[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
24 เมษายน 2567 21:04:32 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ท่านอนาคาริกธรรมปาละ : ผู้ทวงคืนพุทธคยากลับคืนสู่ชาวพุทธทั้งโลก  (อ่าน 1035 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5458


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 12 พฤษภาคม 2563 14:21:38 »







ท่านอนาคาริกธรรมปาละ
ผู้ทวงคืนพุทธคยากลับคืนสู่ชาวพุทธทั้งโลก

พระสาวกผู้ปฎิบัติดีปฏิบัติชอบ สมควรแก่ธรรมใช่จะมีแต่ในกาลก่อน แม้ยุคใหม่สมัยนี้ พระสาวก สาวก สาวิกา ผู้มีคุณานุคัณต่อพระศาสนาก็มีปรากฏในที่ต่าง​ๆ​ ทั่วทุกมุมโลก

วันนี้ขอนำเสนอประวัติของบุคคลสำคัญที่มีส่วนช่วยฟื้นฟูพระศาสนาให้กลับมาเจริญรุ่งเรืองอีกครั้ง คือ "ท่านอนาคาริก ธรรมปาละ"

ประวัติ ท่านอนาคาริก ธรรมปาละ เกิดเมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ.๒๔๐๗ ที่เมืองโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา เดิมมีชื่อว่า “ดอน เดวิด เววาวิตารเน" (Don Devid Vewavitarne) ท่านได้เข้าร่วมสมาคมพื้นฟูการทำงานทางพระพุทธศาสนามาโดยตลอดจนถึงระดับอุดมศึกษา

ในปี พ.ศ.๒๔๒๘ ท่านสนใจหนังสือชื่อ “ประทีปแห่งเอเชีย” ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนผันในวิถีชีวิตของท่าน และในปี พ.ศ.๒๔๓๔ ท่านได้เดินทางไปประเทศอินเดียเป็นครั้งแรก ไปนมัสการพุทธคยาและสารนาท ต่อมาได้ก่อตั้งสมาคมมหาโพธิที่อินเดีย และเริ่มจัดทำวารสารมหาโพธิ จากกัลกัตตา ซึ่งสมาคมมหาโพธิได้มีส่วนที่สำคัญในการก่อตั้งสภาทางศาสนาที่ชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา

ปี พ.ศ.๒๔๔๔ ท่านได้ไปนมัสการสารนาทและจัดซื้อที่ดินที่สารนาท ต่อมาได้ก่อตั้งสารนาทเป็นศูนย์การศึกษาพระพุทธศาสนา ในปี พ.ศ.๒๔๖๐ ได้ได้สถาปนาพุทธธรรมเพื่อสันติภาพและความมั่นคง เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๓

ปี พ.ศ.๒๔๗๐ ท่านได้ก่อตั้งมูลคันธกุฎีวิหารและเริ่มก่อสร้างมูลคันธกุฎีวิหาร และแล้วเสร็จใน ปี พ.ศ.๒๔๗๔

ปี พ.ศ.๒๔๗๖ ท่านได้ป่วยหนักด้วยโรคหัวใจล้มเหลว และสิ้นชีวิตลง เมื่อวันเสาร์ที่​ ๒๙ เมษายน พ.ศ.๒๔๗๖ เวลา ๑๕.๐๐น. รวมอายุได้ ๖๘ ปี ๗ เดือน ๑๒ วัน

งานเผยแผ่พระพุทธศาสนา
ท่านอนาคาริกะ ธรรมปาละ เป็นชาวศรีลังกา และเป็นชาวพุทธที่ศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างมากมาย ก่อนบวชท่านได้ฟังสถานการณ์พุทธสถานจาก เซอร์เอ็ดวิน อาร์โนลด์ แล้ว ท่านได้ตัดสินใจบวชเป็นนักบวช (ยังไม่บวชเป็นพระ) เดินทางมาอินเดีย ท่านพัฒนาป่าอิสิปตนะมฤคทายวันให้เป็นพุทธสถาน ซึ่งเดิมมีการสร้างพระวิหารอยู่แล้ว แต่ยังไม่แล้วเสร็จ ต่อมารัฐบาลของอินเดียได้จัดสรรที่ดินให้ท่าน ๒๐ เอเคอร์ (ประมาณ ๕๐ ไร่) และท่านก็ได้พัฒนาให้เป็นสวนที่มีคุณค่าพร้อมกับการก่อสร้างวิหารเริ่มขึ้นใหม่

