[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 19:27:00 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เรื่องเล่า สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์  (อ่าน 2268 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5392


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 16 กรกฎาคม 2563 12:23:58 »



สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
ทรงครองวัดบวรนิเวศวิหาร พ.ศ. ๒๔๘๘ - ๒๕๐๑
เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต พระองค์ที่ ๔
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์






สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงเป็นพระราชอุปัธยาจารย์
ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร






พระแท่นบรรทมของสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
พระแท่นบรรทมสร้างขึ้นโดยมีขนาดตรงตามพระธรรมวินัยกำหนดไว้คือ

ห้ามทำเตียง ตั่ง สูงกว่า ๘ นิ้วพระสุคต


กระเป๋าหนังสำหรับเก็บของใช้ส่วนพระองค์



ชุดเครื่องยาไทย
สมเด็จพระสังฆราชจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงสนพระทัยและมีความรู้เรื่องสมุนไพร
และการปรุงเครื่องยาไทย เครื่องมือในการปรุงยาที่ยังคงเหลืออยู่ ได้แก่ ครกบดยา และของโอสถ



ที่มา (ข้อมูล/ภาพ) : พิพิธภัณฑ์และห้องสมุดเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร
ผู้ที่สนใจศึกษาสามารถเดินทางไปได้ที่ พิพิธภัณฑ์และห้องสมุดเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร
๒๔๘ ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ๑๐๒๐๐

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10 มีนาคม 2564 18:29:15 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5392


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 10 มีนาคม 2564 18:43:20 »




วันสมเด็จสิ้นพระชนม์
ธมฺมสาโรภิกขุ วัดบวรนิเวศวิหาร เรียบเรียง.

สมเด็จประชวรหนักมาก!
สมเด็จสิ้นพระชนม์แล้ว!
เชิญพระศพสมเด็จกลับวัดบวร!
สมเด็จเสด็จเข้าพระโกศทอง!
สมเด็จทรงรับสักการะอันยิ่งใหญ่!
สมเด็จประทับในพระโกศทองปีครึ่งเศษ!
สมเด็จมีกำหนดเสด็จขึ้นพระราชรถ!
สมเด็จเสด็จยังพระเมรุวัดเทพศิรินทร์!
เชิญพระอัฐิสมเด็จกลับยังวัดบวรนิเวศและสมเด็จจะประทับอยู่ที่นี่ชั่วนิรันดร ! ! !

แต่ก่อนแต่ไรมา วัดบวรนิเวศวิหาร มีองค์สมเด็จเป็นมิ่งขวัญชั่วระยะเวลายาวนาน ชาววัดบวรนิเวศชินต่อพระสุรเสียงอันกังวาล เสียงทรงพระสรวจ เสียงรับสั่งการการงาน เสียงปรึกษาหารือการงาน เสียงวิจารณ์ธรรมวินัย เสียงพระโอวาท เสียงทรงเล่าเรื่องต่างๆ อันเป็นคติแก่ผู้เข้าเฝ้า ตอนทรงชราก็ทรงไม้เท้าเสด็จไปตามถนนต่างๆ ในวัด ตอนประชวรก็ประทับรถเข็นเสด็จไปลงพระอุโบสถ หรือเสด็จงานผู้ที่มาบำเพ็ญกุศลในวัด ทรงทักทายปราศรัยผู้ที่ทรงคุ้นเคย และอื่นๆ อีกนานาประการ

แต่ ณ บัดนี้  สมเด็จเสด็จจากไปแล้ว โดยมิกลับคืนมา  โอ เจ้าพระคุณสมเด็จ !

