[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
26 เมษายน 2567 00:26:18 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เรื่องเล่า จากภาพสะสม  (อ่าน 1032 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5461


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 07 กุมภาพันธ์ 2563 13:36:14 »


เรื่องเล่าจากภาพสะสม




คันฉ่อง สมัยรัตนโกสินทร์
ภาพจาก พระตำหนักแดง กรุงเทพมหานคร

คันฉ่อง

ตามพจนานุกรม คันฉ่อง (น.) เหมายถึง เครื่องใช้ทำด้วยโลหะ ขัดจนเป็นเงา มีด้าม ใช้สำหรับส่องหน้า ปัจจุบันเรียกกระจกเงา

คันฉ่อง มักมีด้ามสำหรับถือ. คันฉ่อง ประกอบด้วยคำว่า คัน กับ ฉ่อง.

คัน คือ ด้ามของวัสดุสำหรับถือ

ฉ่อง เป็นคำเดียวกับคำว่า ส่อง

ต่อมาคำว่า คันฉ่อง ใช้เรียกกระจกส่องหน้าแบบหนึ่งที่ตั้งบนโต๊ะเครื่องแป้ง เป็นกระจกที่มีขอบไม้โดยรอบ. ตรงกลางขอบด้านตั้งทั้งสองข้างเจาะรูสอดไม้เป็นเดือย เชื่อมกับขอบไม้ที่ติดอยู่กับเสาทั้ง ๒ ข้าง ทำให้แผ่นกระจกเอียงไปมาเพื่อปรับระดับให้เหมาะแก่ผู้ที่ใช้กระจกได้.  โต๊ะเครื่องแป้งแบบที่ติดตั้งคันฉ่องมักทำเป็นโต๊ะเตี้ย มีลวดลายประดับงดงาม จัดเป็นงานศิลปกรรมอย่างหนึ่งของไทย





กำปั่น

กำปั่น ในภาษาไทยมีหลายความหมาย ความหมายหนึ่งเป็นคำเรียกเรือเดินทะเลแบบหนึ่งในสมัยโบราณ เป็นเรือขนาดใหญ่ หัวเรือเรียวแหลม ท้ายเรือมนและราบในระดับเดียวกับหัวเรือ. เรือกำปั่นมี ๒ แบบ คือ แบบที่ใช้ใบ มีเสากระโดง ๒ หรือ ๓ เสา อยู่กลางลำสำหรับขึงใบเรือ เรียกว่า เรือกำปั่นใบ. อีกแบบหนึ่ง เดินเครื่องด้วยกำลังเครื่องจักรไอน้ำ มีเครื่องต้มน้ำและมีมีปล่องไฟอยู่กลางลำเรือ เรือแบบนี้เรียกว่า เรือกำปั่นไฟ.  คำว่า กำปั่น ที่ใช้เรียกเรือ เป็นคำที่มาจากภาษามลายูว่า kapal (อ่านว่า กา-ปัล).

ความหมายที่ ๒ คำว่า กำปั่น เป็นคำเรียกหีบเหล็กหนาที่ใช้สำหรับเก็บข้าวของมีค่าต่างๆ. กำปั่นมักมีขนาดค่อนข้างใหญ่ จึงมีน้ำหนักมาก เมื่อวางไว้ที่ใดแล้วก็มักจะไม่เคลื่อนย้ายไปไหน  กำปั่นขนาดย่อมมักจะเจาะรู ๔ รู ไว้ข้างใต้ ที่วางกำปั่นจะมีแท่งเหล็กที่มีเดือยสอดเข้าพอดีกับรูและยึดกำปั่นไว้ กันการเคลื่อนย้ายด้วย.



 
ตู้นิรภัย หรือ ตู้เซฟ

ตู้นิรภัย
คำว่า นิรภัย ประกอบด้วย นิร  แปลว่า  ไม่ หรือ ไม่มี  กับ ภัย  แปลว่า สิ่งที่น่ากลัว หรือ อันตราย.  

