[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 มีนาคม 2567 16:56:19 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: อุโมงค์รถไฟที่ยาวที่สุดในประเทศไทย ก็คือ “อุโมงค์ขุนตาน”  (อ่าน 2341 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ฉงน ฉงาย
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 9
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 453


ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 83.0.4103.116 Chrome 83.0.4103.116


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 01 กรกฎาคม 2563 23:10:29 »


อุโมงค์รถไฟที่ยาวที่สุดในประเทศไทย ก็คือ “อุโมงค์ขุนตาน”

                    อุโมงค์รถไฟที่ยาวที่สุดในประเทศไทย ก็คือ “อุโมงค์ขุนตาน” อยู่ระหว่างจังหวัดลำปางกับลำพูน เจาะลอดใต้ดอยงาช้างของเทือกเขาขุนตาลเข้าไป ยาวถึง ๑,๓๖๒.๐๕ เมตรกว่าจะทะลุอีกด้าน นับเป็นความมหัศจรรย์ที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ สร้างความตื่นเต้นให้คนทั้งประเทศ ซึ่งต้องใช้วิทยาการและความอุสาหะอย่างมาก เพราะเครื่องมือเครื่องใช้ก็ไม่มีเหมือนในยุคนี้ ต้องใช้แรงคนตอกหินทีละก้อน ทั้งการเดินทางเข้าไปทำงานก็ยากลำบาก ต้องบุกป่าฝ่าดงแบกอุปกรณ์เข้าไป ซ้ำวิศวกรชาวเยอรมันที่ควบคุมงานทั้งหมดยังถูกจับในฐานะเป็น “ชนชาติสัตรู” ต้องใช้เวลาถึง ๓ รัชกาลจึงเปิดเดินรถได้   หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงทำพิธีเริ่มสร้างทางรถไฟในวันที่ ๔ มีนาคม ๒๔๓๔ จนปลายปี ๒๔๔๘ รถไฟสายเหนือก็เพิ่งเดินรถไปได้แค่สถานีนครสวรรค์ และการสำรวจเส้นทางที่จะไปถึงเชียงใหม่มีอุปสรรคใหญ่ คือเทือกเขาขุนตาลที่ขวางกั้นจนยากที่หลบเลี่ยงได้
หลังจากสำรวจอยู่ ๒ ปี ในที่สุดก็ตัดสินใจที่จะขุดอุโมงค์ลอดไปอย่างที่ในยุโรปทำกันมาแล้ว แต่การขุดอุโมงค์ลอดใต้ภูเขายาวเป็นกิโลเมตรเช่นนี้ ทั้งยังอยู่ในดินแดนทุรกันดารที่ต้องปีนป่ายภูเขาเข้าไป นับเป็นเรื่องที่คนไทยทั่วไปมองไม่เห็นทางที่จะเป็นไปได้ แต่ก็มีความศรัทธาเชื่อถือในวิศวกรเยอรมัน ซึ่งตอนนั้นคนไทยนิยมเยอรมันมาก ถือกันว่าสินค้าเยอรมันมีคุณภาพดีกว่าทุกชาติในโลก ทั้งยังคบหากันได้อย่างสบายใจ เพราะเยอรมันไม่มีนโยบายแสวงหาอาณานิคมในย่านนี้ ผิดกับอังกฤษและฝรั่งเศสที่ไว้ใจไม่ได้ ยอกย้อนซ่อนแผนที่จะยึดครองประเทศไทยให้ได้

               การเจาะอุโมงค์ขุนตานเริ่มต้นในปี ๒๔๕๐ ซึ่งยังอยู่ในสมัยรัชกาลที่ ๕ โดยมีวิศวกรเยอรมันชื่อ อีมิล ไอเซนโฮเฟอร์ เป็นผู้ควบคุมคนแรก และขุดทั้ง ๒ ด้านให้มาบรรจบกันพอดี ซึ่งต้องใช้การคำนวณที่แม่นยำมาก
จุดเริ่มต้นขุดอุโมงค์ทั้ง ๒ ด้าน อยู่ในบริเวณทุรกันดารที่การเดินทางต้องใช้เดินเท้าหรือขี่ม้าเข้าไป ส่วนอุปกรณ์เครื่องใช้ในการก่อสร้างและสัมภาระทั้งหลาย ต้องใช้ช้างและเกวียนบรรทุก บางตอนที่เป็นภูเขาชันก็ต้องใช้รอกกว้านขึ้นไป โดยฐานหัวงานอยู่ที่ลำปาง