หัวข้อข่าวใหญ่ๆ ที่พาดไว้ข้างต้นเพียง ๙ ข้อนั้น แต่ละข้อก็มีความหมายอันลึกซึ้ง สำคัญไปคนละทางทำให้มองเห็นความสำคัญของคนแต่ละคน ความสำคัญของเรื่องแต่ละเรื่อง และความสำคัญของศีลธรรม คือ ความประพฤติสิ่งที่ดีที่ชอบ

ความสำคัญของคน ความสำคัญของเรื่อง ความสำคัญของศีลธรรม ย่อมทำให้มีภาวะอันหนึ่งลอยเด่นขึ้นมาจากพื้นเพเดิม  คล้ายๆ กับว่า ดอกบัวโผล่ขึ้นมาจากโคลนตม แต่ว่าบานรับแสงอาทิตย์สวยงามเหลือเกิน อะไรเช่นนั้น

สมเด็จทรงเป็นบุคคลสำคัญ เพราะมีบุคลิกในพระองค์เองอย่างหนึ่ง เพราะทรงจับเรื่องที่สำคัญอย่างหนึ่ง เพราะทรงประพฤติศีลธรรมยั่งยืนถาวรอย่างหนึ่ง จึงทรงลอยเด่นขึ้นมา และทรงลอยเด่นอยู่ได้ในท่ามกลางความผันผวนแปรปรวนทั้งหลาย ยิ่งทรงชรายิ่งน่าเคารพสักการะยิ่งขึ้น มีบุคคลเป็นอันมากไม่อยากแก่ ก็เพราะไม่รู้จักหาประโยชน์จากความแก่นั่นเอง ถ้ารู้จักหาประโยชน์จากความแก่ ก็จะรู้สึกตนเองว่า ยิ่งแก่นั่นแหละยิ่งดี

สมเด็จทรงเป็นบุคคลตัวอย่าง ยิ่งแก่ยิ่งดี เพราะทรงรู้จักหาประโยชน์จากความแก่ การวางท่าทางให้สมกับคนแก่ การจับเรื่องมาทำ มาพูด มาคิดให้สมกับคนแก่ การเคร่งครัดศีลธรรมให้สมกับคนแก่ เท่านี้เอง คนแก่ก็จะมีความสำคัญกว่าหนุ่มสาวทั้งหลายขึ้นในพริบตา

สมเด็จแก่หรือทรงชรา จนต้องทรงไม้เท้าก็ดี จนต้องประทับรถเข็นก็ดี จนต้องประทับอยู่ในเตียงพยาบาลก็ดี ก็รู้สึกว่า เป็นมิ่งขวัญอยู่ตลอดเวลา แม้จะทรงชรายิ่งชรา เราก็ปรารถให้พระองค์ทรงพระชนม์อยู่ นี่เพราะอะไร ก็เพราะความแก่ของพระองค์เป็นประโยชน์นั่นเอง

ประโยชน์ของคนแก่นั้น ที่มีแก่คนแก่เอง คือ การรู้สึกหาประโยชน์จากความแก่ ที่มีแก่คนอื่น คือ ประสบการณ์ที่คนแก่ผ่านมามาก เป็นรัตตัญญูภาพ ความรู้ราตรีนาน ย่อมเจนจัดในชีวิต สามารถถ่ายทอดความรู้อันเป็นหลักและลัดให้แก่เด็กได้ดีมาก  พระพุทธองค์ทรงยกย่องท่านอัญญาโกณฑัญญะเป็นเอตทัคคะในทางรัตตัญญูภาพ ไอน์สไตน์ ผู้มีความรู้ล้ำยุค ก็เป็นบุคคลหนึ่งที่ชอบคบคนแก่ สมเด็จทรงเป็นคนแก่ที่มีค่าสำหรับพระองค์เอง และมีค่าสำหรับผู้เข้าเฝ้า จึงทรงเป็นคนแก่ที่เป็นมิ่งขวัญ ซึ่งใครๆ ไม่ประสงค์จะให้พระองค์จากไป แต่พระชนม์ ๘๖ พรรษา และประชวรด้วยพระโรค จึงทรงเป็นเหมือนไม้ใกล้ฝั่ง ซึ่งถูกน้ำเซาะเข้ามาทุกที