นิรภัย แปลว่า ไม่มีอันตราย หรือทำให้แคล้วคลาดจากอันตราย  มักใช้ประกอบคำอื่น ทำให้เกิดคำเรียกสิ่งของหลายอย่างที่ทำให้ผู้ใช้ปลอดภัยจากอันตรายในชีวิตและทรัพย์สิน  เช่น ตู้นิรภัย เป็นตู้ที่ใช้เก็บเงิน  เครื่องเพชร  เอกสารสำคัญ และของมีค่าอื่นๆ บางชนิดกันไฟได้ด้วย  บางคนเรียกว่าตู้เซฟ.




หนังใหญ่

หนังใหญ่เป็นมหรสพอย่างหนึ่งที่มีมาแต่สมัยโบราณ ไม่ใช่หนังที่ฉายจอใหญ่ หรือหนังที่ฉายที่โรงใหญ่ ที่เรียกว่าหนังก็เพราะสิ่งที่ใช้แสดงคือตัวหนัง ใช้หนังวัวหนังควายแผ่นใหญ่ๆ ฉลุฉลักเป็นรูปตัวละครในเรื่องที่จะแสดง เช่น เรื่องรามเกียรติ์ก็ฉลุฉลักเป็นรูปพระราม พระลักษณ์ นางสีดา ทศกัณฐ์ พิเภก หนุมาน สุครีพ พาลี เป็นต้น

การแสดงหนังใหญ่เป็นการแสดงภาพตัวหนังที่เชิดหน้าจอผ้าขาว มีไฟอยู่ด้านหน้าผู้เชิด เงาของตัวหนังจะปรากฏบนจอ และผู้เชิดตัวหนังก็แสดงท่าเต้นคล้ายการแสดงโขน มีดนตรี บทพากย์ และบทเจรจาอย่างโขน  

คนเชิดหนังจับตัวหนังซึ่งเป็นแผ่นใหญ่มาก เต้นไปตามบทและตามดนตรี  หนังใหญ่จึงเป็นการแสดงโขนรวมกับการแสดงหนัง  

ด้วยเหตุที่การแสดงหนังใหญ่ต้องลงแรงลงทุนมาก ทั้งไม่ค่อยมีผู้นิยมดู เนื่องจากนิยมดูภาพยนตร์หรือหนังฝรั่งกันหมด การแสดงหนังใหญ่จึงค่อยๆ หายไปจากสังคมไทย  นานไปอาจจะสูญไปเลยก็ได้หากไม่ช่วยกันรักษาและสืบทอดไว้




ภาพจาก พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ "เรือพระราชพิธี"

หนุมาน

หนุมานเป็นพญาวานรที่เป็นทหารเอกของพระราม  มีผิวกายสีขาว มีกุณฑล (ตุ้มหู) ขนเพชร เขี้ยวแก้ว หาวเป็นดาวเป็นเดือน

หนุมานเป็นลูกของนางสวาหะกับพระพายซึ่งเป็นเทพแห่งลม หนุมานจึงมีชื่อว่า วายุบุตร ด้วย

หนุมาน แปลว่า ผู้มีคาง หมายถึง หนุมานมีคางใหญ่และเด่น

พระอิศวรเล็งเห็นว่านางสวาหะผู้ถูกนางกาลอัจนาสาปให้ไปยืนตีนเดียวเหนี่ยวกินลมอยู่ที่เชิงเขาจักรวาลสมควรมีลูกที่จะได้เป็นทหารเอกของพระราม จึงให้พระพายเอากำลังและอาวุธของพระองค์ไปซัดเข้าปากนางสวาหะเพื่อให้เกิดลูกผู้เก่งกล้า อาวุธทั้ง ๓ อย่างคือ จักรแก้วกลายเป็นหัว ตรีเพชรกลายเป็นร่างกายและมือเท้า คทาเพชรก็กลายเป็นสันหลังถึงหาง เมื่อจะทำลายล้างศัตรูให้ชักเอาตรีเพชรที่อกออกมา ให้พระพายเป็นบิดาและเป็นผู้รักษากุมารนั้น

หนุมานมีกำเนิดที่พิเศษกว่าลิงอื่นๆ คือกระโดดออกจากปากของมารดาในวันอังคาร เดือนสาม ปีขาล มีผิวกายสีขาว มีขนาดเท่ากับผู้มีอายุได้  ๑๖  ปี




