[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 มีนาคม 2567 23:31:04 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สะพานข้ามแม่น้ำแคว เงาทมึนหยาดเหงื่อเชลยศึก จ.กาญจนบุรี  (อ่าน 921 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 08 มีนาคม 2563 18:32:13 »










สะพานข้ามแม่น้ำแคว
อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี

ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติมาก ในเดือนกรกฏาคม พ.ศ.๒๔๘๐ ญี่ปุ่นมีความประสงค์ที่จะครองความเป็นใหญ่ทางเศรษฐกิจในเอเชียและแปซิฟิก จึงยกกองทัพเข้าไปรุกรานประเทศจีน เพื่อจะเข้ายึดครองจีนเหนือและมองโกเลียชั้นใน แต่ญี่ปุ่นคาดการผิด การสงครามในประเทศจีนมิใช่ของง่ายอย่างที่ได้เคยคิดไว้ จีนเกิดมานะที่จะต่อสู้กับญี่ปุ่นไปจนถึงที่สุด ได้พยายามต่อต้านญี่ปุ่น จนเป็นศัตรูกับญี่ปุ่นอย่างจริงจัง

การรุกรานของญี่ปุ่นที่กระทำต่อประเทศจีนนั้น ได้ทำให้สหรัฐอเมริกาและประเทศประชาธิปไตยในประเทศยุโรป เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส ตำหนิติเตียนญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก ซึ่งญี่ปุ่นก็ถือว่าประเทศเหล่านี้เป็นศัตรูของตน แต่ญี่ปุ่นก็ยังมีประเทศพันธมิตรอยู่ในยุโรปอีกสองประเทศซึ่งเป็นประเทศเผด็จการ คือ เยอรมัน และอิตาลี  


สงครามโลกครั้งที่ ๒
การทำสงครามกับประเทศจีนซึ่งยืดยื้อมาถึงสี่ปี ทำให้ญี่ปุ่นต้องเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจ ประเทศประชาธิปไตยในตะวันตกต่างพากันระงับการส่งสินค้าที่จำเป็นให้แก่ญี่ปุ่น หากปล่อยต่อไปแล้วจะเป็นการทำลายกำลังญี่ปุ่นลดน้อยลงไปอย่างมาก ญี่ปุ่นก็จะทำสงครามในจีนได้โดยยากและอาจจะต้องเสียความยิ่งใหญ่ในทางทหารซึ่งเคยมีมาก่อนในตะวันออกไกล  

ในปี พ.ศ.๒๔๘๔ เกิดสงครามขึ้นในยุโรป ระหว่าง เยอรมันกับอังกฤษ ฝรั่งเศส และประเทศพันธมิตรอื่นๆ โรงงานต่างๆ ในยุโรปต้องเลิกผลิตสินค้าตามปกติเพื่อหันมาผลิตสินค้าที่ใช้ในการสงคราม  

ญี่ปุ่นซึ่งคำนึงถึงความรุ่งเรืองในทางเศรษฐกิจก็เห็นว่าโชคดีของตนได้ปรากฏขึ้นแล้ว ญี่ปุ่นย่อมจะมีโอกาสที่จะขยายอาณาจักรทางเศรษฐกิจออกไปได้อย่างกว้างขวาง  เพราะในตอนแรกแห่งสงครามนั้นเยอรมันทำท่าว่าเป็นฝ่ายได้เปรียบและอาจจะชนะสงคราม  ในระยะนั้นประเทศในตะวันออกไกลไม่มีผู้ใดสนใจสงครามใหญ่ในยุโรป ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้ ญี่ปุ่นซึ่งมีอำนาจทางทหารจึงเห็นว่ามีทางเดียวที่จะแก้ลำที่สหรัฐอเมริกาไม่ยอมจะปรองดองกับตนและยังกล่าวหาว่าญี่ปุ่นรุกรานจีน และเป็นการแก้ปัญหาในการที่ประเทศเหล่านั้นห้ามส่งสินค้าที่จำเป็นมายังประเทศญี่ปุ่น

ญี่ปุ่นจึงโจนเข้าสู่สงครามครั้งนั้นโดยปราศจากความยั้งคิดและเป็นการนำมาซึ่งความปราชัยในที่สุด

