[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 04:03:02 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พุทธศิลป์..จากศรัทธาสู่ปรัชญาศิลปะ  (อ่าน 1804 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 29 สิงหาคม 2563 20:18:07 »



พุทธศิลป์...จากศรัทธาสู่ปรัชญาศิลปะ  




"พระพุทธปฏิมากรรม เป็นสื่อศรัทธา ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนระลึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมา
 สัมพุทธเจ้า โดยคำนึงถึงคัมภีร์มหาบุรุษลักษณะ  ซึ่งแต่ละกลุ่มชนต่างก็พยายามตีความตาม
 ทัศนคติที่แตกต่างกันไป  ประกอบกับการได้รับแรงบันดาลใจ ในรูปแบบศิลปกรรมที่ปรากฏอยู่
 ก่อนหน้า กับทั้งศิลปกรรมร่วมสมัยที่มีเข้ามา     จึงยังผลให้เกิดการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้สอด
 คล้องกับคติความงามของตนทำให้เกิดเป็นแบบอย่างของพระพุทธรูปที่มีลักษณะเปลี่ยนแปลก
 แตกต่างกันไป   แต่ทั้งนี้พระพุทธปฏิมาก็ยังคงได้รับการสืบทอด และแสดงถึงลักษณะของมหา
 บุรุษที่สูงส่งกว่ามนุษย์ปุถุชนอย่างชัดเจน"
ที่มา : หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์, ๒๕๑๓
 ภาพ : พระพุทธรูปทรงเครื่องปางห้ามสมุทร วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ



ไม่ว่าใครจะหนีความตายไม่ได้ การดิ้นรนเอะอะโวยวายต้องการให้ความตายไปให้พ้นนี้เป็นการดิ้นรนเหนือธรรมดา
ไม่มีทางทำได้สำเร็จ จะทำอย่างไรความตายก็ต้องจัดการกับชีวิตแน่นอน เมื่อกฎธรรมดาเป็นอย่างนี้
พระพุทธเจ้าจึงทรงสอน คือย้ำตามความเป็นจริงว่า
ภิกขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความตายนั้นเป็นสิ่งปกติธรรมดา ไม่มีใครจะหลีกหนีพ้น

หลวงพ่อฤาษีลิงดำ



ในโลกนี้มีแต่ความทุกข์ แม้จะอยู่ในบ้านมันก็วุ่นวายอยู่เรื่อยๆ
พระพุทธองค์จึงตรัสว่า “ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นที่ตั้งอยู่ ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป
นอกจากทุกข์หาอะไรเกิดอะไรดับมิได้ นอกจากทุกข์”

ภาพ : พระอุโบสถวัดศาลาปูน พระนครศรีอยุธยา



เราอย่าไปโกรธเขา เราอย่าไปเกลียดเขา ให้นึกถึงอกเขาอกเราว่า
เราต้องการความสุขอย่างใด เขาก็ต้องการความสุขอย่างนั้น
เราเกลียดความทุกข์อย่างใด เขาก็เกลียดความทุกข์อย่างนั้น
สิ่งใดเราไม่ชอบ สิ่งนั้นเขาก็ไม่ชอบเหมือนกัน
ธรรมมะ : หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ

ภาพประกอบ : วัดหน้าพระเมรุ พระนครศรีอยุธยา



โลกนี้มันวุ่นวาย เร่าร้อน มีปัญหาเยอะแยะ
ถ้าเราควบคุมตัวเองไม่ได้ บังคับตัวเองไม่ได้
แล้วเราจะอยู่ในโลกได้อย่างไร ?
ธรรมะ : หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ

ภาพ : วัดชุมพลนิกายาราม พระนครศรีอยุธยา



ความทุกข์เป็นบทเรียน ที่ประเสริฐของชีวิต
และเป็นเหตุกระตุ้นเตือน ให้ก้าวไปข้างหน้า
พวกเราทั้งหลาย จึงไม่ควรย่อท้อต่ออุปสรรค
ควรเห็นว่าอุปสรรค เป็นเครื่องสร้างกำลังใจ
และเป็นปากทางไปสู่ ความสำเร็จในภายหลัง
ธรรมะ : หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ

ภาพ : วัดอรุณราชวราราม



คุณธรรมที่เป็นฝ่ายแห่งการประหยัดคือการเสียสละ
การประหยัดสอนให้รู้จักเก็บ ให้รู้จักรักษา หรือให้มีศิลปะในการใช้ของ
เช่น คนบางคนเก็บเอาเศษผ้าที่เขาตัดเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย
เอามาปะติดต่อกันสำเร็จเป็นผ้าปูนั่งปูนอนได้อย่างสวยงาม
แทนที่จะถูกตำหนิว่าเป็นคนตระหนี่ แต่กลับถูกชมว่าเป็นคนมีศิลปะ
การเสียสละสอนให้รู้จักเสีย คือมุ่งทำประโยชน์เพื่อผู้อื่น
เมื่อถึงคราวต้องเสียแล้ว แม้ร่างกายและชีวิตก็ต้องยอมเสียเพื่อรักษาสิ่งมีค่ายิ่งกว่าไว้
การเสียที่เรียกว่าเสียสละนี้เป็นการเสียที่มีผลได้มากกว่าผลเสีย
ธรรมะ : พระธรรมดิลก หลวงปู่จันทร์ กุสโล

ภาพ : วัดดอนไจย์ อ.เทิง เชียงราย



เพราะเกิดความยึดถือว่าเป็นตัวฉัน เป็นของฉัน
แล้วก็เกิดความหวงแหนในสิ่งนั้น
ไม่อยากให้สิ่งนั้นเป็นอย่างอื่น
อยากให้เป็นของเราเสียตลอดเวลา
ถ้ามันเป็นอื่นไปเราก็เป็นทุกข์
เพราะเรายึดว่าเป็นของฉัน มันก็เกิดความทุกข์
ธรรมะ : หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ

ภาพ : วัดภูมินทร์ จ.น่าน



ถ้าจิตใจเราไม่มีหลักประจำแล้ว เราก็ขึ้นๆ ลงๆ กับเรื่องได้เรื่องเสีย ไม่รู้จักจบไม่รู้จักสิ้น
 การที่มีจิตขึ้นๆ ลงๆ อยู่อย่างนั้น มันจะเป็นความสุขได้อย่างไร เป็นความสงบได้อย่างไร
มันเป็นเรื่องที่เราไม่ควรจะทำในเรื่องอย่างนั้น แต่เราควรจะได้มีการรู้เท่ารู้ทันต่อสิ่งนั้น
ตามสภาพที่เป็นจริง ฉะนั้นจึงต้องมาทำการศึกษาในเรื่องนั้นๆ เพื่อจะได้ต้อนรับสิ่ง
เหล่านั้นให้ถูกต้องตามเรื่องที่มันควรจะเป็น
โอวาทธรรมะ : หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ

ภาพ : พระอุโบสถวัดสุทัศน์ฯ



พระพุทธศาสนาไม่ทำคนให้อ่อนแอ แต่ว่าทำคนให้เข้มแข็ง ให้อดทน
ให้ควบคุมตัวเองได้ ให้ต่อสู้กับเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตของเราได้
โอวาทธรรมะ : หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ

ภาพ : วัดพระศรีรัตนศาสดาราม



ในทางธรรมะจึงสอนเราให้รู้จักสันโดษ หมายความว่า พอใจในสิ่งที่เราประสพอยู่
เฉพาะหน้า คือ อะไรเกิดขึ้นเฉพาะหน้า เราก็นึกพอใจในสิ่งนั้น ความพอใจใน
สิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า คือสันโดษ เป็นศิลปะของความสุขความสบายในทางจิตใจ
โอวาทธรรมะ : หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ

ภาพ : พระเจ้าทองทิพย์ วัดสวนตาล เมืองน่าน



พระเจ้ามิลินท์ถามเรื่องการรู้ความยิ่งใหญ่ของพระพุทธเจ้าแก่พระนาคเสน
“ ข้าแต่พระนาคเสน ท่านรู้หรือไม่ว่า พระพุทธเจ้าเป็นผู้เยี่ยมไม่มีใครยิ่งกว่า ? ”
“ อาจรู้ ขอถวายพระพร ”
“ อาจรู้ได้อย่างไร ? ”
“ ขอถวายพระพร เมื่อก่อนมีอาจารย์เลของค์หนึ่ง ชื่อว่า พระติสสเถระ มีชื่อเสียงโด่งดังอยู่หลายปี
   แต่ถึงมรณภาพไปแล้วอาจารย์เลของค์นั้น ทำไมชื่อจึงยังปรากฏอยู่? ”
“ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า อาจารย์เลของค์นั้นยังปรากฏอยู่ เป็นด้วยเลขที่ท่านบอกไว้ ”
“ ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร คือ ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นก็ได้เห็นพระพุทธเจ้า
    เพราะธรรมเป็นของที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ ”
“ สมควรแล้ว พระผู้เป็นเจ้า ”
ที่มา : มิลินทปัญหา

