[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
25 เมษายน 2567 07:31:09 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: จอมพล ป.'พิบูลซัง' ที่คนญี่ปุ่นรู้จัก  (อ่าน 1515 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ฉงน ฉงาย
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 9
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 453


ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 83.0.4103.116 Chrome 83.0.4103.116


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 05 กรกฎาคม 2563 18:45:16 »


จอมพล ป.'พิบูลซัง' ที่คนญี่ปุ่นรู้จัก

                     ปลายเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2499 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2499 ฉบับใหม่ และกำหนดวันเลือกตั้งในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2500 จอมพล ป. พิบูลสงคราม ในฐานะหัวหน้าพรรคเสรีมนังคศิลา พร้อมด้วยสมาชิกพรรคอีก 8 นายลงสมัครรับเลือกตั้งในจังหวัดพระนคร ผลปรากฏว่าจอมพล ป. พิบูลสงครามพร้อมด้วยสมาชิกพรรคอีก 6 นายได้รับเลือกตั้ง

                ส่วนในต่างจังหวัดสมาชิกของพรรคได้รับเลือก 79 นาย รวมเป็นผู้แทนสังกัดพรรคเสรีมนังคศิลา 86 นาย จากจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนทั้งหมด 160 นาย พรรคเสรีมนังคศิลาจึงรับหน้าที่จัดตั้งรัฐบาลโดยจอมพล ป. พิบูลสงครามได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ.2500  แม้ว่าผลการเลือกตั้งจะทำให้จอมพล ป.พิบูลสงครามได้เป็นนายกรัฐมนตรีอีกสมัย แต่ชัยชนะของรัฐบาลในครั้งนี้ถูกนักศึกษาที่ไปสังเกตการณ์การเลือกตั้งจับได้ว่ามีการโกงการเลือกตั้งเป็นจำนวนมาก นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมากกว่า 5,000 คนได้ชุมนุมประท้วง การเลือกตั้งสกปรก โดยพากันเดินขบวนประท้วงไปตามถนนราชดำเนิน มุ่งไปยังทำเนียบรัฐบาล และมีการชุมนุมไฮด์ปาร์คของประชาชนนับหมื่นคนที่สนามหลวงเพื่อขับไล่รัฐบาล

                การเลือกตั้งสกปรกและการประท้วงการเลือกตั้งของนักศึกษา ประชาชน ทำให้สถานะความชอบธรรมทางการเมืองของจอมพล ป. พิบูลสงครามตกต่ำและหมดไปในที่สุด พล.อ.สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ลาออกจากคณะรัฐบาลเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ.2500 และนำคณะทหารเข้ายึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีจึงสิ้นสุดการเป็นนายกรัฐมนตรีด้วยการรัฐประหาร และได้ตัดสินใจเดินทางออกจากประเทศไทยทางจังหวัดตราด เข้าสู่กัมพูชาและไปลี้ภัยการเมืองอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ฉงน ฉงาย
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 9
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 453


ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 83.0.4103.116 Chrome 83.0.4103.116


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 05 กรกฎาคม 2563 18:47:01 »



                จอมพล ป. พิบูลสงครามได้พำนักในประเทศญี่ปุ่น ที่ตำบลชินจูกุ ชานกรุงโตเกียวเป็นเวลาเกือบหนึ่งปีเต็ม ในบ้านของนายวาด้า คหบดีญี่ปุ่น ผู้จัดการบริษัทน้ำมันมารูเซ็น ซึ่งได้ยกบ้านหลังหนึ่งให้เป็นที่อยู่อาศัย ต่อมาได้เดินทางไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา พักที่เมืองเบิร์กเลย์ รัฐแคลิฟอร์เนียเป็นเวลา 2 ปี ก่อนที่จะกลับมายังประเทศญี่ปุ่นอีกครั้ง และได้เดินทางไปอุปสมบทที่วัดไทยพุทธคยา ประเทศอินเดียเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ.2503 ตามที่ได้ตั้งปณิธานไว้ รวมเวลาที่อยู่ในเพศบรรพชิต 24 วัน  เมื่อลาสิกขาแล้วได้เดินทางกลับมาพำนักอยู่ที่บ้านเดิมของนายวาด้า จนถึงวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ.2506 จึงย้ายเข้าบ้านหลังเล็กที่ซื้อไว้ที่เมืองซากามิฮาร่า ห่างจากกรุงโตเกียวประมาณ 30 กิโลเมตร และได้ใช้ชีวิตบั้นปลายอยู่ในบ้านหลังนี้อย่างสงบ

                 ในระหว่างที่พำนักในประเทศญี่ปุ่น จอมพล ป. พิบูลสงครามมีอาการเจ็บไข้เล็กๆ น้อยๆ ตามการเปลี่ยนแปลงของอากาศ มีเพียงครั้งเดียวที่ต้องเข้าโรงพยาบาลเพื่อให้แพทย์ผ่าตัดถุงน้ำดีเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ.2506 ภายหลังการผ่าตัดสุขภาพอนามัยของจอมพล ป. พิบูลสงครามแข็งแรงดี โดยมีกิจกรรมที่โปรดปรานคือการขับรถไปทัศนาจรในที่ต่างๆ ระยะไกล เล่นกอล์ฟ พรวนดินทำสวน ปลูกต้นไม้

