[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 17:43:20 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: กะหรี่ มาจากไหนทำไมถึงเรียกแบบนี้ สตรีผู้รับจ้างทำชำเราแก่บุรุษเพศ ?  (อ่าน 1761 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 84.0.4147.135 Chrome 84.0.4147.135


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 04 กันยายน 2563 21:33:17 »


“กะหรี่”มาอย่างไร? ทำไมถึงเรียกแบบนี้ …ผู้รับจ้างทำชำเราแก่บุรุษเพศ?


เครดิตภาพจากหนังสือ "อยุธยา" ของ ศ. ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ




จาก: ปริศนาโบราณคดีตอนที่ 130 (เผยแพร่ครั้งแรกในมติชนสุดสัปดาห์ปี พ.ศ.2554)

สังคมไทยเวลาต้องการด่าใครให้เจ็บแสบ มักใช้คำว่า “กะหรี่” เป็นวลีเด็ด เพราะเป็นคำที่สามารถใช้กระชากหน้ากาก
ของคนที่ไม่เพียงแต่ขายตัว หากยังขายศักดิ์ศรี และขายวิญญาณ โดยเฉพาะคำว่า “กะหรี่การเมือง”
อันที่จริงคำว่า “กะหรี่” นั้น ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เคยเรียกขานหญิงบริการว่าเป็นอาชีพ
“รับจ้างกระทำชำเราแก่บุรุษ”



ตรรกะวิบัติของคำว่า “กะหรี่”
ปริศนาที่คนทั่วไปสงสัยคือ นิยามของคำว่า “กะหรี่” นั้น ตกลงหมายถึงอะไรกันแน่ เป็นอาชีพหนึ่งของผู้หญิงขายบริการทางเพศ
หรือว่าหมายถึง “การเสียตัวเสียสาวให้กับผู้ชาย” เพราะปัจจุบัน เมื่อมีข่าวชู้สาวคาวโลกีย์ของผู้หญิงกับผู้ชาย
มักมีคนเข้าไปคอมเมนต์ว่า “อีกะหรี่” บางทีด่าว่า “อีลูกกะหรี่” ประหนึ่งว่า “กะหรี่” คำนี้ได้ถูกแปลงความหมายใหม่
ให้กลายเป็นคำเดียวกันกับคำว่า “ดอกทอง” “สำส่อน” “แพศยา” “ไร้ยางอาย” “มั่วโลกีย์”
ถ้าเช่นนั้น ผู้หญิงทั้งโลกที่เคยมีเพศสัมพันธ์ไม่ว่ากับใครก็ตาม ทั้งรัก-ไม่รัก ก่อนแต่ง-หลังแต่ง ผัวเดียว หรือหลายผัว
มิต้องกลายเป็น “กะหรี่” กันถ้วนหน้า ดอกรึ



กะหรี่คือ “ช็อกการี” ไม่ใช่ “Curry”
มาถึงคำถามที่ว่า ที่มาของคำว่า “กะหรี่” เกี่ยวข้องอะไรกับ “แกงกะหรี่” หรือไม่ เพราะคนส่วนใหญ่มองว่า
“เครื่องแกงกะหรี่นี่กลิ่นแรงจริงๆ แรงพอๆ กับคนที่เป็นกะหรี่” อันคำว่า “กะหรี่” ที่หมายถึงโสเภณี
กับ “กะหรี่” ที่เป็นเครื่องเทศของอินเดียนั้น มันเป็นคนละความหมายกันโดยสิ้นเชิง แน่ล่ะ ด้วยข้อจำกัดของการแปล-แปลง-และแปร
เป็นภาษาไทย อาจทำให้มันกลายเป็นคำที่พ้องทั้งรูป และเสียงกันโดยบังเอิญ
แกงกะหรี่ หรือผงกะหรี่นั้น เป็นการเรียกทับศัพท์ภาษาเปอร์เซียนว่า “Kari” เป็นคำเดียวกันกับ เคอร์รี่ (Curry) ในภาษาอังกฤษ
ซึ่งก็แผลงมาจาก Kari เช่นเดียวกัน แต่พอภาษาอังกฤษแปล Kari เป็น Curry ความหมายกลับไม่ใช่ชื่อเฉพาะ กลายเป็นภาพรวม
ของเครื่องแกงทั้งหมดหลายๆ ชนิด ซึ่งก็ถูกต้องสำหรับความเข้าใจในสายตาชาวตะวันตก ที่ไม่อาจแยกแยะความแตกต่าง
ของเครื่องเทศระหว่าง มัสมั่น กะหรี่ กุรุหม่า ที่อิมพอร์ตจากโลกตะวันออก (แม้ญี่ปุ่นก็เรียก คาเร) ฯลฯ
สรุปแล้ว “กะหรี่” ในความหมายของโสเภณีนั้นไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับแกงที่ใส่เครื่องเทศของอินเดีย-เปอร์เซีย





Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 84.0.4147.135 Chrome 84.0.4147.135


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 04 กันยายน 2563 21:42:36 »



กะหรี่ กับเจ้าแม่กาลี

ถ้าเช่นนั้น จะเกี่ยวข้องกับเจ้าแม่กาลี Kali เทพีผู้อื้อฉาวของศาสนาฮินดูหรือไม่
Kali เป็นภาคหนึ่งของนางอุมา ผู้เป็นชายาของพระอิศวร (พระศิวะ) เทพเจ้าแห่งการทำลายล้าง หนึ่งในเทพเจ้าสูงสุดของฮินดู (ตรีมูรติ)
(แต่บางตำราในไวษณพนิกายว่า ตอนที่ลักษมีแสดงปางโหดร้ายก็ใช้ชื่อว่า “กาลี” เช่นเดียวกัน)
โดยนางอุมานั้นมีหลายภาคหรือหลายปาง แล้วแต่สถานการณ์จะกำหนด ปางสง่างามยามปกติเรียก “อุมา” ปางรักเด็กเรียก “ปารพตี”
(คล้ายมาดอนนาของศาสนาคริสต์) ปางเสน่หาในตัวสวามีเรียก “สตี” ปางปราบอสูรเรียก “ทุรคา” และปางล้างโลกเรียก “กาลี”
กาลี เมื่อแปลตรงตัวก็หมายถึง ผู้มีอำนาจเหนือกาลเวลา มักทำเป็นรูปเคารพในลักษณะเปลือย ผิวกายดำ น่าสยดสยอง
ในมือถือหัวอสูรที่นางกาลีต้องดื่มโลหิตให้หมด เพราะหากเลือดอสูรหยดลงสู่พื้นดินแม้เพียงหยาดเดียว
อสูรก็จักหวนกลับมาบังเกิดใหม่ในโลก ส่งผลให้นางทุรคาต้องเหนื่อยคอยปราบอีก

บางคนสันนิษฐานว่าที่มาของคำว่า “กะหรี่” อาจเป็นคำเดียวกันกับ “กาลี” ใช่หรือไม่
เจ้าแม่กาลีที่ชาวฮินดูเคารพกันนั้น แท้คือสัญลักษณ์ของการป้องกันภูติผีปีศาจ หาใช่สัญลักษณ์ของ “หญิงโหดโฉดช้า” ไม่
และความหมายที่แท้จริงของหญิงขายบริการนั้น ก็ถูกเรียกว่า “หญิงงามเมือง” หรือ “หญิงนครโสเภณี” อันเป็นความหมายในเชิงงดงาม
ซึ่งแตกต่างจาก “กาลี” โดยสิ้นเชิง เป็นอันว่า “กะหรี่” นอกจากจะไม่ใช่ “Kari” แล้ว ยังไม่เกี่ยวข้องกับ “Kali” อีกด้วย