สมเด็จประชวรหนักมาก ในตอนบ่ายวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๐๑ ก็มีข่าวเช่นนี้เกิดขึ้น ความจริงสมเด็จประชวรมานาน และทรงพักรักษาพระองค์อยู่ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ณ ตึกสามัคคีพยาบาร ซึ่งพระองค์ทรงให้สร้างไว้เอง ข่าวประชวรครั้งนี้ ชาววัดบวรนิเวศเชื่อถือมาก เพราะพ้องกับรายงานของแพทย์ ซึ่งออกทางวิทยุกระจายเสียงว่า สมเด็จประชวรหนักมาก พระอาการเป็นที่น่าวิตก ตามรายงานของแพทย์ไม่เคยใช้ถ้อยคำอันหนักหน่วงเช่นนี้เลย จึงสันนิษฐานกันว่า สมเด็จฯ อาจสิ้นพระชนม์ในครั้งนี้ก็ได้

ในเรื่องรายงานต่างๆ นั้น รายงานของแพทย์ดู ดูยังเป็นที่เชื่อถืออยู่มิใช่น้อย ยิ่งเป็นคนไข้รายใหญ่ๆ ก็มีความผิดพลาดได้ยาก  โดยเฉพาะสมเด็จพระสังฆราชเจ้า ซึ่งเป็นพระอุปัชฌายะของพระมหากษัตริย์และทรงเป็นราชูปถัมภ์อยู่เช่นนี้ รายงานย่อมแม่นยำเป็นพิเศษ

ความจริงในทางวิชาการนั้น ไม่ว่าในแขนงไหน ถ้าผู้ใช้จะได้นำมาใช้อย่างเต็มสมรรถภาพ และโดยความซื่อสัตย์สุจริตแล้ว มันก็มีความผิดพลาดได้ยากด้วยกันทั้งนั้น

บ่ายวันนี้ จึงเป็นบ่ายที่ภายในวัดบวรนิเวศวิหารได้มีความเคลื่อนไหวผิดปกติมาก ภิกษุสามเณรเดินกันขวักไขว่ จากกุฏินี้ไปกุฏิโน้น แล้วก็ทะยอยกันออกประตูวัดไป ไปเฝ้าเยี่ยมสมเด็จ ณ โรงพยาบาลดังกล่าวนั่นเอง

ตั้งแต่บ่ายถึงค่ำกริ่งโทรศัพท์ ระหว่างวัดบวรนิเวศ – ตึกสามัคคีพยาบารดังมิได้ขาด รายงานพระอาการก็มีแต่ว่าหนักมาก และหนักขึ้นโดยลำดับ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพระอาการโดยด่วน จนเวลาบ่ายมากในวันนั้น  ทั้ง ๒ พระองค์จึงเสด็จพระราชดำเนินกลับ หลังจากได้ทรงเฝ้าทอดพระเนตรพระอาการประชวรของสมเด็จพระสังฆราชเจ้าอย่างใกล้ชิดด้วยพระราชปริวิตกเป็นอย่างยิ่ง ทรงวางพระองค์สมกับที่เป็นยอดศิษย์ของสมเด็จพระสังฆราชเจ้าโดยแท้

สมเด็จสิ้นพระชนม์แล้ว คืนวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ดึกเข้าโดยลำดับ ๒ ทุ่ม ๓ ทุ่ม ๔ ทุ่ม ๕ ทุ่ม และ ๖ ทุ่ม ผ่านไปอย่างยากเย็นเหลือเกินสามัคคีพยาบารคืนนี้คับคั่งไปด้วยผู้เฝ้าเยี่ยมพระอาการด้วยความเป็นห่วง และคารวะในองค์สมเด็จเป็นอย่างยิ่งพิเศษ  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินอีกในตอนเที่ยงคืนผ่านไปแล้ว  เพราะข่าวประชวรหนักอย่างยิ่ง ได้มีรายงานเข้าไปกราบบังคมทูล

ในที่สุด สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ก็ทรงสิ้นพระชนม์เวลา ๐๑.๐๘ น. ย่างขึ้นวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๐๑ ต่อพระพักตร์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงเฝ้าทอดพระเนตรอยู่ตลอดเวลา พระองค์อาจเป็นพระประมุขสงฆ์พระองค์เดียว ที่สิ้นพระชนม์ต่อพระพักตร์พระมหากษัตริย์ เสียงรายงานเบาๆ ออกมาจากห้องประชวรว่า “สมเด็จสิ้นพระชนม์แล้ว” ทันใดนั้น ผู้เฝ้าฟังพระอาการอยู่ข้างนอกก็หมอบกราบลงพร้อมๆ กัน  แล้วความเงียบสงัดก็เกิดขึ้น ณ ที่นั้นเป็นครู่ใหญ่  จอมพลสฤษดิ์ หัวหน้าคณะปฏิวัติพร้อมด้วยคณะได้เข้าเฝ้าเยี่ยมพระศพที่สามัคคีพยาบาร เวลาประมาณ ๔ นาฬิกา นั่นเอง

