[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 เมษายน 2567 20:43:24 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: อู่ (เปลนอนเด็ก) เอกลักษณ์ความเป็นอยู่ของไทยโบราณ  (อ่าน 585 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5469


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 09 มีนาคม 2563 15:59:49 »


อู่ เปลนอนเด็ก หาชมได้ยากมาก และอาจสูญหายไปตามกาลเวลา


เหนืออู่ มักนิยมแขวนปลาตะเพียนสานจากใบลานแห้ง เพื่อความเป็นสิริมงคล เพราะเชื่อกันว่าปลาตะเพียนเป็นสัญลักษณ์
แห่งความสมบูรณ์ เป็นสัตว์น้ำที่รักสงบ ปราดเปรียวว่องไว และอีกเหตุผลหนึ่งคือเพื่อเป็นการฝึกกล้ามเนื้อตาของเด็ก



อู่ (เปลนอนเด็ก)
เอกลักษณ์ของความเป็นไทย

อู่ (เปลนอนเด็ก) คือ เปลนอน สำหรับเด็ก ที่ไกวไปมาได้ ใช้สำหรับเด็กโดยเฉพาะเด็กอ่อน

คนไทย มีความเชื่อที่ยึดถือปฏิบัติเกี่ยวกับการเกิด หลังจากคลอดทารกแล้ว การเลี้ยงดูทารกจะมีความเชื่อเกี่ยวกับเครื่องใช้เครื่องเรือนที่เกี่ยวข้องกับการดูแลเด็กอย่างหนึ่งคือ “อู่” หรือเปลนอน เมื่อเด็กเกิดได้ ๑ เดือนไปแล้ว เด็กควรจะได้นอนอู่ ซึ่งอาจเป็นเรื่องของความรู้สึกทางจิตใจ หรืออาจมีเหตุผลหรือไม่มีในเรื่องดังกล่าว

อู่ หรือ เปลนอน ทำด้วยไม้ เช่น ไม้สัก หรือไม้เนื้อแข็งอื่นๆ หรือสานด้วยไม้ไผ่ โดยผู้เป็นพ่อจะเป็นผู้จัดหา ถ้าทำเองไม่เป็นจะต้องไปจ้างวานผู้อื่นทำให้

เปลนอนอาจทำเป็นคอกมีขนาดกว้างและสูงประมาณ ๖๐ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๘๐ เซนติเมตร โดยทำกรอบและซี่ด้วยไม้เนื้อแข็ง ด้านล่างอาจใช้ฟากสับหรือไม้แผ่นปูเป็นพื้นแล้วปูเสื่อทับ ก่อนที่จะมีฟูกหรือผ้าปึงคือเบาะทับอีกทีหนึ่ง

นอกจากอู่ที่ทำเป็นคอกไม้แล้ว ยังมีอู่ที่ใช้ไม้ไผ่สานอีกด้วย ซึ่งอู่ที่สานด้วยไม้ไผ่นี้ มีกฎเกณฑ์ว่าต้องให้ได้โฉลก จะใช้ไม้ไผ่บงแก่มาจักเป็นตอกที่มีความแข็งพอสมควร แล้วสานจากด้านล่างขึ้นไปหักขอบและใช้ไม้ไผ่ผ่าซีกมาทำเป็นกรอบเพื่อให้อู่นั้นแข็งแรงเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ในการสานอู่ให้มีตาอยู่โดยรอบทางด้านข้างนั้น มีเคล็ดอยู่ว่าผู้สานจะนับตาอู่ให้ได้โฉลก ผู้สานต้องนับตาของอู่ให้ดี ให้เริ่มนับตั้งแต่ตาที่อยู่ตรงกลางของก้นอู่นับขึ้นไปทางปาก พร้อมกับกล่าวคำโฉลกว่า ตาหลับ ตามืน อย่าให้ตรงกับ “ตามืน” คือตาลืม เพราะจะทำให้เด็กไม่ค่อยหลับหรือหลับไม่สนิท ต้องสานไปให้ได้โฉลก “ตาหลับ” เด็กที่นอนถึงจะหลับดี