ภาพจาก : พิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย กรุงเทพมหานคร

เช่า

เช่า แปลว่า เข้าใช้ทรัพย์สินของผู้อื่นชั่วคราว โดยจ่ายค่าเช่าเป็นเงินหรือสิ่งของ เช่น เช่าบ้าน เช่าที่ดิน เช่ารถยนต์ เช่าชุดแต่งงาน เช่าเครื่องประดับหรือของใช้ต่างๆ

นักศึกษาเช่าชุดครุยเพื่อเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร

ชาวนาบางคนเช่าที่ทำนาแล้วจ่ายค่าเช่าเป็นข้าวเปลือก

ผู้ให้เช่าอาจเก็บค่าเช่าเป็นรายชั่วโมง รายวัน  รายสัปดาห์  รายเดือน หรือรายปี ก็ได้ ในทางกฎหมายเรียกว่า เช่าทรัพย์

การเช่ามีหลายประเภท เช่น  เช่าช่วง  คือการที่ผู้เช่าเอาทรัพย์สินที่ตนเช่าไปให้ผู้อื่นเช่าอีกทอดหนึ่ง เช่น คนขับรถแท็กซี่ให้เพื่อนเช่าช่วงตอนกลางคืน.

เช่าซื้อ คือซื้อสิ่งที่มีราคาแพงอย่างบ้าน ที่ดิน รถยนต์ โดยการผ่อนชำระเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นงวดๆ เมื่อชำระครบตามสัญญาแล้ว ทรัพย์สินจะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้เช่าซื้อ

ส่วนการเช่าที่ดินที่เป็นสวนเพื่อทำมาหากินโดยการปลูกพืชผักผลไม้ เรียกว่า เช่าถือสวน หรือ ถือสวน




สหัสสเดชะ (ทวารบาล) วัดอรุณราชวราราม กรุงเทพฯ


ยักษ์ทวารบาล วัดอรุณราชวราราม กรุงเทพฯ

ยักษ์

ยักษ์ เป็นอมนุษย์พวกหนึ่ง มีกล่าวถึงทั้งในทางศาสนาและวรรณคดี

ยักษ์มีรูปร่างใหญ่โต มีเขี้ยว มีฤทธิ์ เป็นบริวารของท้าวกุเวรผู้เป็นโลกบาลประจำทิศเหนือ

ตามความเชื่อทางพระพุทธศาสนา ยักษ์ส่วนใหญ่รักษาศีล นับถือและปกป้องพระพุทธศาสนา คนไทยจึงนิยมสร้างประติมากรรมรูปยักษ์ขนาดใหญ่ไว้บริเวณซุ้มประตูทางเข้าศาสนสถานสำคัญๆ หรือเขียนรูปยักษ์ไว้ที่บานประตู เพื่อให้ทำหน้าที่เป็นทวารบาลปกป้องพุทธสถาน เช่น ช่องประตูพระระเบียงคดของวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) เป็นยักษ์ปูนปั้น สูงประมาณ ๖ เมตร จำนวน ๑๒ ตน  

ซุ้มประตูทางเข้าพระมณฑปของวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) มีรูปยักษ์ขนาดเล็กหล่อด้วยโลหะ สูงประมาณ ๑๗๕ เซนติเมตร จำนวน ๘ ตน  และซุ้มประตูทางเข้าพระวิหารวัดอรุณราชวราราม (วัดแจ้ง) เป็นยักษ์ปูนปั้น สูงประมาณ ๖ เมตร จำนวน ๒ ตน




"อับเฉา" ตุ๊กตาหินเนื้อสีเทา
ภาพจาก : วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพฯ

อับเฉา

คำ อับเฉา ถ้าเป็นคำวิเศษณ์หมายถึงไม่สดชื่น ไม่ชื่นบาน  แต่ที่จะกล่าวถึงนี้คือคำนามซึ่งหลายคนอาจไม่ทราบความหมาย  อับเฉาคือสิ่งที่เป็นของใช้ถ่วงเรือกันเรือโคลง  ดังนั้นสิ่งที่ใช้เป็นอับเฉาจึงมักจะมีน้ำหนักมากอย่างหินหรือทราย

