[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 มีนาคม 2567 21:58:34 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พระอุปคุต วัดผ่องด่ออู ประเทศพม่า - กราบขอพรพระบัวเข็ม  (อ่าน 3757 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 13 เมษายน 2563 16:05:03 »


อาคารขนาดใหญ่ของวัดผ่องด่ออู โดดเด่นสวยงามตามแบบศิลปสถาปัตยกรรมแบบพม่า



วัดผ่องด่ออู
ตั้งอยู่กลางทะเลสาบอินเล เมืองตองยี รัฐฉาน ประเทศพม่า

ชาวพม่ามีความผูกพันแนบแน่นกับพระพุทธศาสนามาอย่างยาวนาน พุทธศาสนาในประเทศพม่าต้องพานพบกับความเจริญรุ่งเรืองและความเสื่อมลงมาก สาเหตุทั้งเนื่องจากสงครามระว่างพม่าด้วยกันเอง และสงครามระหว่างพม่ากับมอญ

หลังจากกษัตริย์พม่าได้ยกทัพไปทำลายกรุงหงสาวดีอย่างราบคาบ ทำให้ชนชาติมอญสูญสิ้นอำนาจลงอย่างเด็ดขาด กษัตริย์ของพม่าซึ่งทรงให้ความสำคัญต่อพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก โปรดฯ ให้ชำระปฏิรูปพระพุทธศาสนาให้บริสุทธิ์ ให้สังคายนาพระไตรปิฎก ตลอดจนทำนุบำรุงและสร้างวัดวาอารามมากมายจนเจริญรุ่งเรืองขึ้นอีกครั้งหนึ่ง  พระภิกษุสงฆ์เป็นที่เคารพบูชาทั่วไปของสังคมพม่า รวมถึงบรรดากลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆในประเทศพม่า

วัดผ่องด่ออู ตั้งอยู่บริเวณทะเลสาบอินเล ท่ามกลางหุบเขาที่สวยงามของรัฐฉาน ประเทศพม่า  เป็นวัดที่เราเลือกเดินทางไปเที่ยวชมและกราบขอพรพระพุทธรูปไม้ศักดิ์สิทธิ์ ๕ องค์ ที่คนไทยเรียกกันว่า "พระบัวเข็ม"  พระพุทธรูปองค์สำคัญแห่งวัดผ่องด่ออู ศูนย์รวมพลังความศรัทธา ความเชื่อ ของชาวอินเล ว่ากันว่าสร้างในสมัยพระเจ้าอลองสิทธู กษัตริย์พุกาม นับหลายร้อยปีที่แล้ว ตัวองค์พระทั้ง ๕ องค์ถูกปิดทองจนไม่เหลือร่องรอยพุทธลักษณะเดิม ดูเป็นก้อนกลมใหญ่กว่าองค์พระเดิมเป็นอย่างมาก ชาวบ้านและนักท่องเที่ยวที่แวะมากราบไหว้เชื่อกันว่าศักดิ์สิทธิ์ มีอิทธิฤทธิ์ที่จะดลบันดาลความสุขสวัสดีมาให้



พระอุปคุต วัดผ่องด่ออู ประเทศพม่า  
ศรัทธาและความเชื่อที่ทำให้การนับถือพุทธศาสนามีความมั่นคง ชาวพม่าที่มากราบขอพรปิดทององค์พระจนมองไม่เห็นถึงพุทธลักษณะเดิมที่แท้จริง
เมื่อนิ้วมือกดแผ่นทองปิดทับลงไป จะรู้สึกสัมผัสถึงความอ่อนนุ่มของแผ่นทองที่ถูกกดทับซ้อนกันไม่รู้กี่แสนกี่ล้านชิ้น

