกราคม 2567 15:24:49
โดย Maintenence
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.19 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 07 มีนาคม 2567 08:49:50