ภาพ : พระเจ้าทองทิพย์ วัดสวนตาล เมืองน่าน



นิทานในพระพุทธศาสนาเรื่องหนึ่งคือ ชมพูบดีวัตถุ (หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มหาชมพูบดีสูตร) เล่าถึงท้าวมหาชมพู ผู้ครองมหานครใหญ่ที่ชื่อ นครปัญจาละ พรั่งพร้อมไปด้วยอิสริยยศและบริวารยศ หาผู้ใดในชมพูทวีปเสมอเหมือนไม่ได้ จึงสำคัญพระองค์ผิดว่าไม่มีใครสามารถสู้รบกับพระองค์ อยู่มาวันหนึ่งพระองค์ทอดพระเนตรเห็นกรุงราชคฤห์เจริญรุ่งเรืองยิ่ง ก็หมายจะสำแดงอิทธิฤทธิ์บังคับให้พระเจ้าพิมพิสารตกอยู่ใต้อำนาจของพระองค์ แต่ก็ไม่สำเร็จด้วยพุทธานุภาพของพระพุทธเจ้าคุ้มครองไว้

พระพุทธเจ้าทรงเห็นเหตุดังนั้นก็หมายจะทรมานท้าวชมพูบดีให้สิ้นฤทธิ์ จึงเนรมิตพระองค์เป็น “พระจักรพรรดิราช” คือราชาเหนือราชาทั้งปวง เนรมิตวัดเวฬุวันวิหารให้เป็นพระนครหลวง ให้พระอินทร์จำแลงกายเป็นราชทูตไปทูลเชิญ “แกมบังคับ” ให้ท้าวชมพูบดีมาเข้าเฝ้าเมื่อท้าวชมพูบดีได้ทอดพระเนตรเห็นนครของพระจักรพรรดิราชมั่งคั่งสมบูรณ์กว่าพระองค์ได้เข้าเฝ้าและทรงสดับพระราชบริหารต่างๆ ก็ละมิจฉาทิฐิยอมแพ้แก่ฤทธิ์ของพระจักรพรรดิราชพระพุทธองค์จึงคลายฤทธิ์ให้ท้าวชมพูบดีเห็นพระสรีระที่แท้จริงและแสดงธรรมเทศนาจนท้าวชมพูบดีบรรลุเป็นพระอรหันต์

พระพุทธรูปทรงเครื่องที่สร้างขึ้นในยุคอยุธยา ก็สร้างขึ้นในคติเรื่องท้าวมหาชมพู เพราะเมื่อ พ.ศ. ๒๒๙๘ ราชทูตลังกาได้นำพระภิกษุไทยที่ได้นำพระพุทธศาสนาแบบ “สยามวงศ์” ไปสืบไว้ที่ลังกาทวีปกลับเข้าสู่อยุธยา ได้มีโอกาสเห็น “พระพุทธรูปทรงเครื่อง” ที่ประดิษฐานอยู่ในวัดพระศรีสรรเพชญ์ ก็เกิดสงสัยใจขึ้น จึงถามต่อเจ้าพนักงานที่ต้อนรับขับสู้ว่าเหตุไฉนสยามจึงสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่อง คล้ายเทวรูป?

ความตรงนี้ทราบไปถึงพระกรรณของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกฐ จึงรับสั่งให้เสนาบดีชี้แจงไปใน จดหมายของอัครเสนาบดีไทยมีไปถึงอัครเสนาบดีลังกา ปี พ.ศ. ๒๒๙๙ โดยมีใจความระบุว่า พระพุทธรูปทรงเครื่อง มีความปรากฏใน “มหาชมพูบดีวัตถุ”

สำหรับชาวอยุธยาแล้ว พระพุทธรูปจึงมีสถานะเป็นพระจักรพรรดิราชได้โดยไม่ใช่เรื่องแปลก และในทางกลับกันถ้าพระมหากษัตริย์ของพวกเขา จะมีสถานภาพไม่ต่างไปจากพระบรมโพธิสัตว์บ้างก็ไม่เห็นจะแปลกด้วยเช่นกัน

ที่มา : สโมสรศิลปวัฒนธรรม
ภาพ : วัดนางนอง



ขอขอบคุณ facebook.com/Watwaaa (ที่มาข้อมูล/ภาพ)

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 21 กันยายน 2563 16:31:47 »



ถ้าหากว่า ในขณะใดที่เขามีใจเหนื่อยหน่ายท้อแท้ไม่เอาไหน ขี้เกียจศึกษาเล่าเรียน
ประโยชน์ตนก็ไม่เอาเรื่อง  ประโยชน์ส่วนรวมก็ไม่เอาไหน  ปล่อยชีวิตให้เป็นไปตาม
บุญตามกรรม ไม่มีความกระตือรือร้นที่จะสร้างความดี เป็นบุคคลผู้ทอดธุระเสียแล้ว
ในขณะนั้นกายของเขาเป็นมนุษย์  แต่ใจของเขาเป็นเปรต    เปรต แปลว่า ผู้ละทิ้ง
ซึ่งประโยชน์ทั้งปวง  นี่คือ ความเป็นของเราในชั่วชีวิต  นี่คือ หลักที่เราจะพิจารณา
ตัวของตัวเอง ให้เรารู้ว่าช่วงไหนเราเป็นอะไร
พระราชสังวรญาณ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย)
วัดป่าสาลวัน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา




จิตเป็นของสูงๆ ตํ่าๆ คือ ฝึกหัดไม่สมํ่าเสมอ สูงหมายถึงว่าเจริญขึ้นไป
คือ มีสติควบคุมอยู่ ขณะที่มีสติควบคุมอยู่ก็กล้าหาญเด็ดเดี่ยว ต่อสู้กับอารมณ์ได้
อะไรมาก็ไม่กลัว พอสัมผัสมากระทบเข้าจริงๆ จังๆ อ่อนปวกลงไปเลย นั่นมันตํ่าลง
ไปแล้ว มันไม่เป็นผู้ใหญ่ ดังนั้น จึงต้องหัดสติตัวนี้ให้แก่กล้า ให้แข็งแรงที่สุด
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
ภาพประกอบ : วัดโบสถ์ สามเสน




ความสมบูรณ์มีไม่ได้ ถ้าไร้ดุลยภาพ ทีนี้ว่าถึงดุลยภาพนี้ก็เป็นเรื่องสำคัญสำหรับ
ทุกสิ่งทุกอย่าง ทั้งสำหรับตัวมนุษย์ และสำหรับสิ่งแวดล้อมทั้งปวง ดุลยภาพนี้เป็น
ภาวะที่ทำให้สิ่งทั้งหลายดำรงคงอยู่และดำเนินไปได้ด้วยดี จะเห็นได้ง่ายๆ อย่างนก
นี้มีสองปีก ถ้านกมีปีกเดียวก็บินไม่ได้ นี้เรียกว่า ไม่มีดุลยภาพโดยสิ้นเชิง ถึงแม้มี
สองปีกแต่ปีกหนึ่งมีขน อีกปีกหนึ่งไม่มีขนก็คงบินยังไม่ได้ แม้แต่ว่าสองปีกมีขนแต่
ว่าข้างหนึ่งขนไม่บริบูรณ์ ข้างหนึ่งบริบูรณ์ ขนสมบูรณ์ไม่เท่ากัน ปีกทั้งสองนั้นก็
ไม่สามารถจะพานกให้บินไปได้อย่างคล่องแคล่วรวดเร็วเท่าที่ควรจะเป็น นับว่าเป็น
ความไม่สมบูรณ์ของนกนั้น
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต)
ภาพ : พระประธานวัดอัปสรสวรรค์




ในโลกนี้มีแต่ความทุกข์ แม้จะอยู่ในบ้านมันก็วุ่นวายอยู่เรื่อยๆ  พระพุทธองค์
จึงตรัสว่า “ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นที่ตั้งอยู่ ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป
นอกจากทุกข์หาอะไรเกิดอะไรดับมิได้ นอกจากทุกข์”
ภาพ : พระอุโบสถวัดศาลาปูน อยุธยา