พระอุปคุต เรียกตามภาษาสันสกฤตว่า “สถวีรอุปคุปต” เป็นพระอรหันตสาวก
หลังพุทธกาล ซึ่งเป็นผู้เรืองฤทธิ์ที่มีบทบาทสำคัญยิ่งในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช              .  
แห่งราชวงศ์เมารยะ    และได้เป็นผู้ปราบพญามารตนหนึ่ง ที่มารังควานการฉลอง
พระบรมสารีริกธาตุ ที่พระเจ้าอโศกมหาราชทรงโปรดให้จัดขึ้น
คัมภีร์อโศกาวทานได้กล่าวถึงเรื่องราวและบทบาทของพระอุปคุตว่า พระอุปคุต
กำเนิดมาในตระกูลของพ่อค้าในเมืองมถุรา    เมื่อออกบวชแล้วบรรลุพระอรหันต์
ได้เป็นพระอาจารย์สอนกรรมฐานที่มีชื่อเสียงโด่งดัง  มีพระอรหันต์เป็นศิษย์อยู่ถึง
๑๘,๐๐๐ รูป สำนักของท่านตั้งอยู่ ณ วัดนฏภฏิการาม บนภูเขาอุรุมนท์


พระอุปคุต เป็นผู้นำพระเจ้าอโศกเสด็จไปทอดพระเนตรสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ได้แก่ สถานที่ประสูติ สถานที่บำเพ็ญทุกรกิริยา สถานที่ตรัสรู้ สถานที่แสดงปฐมเทศนา และสถานที่ปรินิพพาน ในคัมภีร์อโศกาวทานยังกล่าวอีกว่า พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์พระอุปคุตแก่พระอานนท์ก่อนที่พระองค์จะเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ว่า ๑๐๐ ปี นับจากเวลาดังกล่าว พระอุปคุตจะเป็นผู้ประกาศพุทธธรรมในโลกนี้เฉกเช่นเป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่ ๒ แต่จะเป็นพระพุทธเจ้าที่ไม่มีทวัตติงสลักษณะหรือไม่ประกอบด้วยมหาปุริสลักษณะ และพระอุปคุตเป็นผู้กลับใจมารผู้รับกวนพระภิกษุโดยการใช้กระดูกของสัตว์ ๓ ชนิด คือ งู สุนัข และคน แทรกสวมเข้าไปในพวงมาลัยดอกไม้โดยอาศัยกำลังอภิญญาส่งคืนไปคล้องคอพญามาร เมื่อพญามารไม่สามารถถอดออกได้ แม้จะไปขอความช่วยเหลือจากพรหมก็ไม่เป็นผลสำเร็จ จึงสำนึกถึงพลานุภาพของพระสาวกและพระพุทธเจ้า แล้วยอมรับเงื่อนไขว่าต่อไปจะไม่รบกวนพระภิกษุสงฆ์ และจะเนรมิตตนแสดงสรีระของพระพุทธเจ้าเมื่อทรงพระชนม์อยู่ให้ปรากฏตามคำขอร้องของพระอุปคุต พระอุปคุตจึงถอดพวงมาลัยดังกล่าวให้

