[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
01 พฤศจิกายน 2567 06:36:12 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เจตนาคือกรรมที่มีในจิตทุกดวง  (อ่าน 1225 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
時々๛कभी कभी๛
สมาชิกถูกดำเนินคดี
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +9/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Nepal Nepal

กระทู้: 1921


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 12.0.742.112 Chrome 12.0.742.112


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 30 มิถุนายน 2554 13:47:55 »




โค - สะ - นา Sometime Home


http://poerlife.fx.gs/index.php?topic=334.new#new



๑.ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวี ช่วยกันทำนวกรรม ภิกษุรูปหนึ่งอยู่

ข้างล่างยกไม้กลอนส่งขึ้นไป ไม้กลอนที่ภิกษุผู้อยู่ข้างบนจับไว้ไม่มั่น ได้พลัดตกลงบน
 
กระหม่อมภิกษุผู้อยู่ข้างล่าง ภิกษุผู้อยู่ข้างล่างนั้นถึงมรณภาพ เธอมีความรังเกียจว่า เรา
 
ต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระ
 
ภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุเธอคิดอย่างไร?

ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มิได้จงใจ พระพุทธเจ้าข้า

ภ. ดูกรภิกษุ ภิกษุไม่จงใจ ไม่ต้องอาบัติ

เมื่อได้อ่านพระไตรปิฎกพบข้อความนี้ ก็มิได้มีความขัดแย้ง แต่จะขอความกระจ่างจาก
 
ท่านอาจารย์{ขา} คือว่าในจิตนั้นก็มีเจตนาเจตสิกประกอบด้วยทุกดวงเจตนาก็ชื่อว่า
 
กรรม และการกระทำก็เป็นชวนจิตจึงน่าจะทำกรรม ทำไมพระพุทธเจ้าจึงไม่ปรับอาบัติ
 
หรือว่าเป็นเจตนาที่อยู่ในวิบาก คือมารับผลของกรรม




คำว่า ปาราชิกแปลว่า ผู้แพ้ อาบัติขั้นสูงสุด เรียกว่า ปาราชิก เป็นความผิดที่

ภิกษุละเมิดข้อห้ามใดข้อห้ามหนึ่งในจำนวน ๔ ข้อ คือ เสพเมถุน ถือเอาของที่เจ้าของ

เขาไม่ได้ให้หรือลักขโมยนั่นเองฆ่ามนุษย์ให้ตายหรือ  อวดอุตริมนุสธรรม ภิกษุผู้

กระทำผิด เรียกว่าต้องอาบัติปาราชิก โทษที่ได้รับเป็นโทษหนักคือ การขาดจากความเป็นภิกษุ

ส่วนคำว่า เจตนา เป็นสภาพธรรมที่ตั้งใจ ขวนขวาย เกิดกับจิตทุกประเภท

สำหรับข้อความที่{คุณลุงหมาน}ยกมานั้น เป็นเรื่องที่พระภิกษุกำลังทำนวกรรม คือ

การก่อสร้างอยู่ ภิกษุรูปหนึ่ง ส่งไม้ให้พระภิกษุอีกรูปที่อยู่ข้างบน แต่ภิกษุที่อยู่ข้างบน

จับไม้ไม่ดีไม้ก็เลยตกลงบนศีรษะของพระภิกษุที่ส่งไม้ให้ถึง{มรณภาพ}ท่านก็เกิด

ความรังเกียจว่าท่านต้องอาบัติปาราชิกหรือไม่ เพราะอาบัติปาราชิก 1 ใน 4 ข้อ คือ ฆ่ามนุษย์

พระพุทธเจ้าจึงตรัสถามว่า เธอคิดอย่างไร ภิกษุรูปนั้น ทูลว่า ข้าพระองค์ไม่ได้จงใจ

ฆ่าภิกษุนั้น พระพุทธตรสว่า เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก คือ ในข้อที่ฆ่ามนุษย์นั่นเอง