เวลาตี ๓ ตี ๔ ตี ๕ ของวันนี้ ได้มีภิกษุสามเณรและเสด็จวัดที่ติดตามไป ต่างทะยอยกันกลับวัดบวรนิเวศวิหารเรื่อยๆ และข่าวก็แพร่สะพัดไปอย่างรวดเร็วว่า “สมเด็จสิ้นพระชนม์แล้ว” ความสังเวชสลดใจได้เกิดขึ้นโดยทั่วกัน ทั้งภิกษุสามเณรและศิษย์วัด เป็นการสูญเสียพระองค์ผู้ทรงเป็นมิ่งขวัญของชาววัดบวรนิเวศ อันมีอยู่ชั่วระยะเวลาอันยาวนานไปเสียแล้ว

เชิญพระศพสมเด็จกลับวัดบวร ในตอนเช้าวันที่ ๑๑ พฤศจิกายนนั้นเอง  พระศพสมเด็จก็ได้รับการอัญเชิญเสด็จจากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มาวัดบวรนิเวศ เข้าทางประตูหนักตำหนักเพ็ชร ณ ที่นี่มีภิกษุสามเณรรอรับอยู่ด้วยใบหน้าอันเคร่งขรึม พระศพเข้าสู่ตำหนักจันทร์ ท่ามกลางบรรยากาศที่เย็นยะเยือก ลมกำลังสงบใบไม้กำลังเงียบ ทุกสิ่งทุกอย่างนิ่ง นอกจากพระศพและผู้เชิญพระศพกำลังเคลื่อนช้าๆ ขึ้นตำหนักจันทร์ลับหายไป แล้วก็มีบุคคลทะยอยกันตามเข้าไป มีเสียงเด็กวัดก็ซุบซิบกันว่า สมเด็จเสด็จกลับวัดบวรแล้ว  สักครู่เดียวข่าวนี้ก็แพร่ไปทั่ววัด  หลังจากนั้นเด็กวัดจากคณะต่างๆ ก็มามุงเฝ้าสมเด็จแน่นที่ถนนด้านคณะแดงบวร ตามบันทึกภาพเหตุการณ์ในวันนั้น ซึ่งผู้เขียนจารึกไว้ในหนังสือ วิญญาณสมเด็จฯ ว่า

“ในทันใดนั้นเอง เด็กวัดจากคณะต่างๆ ก็พากันหลั่งไปสู่ตำหนักจันทร์ เพื่อเห็นสมเด็จที่เคารพของเขาเป็นครั้งสุดท้าย แต่สายไป สมเด็จเสด็จขึ้นตำหนักจันทร์ชั้นบนเสียแล้ว เด็กวัดส่วนน้อยเท่านั้นที่ได้เห็นพระศพผ่านขึ้นไป นอกนั้นมาไม่ทัน ได้พากันมุงดูอยู่นอกรั้ว ด้วยอาการเงียบขรึม แม้แต่เด็กวัดที่หน้าทะเล้นที่สุด ทั้งนี้ก็เพราะเด็กวัดได้ฝากความเคารพไว้ในสมเด็จเป็นอันมาก

หลังจากนั้นมิทันช้า ก็มีภิกษุสามเณรและบุคคลประเภทต่างๆ หลายชั้นวรรณะ ตลอดถึงเด็กวัดบางคนได้รุมกันมาจากไหนกันบ้างก็ไม่ทราบรวดเร็วเหลือเกิน บัดเดี๋ยวเดียวเท่านั้นตำหนักจันทร์ก็คราคร่ำไปด้วยผู้คนเรียงแถวกันเข้าถวายน้ำสรงแด่สมเด็จ...”

