[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 00:22:24 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: #MeToo เมื่อการติดแฮชแท็กเป็นการแสดงพลังต่อต้านการคุกคามทางเพศจากผู้มีอำนาจ  (อ่าน 1138 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ฉงน ฉงาย
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 9
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 453


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 81.0.4044.129 Chrome 81.0.4044.129


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 07 พฤษภาคม 2563 18:40:34 »

          อีกหนึ่งปรากฏการณ์บนโซเชียลมีเดียแห่งปี 2017 คือ การคุกคามทางเพศจนเป็นที่มาของแฮชแท็ก #MeToo ที่เริ่มต้นจากมีการเปิดโปงพฤติกรรมของโปรดิวเซอร์ใหญ่ในวงการฮอลลีวูด Harvey Weinstein ว่ามีพฤติกรรมคุกคามทางเพศดาราหญิงและลูกจ้างหลายราย คนแรกที่เริ่มเปิดโปงพฤติกรรมของ Weinstein คือ Ashley Judd นักแสดงสาว เธอบอกว่า Weinstein เชิญเธอไปที่โรงแรม Peninsula Beverly Hills เพื่อนัดทานอาหารเช้า แต่กลายเป็นว่าเขาเชิญเธอไปบนห้อง และปรากฏตัวด้วยชุดคลุมอาบน้ำแทน และยังถามเธออีกว่าเธอสามารถมองดูเขาอาบน้ำได้ไหม หลังจากนั้นก็มีอีกหลายคนออกมาเปิดโปงด้วย บางคนเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า Weinstein effect
#MeToo ได้รับการกล่าวถึงในทวิตเตอร์กว่า 5 แสนครั้ง ภายในเวลาไม่ถึงเดือน และในเฟซบุ๊กมีการกล่าวถึงประเด็น #MeToo ถึง 12 ล้านครั้งภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมง
#MeToo ไม่เพียงเป็นปรากฏการณ์ไวรัลในโซเชียลมีเดียชั่วคราว แต่เป็นอีกเหตุการณ์สำคัญที่ต้องบันทึก แม้แต่นิตยสาร TIME ยังยกให้ #Metoo เป็นบุคคลแห่งปี (ใช้ชื่อเรียก #MeToo ว่า The Silence Breaker)
         Harvey Weinstein อายุ 65 ปี สั่งสมประสบการณ์การทำภาพยนตร์มานาน ถือเป็นบุคคลหนึ่งที่มีอิทธิพลในวงการนี้ เขากับน้องชายร่วมกันก่อตั้งบริษัท Miramax ผลงานกำกับที่สร้างชื่อให้เขาคือ , Pulp Fiction, Heavenly Creatures, Flirting with Disaster, Shakespeare in Love    จนกระทั่งในเดือนตุลาคม 2017 The New York Times รายงานข่าว Harvey Weinstein ถูกกล่าวหาข้อหาละเมิดทางเพศ ข่มขืน และยังระบุด้วยว่ามีผู้หญิงหลายสิบคนต้องทนกับพฤติกรรมคุกคามทางเพศของ Weinstein เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 30 ปี The New York Times ยังรายงานด้วยว่า Weinstein จ่ายเงินค่าชดเชยให้ผู้หญิง 8 ราย ปิดปากไม่ให้บอกใคร      จากข้อกล่าวหา พฤติกรรมคุกคามทางเพศของ Weinstein เกิดขึ้นมานานนับสิบปี แต่ในปี 2017 เป็นปีที่เหยื่อแต่ละรายไม่ปิดปากเงียบอีกต่อไป คนทั่วโลกตกตะลึงมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อดาราสาวทยอยออกมาโพสต์โซเชียลติดแฮชแทก #MeToo ว่าตนก็เป็นอีกคนที่ Weinstein เคยคุกคาม และมีออกมาให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อเช่น Ashley Judd, Gwyneth Paltrow, Angelina Jolie, Cara Delevingne, Asia Argento
         MeToo ยังเป็นสัญลักษณ์การเปิดโปงประสบการณ์ถูกคุกคามทางเพศในที่ทำงานด้วย
#MeToo จากเดิมที่เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดจากผู้ชายคนเดียว ได้ลุกลามไปจนถึงการคุกคามทางเพศในที่ทำงาน ซึ่งสอดคล้องกับประสบการณ์ที่เหยื่อของ Weinstein ต้องเจอ เหยื่อของเขาหลายรายต้องปิดปากเงียบมานานหลายปี เพื่อรักษาหน้าที่การงานของตนเองไว้
        หลังจาก Weinstein ถูกเปิดโปง ก็มีรายนามคนใหญ่คนโตในวงการอื่นที่ไม่ใช่ฮอลลีวูดถูกเปิดโปงพฤติกรรมฉาวด้วย เช่น     Matt Lauer นักข่าวโทรทัศน์รายการ Today ของช่อง NBC
Kevin Spacey นักแสดงนำซีรีส์ House of Cards,  AlFranken สมาชิกวุฒิสภาสหรัฐฯ,    LouisC.K. ดาราตลก GeorgeTakei นักแสดงชาวญี่ปุ่น   แต่ละกรณีล้วนเป็นการเปิดเผยประสบการณ์ถูกคุกคามทางเพศที่เหยื่อเป็นคนในที่ทำงานทั้งสิ้น บางคดีเกิดขึ้นมานานแล้ว แต่เพิ่งมาเปิดเผยหลังกระแส #MeToo จุดติด#MeToo นอกพรมแดนอเมริกา
         กระแส #MeToo เริ่มขึ้นในสหรัฐฯ และแพร่ไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว ในประเทศจีน กระแส #MeToo ไม่ได้ปะทุขึ้นในวงการบันเทิงและธุรกิจเหมือนในสหรัฐฯ แต่กลายเป็นวงการการศึกษา  Luo Qianqian อาจเป็นผู้หญิงจีนคนแรกที่ลุกมาจุดกระแส #MeToo เธอเล่าว่า Chen Xiaowu ศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัย Beihang คุกคามทางเพศเธอตั้งแต่สมัยที่ Xiaowu เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาปริญญาเอกในปี 2005 เธอยังติดต่อศิษย์เก่ารายอื่นที่มีประสบการณ์เดียวกัน และรวบรวมหลักฐานแจ้งให้หน่วยควบคุมวินัยรับทราบ จนกระทั่ง Chen Xiaowu ถูกไล่ออก    หลังจากนั้นก็มีผู้หญิง นักศึกษาคนอื่นได้รับแรงบันดาลใจจาก Luo Qianqian ออกมาเล่าประสบการณ์ที่ถูกกระทำโดยผู้สอนบ้าง หลายเหตุการณ์ที่ถูกเก็บเงียบมานาน ได้รับการเปิดเผย
         