วัดแก้วฟ้า วัดวาย่านบางขนุน นนทบุรี

วัดแก้วฟ้า ตั้งอยู่ริมคลองบางกอกน้อย ตำบลบางขนุน อ.บางกรวย จ.นนทบุรี
จากหลักฐานศิลปกรรมต่างๆ ทำให้ทราบว่าวัดนี้สร้างขึ้นเมื่อสมัยอยุธยา
ในนิราศพระประธมของสุนทรภู่เมื่อเรือผ่านย่านบางขนุน ได้บรรยายไว้ว่า
"บางขนุนขุนกองมีคลองกว้าง ว่าเดิมบางชื่อถนนเขาขนของ เป็นเรื่อง
หลังครั้งคราวท้าวอู่ทอง แต่คนร้องเรียกเพื่อนไม่เหมือนเดิม”




วัดมหรรณพาราม สร้างสมัยรัชกาลที่ ๓ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๓๙๓ โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหมื่นอุดมรัตนราษี (พระองค์ เจ้าอรรณพ) พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า
เจ้าอยู่หัว  ทรงพระราชทานเงินสมทบในการก่อสร้าง ๑,๐๐๐ ชั่ง   การก่อสร้าง ดำเนินมา
จนถึงรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชศรัทธาพระราชทาน
ทรัพย์เป็นเงิน ๑,๐๐๐ ชั่ง  การสร้างวัดจึงแล้วเสร็จ และให้สร้างพระเจดีย์องค์ใหญ่อยู่ด้าน
หลังพระอุโบสถ บรรจุพระบรมธาตุ และพระราชทานนามว่า วัดมหรรณพาราม



พระพุทธรูปปางแสดงธรรม วัดโบสถ์สามเสน กรุงเทพฯ

ธรรมเนียมการถือตาลปัตรของพระสงฆ์เป็นคติเก่าแก่ที่มีมานานแล้ว คาดว่าน่าจะเริ่มต้นขึ้นในลังกาก่อน ดังปรากฏในคัมภีร์วิมติวิโนทนีฎีกา ซึ่งได้รับการแต่งขึ้นในลังกา ที่ได้อธิบายถึงการใช้ตาลปัตรไว้ว่า เพื่อบดบังภาพอันมิควรของสงฆ์ในระหว่างแสดงธรรม รวมถึงเพื่อสำรวมในการแสดงธรรม โดยตาลปัตรยุคแรก มีด้ามสั้นๆ เท่านั้น

หลักฐานธรรมเนียมการใช้ตาลปัตรในลังกานี้ ปรากฏอยู่ในศิลปกรรมรูปพระพุทธเจ้าปางแสดงธรรม ศิลปะลังกา ซึ่งทรงถือตาลปัตรด้ามสั้นไว้ที่หน้าตัก

คติการถือตาลปัตรนี้ ต่อมาได้แพร่หลายไปในชุมชนโบราณที่รับอิทธิพลด้านศาสนาพุทธจากลังกา เช่น ยะไข่ พุกาม รวมถึงชุมชนโบราณในไทย เช่น ละโว้(ลพบุรี) ซึ่งพบหลักฐานศิลปกรรมพระพุทธรูปปางแสดงธรรม พระหัตถ์ข้างหนึ่งถือตาลปัตรด้ามสั้น อีกพระหัตถ์หนึ่งทำท่าประคองตาลปัตรอยู่ที่ด้านบน

ธรรมเนียมการใช้ตาลปัตรนี้ต่อมาได้ส่งอิทธิพลให้แก่กรุงศรีอยุธยาด้วย โดยในสมัยอยุธยาตอนปลาย ได้ปรับปรุงรูปแบบด้วยการขยายด้ามจับให้ยาวขึ้นและใช้สืบเนื่องมาถึงกรุงรัตนโกสินทร์ แต่ได้มีการเพิ่มความหมายใหม่ให้แก่พระพุทธรูปปางแสดงธรรมที่ถือตาลปัตรบังไว้ด้านหน้า ด้วยการสื่อนัยใหม่ว่า เป็นเสมือน “เกราะบังภัย” สำหรับผู้สร้าง ดังปรากฏธรรมเนียมการสร้าง “พระชัย” ประจำรัชกาลในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ ซึ่งสร้างขึ้นเป็นพระพุทธรูปปางแสดงธรรม ทรงถือตาลปัตรบังพระพักตร์ไว้หน้าด้าน เพื่ออัญเชิญไปพร้อมกับกองทัพในยามออกศึกสงคราม
 ที่มา : วิทยานิพนธ์เรื่อง พระพุทธรูปทรงถือตาลปัตรในประเทศไทยภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร



พระสัมพุทธพรรณีแห่งวัดราชาธิวาส

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริว่าพระอารามนี้ เป็นพระอารามที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ได้เสด็จมาประทับเมื่อครั้งทรงพระผนวช และได้ตั้งธรรมยุตินิกายขึ้น ณ พระอารามนี้ก่อน เมื่อประทับจำพรรษาอยู่ในพระอารามนี้ ได้ทรงหล่อพระพุทธรูปขึ้นองค์หนึ่ง พระราชทานนามว่าพระสัมพุทธพรรณี ทรงบรรจุดวงพระชนมพรรษาและพระสุพรรณบัตรเดิม แล้วทรงตั้งไว้เป็นที่นมัสการ ณ หอสวดมนต์วัดราชาธิวาสวิหาร

เมื่อพระจอมเกล้าเสด็จไปประทับวัดบวรนิเวศวิหาร ก็ได้เชิญพระสัมพุทธพรรณีนี้ไปไว้วัดบวรนิเวศวิหารด้วย ครั้นเมื่อเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติบรมราชาภิเษกแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญไปประดิษฐานไว้ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ยังคงประดิษฐานอยู่จนทุกวันนี้

เพราะเหตุที่พระสัมพุทธพรรณีนี้ ได้ทรงหล่อแล้วและเคยประดิษฐานอยู่ในพระอารามนี้เป็นเดิมมา สมควรจะหล่อถ่ายแบบอย่างพระสัมพุทธพรรณีนี้ขึ้นอีกองค์หนึ่ง เพื่อจะได้ประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถ ณ พระอารามนี้ ซึ่งเป็นที่หล่อองค์เดิม เป็นที่ทรงนมัสการระลึกถึงพระเดชพระคุณและทรงพระราชอุทิศส่วนพระราชกุศลอันนี้ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นการสนองพระเดชพระคุณต่อไป จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ช่างปั้นหุ่นถ่ายแบบอย่างพระสัมพุทธพรรณีองค์นี้ขึ้นใหม่ เหมือนกันกับพระสัมพุทธพรรณีเดิมแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ช่างหล่อเตรียมการที่จะหล่อ ณ วัดราชาธิวาสนี้





พระพุทธสิหิงค์ เป็นพระพุทธรูปสำคัญของบ้านเมือง  ปรากฏอยู่ด้วยกัน ๓ องค์ องค์แรกประดิษฐานในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร  องค์ที่ ๒ ประดิษฐานในวิหารลายคำ วัดพระสิงห์ เชียงใหม่  องค์ที่ ๓ ประดิษฐาน
ในหอพระพุทธสิหิงค์ นครศรีธรรมราช เรื่องราวของพระพุทธสิหิงค์ปรากฏขึ้นในตำนานของชาวล้านนา  ดังนั้นในการศึกษาที่มา จึงควรกล่าวถึงพระพุทธสิหิงค์ของเมืองเชียงใหม่ก่อนเป็นสำคัญ ถ้าตรวจสอบกับตำนานการสร้างจะพบว่า พระพุทธสิหิงค์นี้ปรากฏอยู่ในตำนานของชาวล้านนาหลายฉบับ ที่สำคัญ คือ “ชินกาลมาลีปกรณ์” แต่งโดยพระรัตนปัญญาเถระ หรือใน “ตำนานพระพุทธสิหิงค์” แต่งโดยพระโพธิรังสี และอีกทั้งได้มีการรวบรวมตำนานหลายๆ ฉบับเข้าด้วยกันในชั้นหลัง เช่น “พงศาวดารโยนก” เป็นต้น จะแตกต่างกันอยู่บ้างในส่วนของรายละเอียดของเหตุการณ์และปาฏิหาริย์  

การอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ในตำนานของชาวล้านนานั้น เกิดขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้ากือนาหรือพระเจ้าแสนเมืองมา ช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐ อันมีบุคคลสำคัญคือท้าวมหาพรหม พระอนุชาของพระเจ้ากือนา เจ้าเมืองเชียงรายเป็นผู้ไปอัญเชิญมาจากเมืองกำแพงเพชร โดยตำนานกล่าวไว้แตกต่างกันคือ กระแสหนึ่งกล่าวว่า ท้าวมหาพรหมทรงยกทัพไปตีเมืองกำแพงเพขร และได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์และพระแก้วมรกตมายังล้านนา โดยได้ถวายพระพุทธสิหิงค์ให้กับพระเจ้ากือนาเพื่อประดิษฐานในเมืองเชียงใหม่ และทรงนำพระแก้วมรกตไปยังเมืองเชียงราย ภายหลังท้าวมหาพรหมได้ทูลขอพระพุทธสิหิงค์จากเมืองเชียงใหม่ ไปจำลองแบบที่เกาะดอนแท่น เมืองเชียงแสน และมีงานสมโภชที่ยิ่งใหญ่เมื่อท้าวมหาพรหมสิ้นชีพลงแล้ว พระเจ้าแสนเมืองมาจึงทรงอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์จากเมืองเชียงรายมายังเมืองเชียงใหม่ และประดิษฐานยังวัดเชียงพระ ภายหลังเรียกว่าวัดพระสิงห์ตามนามพระพุทธรูปที่นิยมเรียกกันในล้านนา
 ที่มา : สโมสรศิลปวัฒนธรรม  ภาพ : วัดพระสิงห์ เชียงใหม่
 

ขอขอบคุณ facebook.com/Watwaaa (ที่มาข้อมูล/ภาพ)

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21 กันยายน 2563 16:47:26 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 21 กันยายน 2563 17:33:20 »


วัดหนองบัว เมืองน่าน

วัดหนองบัว เป็นวัดที่เก่าแก่ประจำหมู่บ้านหนองบัว ต.ป่าคา อ.ท่าวังผา จ.น่าน
วัดแห่งนี้เป็นอีกหนึ่งผลงานทางสถาปัตยกรรมและจิตรกรรมชิ้นเอกของเมืองน่าน
จากคำบอกเล่ากล่าวว่า วัดนี้สร้างขึ้นในราว พ.ศ.๒๔๐๕(สมัยรัชกาลที่ ๔) โดย
ท่านสุนันต๊ะ (ครูบาหลวง) เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงนำชาวบ้าน สร้างขึ้นเป็นวัดประจำ
หมู่บ้านหนองบัว สิ่งที่น่าสนใจในวัดหนองบัว คือจิตรกรรมฝาผนัง ที่ได้สะท้อนให้
เห็นสภาพความเป็นอยู่ของผู้คนในสมัยนั้นได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะการแต่งกาย
ของผู้หญิงที่นุ่งผ้าซิ่นที่สวยงาม นับว่ามีคุณค่าทางศิลปะและความสมบูรณ์ของ
ภาพใกล้เคียงกับภาพจิตรกรรมฝาผนังของวัดภูมินทร์ในเมืองน่าน    เชื่อกันว่า
ภาพเขียนฝาผนังในวัดหนองบัวแห่งนี้ เขียนขึ้นด้วยช่างสกุลเมืองน่านผู้เดียวกัน
กับผู้เขียนภาพฝาผนังในวัดภูมินทร์



วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร

พระประธานยิ้มรับฟ้า เป็นพระพุทธรูปเนื้อทองสำริด ปางสมาธิ หน้าตักกว้าง
ประมาณ ๔ ศอกเศษ เบื้องพระพักตร์มีรูปพระสาวก ๓ องค์ นั่งประนมมือดุจ
รับพระพุทธโอวาท พระประธานองค์นี้ได้รับการยกย่องว่างดงามมาก จนปรากฏ
ว่าครั้งหนึ่งเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จมาถวายผ้าพระกฐิน
ณ วัดระฆังโฆสิตาราม ได้มีพระราชดำรัสแก่ผู้เข้าเฝ้าฯ ใกล้ชิดว่า ไปวัดไหน
ไม่เหมือนมาวัดระฆังพอเข้าประตูโบสถ์พระประธานยิ้มรับฟ้าทุกที  ด้วยเหตุนี้
จึงทรงถวายเครื่องราชอิสริยาภรณ์นพรัตนราชวราภรณ์ และมหาปรมาภรณ์
ช้างเผือกแด่พระประธานองค์นี้เป็นพิเศษ   และพระประธานองค์นี้ก็ได้นามว่า
พระประธานยิ้มรับฟ้า ตั้งแต่นั้นมา



วัดพระธาตุช่อแฮ วัดคู่บ้านคู่เมืองแพร่

วัดพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวง เป็นวัดที่ตั้งอยู่เนินเขาเตี้ยสูงประมาณ ๒๘ เมตร องค์พระธาตุช่อแฮเป็นเจดีย์ศิลปะเชียงแสนแบบแปดเหลี่ยม บุด้วยทองดอกบวบหรือทองจังโก พระธาตุช่อแฮ เป็นพระธาตุ ๑ ใน ๑๒ ราศี คือ เป็นพระธาตุประจำปีเกิดสำหรับคนที่เกิดปีเสือ (ปีขาล)

พระธาตุช่อแฮมีตำนานประวัติความเป็นมากล่าวไว้หลายทางด้วยกัน ยกตัวอย่างเช่น ตำนานพระธาตุช่อแฮในพระราชพงศาวดารว่าด้วยกรุงสุโขทัย ดังนี้

พระราชพงศาวดารว่าด้วยกรุงสุโขทัย หอสมุดแห่งชาติ กล่าวถึงวัดพระธาตุช่อแฮว่า สร้างขึ้นระหว่าง พ.ศ.๑๘๗๙-๑๘๘๑ ในสมัยที่พระมหาธรรมราชา (ลิไท) ยังเป็นพระมหาอุปราชซึ่งครองเมืองศรีสัชนาลัยอยู่ในครั้งนั้น พระองค์โปรดให้สร้างสถานที่สำคัญทางศาสนาตามที่ปรากฏในพุทธประวัติในที่ต่างๆ รวมทั้งที่เมืองแพร่ซึ่งอยู่ในขอบขัณฑสีมาของกรุงสุโขทัย พระมหาธรรมราชาลิไทพระราชทานพระบรมสารีริกธาตุแก่ขุนลัวะอ้ายก้อมให้นำมาบรรจุไว้ในฐานเจดีย์ เมื่อขุนลัวะอ้ายก้อมมาถึงบริเวณดอยโกสิยธชัคคะเห็นว่าทำเลดีจึงสร้างเจดีย์ขึ้น และนำผอบพระบรมสารีริกธาตุบรรจุไว้ในสิงห์ทองคำ สร้างแท่นที่ตั้งผอบด้วยเงินและทอง แล้วตั้งสิงห์ทองคำไว้โดยโบกปูนทับอีกชั้นหนึ่ง หลังจากนั้นก็จัดงานบำเพ็ญกุศลเฉลิมฉลอง ๗ วัน ๗ คืน






วัดต้นเกว๋น เชียงใหม่

วัดอินทราวาส เดิมชื่อ วัดต้นเกว๋น ซึ่งเป็นชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่งทางเหนือเรียกว่า ต้นป่าเกว๋น สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๓๗๙ ตามประวัติวัดแจ้งว่า วัดนี้สร้างขึ้นประมาณ จ.ศ.๑๒๑๘ หรือ พ.ศ.๒๓๙๙ สมัยพระเจ้ากาวิโลรส สุริยวงค์ เป็นเจ้าหลวงปกครองเมืองเชียงใหม่ วัดนี้มีความสำคัญในอดีต คือเป็นที่พักขบวนพระบรมธาตุศรีจอมทอง จากอำเภอจอมทองมาที่เชียงใหม่ ในอดีตเป็นประเพณีที่เจ้าหลวงเมืองเชียงใหม่มีการสรงน้ำพระธาตุ คือจากวัดพระธาตุจอมทองมาก็เดินทางมาด้วยขบวนช้าง ขบวนม้า แล้วแวะมาที่วัดต้นเกว๋นให้ประชาชนบริเวณนี้สรงน้ำพระธาตุศรีจอมทอง ปัจจุบันกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน

ลักษณะสถาปัตยกรรมของวิหารวัดต้นเกว๋น เป็นศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมล้านนา ที่งดงามและทรงคุณค่า วิหารเป็นวิหารแบบล้านนาโบราณ หน้าบันประดับด้วยกระจกแก้วสีแบบฝาตาผ้าหรือฝาปะกนโก่งคิ้วจำหลักไม้ลายเครือเถาสอดสลับรูปเศียรนาค มีลายปูนปั้นรูปเทพพนมและดอกไม้อยู่ที่หัวเสา ด้านหน้าบัน ปีกนกเกาะสลักเป็นเศียรนาคในลายเครือเถาผสมกนก ตีช่องตารางเพื่อระบายอากาศ ปั้นลมและหางหงส์แกะรูปมกรคายนาค คันทวยหูช้างจำหลักไม้เป็นรูปกินนรีฟ้อนรำ
  ที่มา : ศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนา



พระศรีศาสดา

การสร้างพระพุทธรูปทั้ง ๓ พระองค์ ของเมืองพิษณุโลกนั้น มีตำนานกล่าวไว้ว่า พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกมหาราช แห่งเมืองเชียงแสน เสด็จมาตีเมืองสองแควได้ จึงทรงสร้างเมืองสองแควขึ้นใหม่ พระราชทานนามว่า เมืองพิษณุโลก ทำนองว่าเป็นเมืองอันพระวิษณุกรรมเสด็จลงมาสร้าง ครั้นสร้างพระนครเสร็จแล้ว มีพระราชศรัทธาสร้างวัดวาอาราม มีวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเป็นพระอารามหลวง แล้วทรงหล่อพระพุทธรูปสามองค์ ได้แก่ พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา โปรดให้ประดิษฐานพระพุทธชินราช ณ พระวิหารใหญ่ ทิศตะวันตกของพระมหาธาตุประดิษฐานพระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา ณ พระวิหารใหญ่ทิศตะวันออก ทางทิศเหนือองค์หนึ่ง ทิศใต้องค์หนึ่ง พระพุทธชินสีห์และพระศรีศาสดาจนกระทั่งมีการอัญเชิญลงมากรุงเทพฯ ทั้งสององค์ คือพระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา

พระศาสดา สร้างคราวเดียวกับพระพุทธชินราช และพระพุทธชินสีห์ ได้ประดิษฐานอยู่ในวิหารด้านทิศใต้ของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุมาแต่ต้น ต่อมาพระวิหารชำรุดไม่มีผู้ปฏิสังขรณ์ จึงได้อัญเชิญพระศาสดามาไว้ที่วัดบางอ้อช้าง ทางแม่น้ำอ้อม จังหวัดนนทบุรี ตั้งแต่ต้นสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติปฏิสังขรณ์วัดประดู่ คลองบางหลวง จึงได้ขออัญเชิญพระศาสดาไปเป็นพระประธาน

ล่วงมาถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง พระราชดำริว่า "พระศาสดา"เป็นพระพุทธรูปอยู่ที่พระอารามหลวงมาแต่โบราณ ไม่สมควรอยู่ที่วัดอื่น จึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่มุขหน้าพระอุโบสถวัดสุทัศน์เทพวราราม เมื่อ พ.ศ.๒๓๙๖ ต่อมาได้ทรงพระราชดำริว่า พระศาสดาและพระพุทธชินสีห์ เคยประดิษฐานอยู่ในพระอารามเดียวกันที่เมืองพิษณุโลก จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระวิหารขึ้นในวัดบวรนิเวศวิหาร แล้วอัญเชิญพระศาสดาจากวัดสุทัศน์ฯ ไปประดิษฐานไว้ในพระวิหารนั้น เมื่อ พ.ศ.๒๔๐๖
  ที่มา : เวปไซต์วัดบวรฯ



วัดพระธาตุลำปางหลวง

ตามตำนานกล่าวว่า ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระเถระสามองค์ได้เสด็จจาริกไปตามบ้านเมืองต่างๆ จนถึงบ้านลัมภะการีวัน หรือ บ้านลำปางหลวงในปัจจุบัน พระพุทธเจ้าได้ประทับเหนือดอยม่อนน้อย มีชาวลัวะคนหนึ่งชื่อลัวะอ้ายกอน เกิดความเลื่อมใส ได้นำน้ำผึ้งบรรจุกระบอกไม้ป้างมะพร้าว และมะตูมมาถวายพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ได้ฉันน้ำผึ้งแล้วทิ้งกระบอกไม้ป้างไปทางทิศเหนือ แล้วทรงพยากรณ์ว่า สถานที่แห่งนี้ต่อไปจะมีชื่อว่า ลัมพกัปปะนครแล้วได้ทรงลูบพระเศียรได้พระเกศามาหนึ่งเส้น มอบให้แก่ลัวะอ้ายกอนผู้นั้น ลัวะอ้ายกอนได้นำพระเกศานั้นบรรจุในผอบทองคำ และใส่ลงในอุโมงค์พร้อมกับถวายแก้วแหวนเงินทองเป็นเครื่องบูชา แล้วแต่งยนต์ผัด(ยนต์หมุน) รักษาไว้ และถมดินให้เรียบเสมอกัน แล้วก่อเป็นพระเจดีย์สูงเจ็ดศอกเหนืออุโมงค์นั้น ในสมัยต่อมาก็ได้มีกษัตริย์เจ้าผู้ครองนครลำปางอีกหลายพระองค์มาก่อสร้างและบูรณะซ่อมแซม จนกระทั่งเป็นวัดที่มีความงามอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

ในทางประวัติศาสตร์นครลำปาง วัดพระธาตุลำปางหลวงมีประวัติว่า เมื่อปี พ.ศ.๒๒๗๕ นครลำปางว่างจากผู้ครองนคร และเกิดความวุ่นวายขึ้น สมัยนั้นพม่าเรืองอำนาจได้แผ่อิทธิพลปกครองอาณาจักรล้านนาไว้ได้ทั้งหมด พม่าได้ยึดครองนครเชียงใหม่ ลำพูน โดยแต่งตั้งเจ้าผู้ครองนครอยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์พม่า ท้าวมหายศเจ้าผู้ครองนครลำพูนได้ยกกำลังมายึดนครลำปาง โดยได้มาตั้งค่ายอยู่ภายในวัดพระธาตุลำปางหลวง ครั้งนั้น หนานทิพย์ช้าง ชาวบ้านปงยางคก (ปัจจุบันอยู่อำเภอห้างฉัตร) วีรบุรุษของชาวลำปาง ได้รวบรวมพลทำการต่อสู้ทัพเจ้ามหายศ โดยลอบเข้ามาในวัด และใช้ปืนยิงท้าวมหายศตาย แล้วตีทัพลำพูนแตกพ่ายไป ปัจจุบันยังปรากฏรอยลูกปืนอยู่บนรั้วทองเหลืองที่ล้อมองค์พระธาตุเจดีย์ ต่อมาหนานทิพย์ช้างได้รับสถาปนาขึ้นเป็น พระยาสุลวะลือไชยสงคราม เจ้าผู้ครองนครลำปาง และเป็นต้นตระกูล ณ ลำปาง เชื้อเจ็ดตน ณ เชียงใหม่ ณ ลำพูน ณ น่าน

สำหรับกู่พระเจ้าล้านทอง ตั้งอยู่บริเวณท้ายวิหารหลวง ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปคือพระเจ้าล้านทอง ส่วนบนของกู่เป็นแบบผสมระหว่างหลังคาลาดกับหลังคาลดชั้น องค์ประกอบต่างๆ รวมทั้งลวดลายปั้นประดับมีอยู่อย่างมากมาย แสดงให้เห็นถึงแบบแผนของงานประดับในช่วงเวลานั้นด้วย




วิหารน้ำแต้ม วัดพระธาตุลำปางหลวง

วิหารน้ำแต้ม หรือวิหารภาพเขียนสี (แต้ม แปลว่า ภาพเขียน) ในวัดพระธาตุลำปางหลวง ตำบลลำปางหลวง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๐๔๔ เป็นวิหารที่เก่าแก่แห่งหนึ่งทางภาคเหนือ

ลักษณะทางสถาปัตยกรรม วิหารน้ำแต้มเป็นวิหารขนาดเล็กที่ตั้งอยู่ทางทิศเหนือขององค์พระธาตุลำปางหลวง หันหน้าไปทางทิศตะวันออก เป็นวิหารโถงขนาด ๕ ห้อง มีผนังปิดทึบเฉพาะห้องท้ายวิหารที่ยกเก็จออกไปเท่านั้น แผงผังโดยทั่วไปของวิหารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มียกเก็จออกทางด้านหน้า ๒ ช่วง ด้านหลัง ๑ ช่วง ฐานที่รองรับตัววิหารเป็นพื้นปูนยกสูงขึ้นมา หลังคาเป็นทรงแบบล้านนาเรียกว่า ขื่อม้าตั่งไหม หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินลดหลั่นเป็นชั้นลงมา ชายคาของหลังคาด้านข้างคลุมลงมาต่ำมากจึงทำให้รูปทรงของวิหารดูค่อนข้างเตี้ย เพื่อกันน้ำฝนและแสงแดด

ด้านจุดเด่นของวิหารนั่นก็คือภาพจิตรกรรมศิลปะล้านนาบนแผงไม้คอสองที่กล่าวกันว่าเก่าแก่ที่สุด และเหลือเพียงแห่งเดียวในเมืองไทย ซึ่งหาดูได้ยากมาก ภาพจิตรกรรมนี้อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ลงมา แต่ปัจจุบันภาพเขียนลบเลือนไปมากแล้ว