ในวันที่ ๗ ธันวาคม ๒๔๘๔ ญี่ปุ่นที่เคยช่วยให้ไทยได้ดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงมาจากฝรั่งเศส ได้ส่งเอกอัครราชทูตเข้าพบนายกรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาลเมื่อเวลา ๒๓ นาฬิกา เพื่อขออาศัยดินแดนไทยเป็นทางผ่านในการเคลื่อนทัพ ก่อนการประกาศสงครามกับอังกฤษและสหรัฐฯ ในวันที่ ๘ ธันวาคม แต่ จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น อยู่ระหว่างเดินทางไปราชการที่ต่างจังหวัด ทำให้ขาดผู้มีอำนาจในการสั่งการ

ญี่ปุ่นไม่รอช้ายกพลขึ้นบกทางอ่าวไทย แล้วแยกย้ายกันไปตั้งค่ายในพื้นที่ชายฝั่งทะเลของไทย พร้อมกัน ๗ พื้นที่ แม้ว่าทางการไทยจะยังมิได้ให้ความยินยอม จนนำไปสู่การสู้รบระหว่างกองทัพญี่ปุ่นกับเจ้าหน้าที่ไทย ที่อ่าวมะนาว จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และที่ปัตตานี หลังจากที่เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นเดินทางไปขอพบนายกรัฐมนตรีไทยเพียงไม่กี่ชั่วโมง ก่อนที่ไทยจะออกประกาศให้ทหารและตำรวจหยุดยิงและให้อำนวยความสะดวกให้กองทัพญี่ปุ่นเดินทัพผ่านดินแดนไทย เพื่อไปมาเลเซีย สิงคโปร์ และพม่า

ต่อมาในวันที่ ๙ ธันวาคม ได้มีการเรียกประชุมวิสามัญของสภาผู้แทนราษฎรเป็นการด่วนเพื่อที่รัฐบาลจะได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า ทางรัฐบาลได้ยินยอมให้ญี่ปุ่นผ่านประเทศไทยเพื่อไปมาเลเซีย สิงคโปร์ และพม่า “เพราะไม่มีทางจะต่อสู้ต้านทานกำลังกองทัพญี่ปุ่นได้จึงยอมตามคำขอ”  

นายประเสริฐ ปัทมะสุนธ์ อดีตเลขาธิการรัฐสภา  กล่าวว่า “...เป็นการประชุมที่แสนเศร้าที่สุด ทั้งสมาชิกสภา รัฐมนตรี ได้อภิปรายซักถามโต้ตอบกันด้วยน้ำตานองหน้า ความรู้สึกของทุกคนในขณะนั้น คล้ายกับว่าเด็กถูกผู้ใหญ่ที่มีกำลังมหาศาลรังแก จะสู้ก็สู้ไม่ได้ ทั้งมีความวิตกว่า ประเทศไทยได้สูญเสียเอกราชอธิปไตยไปแล้ว”


อนุสรณ์สถาน : สะพานข้ามแม่น้ำแคว
สะพานข้ามแม่น้ำแคว สร้างขึ้นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางรถไฟสายมรณะที่แม่ทัพญี่ปุ่นต้องการใช้เป็นเส้นทางส่งกำลังบำรุงจากสิงคโปร์ผ่านทะลุมาเลเซีย มุ่งเหนือขึ้นไทยเพื่อจะเข้าไปตีกองทัพอังกฤษในประเทศพม่า โดยแม่ทัพญี่ปุ่นได้บอกกับ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ว่าจะสร้างทางรถไฟจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ข้ามแม่น้ำแควใหญ่ที่บริเวณท่ามะขาม (สมัยนั้นเรียกว่าบ้านท่าม้าข้าม) ตำบลท่ามะขาม อำเภอเมืองกาญจนบุรี ซึ่งอยู่เหนือตัวเมืองกาญจนบุรี ประมาณ ๔ กิโลเมตร ไปเมืองซันบูซายัต ประเทศพม่า รวมระยะทาง ๔๑๕ กิโลเมตร อยู่ในเขตไทยประมาณ ๓๐๓.๙๕ กิโลเมตร และอยู่ในเขตประเทศพม่า ๑๑๑.๐๕ กิโลเมตร โดยมีจุดมุ่งหมายจะโจมตีกองทัพอังกฤษซึ่งตั้งฐานทัพอยู่ในประเทศพม่า  

ช่วงแรก ญี่ปุ่นได้เร่งรัดให้สร้างสะพานรถไฟเพื่อใช้สัญจรไปมาข้ามลำน้ำแควใหญ่เป็นการชั่วคราวก่อน เนื่องจากอุปสรรคความยากลำบากของภูมิประเทศ เพราะลำน้ำแควใหญ่ช่วงที่จะทำการสร้างสะพานข้ามนี้ เป็นช่วงที่แม่น้ำมีความกว้าง น้ำลึก กระแสน้ำเชี่ยวกราก และพื้นดินด้านล่างมีความหนาแน่น จึงสร้างเป็นสะพานไม้ ห่างจากสะพานปัจจุบันไปทางใต้ประมาณ ๑๐๐ เมตร ใช้เวลาในการก่อสร้าง ๓ เดือน

