[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 22:59:51 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: หัวใจหลักของการปฏิบัติ ๔ ประการ โดย พระภาวนาสุตาภิรัต (ชอบ พุทฺธสโร)  (อ่าน 1271 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 992


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 84.0.4147.89 Chrome 84.0.4147.89


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 31 กรกฎาคม 2563 15:16:34 »



หัวใจหลักของการปฏิบัติ ๔ ประการ
ธรรมบรรยาย
โดย พระภาวนาสุตาภิรัต (ชอบ พุทฺธสโร)
วัดพิชโสภาราม ตำบลแก้งเหนือ อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี


            ขอโอกาสพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระครูภาวนากิจจาทร ผู้เป็นประมุขประธานสงฆ์ที่วัดเก่าสันติสุขแห่งนี้ แล้วก็ขอโอกาสคณะสงฆ์ ขอเจริญพรญาติโยมสาธุชนผู้ใฝ่ในการประพฤติปฏิบัติธรรมทุกท่าน

            กระผมก็ถือว่าเป็นศิษยานุศิษย์วัดพิชรูปหนึ่ง แล้วก็เป็นศิษย์ของพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระครูภาวนากิจจาทรอีกรูปหนึ่ง ท่านก็มีเมตตากับกระผมเป็นกรณีพิเศษ หลายเรื่อง หลายอย่าง หลายประการ ซึ่งวันนี้ก็เสร็จจากภาระแล้วก็มากราบท่าน ไม่ได้คิดว่าจะแสดงธรรม แต่ท่านก็มีเมตตาอย่างใหญ่หลวง ให้กระผมได้กล่าวธรรมะกับคณะครูบาอาจารย์ ตลอดถึงญาติโยมที่ได้มาประพฤติปฏิบัติธรรมในครั้งนี้ ซึ่งหลักการประพฤติปฏิบัติธรรมต่างๆ พระเดชพระคุณหลวงพ่อท่านก็ได้ชี้แจง ไว้มากมายหลายสิ่งหลายประการแล้ว ส่วนกระผมในวันนี้ก็จะน้อมเอาธรรมะโดยย่อ เรียกว่าหัวใจของการประพฤติปฏิบัติธรรม ๔ ประการ มาบรรยายประกอบเสริมการประพฤติปฏิบัติธรรมของคณะครูบาอาจารย์ ตลอดถึงญาติโยมทั้งหลาย ตามสมควรแก่สติและปัญญา หัวใจของการประพฤติปฏิบัติธรรมนั้นมีอยู่ ๔ ประการ คือ ๑.ไม่หนี ๒.ไม่สู้ ๓.ไม่อยู่ ๔.ไม่ไป ไม่หนีไม่สู้ไม่อยู่ไม่ไปนี้ ถือว่าเป็นหัวใจของการประพฤติปฏิบัติธรรม

            ไม่หนีในที่นี้ก็คือ เราไม่หนีจากศรัทธา ไม่หนีจากความเพียร ไม่หนีจากสติ ไม่หนีจากสมาธิ ไม่หนีจากปัญญา คือเวลาเราประพฤติปฏิบัติธรรมนั้น เราไม่หนีจากศรัทธา คือเราต้องทำศรัทธานั้นให้เกิดเสียก่อน ถ้าศรัทธาไม่เกิด เดินจงกรมก็ไม่กระปรี้กระเปร่า ไม่กระฉับกระเฉง หรือว่าเราจะภาวนา อาการพอง อาการยุบก็ดี เราภาวนาไม่กระฉับกระเฉงเพราะอะไร ? เพราะว่าเราทำ เราไม่ได้ทำด้วยศรัทธา ศรัทธานั้นจึงถือว่าเป็นพืชบุญ ที่จะทำให้จิตใจของเรานั้นโอนเอนน้อมไปสู่การประพฤติปฏิบัติ

            ถ้าจิตใจของเรานั้นไม่มีศรัทธาตกแต่ง จิตใจของเราก็ไม่สามารถที่จะประพฤติปฏิบัติธรรมไปได้ เพราะฉะนั้นการประพฤติปฏิบัติธรรมนั้นต้องอาศัยศรัทธา ศรัทธาจึงถือว่าเป็นพืชบุญ ที่จะทำให้ศีล ให้สมาธิ ให้ปัญญานั้นเกิดขึ้นมาสู่จิตสู่ใจของเรา แต่ถ้าเราขาดศรัทธาแล้วการประพฤติปฏิบัติธรรมของเราก็ไม่สามารถที่จะเป็นไปได้ แล้วก็ศรัทธานั้นท่านถือว่าเป็นเพื่อน เพราะว่าศรัทธานั้นเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ศีล ให้สมาธิ ให้ปัญญานั้นอยู่คู่กับกาย กับวาจา กับใจของเราอยู่ตลอดเวลา

            เราจะประพฤติปฏิบัติธรรมที่บ้านก็ดี เราจะลงที่ป่าก็ดี เราจะเดินจงกรมนั่งภาวนาที่ไหนก็ตาม แต่ถ้าเราขาดศรัทธาแล้ว เราไม่สามารถที่จะประพฤติปฏิบัติธรรมไปได้ เพราะฉะนั้นต้องอาศัยศรัทธานั้นเป็นเบื้องต้น ถือว่าอาศัยศรัทธานั้นเป็นเพื่อนในการประพฤติปฏิบัติธรรม และศรัทธานั้นท่านยังถือว่า เป็นสิ่งที่จะรวบรวมเสบียง เสบียงในการเดินทางในสัมปรายภพของเรา เพราะว่าถ้าศรัทธาไม่เกิดเราก็ไม่สามารถที่จะทำทานได้ ศรัทธาไม่เกิดเราไม่สามารถที่จะรักษาศีลได้ ศรัทธาไม่เกิดเราไม่สามารถที่จะเจริญกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน ไม่สามารถที่จะเจริญการปฏิบัติให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้

            ศรัทธานั้นจึงถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญ เป็นสิ่งที่ไปรวบรวมเสบียง ทั้งที่เป็นทรัพย์ภายนอก ทั้งที่เป็นทรัพย์ภายใน ทั้งที่เป็นทรัพย์ในโลกนี้ ทั้งที่เป็นทรัพย์ในโลกหน้า ทรัพย์อย่างยิ่งคือการบรรลุมรรคผลนิพพาน เราก็อาศัยศรัทธานี้เป็นเครื่องรวบรวม แล้วศรัทธานั้นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ทรงตรัสว่า เป็นเครื่องให้ข้ามโอฆะ เรียกว่าศรัทธาปรติโอฆัง ศรัทธานั้นเป็นเครื่องให้ข้ามโอฆะ คือสรรพสัตว์ทั้งหลายจะข้ามซึ่งโอฆะแหล่งแก่งกันดาร ข้ามห้วงแห่งกามราคะ ข้ามห้วงแห่งโทสะ ข้ามห้วงแห่งโมหะทั้งหลายทั้งปวงนั้น ต้องอาศัยศรัทธานั้นเป็นเครื่องพาให้ข้าม ถ้าไม่มีศรัทธาแล้วก็ไม่สามารถที่จะข้ามไปได้ เพราะว่าบุคคลจะได้บรรลุมรรคผลนิพพานนั้นต้องอาศัยศรัทธา ศรัทธานั้นต้องสมบูรณ์ ถ้าศรัทธาไม่สมบูรณ์ไม่สามารถที่จะบรรลุมรรคผลนิพพานได้

            แล้วก็ประการที่สอง เราไม่หนีจากความเพียร เวลาเราประพฤติปฏิบัติธรรมนั้นต้องมีความเพียรตลอดเวลา  เวลาเราจะยืน เราจะเดิน เราจะนั่ง เราจะนอน เราจะกิน เราจะดื่ม เราจะพูด เราจะคิด เราจะทำกิจอะไรก็ตาม เราต้องอาศัยความเพียรนี้เป็นเครื่องกำหนด คือเพียรในการยก เพียรในการย่าง เพียรในการเหยียบ เพียรในการกำหนดอาการต้นพอง กลางพอง สุดพอง ต้นยุบ กลางยุบ สุดยุบ เพียรในการกำหนดจิต เวลามันคิดฟุ้งซ่านก็ดี ปรุงแต่งอะไรเราก็กำหนดจิตของเรา หรือว่าเวลาเราจะอาบน้ำ สรงน้ำ เวลาเราจะกิน จะดื่ม จะพูด จะคิด เรามีความเพียรกำหนดอิริยาบถอยู่นี้ร่ำไป เราจะทำอะไรๆ ก็ตาม

            ในขณะที่เราประพฤติปฏิบัติธรรมนั้นเราต้องกำหนดอยู่ตลอดเวลา เรียกว่าเรามีสติกำหนดรู้อยู่ตลอดเวลา ถ้าเรากำหนดรู้อยู่ตลอดเวลานี้เราต้องใช้ความเพียร ถ้าบุคคลใดเกิดความท้อแท้ เกิดความอ่อนแอ เกิดความขี้เกียจ ก็แค่เข้าแทรกจิตแทรกใจ ก็ไม่สามารถที่จะกำหนดดำรงความเพียรนั้นให้เสมอต้นเสมอปลายได้ ตอนเช้าปฏิบัติดี ตอนบ่ายเกียจคร้านนอน หรือว่าตอนเย็นก็ปฏิบัติดีในลักษณะอย่างนี้ไม่ได้

            การประพฤติปฏิบัติธรรมนั้นจะต้องเป็นลูกโซ่เสมอ เรียกว่าเกี่ยวคล้องกันไป วิปัสสนาญาณจึงจะรุ่งเรืองไปตามลำดับ การประพฤติปฏิบัติธรรมนั้นต้องเป็นเหมือนกับกระแสน้ำ มีสติต่อเนื่องกันไม่ขาดสาย ต้องรู้ตัวอยู่ทั่วพร้อม เราจะเผลอไม่ได้ ถ้าเราเผลอเราต้องรีบตั้งสติใหม่ เผลอแล้วตั้งสติใหม่ เผลอแล้วตั้งสติใหม่ ถ้าเราทำไปในลักษณะอย่างนี้ ต่อเมื่อวิปัสสนาญาณแก่กล้าแล้ว สติของเรามันจะเป็นเหมือนกับกระแสน้ำ ติดต่อเนื่องกันไปเห็นรูปเห็นนาม เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป แล้วก็การเจริญวิปัสสนาของเราก็จะได้ผล เพราะฉะนั้นการประพฤติปฏิบัติธรรมนั้นเราต้องอาศัยความเพียร ถ้าขาดความเพียรเสียอย่างเดียว การประพฤติปฏิบัติธรรมของเราก็ไม่ได้ผล เพราะว่าความเพียรนั้นเป็นเครื่องให้สรรพสัตว์พ้นจากความทุกข์ ดังที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงตรัสไว้ว่า วิริเยน ทุกฺขมจฺเจติ คนล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร อันนี้เป็นข้อที่สอง

            ข้อที่สามนั้นให้เรานั้นไม่หนี ไม่หนีจากสติ ทำไมเราจึงไม่หนีจากสติ เพราะสตินั้นถือว่าเป็นบรมธรรม เป็นยอดของธรรม ธรรมทั้งหลายทั้งปวงนั้นมารวมกันอยู่ที่สติ ทั้งโพธิปักขิยธรรมทั้ง ๓๘ ประการ คือสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ มรรคมีองค์ ๘ มารวมกันอยู่ที่สติ ทันปัจจุบันธรรม ถ้าเรามีสติทันปัจจุบันธรรม จะว่าเราปฏิบัติไม่ถูกกับมรรคมีองค์ ๘ ปฏิบัติไม่ถูกโพชฌงค์ ๗ หรือว่าปฏิบัติไม่ถูก อริยะสัจ ๔ นี้ไม่ได้ เพราะว่าธรรมทั้งหลายทั้งปวงนั้นมารวมกันอยู่ที่ปัจจุบันธรรม

            เวลาเราประพฤติปฏิบัติธรรมนั้นเราต้องมีสติ เพราะสตินั้นเป็นสิ่งที่ต้องการทุกเมื่อ เป็นสิ่งที่ต้องการอยู่ตลอดเวลา เหมือนกับเกลือ ต้องการทั้งอาหาร ทั้งของหวาน ทั้งของคาว ทั้งของทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นอาหาร ต้องใส่เกลือ ถึงจะอร่อย เพราะฉะนั้นเกลือนั้นจึงถือว่าเป็นสิ่งที่ต้องการในอาหารทุกประเภท เหมือนสติ เป็นสิ่งที่ต้องการ ทุกกาลทุกเวลา จะยืนก็ต้องมีสติ จะนั่งก็ต้องมีสติ จะเดินก็ต้องมีสติ เราจะกำหนดอาการขวาย่าง ซ้ายย่าง กำหนดอาการพอง อาการยุบ เหลียวซ้ายแลขวาต้องมีสติหมด

