[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 06:57:53 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พระพุทธศาสนาสอนอะไร{โดยย่ิอ}  (อ่าน 10448 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
時々๛कभी कभी๛
สมาชิกถูกดำเนินคดี
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +9/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Nepal Nepal

กระทู้: 1921


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 12.0.742.112 Chrome 12.0.742.112


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 11 กรกฎาคม 2554 13:14:59 »



พระไตรปิฎกกับพระสัทธรรม ๓


ก่อนจะปรินิพพานพระพุทธองค์ตรัสกับพระอานนท์ว่า.........

อานนท์ เมื่อเราล่วงลับไปแล้วเธอทั้งหลายอาจจะคิดว่าบัดนี้พวกเธอไม่มีศาสดาแล้วจะพึงว้าเหว่ไร้ที่พึ่ง อานนท์เอย พึงประกาศให้ทราบทั่วกันว่า ธรรมวินัยอันใดที่เราได้แสดงแล้วบัญญัติแล้ว  ขอให้ธรรมวินัยอันนั้นจงเป็นศาสดาของพวกเธอแทนเราต่อไปเธอทั้งหลายจงมีธรรมวินัยเป็นที่พึ่ง อย่าได้มีอย่างอื่นเป็นที่พึ่งเลย

หากท่านเป็นผู้หนึ่งที่ปรารถนาที่จะศึกษาพระธรรมแต่ไม่สามารถใช้เวลาทั้งหมดให้แก่การศึกษาได้เหมือนข้าพเจ้าหรือท่านมีความสงสัยว่าพระพุทธศาสนาสอนอะไรและควรจะเริ่มศึกษาพระพุทธสาสนาอย่างไรบทความนี้อาจจะเป็นประโยชน์ เพีื่อที่ท่านจะได้เลือกหมวดธรรมที่จะศึกษาเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติบนพื้นฐานของความเข้าใจในความหมายตามหลักพระสัทธรรม ๓  

พระธรรม ในทางพระทุทธศาสนา อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งได้ว่าว่า{พระสัทธรรม}

ในพระไตรปิฎกได้อธิยบายคำว่าพระสัทธรรมไว้หลายนัย ได้แก่สัทธรรม ๓ สัทธรรม ๔ สัทธรรม ๗ สัทธรรม ๘ และสัทธรรม ๑๐

ในที่นี้จะกล่าวถึงสัทธรรม ๓ ซึ่งถือเป็นหลักคำสอนของศาสนาพุทธ

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๑๖ พ.ศ. ๒๕๕๑ หน้า ๑๒๑ โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ท่านได้แสดงไว้ว่าสัทธรรม 3 หมายถึง ธรรมอันดี ธรรมที่แท้ ธรรมของสัตบุรุษ หลักหรือแก่นศาสนา good law true doctrine of the good essential doctrine

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 กรกฎาคม 2554 13:54:55 โดย 時々sometime » บันทึกการเข้า

โลกเรานี้หนอช่างเหมือนความฝันเสียนี่กระไร ?

時々๛कभी कभी๛
สมาชิกถูกดำเนินคดี
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +9/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Nepal Nepal

กระทู้: 1921


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 12.0.742.112 Chrome 12.0.742.112


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 11 กรกฎาคม 2554 13:18:53 »



ธรรมอันดีหรือธรรมของสัตบุรุษ มี ๓ คือ


๑. ปริยัติสัทธรรม คือคำสอนของพระพุทธองค์ที่พุทธศานิกชนควรจะศึกษาเล่าเรียนได้แก่พระบาลี และอรรถกถา รวมเรียกว่าพระไตรปิฎก ซึ่งแบ่งเป็น ๓ หมวด คือ....................................................

(๑) พระวินัยปิฎก คือประมวลกฎระเบียบข้อบังคับ เกี่ยวกับศีลหรือสิกขาบท ตลอดจนพิธีกรรมและธรรมเนียมของสงฆ์ที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ สำหรับภิกษุ และภิกษุณีอันเป็นกฎระเบียบ ที่พระภิกษุ และพระภิกษุณี จะต้องปฏิบัติ

(๒) พระสุตตันตปิฎกหรื่อเรียกว่าสั้น ๆ ว่าพระสูตรได้แก่พระพุทธพจน์ที่เป็นบุคลาธิษฐาน คือเป็นเรื่องราวที่ประกอบไปด้วยเนื้อหาสาระที่เกี่ยวกับบุคคล เหตุการณ์ สถานที่ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงยังที่ต่างๆ ให้เหมาะกับบุคคล สถานที่ และเหตุการณ์ ตลอดจนบทประพันธ์ชาดกหรือ เรื่องราวชีวประวัติของพระพุทธเจ้า เป็นต้น