ถ้าเช่นนั้น “กะหรี่” มาจากไหน

จากโรง “รับจ้างทำชำเราแก่บุรุษ” ถึงวาทกรรม “กะหรี่” กับ “การเมือง”
ข้อสันนิษฐานที่ราชบัณฑิตท่านหนึ่ง คืออาจารย์จำนงค์ ทองประเสิรฐ เสนอไว้ เห็นว่า “กะหรี่” น่าจะแผลงมาจาก “ช็อกกะรี”
ของภาษาฮินดี ที่ใช้เรียกเด็กผู้หญิงว่า “โฉกกฬี” (Chokari) และเรียกเด็กผู้ชายว่า “ช็อกกะรา” หรือ “โฉกกฬา” (Chokara)
การเรียกหญิงโสเภณีว่า “โฉกกฬี” หรือ “ช็อกกะรี” นั้น น่าจะเป็นทำนองเดียวกันกับที่มีการเรียกหญิงบริการ
อย่างหยอกเย้าว่า “อีหนู” นั่นเอง คำเรียก “อีหนู” ด้วยคำว่า “โฉกกฬี” หรือ “ช็อกการี” แล้วแผลงเป็น “กะหรี่” ในภาษาไทยนั้น
เข้ามาได้อย่างไร และมีตั้งแต่เมื่อไหร่ ยังไม่มีนักภาษาศาสตร์คนไหนระบุคำตอบแน่ชัด แต่คิดว่าไม่เกินศตวรรษที่ผ่านมา
ทว่าเรื่องราวของ “หญิงนครโสเภณี” นั้นปรากฏขึ้นบนแผ่นดินสยามนานเกือบ 600 ปีแล้วตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น
ดังระบุไว้ในกฎหมายตราสามดวง ได้กล่าวถึง “หญิงนครโสเภณี” หลายตอน อาทิระบุว่า หญิงนครโสเภณีนั้นถือเอาเป็นพยาน
เวลาขึ้นศาลมิได้ มีค่าเทียบได้กับคนหูหนวก คนตาบอด เป็นโจร คนเป็นนักเลงบ่อนเบี้ยเลยทีเดียว พูดให้ง่ายก็คือ
คนชายขอบดีๆ นี่เอง หรืออีกแห่งกล่าวถึง “มาตราหนึ่ง ชายใดสู่ขอเอาหญิงคนขับ คนรำ เที่ยวขอทานเลี้ยงชีวิต
แลหญิงนครโสเภณีมาเลี้ยงเป็นเมีย ทำชั่วเหนือผัวก็ดี ทำชู้เหนือผัวก็ดี ผัวรู้ด้วยประการใดๆ พิจารณาเป็นสัจไซร้
ท่านให้ผจาน (ประจาน) หญิงชายนี้ด้วยไถนา ส่วนหญิงอันร้ายนั้น ให้เอาเฉลวปะหน้าทัดดอกชบาแดงทั้งสองหู
ร้อยดอกชบาแดงเป็นมาลัยใส่ศีรษะ แล้วให้เอาหญิงนั้นเทียมแอกข้างหนึ่ง ฝ่ายชายเทียมแอกอีกข้างหนึ่ง ผจานด้วยไถนาสามวัน
ถ้าแลชายผัวผู้นั้นยังรักเมียอยู่มิให้ผจานไซร้ ท่านให้เอาชายชู้ผัวนั้นเข้าเทียมแอกข้างหนึ่ง หญิงข้างหนึ่ง อย่าให้ปรับไหมชายชู้นั้นเลย”
เห็นได้ชัดว่า ตั้งแต่ไหนแต่ไรมาแล้ว “สถานะทางสังคม” ของหญิงขายบริการนั้นถูกกดขี่เหยียดหยามให้กลายเป็นพลเมืองชั้นล่างสุด
แม้แต่ “เมื่อริจะมีรัก มีผัวเป็นตัวเป็นตน” วิถีชีวิตก็ไม่อาจดำรงได้อย่างปกติธรรมดา กลับถูกจับผิดทุกฝีก้าว ห้ามทำอะไรตามใจตัวเอง
ต้องทนเป็นทาสผัวทั้งชีวิตว่างั้นเถอะ

ในจดหมายเหตุของราชทูต เดอ ลาลูแบร์ สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ช่วงอยุธยาตอนปลาย พรรณนาถึงที่ตั้งโรงหญิงนครโสเภณี
ว่ามีหลักแหล่งอยู่นอกเขตพระนคร คือที่ท้ายตลาดบ้านจีนปากคลองขุนละครไชย มีโรงหญิงนครโสเภณีตั้งอยู่ถึง 4 โรง
ประกาศชื่อหน้าโรงว่า “รับจ้างทำชำเราแก่บุรุษ” โรงเหล่านี้ต้องจ่าย “อากรโสเภณี” ส่งคลังหลวงทุกปี- แสดงว่ามีลูกค้าและรายได้ดีมาก
ข้อสำคัญเป็นกิจการที่ถูกต้องตามกฎหมาย






บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 84.0.4147.135 Chrome 84.0.4147.135


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 04 กันยายน 2563 21:46:08 »




เครดิตภาพจากหนังสือ “อยุธยา” ของ ศ. ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ


ล่วงมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ หลังจากเก็บกิน “อากรโสเภณี” สืบเนื่องต่อจากสมัยอยุธยากันจนเป็นล่ำเป็นสันแล้ว
นโยบายเกี่ยวกับการค้าประเวณีของไทยก็เพิ่งจะเริ่มขึ้นอย่างเป็นกิจจะลักษณะ ในสมัยรัชกาลที่ 5 ตามรูปแบบที่รับอิทธิพล
มาจากสังคมตะวันตก ภายใต้ชื่อ “พระราชบัญญัติป้องกันสัญจรโรค รัตนโกสินทร์ศก 127” มีสาระสำคัญอยู่ 5 ข้อหลักๆ คือ

1) หญิงนครโสเภณีให้เป็นได้แต่โดยใจสมัคร ใครจะบังคับหรือล่อลวงมามิได้
2) ต้องเสียค่าธรรมเนียมสำหรับใบอนุญาตราคาสิบสองบาท มีอายุสามเดือนต่อใบ (ถือว่าแพงลิบลิ่วมากในสมัยนั้น)
3) นายโรงหญิงนครโสเภณี (ที่ต่อมานิยมเรียกว่า “แม่เล้า”) ต้องเป็นผู้หญิงเท่านั้น เพื่อความสะดวกและปลอดภัยในการดูแลกันเอง
4) หญิงนครโสเภณีต้องไม่สร้างความรำคาญวุ่นวายแก่บุคคลภายนอก เช่น ฉุดลาก ยื้อแย่ง ล้อเลียน เป็นต้น
5) เจ้าพนักงานมีอำนาจเข้าไป เพื่อนำสมาชิกมาตรวจ ถ้าพบโรคก็ให้ส่งไปรักษาจนกว่าจะหาย แลอาจเพิกถอน
    หรือสั่งพักใช้ใบอนุญาต (น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของแมงดา?)

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ตั้งแต่ พ.ศ. 2492 ยุคจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นต้นมา รัฐบาลไทยได้ประกาศห้ามจัดตั้งสำนักโสเภณี
อย่างเด็ดขาด ตามแนวคิด “คืนคนดีศรีสังคม” เดินตามรอยองค์การสหประชาชาติ ซึ่งไทยก็เป็นรัฐภาคีแห่งอนุสัญญานี้
สุดท้าย นครโสเภณี ซึ่งแปลตรงตัวว่าหญิงงามเมือง หรือหญิงผู้ทำเมืองให้งาม แต่นิยมเรียกสั้นๆ ว่า “โสเภณี” นั้น
ได้สูญหายไปจากสังคมไทยเพราะเป็นอาชีพที่ผิดกฎหมาย

จาก “หญิงงามเมือง” ปัจจุบัน ได้มีการปรับเปลี่ยนคำเรียกตามสมัยนิยม ในยุคที่มีการเรียกร้องสิทธิมนุษยชน ให้ทุกๆ อาชีพนั้น
มีศักดิ์ศรีทัดเทียมกันจนกลายเป็น “ผู้ประกอบอาชีพขายบริการ” แม้ต้องอยู่ในสภาพแบบลับๆ ล่อๆ ก็ตามที

แต่วันดีคืนดี ก็ยังมีคนชอบแอบเกาะชายประโปรงของพวกเธอ ด้วยการขุดเอาสรรพนามที่ีแฝงไว้ซึ่งอาการเสียดเย้ย
แสร้งมาตีวัวกระทบคราด เปรียบเปรยว่าพวกเธอยังมีคุณค่าสูงส่งกว่่านักการเมืองที่เร่ขายตัว ดังที่เรียกว่า “กะหรี่การเมือง”


…โคมเขียว กะหรี่ อีตัว อีหนู ดอกทอง ชื่อเรียกแต่ละคำ
ล้วนเป็นภาพสะท้อนถึง “ระดับจิต” ของผู้เปล่งถ้อยเหล่านั้นชนิดล่อนจ้อน ว่าเขาเป็นคนระดับไหน










ที่มา : มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 11 - 17 สิงหาคม 2561
คอลัมน์ : ปริศนาโบราณคดี
ผู้เขียน : เพ็ญสุภา สุขคตะ
เผยแพร่ : วันเสาร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ.2561
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.222 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 24 มีนาคม 2567 16:34:09