ต่อมา สะพานไม้ชั่วคราวถูกทำลายเพราะพายุฝนกระหน่ำอย่างหนัก ญื่ปุ่นจึงได้นำชิ้นส่วนสะพานเหล็กสำเร็จรูปบรรทุกเรือมาจากอินโดนีเซีย สร้างเป็นสะพานเหล็กถาวรโดยนำเหล็กมาประกอบกัน วางราง โดยให้เชลยศึกประกอบขึ้น สะพานมีความยาวทั้งหมด ๓๐๐ เมตรแบ่งเป็นสะพานเหล็กโค้ง ๑๑ ช่วง (ตอม่อคอนกรีต) ช่วงอื่นๆ เป็นสะพานไม้  สะพานสร้างเสร็จเมื่อวันที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๘๖ เปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๒๕  ตุลาคม พ.ศ.๒๔๘๖ แล้วจึงรื้อสะพานชั่วครามเดิมออก  

ทหารญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่ ๒ ได้ชื่อว่ามีความกล้าหาญเด็ดเดี่ยว อาจเป็นด้วยการปลูกฝังค่านิยม “ยอมตายไม่ยอมแพ้” จึงรบสุดใจขาดดิ้น สามารถรบชนะในทุกสมรภูมิ และจับเชลยศึกได้นับหมื่นคน  กองทัพญี่ปุ่นจึงนำเชลยศึกซึ่งเป็นทหารฝรั่ง สัญชาติ อังกฤษ นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย อเมริกา ฯลฯ ซึ่งถูกจับกุมในบริเวณต่างๆ ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และย่านแปซิฟิก มาใช้เป็นแรงงานก่อสร้างสะพานและทางรถไฟในจังหวัดกาญจบุรี

เชลยศึกที่สร้างสะพานข้ามแม่น้ำแควใหญ่นี้ไม่อาจระบุจำนวนที่แน่นอนได้ เชลยกองทัพเหล่านี้ได้รับความทุกข์ทรมานแสนสาหัสจากการทำงานอย่างหนักในป่าดงดิบของกาญจนบุรี ต้องขาดแคลนอาหาร ไม่มีเสื้อผ้าจะใส่ถึงขนาดต้องนุ่งผ้าเตี่ยว ต้องป่วยตายจากมาลาเรีย อหิวาต์ แผลเน่าติดเชื้อ โรคบิด และขาดอาหาร

ศพนับหมื่นถูกฝังไว้เรี่ยราด ตายตรงไหนก็ฝังตรงนั้น  เชลยศึกคนหนึ่งกล่าวว่า “สะพานนี้เปรียบเสมือนหลุมศพของหลายๆ ชีวิต”

เมื่อสงครามยุติลง หน่วยงานชื่อ Commonwealth War Grave Cemetery (CWGC) ที่ดูแลด้านการศพและสุสานของกลุ่มประเทศเครือจักรภพ (ของอังกฤษ) เข้ามาย้ายศพเหล่านี้ไปยังสุสานและทำพิธีฝังอย่างสมเกียรติ  สุสานอยู่ในจังหวัดกาญจนบุรี ๒ แห่ง และในประเทศพม่า ๑ หลัง


สะพานเชิญแขก
สะพานข้ามแม่น้ำแคว เป็นสะพานที่สำคัญที่สุดของเส้นทางรถไฟสายมรณะ  ใช้เวลาในการสร้างเพียง ๑ ปี แต่สะพานแห่งนี้ “เชิญแขก” เรียกเครื่องบินฝ่ายสัมพันธมิตรมาทิ้งระเบิดทำลายหลายครั้ง  ซึ่งกองทัพญี่ปุ่นก็บังคับเชลยศึกซ่อมบำรุงอยู่ตลอดเวลา และการทิ้งระเบิดก็ไม่ได้ทำให้สะพานเสียหายมากนัก เพราะกองทัพญี่ปุ่นมักบังคับให้เชลยศึกขึ้นไปอยู่บนสะพาน ฝ่ายสัมพันธมิตรจะทิ้งระเบิดถล่มสะพานก็ไม่กล้าทิ้งระเบิด  จนกระทั่งวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๘๗  เวลาประมาณบ่ายสามโมง เครื่องบินบี ๒๔ ของฝ่ายพันธมิตรก็บินระยะต่ำจากทางทิศตะวันตกข้ามเขาปูนแล้ววกขึ้นทางเหนือพร้อมทิ้งระเบิด ทำให้สะพานช่วงที่ ๔-๕-๖ เสียหาย สะพานหักขาดจากกันรวม ๓ ช่วง ทำให้ญี่ปุ่นไม่สามารถใช้เป็นเส้นทางลำเลียงได้อีกเลย