(๓) พระอภิธรรมปิฎก คือธรรมอันยิ่ง เป็นประมวลคำสอนที่เป็นธรรมาธิษฐาน ป็นหลักวิชาการล้วน ๆ ว่าด้วยเรื่องของสภาวธรรม เรียกอีกนัยหนึ่งว่า
ปรมัตธรรม คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน หรือเรื่องอริยสัจ ๔ ประการ ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ ปัจจัย ๒๔ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นต้น พระธรรมในหมวดพระอภิธรรมจึงไม่มีสัตว์บุคคล สถานที่ เหตุการณ์ หรืิอเรื่องราวที่เป็นสมมุติบัญญัติประกอบเลย

พระไตรปิฎกมีเนื้อหารวมทั้งสิ้น ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ แบ่งเป็น พระวินัยปิฎก ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ พระสุตตันตปิฎก ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ และพระอภิธรรมปิฎก ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ รวมเป็น ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ซึ่งหากจะศึกษาค้นคว้าเล่าเรียนพระไตรปิฎกให้แจ่มแจ้งถ้วนทั่วก็คงต้อง

อุทิศเวลาให้ทั้งชีวิต หรือมิฉะนั้นก็ค่อย ๆ ศึกษาไปและเวียนว่ายไปจนกระทั่งหาที่สุดมิได้ การเริ่มต้นศึกษาและสะสมความรู้ความเข้าใจไปในขณะนี้เท่าที่ทำได้  จึงย่อมดีกว่าที่จะทอดทิ้งไม่สนใจศึกษาเสียเลยและเพียงแค่ความคิดจะศึกษาพระธรรมเกิดขึ้นในใจครั้งหนึ่งแล้วระลึกรู้ก็นับได้ว่าจิตเป็นกุศลแล้วเมื่อพระไตรปิฎกมีถึง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์แล้วเราจะเลือกศึกษาอย่างไร

พระพุทธพจน์ข้างต้นดังว่า ธรรมวินัยอันใดที่เราได้แสดงแล้วบัญญัติแล้วขอให้ธรรมวินัยอันนั้นจงเป็นศาสดาของพวกเธอจะเห็นว่าทรงกล่าวถึงทั้ง ธรรมและวินัย ธรรมนั้นหมายถึงพระสูตร และพระอภิธรรม วินัยก็คือหมวดแรกในพระไตรปิฎก คือ พระวินัยปิฎก

สำหรับพระวินัยนนั้นแม้ทรงบัญญัติไว้เพื่อเป็นระเบียบข้อบังคับสำหรับพระภิกษุสงฆ์แต่พุทธศาสนิกฝ่ายคฤหัสถ์ก็ควรรู้จักพระวินัยบางข้อของพระภิกษุสงฆ์ไว้บ้างเพื่อที่จะช่วยให้พระภิกษุสงฆ์จะรักษาตัวให้บริสุทธิ์ มิให้มีโทษทางพระวินัยทั้งนี้หากฆราวาสไม่ทราบพระวินัยของพระเอาเสียเลยก็อาจจะปฏิบิติต่อพระภิกษุสงฆ์อย่างไม่ถูกต้องทำให้ท่านต้องอาบัติและฆราวาสเองก็ได้บุญน้อย หรืออาจถึงขั้นเป็นบาปโดยไม่ทราบตัว

ด้วยเหตุนี้ชาวพุทธจึงควรจะได้ศึกษาพระวินัยไว้บ้างข้าพเจ้าขอแนะนำตัอย่างหนังสือ ๒ เล่ม ที่ท่านผู้เขียนได้รวบรวมพระวินัยบางข้อที่คฤหัสถ์ทั้งบุรุษและสตรีควรทราบมาแสดงพอเป็นแนวทางแห่งการศึกษาและปฏิบัติ คือ วินัยของพระภิกษุสงฆ์ ที่ประชาชนควรทราบและวินัยพระน่ารู้คู่มือโยม

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 กรกฎาคม 2554 13:55:35 โดย 時々sometime » บันทึกการเข้า

โลกเรานี้หนอช่างเหมือนความฝันเสียนี่กระไร ?

時々๛कभी कभी๛
สมาชิกถูกดำเนินคดี
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +9/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Nepal Nepal

กระทู้: 1921


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 12.0.742.112 Chrome 12.0.742.112


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 11 กรกฎาคม 2554 13:29:57 »