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ฉงน ฉงาย
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 9
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 453


ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 83.0.4103.116 Chrome 83.0.4103.116


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 01 กรกฎาคม 2563 23:12:18 »



           วิธีขุด เริ่มด้วยการเจาะเป็นรูเล็กๆเข้าไปโดยใช้แรงงานคนตอกหรือใช้สว่าน จากนั้นจึงเอาดินระเบิดไดนาไมต์ฝัง สอดใส่แก๊ปหรือเชื้อประทุ แล้วต่อสายชนวนยาวเพื่อความปลอดภัยของคนจุดชนวนระเบิด
บางจุดก็ใช้วิธีสุมไฟให้หินร้อนจัด ซึ่งจะทำให้สกัดออกได้โดยง่าย หรือบางก้อนราดน้ำลงไปหินร้อนก็จะแตกเองเป็นเสี่ยงๆ  ยิ่งขุดลึกเข้าไปงานก็ยิ่งยากขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะต้องขนเศษหินออกมาทิ้งนอกอุโมงค์ ซึ่งหินที่เจาะออกมาจากอุโมงค์ขุนตาลมีปริมาณถึง ๖๐,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร การใช้แรงงานคนขนออกจากถ้ำ จึงเป็นงานที่หนักหนาสาหัสยิ่งคนงานที่สมัครมารับภาระในการขุดเจาะอุโมงค์ขุนตานนี้ ส่วนใหญ่เป็นพวกที่หาทางไปทำงานอย่างอื่นได้ยาก ได้แก่พวกนักร่อนเร่เผชิญโชค พวกขี้เหล้าและขี้ยา ซึ่งขี้ยาในยุคนั้นก็คือพวกสูบฝิ่นที่ยังไม่มีกฎหมายห้าม ปรากฏว่าพวกที่ทำงานได้ดีที่สุดก็คือพวกขี้ยา ซึ่งมีความขยันมากกว่ากลุ่มอื่นๆ ทั้งๆที่ทุกคนต่างมีร่างกายผอมแห้ง ที่ขยันทำงานก็หวังจะได้เงินมาสูบฝิ่น ทั้งยังไม่มีความกลัวควันพิษต่างๆในอุโมงค์ที่เกิดจากฝุ่นหิน เพราะเชื่อในอิทธิฤทธิ์ของฝิ่นว่าจะกำจัดได้หมด เมื่อขุดเข้าไปลึกๆอากาศหายใจก็น้อยลงทุกที ต้องปั๊มอากาศเข้าไปช่วย แต่พวกสูบฝิ่นที่ผอมแห้งก็ใช้อากาศหายใจน้อยกว่าพวกอื่นเนื่องจากอุโมงค์ขุนตานอยู่ในแดนทุรกันดารที่ชุกชุมด้วยไข้ป่า กรรมกรเหล่านี้นอกจากจะเสียชีวิตจากโรคภัยไข้เจ็บแล้ว ยังมีไม่น้อยที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุเพราะความประมาท อย่างเช่นการต่อสายชนวนเข้ากับแก๊ปเชื้อประทุ แทนที่จะใช้คีบบีบ กรรมกรหลายคนมักง่ายใช้ฟันกัดแทนคีม ถ้าเกิดพลาดไม่ถึงตายก็ฟันร่วงหมดปาก


             หลังจากขุดอุโมงค์ขุนตานมาได้ ๕ ปีก็มีเรื่องเศร้าสลดเกิดขึ้นแก่พสกนิกรชาวไทย เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้พระราชทานกำเนิดรถไฟไทย ได้เสด็จสวรรคตในวันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๔๕๓ แต่การขุดเจาะอุโมงค์ขุนตาลก็ยังดำเนินต่อไป
หลังจากใช้เวลาเจาะอยู่ถึง ๘ ปี อุโมงค์ทั้ง ๒ ด้านก็ทะลุถึงกันตรงตามที่คำนวณไว้ จากนั้นยังต้องใช้เวลาทำผนังและเพดานคอนกรีตตลอดอุโมงค์อีกถึง ๓ ปี เพื่อป้องกันการรั่วซึมของน้ำจากภูเขา