นอกจากวรรณกรรมที่กล่าวถึงบทบาทพระอุปคุตดังกล่าวแล้ว ยังมีเรื่องเล่าว่าพระอุปคุตมีทั้งหมด ๘ องค์ ปรินิพพานไปแล้ว ๗ องค์ เชื่อกันว่าคงเหลือจำพรรษาอยู่ใต้ทะเล หรือ “สะดือทะเล” ๑ องค์ เพราะท่านเจริญอิทธิบาทจนถึงขั้นมีอิทธิฤทธิ์อธิษฐาน “ต่ออายุ” ให้อยู่เป็นกัปเป็นกัลป์ได้ นานๆ จะขึ้นมาสู่โลกสักครั้งหนึ่ง และท่านบิณฑบาตตอนกลางคืน ในวันเพ็ญที่ตรงกับวันพุธ (วันเพ็ญพุธ) พระอุปคุตจะออกมาโปรดสัตว์โดยการเนรมิตตนเป็นเณรน้อยมาบิณฑบาต (แต่ก็มีผู้เล่าว่าพระอุปคุตปรากฏในรูปร่างสูงใหญ่) ผู้ที่ได้ตักบาตรพระอุปคุตจะได้โชคได้ลาภและร่ำรวย ชาวไทยภาคเหนือ ภาคอีสาน รวมพม่าด้วย นับถือพระอุปคุตมาก เพราะเล่าลือว่าท่านสามารถดลบันดาลผู้ตักบาตรให้เป็นเศรษฐีทันตาเห็น จะไปตักบาตรในวันเพ็ญวันเพ็ญ ๑๕ ค่ำที่ตรงกับวันพุธ ระหว่างช่วงเวลา ๐๒.๐๐-๐๕.๐๐ นาฬิกา  ดังเช่นชาวบ้านในเชียงใหม่จะตักบาตรพระอุปคุตที่บริเวณวัดอุปคุต อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น  เรื่องของความเชื่อนี้ ศาสตราจารย์ เสฐียรพงษ์ วรรณปก ท่านเล่าไว้ในรื่นรมเยศ: สามอรหันต์ผู้ทรงฤทธิ์ พระอุปคุตหรือพระบัวเข็มผู้ปราบพญามาร ตีพิมพ์ในหนังสือมติชน ว่า สมัยท่านยังเด็ก เห็นพ่อตั้งซุ้มหน้าบ้าน เอาผ้าไตรไปวางใส่พานไว้ แล้วก็สั่งให้แม่นึ่งข้าว ตั้งแต่ประมาณเที่ยงคืน แล้วก็ร้องถามว่า ข้าวสุกหรือยัง ครั้นแม่บอกว่า จวนแล้ว รอเดี๋ยว เสียงพ่อก็บ่นตามมาว่า ชักช้า เดี๋ยวท่านมาจะไม่ทัน และเมื่อโตมาก็ไม่เห็นพ่อทำอย่างนั้นอีก ประเพณีนี้ดูเหมือนจะจางหายไปแล้ว

พระอุปคุตได้นามอีกอย่างหนึ่งว่า “พระบัวเข็ม”  มีตำนานพม่าเล่าว่า พระเจ้ากรุงหงสาวดีพระองค์หนึ่ง มียานวิเศษพาเหาะไปไหนๆ ได้ วันหนึ่งเหาะผ่านชายป่าแห่งหนึ่ง เห็นพระรูปหนึ่งเดินลุยโคลน บนศีรษะมีใบบัวคลุมอยู่ อีกใบเอาเป็นภาชนะเก็บกุ้งหอยปูปลา เพื่อนำไปปล่อยลงแม่น้ำใหญ่ เพราะหนองน้ำนั้นกำลังจะแห้งขอด  พระเจ้ากรุงหงสาวดีนึกตำหนิในใจว่า พระอะไรมาลุยโคลนจับกุ้งหอยปูปลา ไม่น่าดูเลย เอาไปกินหรือเปล่าก็ไม่รู้ ทันทีที่คิดจบยานวิเศษหยุดแล่นและตกลง  ทรงสำนึกผิดว่า ได้ล่วงเกินพระผู้ทรงคุณวิเศษเสียแล้ว จึงรีบไปจะกราบขอขมา ปรากฏว่าท่านหายวับไปแล้ว ไร้ร่องรอย    พระเจ้ากรุงหงสาวดีเมื่อกลับเมืองจึงสละยานนั้นแกะสลักเป็นรูปท่านถวายเป็นพุทธบูชา เนื่องจากไม่ทันสังเกตลักษณะหน้าตาของท่าน จึงทำให้มีเพียงใบหน้า ไม่มีนัยน์ตา จมูก และปาก รูปแกะสลักนี้ประดับแก้วศักดิ์สิทธิ์ ๙ เม็ด  มีใบบัวปกเศียร และมีหมุดปักอยู่ตามหัวไหล่ ตามเข่า หลายแห่ง จึงเรียกว่า “พระบัวเข็ม” (คือพระที่มีบัวและเข็มตามองค์) และที่ขาดไม่ได้ จะต้องมีรูปบัวและกุ้งหอยปูปลาที่ฐานพระด้วยจึงจะครบเครื่อง