อับเฉามิได้เป็นเพียงแค่สิ่งที่ใช้ถ่วงน้ำหนักเรือ เมื่อนำมาทำให้สวยงามก็สามารถใช้ประดับตกแต่งสถานที่ได้ อย่างในประเทศไทยใช้อับเฉาที่เป็นตุ๊กตาหินศิลปะจีนตกแต่งพระราชวังหรือวัด ซึ่งมีปรากฏมาตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น หรืออาจมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา  

ตุ๊กตาหินเหล่านี้ทำจากหินเนื้อสีเทา แต่ยังไม่มีหลักฐานว่าเป็นวัสดุที่ผสมขึ้นแล้วปั้น แกะสลักจากหิน หรือเป็นวัสดุเช่นเดียวกับศิลาแลงที่ปั้นได้ขณะยังไม่แข็งตัว มีรูปต่างๆ เช่น สิงโต มังกร ช้าง ม้า  ที่ทำเป็นรูปมนุษย์ก็มีรูปขุนนางจีนฝ่ายบู๊ ฝ่ายบุ๋น สตรี ทหารแต่งกายอย่างฝรั่ง  

เรื่องตุ๊กตาหินนี้มีกล่าวไว้ในหนังสือพจนานุกรมศัพท์ศิลปกรรม อักษร ซ-ฮ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ซึ่งให้ข้อมูลว่า พ่อค้าชาวจีนนำตุ๊กตาหินดังกล่าวเข้ามาในประเทศไทยโดยใช้เป็นอับเฉาของเรือสำเภา เพื่อถ่วงน้ำหนักเรือกันเรือถูกพายุพัดล่ม เนื่องจากเมื่อเดินทางมาซื้อสินค้าจากไทยกลับไปขายที่ประเทศตนนั้นเรือสำเภาจะว่างและเบา แต่มีบางส่วนอาจนำเข้ามาถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งเมื่อยังดำรงพระราชอิสริยศเป็นพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (พระองค์เจ้าทับ) ทรงดำรงตำแหน่งเจ้ากรมท่า  และสันนิษฐานว่าคงมีการนำเข้ามาหลายครั้ง จึงพบว่ามีประดับอยู่ตามพระอารามต่างๆ ทั้งพระอารามที่มีอยู่เดิม และที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯ ให้สร้างขึ้นใหม่หรือบูรณปฏิสังขรณ์ตามแบบพระราชนิยม เช่น วัดอรุณราชวราราม วัดเทพธิดาราม ในภายหลังจึงมีการสั่งซื้อเข้ามาถวายวัดหรือตั้งประดับในอาคารสถานที่ของข้าราชการผู้ใหญ่และวังเจ้านาย

เมื่อกล่าวถึงตุ๊กตาหินศิลปะจีนแล้ว ก็ขอกล่าวถึงตุ๊กตาหินที่เป็นศิลปะของไทยด้วย แต่ตุ๊กตาเหล่านี้ไม่ได้ใช้เป็นอับเฉา เช่น ตุ๊กตาหินทรายรูปเจ้าเงาะกับนางรจนา รูปพระสุธนกับนางมโนราห์ รูปไกรทองกับนางวิมาลา และรูปหนุมานกับนางสุพรรณมัจฉา ปัจจุบันเก็บอยู่ในพิพิธภัณฑ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม  เข้าใจว่าคงจะทำขึ้นในสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ลักษณะทั่วไปของตุ๊กตาหินเหล่านี้คล้ายรูปที่หล่อด้วยโลหะหรือรูปที่แกะสลักด้วยไม้ตามแบบศิลปะไทย


ข้อมูลจาก เว็บไซต์ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
700/24

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14 กุมภาพันธ์ 2563 09:32:24 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5461


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 14 กุมภาพันธ์ 2563 09:38:53 »


