[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
20 เมษายน 2567 18:30:16 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ผักกวางตุ้ง หรือ ผักกาดดอย  (อ่าน 1546 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5446


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 18 กันยายน 2564 20:13:12 »


ผักกวางตุ้ง ประชากรบนที่สูง (หรือชาวเขา) เรียกว่าผักชนิดนี้ว่า ผักกาดดอย
(ภาพจากจังหวัดเชียงใหม่)


ผักกวางตุ้งดอย จะมีลักษณะก้านดอกเรียว ยาว
(ภาพจากจังหวัดเชียงใหม่)

ผักกวางตุ้ง

ผักกวางตุ้ง หรือ ผักกาดกวางตุ้ง มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศจีน และญี่ปุ่น โดยสาเหตุที่คนไทยนิยมเรียกว่า ผักกวางตุ้ง ในช่วงที่มีการนำเข้ามาปลูกครั้งแรกจะเป็นพันธุ์ที่นำมาจากมณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน เป็นผักที่นิยมนำมาประกอบอาหาร ไม่ว่าจะผัดหรือต้มเป็นแกงจืด ให้รสชาติหวานกรอบ โดยเฉพาะเมนูบะหมี่หมูแดงหรือเกี๊ยวก็จะมีผักชนิดนี้แซมอยู่เสมอ โดยสามารถรับประทานได้ทั้งลำต้น ใบ และดอก ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้บริโภค แต่จะนิยมนำมาปรุงให้สุกก่อนนำมารับประทาน

ผักกวางตุ้งที่นิยมปลูก และรับประทานมากในปัจจุบัน ประกอบด้วย ผักกาดเขียวกวางตุ้ง, ผักกวางตุ้งฮ่องเต้ และผักกวางตุ้งดอก ทั้งนี้ ชนิดที่นิยมปลูก และรับประทานมากที่สุด คือ ผักกาดเขียวกวางตุ้ง ซึ่งเป็นผักที่ปลูกมากเป็นอันดับต้นๆในบรรดาผักทุกชนิดในประเทศ

ผักกาดเขียวกวางตุ้ง
       วงศ์ : Brassicaceae
       ชื่อวิทยาศาสตร์ : Brassica Chinensis Linn.
       ชื่อสามัญ : Choi sum


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
       รากผักกวางตุ้ง เป็นระบบรากแก้ว และมีรากแขนงตกออกด้านข้าง โคนรากแก้วจะมีขนาดใหญ่ ระบบรากอยู่ในระดับดินตื้น 10-20 ซม.

       ลำต้นผักกวางตุ้งมีลักษณะตั้งตรง ลำต้นเป็นทรงกลม ขนาด 1.4-2 ซม. สูงประมาณ 30-50 ซม. โดยลำต้นในระยะก่อนออกดอกจะสั้น และอวบ แต่เมื่อแทงดอก ลำต้นจะชะลูดสูงอย่างรวดเร็ว โดยระยะดอกแก่อาจสูงได้ถึง 1 เมตร ส่วนเปลือกลำต้นบาง และมีสีเขียว สามารถลอกออกได้ง่าย โดยเปลือกลำต้นส่วนโคนจะเหนียว และเป็นเส้นใย ไม่นิยมรับประทาน ส่วนเปลือกลำต้นส่วนกลาง และยอดจะอ่อน ซึ่งใช้รับประทานพร้อมกับส่วนแก่น ส่วนแก่นลำต้นส่วนเหนือโคน เมื่อลอกเปลือกออกจะยังอ่อน สามารถนำมารับประทานได้

       ใบ ผักกวางตุ้งจะออกเป็นใบเดี่ยว โดยมีใบเลี้ยงหลังการงอกจำนวน 2 ใบ ปลายใบตรงกลางเว้าลึกเข้า ส่วนใบจริงจะออกเยื้อง และสลับข้างกันตามความสูงของลำต้น ประกอบด้วยกาบใบสีเขียวอมขาว มีลักษณะกลม มีร่องด้านบน ยาว 3-8 ซม. ถัดมาเป็นแผ่นใบที่มีลักษณะเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบมีรูปไข่ กว้างประมาณ 5-10 ซม. ยาวประมาณ 15-20 ซม. ขอบใบมีรอยหยักขนาดเล็ก ปลายใบโค้งมน ใบอ่อนมีสีเขียวอ่อน ใบแก่มีสีเขียวเข้ม และแก่ก่อนเหี่ยวร่วงจะมีสีเหลือง