บนแผ่นไม้แผงคอสองของวิหาร เป็นเรื่องท้าวสักกะเรื่องพระนางสามาวดี ซึ่งเป็นนิทานธรรมบท ทั้งสองเรื่องเป็นนิทานอธิบายพระสูตในพระไตรปิฎกที่พระพุทธโฆษาจารย์ แปลจากภาษาลังกา เมื่อประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๐ สันนิษฐานว่า แพร่หลายเข้ามาในไทยพร้อมกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๙ –๒๐

โดยนักวิชาการสันนิษฐานจากรูปแบบศิลปะและตัวอักษรธรรมล้านนาที่อธิบายประกอบภาพ รวมทั้งเอกสารตำนานต่างๆ สามารถสรุปได้ว่า ภาพเขียนในวิหารน้ำแต้มได้รับอิทธิพลจากศิลปะพุกาม ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๒ – ๒๓

เรียกได้ว่าวิหารแห่งนี้เป็นสถานที่ที่เมื่อมาถึงลำปางแล้ว ต้องไปดูตัววิหารที่สร้างแบบฉบับโครงสร้างล้านนาที่สวยงามยิ่ง รวมถึงจิตรกรรมฝาผนังบนแผ่นไม้ที่เก่าแก่ ที่ช่างบรรจงวาดออกมาเพื่อเป็นธรรมะสอนใจแก่คนที่ได้พบเห็น เพราะสิ่งเหล่านี้หาดูได้ยากยิ่งนัก และเป็นสิ่งที่เราควรอนุรักษ์ไว้




พระวิหารลายคำสุชาดาราม วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม

วิหารลายคำสุชาดาราม สร้างขึ้นในสมัยของเจ้าวรญาณรังษี เจ้าผู้ครองนครลำปางในสมัยนั้น โดยฝีมือของช่างเชียงแสน สร้างขึ้นในระหว่างปี พ.ศ.๒๓๒๕-๒๓๕๒ เมื่อครั้งชาวเชียงแสนถูกกวาดต้อนมาอยู่เป็นชุมชนในเมืองเขลางค์ ตัววิหารมีขนาดว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๒๕ เมตร ภายในวิหารเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสีหเชียงแสน ซึ่งเป็นพระประธานหน้าตักกว้าง ๕ เมตร

อนึ่งภายในวิหารมีจิตรกรรมฝาผนังภาพทศชาติและพุทธประวัติซึ่งประดับลวดลายทองในส่วนต่างๆ อย่างวิจิตรพิสดาร ต่อมาได้บูรณะเมื่อ พ.ศ.๒๔๖๕ และบูรณะครั้งสุดท้ายเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๓ ประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดในราชกิจจานุเษกษา เล่มที่ ๙๗ ตอนที่ ๑๕๙ ลงวันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๒๓

พระวิหารลายคำสุชาดา เป็นอาคารชั้นเดียวยกพื้นครึ่งปูนครึ่งไม้ กว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๒๗ เมตร ด้านหน้าหันไปทางทิศตะวันออก โครงสร้างพระวิหารเป็นแบบ “ม้าตั่งไหม” ที่มีการถ่ายทอดน้ำหนักจากหลังคาวิหารลงมาตามส่วนของขื่อต่างๆ ลงสู่เสาและหลังคาปีกนกด้านล่าง ๒ ข้าง ซึ่งเป็นลักษณะอาคารที่จำเพาะกับกษัตริย์หรือเจ้าเมือง ส่วนของหลังคาเป็นการยกซ้อนของไม้เป็นสามชั้นสามระดับ เพื่อประกอบเป็นหลังคาของห้องประธาน ส่วนหน้าซ้อนสามชั้น และส่วนหลังซ้อนกันเป็นสองชั้น มีเสารองรับหลังคาทั้งหมด การประกอบส่วนของหลังคาทั้งหมดใช้ลิ่มไม้เป็นตัวยึด ไม่มีการใช้ตะปู เสาและขื่อเขียนลายทองในเป็นที่มาของชื่อวิหารลาย(ทอง)คำ ขื่อและโครงรับจั่วหลังคาซ้อนกันเหมือนวางซ้อนเก้าอี้ หลังคาไม่มีเพดานทำให้เห็นกระเบื้องดินเผา พื้นที่ภายในพระวิหารแบ่งเป็นสองส่วน ส่วนประธานเป็นส่วนที่ประดิษฐานพระพุทธสีหะเชียงแสน ระหว่างห้องประธานและส่วนหน้ามีฝาปิด ตามเสาและขื่อลงรักดำ (ฮัก) และชาด (หาง) ปิดทองเป็นลวดลายพรรณพฤกษา ฝาผนังเป็นเรื่องราวในชาดก และเรื่องนรก ส่วนหลังคาลาดต่ำ หน้าต่างด้านขวาแคบเล็ก หน้าต่างด้านซ้ายเป็นลูกกรงลูกมะหวด การทำหน้าต่างแคบในลักษณะเช่นนี้เพื่อรักษาความอบอุ่นของอาคารในหน้าหนาว ด้านหน้าประกอบด้วยราวบันได และสิงห์ปูนปั้นคู่ประดับเหนือบานประตู

พระวิหารลายคำสุชาดา ถือเป็นตัวอย่างสำคัญของการอนุรักษ์ศาสนสถานที่ทรงคุณค่าทางด้านศิลปะที่สะท้อนภาพวิถีชีวิตแบบล้านนา และวัฒนธรรมของภาคเหนือได้เป็นอย่างดี สามารถรักษาองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของพระวิหารซึ่งมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวเอาไว้ได้อย่างน่าชื่นชม
   ที่มา : สมาคมสถาปนิกสยามฯ



วัดคะตึกเชียงมั่น ลำปาง

วัดคะตึกเชียงมั่น ตั้งอยู่เลขที่ ๖๑ บ้านเชียงมั่น ถนนทิพย์ช้าง ตำบลหัวเวียง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง วัดคะตึกเชียงมั่น สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๒๘๗ โดยเจ้าคำโสม สันนิฐานว่าสร้างเมื่อครั้งมีการย้ายเมืองเขลางค์มายังฝั่งเมืองใหม่ ตรงข้ามกับที่ตั้งเดิม อันเป็นที่ตั้งเมืองลำปางปัจจุบัน แต่เดิมบริเวณนี้มีอยู่ ๒ วัด ได้แก่ วัดคะตึก และวัดเชียงมั่น ต่อมาได้รวมเป็นวัดเดียวกัน ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๖ กันยายน พ.ศ.๒๕๑๘ การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสรูปปัจจุบันคือ พระครูสุวิมลธรรมานุสิฐ และพระสมุห์คำมูล มุนิวังโส เป็นรองเจ้าอาวาส

วัดนี้ถือเป็นวัดวิหารหลวงของจังหวัดลำปางอีกวัดหนึ่ง ซึ่งอยู่คู่ชาวลำปางมาหลายชั่วอายุคน วัดคะตึกเชียงมั่น สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินวัดมีเนื้อที่ ๓ ไร่ ๓ งาน ๔๐ ตารางวา อาณาเขตทิศเหนือ ประมาณ ๕๒ วา จดถนนทิพย์ช้าง ทิศใต้ ประมาณ ๕๒ วา จดสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองหลังเก่า ปัจจุบันเป็นสำนักงานศูนย์พิสูจน์หลักฐาน ๕ ทิศตะวันออกประมาณ ๓๙ วา จดวัดบุญยืน ทิศตะวันตกประมาณ ๓๙ วา จดที่ทำการไปรษณีย์ลำปาง อาคารเสนาสนะประกอบด้วย อุโบสถ ศาลาการเปรียญและกุฏิ จำนวน ๕ หลัง ปูชนียวัตถุมีพระพุทธมงคลนิมิตเป็นพระประธานในพระอุโบสถ ซึ่งเมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๒๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินมาทรงตัดลูกนิมิต ณ อุโบสถวัดคะตึกเชียงมั่นด้วย ซึ่งมี พระอินทวิชยาจารย์ เจ้าอาวาสในสมัยนั้น ถวายการต้อนรับ และวิหารเครื่องไม้ที่ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของกรมศิลปากร ที่มีอายุเก่าแก่มาถึงปัจจุบันถึง ๑๘๑ ปี