ตามตำนานทางมหายาน พระอุปคุตมีบทบาทสำคัญในการทำสังคายนาครั้งที่สาม สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช  พญาวสวัตตีมารจะมาทำลายพิธีเฉลิมฉลองพระเจดีย์แปดหมื่นสี่พันที่พระเจ้าอโศกทรงอุปถัมภ์ เมื่อทราบว่าเณรน้อยมีฤทธิ์มาก จึงไปขอให้เณรน้อยช่วยปราบ เณรน้อยบอกว่าตนไม่สามารถปราบพญามารได้ มีแต่พระอุปคุตเท่านั้นที่จะปราบ และรับอาสาไปนิมนต์พระอุปคุตให้ขึ้นมาจากสะดือทะเลยมาช่วยปราบพญาวสวัตตีมาร จนพญามารยอมแพ้  

แต่ตามตำนานทางฝ่ายเถรวาท มิได้พูดถึงพระอุปคุตว่ามีบทบาทสำคัญในการทำสังคายนาครั้งที่สาม แต่กล่าวถึงว่าเมื่อพุทธศตวรรษที่สาม พระพุทธศาสนารุ่งเรืองมากในประเทศอินเดีย เพราะพระเจ้าอโศกมหาราชทรงทะนุบำรุงอย่างดี พระสงฆ์ไม่ลำบากด้วยเรื่องปัจจัยสี่ อยู่ดีสบาย จึงมีพวกนอกศาสนา หรือ “อัญเดียรถีย์” (แปลว่าผู้นับถือลัทธิอื่น) อยากสบายบ้าง จึงพากันปลอมบวช คือบวชเอาเอง บวชแล้วไม่ศึกษาปฏิบัติ แสดงธรรมผิดๆ ถูกๆ พระสงฆ์ผู้ทรงศีลรังเกียจ ไม่ยอมร่วมสังฆกรรมด้วย  พระเจ้าอโศกมหาราชทรงปรารถนาจะเห็นพระสงฆ์สามัคคีกันจึงรับสั่งให้มหาอำมาตย์คนหนึ่งไป “จัดการ” ให้เรียบร้อย แต่มหาอำมาตย์กลับสร้างความวุ่นวาย คือ ตัดคอพระเถระที่ไม่ยอมร่วมสังฆกรรมกับพวกอัญเดียรถีย์ไปหลายองค์

พระเจ้าอโศกมหาราชปรารถนาจะ “ล้างบาป” จึงให้ความสนับสนุนพระเถระ อันมีโมคคัลลีบุตรเป็นประธาน กระทำสังคายนา คือ “ชำระสังฆมณฑลให้บริสุทธิ์” หลังคายนาเสร็จก็ส่งพระธรรมทูตไปเผยแผ่พระพุทธศาสนายังต่างแดน ดังที่ประเทศสยามก็ได้มีพระโสณะกับพระอุตตระเดินทางมา สมัยโน้นเรียกว่า สุวรรณภูมิ ศูนย์กลางสุวรรณภูมิว่ากันว่า คือ นครปฐม ปัจจุบันนี้เอง  

ในการทำสังคายนาครั้งนี้ ไม่มีชื่อพระอุปคุต หรือมีแต่ไม่ได้บันทึกไว้ก็ได้ แต่จากหลักฐานของฝ่ายมหายานนั้นมีแม้กระทั่ง ปฐมสมโพธิกถา พระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ก็มีกล่าวถึงพระอุปคุตเช่นกัน  ความว่า นาคถูกครุฑไล่ตาม นาคไปขอร้องให้พระสงฆ์ช่วย ไม่มีรูปใดมีฤทธิ์พอจะปราบได้ บังเอิญเณรน้อยรูปหนึ่งรับอาสาไล่ครุฑไปได้ จึงปรากฏชื่อเสียงโด่งดัง