            ถ้าเราขาดสติก็ถือว่าเราขาดจากการปฏิบัติธรรม เพราะการปฏิบัติธรรมนั้นก็คือการมีสติ เราจะเดินจงกรม ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอนี้ ถ้าเราขาดสติก็ถือว่าไม่ใช่เดินจงกรม ไม่จัดเข้าในการเดินจงกรม เพราะว่าการเดินจงกรมนั้นท่านแปลว่าเดินกลับไปกลับมาโดยมีสติ ถ้าเราขาดสติแล้วก็ถือว่า การเดินจงกรมของเรานั้นไม่สมบูรณ์แล้ว เพราะฉะนั้น การประพฤติปฏิบัติธรรมนั้น เราต้องมีสติเพราะสตินั้นเป็นเครื่องทำนบป้องกันบาป ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า สติ เตสัง นิวารณัง สติ เป็นทำนบป้องกันบาป เรียกว่าบาปทั้งหลายทั้งปวงจะเป็นบาปเก่าก็ดี บาปใหม่ก็ดี ที่จะมาทำร้ายจิตใจของเรา บาปเก่าที่คิดขึ้นมาเราก็เอาสติกำหนด คิดหนอ ที่ใจของเรา มันก็จะหายไป ถ้าเรากำหนดเรื่อยไปๆ บาปนั้นมันก็จะลดลงๆๆ แล้วก็หมดไป ด้วยอำนาจของสติที่เรากำหนด เรียกว่าเป็นการล้างบาปในทางพุทธศาสนา ถ้าเรากำหนดไป กำหนดไป บาปมันก็เบาลงๆ คุณธรรมของเราก็เพิ่มขึ้นๆ ในที่สุดเราคิดถึงบาปที่เราเคยทำมาแล้วก็เฉยๆ เพราะอะไร เพราะว่าจิตใจของเรามันสะอาดแล้ว จิตใจของเราพ้นจากสิ่งเหล่านั้นแล้ว  สตินั้นเป็นสิ่งที่เราต้องกำหนดอยู่ตลอดเวลา เพราะสตินั้นเป็นตัวประหารกิเลส

            เราเดินจงกรมนั่งภาวนาอยู่ทุกวันนี้นี่เราเดินจงกรมเพื่ออะไร เพื่อที่จะทำสติของเราให้สมบูรณ์ ทำเพื่ออะไร ทำทำไม ให้สติของเราสมบูรณ์ เพราะว่าการทำสติให้สมบูรณ์แล้ววิปัสสนาญาณมันก็เกิด คือจะเป็นขณิกสมาธิมันก็อาศัยสตินี้แหละเป็นตัวให้เกิด จะเป็นอุปจารสมาธิก็อาศัยสตินี้แหละเป็นตัวให้เกิด เมื่อขณิกสมาธิมันต่อเนื่องกันไปๆ มาก สติมันมีพลังมากมันก็เป็นอุปจารสมาธิ เมื่ออุปจาระสมาธิมันต่อเนื่องกันไปๆ ไม่เผลอหรือว่าเผลอน้อย หรือว่าไม่เผลอเลยก็เป็นปฐมฌานไป เป็นปฐมฌานที่ ๑ ทุติยฌานที่ ๒ ตติยฌานที่ ๓ จตุตถฌานที่ ๔ ไป เรียกว่าเป็นองค์ฌานไป หรือว่าเราเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ตัววิปัสสนากรรมฐานที่แท้จริงก็คือตัวที่เราอาศัยสตินี้แหละ วิปัสสนาญาณมันจะเกิดขึ้นมาก็ต้องอาศัยสตินั้นเป็นตัวให้เกิด

            แต่ถ้าไม่มีสติ วิปัสสนาญาณเกิดไหม ไม่เกิด เพราะฉะนั้นวิปัสสนาญาณจะเกิดได้ก็ต้องอาศัย สติ นั้นเป็นบรรทัดฐานเบื้องต้น แล้วก็การที่เราจะยังการบรรลุมรรคผลนิพพานให้เกิดขึ้นมาในจิตในใจนั้น เราบรรลุธรรมที่ไหน เราบรรลุธรรมที่ปัจจุบันธรรม คือสตินี้แหละ ไม่ใช่บรรลุที่ไหน เพราะฉะนั้นการประพฤติปฏิบัติธรรมนั้น ต้องอาศัยสตินั้นเป็นบรรทัดฐาน ถ้าเราไม่มีสติแล้วการประพฤติปฏิบัติธรรมของเราก็ไม่สามารถที่จะดำเนินไปสู่ฝั่ง คือการบรรลุมรรคผลนิพพานได้ เพราะฉะนั้นสตินั้นถือว่าเป็นสิ่งที่เราไม่ควรที่จะให้หนีจาก กาย วาจา ใจ ของเรา

            ประการที่ ๔ เราไม่หนีจากอะไร คือเราไม่หนีจากสมาธิ ทำไมเราจึงไม่หนีจากสมาธิ เพราะสมาธินั้นแหละเป็นสิ่งที่สำคัญ ที่จะทำให้เราได้บรรลุมรรคผลนิพพาน จะเป็นขณิกสมาธิก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิด เห็นความเกิดดับของรูปของนาม เมื่อเห็นความเกิดดับของรูปของนาม ขณิกสมาธิมันแก่กล้าขึ้นมา ก็จะเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้อุปจารสมาธิมันเกิดขึ้นมา เมื่ออุปจารสมาธิเกิดขึ้นมาแล้ว เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เราเกิดปีติ ปีติทั้ง ๕ จะเป็น ขุททกาปีติ ขณิกาปีติ โอกกันติกาปีติ อุพเพงคาปีติ หรือว่าผรณาปีติ มันเกิดขึ้นมาในอุปจารสมาธิ

            เมื่ออุปจารสมาธิเกิดปีติขึ้นมา เกิดปัสสัทธิ ความสงบทางกาย ความสงบทางจิตเกิดขึ้นมา ผู้ปฏิบัติธรรมจะเกิดความอัศจรรย์ใจขึ้นมา เกิดความร่าเริง เกิดความเบิกบาน เกิดความเอาเป็นเอาตายในการประพฤติปฏิบัติธรรม เพราะอะไร เพราะว่าได้กำลังสนับสนุนคืออำนาจของปีติ อำนาจของปัสสัทธิ อำนาจของสมาธิ แล้วก็เมื่อสมาธิมันแก่กล้าขึ้นไป แก่กล้าไปก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มันเกิดปฐมฌานขึ้นมา เกิดวิตกวิจาร เกิดปีติ เกิดสุข เกิดเอกัคคตา เป็นปฐมฌานขึ้นมา เมื่อปฐมฌานเกิดขึ้นมาแล้วเราก็เสวยความสุขอยู่ในปฐมฌาน

            เมื่อเราออกจากปฐมฌานวิปัสสนาญาณมันก็เกิดขึ้นมาทันที ขณะใดที่จิตมันอยู่ในปฐมฌาน วิปัสสนาญาณมันก็สงบไม่เจริญต่อไป แต่เมื่อเราออกจากปฐมฌานขึ้นมาแล้ววิปัสสนาญาณก็เริ่มเกิดขึ้นมาทันที แต่เมื่อมันสงบเข้าไป ถ้ามันเข้าไปด้วยอำนาจของฌานวิถี มันก็เป็นฌานไป แต่ถ้ามันเข้าไปรอบที่ ๒ มันเกิดอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาขึ้นมาพอมันดับพรึบลงไป ด้วยอำนาจของมรรควิถีก็ถือว่าเป็นการบรรลุมรรคผลนิพพานไป

            บุคคลผู้ที่ประพฤติปฏิบัติธรรมนั้นถ้าขาดสมาธิแล้ว การประพฤติปฏิบัติธรรมก็ไม่กระฉับกระเฉง ไม่กระปรี้กระเปร่า ไม่ร่าเริงเท่าที่ควร เพราะฉะนั้นสมาธินั้นถือว่าเป็นสิ่งที่ทำให้การประพฤติปฏิบัติธรรมนั้นอาจหาญ ร่าเริงเบิกบาน กระปรี้กระเปร่ากระฉับกระเฉง เพราะว่าสมาธิ อานิสงส์ของสมาธินั้นท่านกล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคนั้นไว้ ๕ ประการ คือ ๑ สมาธินั้นเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดความสุขในปัจจุบัน ถ้าบุคคลใดเคยประพฤติปฏิบัติธรรมถึงปฐมฌานก็จะรู้ว่าความสุขที่เกิดในปฐมฌานนั้นมีความสุขอย่างไร แค่เราเกิดปีติ แค่เราเกิดปัสสัทธินี้ก็มีความสุขมากแล้ว

            แต่ถ้าเราสามารถที่จะยังทุติยฌานหมดลมหายใจไปมีแต่จิตใจรู้อาการพองอาการยุบ พองหนอยุบหนอเฉยๆ แต่ไม่ได้บริกรรม ความรู้สึกของเราร่างกายของเรามันนิ่งอยู่นั้น แล้วขณะที่เราออกมามันเกิดปีติขึ้นมาได้เกิดความสุข แต่ถ้าเราสามารถที่จะปฏิบัติไปจนถึงตติยฌาน เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ความรู้สึกของเรามันเบาลงลิบลงเบาลง ความรู้สึกก็น้อยลง อาการที่เรากำหนดอยู่มีแต่อาการพองอาการยุบ ทรงอยู่หรือว่ามีแต่ความรู้สึกมันปรากฏอยู่บางครั้งมันก็หลับไป บางครั้งมันก็เงียบไป บางครั้งมันก็รู้สึกตัวนิดๆหน่อยๆ ในลักษณะอย่างนั้นร่างกายของเรามันแข็ง ร่างกายของเรามันตึงเหมือนกับเราแช่แข็งอยู่ในลักษณะอย่างนี้ ถือว่าเราเข้าถึงทุติยฌานแล้ว

            แต่ถ้าเราออกมาแล้วนี่เราจะเกิดความสุขมากน้อยขนาดไหน เกิดความปล่อยวาง เกิดการพิจารณาในรูปร่างสังขารมันเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เบื่อหน่ายในการที่จะเกิด จะแก่ จะเจ็บ จะตาย เพราะอะไร เพราะว่าเราได้รับสุขอันเป็นของประณีต ได้รับสุขอันเป็นของละเอียด เราก็ย่อมเบื่อหน่ายในของที่มันเป็นของหยาบ ของละเอียดเป็นธรรมดา ไม่อยากเกิด ไม่อยากแก่ ไม่อยากเจ็บ ไม่อยากตาย ในเมื่อมันออกมาแล้วก็ย่อมพิจารณาให้เกิดวิปัสสนาญาณขึ้นมา พอวิปัสสนาญาณที่มันเกิดขึ้นมา จะเป็นวิปัสสนาญาณ ที่มีกำลังกล้า มีกำลังเด็ดเดี่ยว มีกำลังที่อาจหาญ มีกำลังที่แรงกล้าคล้ายๆ กับน้ำเขื่อนที่เรากั้นไว้นานๆ กั้นไว้มากๆ น้ำเขื่อนมันสูงขึ้นๆๆ เราปล่อยน้ำออกมา น้ำมันก็มีพลังมาก เพราะอะไร ? เพราะว่าสมาธิที่เรามีนั้นมันเปรียบเสมือนกับเรารวบรวมพลังจิตพลังใจของเรา ในเมื่อเรามาพิจารณาเรื่องรูปเรื่องนาม เรื่องสังขาร เรื่องความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย มันจึงมีพลังมาก เพราะฉะนั้นการประพฤติปฏิบัติธรรมนั้นถ้าเรามีสมาธินั้น ท่านจึงว่าเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดความสุขในปัจจุบัน เกิดความสุขทันตาเห็น

            แล้วก็สมาธินั้นท่านยังกล่าวไว้ว่า เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดวิปัสนาญาณ เพราะว่าสมาธินั้นก็เป็นต้นเหตุให้เกิดวิปัสสนาญาณดังที่กล่าวมาแล้ว ประการที่ ๓ ท่านกล่าวไว้ว่า ผู้ที่ได้สมาธินั้นเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดวิชชา ๓ เกิดปฏิสัมภิทาญาณ ๔ เกิดอภิญญา ๖ เพราะว่าบุคคลถ้าไม่ได้สมาธิแล้ว ไม่สามารถที่จะยังวิชชา ๓ ปฏิสัมภิทาญาณ ๔ อภิญญา ๖ นั้นให้เกิดขึ้นมาได้ ต้องได้สมาธิเสียก่อน

            ดังที่ท่านกล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคว่า บุคคลผู้สามารถยังจตุตถฌานให้เกิดขึ้นมา ยังรูปฌานที่ ๔ ยังรูปฌานทั้ง ๔ ประการเกิดขึ้นมาแล้วสามารถยังวิชชา ๓ อภิญญา ๖ ให้เกิดขึ้นมาได้ แต่ถ้าบุคคลใดยังอรูปฌาน คือสมาบัติทั้ง ๘ ประการเกิดขึ้นมาจึงจะสามารถยังปฏิสัมภิทาญาณทั้ง ๔ แตกฉานในอรรถในธรรมในปฏิภานในภาษาให้เกิดขึ้นมาได้ แต่ถ้าเราไม่มีสมาธิ เราจะยังคุณวิเศษเหล่านี้เกิดขึ้นมาได้อย่างไร คุณธรรมในพระศาสนาก็บอดไป เพราะฉะนั้นสมาธินั้นจึงถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญ ประการที่ ๔ นั้นท่านยังกล่าวว่าสมาธินั้นถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญให้ไปเกิดในพรหมโลก คือบุคคลยังไม่ได้บรรลุถึงพระอนาคามี จะไม่สามารถไปเกิดในสุทธาวาสพรหม ไม่สามารถที่ไปเกิดด้วยอารมณ์ของพระอนาคามีได้ต้องอาศัยฌานเสียก่อนถึงจะไปเกิดในพรหมโลกได้ ถ้าไม่มีฌานเป็นบาท เป็นพาหนะนำไปแล้วก็ไม่สามารถที่จะไปเกิดในพรหมโลกได้

