[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 03:14:52 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: 'อยู่บ้าน' หยุดเชื้อแพร่ระบาด มีตั้งแต่สมัย ร.2 ให้ประชาชนรักษาศีลห้ามฆ่าสัตว์  (อ่าน 1289 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 992


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 81.0.4044.92 Chrome 81.0.4044.92


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 13 เมษายน 2563 10:01:57 »




ภาพ อหิวาตกโรคระบาดในสมัยตันรัตนโกสินทร์ มีผู้เสียชีวิตป็นจำนวนมากจนไม่สามารถผาศพได้ทัน

"โรคระบาดในประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์ : การแก้ไขปัญหาจากความเชื่อถึงความจริงในสังคม" เรียบเรียงโดย นางสาววกุล มิตรพระพันธ์ นักอักษรศาสตร์ปฏิบัติการ กลุ่มภาษาและวรรณกรรม สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร โดยมีเนื้อหาตอนหนึ่งกล่าวถึงโรคอหิวาต์ หรือ โรคห่า แพร่ระบาดในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ว่าในครั้งนั้นมีผู้เสียชีวิตเฉพาะในกรุงเทพฯ และหัวเมืองใกล้เคียงรวมกันถึง 3 หมื่นคน ร้ายแรงเสียจนพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดฯให้จัดพระราชพิธี "อาพาธพินาศ" ขึ้นที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เพื่อกำราบโรคภัยไข้เจ็บ

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ถึงรายละเอียดของพระราชพิธีอาพาธพินาศ ไว้ในพระราชพิธีสิบสองเดือน สรุปความได้ว่า พระราชพิธีอาพาธพินาศจะจัดขึ้นเฉพาะในคราวที่เกิดโรคภัยครั้งใหญ่ เท่าที่ปรากฎหลักฐานหลงเหลือมาพบว่า เคยจัดขึ้นเพียงสองครั้งคือ ในปีมะแมตรีศก ศักราช ๑๑๗๓ และ ปีมะโรงโทศก ศักราช ๑๑๘๒ และไม่ได้จัดขึ้นอีกเพราะไม่อาจระงับโรคระบาดที่เกิดขึ้นในครั้งหลังได้

การประกอบพระราชพิธีนั้นกระทำโดยเชิญพระแก้วมรกตทรงยานมาศจัดกระบวนแห่ไปตามถนนรอบพระนคร พร้อมกับพระราชาคณะและพระสงฆ์ โดยมีการสวดอาฎานาฏิยสูตร โปรยทรายและประพรมน้ำพระปริตร ปิดกระดาษยันต์ไทยตามตำหนักต่างๆ ในพระราชวัง และยิงปืนใหญ่รอบพระนคร
จนกระทั่งรุ่งเช้า 1 คืน

การแก้ไขสถานการณ์ระบาดของโรคอหิวาต์ในครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยยังทรงรักษาอุโบสถศีล และโปรดให้ข้าราชการน้อยใหญ่ร่วมกันรักษาศีลทำบุญด้วย นอกจากนั้นยังมีรับสั่งให้ยกเลิกการเข้าเฝ้าในราชกิจที่ไม่จำเป็น ให้ไพร่ที่อยู่เวรประจำพระราชวังกลับภูมิลำเนา ปล่อยนักโทษ (ยกเว้นเชลยพม่า) ให้ประชาชนรักษาศีล โดยเฉพาะอย่างยิ่งห้ามฆ่าสัตว์ และให้ทุกคน "เก็บตัวอยู่แต่ในบ้านเรือน" เมื่อมีกิจจำเป็นเท่านั้นจึงจะออกไปได้ เมื่อปฏิบัติดังนี้เป็นเวลาเพียง 15 วัน โรคระบาดก็คลี่คลายลง

แม้ในสมัยรัชกาล พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เกิดอหิวาตกโรคระบาดครั้งใหญ่อีกครั้ง แต่ก็ทรงแก้ปัญหาด้วยวิธีการเดียวกัน จนหยุดยั้งการแพร่ระบาดได้ในที่สุด



thaipost.net/กรมศิลปากรเผยมาตรการ 'อยู่บ้าน หยุดเชื้อ' มีตั้งแต่สมัย ร.2 ให้ประชาชนรักษาศีลห้ามฆ่าสัตว์

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
มาตรการ “อยู่บ้าน” ในช่วงโควิด-19 นำไปสู่ความรุนแรงต่อเด็กและสตรีทั่วโลก
สุขใจ จิบกาแฟ
ฉงน ฉงาย 1 1306 กระทู้ล่าสุด 23 สิงหาคม 2563 23:59:15
โดย ฉงน ฉงาย
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.2 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 09 กุมภาพันธ์ 2567 20:05:27