สมเด็จเสด็จเข้าพระโกศทอง เวลา ๑๗.๐๐ น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมาถวายน้ำสรง แล้วเชิญพระศพสู่พระโกศทองอันสูงเกียรติ ตั้งประดิษฐาน ณ ท้องพระโรงตำหนักเพ็ชร วัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งเป็นสถานที่อันโอ่โถงเหมาะสมที่สุด สมพระเกียรติและสมเกียรติที่จะบำเพ็ญพระราชกุศลและกุศลทุกประการ เมื่อสมเด็จเสด็จเข้าพระโกศทองแล้ว ก็มิได้มีผู้ใดเห็นพระองค์อีกเลย นอกจากพระรูปถ่ายขนาดใหญ่ซึ่งเชิญตั้งไว้เคียงข้างพระโกศนั้น

สมเด็จทรงรับสักการะอันยิ่งใหญ่ เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จบำเพ็ญพระราชกุศลแล้ว คณะสงฆ์ กระทรวง ทบวง กรม คณะบุคคลโรงเรียนต่างๆ และเอกชนเป็นจำนวนมากหลายได้พากันมาบำเพ็ญกุศลถวายและเฝ้าพระโกศ ณ ตำหนักเพ็ชรเนืองๆ จากหลายทิศหลายทางด้วยกัน ทั้งใกล้และไกลเป็นชนิด ทิฏฐกามบุคคล บุคคลผู้ใคร่เพื่อเห็นบ้าง ชนิด วันทิกามบุคคล บุคคลผู้ใคร่ถวายนมัสการกราบไหว้บ้าง ชนิด ปูเชตุกามบุคคล บุคคลผู้ใคร่บูชาด้วยพวงหรีด พวงดอกไม้ และจตุปัจจัยเพื่อใช้ในงานบ้าง ดังที่ได้บันทึกไว้ในหนังสือสมเด็จผู้มหาชนนิยมนั้น รวมความแล้วก็คือ สมเด็จทรงรับสักการะอันยิ่งใหญ่

สมเด็จประทับในพระโกศปีครึ่ง ตั้งแต่วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๐๑ ถึงวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๐๓ เป็นเวลาปีครึ่งเศษ  ในช่วงระยะเวลาอันยาวนานสำหรับงานพระศพตำหนักเพ็ชรเปิดทุกวันคืน เป็นการบำเพ็ญกุศลถวายที่มากมาย และเวลายาวนานพิเศษอย่างยิ่ง

สมเด็จมีกำหนดเสด็จขึ้นราชรถ วันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๐๓ ตอนบ่ายมีกำหนดเชิญพระศพสมเด็จขึ้นราชรถ ประกอบด้วยกระบวนอิสริยยศ และกระบวนแห่ ข่าวนี้แสดงว่าสมเด็จจะจากวัดบวรไปหลังจากนั้นวัดบวรนิเวศวิหารหรือโดยเฉพาะตำหนักเพ็ชร ก็คงจะเงียบเหงามิใช่น้อย สำหรับพวกเราซึ่งมาที่นี่ทุกวัน เมื่อพระโกศบรรจุพระศพยังตั้งอยู่ จนรู้สึกว่าเป็นกิจวัตร หรือเป็นสโมสรพิเศษ ที่เราจะขาดไม่ได้ ต่อแต่นี้ก็คงจะนานๆ มาสักครั้งหนึ่ง

สมเด็จเสด็จไปยังพระเมรุวัดเทพศิรินทราวาส ในวันเวลาตามที่กล่าวแล้ว ราชรถเปล่าออกจากกรมศิลปากร มาหยุดที่ประตูหน้าวัดบวรนิเวศวิหาร แล้วเชิญพระศพขึ้นแห่ไปตามถนนพระสุเมรุ ข้ามสะพานผ่านฟ้าลีลาศไปตามถนนหลานหลวง เลี้ยวขวาไปตามถนนกรุงเกษม ถนนหลวง เข้าสู่วัดเทพศิรินทราวาสทรงด้านใต้  ราชรถพระศพนี้ขาดยอดสูง ๔๗๐ ซม. กระบวรอิสริยยศและกระบวนแห่มโหฬาร ประชาชน ๒ ฟากถนน ชมและถวายความเคารพพระศพตลอดระยะทาง