เรื่องเล่าจากภาพสะสม





พัดลมไฟฟ้า - ความเป็นมา

พัดลมไฟฟ้า คือ เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนชนิดหนึ่ง ช่วยคลายความร้อนจากอากาศที่ร้อนอบอ้าว ทำงานโดยกำลังของมอเตอร์ขับใบพัดให้หมุนพัดพาลมเข้ามาระบายความร้อน

ประเทศไทยมีภูมิอากาศร้อน พัดลมจึงเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่นิยมอย่างแพร่หลายในประเทศไทย และมีราคาถูกกว่าเครื่องปรับอากาศ

พัดลมไฟฟ้าเครื่องแรกของโลกเกิดขึ้นจากการประดิษฐ์ของ ชอยเลอร์ วีลเลอร์ (Schuyler Wheeler) วิศวกรชาวอเมริกัน ที่จบการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์จากวิทยาลัยโคลัมเบีย  โดยก่อนการประดิษฐ์พัดลมไฟฟ้า วีลเลอร์ ในวัย21ปี เริ่มต้นทำงานเป็นผู้ช่วยช่างไฟฟ้าที่บริษัท จาบลอชคอฟฟ์ และมีโอกาสร่วมงานเป็นวิศวกรกับ โทมัส เอดิสัน เพื่อวางระบบไฟฟ้าใต้ดิน ก่อนที่เขาจะออกมาร่วมงานกับบริษัท ซีแอนด์ซี มอเตอร์ไฟฟ้า ที่นี่ถือได้ว่าเขาเป็นผู้บุกเบิกการผลิตมอเตอร์ไฟฟ้าขนาดเล็ก และนำไปสู่การผลิตพัดลมไฟฟ้าโดยใช้ไฟฟ้ากระแสตรงและพัฒนารูปแบบมาใช้ไฟฟ้ากระแสสลับ  ในปี พ.ศ.๒๔๓๑ วีลเลอร์ ร่วมกับฟรานซิส คร๊อคเกอร์ ก่อตั้งบริษัท คร๊อคเกอร์แอนด์ วีลเลอร์ มอเตอร์ และขยายกิจการอุตสาหกรรมด้านอิเล็กทรอนิกส์ จนใหญ่เป็นอันดับ ๓ ของสหรัฐอเมริกา





นาฬิกาปลุก

นาฬิกาปลุก คือ นาฬิกาที่ถูกออกแบบมาเพื่อสร้างเสียงที่ดังเป็นพิเศษในเวลาที่กำหนด โดยมีจุดประสงค์เพื่อปลุกผู้ที่นอนหลับหรืองีบหลับเป็นเวลาสั้นๆ ให้ตื่นขึ้น หรืออาจใช้ในการเตือนความจำก็ได้เช่นกัน สำหรับการปิดเสียงของนาฬิกาปลุก จะต้องกดปุ่มหรือด้ามบนตัวนาฬิกา รวมไปถึงนาฬิกาที่สามารถปิดเสียงเองได้เมื่อเวลาผ่านไป นาฬิกาปลุกแบบอนาล็อกอาจมีเข็มนาฬิกาพิเศษที่สามารถใช้กำหนดเวลาปลุกได้

นาฬิกาปลุกในสมัยโบราณใช้เสียงกระดิ่ง และในยุคดิจิตอล นาฬิกาสามารถใช้เสียงอื่นแทนได้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเสียงบี๊บ นอกจากนั้นเป็นเสียงหัวเราะ เสียงดนตรี เสียงไก่ขัน นาฬิกาปลุกสมัยใหม่อาจมีให้เลือกมากกว่า ๑ เสียง นาฬิกาปลุกอีกประเภทใช้เสียงจากวิทยุ ซึ่งจะเริ่มเล่นเมื่อถึงเวลาที่กำหนด

ประวัติของนาฬิกาปลุกเรือนแรกของโลก ประดิษฐ์โดย นายเลวี ฮัตชินส์ ชาวอเมริกัน ในปี ค.ศ.๑๗๘๗