            บุคคลได้สมาธินั้นจึงสามารถที่จะไปเกิดในพรหมโลกได้ ทั้งๆ ที่ตนเองยังไม่ได้บรรลุเป็นพระอนาคามี ประการที่ ๕ ท่านว่าบุคคลผู้ที่ได้สมาธินั้น เวลาบรรลุมรรคผลนิพพานนั้น จะเข้าผลสมาบัติได้ ถ้าบรรลุเป็นพระอนาคามี หรือเป็นพระอรหันต์ จะสามารถเข้านิโรธสมาบัติได้ เพราะฉะนั้นสมาธินั้นผู้ปฏิบัตินั้นต้องทำให้เกิด ถ้ายังไม่เกิดก็ต้องทำให้เกิด ถ้าเกิดแล้วต้องรักษาให้ดี

            เมื่อออกจากสมาธิแล้วก็มาพิจารณา รูปนาม สังขาร ร่างกายของเรา ว่ามันเป็นของไม่เที่ยง เป็นอนิจจัง ทุกขัง เป็นอนัตตา พิจารณาเห็นความเกิดของรูปของนามชัดเจนแล้ว การบรรลุมรรคผลนิพพานนั้น ท่านกล่าวไว้ว่าเพียงแค่รัดนิ้วมือเดียว เพียงแต่พลิกหน้ามือเป็นหลังมือ เพราะอะไร ? เพราะว่ากำลังสมาธิมันพออยู่แล้ว เพียงแต่ว่าบังคับสมาธิของเรานั้น อาศัยสมาธิของเรานั้นพิจารณารูปนาม สังขาร เท่านั้นเอง สมาธินั้นจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ถ้าไม่เกิดต้องทำให้เกิด ถ้าเกิดแล้วก็ต้องประคับประคองรักษาไว้

            ประการที่ ๖ นั้นท่านว่าปัญญา คือปัญญานั้นเราต้องมี ไม่ใช่ว่าเดินจงกรมนั่งภาวนา ขาดปัญญาไม่ใช่ เดินจงกรมนั่งภาวนาไม่ใช้ปัญญาไม่ใช่ กำหนดอาการพองอาการยุบ กำหนดขวาย่างซ้ายย่างไม่ใช้ปัญญาไม่ใช่ ตัวปัญญาในทางพุทธศาสนาจริงๆ นั้นคืออะไร ตัวปัญญาในการเจริญวิปัสนากรรมฐานนั้นจริงๆ คืออะไร ตัวปัญญาในการเจริญวิปัสนากรรมฐานนั้นตัวจริงๆ ก็คือ การกำหนดให้ทันปัจจุบันธรรม ตัวกำหนดให้ทันปัจจุบันธรรมนี้แหละ ถือว่าเป็นตัวปัญญา ทำไมถึงว่าอย่างนั้น ตัวรู้ตัวทั่วพร้อมนี้ถือว่าเป็นปัญญา หรือว่าเรากำหนดอาการพอง อาการยุบ อาการนั่ง อาการถูกเฉยๆ ไม่พิจารณาอาการที่มันดับ เห็นรูปนามมันเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปนี้ถือว่าเป็นสมถะ ถ้ามันสงบไปส่วนมากก็เป็นฌาน ปฐมฌาน ทุติยฌานไป

            แต่ถ้าเราพิจารณาอาการที่มันคู้ มันเหยียด มันก้ม มันเงย เห็นอาการที่มันคู้ขึ้น เหยียดขึ้น อาการคู้อาการเงยของเรา ทันปัจจุบันธรรม รู้ว่ามันคู้ยังไง เหยียดยังไง รู้ว่าต้นพองยังไง กลางพองยังไง สุดพองยังไง ต้นยุบ กลางยุด สุดยุบเป็นยังไง ถ้าเรารู้อาการต้นยก อาการเหวี่ยง อาการเหยียบของเรา ถ้าเรารู้อยู่อย่างนี้ จะชื่อว่าเรามีปัญญาไม่ใช่ จะว่าบุคคลนั้นเป็นผู้มีปัญญาไม่ใช่ เพราะว่าบุคคลผู้มีปัญญาในการประพฤติปฏิบัติธรรมไม่ใช่ว่าจะต้องแตกฉานในอรรถ จะต้องแตกฉานในพระอภิธรรม ในพระวินัย หรือว่าในพระสูตร แตกฉานในรูปในนาม

            ถ้าเรากำหนดในรูปในนามแล้วก็แสดงว่า บุคคลนั้นสามารถที่จะบรรลุมรรคผลนิพพานได้ ถึงบุคคลนั้นจะไม่ท่องจำพุทธพจน์ ไม่ได้แม้แต่บทเดียว แต่สามารถที่จะกำหนดอาการพองอาการยุบ ทันปัจจุบันธรรม รู้ต้นพอง กลางพอง สุดพอง รู้ต้นยุบ กลางยุบ สุดยุบ รู้ว่าอาการพองของเรามันเร็วขึ้นๆๆ หรือว่าแน่นขึ้นๆๆ หรือว่ามันแผ่วเบาๆๆ เรารู้อาการของมันอยู่อย่างนี้ ชื่อว่า เรามีปัญญาในการเจริญวิปัสสนากรรมฐานแล้ว สามารถที่จะบรรลุมรรคผลนิพพานได้ สามารถที่จะเกิดวิปัสสนาญาณที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ที่ ๕ จนไปถึง ที่ ๑๖ ได้ สามารถที่จะเป็นพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี หรือว่าเป็นพระอรหันต์ได้ ตามบุญวาสนาบารมีของเรา

            การเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั้น ต้องอาศัยปัญญา คือ ปัญญาที่แท้จริงก็คือการกำหนดรู้ ให้ทันปัจจุบันธรรม รู้อาการของรูปของนามที่มันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป อันนี้เป็นปัญญาในทางพุทธศาสนา แต่ถ้าเราขาดปัญญาเสียอย่างเดียวการประพฤติปฏิบัติธรรมก็ไม่ได้ผล แล้วก็การประพฤติปฏิบัติธรรมนั้นท่านกล่าวไว้ว่า การที่เราจะได้บรรลุมรรคผลนิพพาน ยังอนุโลมญาณให้เกิดขึ้นในขันธสันดานนั้นต้องอาศัยศรัทธากับปัญญานั้นต้องเป็นของคู่กัน สมาธิกับความเพียรนั้นต้องเป็นของคู่กัน ปีตินั้นเป็นของกลางๆ แต่ถ้าอินทรีย์ทั้ง ๕ นี้มันเสมอกันเมื่อไหร่การบรรลุมรรคผลนิพพานนั้นก็จะเกิดขึ้นทันที จะยืนก็บรรลุธรรมได้ จะนอนก็บรรลุธรรมได้ จะตากผ้า จะอาบน้ำก็บรรลุธรรมได้ กำลังจะนั่งมันก็บรรลุธรรมได้ เราจะอยู่ในอิริยาบถใดมันก็สามารถที่จะบรรลุธรรมได้ ถ้าเรามีอินทรีย์ทั้ง ๕ นี้สมดุลกัน

            ศรัทธากับปัญญานั้นเป็นของคู่กัน สมาธิกับความเพียรเท่ากัน แล้วก็สตินั้นเป็นของกลางๆ สามารถที่จะบรรลุมรรคผลนิพพานได้ เพราะฉะนั้นสิ่งทั้ง ๔ ประการ ๕ ประการนี้ เราต้องทำให้เกิดในขันธสันดาน ถ้ายังไม่เกิดก็ต้องทำให้เกิด แต่ถ้าเราไม่ยังศรัทธา ไม่ยังอินทรีย์ทั้ง ๕ ให้สมบูรณ์แล้ว เราจะปฏิบัติธรรมอย่างไรอย่างไร มันก็ไม่สามารถที่จะบรรลุมรรคผลนิพพานได้ จะปฏิบัติธรรม ๔ ปี ๕ ปี ๖ ปี ๗ ปี ๘ ปี ๙ ปี ๑๐ ปี มันก็ไม่บรรลุมรรคผลนิพพานได้ เพราะอะไร ? เพราะว่าอินทรีย์ทั้ง ๕ มันไม่สมบูรณ์

            เรื่องนี้มีเรื่องของพระมหาศิวะ คือพระมหาศิวะนั้นท่านเป็นมหาเถระผู้ใหญ่ คือในสมัยนั้นมหาเถระมหาศิวะนั้นเป็นผู้ที่เป็นอาจารย์ใหญ่ในฝ่ายปริยัติธรรม สามารถที่จะสอนศิษยานุศิษย์ ๑๘ สาขา จึงเป็นผู้มีปัญญามาก สามารถสอนลูกศิษย์ลูกหาจนได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ตั้ง ๒๐,๐๐๐ กว่ารูป แต่ตนเองนั้นยังไม่ได้บรรลุเป็นอะไร เป็นปุถุชนธรรมดา แต่เนื่องจากตนเองแตกฉานในพระไตรปิฎกในพระวินัย พระสูตร พระอภิธรรม ก็สามารถที่จะแนะนำบุคคลอื่น ให้ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ถึง ๒๐,๐๐๐ กว่ารูป ในสมัยหนึ่งภิกษุหนุ่มรูปหนึ่ง ศิษย์ของพระมหาศิวะนั้น เมื่อได้บรรลุเป็นพระอรหันต์แล้วก็พิจารณาว่า เราได้บรรลุธรรมเพราะอะไรหนอ เราได้บรรลุธรรมเพราะอาจารย์ของเรา ก็เลยคิดถึงคุณของครูบาอาจารย์ อาจารย์ของเราได้บรรลุธรรมอะไรบ้างหรือเปล่าหนอ

            เมื่อพิจารณาไปพิจารณามา อาจารย์ของตนเองยังเป็นปุถุชนอยู่ ก็เลยคิดอาศัยคุณธรรมของท่าน อาศัยเมตตาของท่านก็เลยคิดอยากจะไปโปรดอาจารย์ก็เลยมาขอเรียนกับอาจารย์ ก็เลยกล่าวว่าท่านอาจารย์ขอรับ ท่านอาจารย์ว่างหรือเปล่า กระผมอยากจะมาขอเรียนสัมโมทนียกถากับพระอาจารย์สักบท แต่พระอาจารย์ว่า คุณจะมาเรียน ตอนนี้กระผมยังไม่ว่างถ้ามาตอนเช้าพระอาจารย์ว่างไหม ไม่ว่าง ตอนบ่ายว่างไหม ไม่ว่าง ตอนเย็นว่างไหม แล้วก็ตอนเช้าตรู่ตื่นขึ้นมาว่างไหม ไม่ว่าง เรียกว่ามีภาระแออัด

            ถ้าพระอาจารย์ไม่ว่าง เวลาเดินบิณฑบาตกระผมอุ้มบาตรให้พระอาจารย์ กระผมเดินตามหลังกระผมขอเรียนกับพระอาจารย์ในขณะที่เดินไปบิณฑบาตได้ไหม พระอาจารย์ก็ว่าไม่ได้ ตอนนั้นก็ยังมีลูกศิษย์ลูกหาไปตามเรียนกับเราอยู่ ถ้าอย่างนั้นขณะที่ไปรออยู่ในบ้านญาติ รอโยมเขาเอาอาหารมาใส่บาตร พระอาจารย์สอนกระผมได้ไหม ไม่ได้

            ขณะนั้นก็มีพระรอเรียนอยู่ ถ้าอย่างนั้นตอนกลับจากบิณฑบาต กระผมจะตามพระอาจารย์ ให้พระอาจารย์สอนให้ผม ไม่ได้ ตอนนั้นก็ยังไม่มีเวลาว่างอยู่ ถ้าอย่างนั้นตอนขณะที่อาจารย์ฉันเสร็จแล้ว ฉันเสร็จแล้วก็ไม่ว่าง ไล่ไปจนถึงเวลาอาบน้ำ อาบน้ำพระอาจารย์ว่างไหม ถ้าพระอาจารย์ว่างกระผมจะไปถูหลังให้ กระผมจะไปปรนนิบัติพระอาจารย์ให้ แล้วก็ให้พระอาจารย์สอนให้ผมในขณะนั้น

            พระภิกษุที่เป็นพระเถระผู้ใหญ่มหาศิวะนั้นก็บอกว่าไม่ว่าง ถ้าคุณจะเรียนเอาอย่างนี้ซะ ถ้าคุณมีศรัทธาจริงๆ บอกชื่อกระผมไว้บอกฉายาไว้ ถ้ากระผมว่างก็จะให้คนไปเรียกมาเรียน ขณะยืนคุยกันอยู่ที่วิหารภิกษุรูปนั้นก็คิดว่า เราควรที่จะทำให้อาจารย์นี้สลดสังเวช ก็เลยพูดว่า กระผมไม่อยากเรียนหรอก พระเถระผู้ที่มากไปด้วยปริยัติ มากไปด้วยสัญญา มากไปด้วยความจำ แล้วภิกษุรูปนั้นก็เหาะไปหนีไปต่อหน้าต่อตาแล้วก็หายวับไปกับตา

            พระมหาศิวะผู้มีปัญญาล้นแผ่นดินก็คิดได้ว่าภิกษุรูปนี้คงจะไม่ได้มาเรียนอนุโมทนาคาถากับเรา คงจะมาเตือนเราให้มาประพฤติปฏิบัติธรรม อย่ากระนั้นเลยเราจะเริ่มประพฤติปฏิบัติธรรมตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป จากนั้นพระมหาศิวะก็สอนลูกศิษย์ลูกหาไปตามปกติ พอถึงประมาณตี ๒ ครึ่ง ตี ๓ ครึ่ง ก็เก็บบริขารแบกใส่บ่า เอาแต่สิ่งที่จำเป็นแล้วก็เดินลัดไปหัวศาลา หัวโบสถ์ แล้วก็ออกท้ายวิหาร แล้วก็ไปอยู่ถ้ำแห่งหนึ่ง