เนื่องจากเชื่อว่าพระอุปคุตมีคุณสมบัติเป็นเลิศในทางป้องกันอันตราย ชาวไทยภาคเหนือจึงมีประเพณีอัญเชิญพระอุปคุตจากแหล่งน้ำมาสู่หอพระอุปคุตในบริเวณวัด เมื่อมีพิธีที่ต้องการความศักดิ์สิทธิ์ หรือใน “งานพอย” หรือ “งานปอย” คืองานฉลองต่างๆ ในวัด  การนิมนต์พระอุปคุตมาประจำในพิธีกรรมหรือในงานนั้น เริ่มโดยการมอบหมายให้ผู้มีอาวุโสซึ่งมีศีลธรรมอันดีและน่าเคารพนับถือท่านหนึ่ง นำเอาพระอุปคุตสมมติ คือ หินก้อนหนึ่งซึ่งต้องงมขึ้นมาจากแม่น้ำ แต่บางตำราก็ว่าให้จัดหาก้อนหินมีลักษณะดีขนาดเท่าผลส้มโอ หรือจะเป็นพระอุปคุตแบบประติมากรรมแกะด้วยหินหรือหล่อด้วยทองเหลืองก็ได้ ใส่ภาชนะไปไว้ที่สมควรสักแห่งหนึ่งซึ่งห่างจากสถานที่ที่จะทำพิธีไม่น้อยกว่า ๕๐๐ เมตร แต่ไม่เกิน ๑ กิโลเมตร โดยให้ห่างจากแม่น้ำลำธารไม่เกิน ๑๐ วา แล้วไปนั่งพักเพื่อคอยคณะผู้จะมานิมนต์ เมื่อคณะที่ไปนิมนต์ไปถึง ก็จะถามด้วยคำว่า “ลุง” หรือ พ่อเฒ่า ทำอะไร จะไปไหน หรือไปไหนมา” ผู้เฒ่าคนนั้นก็จะตอบตามอัธยาศัย และต้องตอบด้วยคำที่เป็นมงคล แล้วผู้เฒ่าก็จะถามต่อว่า “พวกท่านทั้งหลายนี้พากันแห่แหนจะไปที่ไหน” คณะที่ไปก็จะตอบว่า “เออ...พวกข้าพเจ้าทั้งหลายได้มีการจัดทำบุญ (บอกชื่อพิธีที่จะทำ) ที่พากันมานี้ก็เพื่อจะมานิมนต์พระมหาอุปคุตไปเป็นประธานเพื่อปกปักรักษาในงานนี้ให้ราบรื่นเป็นสิริมงคล จะได้ขอลาภขอศีลขอพรจากท่านด้วย (คำใดดีที่เป็นมงคลก็ว่าไป) พ่อเฒ่าอยู่แถวนี้ได้รู้ได้เห็นท่านหรือไม่...”  พ่อเฒ่าก็จะตอบว่า “เออ...เมื่อกี้นี้ก็เห็นท่านบิณฑบาตผ่านไปทางนี้ คงจะไปยังไม่ไกลหรอก ท่านทั้งหลายจงรีบตามไปเถิด บางทีท่านอาจจะยังพักผ่อนแถวนี้ก็เป็นได้”  คณะดังกล่าวก็จะพากันเดินถือพานดอกไม้นำไป ตอนนี้ต้องตามตัวหัวหน้าไปอย่างสงบ พร้อมกับมีสัปทนกาง มีช่อ ทุง ชองอ้อย ที่ใส่อัฐบริขารพร้อมเป็นขบวนไปด้วย พอถึงที่หมายที่พระอุปคุตอยู่ กะว่าห่างสัก ๕ วา ผู้เป็นประธานซึ่งถือพานดอกไม้ก็จะประกาศว่า “พบท่านแล้วๆๆ” จากนั้นประธานพร้อมคณะเข้าไปหาด้วยอาการเคารพแล้วจุดเทียนธูปบูชา คณะที่ไปนั่งลงแล้วให้ผู้ถือสัปทนนำไปปักไว้ด้านหลังพระอุปคุต ประธานจะยกพานข้าวตอกดอกไม้ขึ้นก่อนแล้วกล่าวบูชาอาราธนานิมนต์ด้วยคำว่า