วิหารเครื่องไม้สันนิษฐานว่า น่าจะสร้างขึ้นในราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๕ เป็นวิหารล้านนาที่เก่ามาก โครงสร้างเป็นเครื่องไม้ทั้งหมด หลังคาจั่วซ้อนชั้น วิหารโล่ง เป็นลักษณะวิหารล้านนาสกุลช่างลำปาง หลังคาเดิมมุงด้วยดินขอ ได้มาเปลี่ยนเป็นกระเบื้องหน้าวัวในภายหลังวิหารเครื่องไม้ ปรากฏในศิลาจารึกด้านหลังของวิหาร โดยมีข้อความระบุว่าสร้างขึ้นใน พ.ศ.๒๓๗๕ บูรณะครั้งสุดท้ายเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๒ เป็นวิหารเครื่องไม้ขนาดกว้าง ๓ ห้อง ยาว ๕ ห้อง หันหน้าไปทางทิศตะวันออกเป็นวิหารกึ่งเปิด ที่เปิดโล่งด้านหน้า และด้านข้าง เฉพาะสองช่วงเสาจากด้านหน้า ส่วนด้านข้างตั้งแต่ห้องที่สามไปจนถึงท้ายวิหารจะเป็นผนังทึบ แผนผังของวิหารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มียกเก็จออกทางด้านหน้า ๒ ช่วง ด้านหลัง ๑ ช่วง ซึ่งสัมพันธ์กับการลดชั้นของหลังคา ที่มีการลดทางด้านหน้า ๓ ชุด ด้านหลัง ๒ ชุด รวมถึงยังมีการซ้อนผืนหลังคา ๒ ชั้น(ตับ) ปัจจุบันกระเบื้องดินเผา (ดินขอ) ได้ถูกซ่อมแซมเปลี่ยนเป็นกระเบื้องซีเมนต์สีขาวรูปขนมเปียกปูนนับ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๑๒

กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน และกำหนดขอบเขตในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๙๗ ตอนที่ ๑๕๙ ลงวันที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๒๓ ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๒๓ เรียบร้อยแล้ว ซึ่งก็ได้เป็นพระอารามหลวงกลางเมืองลำปาง เป็นที่ทำบุญสร้างกุศลให้กับศรัทธาญาติโยมมาตลอดระยะเวลาที่ยาวนาน




วิหารพระพุทธ วัดพระธาตุลำปางหลวง

วิหารต่างๆในวัดพระธาตุลำปางหลวงมีอายุหลายร้อยปี เป็นแหล่งชุมนุมศิลปกรรมแบบล้านนาหลากรูปแบบ ตั้งแต่พระพุทธรูป ลายทองประดับ ปูนปั้น จนถึงจิตรกรรม

นอกจากวิหารหลวงแล้ว ภายในเขตพุทธาวาสยังมีวิหารอีก ๔ หลัง ได้แก่ วิหารพระพุทธ วิหารพระเจ้าศิลา วิหารต้นแก้ว และวิหารน้ำแต้ม อีกทั้งยังมีอาคารอื่นๆ อาทิ อุโบสถ หอพระพุทธบาท

ทางทิศใต้ของพระธาตุเจดีย์เป็นที่ตั้งของวิหารพระพุทธ หรือวิหารลายคำ โดดเด่นด้วยลายประดับสีทองบนพื้นสีแดง ทั้งบนผนังด้านนอก-ด้านใน และต้นเสา นับเป็นตัวอย่างลวดลายลงรักปิดทองแบบล้านนาที่หาชมได้ไม่มากแห่งนัก สันนิษฐานว่า วิหารพระพุทธสร้างในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ผ่านการบูรณะซ่อมแซมเรื่อยมา ตัวอาคารมีขนาด ๕ ห้อง สร้างครึ่งปูนครึ่งไม้ ปิดล้อมด้วยผนังโดยรอบ ช่วงห้องหน้าเป็นมุขโถง ล้อมด้วยกำแพงเตี้ยๆ หลังคาลดชั้นด้านหน้าและหลัง ด้านละ ๑ ชั้น แต่ละชั้นมีผืนหลังคา ๒ ตับ ประตูทางเข้าหลักมีซุ้มประตูก่ออิฐถือปูน เป็นซุ้มซ้อน ๓ ชั้น ประดับลวดลายปูนปั้นลงรักปิดทอง กรอบซุ้มเป็นวงโค้งกรอบหยัก ปลายกรอบซุ้มเป็นรูปตัวเหงา หน้าบันใต้กรอบซุ้มเป็นลายใบไม้ หน้าบัน คำช่างล้านนาเรียกว่า หน้าแหนบ ประดับด้วยลายแกะไม้ประดับกระจกจีน เป็นลายประเภทพรรณพฤกษา ดอกไม้ใบไม้ ลายประแจจีน

พระประธานประดิษฐานในห้องที่สี่ของวิหาร ช่วงเสาคู่หน้าพระประธานมีการทำหน้าแหนบ หน้าแหนบปีกนก ด้านล่างของหน้าแหนบทั้งสองมีโก่งคิ้ว ทั้งหมดนี้ช่วยขับเน้นความโดดเด่นของพระประธาน

พระประธานมีนามว่า พระเจ้าองค์หลวงเมืองเขลางค์ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า หลวงพ่อพระพุทธ ภายในห้องส่วนนี้ตกแต่งด้วยลายคำ และภาพอดีตพุทธเจ้า




วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร

วัดพระบาทมิ่งเมืองมาจากสองวัดรวมกัน ได้แก่ วัดพระบาท และวัดมิ่งเมือง ตั้งอยู่ห่างกันเพียงมีถนน กั้นเท่านั้น วัดพระบาทเป็นวัดของพระยาอุปราชหรือเจ้าหอหน้า ส่วนวัดมิ่งเมืองเป็นวัดของเจ้าผู้ครองนครแพร่ เมื่อเมืองนครแพร่ถูกล้มเลิกระบบเจ้าผู้ครองนคร วัดทั้งสองก็ถูกทอดทิ้งอยู่ในสภาพทรุดโทรมมาก กระทั่งคณะกรมการจังหวัดเห็นสมควรรวมสองวัดเข้าด้วยกัน ให้ชื่อว่า วัดพระบาทมิ่งเมือง

วัดนี้เป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธโกศัยศิริชัยมหาศากยมุนี พระคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดแพร่ และยังมีพระเจดีย์มิ่งเมือง ซึ่งเป็นเจดีย์เก่าแก่มีรอย พระพุทธบาทจำลองอยู่ภายใน นอกจากนี้วัดนี้ยังเป็นที่ตั้งของอาคารยาขอบอนุสรณ์เพื่อระลึกถึง "ยาขอบ"หรือ นายโชติ แพร่พันธุ์ นักเขียนผู้ล่วงลับไปแล้วซึ่งเป็นทายาทเจ้าหลวงนครเมืองแพร่องค์สุดท้าย



ขอขอบคุณ facebook.com/Watwaaa (ที่มาข้อมูล/ภาพ)
ืn.วัดปงยางคก ลำปาง  8/2/96
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 15 มกราคม 2564 15:03:46 »


พระสุนทรีวาณี
พระประจำวัดสุทัศนเทพวราราม



พระศรีศากยมุนี พระประธานในพระวิหารหลวงวัดสุทัศนเทพวราราม  
สร้างในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท กรุงสุโขทัยเป็นราชธานี อายุประมาณ ๘๐๐ ปี  
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ร.๑ พระปฐมบรมราชจักรีวงศ์
ทรงอัญเชิญมาประดิษฐานไว้ ณ พระวิหารหลวง วัดสุทัศนเทพวราราม
อันเป็นใจกลางเกาะกรุงรัตนโกสินทร์  ตราบเท่าปรัตยุบัน ฯ



รูปหล่อพระพุทธเสฏฐมุนี (หลวงพ่อกลักฝิ่น)  
วัดสุทัศนเทพวราราม  กทม.