            เมื่อไปอยู่ถ้ำแล้วก็เดินจงกรมนั่งภาวนา แล้วก็คิดอีกว่า อีก ๒ วัน ๓ วันก็จะถึงวันมหาปวารณา ก็จะถึงวันอธิษฐานเข้าพรรษา เราเป็นครูบาอาจารย์หมู่ใหญ่เราประพฤติปฏิบัติสัก ๒-๓ วัน เราได้บรรลุเป็นพระอรหันต์แล้วเราก็จะไปอธิษฐานเข้าพรรษากับพระสงฆ์หมู่ใหญ่ ก็ประพฤติปฏิบัติไปทั้งกลางวันกลางคืน เดินจงกรมนั่งภาวนาตลอด ๓ วัน วิปัสสนาญาณแม้ญาณเดียวก็ไม่เกิด ก็เลยคิดว่าเราไม่สามารถที่จะไปอธิษฐานทันพระภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ได้ อย่ากระนั้นเลยเราจะประพฤติปฏิบัติธรรมตั้งแต่พรรษานี้ไปจนถึงออกพรรษา

            ก่อนที่จะออกพรรษาเราต้องยึดเอาพระอรหัตผลแล้วก็ไปปวารณากับพระสงฆ์หมู่ใหญ่นั้นให้ได้ แล้วก็เดินจงกรมนั่งภาวนาไม่นอนตลอด ๓ เดือน ก็ไม่ได้บรรลุมรรคผลนิพพานอะไร วิปัสสนาญาณที่ ๑ ก็ไม่เกิด พอออกพรรษาแล้วก็ตั้งจิตตั้งใจว่าถ้าเราไม่บรรลุมรรคผลนิพพานจะไม่นอนเป็นอันขาด จะมีแต่ยืนแต่เดินกับนั่ง แล้วก็จะไม่ล้างเท้าตลอดที่ตนเองจะได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ ก็ทำความเพียรอยู่นั้นแหละจน ๓๐ ปี จึงได้บรรลุมรรคผลนิพพาน คิดดูสิการประพฤติปฏิบัติธรรม คนที่มีปัญญามากถึงขนาดนั้น สอนบุคคลอื่นให้ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ตั้ง ๒๐,๐๐๐ กว่ารูปแต่ตนเองต้องประพฤติปฏิบัติธรรมนั้นถึง ๓๐ ปีจึงได้บรรลุมรรคผลนิพพาน เพราะฉะนั้นการประพฤติปฏิบัตินั้น เราต้องประกอบไปด้วยศรัทธา ประกอบไปด้วยความเพียร ประกอบไปด้วยสติ ประกอบไปด้วยสมาธิ ประกอบไปด้วยปัญญา การประพฤติปฏิบัติธรรมของเราจึงจะได้ผลเร็ว อันนี้เป็นหัวใจของการประพฤติปฏิบัติธรรม

            ข้อที่ ๑ คือไม่หนี ๒ ไม่สู้ ไม่สู้ในที่นี้คือ เราไม่สู้ด้วยอำนาจของราคะ ไม่สู้ด้วยอำนาจของโทสะ เราไม่สู้ด้วยอำนาจของโมหะ คือไม่สู้ด้วยอำนาจของกิเลส ไม่สู้ด้วยอำนาจของมานะทิฏฐิ อวิชชา อุปาทาน ให้เราสู้ด้วยอำนาจของปัจจุบันธรรม ทำไมเราจึงสู้ด้วยอำนาจของปัจจุบันธรรม เพราะปัจจุบันธรรมนั้นถือว่าเป็นบรมธรรม เป็นอริยธรรม เป็นที่รวมของธรรมทั้งหลายทั้งปวง กิเลสทั้งหลายทั้งปวงเมื่ออาศัยปัจจุบันธรรมแล้วกิเลสมันก็เกิดขึ้นมาไม่ได้ จะเป็นราคะก็ดี โทสะก็ดี มันก็เกิดขึ้นมาไม่ได้ จะเป็นโมหะมันก็เกิดขึ้นมาไม่ได้

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 31 กรกฎาคม 2563 15:21:59 โดย Maintenence » บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 992


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 84.0.4147.89 Chrome 84.0.4147.89


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 31 กรกฎาคม 2563 15:19:11 »


หัวใจหลักของการปฏิบัติ ๔ ประการ (ต่อ)
ธรรมบรรยาย
โดย พระภาวนาสุตาภิรัต (ชอบ พุทฺธสโร)
วัดพิชโสภาราม ตำบลแก้งเหนือ อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี

           ถ้าเรามีสติกำหนดทันปัจจุบันธรรมอยู่ตลอดเวลามันเกิดขึ้นมาไม่ได้ จะเป็นความน้อยเนื้อต่ำใจ จะเป็นความเกียจคร้าน หรือว่าจะเป็นนิมิตก็ดี จะทำให้เราเหม่อไปตามอำนาจของนิมิตก็ดี เหม่อไปตามอำนาจของปีติก็ดี เหม่อไปตามอำนาจของปัสสัทธิก็ดี เหม่อไปตามโอภาสแสงสว่างก็ดี สิ่งเหล่านี้ไม่สามารถที่จะทำให้เราเหม่อไปตามสิ่งเหล่านั้นได้ เพราะว่าบุคคลผู้ประพฤติปฏิบัติธรรมเมื่อเกิดปีติแล้วจะหลงในอำนาจของปีติ ชมปีติแล้วก็อิ่มเอิบไม่ยอมพิจารณา

            ถ้าเรามีสติเราก็กำหนดให้ทันปัจจุบันธรรม พองหนอ ยุบหนอ ปีตินั้นก็จะเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ผลักดันให้วิปัสสนาญาณของเราแก่กล้าไว หรือว่าบุคคลผู้เกิดปัสสัทธิ มีความสงบแน่นิ่งแล้วก็อยากจะอาศัยความสงบนั้นอยู่ตลอดเวลา ไม่อยากจะพิจารณาร่างกาย สังขารของตัวเอง เพราะอะไร ? เพราะว่าขาดปัจจุบันธรรม เหม่อลอยไปตามอำนาจของปัสสัทธิ อันนี้เราต้องกำหนดให้ทันปัจจุบันธรรม ดึงมาที่อาการพองอาการยุบ อาการขวาย่าง ซ้ายย่างทันที หรือว่าขณะที่เรานั่งไปๆ มันเกิดโอภาสขึ้นมา เกิดแสงสว่างขึ้นมา เท่าตารถไฟก็ดี เท่าตารถยนต์ก็ดี บางครั้งก็เหมือนกับแสงหิ่งห้อย บางครั้งนั่งไปแล้วเหมือนแสงสว่างมันผุดออกจากหัวใจของเราพุ่งขึ้นไป แตกเป็นสีเหลืองสีแดงสีเขียว

            บางครั้งก็มีแสงพุ่งออกจากหูจากหัวแล้วแต่บุคคล บางคนก็มีแสงสว่างนั้นเวลาเดินจงกรมแล้วมันมีแสงสว่างเท่ากับแสงหิ่งห้อย พอกำหนดไป กำหนด “เห็นหนอ” แสงสว่างมันแตกออกมาเป็น ๒ เป็น ๓ กำหนดอีก แตกออก กำหนดอีก แตกออกไป ยิ่งแตกออกไปเรื่อย แตกออกไปจนแสงสว่างนั้นมันสะท้อนเข้ามาหาตา เดินจงกรมไม่ได้ จะก้าวเดินจงกรมก็ไม่เห็นทางเดินจงกรม ต้องเข้าไปเดินจงกรมในห้องแล้วก็เปิดไฟให้สว่าง เมื่อเปิดไฟสว่างแล้วแสงนั้นก็ลดลง มันไม่มากระทบที่ตา จึงสามารถที่จะเดินจงกรมได้ ในลักษณะอย่างนี้เรียกว่าเหม่อลอยไปตามอำนาจของโอภาส คือหลง ไม่มีสติกำหนดทันปัจจุบันธรรม

            แต่ถ้าเรากำหนดทันปัจจุบันธรรม เห็นหนอ หรือว่าพิจารณาว่ามันเห็นหนอขึ้นมา ไม่ส่งใจไปตามอำนาจของโอภาสที่มันมาปรากฏ ในลักษณะอย่างนี้ก็แสดงว่าเราทันปัจจุบันธรรม เพราะฉะนั้นการที่เรากำหนดให้ทันปัจจุบันธรรมนั้นจึงถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญ ไม่ให้กิเลสคือราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฎฐิ ตัณหา อวิชชา อุปาทาน มันเกิดขึ้นมาในจิตในใจของเราได้ แต่ถ้าเราขาดปัจจุบันธรรมเมื่อไหร่การประพฤติปฏิบัติธรรมก็ไร้ผล เรียกว่า กิเลสมันเกิดขึ้นมาแทรกได้ เพราะฉะนั้นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์จึงตรัสไว้ใน ภัทเทกรัตตสูตร ว่า

                 อตีตํ นานฺวาคเมยฺย             นปฺปฏิกงฺเข อนาคตํ
                 ยทตีตมฺปหีนนฺตํ                 อปฺปตฺตญฺจ อนาคตํ
                 ปจฺจุปฺปนฺนญฺจ โย ธมฺมํ         ตตฺถ ตตฺถ วิปสฺสติ.

            ซึ่งแปลเป็นใจความว่า “บุคคลไม่ควรคิดถึงสิ่งที่ล่วงมาแล้ว ไม่ควรพะวงถึงสิ่งที่ยังไม่มาถึง เพราะสิ่งที่เป็นอดีตก็ล่วงมาแล้ว สิ่งที่เป็นอนาคตก็ยังไม่มาถึง บุคคลใดรู้ปัจจุบันธรรมอยู่ บุคคลนั้นจะเป็นผู้รู้แจ้งในที่นั้นๆได้”

            อันนี้พระองค์ทรงตรัสไว้เป็นเครื่องยืนยัน เพราะฉะนั้นการประพฤติปฏิบัติธรรมเราอยากจะรู้แจ้ง ตามองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตามพระอรหันต์สาวกทั้งหลายทั้งปวง ตามพระอริยะสาวกทั้งหลายทั้งปวง เราต้องทำปัจจุบันธรรมนั้นให้เกิดขึ้นมาในจิตในใจ ในการประพฤติปฏิบัติธรรม เรื่องนี้มีตัวอย่างคือเรื่อง พระอานนท์

            ในสมัยที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในสมัยที่พระองค์จะปรินิพพาน พระองค์ทรงมีพระวรกายบอบช้ำในการที่ได้ฉันภัตตาหารคือ สุกรมัทวะของนายจุนทะ เดินทางจากเมืองปาวาแล้วก็ข้ามแม่น้ำกุกุธานที ก็เข้าเขตเมืองกุสินารา เมื่อเข้าเมืองกุสินาราแล้วพระองค์ก็ทรงมีพระวรกายที่บอบช้ำ พระองค์ก็ไปพักที่สาลวโนทยานของมัลลกษัตริย์ ส่งพระอานนท์ให้ไปขออนุญาตพวกมัลลกษัตริย์ เพื่อที่จะจัดเป็นสถานที่ปรินิพพาน

            ในขณะที่พระองค์ทรงนอนบรรทมสีหไสยาสน์นั้นแหละ พระอานนท์ก็เศร้าโศกเสียใจ คิดว่าเรานี้ติดตามองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหมือนกับเงาติดตามตัว เราเกาะชายจีวรขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่ เราก็ไม่ได้บรรลุมรรคผลนิพพานเป็นพระอรหันต์ กิเลส คือราคะ โทสะ โมหะ มันยังอยู่ในจิตในใจของเราอยู่ แล้วก็พระตถาคตก็จะจากเราไปในค่ำคืนนี้แล้ว ก็เกิดความเศร้าโศกเสียใจบ่นพิไรรำพัน เพราะว่าพระโสดาบันนั้นยังมีความเศร้าโศกอยู่ พระตถาคตผู้รู้อัธยาศัยของพระอานนท์ ก็เลยตรัสเรียกให้พระอานนท์เข้าเฝ้า แล้วก็ตรัสว่า “ดูก่อนอานนท์ เธออย่าเสียใจเลย ต่อเมื่อตถาคตปรินิพพานไปแล้วอีก ๔ เดือน เธอก็จะได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ตัดกิเลสขาดจากขันธสันดาน เธออย่าเสียใจไปเลย” ก็เรียกว่าพยากรณ์พระอานนท์ แล้วพระอานนท์ก็คลายความเศร้าโศกเสียใจแล้วก็บริหาร

            องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ปรินิพพานในค่ำคืนนั้น แล้วเมื่อพระองค์ทรงปรินิพพานได้ ๓ เดือน ในวันนั้นก็จะเป็นวันที่พระมหากัสสปะผู้มีอาวุโสนั้นจะทำการสังคายนาพระธรรมวินัยเป็นครั้งแรก ที่ถ้ำสัตตบรรณคูหา ก็เอาพระอรหันต์ผู้ได้ปฏิสัมภิทาญาณทั้ง ๔ พระอรหันต์ที่ได้วิชชา ๓ ก็ดี อภิญญา ๖ ก็ดี ไม่ได้ปฏิสัมภิทาญาณทั้ง ๔ นี้ไม่ให้เข้าไป คือไม่ให้เข้าไปที่ประชุม เอาแต่พระอรหันต์ที่ได้ปฏิสัมภิทาญาณ ๔ ล้วนๆ เข้าไป แต่เหลือไว้อีกที่หนึ่ง ได้พระอรหันต์ที่ได้ปฏิสัมภิทาญาณทั้ง ๔ นั้น ๔๙๙ เหลืออยู่องค์เดียวรูปเดียว เหลือไว้ให้พระอานนท์ รอพระอานนท์นั้นปฏิบัติธรรมอยู่

            พระอานนท์นั้นก็ปฏิบัติธรรมตั้งแต่ปฐมยาม เดินจงกรมนั่งภาวนาสลับกันไป เดินแล้วก็นั่งๆ สลับกันไปก็ไม่ได้บรรลุมรรคผลนิพพาน จนมัชฌิมยามผ่านไปก็ไม่ได้บรรลุมรรคผลนิพพาน จนถึงปัจฉิมยาม เดินจงกรมนั่งภาวนาไม่ได้หลับไม่ได้นอนก็ไม่ได้บรรลุมรรคผลนิพพาน เพราะอะไร เพราะท่านตั้งใจ จิตใจของท่านแรงกล้าเกินไป จิตใจของท่านกระเพื่อมก็เลยไม่ได้บรรลุมรรคผลนิพพาน ก็คิดว่าคำพยากรณ์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้จะไม่เป็นจริงแล้วกระมังหนอ ก็พิจารณาไป สงสัยคำพยากรณ์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าคงจะผิดแล้วแหละ เพราะว่ามันจะสว่างแล้วก็เลยอ่อนเนื้ออ่อนใจก็เลยกำหนดจะนอนเอนกายจะนอน

            แต่ขณะที่กำหนดเอนกายจะนอนนั้นท่านมีสติกำหนดทันปัจจุบันธรรม อาจจะกำหนดว่า เอนหนอ ๆๆ ท่านยังไม่นั่ง จะว่าท่านนั่งก็ไม่ใช่ จะว่าท่านนอนก็ไม่ใช่ อยู่ในกึ่งอิริยาบถทั้ง ๔ ท่านก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ ตัดกิเลสขาดจากขันธสันดานได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาญาณทั้ง ๔ อันนี้เพราะอะไร เพราะว่าท่านมีปัจจุบันธรรมกำหนด เรียกว่า ปล่อยกายแต่ไม่ปล่อยสติ เรียกว่าร่างกายมันอ่อนเพลียแต่ท่านยังมีสติกำหนดอยู่ เมื่อเรามีสติกำหนดทันปัจจุบันธรรมอย่างนี้เราย่อมสามารถที่จะบรรลุมรรคผลนิพพานได้ในที่ทุกสถานในกาลทุกเมื่อ ถ้ามันมีความพร้อม มีบารมีพร้อม มีบุญวาสนาบารมีสมบูรณ์แล้วก็สามารถที่จะบรรลุมรรคผลนิพพานได้ อันนี้เป็นหัวใจของการปฏิบัติข้อที่ ๒

            หัวใจของการปฏิบัติข้อที่ ๓ ไม่อยู่ ไม่อยู่ในที่นี้คือเราไม่อยู่ในวิตกทั้ง ๓ ประการคือ กามวิตก พยาบาทวิตก แล้วก็ วิหิงสาวิตก คือวิตกทั้ง ๓ นี้ถือว่าเป็นอกุศลธรรม ถ้าจิตใจของเราตกอยู่ในฝ่ายอกุศลธรรมแล้ว กุศลธรรมคือศีล คือสมาธิ คือปัญญา ก็ไม่สามารถที่จะเกิดขึ้นมาได้ เปรียบเสมือนกับความมืดกับแสงสว่าง ถ้าแสงสว่างปรากฏขึ้นมาความมืดก็หายไป ความมืดปรากฏขึ้นมาแสงสว่างก็หายไป จิตใจของเราก็เหมือนกัน ถ้ากุศลธรรมเกิดขึ้นมาแล้วอกุศลธรรมก็จางหายไป ถ้าอกุศลธรรมเกิดขึ้นมา กุศลธรรมก็ดับไป มันเป็นของคู่กัน เป็นของที่ต้องลบล้างกัน

            ถ้าจิตใจของเราตกอยู่ในอำนาจของกามวิตก พยาบาทวิตก แล้วก็วิหิงสาวิตก บุญกุศลคือศีล สมาธิ ปัญญา ก็ไม่สามารถเกิดขึ้นมาในจิตในใจของเราได้ เพราะฉะนั้นเวลาเราประพฤติปฏิบัติธรรมนั้นเราต้องพยายามกำหนด คือขณะที่ประพฤติปฏิบัติธรรมไปนั้น บางคนผู้เป็นราคะจริต บุคคลนั้นมีจริตไม่เหมือนกัน ถ้าบุคคลผู้มีราคะเป็นเจ้าเรือน เวลาเดินจงกรมไป นั่งภาวนาไป จะคิดถึงราคะคิดถึงรูปที่สวยๆ คิดถึงเสียงที่ไพเราะ คิดถึงกลิ่นที่หอมๆ ชอบใจ คิดถึงสัมผัสเย็นร้อนอ่อนแข็งที่ตนเองชอบใจ เมื่อคิดไปแล้วก็เกิดอารมณ์ราคะขึ้นมา เดินก็เกิดราคะ นั่งก็เกิดราคะ จะนอนก็เกิดราคะ จะทำกิจอะไร ราคะครอบงำจิตใจอยู่ เพราะว่าตนเองนั้นมีราคะเป็นเจ้าเรือน

            ถ้าในลักษณะอย่างนั้นเราก็กำหนดที่ใจของเรา “ราคะหนอๆ” “ราคะหนอๆ” ขณะที่เราจะเดินจงกรมราคะมันเกิดขึ้นมาเราหยุดทันทีเลยเรากำหนด “ราคะหนอๆ” เราภาวนา “พองหนอ ยุบหนอ” มันเกิดขึ้นมาเราก็กำหนด “ราคะหนอๆ” ที่ใจของเราทันที ในลักษณะอย่างนี้เรียกว่า เราพยายามที่จะไม่อยู่ในอำนาจของราคะ หรือว่าบุคคลผู้เป็นเจ้าของโทสะ เดินจงกรมไปนั่งภาวนาไปก็เกิดคิดถึงแต่อารมณ์ที่เป็นโทสะ คนนั้นก็ทำให้ไม่พอใจ คนนี้ก็ไม่พอใจ เกิดหมั่นไส้บุคคลนั้น เกิดหมั่นไส้บุคคลนี้ คนนั้นก็เดินไม่ดี คนนี้ก็พูดไม่เพราะ คนนี้ก็ไม่ถูกตาเรา เรียกว่าเป็นคนเจ้าโทสะ โมโหโทโสไว เมื่อในลักษณะอย่างนี้ จิตใจเรามันจะเกิดอกุศลมาเราจะทำอย่างไร เราต้องกำหนดจิตของเราเสียก่อน กำหนดว่า “โกรธหนอๆ” “ไม่พอใจหนอๆ” “เคืองหนอๆ” “หมั่นไส้หนอๆ” เรากำหนดที่จิตใจของเรา

            ขณะที่เรากำหนดที่จิตใจของเรา กำหนดจิตนี้เราต้องกำหนดอาการของจิตด้วย คือเราต้องกำหนดอาการของจิต ขณะที่เรากำหนดว่า “โกรธหนอๆ” เราต้องเพ่งลงไปที่อาการของจิตด้วย ว่าความโกรธที่มันเกิดขึ้นในจิตในใจของเรามันเพิ่มขึ้นหรือมันลดลงหรือว่าเบาลง แต่ถ้าบุคคลใดมีสมาธิกำหนดว่าโกรธหนอ ตอนจิตใจที่มันกำลังร้อนอยู่มันจะเย็นวาบเข้าไป เหมือนกับขณะที่เราร้อนๆ แล้วเราเดินเข้าไปในห้องแอร์มันเย็นวาบเข้าไป หรือว่าเราดื่มน้ำเย็นมันจะเย็นขึ้นมา ในลักษณะอย่างนี้ มันจะเย็นที่หัวใจของเรา

            ถ้าเราตั้งใจกำหนดจริงๆ ความโกรธมันก็สามารถที่จะหายไปได้ เรียกว่าจิตใจของเราจะไม่ตกอยู่ในอำนาจของวิตก คือความโกรธ หรือว่าบุคคลใดที่ชอบหลง ชอบหลงในรูป หลงในเสียง หลงในกลิ่น หลงในรส หลงในลูก หลงในภรรยา หลงในสามี ยึดมั่นถือมั่นอยู่ในสิ่งเหล่านั้น มาประพฤติปฏิบัติธรรมก็ห่วงพ่อบ้าน กลัวพ่อบ้านจะไปกินเหล้า กลัวพ่อบ้านจะไปหาบ้านเล็กบ้านน้อยบ้านใหญ่ พ่อบ้านมาประพฤติปฏิบัติธรรม สามีภรรยาของเราอยู่บ้านจะเป็นยังไงหนอ มีใครไปเล่น มีใครไปด้วย ภรรยาของเราจะไปคบชู้สู่สมไหม เกิดความหลงในสามีภรรยามากเกินกว่าเหตุ เพราะอะไร ? เพราะอุปาทานนั้นเป็นเหตุ หรือว่าห่วงลูกเกินไป ห่วงหลานเกินไป ห่วงทรัพย์สินเงินทองเกินไป ห่วงการค้าการขายมากเกินไป จนไม่มีกะจิตกะใจที่จะเดินจงกรม นั่งภาวนา เราจะทำยังไง เราต้องกำหนดที่ใจของเราเสียก่อน กำหนดว่า “ห่วงหนอๆ” หรือว่า “คิดหนอๆ” “กังวลหนอๆ” จี้ลงไป

            ขณะที่จิตมันกังวลเราก็ “กังวลหนอๆ” เราก็พิจารณาความกังวลในจิตในใจของเราด้วย ถ้าเราไม่พิจารณาอาการของความกังวลในใจก็ถือว่าเรานั้นกำหนดยังไม่ถูกต้อง แต่ถ้าเรากำหนดว่า “กังวลหนอ” คิดดูพิจารณาดูความกังวลนั้นเบาลง หรือว่ามันดับฟุบไป ถ้ามันดับลงไปในขณะนั้น ถ้ามันเป็นมรรคญาณก็ถือว่าเป็นการบรรลุมรรคผลนิพพานได้ การบรรลุมรรคผลนิพพานในทางจิตตานุปัสนานี้ก็มีเหมือนกัน ตามที่ได้สอบอารมณ์ที่วัดพิชโสภารามก็มีเหมือนกัน เพราะฉะนั้นอันนี้แล้วแต่บุคคลบางคน บางคนเดินจงกรมนั่งภาวนา มีแต่ราคะ มีแต่โทสะ มีแต่โมหะเกิดขึ้นมาในจิตในใจอยู่ตลอดเวลา ทำอย่างไรก็เกิดขึ้นมา ไม่สงบกับเขาเสียที แต่พอกำหนดว่า “โกรธหนอๆ” “ราคะหนอๆ” จิตใจมันสงบเป็นสมาธิก็ดี บางคนไม่สงบเลย เดินจงกรมนั่งภาวนาตลอด ๓ เดือน ตลอด ๒ เดือนกว่า เดินจงกรมไม่สงบ แต่พอไปกำหนดตั้งใจกำหนดจิตจริงๆ แล้วมันสงบพรึบลงมาผ่านการประพฤติปฏิบัติธรรมไปเลยก็มี อันนี้เพราะอะไรเพราะว่าบุคคลนั้นเป็นบุคคลที่สั่งสมบารมีในทางจิตตานุปัสนามามาก

            การประพฤติปฏิบัติธรรมนั้นเราต้องกำหนด อย่าให้จิตใจของเราตกอยู่ในวิตกทั้ง ๓ ประการ คือกามฉันทะ คือความตรึกในกามคุณ ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส แล้วก็อารมณ์ที่ตนเองชอบใจ แล้วก็พยาบาทวิตก คือไม่ให้เรานั้นตรึกไปในการที่จะโกรธ หรือว่าการที่จะเกลียด หรือว่าการที่จะไม่พอใจบุคคลอื่น วิหิงสาวิตกคือ ความตรึกในการที่จะเบียดเบียนบุคคลอื่น เราเบียดเบียนด้วยยศถาบรรดาศักดิ์ ด้วยความเป็นผู้ใหญ่ หรือด้วยความเป็นผู้มีบุญญาวาสนาบารมีอะไรก็ตาม ถ้าเราไปเบียดเบียนบุคคลอื่นให้เดือดร้อนก็ถือว่า เบียดเบียนเป็นอกุศลธรรม เพราะฉะนั้นความเบียดเบียนเหล่านี้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถือว่าเป็นอกุศลธรรม ให้เราเว้น ให้เราห่าง ให้เราล้าง ให้เราเลิกให้ได้ แล้วก็วิตกทั้ง ๓ ประการนี้ถ้าเกิดขึ้นมาในจิตในใจของเราครั้งใด กุศลธรรมมันก็จะเหือดแห้งไปจากจิตจากใจของเราตราบนั้น เพราะฉะนั้นเราต้องพยายามทำอกุศลธรรมคือ พยาบาทวิตก ทั้ง ๓ ประการนี้ให้หมดไปจากจิตจากใจของเรา เรื่องนี้มีตัวอย่างที่ท่านกล่าวไว้ในธรรมบทขุททกนิกาย