ตั้งนะโมฯ ๓ จบ “สาธุ สาธุ สาธุ อุปคุตฺโต วรทกฺขิเณยฺโย สพฺพปรเมหิ คุเณหิ อเนเกหิสมิทฺธิปฺปตฺโต อนาสโว ตํปน นมาหิสงฺฆํ ติโยชนโลหมยปาสาเท โย สิวิโต วรทุกฺขิณสาครมชฺเฌ อุปคุตฺโต ฐิโต น เมโยอุปคุตฺโต

มหาเถโร อันว่ามหาอุปคุตเถรเจ้าตนใด อรหนฺตํ อันเป็นอรหันตาตนประเสริฐ ทกฺขิณสาครมชฺเฌ ฐิโต อันตั้งอยู่ในท่ามกลางพื้นน้ำมหาสมุทรกล้ำไต้ โลหปาสาทมยฺ ในปราสาทอันแล้วด้วยทองแดง ติโยชนเปโท อันสูงได้สามโยชน์ วิโตว ตราบอันได้เถิงนิพพาน โส อุปคุตฺโต อันว่าพระมหาเถรเจ้า อุปคุตตนเป็นอรหันตาตนนั้นประเสริฐนักว่าอั้น นมามิ ผู้ข้าก็ไหว้ด้วยความเคารพยำเกรงในกาละบัดนี้แลโอกาส ภนฺเต ข้าแต่พระอุปคุตมหาเถรเจ้าตนประเสริฐ มีคุณอันล้ำเลิศเป็นอรหันตาเจ้ากูย่อมมีอิทธิฤทธิ์อันองอาจ อันพระพุทธเจ้าหากทำนายไว้ให้รักษาศาสนา ห้าพันพระวัสสาเพื่อบ่หื้อเป็นอันตรายภัยยะแก่นระฝูงใฝ่กระทำบุญ กรียาอันยิ่งด้วยฤทธิ์แห่งเจ้ากู เทียรย่อมชนะยังมาร ยักษ์มารขาดกลับหายบัดนี้ผู้ข้าทังหลายหมายมี (...บอกชื่อ...) พร้อมกับด้วยพ่อแม่พี่น้องทายกทายิกา ครูบาอาจารย์อันอยู่ในแห่งห้องชุมพูที่นี้ หากเป็นจารีตประเพณีอันพระศากยมุนีโคตมะบรมศาสดา หากตั้งศาสนาไว้ว่าหื้อคนทั้งหลายได้กระทำบุญตามเจตนาแห่งผู้ข้าทั้งหลายทุกบ้านทุกเมือง เพื่อให้รุ่งเรืองในศาสนาแห่งพระตถาคตตราบเสี้ยงห้าพันพระวัสสานี้แท้ดีหลี ในคราวกาละบัดนี้ ศรัทธาผู้ข้าทั้งหลาย ทั้งยิงชายมวลหมู่ อันตั้งอยู่รักษายังพระวรพุทธศาสนาใน...ฯ (บอกชื่อ สถานที่ วัด บ้าน ตำบล อำเภอ) มูลศรัทธาผู้ข้าทั้งหลายหมายมี (บอกชื่อประธานศรัทธา บ้าน วัด) พร้อมด้วย...ก็มาระลึกนึกถึงพระอรหันตาตนวิเศษอันมี ปัญญาธิคุณ ศีลาธิคุณ บริสุทธิคุณ ตนชื่อว่าอุปคุตอันมีฤทธิ์องอาจ ก็จิ่งจัดหาได้ยังข้าวตอก ดอกไม้ ธูปเทียน ทังหลายมวลฝูงนี้เพื่อมาขอโอกาสอาราธนา ยังอรหนตนเจ้าตนวิเศษไปเมตตาแท้ดีหลี