บันทึกการเข้า

ฉงน ฉงาย
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 9
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 453


ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 83.0.4103.116 Chrome 83.0.4103.116


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 01 กรกฎาคม 2563 23:13:47 »



                   ระหว่างที่การขุดอุโมงค์ขุนตานยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ไทยก็เข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ ๑ ประกาศสงครามกับเยอรมัน ในการตัดสินพระทัยเข้าร่วมสงครามในครั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงคำนึงถึงการเจาะอุโมงค์ขุนตานและการสร้างทางรถไฟสายเหนือ ซึ่งอยู่ในความควบคุมของวิศวกรเยอรมันทั้งสิ้น และต่างก็มีความดีความชอบได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ โดย มิสเตอร์ เอฟ ชะแนร์ ได้เป็น พระอำนวยรถกิจ มิสเตอร์ แอร์วิล มูลเลอร์ ได้เป็น พระปฏิบัติราชประสงค์ มิสเตอร์ ยี เอฟ เวเลอร์ ได้รับพระราชทานนามสกุล “เวลานนท์” เมื่อประกาศสงครามกับเยอรมันแล้ว คนเหล่านี้ต้องถูกจับเป็นเชลยทันทีเพราะเป็นชาติคู่สงคราม แม้จะเป็นมิตรที่ดีของคนไทยมาตลอดก็ตาม และเมื่อเห็นว่าไทยไปเข้าข้างศัตรู ก็อาจขุ่นเคืองหาทางแก้แค้นได้ จนมีเหตุไม่คาดคิดเกิดขึ้นกับอุโมงค์ขุนตาลได้
ดังนั้นในวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๔๖๐ ก่อนจะประกาศสงครามเพียง ๒๕ วัน จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนกำแพงเพชรอัครโยธิน ซึ่งทรงศึกษาวิชาวิศวกรรมและทหารช่างจากอังกฤษ กำลังดำรงตำแหน่งจเรทหารบก เข้ารับตำแหน่งผู้บัญชาการรถไฟ ควบคุมการก่อสร้างทางรถไฟทั้งหมด นอกจากนี้ยังทรงมีพระราชหัตถเลขาถึง พระยาสฤษดิ์การบรรจง (สมาน ปันยารชุน) นายช่างแขวงบำรุงทางรถไฟจังหวัดนครราชสีมา กำหนดให้เปิดซองอ่านในวันที่ ๒๒ กรกฎาคม ซึ่งเป็นวันที่ทรงกำหนดไว้อย่างเงียบๆว่าจะเป็นวันประกาศสงครา


                  พระยาสฤษดิ์การบรรจงได้รับลายพระหัตถ์แล้วก็มิได้เฉลียวใจ เผอิญถึงกำหนดลาพักผ่อนไว้ จึงขึ้นไปเยี่ยมเยียนพระราชดรุณรักษ์ ซึ่งเป็นญาติ ซึ่งไปรับตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนมหาดเล็กหลวงที่จังหวัดเชียงใหม่ พอวันที่ ๒๒ กรกฎาคมจึงไปเปิดซองพระราชหัตถเลขาออกอ่านที่นั่น พอทราบเรื่องก็ตกใจ รีบเดินทางไปที่อุโมงค์ขุนตาลทันที และได้พบกับกรมขุนกำแพงเพชรอัครโยธิน ซึ่งทรงไปบัญชาการอยู่ที่นั่นแล้ว

                นอกจากจะมีชาวเยอรมันที่ควบคุมการขุดอุโมงค์ขุนตานถูกจับ ถูกถอดบรรดาศักดิ์ และถูกคุมตัวส่งลงมากรุงเทพฯ ตามกติกาของสงครามแล้ว ยังมีชาวเยอรมันที่อยู่ในกรมรถไฟและกรมไปรษณีย์รวมกันถึง ๑๗๘ คนถูกจับทั้งหมด แต่ก็เป็นการทำตามกติกาสงครามเท่านั้น คนเยอรมันยังได้รับการดูแลเป็นพิเศษ ใช้โรงพยาบาลทหารบกที่ถนนอุณากรรณ ซึ่งทันสมัยเหมือนโรงแรมชั้น ๑ เป็นที่ควบคุม และยังมีหมอและพยาบาลดูแลสุขภาพด้วย ส่วนครอบครัวที่มีเด็กก็ใช้สโมสรของชาวเยอรมันเองที่ถนนสุรวงศ์เป็นที่กักกัน