            คือมีภิกษุผู้ที่เป็นโอรสของเจ้าวัชชีรูปหนึ่ง คือในสมัยนั้นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของพวกเรานั้น พระองค์ทรงประทับอยู่ที่เมืองไพสาลี ทรงอาศัยอยู่ที่ป่ามหาวัน เมื่อพระองค์ทรงอาศัยอยู่ที่ป่ามหาวันนั้นแหละมีโอรสของเจ้าวัชชีรูปใดรูปหนึ่งที่สละราชสมบัติที่จะมาถึงตนเองตามลำดับนั้นออกบวช เรียกว่าออกบวชในพุทธศาสนา เรียกว่า สาสเน อุรํ ทตฺวา มอบอกให้แก่พุทธศาสนา มอบใจให้แก่พุทธศาสนา เมื่อมอบหัวใจให้แก่พุทธศาสนาแล้วก็ตั้งใจเดินจงกรม นั่งภาวนา สมาทานธุดงค์ไปปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัดอยู่ในป่ามหาวันนั้นแหละ เดินจงกรมนั่งภาวนา เดินจงกรมก็เดินจงกรมอยู่ที่ทางเดินจงกรมใหญ่ยาวตั้ง ๖๐ ศอก เดินจงกรมกลับไปกลับมาๆ

            แต่ในสมัยนั้นเมืองไพสาลีนั้นเป็นเมืองที่กำลังมีกษัตริย์ กำลังจะจัดงานประจำปี กำลังจัดงานเอาบุญ มีเสียงกลองเสียงฆ้อง เสียงพิณ เสียงสังข์ ดังขึ้นมา ทางบ้านทางเมืองเขาก็ประดับประดาด้วยธงชัยด้วยแผ่นผ้า ทำให้เป็นเหมือนกับสวรรค์ชั้นจาตุมมหาราช เรียกว่ามีความสวยงาม เหมือนกับสวรรค์ชั้นจาตุมมหาราช ชนเมืองทั้งหลาย พระราชาทั้ง ๗,๗๐๗ พระองค์ ตามด้วยอำมาตย์ เสนาบดี ข้าราชบริพาร ทั้งหลายทั้งปวง ประชาชนชาวบ้านทั้งหลายทั้งปวงก็ออกมาฉลองมหรสพ สนุกสนาน มีเสียงพิณ เสียงกลอง มีเสียงสังข์ เสียงแตรดังขึ้นมา ไปถึงราวป่าที่ภิกษุที่เป็นโอรสของเจ้าวัชชีกำลังเดินจงกรมนั่งภาวนาอยู่

            ขณะที่เดินจงกรมไปก็เกิดความวิตก ตรึกถึงอารมณ์ที่ตนเองเคยเป็นกษัตริย์แล้วก็เสพย์อารมณ์เหล่านี้ ก็คิดถึงเสียงกลอง คิดถึงเสียงสังข์ คิดถึงสาวน้อยทั้งหลายทั้งปวง บริวารทั้งหลายทั้งปวงที่เคยแวดล้อมข้างกายของตนเอง แต่ในขณะนี้ตนเองนั้นไม่มีอะไรมีแต่ผ้ากาสาวพัสตร์เก่าๆ ย้อมด้วยน้ำฝาดห่มกาย ไร้ซึ่งผ้าโพก ไร้ซึ่งเครื่องประดับอลังการของกษัตริย์ ก็เลยเกิดความเบื่อหน่าย เกิดความไม่ยินดีในเพศของนักบวชก็เลยไปยืนพิงอยู่กระดานในที่สุดทางเดินจงกรมตั้ง ๖๐ ศอกก็พิจารณาว่า เรานี้เป็นผู้ที่เศร้าหมองเหลือเกิน เป็นผู้ไม่มีอะไรเลย ก็ด้วยความไม่ยินดีในเพศของตนนั้นแหละก็เลยเปล่งอุทานขึ้นมา พูดขึ้นมาว่า เรานี้อยู่ผู้เดียวในป่า เรานี้เป็นคนผู้เดียวที่อยู่ในป่า เหมือนท่อนไม้ที่เขาทิ้งไว้ในป่า ในราตรีพระจันทร์เต็มดวงเช่นนี้ ใครเล่าที่จะเลวกว่าเรา

            เมื่ออุทานออกมานั้นเทวดาผู้ที่อาศัยอยู่ในไพรสณฑ์นั้น ก็ต้องการที่จะยังภิกษุผู้ที่ถือธุดงควัตรเป็นปกติเคร่งครัดในพระธรรมวินัยนั้นให้เกิดความสลดสังเวช ก็เลยกล่าวขึ้นมาว่า ท่านผู้เดียวที่อยู่ในป่า เหมือนท่อนไม้ที่เขาทิ้งไว้ในป่า ชนทั้งหลายย่อมยินดีต่อท่าน เหมือนกับสัตว์นรกทั้งหลายยินดีต่อชนทั้งหลายผู้ไปสู่สุคติสวรรค์ฉะนั้น ภิ

            กษุรูปนั้นก็เกิดได้ยินเสียงเทวดาพูดขึ้นมานั้นก็เกิดความสลดสังเวช ก็คิดว่าเราอาศัยความไม่ยินดีนั้นก็ไม่สามารถที่ประพฤติปฏิบัติธรรมได้ อย่ากระนั้นเลย พรุ่งนี้เช้าเราจะไปเฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าดีกว่า พอตอนรุ่งเช้าขึ้นมาก็ไปเฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงทราบอัธยาศัยของภิกษุรูปนั้น จึงตรัสทุกข์ ๕ ประการ ให้ภิกษุรูปนั้นคลายความยินดีในการสร้างบ้านสร้างเรือน สร้างครอบครัว องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงประมวลทุกข์ ๕ ประการ คือพระองค์ทรงแสดงธรรมเรื่องทุกข์ ๕ ประการคือ ๑ การบวชนั้นก็ถือว่าเป็นการยาก ความยินดีในการบวชนั้นก็ถือว่าเป็นการยาก การครองเรือนไม่ดีนั้นก็เป็นทุกข์ การอยู่กับบุคคลผู้เสมอกันก็เป็นทุกข์ การที่จะเดินทางไกลก็เป็นทุกข์ คือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงทุกข์ ว่าการบวชนั้นถือว่าเป็นการยาก เพราะว่าบุคคลผู้ที่มาบวชในธรรมวินัยในพระศาสนานี้ถือว่าเป็นการยาก เพราะว่าการบวชนั้นต้องละครอบครัว

            ถ้ามีเมียแล้วก็ต้องลาเมีย มีสามีแล้วก็ต้องลาสามี มีทรัพย์สมบัติแล้วก็ต้องห่วงทรัพย์สมบัติ ต้องสละสามี สละภรรยา สละทรัพย์สมบัติ สละบ้าน สละเรือน สละข้าวของเงินทองที่ตนเองหาสะสมมาได้ สละญาติพี่น้องทั้งหลายทั้งปวงที่เคยกินเคยนอนเคยกินเคยพูด เคยสนทนาปราศรัยกัน ต้องเสียสละหลายสิ่งหลายประการ เพราะฉะนั้นบุคคลที่จะมาบวชนั้นถือว่าเป็นการยาก

            แล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ก็ทรงตรัสว่า การยินดีในการบวชนั้นก็ถือว่าเป็นการยาก เพราะว่าบุคคลผู้จะยินดีในการบวชนั้นถือว่ายาก เพราะนักบวชนั้นต้องพึ่งบุคคลอื่น ไม่มีไร่มีนา ไม่มีการค้าการขาย นักบวชนั้นต้องอาศัยบุคคลอื่นนั้นเป็นสิ่งที่เลี้ยงชีวิต เหมือนกับปรทัตตูปชีวิเปรตนั้นต้องอาศัยบุคคลอื่นนั้นเลี้ยงชีวิต ถ้าญาติโยมเขาศรัทธาเขาก็เอาของมาถวาย เอาของมาใส่บาตร สามารถที่จะเลี้ยงชีพของตนเองไปได้ แต่ถ้าโยมเขาไม่ศรัทธาก็ไม่สามารถที่จะยังชีวิตของตนเองไปได้ แล้วก็นักบวชนั้น อยากร้อนก็ได้เย็น อยากเค็มก็ได้จืด อยากของเอร็ดอร่อยตามใจชอบไม่ได้ เขามาถวายอย่างไร เราก็ได้ทานอย่างนั้น

            ความยินดีในนักบวชนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่ยินดีได้ยาก ประการที่สาม พระองค์ทรงตรัสว่า การครองเรือนนั้นเป็นทุกข์ เรือนที่ครองไม่ดีนั้นเป็นทุกข์ เพราะว่าบุคคลผู้ครองเรือนนั้นถือว่าเป็นการที่จะประคับประคองให้สมบูรณ์ได้ยาก เพราะว่าบุคคลผู้มีกิเลสอยู่ด้วยกัน สามีก็มีกิเลส ภรรยาก็มีกิเลส ลูกเกิดมาก็ยังมีกิเลสอีก หลานเกิดมาก็ยังมีกิเลสอีก คนมีกิเลสอยู่ด้วยกันจะทำให้สมบูรณ์ทุกสิ่งทุกประการนั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้

            บางครั้งสามีก็อาจจะเป็นคนขี้โกรธ บางครั้งภรรยาก็อาจจะเป็นคนขี้เล่นไพ่ หรือว่าสามีอาจจะเป็นคนกินเหล้าเมายาคบชู้สู่สม ภรรยาเป็นคนไม่ดี ในเมื่อมันเกิดขึ้นมาอย่างนี้มันจึงสมบูรณ์ได้ยาก การครองเรือนมันก็เป็นทุกข์ บางครั้งพ่อแม่ดี สามีดี แต่ลูกไม่ดี ไปกินเหล้าเมายา ไปเที่ยวเตร่เฮฮา ไม่ไปโรงเรียน หนีโรงเรียน โดดโรงเรียน เรียนหนังสือมาก็ไม่สามารถที่จะสอบบรรจุเป็นครู เป็นตำรวจ เป็นข้าราชการได้ ก็มาเป็นภาระของพ่อของแม่อีกก็เป็นทุกข์อีก เพราะฉะนั้นการครองเรือนนั้นเป็นสิ่งที่ลำบาก เป็นสิ่งที่ทำให้เต็มได้ยาก

            ท่านกล่าวไว้ว่า เปรียบเสมือนกับเราตักน้ำใส่ถัง ใส่กระป๋องที่ก้นมันทะลุ เราตักยังไงมันก็ไม่เต็ม เพราะอะไร ? เพราะว่ามันมีรูรั่ว ถ้ามันมีรูรั่วหลายรูจะตักยังไงมันก็ไม่เต็ม เพราะฉะนั้นบุคคลจะตักน้ำใส่ถังรั่ว ตักยังไงมันก็ตักไม่เต็ม บุคคลผู้มีกิเลส เราจะทำดียังไงมันยังผิดพลาดมันเต็มได้ยาก เพราะฉะนั้นการครองเรือนมันเปรียบเสมือนกับว่าครองเรือนไม่ดีมันเป็นทุกข์ เปรียบเสมือนกับเราตักน้ำใส่ถังรั่ว เปรียบเสมือนกับเราทิ้งของลงเหว ทิ้งอย่างไรมันก็ไม่เต็ม เปรียบเหมือนกับทะเลมันไม่รู้จักเต็ม น้ำไหลไป น้ำปิง น้ำวัง น้ำยม น้ำน่าน น้ำแม่น้ำโขง น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำมูล แม่น้ำชี ไหลไปสู่ทะเล ทำยังไงก็ไม่เต็ม มันไม่อิ่มด้วยน้ำ

            บุคคลผู้ที่จะครองเรือนให้สมบูรณ์นั้นก็เหมือนกับทะเลนั้นแหละไม่รู้จักเต็ม ทำได้ยาก เพราะฉะนั้นการครองเรือนนั้นก็เป็นทุกข์ ภิกษุรูปนั้นก็ฟังไปๆๆ เมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงมาถึงข้อที่ ๔ ว่า การอยู่กับบุคคลผู้เสมอกันมันก็เป็นทุกข์ จะเป็นฆราวาสเสมอกันมันก็เป็นทุกข์ เป็นบรรพชิตเสมอกันก็เป็นทุกข์ เพราะว่าฆราวาสเสมอกันโดยโคตรโดยตระกูล โดยทรัพย์สินเงินทอง โดยยศถาบรรดาศักดิ์ หรือว่าบรรพชิตเสมอกันโดยศีลก็ดี โดยสมาธิก็ดี โดยคุณธรรมก็ดี ได้เป็นพระโสดาเหมือนกัน พระสกทาคามีเหมือนกัน พระอนาคามีเหมือนกัน หรือว่าเป็นพระปาติโมกข์เหมือนกัน เมื่อมีความเสมอกันอย่างนี้ มีพรรษาเสมอกันอย่างนี้ มันก็เกิดมานะทิฏฐิวัดกัน ว่าท่านเป็นใคร ผมเป็นใคร และคุณเป็นใคร แล้วก็ฉันเป็นใคร เกิดมานะทิฏฐิข่มกันขึ้นมา เพราะอะไรเพราะว่ากิเลสมันมีอยู่ในหัวจิตหัวใจ ท่านเป็นใคร เป็นศิษย์ของใคร ผมเป็นศิษย์ของใคร ท่านมีความรู้อย่างไร ผมมีความรู้อย่างไร ท่านมาจากไหน เรียกว่ามีความมานะทิฏฐิพองตัวขึ้น เหมือนอึ่งอ่างมันพองขึ้นมาใส่กัน เพราะอะไร ? เพราะว่าความอยู่ด้วยกันเสมอกันนี้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ทรงตรัสว่าเป็นทุกข์

