[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
26 เมษายน 2567 16:50:29 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ความสำคัญของใจ - พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามฯ จ.ชลบุรี  (อ่าน 746 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1017


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 78.0.3904.108 Chrome 78.0.3904.108


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 04 ธันวาคม 2562 16:08:56 »

.




ความสำคัญของใจ

”สติ” แปลว่าการระลึกรู้ ให้ระลึกรู้อยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพียงเรื่องเดียว เพื่อจะได้ไม่ไปคิดถึงเรื่องต่างๆ เช่น ให้อยู่กับคำบริกรรมพุทโธ พุทโธไป ให้ระลึกอยู่เรื่อยๆ ไม่ว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ อาบน้ำล้างหน้าแปรงฟัน ก็พุทโธกำกับใจไปด้วย อย่าอาบน้ำล้างหน้าแปรงฟัน แล้วก็ไปคิดถึงคนนั้นคนนี้ คิดถึงเรื่องนั้นเรื่องนี้ ให้อยู่กับพุทโธ หรือถ้ามันไม่ไปคิดถึงเรื่องนั้นเรื่องนี้ก็ให้มันอยู่กับงานที่เราทำอยู่ กำลังอาบน้ำก็อาบน้ำไปอย่างเดียว ล้างหน้าแปรงฟันก็ล้างหน้าแปรงฟันไปอย่างเดียว ให้รู้อยู่กับงานที่เรากำลังทำอยู่ แต่ห้ามคิดถึงเรื่องต่างๆ อย่างนี้ก็เป็นการหยุดความคิด ควบคุมความคิด เป็นการสร้างสติให้มีกำลังหยุดความคิดขึ้นมานั่นเอง พอเรามีกำลังแล้ว เวลาเราจะมานั่งสมาธิ ใจก็จะนิ่งสงบได้อย่างเต็มที่ เพราะการจะทำใจให้เข้าสู่สมาธิได้นี้ ร่างกายต้องอยู่นิ่งๆ อยู่เฉยๆ ถ้าร่างกายยังมีการเคลื่อนไหวอยู่ ถึงแม้ว่าจะมีสติก็ตาม ใจก็ยังไม่สงบ ไม่เข้าสมาธิได้ เช่น เวลาเดินงกรมนี้เราก็ใช้สติกำกับใจ แต่การเดินจงกรมนี้จะไม่ทำให้ใจเข้าสู่สมาธิได้ เขาถึงจะเรียกว่า “นั่งสมาธิ” กัน ไม่มีการเดินสมาธิกัน เดินจงกรม นั่งสมาธิ เดินจงกรมเพื่อเจริญสติ สร้างสติขึ้นมาก่อน พอมีสติแล้วก็เอาร่างกายมานั่งเฉยๆ นั่งนิ่งๆ แล้วเอาสติที่ได้จากการเดินจงกรม สติที่ได้จากการคอยควบคุมใจให้อยู่กับการกระทำต่างๆ ของร่างกายนี้ ก็จะสามารถมาทำให้ใจอยู่กับเรื่องเดียวได้ เวลานั่งก็ให้อยู่กับพุทโธอย่างเดียว หรือถ้าไม่พุทโธก็ให้ดูลมหายใจเข้าออกเพียงอย่างเดียว เฝ้าดูไปเรื่อยๆ ดูลมเข้าลมออก ลมสั้นลมยาวก็รู้เฉยๆ ไม่ต้องไปบังคับลมให้มันสั้นหรือให้มันยาว ลมหยาบหรือลมละเอียดก็ไม่ต้องไปเปลี่ยนมัน ไม่ต้องไปบังคับมัน ให้รู้เฉยๆ ให้เฝ้าดูเฉยๆ เป็นเหมือนยามเฝ้าประตู คนออกคนเข้าก็รู้ว่ามีคนเข้ามีคนออก คนเข้าคนออกเป็นหญิงเป็นชาย เป็นเด็กเป็นผู้ใหญ่ก็ให้รู้เฉยๆ เท่านั้นเอง ฉันใด การดูลมก็ดูแบบนั้น ดูที่ตรงประตูเข้าออกของลม คือที่ปลายจมูกนั่นเอง จมูกมีสองรูหรือทวาร ทางเข้าออกของลม ลมมันจะต้องเข้าออกตรงรูจมูกนี้ เราก็จ่อใจเราให้อยู่ตรงจุดนั้น อย่าให้มันเคลื่อนไปที่อื่น เพราะถ้ามันเคลื่อนที่แล้ว มันจะไม่นิ่ง มันจะไม่เป็นสมาธิ ต้องอยู่จุดเดียว เวลานั่งสมาธินี้ ต้องให้นิ่งให้อยู่จุดเดียว ร่างกายก็นิ่ง ใจก็ต้องนิ่ง ไม่คิดอะไร ไม่ตามลมเข้า ไม่ตามลมออก ไม่ย้ายฐาน ไม่เปลี่ยนจากจมูกไปอยู่ที่กลางอก ไม่เปลี่ยนจากกลางอกกลับมาอยู่ที่จมูก ไม่ทำอย่างนั้น ให้อยู่ที่จุดเดียว ไม่ต้องตามลมเข้าไป ไม่ต้องตามลมออกมา ถ้าทำอย่างนี้ได้ เดี๋ยวใจก็จะเข้าสู่ความสงบได้ พอสงบแล้ว ใจก็จะเกิดความสุขขึ้นมา ที่เรียกว่าเป็นความสุขที่เหนือกว่าความสุขทั้งปวง “นัตถิ สันติ ปะรัง สุขัง” จะเกิดขึ้นมา “สุขอื่นที่เหนือกว่าความสงบไม่มี” อยู่ตรงนี้ อยู่ที่สมาธิ อยู่ที่ความสงบของใจ อยู่ที่การนั่งเฉยๆ ด้วยการมีสติกำกับใจ นั่งเฉยๆ ไม่มีสติ จิตจะไม่มีวันสงบ เพราะนั่งเฉยๆ ไม่มีสติดูลมหรือไม่มีสติพุทโธ เดี๋ยวจิตมันก็จะผลิตอะไรต่างๆ ขึ้นมาหลอกเรา ผลิตภาพผลิตเสียง ผลิตอารมณ์ต่างๆ ขึ้นมาหลอกเราได้