สำหรับพระสูตรนั้น คำสอนในพระสูตรมีทั้งที่เป็นเรื่องราวที่อ่านง่าย ฟัง่าย เข้าใจง่าย เช่นในอังคุลีมาลสูตร เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปโปรดองคุลิมาลโจร เป็นต้นโดยส่วนตัวข้าพเจ้า นั้นเห็นว่าฆราวาสที่สนใจศึกษาพระสูตรมีน้อยส่วนใหญ่เป็นพะภิกษุสงฆ์ที่ค้นคว้่าเรื่องราวในพระสูตรที่ไม่ยากนักเพื่อนำมาประกอบการแสดงพระธรรมเทศนา ทำให้การแสดงธรรมนั้นน่าสนใจไม่น่าเบื่อ แม้แต่เด็ก ๆ ก็สามารถเข้าใจและจดจำเรื่องราวในพระสูตรและสามารถเปรียบเทียบเรื่องราวนำมาอุปมาอุปมัยกับชีวิตจริงได้  พระสูตรจึงเป็นคำสอนที่เป็นประโยชน์ในการเสริมสร้างศรัทธาเพื่อโน้มน้าวความสนใจผู้ที่ยังไม่มีพื้นฐานในการศึกษาพระธรรมให้มีความสนใจในพระธรรมเป็นเบื้องต้น

นอกจากนี้พระสูตรยังประกอบด้วยเรื่องราวที่เกี่ยวกับหลักธรรม หรือแนวทางสำหรับการปฏิบัติเพื่อให้เกิดปัญญา เช่น วิปัสสีสูตร
ซึ่งเกี่ยวกับเหตุปัจจัยและอวิชชาสูตร ซึ่งเกี่ยวกับอาหารของ อวิชชา วิชชา และวิมุตติ เป็นต้น

ความแตกต่างกันระหว่างพระสุตรกับอภิธรรมนั้นคือพระสูตรใช้ถ้อยคำร้อยเรียงเป็นเรื่องราวมีการยกตัวอย่างเป็นสัตว์ บุคคล สถานที่ส่วนพระอภิ
ธรรมนั้นเป็นการกล่าวโดยใช้ปรมัตถสัจจะในการอธิบาย แต่เนื้อหาของพระธรรมในทั้งสองหมวดเป็นไปในทำนองเดียวกันต่างกันเพียงวิธีการสาธ
ยายหากท่านมีความสนใจศึกษาพระสูตรจากการฟังข้าพเจ้าขอแนะนำให้ท่านฟังการบรรยายพระสูตรจากอาจารย์ที่เป็นเลิศทางการบรรยายพระ
สูตรท่านหนึ่ง คือ พระอาจารย์สมบัติ นนฺทิโกซึ่งท่านสามารถติดต่อสอบถามขอซีดีพระธรรมเทศนาได้ที่มูลนิธิรักษ์ธรรมที่หมายเลขโทรศัพท์

๐๒ - ๗๑๑ - ๕๙๙๗ - ๘

สุดท้ายคือพระอภิธรรมพอเอ่ยถึงพระอภิธรรม บางท่านก็ร้องว่ายากเป็นธรรมที่ยากเป็นเรื่องที่มากเกินไม่จำเป็นที่จะศึกษาความเป็นจริงก็คือข้าพเจ้าไม่เถียงว่าพระอภิธรรมไม่ยาก เนื่องจากพระอภิธรรมปิฎกเป็นพระพุทธวจนะที่พระพุทธองค์ทรงแสดงแต่ปรมัตถธรรม เป็นสภาวธรรมล้วน ๆ ไม่มีสมมติบัญญัติเจือปนเลยดังนั้นจึงเป็นธรรมที่พึงรู้ได้โดยยากผู้ที่จะศึกษาเล่าเรียนพระอภิธรรมให้มีความฉลาดรอบรู้ได้เป็นอย่างดีนั้นจึงต้องเป็นบุคคลที่เป็นติ

เหตุกะปฏิสนธิเท่านั้น คือบุคคลที่เกิดมาด้วยเหตุ ๓ ได้แก่ อโลภะอโทสะและอโมหะส่วนบุคคลที่เป็นทุเหตุกะปฏิสนธินั้นไม่สามารถจะศึกษาเล่า
เรียนให้มีความฉลาดรอบรู้ได้ และหากถามว่าจำเป็นต้องศึกษาไหมข้าพเจ้าขอตอบด้วยหัวใจว่าจำเป็นอย่างยิ่งยิ่งกว่าการเรียนวิชาใด ๆ ในโลกนี้แต่หากถามว่าการศึกษาพระอภิธรรมแค่ไหนที่จะเรียกว่าไม่มากเกินไปนั้นคำตอบคือ ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยที่ท่านสร้างมาและเป็นเรื่องความพอใจของแต่ละท่านซึ่งยากที่จะนำมาเปรียบเทียบกัน ในเรื่องนี้ข้าพเจ้าจำแนกบุคคลออกเป็น ๖ ประเภทคือ........................................

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 กรกฎาคม 2554 13:52:05 โดย 時々sometime » บันทึกการเข้า

โลกเรานี้หนอช่างเหมือนความฝันเสียนี่กระไร ?