       ดอก ดอกผักกวางตุ้งจะออกหลังการปลูกประมาณ 55-75 วัน โดยเป็นดอกชนิดสมบูรณ์เพศที่ผสมเกสรได้ในตัวเอง และมีระบบดอกออกเป็นช่อ ประกอบด้วยก้านช่อดอกทรงกลมยาว 50-90 ซม. มีดอกออกเป็นกระจุกจำนวนมากตรงส่วนปลายช่อดอก แต่ละดอกเมื่อบานจะมีขนาด 1-1.5 ซม. ตัวดอกประกอบด้วยกลีบดอกชั้นนอก จำนวน 4 อัน ที่มีสีเขียวอ่อน ถัดมาเป็นกลีบดอกชั้นในที่มีสีเหลือง จำนวน 4 อัน ภายในดอกมีเกสรตัวผู้จำนวน 4 อัน และตรงกลางเป็นรังไข่ที่มีเกสรตัวเมียสีเหลืองอ่อนอยู่ด้านบน ทั้งนี้ ดอกผักกวางตุ้งจะทยอยบานจากด้านล่างขึ้นด้านบน

       ผล และเมล็ด  ผลผักกวางตุ้งจะมีลักษณะเป็นฝัก มีก้านฝักยาว 1.2-2.5 ซม. ตัวฝักมีความยาวประมาณ 4-6 ซม. ขนาด 0.3-0.5 ซม. ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนโคนฝักที่มีเมล็ด ยาวประมาณ 3-4 ซม. และส่วนที่เหลือเป็นส่วนปลายฝักที่ไม่มีเมล็ด ฝักอ่อนจะมีสีเขียว เมื่อฝักแก่จะมีสีเหลือง และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล พร้อมกับปริแตกจากโคนฝักสู่ปลายฝักเพื่อให้เมล็ดร่วงลงสู่ดิน ภายในฝักจะมีเมล็ดจำนวนมาก โดยเมล็ดจะมีลักษณะทรงกลม ขนาดเมล็ด 1.5-2.5 มม. เมล็ดอ่อนจะมีสีเขียว เมื่อแก่จะมีสีน้ำตาลอมดำ น้ำหนักเมล็ด 2.5 กรัม จะมีเมล็ดประมาณ 1,000 เมล็ด แต่ละฝักจะมีเมล็ด 5-25 เมล็ด

ผักกาดกวางตุ้ง จะมีสารบางชนิดเมื่อถูกความร้อนแล้วจะกลายเป็นสารตัวใหม่ ซึ่งได้แก่สารไทโอไซยาเนต (thiocyanate) เมื่อได้รับสารนี้เข้าสู่ร่างกายในปริมาณมากอาจทำให้เกิดอาการท้องเสีย ความดันเลือดต่ำ ร่างกายอ่อนเพลีย แต่สารชนิดนี้จะสลายไปกับไอน้ำเมื่อเราเปิดฝาทิ้งไว้ แต่ถ้านำมารับประทานสดๆ ก็ปลอดภัยเช่นกัน แต่จะมีกลิ่นเขียวบ้างเล็กน้อย

จุดเด่นของผักชนิดนี้จะอยู่ที่คุณค่าทางทางโภชนาการ โดยอุดมไปด้วยแคลเซียม วิตามินเอ และวิตามินซีในปริมาณที่สูงมาก ซึ่งก็มีประโยชน์มากเลยทีเดียว โดยการถนอมวิตามินในผักชนิดนี้ก็ทำได้ง่าย ด้วยการใส่ไว้ในถุงพลาสติก ปิดให้แน่นแล้วนำไปแช่ไว้ในช่องเก็บผักในตู้เย็น และการนำผักกวางตุ้งไปประกอบอาหารก็ไม่ควรตั้งไฟนานจนเกินไป เพราะความร้อนจะไปทำลายวิตามินที่อยู่ในผักกวางตุ้งอย่างวิตามินซีและเบตาแคโรทีน (แต่สำหรับเบตาแคโรทีนนั้นจะทนความร้อนได้ดีกว่าวิตามินซี)