พระพุทธเสฏฐมุนี องค์บูชา องค์จริงประดิษฐาน ณ ศาลาการเปรียญวัดสุทัศนเทพวราราม
หรือเรียกนามท่านทั่วไปว่า "หลวงพ่อกลักฝิ่น" อันเป็นนิมิตหมายว่าทุกคนสามารถกลับตัว
กลับใจเป็นคนดีได้ตลอดเวลา การทำความดี ช่วงเวลาไหนก็ย่อมเป็นช่วงเวลาที่แสนงดงาม
สำหรับชีวิต ดังพระพุทธพจน์ว่า...
โย จ ปุพฺเพ ปมชฺชิตฺวา    ปจฺฉา โส นปฺปมชฺชติ
โสมํ โลกํ ปภาเสติ       อพฺภา มุตฺโตว จนฺทิมา ฯ
อนึ่ง ผู้ใดเคยเป็นคนไม่ดีมาก่อน ภายหลังกลับตัวเป็นคนดี ผู้นั้นย่อมทำชีวิตนี้ให้สดใส
สวยงามขึ้นมาได้อีกครั้ง  เสมือนพระจันทร์ที่เคลื่อนพ้นจากหมอกเมฆแล้ว ย่อมส่องโลก
ใบนี้ให้สว่างไสวขึ้นมาได้ ฯ






พระพุทธตรีโลกเชษฐ์ พระประธาน สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๓ เป็นพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ปางมารวิชัย
ใหญ่ที่สุดในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น  พระอสีติมหาสาวก พระอรหันตสาวกสมัยพุทธกาล ๘๐ องค์
สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ มีแห่งเดียวในประเทศไทย ประดิษฐานคู่พระอุโบสถ วัดสุทัศนเทพวราราม


พระพุทธตรีโลกเชษฐ์ พระประธาน และพระอสีติมหาสาวก (๘๐)
ภายในพระอุโบสถกว้างยาวใหญ่ที่สุดในประเทศ
วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพมหานคร







"พระสุนทรีวาณี"  องค์แทนพระธรรม เทพแห่งปัญญาญาณ งดงามในเบื้องต้น
ท่ามกลาง และที่สุด ช่างรังสรรค์จากศุภนิมิต ในสมเด็จพระวันรัต (แดง สีลวฑฺฒนมหาเถร)
เจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวรารามรูปที่ ๓ ผู้เป็นต้นตำรับการสร้างภาพวาดพระสุนทรีวาณี  
ผู้เป็นพระอุปัธยาจารย์แห่งสมเด็จพระสังฆราช ๒ พระองค์ คือ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทวมหาเถร)
วัดสุทัศนเทพวราราม และสมเด็จพระสังฆราช (อยู่ ญาโณทยมหาเถร) วัดสระเกศ
วัดสุทัศนเทพวรารามในเวลาก่อนเรียนพระปริยัติธรรมของพระภิกษุสามเณรทุกวัน
และในเวลานำพุทธศาสนิกชนเจริญกรรมฐานจะบริกรรมคาถาประจำองค์พระสุนทรีวาณีว่า
มุนินฺทวทนมฺพุช       คพฺภสมฺภวสุนฺทรี
ปาณีนํ สรณํ วาณี   มยฺหํ ปีณยตํ มนํ ฯ
(คาถาประจำองค์พระสุนทรีวาณี)




พระกริ่งวัดสุทัศน์
หากพูดถึงพระกริ่ง ก็จะนึกถึงวัดสุทัศน์ มนต์ขลังพลังศรัทธาของประชาชน
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทวมหาเถร)
ทรงเป็นต้นตำรับรังสรรค์ขึ้นจนเป็นตำนานประจำวัดสุทัศน์ให้ประชาชนได้
กราบไหว้บูชา เป็นพระสำคัญประจำวัดอีกองค์
..............
ประดิษฐานอยู่ด้านหลังพระอุโบสถ วัดสุทัศนเทพวราราม


ที่มา : ส่งเสริมการท่องเที่ยวพุทธสถาน ศิลปะ วัฒนธรรม วัดสุทัศน์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15 มกราคม 2564 15:14:19 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 26 สิงหาคม 2564 20:11:22 »



พระพุทธรูป ปางบำเพ็ญทุกรกิริยา

พระพุทธรูปปางบำเพ็ญทุกรกิริยา คำว่า “ทุกรกิริยา (ทุก-กะ-ระ-กิ-ริ-ยา)” หมายถึง กิริยาที่ทำได้ยากยิ่ง โดยการบำเพ็ญเพียรของพระบรมโพธิสัตว์เจ้าชายสิทธัตถะ ที่ทรงมุ่งหวังจะบรรลุธรรมวิเศษด้วยการทรมานตนด้วยวิธีต่างๆ ซึ่งเป็นวิธีการของโยคี เมื่อสร้างเป็นพระพุทธรูป จึงเป็นอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ทั้งสองซ้อนกันบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย มองเห็นพระวรกายซูบผอมจนพระอัฐิ (กระดูก) และพระนหารุ (เส้นเอ็น) ปรากฏ ลักษณะพระวรกายผ่ายผอมจนเห็นหนังติดกระดูก

หลังจากที่พระบรมโพธิสัตว์เจ้าชายสิทธัตถะได้สำเร็จฌานสมาบัติ ๘ จากสำนักอาฬารดาบส กาลามโคตร และอุทกดาบส รามบุตร แต่พระบรมโพธิสัตว์ทรงเห็นว่าวิชาที่ศึกษามายังมิใช่หนทางแห่งโพธิญาณ จึงอำลาจากสำนักทั้งสองในกรุงราชคฤห์ ทรงออกแสวงหาหนทางตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง ณ ภูเขาดงคสิริ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ โดยมีปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ได้แก่ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ ถวายการอุปัฏฐาก พระบรมโพธิสัตว์ทรงกระทำทุกรกิริยา เช่น ลดอาหารลงทีละน้อยจนถึงงดเสวย จนมีพระวรกายซูบผอม พระโลมา (ขน) มีรากเน่าหลุดออกมา แลเห็นพระอัฐิได้ชัดเจนไปทั่วพระวรกาย การกลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ (ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก) ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาติดต่อกันเป็นเวลา ๖ ปี แต่ก็ยังคงไม่พบหนทางหลุดพ้นจากทุกข์แต่อย่างใด เพราะเป็นการปฏิบัติฝ่ายอัตตกิลมถานุโยค (หมายถึง การบีบคั้นทรมานตนให้เดือดร้อนถึงที่สุด)

ต่อมาเมื่อพระบรมโพธิสัตว์ได้ทรงสดับเสียงพิณและพิจารณาว่า สายพิณเส้นหนึ่งที่หย่อน ถ้าเล่นไปเสียงจะผิดเพี้ยนไม่ไพเราะ สายพิณอีกเส้นหนึ่งที่ตั้งตึงมากเกินไป ถ้าเล่นไปสายก็จะขาด ส่วนสายพิณที่ตั้งไม่หย่อนไม่ตึง เสียงจะไพเราะ ทางสายกลางต่างหากที่เป็นทางถูกต้อง ในที่สุดพระองค์จึงทรงเลิกการบำเพ็ญทุกรกิริยา หันมาเสวยพระกระยาหารตามปกติ จึงเป็นเหตุให้ปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ เสื่อมศรัทธา คิดว่าพระบรมโพธิสัตว์กลายเป็นคนมักมาก จึงพากันละทิ้งไปอยู่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี ทำให้พระบรมโพธิสัตว์ต้องบำเพ็ญเพียรตามลำพังต่อไปตามหนทางมัชฌิมาปฏิปทา อันเป็นหนทางพอดี จนสำเร็จพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณใต้ร่มโพธิพฤกษ์ในคืนเพ็ญเดือน ๖ ในที่สุด

“ปางพระพุทธรูป” ก็คือลักษณะของรูปสมมุติของพระพุทธเจ้าในอิริยาบถต่างๆ ซึ่งสร้างขึ้นตามความเชื่อในพระพุทธประวัติ โดยช่างในสมัยโยนก (คันธารราฐ) สมัยราชวงศ์คุปตะ (ราว พ.ศ.๘๖๓ - ๑๐๒๓) ซึ่งเป็นชาวกรีกพวกแรก ที่กำหนดรูปแบบพระพุทธรูปออกเป็นปางต่างๆ ขึ้นมาจำนวน ๙ ปาง รวมถึงพระพุทธรูปปางบำเพ็ญทุกรกิริยาด้วย ต่อมาช่างชาวอินเดียฝ่ายใต้ ซึ่งเป็นชาวกลิงคราฐ (ในปัจจุบันคือรัฐโอริสสา) รวมทั้งในยุคสมัยต่างๆ ในภายหลัง ก็ได้สร้างปางพระพุทธรูปเพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก

การสร้างพระพุทธรูปลักษณะปางทุกรกิริยานี้ ก็เพื่อต้องการแสดงให้เห็นถึงความเพียรที่ปฏิบัติได้ยากยิ่งหาที่เปรียบมิได้ ไม่มีใครจะทำทุกรกิริยายิ่งกว่าพระบรมโพธิสัตว์เจ้าชายสิทธัตถะได้อีก เพราะถ้าเพียรมากกว่านี้ก็ถึงกาลกิริยาแล้ว ซึ่งก็คือความตายนั่นเอง


ขอขอบคุณที่มา (ข้อมูล/ภาพ) เพจพระพุทธศาสนา
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.56 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 26 กุมภาพันธ์ 2567 17:20:38