ดังนั้น เวลานั่งสมาธิต้องมีสติถึงจะเรียกว่าเป็นการนั่งสมาธิที่ถูก ถ้านั่งสมาธิแบบไม่มีสตินี้เรียกว่า “เป็นการนั่งเพื่อให้เสียสติ” ให้กลายเป็นคนบ้าไป ที่เราได้ยินข่าวว่ามีคนนั่งสมาธิแล้วเป็นบ้า ก็เพราะว่านั่งแบบไม่มีสตินั่นเอง นั่งแล้วก็ปล่อยให้ใจผลิตอะไรขึ้นมาหลอก แล้วก็ไปหลงเชื่อกับสิ่งที่เห็น ที่จิตผลิตขึ้นมา แล้วก็ไปเชื่อว่าเป็นนู่นเป็นนี่ บางคนก็คิดว่าเป็นพระยาโน่นพระยานี่ เป็นท้าวโน่นท้าวนี่ขึ้นมา นี่คือเรียกว่าเป็นบ้าไปโดยไม่รู้สึกตัว ฉะนั้น จะนั่งแบบไม่เป็นบ้าต้องมีสติ มีพุทโธ มีการดูลมหายใจ แล้วจิตจะเข้าสู่ความสงบเพียงอย่างเดียว เรานั่งสมาธินี่เราไม่ต้องการเห็นอะไร ไม่ต้องการดูอะไร ต้องการความนิ่ง ความสงบ ความว่าง ต้องการอุเบกขา ที่จะเกิดจากความสงบ “อุเบกขา” คือใจปราศจากความรักชังกลัวหลงนี้เอง ใจที่ไม่รักชังกลัวหลงนี้จะเป็นใจที่สามารถสู้กับกิเลสตัณหาได้ เพราะกิเลสตัณหามันจะรักจะชังนั่นเอง กิเลสตัณหาเห็นอะไรแล้วก็จะเกิดความรัก เกิดความชัง เกิดความโกรธขึ้นมา แต่ถ้าใจมีอุเบกขาแล้วมันก็จะไม่เกิด ใจก็จะรู้เฉยๆ รู้ว่าสิ่งนั้นเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ เมื่อก่อนเคยรักเคยชัง แต่พอมีอุเบกขาแล้วจะไม่รักไม่ชัง จะเฉยๆ ได้ จะไม่ถูกกิเลสตัณหาดึงไปได้ กิเลสตัณหาถ้าไม่สามารถดึงใจไปได้ กิเลสตัณหาก็จะหมดกำลังลงไป นี่คือเรื่องของการภาวนา ขั้นต้นทำใจให้สงบ ให้มีอุเบกขา ให้มีความสุขในตัวเอง