หลังสงครามสงบลง การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ซ่อมแซมเปลี่ยนช่วงที่เสียหาย เป็นสะพานเหล็ก ๑๒ ช่วง โดยบริษัทญี่ปุ่นร่วมทุนในการจัดสร้างซ่อมแซมใหม่เป็นการใช้หนี้สงคราม พร้อมทั้งเปลี่ยนสะพานไม้ปลายทางเป็นสะพานเหล็ก ๖ ช่วง ด้วยดังที่เห็นในปัจจุบันนี้

แม้สะพานข้ามแม่น้ำแควใหญ่ในปัจจุบันจะมิใช่สะพานเดียวกับสะพานที่สร้างในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ ที่อยู่ห่างออกไปทางใต้เล็กน้อยก็ตาม สะพานข้ามแม่น้ำแควใหญ่แห่งนี้ ก็ยังดึงดูดนักท่องเที่ยวจำนวนมากมาเยี่ยมชมอนุสรณ์สถานแห่งนี้

อดีตเชลยศึกชาวอังกฤษชื่อ Harry Motteram ที่รอดชีวิตจากความเป็นทาสนรกสร้างสะพานข้ามแม่น้ำแคว เป็นอดีตเชลยศึกคนสุดท้าย เสียชีวิตลงเมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๘ ตอนอายุ ๙๔ ปี เคยเล่าให้ลูกฟังก่อนเสียชีวิตว่า ต้องทำงานวันละ ๑๘ ชั่วโมง ได้ทานข้าวเพียงวันละ ๑ ถ้วยกาแฟ ก่อนเสียชีวิต ทาสเดนตายคนนนี้เคยขอกลับมาเยี่ยมชมสะพานและทางรถไฟมรณะที่กาญจนบุรี เพื่อยืนยันกับลูกหลานว่า สถานที่แห่งนี้คือ
นรก


ขอขอบคุณข้อมูล จาก  
- ฉากญี่ปุ่น เขียนโดย ท่านอาจารย์ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์ดอกหญ้า
- ภาพเก่า...เล่าตำนาน สะพานโหด ข้ามแคว ฝรั่งหาย ตายนับหมื่น โดย พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก  จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์มติชน
- สะพานข้ามแม่น้ำแคว  โดย บุญรอด ชลารักษ์  จัดพิมพ์โดย สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคกลาง มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์
- ๘ ธันวาคม ๒๔๘๔ ญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกแผ่นดินไทย จัดพิมพ์โดย นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๒
- สะพานข้ามแม่น้ำแคว เว็บไซตฺ์ จังหวัดกาญจนบุรี
- สงครามโลกครั้งที่สอง เว็บไซต์ วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 08 มีนาคม 2563 18:53:37 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
MP3 อบรมวิถีจิต โดย หลวงปู่พุทธะอิสระ ณ สถานบำบัดธรรมชาติทองผาภูมิ กาญจนบุรี
เสียงธรรมเทศนา
มดเอ๊ก 0 2991 กระทู้ล่าสุด 25 มิถุนายน 2553 20:17:50
โดย มดเอ๊ก
วัดเมตตาธรรมโพธิญาณ อ.เมือง จ.กาญจนบุรี
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng 0 1704 กระทู้ล่าสุด 28 สิงหาคม 2562 17:26:44
โดย Kimleng
วัดเทวสังฆาราม อ.เมืองกาญจนบุรี จ.กาญจนบุรี
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng 0 1663 กระทู้ล่าสุด 25 กันยายน 2562 17:12:27
โดย Kimleng
หลวงพ่อชุบ ปัญญาวุโธ วัดวังกระแจะ ต.วังกระแจะ อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 612 กระทู้ล่าสุด 03 เมษายน 2563 11:12:02
โดย ใบบุญ
หลวงพ่อแน่น ปุสโส วัดอินทาราม (วัดหนองขาว) อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 601 กระทู้ล่าสุด 16 มกราคม 2564 19:02:01
โดย ใบบุญ
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.455 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 15 มีนาคม 2567 16:57:33