เชิญพระอัฐิสมเด็จกลับวัดบวรนิเวศ และสมเด็จจักประทับอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหารนี้ชั่วนิรันดร!  วันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๐๓ เวลาเช้า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เลี้ยงพระสามหาบ [อาหารคาวหวานสามคู่] สดับปกรณ์ เชิญพระอัฐิและพระอังคารไปวัดบวรนิเวศ พระอังคารบรรจุในฐานพระพุทธรูปฉลองพระชนม์ที่หน้ามุขพระวิหารเก๋ง และสมเด็จจักประทับอยู่ที่นี่ชั่วนิรันดร และทรงเป็นมิ่งขวัญตลอดไป

สมเด็จวัดบวร ทรงมีความพิเศษในพระองค์อยู่หลายประการ  ประการแรกทรงมีบุคลิก คือพระรูป พระโฉมสง่างาม พระสุรเสียงกังวาล ประการที่ ๒  ทรงมีกรณียกิจที่สำคัญคือ ทรงจับงานที่สำคัญ งานสำคัญย่อมทำให้บุคคลมีความสำคัญ ประการที่ ๓ ทรงมีพระจริยวัตรทางพระธรรมวินัยคือทรงประพฤติเคร่งครัดตลอดพระชนมชีพ  ธรรมวินัยย่อมทำให้สมณะเป็นสมณะที่ดีที่แท้

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ หรือที่เรียกกันติดปากว่า สมเด็จวัดบวร ได้สิ้นพระชนม์ไปแล้วโดยสภาพธรรม ซึ่งมีเกิดในเบื้องต้น แปรปรวนในท่ามกลาง และดับไปในที่สุด แต่ในพระชนมชีพของพระองค์ในท่ามกลางความแปรปรวนทั้งหลาย ภูมิธรรมเป็นสิ่งที่พระองค์มิได้เคยละทิ้ง

คนหน้าตาดีๆ ถ้าทิ้งภูมิธรรม เสียอย่างเดียว หน้านั้นก็ไม่เห็นจะน่านับถือที่ตรงไหน

สมเด็จสิ้นพระชนม์ไปแล้ว แต่มิได้ทรงสิ้นภูมิธรรม เราจึงถวายความเคารพสักการะสมเด็จฯ ได้ตลอดไป

เมื่อสมเด็จทรงพระชนม์อยู่ ก็ทรงมีพระกัลยาณเกียรติในพระองค์เอง สมเด็จมิได้เป็นพระปลุกเสก ทรงปลุกพระองค์เอง ทรงหาความดีจากความดี ทรงทำความดีเพื่อความดี

เมื่อสมเด็จสิ้นพระชนม์แล้ว ก็ทรงมีพระกัลยาณเกียรติ์ พระโกศทองน้อย รองรับพระศพตั้งประดิษฐานถึงปีครึ่งเศษ แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้เจ้าพนักงานเปลื้องพระโกศทองน้อย ประกอบพระโกศทองใหญ่ มีพุ่มเฟื่องประดับ อันเป็นเครื่องสูงในทางศิลปไทย มิงแล้วตะลึง สูงส่งในทางอิสริยยศ มองแล้วรู้สึกเป็นพระเกียรติยศยิ่งนัก แต่ข้อสำคัญอยู่ที่ว่า ทรงสูงด้วยคุณธรรม มองแล้วรู้เคารพสักการะ

เมื่อวันออกพระเมรุ กระบวนพระอิสริยยศ กระบวนแห่อันมโหฬาร ปี่ กลอง แตรฝรั่ง แตรงอน และสังข์ จะออกเสียงทำให้บังเกิดความสะท้านหัวใจยิ่งนัก ขณะพระศพเคลื่อนจากวัดบวรนิเวศวิหารไป

แต่พระอัฐิและมิ่งขวัญแห่งคุณงามความดีของสมเด็จย่อมเสด็จกลับวัดบวรนิเวศวิหาร และประทับเป็น สมเด็จวัดบวร อยู่ชั่วนิรันดร.