เหตุผลคืออย่างนี้ เจตนา{เจตสิก}เกิดกับจิตทุกดวงก็จริงแต่ไม่ได้หมายความ

ว่า เจตนาเจตสิกที่เกิดกับจิต ชาติวิบากและกิริยาจะเป็นกรรม ที่จะเป็นกุศลกรรม หรือ

อกุศลกรรม เช่น ขณะที่เห็น + เป็นวิบาก เป็นผลของกรรมมีเจตนาเจตสิกเกิดร่วม

ด้วยแต่เจตนานั้นไม่ได้เป็นกรรมที่เป็นกุศลกรรมและเป็นอกุศลกรรมที่เป็น{สุจริต}และ

ทุจริตเพียงแต่ทำกิจ เกิดร่วมกัน ทีเป็นเจตนา อันเป็นผลของกรรมไม่ได้เป็น

จิตที่ทุจริตและสุจริตในขณะนั้นแต่ที่พระพุทธเจ้าตรัสถามพระองค์หมายถึง

เจตนาที่เป็นไปในอกุศลกรรม คือ เจตนาฆ่าเพราะความสุจริตและทุจริตเกิดจาก

เจตนาที่เป็นไปในกุศลกรรมและ{อกุศลกรรม}ไม่ได้เกิดจากจิตที่เป็นชาติวิบากที่

เป็นผลของกรรมดังนั้นแม้มีเจตนาที่เกิดกับจิตชาติวิบากแต่ก็ไม่เป็นกรรมที่เป็น

เจตนาที่เป็นสุจริตและทุจริตและขณะที่พระภิกษุท่านกำลังจับไม้และจับไม่มั่น

ท่านก็มีเจตนาเกิดขึ้นคือเจตนาจะจับไม้แต่ไม่ได้มีเจตนาทุจริต ที่จงใจ ตั้งใจจะฆ่า

จึงไม่ต้องอาบัติปาราชิกเพราะไม่มีเจตนาฆ่านั่นเองดังนั้น ขณะนั้นมีเจตนาก็จริงแต่

ไม่ใช่เจตนาทุจริตตั้งใจจะฆ่า

เรื่องของเจตนาจึงเป็นไปทั้งที่เกิดกับจิตทุกชาติทุกประเภทจึงแบ่งเจตนาที่เป็น

2 อย่าง คือ เจตนาทีเกิดพร้อมกับจิตทุกประเภทเรียกว่า{สหชาตกัมมปัจจัย}และ

เจตนาทีเกิดกับจิตที่เป็นกุศลกรรมและ{อกุศลกรรม}อันสามารถให้ผลในขณะต่อไปเมื่อ

กรรมนั้นให้ผล เกิดวิบาก เรียกว่า นานักขณิกกัมมปัจจัยเพราะฉะนั้น{เจตนา}

เจตสิกทีเกิดกับจิตทีเป็นผลของกรรมเกิดพร้อมกับจิตนั้นแต่ไม่ให้ผลและไม่เป็น

ทุจริต ไม่มีเจตนาจงในทุจริตอะไรเป็นสหชาตกัมมปัจจัยส่วนเจตนาฆ่าและกรรม

นั้นสำเร็จคือสัตว์นั้นตาย และกรรมนั้นให้ผลได้เจตนาที่เป็นเจตนาฆ่า เป็นเจตนา

ทุจริต เป็น{นานักขณิกกัมมปัจจัย}




ธรรม ๔ อย่าง ควรเจริญ เป็นไฉน

ได้แก่สติปัฏฐาน ๔ คือ.................................................

ภิกษุในธรรมวินัยนี้

พิจารณาเห็นกายในกาย ๑

พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา ๑

พิจารณาเห็นจิตในจิต ๑

พิจารณาเห็นธรรมในธรรม ๑

ธรรม ๔ อย่างเหล่านี้ ควรเจริญ




ข้อมูลจากมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนาบ้านธัมมะ 136 หมู่ 5 ต.หนองควาย อ.หางดง จ.เชียงใหม่ 50230




<table class="maeva" cellpadding="0" cellspacing="0" border="0" style="width: 800px" id="sae1"> <tr><td style="width: 800px; height: 576px" colspan="2" id="saeva1"><script type="text/javascript"><!-- // --><![CDATA[ var oldLoad = window.onload; window.onload = function() { if (typeof(oldLoad) == "function") oldLoad(); if (typeof(aevacopy) == "function") aevacopy(); } // ]]></script><embed type="application/x-mplayer2" src="http://www.fungdham.com/download/song/allhits/15.wma" width="800px" height="576px" wmode="transparent" quality="high" allowFullScreen="true" allowScriptAccess="never" ShowControls="True" autostart="false" autoplay="false" /></td></tr> <tr><td class="aeva_t"><a href="http://www.fungdham.com/download/song/allhits/15.wma" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://www.fungdham.com/download/song/allhits/15.wma</a></td><td class="aeva_q" id="aqc1"></td></tr></table>

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30 มิถุนายน 2554 14:04:02 โดย 時々sometime » บันทึกการเข้า

โลกเรานี้หนอช่างเหมือนความฝันเสียนี่กระไร ?

คำค้น: เจตนา 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.379 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 13 กันยายน 2566 10:23:36