時々๛कभी कभी๛
สมาชิกถูกดำเนินคดี
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +9/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Nepal Nepal

กระทู้: 1921


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 12.0.742.112 Chrome 12.0.742.112


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 11 กรกฎาคม 2554 13:41:35 »



ผู้ที่ไม่สนใจศึกษาพระอภิธรรมเลยด้วยไม่เคยทราบไม่เเคยแม้จะได้ยินชื่อนี้มาก่อนหรือเคยได้ยินแต่ไม่ทราบว่าคืออะไรประเภทหนึ่งผู้ทีทราบว่าพระอภิธรรมคืออะไรแต่สำคัญผิดเห็นว่าเป็นเพียงคำสอนที่เกจิอาจารย์รจนาขึ้นเพื่อสั่งสอนศิษย์ในภายหลังเท่านั้นไม่ใช่พุทธพจนะ
จึงไม่ศึกษาเล่าเรียนอีกประเภทหนึ่ง

และอีกประเภทหนึ่งผู้ที่ไม่สนใจศึกษเพราะมีความเห็นว่าเป็นเรื่องที่ไม่จำเป็นต้องศึกษาไม่เห็นประโยชน์บุคคลประเภทที่สามนี้นอกจากตนเองไม่ศึกษาแล้วยังมักจะไม่สนับสนุนหรือไม่เห็นด้วยกับผู้ที่ศึกษา  

ส่วนอีกประเภทหนึ่ง คือผู้ที่มีความสนใจที่จะศึกษาแต่คิดว่ายากกลัวว่าจะต้องท่องจำ คิดว่าตนคงไม่สามารถศึกษาพระอภิธรรมได้
หรืออีกประเภทหนึ่ง คือผู้ที่มีความสนใจเพราะคิว่าเป็นธรรมที่ควรศึกษาแต่ไม่มีเวลาหรือสนใจพอประมาณศึกษาบ้างแต่มิได้ขวนขวายหรือแสวงหาครูอาจารย์ อีกประเภทหนึ่งคือผู้ที่ศึกษาพระอภิธรรมเพื่อเป็นพื้นฐานของการปฏิบัติกรรมฐาน  

ประเภทสุดท้ายคือบุคคลที่ทุ่มเทกายใจให้กับการศึกษาพระอภิธรรมเป็นอย่างมากแสวงหาครูอาจารย์และสถานที่เรียนทั้งท่องทั้งจำทั้งยังเผยแผ่แก่ผู้
อื่น บุคคลเหล่านี้ก็มีมากข้าพเจ้าได้แต่อนุโมทนาเมื่อได้ยินว่าท่านเหล่านี้เพื่อน ๆ ร่วมชั้นเรียนพระอภิธรรมของข้าพเจ้าเองเช้าวันเสาร์ไปเรียนที่วัดเพลงวิปัสสนา ฯ บ่ายไปเรียนที่วัดสามพระยาเย็นไปติวที่วัดมหาธาตุ ฯ รุ่งขึ้นวันอาทิตย์เช้าไปเรียนที่วัดสังเวช ฯ แล้วตอนบ่ายกับตอนเย็น ก็ไปเรียนที่อื่น ๆ
อีก เป็นต้น เรียกว่าเรียนได้วันละ ๓ เวลา


บทความโดยย่อมาจาก.............http://www.analaya.com

<table class="maeva" cellpadding="0" cellspacing="0" border="0" style="width: 800px" id="sae1"> <tr><td style="width: 800px; height: 576px" colspan="2" id="saeva1"><script type="text/javascript"><!-- // --><![CDATA[ var oldLoad = window.onload; window.onload = function() { if (typeof(oldLoad) == "function") oldLoad(); if (typeof(aevacopy) == "function") aevacopy(); } // ]]></script><embed type="application/x-mplayer2" src="http://www.fungdham.com/download/song/allhits/21.wma" width="800px" height="576px" wmode="transparent" quality="high" allowFullScreen="true" allowScriptAccess="never" ShowControls="True" autostart="false" autoplay="false" /></td></tr> <tr><td class="aeva_t"><a href="http://www.fungdham.com/download/song/allhits/21.wma" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://www.fungdham.com/download/song/allhits/21.wma</a></td><td class="aeva_q" id="aqc1"></td></tr></table>
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 กรกฎาคม 2554 13:52:55 โดย 時々sometime » บันทึกการเข้า

โลกเรานี้หนอช่างเหมือนความฝันเสียนี่กระไร ?

คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
"พระอนาคตวงศ์" พระพุทธเจ้า 10 พระองค์ ที่จะมาตรัสรู้ในภายภาคหน้า (โดยย่อ)
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 2342 กระทู้ล่าสุด 28 สิงหาคม 2559 04:51:04
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.503 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 28 กันยายน 2566 07:26:30