            แล้วพระองค์ก็ทรงแสดงเรื่องการที่บุคคลเดินทางไกลนั้นเป็นทุกข์ เดินทางไกลในที่นี้คือ เดินทางในวัฏสงสาร ต้องเกิด ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตายอยู่เนืองๆ นี้มันเป็นทุกข์ ถ้าบุคคลใดเกิดบ่อยๆ มันก็เป็นทุกข์ เพราะฉะนั้นเมื่อเป็นทุกข์แล้วนี่บุคคลเกิดครั้งใด ก็ต้องแก่ต้องเจ็บต้องตายทั้งนั้น ต้องได้ประสบกับความโกรธ ความโลภ ความหลง ต้องประสบกับอารมณ์นานัปการจึงเป็นทุกข์ บุคคลผู้เดินทางไกล คือเกิดบ่อยๆ นี้เป็นทุกข์ พระองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์ทรงตรัสพระธรรมเทศนา แสดงไปๆ ภิกษุรูปนั้นก็ส่งจิตส่งใจไปตามพระสัทธรรมเทศนา ภิกษุก็ได้บรรลุมรรคผลนิพพานสำเร็จเป็นพระอรหันต์ พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาญาณ ทำลายสังโยชน์ทั้ง ๑๐ ประการ คือ สักยาทิฏฐิ, วิจิกิจฉา, สีลลัพพัตตปรมาส, กามราคะ, ปฏิฆะ, สังโยชน์เบื้องต่ำ ให้สิ้นไปในขันธสันดาน แล้วก็ทำสังโยชน์เบื้องสูง คือรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา หมดสิ้นไปจากจิตใจของตนเอง ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ ตรงหน้าพระพักตร์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันนี้ถือว่าจิตใจ ถ้าเราพ้นจากวิตกเมื่อใด เราก็สามารถที่จะได้บรรลุมรรคผลนิพพานได้

            ประการที่ ๔ คือเราไม่ไป ไม่ไปในที่นี้คือไม่ไปสู่อำนาจของกามตัณหา ทั้ง ๓ ประการ คือกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา กามตัณหาก็คือ ความทะเยอทะยานอยากในกามคุณ กามคุณ ๕ คืออะไร คือความยินดีในรูป ความยินดีในเสียง ความยินดีในกลิ่น ความยินดีในรส ความยินดีในสัมผัสนี้ถือว่าเป็นกามคุณ คนทั้งหลายทั้งปวงนั้นตกอยู่ในอำนาจของกามคุณ ๕ ประการนี้ จะเป็นเด็กก็ดี จะเป็นวัยกลางคนก็ดี จะเป็นผู้ใหญ่ก็ดี จะเป็นคนไทยคนลาวคนเขมรคนญวน หรือว่าคนเอเชียคนยุโรปก็ตาม ตกอยู่ในอำนาจของกิเลส ๕ ประการนี้แหละ กามคุณทั้ง ๕ ประการนี้แหละ หลงอยู่ในรูป หลงอยู่ในเสียงนี้แหละ ที่ตายไปเกิดในเทวโลก ที่ตายไปเกิดในพรหมโลก ก็หลงอยู่ในนี้แหละ หลงอยู่ในรูปนี้แหละ หลงอยู่ในเสียง หลงอยู่ในกลิ่น หลงอยู่ในรสนี้แหละ หลงอยู่ในการสัมผัสธรรมารมณ์ที่ตนเองชอบใจนี้แหละ เพราะฉะนั้นกามคุณนี้ท่านจึงเปรียบเสมือนกับวังวนที่ดูดสรรพสัตว์ทั้งหลายให้จมอยู่ในวังวนแล้วก็เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในมหรรณพ ภพสงสารตลอดไป

            การที่เรามาประพฤติปฏิบัติ เรายินดีในรูปเราต้องกำหนด มันจะยินดีในทางตา เรากำหนดว่า “เห็นหนอๆ” ไม่ให้ความยินดีทางตามันปรากฏขึ้นมา หรือว่ากำหนดว่า ได้ยินหนอๆ ไม่ให้ความยินดีในเสียงมันปรากฏขึ้นมา คือไม่ให้เสียงนั้นปรากฏเข้าไปสู่จิตสู่ใจ ความยินดี หรือขณะเรามกลิ่นก็ดี ลิ้มรสก็ดี สัมผัสก็ดี เราก็ต้องกำหนดว่า กลิ่นหนอ รสหนอ สัมผัสหนอ เย็นหนอ ร้อนหนอ แข็งหนอ เราต้องกำหนด ถ้าเราไม่กำหนด ความยินดีมันเกิดขึ้นเมื่อไหร่ เรียกว่าตัณหามันเกิดขึ้นมาแล้ว เรียกว่าการประพฤติปฏิบัตินั้นถือละเอียด หรือว่าภวตัณหาคือความทะเยอทะยานอยากในภพ ความทะเยอทะยานอยากในความมีในความเป็น หรือว่าความทะเยอทะยานอยากในภพนี้เรียกว่า ภวตัณหา คือบุคคลนั้นไม่พอใจในสภาพที่ตนเองอยู่ ตนเองไม่สวยก็อยากสวย ก็ไปเสริมไปแต่งขึ้นมา หรือว่าตนเองไม่รวยก็ไปแสวงหาในทางกอบโกยโกงกินบุคคลอื่นเขามาก็ถือว่าเป็นตัณหา เรียกว่าหามาในทางที่ไม่ชอบมาพากล

            หรือว่าบุคคลไม่มีปัญญาก็ไปจ้างเขาไปซื้อปริญญาปลอม ไปซื้อวุฒิบัตรปลอมมา เพื่อที่จะให้เขารู้ว่าตนเองมีปัญญาอันนี้ถือว่าเป็นภวตัณหา เรียกว่าความทะเยอทะยานอยากในความมีในความเป็น ตนเองไม่สวยก็ไปตบแต่ง ตนเองจมูกไม่โด่งก็ไปเสริมให้โด่ง ตนเองไม่มีลักยิ้มก็ไปเสริมให้มีลักยิ้ม ตนเองหน้าตามันเหี่ยวมันย่นก็ไปดึงไปตึงอะไรทำนองนี้ก็ถือว่าเป็นตัณหาเหมือนกัน เป็นภวตัณหาความทะเยอทะยานอยากในความมีในความเป็น หรือว่าตนเองเป็นชาวบ้านก็อยากเป็นผู้ใหญ่บ้าน อยากเป็นผู้ใหญ่บ้านแล้วก็คิดว่าผู้ใหญ่บ้านนั้นก็ไม่เท่ากำนัน ก็อยากเป็นกำนัน เป็นกำนันแล้วก็คิดว่า กำนันไม่เท่ากับ อบต. ก็อยากเป็น อบต. เป็น อบต. แล้วก็อยากเป็น อบจ. เป็น สจ. เป็น ส.ส. หรือว่าอยากเป็นรัฐมนตรี หรือว่าเป็นนายกรัฐมนตรี หรือว่า อยากขึ้นไปๆๆ ไม่รู้จักสิ้นสุด รวยก็ไม่พอ รวยเงินเป็นหมื่นล้านแสนล้านก็ยังอยากรวยขึ้นไปอีก เพราะอะไร ? เพราะว่า นตฺถิ ตณฺหาสมา นที แม่น้ำเสมอด้วยตัณหานั้นไม่มี

            ตัณหาคือความอยากในจิตในใจของคนมีมาก แม่น้ำโขงก็ดีมันยังมีเวลาเต็มเวลาพร่อง แม่น้ำมูลมันก็ยังมีเวลาเต็มเวลาพร่อง แม่น้ำชีมันยังมีเวลาเต็มเวลาพร่อง แม่น้ำเจ้าพระยายังมีขึ้นมีลง แม่น้ำบางปะกงก็ยังมีขึ้นมีลง มีฤดูที่แห้ง มีฤดูที่เต็ม มีฤดูที่พร่องเป็นไปตามฤดูกาลของมัน ฤดูฝนมันก็เต็ม ฤดูแล้งมันก็แห้งเป็นธรรมดาแต่ตัณหาในจิตในใจของคนมันเต็มอยู่ตลอดเวลา กลางคืนมันก็เต็มกลางวันมันก็เต็มทั้งกลางวันกลางคืน เพราะอะไร ? เพราะว่าตัณหามันกินจิตใจของสรรพสัตว์นั้นเปียกชุ่มด้วยตัณหาอยู่ตลอดเวลาไม่รู้จักเหือดแห้งไป

  
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 31 กรกฎาคม 2563 15:24:08 โดย Maintenence » บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 992


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 84.0.4147.89 Chrome 84.0.4147.89


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 31 กรกฎาคม 2563 15:23:18 »


หัวใจหลักของการปฏิบัติ ๔ ประการ (ต่อ)
ธรรมบรรยาย
โดย พระภาวนาสุตาภิรัต (ชอบ พุทฺธสโร)
วัดพิชโสภาราม ตำบลแก้งเหนือ อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี

            ภวตัณหาเมื่อมันเกิดมาในจิตในใจของเรานี้เราต้องกำหนด ต้องกำหนดให้ทันปัจจุบันธรรม ถ้าเรากำหนดทันแล้วตัณหาเหล่านี้มันก็จะค่อยจางหายไปแล้วก็สิ้นไป ประการที่สาม คือวิภวตัณหา วิภวตัณหาคือความทะเยอทะยานอยากในการปราศจากความมีปราศจากความเป็น คือตนเองไม่พอใจในความมีของตนเอง ไม่พอใจในความเป็นอยู่ของตนเอง ไม่พอใจในภพในชาติของตนเอง

            คือบางครั้งบางคนเกิดมาแล้วก็อาจจะเป็นคนพิการ เป็นคนหูหนวกก็ไม่พอใจคิดว่าตนเองเกิดมาทำไมบุญน้อยเหลือเกินหนอ เกิดมาก็มีร่างกายไม่เหมือนกับคนอื่นเขา ไม่พิกลพิการ น้อยเนื้อต่ำใจไปฆ่าตัวตายไปโดดน้ำตาย ไปยิงตัวตาย เป็นอำนาจของวิภวตัณหา หรือว่าตนเองอยู่กับสามีดีๆ กับภรรยาดีๆ มีลูกด้วยกัน อดทนฝ่าหนาวฝ่าร้อนด้วยกันทนทุกข์ทรมานสร้างครอบสร้างครัวด้วยกัน

            แต่พอดีอยู่ด้วยกันมา ๑๐ ปี, ๑๕ ปี, ๒๐ ปี สามีไปเห็นสาวน้อยคนหนึ่ง เกิดความประทับใจก็เอาสาวน้อยนั้นมาเป็นภรรยาน้อยขึ้นมา ทั้งๆ ที่อยู่ด้วยกันมานาน มีความดีด้วยกัน ทำทุกสิ่งทุกอย่างด้วยกัน แต่สามีไปหลงกับภรรยาน้อย ภรรยาที่ร่วมทุกข์ร่วมสุขด้วยกันก็เกิดความน้อยเนื้อต่ำใจ เกิดความเหี่ยวห่อจิตใจ เกิดความท้อแท้จิตใจ ก็เกิดความไม่อยากอยู่ เรียกว่าเราเอาคดีกับสามีไม่ได้ ไปฆ่าตัวตายดีกว่า ไปกระโดดน้ำตายดีกว่า หรือจ้างมือปืนไปยิงมันตายดีกว่า ในลักษณะอย่างนี้ถือว่าเป็นด้วยอำนาจของวิภวตัณหา ไม่พอใจในสภาวะที่ตนเองเป็นอยู่ อยากออกอยากหนีอยากหลุดอยากพ้นจากสภาวะนั้น ไม่อยากเป็นคนที่กินน้ำใต้ศอกของบุคคลอื่นอะไรทำนองนี้ อันนี้เรียกว่าเป็นวิภวตัณหา

            เมื่อสภาวะเหล่านี้เกิดขึ้นมาแล้ว นี่เป็นสิ่งที่ลำบากต่อการประพฤติปฏิบัติมาก เราต้องแข็งใจจริงๆ เราต้องมีใจเด็ดเดี่ยวจริงๆ ตายก็ยอมตายกัดฟันสู้กำหนดจิตใจของเราให้มันได้ ถ้าเรามีความเข้มแข็งกำหนดตามสภาวะที่มันเกิดขึ้นมันท้อแท้ มันอ่อนแอ มันเหี่ยวห่อจิตใจ หรือว่ามันอยากออกอยากหนี เราก็ต้องกำหนดตามสภาวะนั้น