(ที่มา ธมฺมสาโร ภิกฺขุ. วันสมเด็จสิ้นพระชนม์. ในพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ พระสุธีสมุทรสาร วัดเกตการาม จังหวัดสมุทรสงคราม พิมพ์โดยเสด็จพระราชกุศล ๒๖ เมษายน ๒๕๐๓. พระนคร : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๐๓.)
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5392


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 06 เมษายน 2566 19:31:53 »



"...พระศาสนาไม่มีกำหนดอายุ..."

มีอาจารย์บางท่านแสดงไว้ว่า
พระพุทธศาสนาเมื่อล่วงไปได้ ๑๐๐ ปี จะไม่มีพระอรหันต์
ล่วงไปอีก ๑๐๐ ปี จะไม่มีพระอนาคามี
ล่วงไปอีก ๑๐๐ ปี จะไม่มีพระสกิทาคามี
ล่วงไปอีก ๑๐๐ ปี จะไม่มีพระโสดาบัน
ในบัดนี้พระพุทธศาสนาล่วงมาถึง ๒๕๐๐ ปีแล้ว
ก็เป็นอันไม่มีพระอริยะ

ท่านที่แสดงเช่นนี้ค้านกับพระพุทธภาษิตที่แสดงพระคุณธรรมไว้ว่า อกาลิโก ไม่ประกอบด้วยกาล คือใครประพฤติเมื่อไร ก็ได้ผลเมื่อนั้น ตามสมควรแก่ปฏิบัติ

แม้พระพุทธภาษิตตอนที่แสดงไว้ในเวลาจะปรินิพพานก็แสดงว่า "เมื่ออริยมรรคยังมีองค์ ๘ ยังมีอยู่เพียงไร โลกก็จะไม่ว่างเปล่าจากพระอรหันต์" นี้ควรหมายความว่า อริยมรรคมีองค์ ๘ มีที่บุคคลผู้ใด ในเวลาใด ในเวลานั้นโลกก็จะไม่ว่างเปล่าจากพระอรหันต์

อย่าว่าถึงพระพุทธศาสนาที่มีอยู่เลย แม้สิ้นพระพุทธศาสนาแล้ว ท่านก็ยังแสดงว่าพระปัจเจกโพธิ ท่านผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ และรู้เฉพาะตน ก็ยังปรากฏขึ้นได้

ด้วยเหตุนี้แหละ คนที่เข้าใจว่าศาสนาล่วงมาเท่านั้น หมดพระอริยะชนชั้นนั้น จนบัดนี้หมดพระอริยะดังนี้ เป็นความเห็นที่ค้านพระพุทธศาสนา คือคำสอนของสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ว่า "สัจจธรรมเป็นอกาลิโก ไม่ประกอบด้วยกาลดังนี้"


ที่มา : (พระพุทธศาสนาไทย ลาว กัมพูชา) พระพุทธศาสนาไม่มีกำหนดอายุ ใน "นัยแห่งความจริง" พระนิพนธ์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ , พิมพ์ครั้งที่ ๒, โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
พระโอวาทพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
เอกสารธรรม
Kimleng 0 1903 กระทู้ล่าสุด 22 กรกฎาคม 2555 16:18:03
โดย Kimleng
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร กรุงเทพO
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 1202 กระทู้ล่าสุด 24 มกราคม 2561 13:58:33
โดย ใบบุญ
พระธรรมเทศนา สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
เสียงธรรมเทศนา - เอกสารธรรม - วีดีโอ
Kimleng 6 3731 กระทู้ล่าสุด 28 กันยายน 2563 15:21:35
โดย Kimleng
“ช้างเผือกเกิดขึ้นในป่า” สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
Kimleng 9 2864 กระทู้ล่าสุด 12 เมษายน 2564 13:07:42
โดย Kimleng
พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 729 กระทู้ล่าสุด 07 กุมภาพันธ์ 2564 18:22:24
โดย ใบบุญ
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.368 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 27 มีนาคม 2567 11:42:36