พอใจมีความสุขในตัวเอง ขั้นต่อไปก็เอาปัญญามาสอนใจ เวลาใจเกิดความหลงเกิดความอยากได้ลาภยศสรรเสริญ อยากได้ความสุขทางตาหูจมูกลิ้นกาย ก็เอาปัญญามาสอนว่า “มันเป็นความสุขปลอมนะ เป็นความสุขชั่วคราว ได้มาแล้วเดี๋ยวหมดไป หมดไปแล้วก็ต้องมาเศร้าโศกเสียใจ ถ้าไม่อยากเศร้าโศกเสียใจ ก็อย่าไปเอามันดีกว่า อยู่กับอุเบกขา อยู่กับความสงบ อยู่กับความนิ่งเฉยๆ ดีกว่า เป็นความสุขมากกว่า” อันนี้คือการใช้ปัญญามาสอนใจ เพื่อให้ทำลายความโลภ ความอยากต่างๆ ให้หมดไปจากใจ ปัญญาเท่านั้นที่จะสอนใจให้เลิกตามความโลภ ความอยากได้ ถ้าไม่มีปัญญา มีแต่สตินี้ สติไม่สามารถสอนใจให้เลิกทำตามความโลภความอยากได้ เพียงแต่หยุดความโลภความอยากได้เท่านั้น แต่ไม่สามารถทำให้ความโลภความอยากหายไปจากใจได้ ต้องเป็นปัญญาที่สอนใจให้รู้ว่า สิ่งที่ใจโลภใจอยากนี้ มันเป็นทุกข์ มันไม่เป็นสุข เพราะว่ามันไม่เที่ยง เพราะว่ามันไม่ใช่เป็นของเรา ไม่ช้าก็เร็วมันก็ต้องจากเราไป ไม่ช้าก็เร็วมันก็ต้องเสื่อมหรือมันหมดไป

นี่คือขั้นที่ ๒ เรียกว่า “ขั้นวิปัสสนา” จะวิปัสสนาได้ก็ต้องผ่านขั้นที่ ๑ ก่อน ต้องมีสมาธิก่อน มีความสุขในใจก่อน ถ้าไม่มีความสุขในใจ มันจะทนกับความอยากไม่ได้ พออยากได้อะไรแล้วมันจะต้องไปหามา เพราะอย่างน้อยมันได้ความสุขก่อน ความทุกข์ที่จะตามมาทีหลังช่างหัวมัน ตอนนี้ขอแต่งงานก่อน เดี๋ยวทะเลาะกันทีหลัง มีเรื่องกันทีหลัง ค่อยว่ากันใหม่ แต่ตอนนี้อยู่คนเดียวเหงาเหลือเกิน ต้องมีแฟนก่อน พอมีแฟนแล้ว มาทุกข์กับแฟนทีหลังค่อยว่ากันใหม่ แต่ตอนนี้มันทุกข์กับการอยู่คนเดียว แต่คนที่มีสมาธิมีความสงบนี้ จะไม่เหงาอยู่คนเดียวได้ มีความสุขอยู่ตามลำพังได้ ก็จะสามารถที่จะฝืนความอยากที่จะไปมีแฟนได้ อันนี้คือยกตัวอย่างเรื่องของสมาธิและปัญญาว่าต้องทำงานร่วมกัน ถึงจะสามารถกำจัดกิเลสตัณหาได้ ทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่สามารถกำจัดได้ สมาธิตามลำพังก็กำจัดไม่ได้ ปัญญาตามลำพังก็ไม่มีกำลัง ไม่มีความสุขในใจ พอเกิดความอยากขึ้นมาก็คว้ามับเลย เพราะฉะนั้น ต้องมีทั้งสองอย่างถึงจะสามารถกำจัดกิเลสตัณหาชำระใจให้สะอาดบริสุทธิ์ได้ พอชำระใจสะอาดบริสุทธิ์แล้ว ทีนี้ไม่มีอะไรจะมาสร้างความทุกข์ให้กับใจ เพราะบาปก็ไม่ทำ ทำแต่บุญ กิเลสตัณหาก็คอยชำระคอยกำจัดอยู่เรื่อยๆ ในที่สุด ใจก็จะหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง ใจที่ไม่มีความอยากก็ไม่ต้องกลับมามีร่างกายอีกต่อไป ไม่ต้องมาเกิด มาแก่ มาเจ็บ มาตายอย่างที่พวกเราเป็นกันอยู่ในขณะนี้ แล้วก็จะเป็นกันต่อไปเรื่อยๆ พอหลังจากที่ร่างกายนี้ตายไป ความอยากมันก็จะพาให้เรากลับมาเกิดใหม่ ในช่วงที่เรารอการเกิดอยู่ เราก็ต้องไปรับผลบุญผลบาป ถ้าทำบาปก็ต้องไปติดคุกในอบายก่อน ถ้าทำบุญก็ได้ไปท่องเที่ยวในสวรรค์ก่อน

เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงทรงสอนให้ทำบุญไว้ก่อน ให้ละบาปไว้ก่อน ถ้ายังไม่สามารถหยุดการเวียนว่ายตายเกิดได้ อย่างน้อยเวลาตายไปจะได้ไม่ต้องไปติดคุกในอบาย ได้ไปท่องเที่ยวในสวรรค์ ในขณะที่รอการมาเกิดเป็นมนุษย์ แต่เป้าหมายสุดท้ายก็คือ ต้องมากำจัดกิเลสตัณหา ชำระจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์ให้ได้ เพื่อเราจะได้ยุติการกลับมาเกิดแก่เจ็บตายกันอยู่อย่างไม่มีที่สิ้นสุดนี้เอง นี่คือความสำคัญของคำสอนของพระพุทธเจ้า คือ ความสำคัญของใจ “ใจเป็นใหญ่ ใจเป็นประธาน” ใจเป็นตัวที่ไปเวียนว่ายตายเกิด ใจเป็นตัวที่ไปสร้างบุญสร้างบาป ไปสร้างความสุขสร้างความทุกข์ ดังนั้น เราต้องให้ความสำคัญกับใจยิ่งกว่าการให้ความสำคัญกับสิ่งต่างๆ เช่น ร่างกาย หรือทรัพย์สมบัติข้าวของเงินทองต่างๆ เพราะมันเป็นสมบัติชั่วคราว ได้มาแล้ว เดี๋ยวมันก็หมดไปอยู่ดี แต่ใจนี้มันไม่มีวันหมด ถ้าเราปล่อยให้มันสร้างความทุกข์ มันก็จะมีแต่ความทุกข์อยู่ในใจเราไปตลอด ถ้าเราหยุดให้มันสร้างความทุกข์ ให้มันสร้างแต่ความสุข ให้มันกำจัดกิเลสตัณหาให้หมดไปจากใจ ใจก็จะเป็นใจที่สะอาดบริสุทธิ์ ใจที่มีแต่ความสุขตลอดเวลา เป็นใจของพระพุทธเจ้า และใจของพระอรหันต์ทั้งหลายนั่นเอง


ธรรมะบนเขา วันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๑
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
วัดญาณสังวรารามฯ จังหวัด ชลบุรี
ณ จุลศาลา เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาชีโอน

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
สร้างธรรมะให้เป็นที่พึ่งกับใจ พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามฯ จ.ชลบุรี
สมถภาวนา - อภิญญาจิต
Maintenence 0 938 กระทู้ล่าสุด 02 กันยายน 2562 16:17:35
โดย Maintenence
“อานิสงส์ของความเมตตา” พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามฯ จ.ชลบุรี
สมถภาวนา - อภิญญาจิต
Maintenence 0 983 กระทู้ล่าสุด 04 กันยายน 2562 17:24:35
โดย Maintenence
“ทุกวันนี้เราทุกข์กับอะไร” พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามฯ จ.ชลบุรี
สมถภาวนา - อภิญญาจิต
Maintenence 0 890 กระทู้ล่าสุด 06 กันยายน 2562 09:54:10
โดย Maintenence
“ทำใจให้สงบ” พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามฯ จ.ชลบุรี
สมถภาวนา - อภิญญาจิต
Maintenence 0 858 กระทู้ล่าสุด 07 กันยายน 2562 12:56:44
โดย Maintenence
“กระบวนการของการชำระจิตใจ” พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามฯ จ.ชลบุรี
สมถภาวนา - อภิญญาจิต
Maintenence 0 1044 กระทู้ล่าสุด 08 กันยายน 2562 11:10:15
โดย Maintenence
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.362 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 07 มีนาคม 2567 07:46:05