ฮัตชินส์เป็นชาวเมืองคองคอร์ด ในรัฐนิวแฮมเชียร์ สหรัฐอเมิรกา  ตอนนั้นเขามีอายุได้ ๒๖ ปี เขาเป็นคนที่นอนขี้เซามาก และนอนตื่นสายเป็นประจำ อาการนอนขี้เซาตื่นสายไม่ยอมตื่นเมื่อถึงเวลาอันควรนี้เองจึงกลายเป็นปัญหาในการดำเนินชีวิตสำหรับเขา เขาจึงคิดแก้ปัญหาว่าจะทำอย่างไรเมื่อถึงเวลาที่เขาควรจะตื่นนอนนาฬิกาที่เขามีอยู่จะต้องส่งเสียงเตือนให้เขารู้สึกตัวและสะดุ้งตื่นได้ หลังจากคิดได้ก็ลงมือทำ เขาใช้เวลาเพียง ๒-๓ วัน ก็ประดิษฐ์ได้สำเร็จ นาฬิกาของเขามีขนาดกว้าง ๒๙ นิ้ว สูง ๑๔ นิ้ว ขนาดค่อนข้างใหญ่และตั้งเปลี่ยนเวลาไม่ได้ เลวีจึงตั้งนาฬิกาเอาไว้ให้ปลุกทุกเช้าตอนตี ๔ เป็นประจำ

นาฬิกาดังกล่าวเลวีคิดเพียงว่าขอให้ได้ใช้งานมีนาฬิกาเอาไว้ปลุกให้ตัวเองตื่นนอนไปทำงานไม่สายเป็นใช้ได้จึงไม่ได้นำไปจดลิขสิทธิ์หรือตั้งเป็นโรงงานผลิตขาย แต่อย่างไรก็ตามถือได้ว่า เลวี คือบุคคลต้นคิดคนแรกที่ทำให้ผู้คนเล็งเห็นความจำเป็นที่จะต้องมีนาฬิกาไว้เพื่อการปลุกและถือเป็นแนวคิดริเริ่มของการมีนาฬิกาปลุกไว้ใช้งานกัน

ต่อมาตลาดนาฬิกาปลุกมาบูมอีกครั้งในปี ค.ศ.๑๙๑๐ เมื่อ บริษัท เวสเทิร์น คล็อก หรือที่รู้จักกันดีกว่า เวสต์คล็อกซ์ (Westclox) ลงโฆษณานาฬิกาปลุกรุ่น "บิ๊กเบน" ในหนังสือพิมพ์แซตเทอร์เดย์ อีฟวนิ่ง โพสต์ และออกจำหน่ายเป็นที่ขายดิบขายดีในปีนั้น


ขอขอบคุณที่มาข้อมูล :-
- 168iguru.blogspot.com
- วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี

700/24
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14 กุมภาพันธ์ 2563 09:58:10 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
เรื่องเล่า พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จพระราชทานเพลิงศพเจ้าจอมมารดาน้อยใหญ่
สุขใจ ห้องสมุด
Kimleng 0 2622 กระทู้ล่าสุด 21 พฤษภาคม 2556 16:12:42
โดย Kimleng
เรื่องเล่า อิทธิปาฏิหาริย์พระเกจิ
สมถภาวนา - อภิญญาจิต
มดเอ๊ก 0 1141 กระทู้ล่าสุด 26 กรกฎาคม 2559 11:42:28
โดย มดเอ๊ก
[ไทยรัฐ] - เรื่องเล่า “แอร์พอร์ตลิงก์” (1) ครั้งหนึ่ง “ในความทรงจำ”
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 133 กระทู้ล่าสุด 07 กุมภาพันธ์ 2566 08:58:43
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ไทยรัฐ] - เรื่องเล่า “แอร์พอร์ตลิงก์” (2) ทุกอย่าง “ยังเหมือนเดิม”
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 107 กระทู้ล่าสุด 08 กุมภาพันธ์ 2566 07:36:09
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - เรื่องเล่า 'เด็กบ้านนาย' ฉบับโดนบังคับไป จากอดีต 'ทหารเกณฑ์'
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 26 กระทู้ล่าสุด 12 มีนาคม 2567 19:09:48
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.432 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 13 เมษายน 2567 16:03:23