            เมื่อเรากำหนดตามสภาวะนั้นเราจะรู้ทันอำนาจของกิเลส เมื่อเรารู้ทันอำนาจของกิเลสแล้วก็จะเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เรานั้นพ้นไปจากอำนาจของกิเลสเหล่านั้นได้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงตรัสว่าตัณหาทั้ง ๓ ประการนั้น เมื่อมันจะเกิด มันเกิดขึ้นที่ไหน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ทรงตรัสว่า ตัณหาทั้ง ๓ ประการ เมื่อมันจะเกิด มันจะเกิดในสิ่งใดที่เป็นที่รัก สิ่งใดที่เป็นที่น่ายินดี สิ่งใดเป็นที่น่าชอบใจ สิ่งใดที่เป็นสิ่งที่น่าปรารถนา ตัณหาเมื่อมันจะเกิดมันก็เกิดขึ้นที่นั้น ตัณหาเมื่อมันจะตั้งอยู่มันจะตั้งอยู่ในสิ่งที่รัก ที่ชอบใจ ที่น่าปรารถนาเหมือนกัน เมื่อมันจะดับมันจะดับอยู่ที่ไหนมันก็ดับอยู่ตรงนั้นแหละ

            อะไรเล่าเป็นสิ่งที่ชอบใจ อะไรเล่าเป็นสิ่งที่น่ายินดี อะไรเล่าเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ก็ทรงตรัสต่อไปว่า ตาเป็นสิ่งที่น่ายินดี หูเป็นสิ่งที่น่ายินดี จมูกเป็นสิ่งที่น่ายินดี ตาหูจมูกลิ้นเป็นสิ่งที่น่ายินดี กายเป็นสิ่งที่น่ายินดี อารมณ์ต่างๆ ใจของเรานี้เป็นสิ่งที่น่ายินดี ตัณหาทั้งหลายทั้งปวงนั้นเมื่อมันจะเกิดมันก็อาศัยกายใจนี้แหละเป็นที่เกิด เมื่อมันจะดับเมื่อมันจะตั้งอยู่ มันก็อาศัยสิ่งเหล่านี้เป็นที่ตั้งอยู่เป็นที่ดับ

            เมื่อเราจะมาประพฤติปฏิบัติธรรม รู้ว่าตาหูจมูกลิ้นกายใจเป็นที่เกิดของกิเลส เป็นที่ตั้งอยู่ของกิเลส เป็นที่ดับของกิเลส เราก็กำหนดให้ทันตาหูจมูกลิ้นกายใจ เมื่อเรากำหนดทันสิ่งเหล่านี้แล้วกิเลสทั้งหลายทั้งปวงมันก็จะไม่เกิดขึ้นมาในจิตในใจของเรา วิปัสสนาญาณของเราก็จะแก่กล้า เมื่อวิปัสสนาญาณแก่กล้าการบรรลุมรรคผลนิพพานก็มี เรื่องนี้มีที่ท่านกล่าวไว้ในพระไตรปิฎกคือ

            สมัยหนึ่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรานั้น ก่อนที่พระองค์จะบรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ คือในสมัยนั้นเมื่อพระองค์ทรงเสวยข้าวมธุปายาสของนางสุชาดา ก่อนพุทธศักราชของเรานั้น ๔๕ ปี เมื่อพระองค์ทรงเสวยข้าวมธุปายาสแล้ว พระองค์ก็ทรงรับหญ้าของนายโสตถิยะนั้นไปปูนั่ง เมื่อรับหญ้าของนายโสตถิยะไปปูนั่งแล้วก็นั่งคู้บัลลังก์ขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้ายตั้งกายให้ตรง ดำรงสติของพระองค์ให้มั่น เมื่อพระองค์ทรงดำริให้มั่นแล้วพระองค์ก็ทรงตั้งสัจจะอธิษฐานว่า ตราบใดที่ข้าพเจ้ายังไม่บรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ถึงเนื้อและเลือดมันจะเหือดแห้งไปจากจิตจากใจก็ดี ถึงจะมีแต่หนังหุ้มกระดูกอยู่ก็ดี ข้าพเจ้านั้นจะไม่ละลดความเพียรแต่จะขอตายคาบัลลังก์นี้แหละ ถ้าไม่ได้บรรลุมรรคผลนิพพาน ถ้าไม่ได้บรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ แล้วพระองค์ก็ทรงเริ่มตั้งความเพียร

            บริกรรมพิจารณาไปพิจารณามาๆ จนใกล้ๆ เวลาจะค่ำตะวันยังไม่ถึงอัสดงคต คือตะวันยังไม่ตก กำลังโพล้เพล้แสงเงินแสงทองกำลังจะดับไป พระองค์ก็ทรงชนะเสนามารและพญามารได้ คือพระองค์สามารถที่จะยังปุพเพนิวาสานุสสติญาณ สามารถระลึกถึงชาติเก่าก่อนว่าพระองค์เกิดในภพก่อนชาติก่อนนั้นพระองค์มีโคตรอย่างไร มีเชื้ออย่างไร เกิดในตระกูลกษัตริย์ พราหมณ์อย่างไร มีความเป็นอยู่อย่างไร สามารถที่จะระลึกได้ แล้วพระองค์ก็ทรงพิจารณาวิปัสสนาญาณนั้นไปเรื่อยๆ

            พิจารณาไปพิจารณามาจนถึงมัชฌิมยาม พระองค์ก็ทรงได้บรรลุจุตูปปาตญาณ คือสามารถรู้การเกิดการตายของสัตว์อื่น ว่าที่มาเกิดในที่นี้เกิดมาเพราะกรรมอะไร ตายจากที่นี้ไป ไปเกิดในมนุษย์ไปเพราะกรรมอะไรไปเกิดในสวรรค์ไปเพราะกรรมอะไร ไปเกิดในพรหมโลกไปเกิดเพราะกรรมอะไรสามารถที่จะรู้ได้ แล้วพระองค์ก็ทรงเจริญวิปัสสนากรรมฐานไป จนถึงปัจฉิมยาม พอถึงปัจฉิมยามแสงเงินแสงทองสาดส่องท้องฟ้าพระองค์ก็ทรงพิจารณา ปฏิจจสมุปบาท ๒ ประการว่าสรรพสัตว์ทั้งหลายที่เกิดมาเพราะเหตุไรหนอ สรรพสัตว์ทั้งหลายต้องเกิดมาเวียนว่ายตายเกิดในมหรรณพภพสงสารนี้เกิดขึ้นมาเพราะเหตุไรหนอ พิจารณาไปพิจารณามาพระองค์ก็ทรงทราบว่า เพราะอวิชชานั้นเป็นต้นเหตุ

            แล้วพระองค์ก็ทรงพิจารณาว่า เมื่อมีอวิชชาแล้วเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มีสังขาร เมื่อมีสังขารก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มีวิญญาณ เมื่อมีวิญญาณก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มีนามรูป เมื่อมีนามรูปก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มี อายตนะ เมื่อมีอายตนะแล้ว ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มีผัสสะการสัมผัส เมื่อมีผัสสะการสัมผัสแล้ว ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มีเวทนา เกิดการเสวยสุขเสวยทุกข์เสวยความเสียใจชอบใจ เมื่อมีเวทนาแล้ว ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มีตัณหา ความทะเยอทะยานอยากในเวทนานั้น

            เมื่อมีตัณหาแล้ว ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มีอุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งเหล่านั้น เมื่อมีอุปาทานแล้ว ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มีภพ เมื่อมีภพแล้ว เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มีชาติ เมื่อมีชาติแล้ว ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มีความเกิด เมื่อมีความเกิดแล้ว ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มีความแก่ เมื่อมีความแก่แล้ว ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มีความเจ็บ เมื่อมีความเจ็บแล้ว ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มีความตาย

            เมื่อมีความตายแล้ว ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มีโศกะ เกิดความโศกปริเทวะ คือความคร่ำครวญ ทุกข์คือความทุกข์กาย ปริเทวะ โทมนัสคือความทุกข์ใจ อุปายะคือความคับแค้นแน่นทรวงตามมา แล้วพระองค์ก็ทรงพิจารณาอนุโลมปฏิโลม พิจารณากลับไปกลับมาๆ ในไม่ช้าไม่นานพอแสงทองสาดส่องท้องฟ้าพระองค์ก็ได้บรรลุพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้าผู้ยอดเยี่ยมในโลก เมื่อพระองค์ทรงตรัสรู้เป็นผู้ยอดเยี่ยมในโลกแล้วพระองค์พิจารณาว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลายบรรลุแล้วทำอย่างไรหนอ เมื่อพิจารณาแล้วพระองค์ก็ทรงเปล่งวาจาออกมาว่า

                 อเนกชาติสํสารํ          สนฺธาวิสฺสํ อนพฺพิสํ
                 คหการํ คเวสนฺโต       ทุกขา ชาติ ปุนปฺปุนํ.

เป็นต้น ซึ่งแปลเป็นใจความว่า “เราแสวงหานายช่างผู้สร้างเรือน เมื่อไม่พบคือไม่ประสบจึงต้องท่องเที่ยวไปในสงสาร มีชาติเป็นอเนก การเกิดบ่อยๆ เป็นทุกข์ร่ำไป แน่ะนายช่างผู้สร้างเรือน เราพบท่านแล้ว ท่านจะทำเรือนให้เราอีกต่อไปไม่ได้ ซี่โครงของท่านเราก็หักเสียแล้ว ยอดเรือนของท่านเราก็รื้อเสียแล้ว จิตของเราได้เข้าถึงธรรมอันปราศจากเครื่องปรุงแต่งแล้ว เพราะเราได้บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหาแล้ว”

            พระองค์ทรงเปล่งพระวาจาอย่างนี้ก็เพราะว่าจิตใจของพระองค์นั้นไม่ไป คือไม่ไปสู่อำนาจของกิเลสพันห้า ตัณหาร้อยแปด ไม่ไปสู่กามภพ ไม่ไปสู่รูปภพ ไม่ไปสู่อรูปภพ ไม่ไปสู่รูป สู่เสียง สู่กลิ่น สู่รส จิตของพระองค์ไม่ไปสู่รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จิตใจของพระองค์นั้นดับหมด ไม่มีรูป ไม่มีเสียง ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส ที่จะชักจูงจิตใจของพระองค์ได้ ไม่มีเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่จะมาดึงจิตดึงใจของพระองค์ได้ พระองค์ดับเข้าสู่พระมหาปรินิพพานเป็น สอุปาทิเสสนิพพาน เป็นพระนิพพานที่ยังมีขันธสันดานเหลืออยู่ เสวยวิมุตติสุขอันเป็น พระนิพพานที่เป็นสอุปปาทิเสสนิพพานนั้น ทั้งๆ ที่ชีวิตยังมีอยู่ อันนี้พระองค์ทรงตรัสไว้ เพราะฉะนั้นการประพฤติปฏิบัตินั้นเราต้องทำจิตทำใจของเราให้พ้นไปจากการไปสู่อำนาจของตัณหาทั้ง ๓ ประการ จึงสามารถที่จะบรรลุมรรคผลนิพพานได้ เพราะฉะนั้นการประพฤติปฏิบัติธรรม ถ้าเรากล่าวโดยย่อแล้วก็คือ เราไม่หนี ไม่สู้ ไม่อยู่ ไม่ไป ตามที่กล่าวมาก็เห็นว่าพอสมควรแก่เวลาแล้ว

            ในท้ายที่สุดนี้ก็ขอให้คณะครูบาอาจารย์ทั้งหลายผู้ประพฤติปฏิบัติธรรม ตลอดญาติโยมทั้งหลายผู้มาประพฤติปฏิบัติธรรมนี้จงเป็นผู้เพียบพูนสมบูรณ์ไปด้วยโพธิปักขิยธรรมทั้ง ๓๗ ประการ คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ มรรคมีองค์ ๘ ขอให้คณะครูบาอาจารย์ทั้งหลายจงเพียบพูนสมบูรณ์ด้วย จตุรพิธพรชัยทั้ง ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณ ธนสารสมบัติ ธรรมสารสมบัติ ขอให้คณะครูบาอาจารย์ตลอดถึงญาติโยมทั้งหลาย จงมีดวงจิตสถิตย์มั่นในพระสัทธรรม นำตนให้พ้นจากทุกข์ ถึงสุขอันไพบูลย์ กล่าวคือมรรคผลนิพพานด้วยกันจงทุกท่านทุกคนเทอญ.
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
อุปาทาน โดย พระภาวนาสุตาภิรัต (ชอบ พุทฺธสโร) วัดพิชโสภาราม จ.อุบลราชธานี
ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน
Maintenence 0 1141 กระทู้ล่าสุด 17 กุมภาพันธ์ 2563 15:52:49
โดย Maintenence
ปกิณณกธรรม โดย พระภาวนาสุตาภิรัต (ชอบ พุทฺธสโร) วัดพิชโสภาราม จ.อุบลราชธานี
ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน
Maintenence 1 926 กระทู้ล่าสุด 10 พฤศจิกายน 2563 13:55:19
โดย Maintenence
ศีล สมาธิ ปัญญา โดย พระภาวนาสุตาภิรัต (ชอบ พุทฺธสโร) วัดพิชโสภาราม จ.อุบลราชธานี
ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน
Maintenence 1 892 กระทู้ล่าสุด 25 พฤศจิกายน 2563 10:03:25
โดย Maintenence
ความหมายของธรรมะ - พระภาวนาสุตาภิรัต (ชอบ พุทฺธสโร) วัดพิชโสภาราม จ.อุบลราชธานี
ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน
Maintenence 1 993 กระทู้ล่าสุด 02 ธันวาคม 2563 14:20:54
โดย Maintenence
การปฏิบัติไม่ผิด ๓ ประการ โดย พระภาวนาสุตาภิรัต (ชอบ พุทฺธสโร) วัดพิชโสภาราม
ไขปัญหาโลก ธรรม และความรัก
Maintenence 1 153 กระทู้ล่าสุด 10 กันยายน 2566 12:45:31
โดย Maintenence
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.886 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 25 มกราคม 2567 08:08:52