ทกฺขิเณจ อุปคุตฺโต เวรโต มฺชฌิเม ฐิโตยาว เมตฺเตยฺยสมฺพุทฺโธ เตปิ จ เต เถรา นมามิหฺ อหํ วนฺทามิ ทูรโต คโต อาคจฺฉนฺตุ มยํ ภนฺเต อิมานิ ธูปปุปฺผาลาชานิ นิมนฺตนตฺถํ อุปคุตฺตมหาเถรํ ยาจาม อนุกมฺปํ อุปาทาย ปฏิคฺคณฺหาตุ โน อุปคุปคุตฺโต จ มหาเถโร สมฺพุทฺเธน วิยากโต มารญฺจ ทมิสฺสเก อนาคเต อปคตํ มหิทฺธิกํ อุปสคฺควิทฺธํสพฺพํ อุปคุตตฺติมาเม พุทโธหิ พุทฺธเตเชน อนฺตรายํ อเสสโต ธมฺโมหิ ธมฺเมน ธมฺมเตเชน อนฺตรายํ อเสสโต สงฺโฆหิ สงฺฆเตเชน อนฺตรายํ อเสสโต...”

แล้วนำพานเข้าประเคน ตอนนี้ฆ้องกลองประโคมเรื่อยไป แล้วหัวหน้ายกพระอุปคุตหรือหินที่สมมติขึ้นใส่พานดอกไม้ พานนั้นต้องแข็งแรง แล้วยกนำไปใส่ในชองอ้อย (อ่าน “จองอ้อย”) (มณฑป) ที่มีบริขาร พร้อมที่หามแห่มาแล้วนำกลับ จัดขบวนมีช่อทุง (ธง) สัปทน กั้นกางไปด้วย เมื่อไปถึงสถานที่ซึ่งจัดเป็นหอพระอุปคุตแล้วก็นำพระอุปคุตสมมติตั้งไว้ ต่อจากนั้นก็มีการถวายข้าวบาตร-ถาดโภชนาหาร อาจารย์หรือหัวหน้ากล่าวนำ ด้วยบทว่า... อิมํ โอทนปิณฑิปาตํ ทานํ มหาอุปคุตฺตเถรํ สกฺกจฺจํ เทม ปูเชม ๓ รอบ เป็นเสร็จพิธี   ในวันรุ่งขึ้นมักจะมีการตักบาตรหรือถวายภัตตาหารแด่พระอุปคุต หลังจากนั้นแล้วก็จะนำพระอุปคุตกลับไปส่งที่เดิม หรืออาจนำพระอุปคุตไปส่งในตอนเย็นของวันที่ทำพิธีเสร็จแล้วก็ได้

ในการแห่พระอุปคุตไปส่งนั้น จะต้องจัดขบวนเหมือนเมื่อไปนิมนต์พระอุปคุตไปในงาน การนำก้อนหินลงสู่แม่น้ำนั้นจะต้องทำด้วยความเคารพ ต้องบอกกล่าวขอบคุณด้วยคำที่เป็นมงคล ห้ามขว้างหรือโยนก้อนหินนั้น เมื่อขบวนนำเอาพระอุปคุตไปส่งเรียบร้อยแล้วก็จะยกขบวนกลับไปที่วัดเพื่อเก็บสิ่งของหรือเครื่องใช้ในขบวนนั้นๆ


กล่าวโดยสรุป ไม่ว่าตำนานฝ่ายบาลีหรือสันสกฤตจะบันทึกเรื่องราวของพระอุปคุตผิดแผกแตกต่างกันเพียงไรก็ตาม ทว่า โดยภาพรวมแล้ว "พระอุปคุต" อยู่ในฐานะ “พระอรหันต์” องค์หนึ่งที่ถือกำเนิดขึ้นหลังยุคพุทธกาลราว ๑๐๐ ปี และข้อสำคัญ เชื่อว่ายังคงมีชีวิตอยู่ในโลกปัจจุบัน  

พระอุปคุต ก็ยังเป็นที่เข้าใจได้ว่าหมายถึง “พระอรหันต์ผู้มีอิทธิฤทธิ์อย่างแรงกล้าในการปราบพญามาร”