        ในอินเดีย กระบวนการที่คล้ายๆ กับ #Metoo เริ่มขึ้นมาก่อนจะมีกระแส #Metoo เสียอีก Women In Cinema Collective (WCC) ก่อตั้งขึ้นโดยมีเป้าหมายรักษาสิทธิสตรีในวงการภาพยนตร์ เช่น ลาคลอด เลี้ยงดูบุตร รายได้ที่เป็นธรรมและเท่าเทียม และการคุกคามทางเพศ
No Description
ภาพจาก Facebook WCC

           คุกคามทางเพศ ปัญหาเรื้อรังในวงการไอที
มองกลับมาที่วงการไอที ปี 2017 ถือเป็นปีที่การคุกคามทางเพศสร้างแรงกระเพื่อมมากจนบุคคลดำรงตำแหน่งสำคัญๆ หลุดออกจากตำแหน่งหลายราย กรณีสำคัญคือ Uber โดย Susan J. Fowler อดีตวิศวกรซอฟต์แวร์หญิงเขียนบล็อกเล่าว่าโดนผู้มีตำแหน่งสูงใน Uber เจ้านายล่วงละเมิดทางเพศด้วยวาจา (ขอมีเซ็กซ์ด้วย) และเมื่อแจ้งไปยังฝ่าย HR เรื่องกลับปิดเงียบ เมื่อเรื่องถูกตีแผ่ออกไปทำให้ริษัทตั้งคณะกรรมการสอบสวนเรื่องนี้จริงจัง เป็นจุดเริ่มต้นของการลาออก และปลดผู้บริหารหลายราย Uber ถึงกับประกาศนโยบายปฏิรูปวัฒนธรรมองค์กรยกใหญ่    หลัง Uber ตกเป็นประเด็นการคุกคามทางเพศในที่ทำงาน ผู้หญิงในวงการคนอื่นก็กล้าเปิดเผยประสบการณ์ตัวเองมากขึ้น สำนักข่าว New York Times ตีแผ่ประสบการณ์ของผู้หญิงเล่านี้ พกเธอระบุว่า นักลงทุนมักจะเป็นฝ่ายคุกคาม เพราะมีเงินทุนถือไพ่เหนือกว่า และบรรดาสตาร์ทอัพที่พวกเธอทำงานอยู่ด้วยนั้นต่างก็ต้องพึ่งพาเม็ดเงินเหล่านี้

            การเคลื่อนไหวต่อต้านคุกคามทางเพศในวงการไอที เริ่มมีมากขึ้นในปี 2017 แต่ยังไม่สามารถสร้างผลสะเทือนไปทั่วโซเชียลมีเดียและทั่วโลกได้มากเท่า Weinstein effect    ส่วนหนึ่ง ที่การคุกคามทางเพศในวงการไอที รวมทั้งวงการทำงานในอาชีพอื่นๆ ผู้ถูกกระทำไม่กล้าออกมาเปิดเผยข้อมูลนอกจากกลัวกระทบหน้าที่การงานแล้ว ยังมีเรื่อง NDA (non-disclosure agreement) หรือข้อตกลงการเปิดเผยข้อมูลที่เป็นความลับ เป็นสัญญาที่ทั้งคู่ ในที่นี้คือนายจ้างและลูกจ้าง ทำความตกลงร่วมกันว่าจะไม่เปิดเผยข้อมูลในองค์กรออกไปภายนอก
            Sundar Pichai ซีอีโอ Google ออกมาให้สัมภาษณ์กับ Recode และ MSNBC เมื่อพิธีกรถามถึงข้อตกลง NDA กับการไม่กล้าเปิดเผยของพนักงานที่ถูกคุกคามทางเพศ ว่ามีแผนจะปลดล็อกข้อตกลง NDA ให้เหยื่อออกมาเปิดเผยเรื่องราวคุกคามทางเพศหรือไม่ Pichai บอกว่า เขาไม่มีปัญหาเรื่อง NDA ออกมาเปิดเผยได้เลยถ้าถูกคุกคาม

สรุป
Weinstein effect เป็นแรงบันดาลใจให้ผู้หญิงออกมาเรียกร้องความเป็นธรรมให้ตนเอง หลังจากปิดปากเงียบเพราะกลัวกระทบหน้าที่การงาน
#MeToo ถือเป็นความสำเร็จของการติดแฮชแท็กในโซเชียลมีเดียมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา
หากไม่มี Weinstein effect การเคลื่อนไหวสำคัญทางสังคม ต่อต้านการคุกคามทางเพศในที่ทำงานก็อาจไม่เกิดขึ้น


อ้างอิง

The Strait Times 1, 2
The New York Times

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.353 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 2 ชั่วโมงที่แล้ว