                ในยามว่างจอมพล ป. พิบูลสงครามมักจะพาครอบครัวไปเที่ยวตามเมืองต่างๆ หลายแห่งที่มีสิ่งน่าสนใจ บางครั้งก็พาไปทานอาหารตามภัตตาคารที่มีชื่อเสียงในโตเกียว บ่อยครั้งก็พาไปตามร้านอาหารเล็กๆ นอกเมืองที่มีอาหารพิเศษของร้านโดยเฉพาะ และที่บ้านซากามิฮาร่าในตอนกลางวันมักจะมีแขกเหรื่อมาเยี่ยมเยียนจอมพล ป. พิบูลสงครามทุกวันตั้งแต่เช้า
หลังอาหารกลางวันจอมพล ป. พิบูลสงครามมักจะนอนพักถ้าไม่ขับรถออกไปเที่ยวนอกเมือง ครั้นเวลาเย็นจะลงสวนปลูกต้นไม้พรวนดินและแต่งสวนสนามหญ้า จนถึงเวลาอาหารค่ำจึงขึ้นบ้าน จอมพล ป. พิบูลสงครามจะอยู่ท่ามกลางมิตรสหายใจดีทั่วไป ชาวญี่ปุ่นทั้งเด็กและผู้ใหญ่จะรู้จักจอมพล ป. พิบูลสงครามในนาม "พิบูลซัง" เป็นอย่างดี



บันทึกการเข้า

ฉงน ฉงาย
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 9
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 453


ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 83.0.4103.116 Chrome 83.0.4103.116


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 05 กรกฎาคม 2563 18:48:52 »



                    จอมพล ป. พิบูลสงครามมีกิจวัตรประจำวันเช่นนี้มาโดยตลอด ขณะเดียวกันก็ปรากฏอาการเจ็บหน้าอกซึ่งเป็นต้นเหตุของโรคหัวใจเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว จนกระทั่งวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ.2507 จอมพล ป. พิบูลสงครามถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคหัวใจวาย รวมอายุได้ 66 ปี 10 เดือน 11 วัน พิธีฌาปนกิจศพจอมพล ป. พิบูลสงครามประกอบขึ้นที่วัดเรอิเกนจิ ตำบลโกทันดา เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ.2507 โดยได้รับความอนุเคราะห์จาก พล.ท.วิทูร หงสเวส เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงโตเกียว อัฐิของจอมพล ป. พิบูลสงครามทั้งหมดได้ถูกเชิญมายังประเทศไทยเมื่อวันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ.2507

                 จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นผู้ที่ได้ทำคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติในหลายๆ ด้าน ตลอดระยะเวลาที่ยังมีชีวิตอยู่ เป็นนายกรัฐมนตรีที่อยู่ในตำแหน่งนานที่สุดคือ 14 ปี 11 เดือน 18 วัน ได้รับประกาศเกียรติคุณจากโรงเรียนเสนาธิการทหารบกให้เป็นศิษย์เก่าดีเด่นเป็นคนแรก ดังนั้นพิธีต้อนรับอัฐิที่สนามบินดอนเมืองจึงจัดอย่างสมเกียรติท่ามกลางข้าราชการและประชาชน ตลอดจนพระภิกษุจากอารามต่างๆ อีกหลายรูปซึ่งเดินทางมาร่วมในพิธีต้อนรับอัฐิจอมพล ป. พิบูลสงครามกลับสู่ประเทศไทย  อัฐิของจอมพล ป. พิบูลสงครามถูกเชิญมาตั้งบำเพ็ญกุศลที่บ้านซอยชิดลมจนถึงวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ.2507 จึงได้นำไปบรรจุในเจดีย์วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน ร่วมกับอัฐิของผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475  อัฐิอีก 2 ชิ้น ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม ได้มอบให้โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม ซึ่งเป็นโรงเรียนแรกของจอมพล ป. พิบูลสงคราม อีกชิ้นหนึ่งได้เชิญไปบรรจุไว้ในเจดีย์องค์เล็กร่วมกับบิดา มารดาของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ในบริเวณวัดปากน้ำ ริมคลองบางเขนเก่า จังหวัดนนทบุรี.



-------------------------
ข้อมูล: สถาบันพระปกเกล้า, รศ.ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์



บันทึกการเข้า

ฉงน ฉงาย
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 9
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 453


ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 83.0.4103.116 Chrome 83.0.4103.116


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 05 กรกฎาคม 2563 18:52:42 »



https://storage.thaipost.net/main/uploads/photos/big/20190731/image_big_5d413c039249b.jpg
จอมพล ป.'พิบูลซัง' ที่คนญี่ปุ่นรู้จัก

https://storage.thaipost.net/main/uploads/photos/big/20190814/image_big_5d53fe4b5eea2.jpg
จอมพล ป.'พิบูลซัง' ที่คนญี่ปุ่นรู้จัก








บันทึกการเข้า

คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.209 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 11 เมษายน 2567 22:09:56