กวางตุ้ง เป็นหนึ่งในผักที่มักตรวจพบสารเคมีหรือยาฆ่าแมลงอยู่บ่อยๆ การเลือกซื้อผักกาดเขียวกวางตุ้ง ผู้บริโภคควรระมัดระวังในเรื่องของการเลือกซื้อให้มาก และทำความสะอาดผักก่อนการนำมาปรุงเป็นอาหาร ไม่ว่าจะด้วยวิธีการแช่น้ำส้มสายชู แช่ในน้ำเกลือ หรือจะล้างด้วยน้ำที่ไหลจากก๊อกน้ำนานอย่างน้อย 2 นาที ก็จะช่วยลดปริมาณสารพิษที่ตกค้างในผักชนิดนี้ได้เช่นกัน

ประโยชน์ของผักกวางตุ้ง
       1.ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย
       2.ช่วยบำรุงและรักษาสายตา
       3.ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง
       4.ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน ผักกวางตุ้งช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง
       5.ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
       6.ช่วยป้องกันกล้ามเนื้อเสื่อม ช่วยเพิ่มความกระฉับกระเฉง
       7.ช่วยในการขับถ่าย ถ่ายสะดวก ป้องกันโรคท้องผูก
       8.เชื่อว่ามีฤทธิ์ในการบรรเทาอาการปวดตามข้อ ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งกล้ามเนื้อเสื่อม
       9.ช่วยแก้อาการเป็นตะคริว สำหรับใครที่เป็นตะคริวบ่อย ๆ ผักกวางตุ้งช่วยคุณได้ เพราะเป็นผักที่มีแคลเซียมสูง
       10.การรับประทานผักกวางตุ้งเป็นประจำจะไปทำให้ฟีโรโมน (Pheromone) หลั่งออกมา ซึ่งจะทำให้กลิ่นตัวหอม
       11.เป็นผักที่มีเส้นใยมากและมีไขมันน้อย ทำให้อิ่มท้อง รับประทานมากแค่ไหนก็ไม่ทำให้อ้วน
       12.นิยมนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู เช่น ต้มจับฉ่าย แกงจืด ผัดผักกวางตุ้ง ฯลฯ



ผักกวางตุ้งที่เราคุ้นเคยในการซื้อมารับประทาน ลักษณะก้านดอกจะสั้น
ขอขอบคุณ farmkaset.org (ที่มาภาพประกอบ)

ขอขอบคุณเว็บไซท์ พืชเกษตร ดอท คอม / medthai.com (ที่มาข้อมูล)

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 กันยายน 2564 20:15:21 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
มันดาลา หรือ เบญจคุณ พลวัตแห่งความว่าง: ปัญจพุทธกุล หรือ พลังปัญญาห้าสี
กระบวนการ NEW AGE
มดเอ๊ก 6 13038 กระทู้ล่าสุด 13 มิถุนายน 2553 14:51:03
โดย มดเอ๊ก
คน หรือ เทียน เล่มหนึ่ง ?? ..
ไขปัญหาโลก ธรรม และความรัก
เงาฝัน 0 5378 กระทู้ล่าสุด 28 พฤษภาคม 2554 15:04:02
โดย เงาฝัน
เป็นมนุษย์ หรือ เป็นคน
ธรรมะจากพระอาจารย์
วันศุกร์ นัดทานข้าว 0 1968 กระทู้ล่าสุด 05 กรกฎาคม 2555 03:08:16
โดย วันศุกร์ นัดทานข้าว
ผักกวางตุ้ง : พืชที่มากด้วยคุณค่าโภชนาการและสรรพคุณทางยา
เกร็ดความรู้ งานบ้าน งานครัว
Kimleng 0 12005 กระทู้ล่าสุด 24 พฤษภาคม 2556 11:09:54
โดย Kimleng
ผักกวางตุ้ง ผัดไฟแดง สูตร/วิธีทำ
สุขใจ ในครัว
Kimleng 0 2827 กระทู้ล่าสุด 16 ตุลาคม 2559 16:48:07
โดย Kimleng
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.346 วินาที กับ 34 คำสั่ง

Google visited last this page 14 เมษายน 2567 22:36:26