บันทึกการเข้า

ฉงน ฉงาย
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 9
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 453


ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 83.0.4103.116 Chrome 83.0.4103.116


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 02 กรกฎาคม 2563 00:03:57 »



                       เมื่ออุโมงค์ขุนตานเสร็จเรียบร้อยในปี ๒๔๖๑ จากนั้นก็ถึงขั้นวางราง แต่รางรถไฟสายเหนือจากจังหวัดลำปางก็ยังมาไม่ถึงอุโมงค์ขุนตาล เนื่องจากภูมิประเทศเต็มไปด้วยหุบเหวและป่าทึบ ยากแก่การวางราง โดยเฉพาะในช่วง ๘ กิโลเมตรก่อนถึงขุนตาล มีเหวลึกถึง ๓ แห่งที่ไม่สามารถหลบเลี่ยงได้ ต้องสร้างสะพานข้ามไปเท่านั้น คือหุบเหวที่ ปางยางเหนือ ปางยางใต้ และปางหละ ซึ่งเหวที่ปางหละเป็นเหวที่กว้างและลึกที่สุด ต้องใช้ซุงหลายสิบต้นตั้งเป็นหอขึ้นมาจากก้นเหวรองรับรางรถไฟ ตอนข้ามก็ต้องวิ่งอย่างบรรจงช้าๆ เป็นที่หวาดเสียวของผู้โดยสารอย่างยิ่ง และใช้มาจนหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ จึงเปลี่ยนเป็นหอคอนกรีตเสริมเหล็ก

                       อุโมงค์ขุนตานแล้วเสร็จสมบูรณ์ เปิดให้ขบวนรถไฟผ่านเป็นครั้งแรกในวันที่ ๑ มกราคม ๒๔๖๘ ในสมัยรัชกาลที่ ๗ เป็นความตื่นเต้นและปรารถนาของคนไทยอย่างยิ่งที่อยากจะนั่งรถไฟลอดอุโมงค์ขุนตานสักครั้งในชีวิต แม้ในเวลากลางวันภายในอุโมงค์ขุนตาลก็จะมืด รถไฟต้องเปิดไฟทั้งขบวนจนผ่านพ้นอุโมงค์   การเจาะภูเขาที่เป็นหินแกร่งให้เป็นอุโมงค์กว้างจนรถไฟเข้าไปได้ และเป็นระยะทางไกลถึงกิโลเมตรเศษเช่นนี้ ในยุคนั้นนับว่าเป็นเรื่องที่ยากยิ่ง จนเกือบเป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ แต่ก็เป็นไปแล้วด้วยความอุสาหะพยายามของมนุษย์ อย่างที่มีคำกล่าวไว้ว่า “แม้แต่แม่น้ำยังหลีกทาง ภูเขาต้องโค้งคำนับ” ยิ่งในยุคที่เทคโนโลยีก้าวหน้าไปไกลอย่างในปัจจุบัน ถ้ามนุษย์จะนำมาใช้อย่างสร้างสรรค์ ไม่เอามาใช้ทำลายล้าง ข่มเหง เบียดเบียนกัน โลกใบนี้ก็จะสวยงามน่าอยู่ขึ้นอีกมาก







https://readthecloud.co/wp-content/uploads/2019/03/travel-rail-khuntan-6.jpg
อุโมงค์รถไฟที่ยาวที่สุดในประเทศไทย ก็คือ “อุโมงค์ขุนตาน”


https://readthecloud.co/wp-content/uploads/2019/03/travel-rail-khuntan-7.jpg
อุโมงค์รถไฟที่ยาวที่สุดในประเทศไทย ก็คือ “อุโมงค์ขุนตาน”
การก่อสร้างทางรถไฟสายเหนือ
ภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติ

ที่มา เรื่องเก่าเล่าสนุก
บันทึกการเข้า

คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.565 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 02 มีนาคม 2567 23:30:47