ท่านได้กลับไปศรีลังกา และอีก ๓ ปีต่อมาท่านก็ได้กลับมายังป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน อีก และเริ่มงานของสมาคมมหาโพธิ์ ณ ที่นั้นอีกครั้งหนึ่ง ท่านได้พาสามเณรจำนวน ๑๐ รูปจากศรีลังกามาด้วย หลังจากท่านท่านได้สละชีวิตทางโลกออกมาเป็นคนไม่มีบ้าน (อนาคาริก) เป็นเวลานาน และได้บวชสามเณร ในวันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๗๔ โดยท่านพระโพธิรุกขมูเล เรวตะ เป็นพระอุปัชฌาย์ และได้รับฉายาว่า เทวมิตตะ ธัมมปาละ ได้เข้ารับการอุปสมบท ในวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ.๒๔๗๖

การมุ่งมั่นทำงานเพื่อพระพุทธศาสนาและมนุษยชาติ จากประวัติจะเห็นได้ว่า ท่านอนาคาริก ธรรมปาละ เป็นผู้ที่เริ่มต้นที่สำคัญในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนายุคใหม่ และท่านได้พยามยามทำงานเพื่อนำพระพุทธศาสนามาสู่อินเดียจนสำเร็จ รวมตลอดถึงเป็นผู้ร่วมเรียกร้องให้พุทธคยาได้กลับมาอยู่ในความดูแลของชาวพุทธจนเป็นเป็นผลสำเร็จ (เดิมชาวฮินดูนิกายมหันต์ดูแลอยู่) นอกจากนั้น รัฐบาลอินเดีย ยังได้นำสัญลักษณ์ของพระพุทธศาสนา ได้แก่ หัวสิงห์สี่หัวของพระเจ้าอโศกกลายเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติของอินเดีย ธรรมจักรที่ฐานก็ปรากฎอยู่ในธงชาติของอินเดียอีกด้วย

ตลอดชีวิตของท่านได้อุทิศชีวิตเพื่อพระพุทธศาสนา โดยทั้งการเผยแผ่ การก่อตั้งสถาบันทางพุทธศาสนา สถาบันการศึกษาพระพุทธศาสนา เป็นต้น นอกจากนี้ท่านธรรมปาละ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสูง ต่อการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในอินเดีย ประโยชน์ที่ท่านฝากไว้ในพระพุทธศาสนา พอสรุปได้ดังนี้

- เป็นผู้จุดประกายการศึกษาพระพุทธศาสนาในอินเดีย ทำให้ชาวอินเดียซึ่งแทบจะลืมเลือนพระพุทธศาสนาจนหมดสิ้นแล้ว หันกลับมาแนวทางแห่งอริยมรรคแห่งพระพุทธองค์อีกครั้ง

- ท่านได้สร้างอนุสรณ์สถาน ปูชนียสถานเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาไว้มากมาย ตามสถานที่ต่างๆ ที่เป็นที่ระลึกถึงพระพุทธองค์ เช่น วัดมูลคันธกุฎวิหาร ใกล้ๆ กับสถานที่แสดงปฐมเทศนา ที่สารนาถ

- ท่านได้เป็นผู้จุดประกายริเริ่มให้ชาวพุทธและชาวอินเดีย หันมาเอาใจใส่และฟื้นฟูพุทธสถานที่สำคัญของพระพุทธองค์ โดยเฉพาะพุทธคยา แม้ในสมัยของท่านอาจจะยังไม่ทำให้พุทธคยาคืนสู่กรรมสิทธิ์ของชาวพุทธและอยู่ในการดูแลคุ้มครองของชาวพุทธได้ แต่ต่อมาการกระทำของท่านก็เป็นกระแสผลักดันสังคมชาวอินเดียหลายฝ่าย นักปราชญ์หลายท่านก็ได้แสดงความเห็นควรว่าพุทธคยาเป็นสิทธิ์ของชาวพุทธอย่างแน่นอน ต่อมาในเดือนเมษายน ปี ๒๔๙๙ รัฐบาลแห่งรัฐพิหาร ได้ผ่านพระราชบัญญัติวิหารพุทธคยา ซึ่งให้ส่วนหนึ่งอยู่ในการดูแลของชาวพุทธ โดยมีกรรมการชาวพุทธ ๔ ท่าน ชาวฮินดู ๔ ท่าน โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดคยาเป็นประธานจนถึงทุกวันนี้


ขอขอบคุณแหล่งที่มาภาพ/ข้อมูล - เพจพระพุทธศาสนา

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12 พฤษภาคม 2563 14:36:06 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.401 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 12 เมษายน 2567 20:09:05