พระบัวเข็ม เป็นปางหนึ่งของพระอุปคุต โดยระบุว่าพระอุปคุตมีปางหลักๆ เพียงสองปาง เช่นคือ ปางฉกบาตร (ส่วนปางอื่นๆ มาทำขึ้นใหม่ในยุคหลัง) กับอีกปางที่ประทับใต้สะดือทะเล มีรูปลักษณ์เฉพาะ เรียก “ปางบัวเข็ม” หรือ “พระบัวเข็ม”

โดยมักอ้างกันว่า พระบัวเข็ม นิยมมากในหมู่มอญ พม่า ไทใหญ่ ต่อมาจึงค่อยๆ เผยแพร่เข้ามาในสยามสมัยรัชกาลที่ ๓-๔ โดยพระภิกษุมอญ


ขอขอบคุณที่มาข้อมูล
- สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ เล่มที่ ๑๕ /อุปคุต, พระ/ มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์
- รื่นรมเยศ: สามอรหันต์ผู้ทรงฤทธิ์ พระอุปคุตหรือพระบัวเข็มผู้ปราบพญามาร / ศาสตราจารย์ เสฐียรพงษ์ วรรณปก / หนังสือมติชน
- ปริศนาโบราณคดี / เพ็ญสุภา สุคะตะ / หนังสือมติชน
- วิกิพีเดียสารานุกรม



เรือแล่นเข้าสู่จุดหมายที่วัดผ่องตองอู ซึ่งโดดเด่นด้วยสิ่งก่อสร้างศิลปะพม่า กลางทะเลสาบอินเล เมืองตองยี รัฐฉาน ประเทศพม่า




หญิงชาวอินทา (Intha) ทูนของบนศีรษะเดินไปไหนมาไหน
เป็นวิถีชีวิตปกติประจำ ชนเผ่านี้อาศัยอยู่ในทะเลสาบอินเลมานานนับร้อยปีแล้ว ...


พระอุปคุต วัดพระนอนจักรสีห์วรวิหาร - จังหวัดสิงห์บุรี ทำเป็นรูปพระสงฆ์ เศียรโล้น ไม่มีใบบัวปรกผม
นั่งแหงนหน้าขึ้นมองตะวัน เป็นการบังคับให้พระอาทิตย์หยุดโคจร เนื่องจากท่านออกบิณฑบาตตอนกลางคืน (เพ็ญพุธ)
ท่านคงจะรู้ดีว่าอาจผิดวินัยสงฆ์ ทำให้วันนั้นทั้งวันต้องหยุดตะวันตรึงไว้ก่อนจนให้พ้นเที่ยงคืนหลังญาติโยมใส่บาตรเสร็จ


พระอุปคุต (ปางจกบาตร) วัดพระธาตุดอยสุเทพ - จังหวัดเชียงใหม่ ทำเป็นรูปพระสงฆ์ เศียรโล้น ไม่มีใบบัวปรกผม
ซึ่งโบราณจารย์มักจะสร้างพระอุปคุตแตกต่างกันไปหลายรูปแบบ

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14 เมษายน 2563 10:39:59 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
 
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 25 มิถุนายน 2563 16:10:31 »


พระอุปคุต พระภิกษุองค์สำคัญองค์หนึ่งในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ผู้ทรงได้บำเพ็ญธรรมตามรอยพระพุทธองค์
จิตรกรรมฝาผนัง วัดป่าดาราภิรมย์ ตำบลริมใต้ อำเภอแม่ริม  จังหวัดเชียงใหม่
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
พระเถระชีวิตพิสดาร (พระสีวลี พระสังกัจจายน์ และ พระอุปคุต หรือ พระบัวเข็ม)
เกร็ดศาสนา
Kimleng 0 8160 กระทู้ล่าสุด 06 สิงหาคม 2556 14:33:31
โดย Kimleng
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.606 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 24 มีนาคม 2567 01:06:51