สายอู่นั้นจะใช้เชือกผูกวัวควายมาผูกไม่ได้ เพราะจะทำให้เด็กคนนั้นเป็นคนที่กินอะไรไม่รู้จักหยุด ไม่รู้จักอิ่ม และทำให้เด็กดื้ออีกด้วย ทั้งนี้คงดูตามลักษณะการกินหญ้าของวัวควายที่กินทั้งวันไม่มีหยุด และหตุผลที่ห้ามเอาเชือกวัวเชือกควายมาทำสายอู่ คงเป็นเพราะว่าเชือกวัวเก่าที่ถูกน้ำถูกแดดมาก่อน เมื่อนำมาเป็นสายอู่จะทำให้ขาดได้ง่าย เป็นอันตรายแก่เด็ก

อู่นี้ หากใช้บนบ้านก็อาจใช้แขวนไว้กับขื่อ แต่หากแขวนไว้เลี้ยงเด็กอยู่ใต้ถุนบ้านก็อาจแขวนกับแวง หรือรอด โดยใช้เชือกสองเส้นรับน้ำหนักของหัวและท้ายอู่ หากที่แขวนอู่อยู่สูงจากตัวอู่มากแล้ว ก็จะสามารถไกวอู่ให้ได้ระยะทางมาก ซึ่งหมายความว่าเด็กที่นอนในอู่จะมีโอกาสรับลมได้มาก ทั้งนี้จะมีเชือกสำหรับดึงอู่ให้ไกวไปกลับตามต้องการ อู่ดังกล่าวนี้นิยมเรียกว่า อู่รังหมี  ดังปรากฏว่ามีปริศนาอยู่บทหนึ่งซึ่งมีคำเฉลยว่าอู่ มีคำปริศนาว่า”อุ้มลุ้มเท่ารังหมี จะหนีจะหนีชักไว้”

ครั้งแรกที่จะนำเด็กนอนอู่ จะมีเคล็ดคือ ให้ผู้ที่อุ้มเด็ก ต้องกลั้นลมหายใจ หลับตา แล้วจึงค่อยเอาเด็กลงนอน เด็กจะนอนหลับดี ไม่สะดุ้งตกใจ  ถ้าเด็กยังไม่หลับ แม่ก็จะกล่อมเด็กให้หลับ  

หากเด็กเสียชีวิตในขณะที่ยังเป็นทารกแล้ว เหนือหลุมฝังศพของทารกนั้น จะมีอู่ที่เจ้าตัวเคยใช้วางคว่ำครอบอยู่บนหลักที่ปักไว้ทั้งสี่มุมของหลุมศพนั้น


เพลงกล่อมเด็กมีหลายเนื้อหลายทำนอง แล้วแต่ละท้องถิ่นจะร้องกล่อมกัน  
ตัวอย่างเพลงกล่อมลูกของคนล้านนา
เช่น ถ้าผู้เป็นแม่ไปธุระ ผู้เป็นพ่อจะเป็นคนร้องเพลง
ร้องกลับไปกลับมา จนกว่าลูกจะหลับ ว่า
“บุตตาเหย           หลับเวยๆ อย่าไห้
พ่ออื่อไท้ว่าชาชา          หลับสองตากุมาราอย่าไห้”


อีกบทหนึ่งว่า
อื่อ.. อือ.. อือ..อื้อ.. อิอ.. อื่อ..     อือ.. อื่อ.. อือ ชา
หลับสองตาถ้าแม่นายมาค่อยตื่น  หลับบ่ชื่นค่อยหลับแถม
อื้อ.. อือ.. อื่อ..อือ.. อิอ.. อือ..      อือ
เจ้าไห้อยากกินชิ้นบ่มีไผไปหา    เจ้าไห้อยากกินปลาบ่มีไผไปส้อน
มีเช้าเย็นสองสามก้อน           กินแล้วลวดหลับไป
อื้อ.. อือ.. อื่อ..อือ.. อิอ.. อือ..          อือ



อู่ชั่วคราวที่ทำได้โดยใช้ผ้าขาวม้าหรือผ้าปูที่นอน
ผูกโยงสองหัวท้ายเข้ากับเสาเรือน เพื่อให้เด็กได้นอนอย่างอู่


Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 มีนาคม 2563 16:03:20 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.321 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 20 เมษายน 2567 00:06:06