[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 05:19:59 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: การตักบาตรเทโว  (อ่าน 531 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 992


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 85.0.4183.121 Chrome 85.0.4183.121


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 02 ตุลาคม 2563 10:22:28 »






การตักบาตรเทโว

การตักบาตรเทโวนี้เป็นการย้อนอดีต รำลึกถึงวันที่พระพุทธเจ้าทรงเสด็จจากสวรรค์ลงมา หลังจากที่ได้ประทับอยู่ ๓ เดือนด้วยกัน ความจริงแล้วพระพุทธเจ้าคือพระสรีระร่างกายของพระองค์นั้น ไม่ได้ไปสวรรค์ก็อยู่จำพรรษาในโลกนี้ แต่ตอนค่ำคืนทรงแสดงธรรมให้กับเทวดา ผ่านทางกระแสจิต จิตของพระพุทธเจ้านี้มีพลังที่สามารถที่จะติดต่อกับเทวดาทั้งหลายได้ ทรงแสดงธรรมให้กับพุทธมารดาที่ได้ไปเกิดเป็นเทวดา หลังจากที่ได้เสด็จสวรรคต ๗ วันหลังได้ประสูติพระพุทธเจ้าคือเจ้าชายสิทธัตถะ แล้วก็ถึงแก่กรรม ก็เสด็จสวรรคตไป พอพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ก็ทรงมีพลังจิตที่จะสามารถที่จะติดต่อกับเทวดาทั้งหลายได้ ก็เลยสามารถติดต่อกับพุทธมารดา จึงได้แสดงธรรมให้แก่พุทธมารดาและบรรดาเทวดาทั้งหลาย เป็นกิจวัตรประจำ

กิจวัตรของพระพุทธเจ้านี้ ๑ ใน ๕ กิจวัตรด้วยกันก็คือการแสดงธรรมให้กับเทวดา กิจวัตร ๕ ที่เรียกว่า พุทธกิจ ๕ นีมีอะไรบ้าง ก็ ๑ ตอนบ่าย อย่างตอนนี้ก็จะแสดงธรรมให้กับศรัทธาญาติโยม พอตอนค่ำก็แสดงธรรมก็จะแสดงธรรมให้กับภิกษุสามเณร ตอนดึกก็แสดงธรรมให้กับเทวดาหลังจากนั้น ก็ทรงพักอิริยาบถ พอตอนเช้าก่อนที่จะเสด็จออกบิณฑบาต โปรดสัตว์ ก็ทรงเล็งญาณดูว่า วันนี้จะทรงไปโปรดบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นกรณีพิเศษ แล้วก็ทรงออกบิณฑบาต นี่คือพุทธกิจ ๕ ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงบำเพ็ญมาอย่างต่อเนื่อง เป็นการโปรดสัตว์ เป็นการเผยแผ่ธรรมะคำสอนที่ประเสริฐ เลิศโลก ที่จะยังสัตว์โลกให้หลุดพ้นจากทุกข์ภัยอันตรายทั้งหลายทั้งปวงได้ อย่างพุทธมารดา หลังจากที่ได้ทรงศึกษาฟังเทศน์ฟังธรรมอยู่ ๑ พรรษา ก็สามารถบรรลุเป็นพระโสดาบันได้

การเป็นพระโสดาบันก็จะทำให้เห็นความจริง เห็นความจริงว่าจิตนี้เป็นของไม่ตาย จิตนี้เป็นผู้สร้างบุญสร้างบาป แล้วก็จิตนี้เป็นผู้ที่จะต้องรับผลบุญผลบาปที่จะตามมาต่อไป ถ้าทำบาปก็ต้องไปใช้บาปใช้กรรมในอบาย เช่น ไปเกิดเป็นเดรัจฉานบ้าง เป็นเปรตบ้าง เป็นอสูรกายบ้าง เป็นสัตว์นรกบ้าง ถ้าทำบุญก็จะไปเกิดบนสวรรค์บ้าง เป็นมนุษย์บ้าง ถ้าได้บำเพ็ญจิตตภาวนาทำจิตให้สงบก็จะได้ไปเกิดสวรรค์ชั้นพรหม แล้วถ้าได้เจริญวิปัสสนา ได้เจริญปัญญามีดวงตาเห็นธรรมเป็นพระอริยบุคคลขั้นต่างๆ ก็จะได้บรรลุมรรคผล นิพพาน ได้หลุดพ้นจากความทุกข์ต่างๆ ตามลำดับ นับตั้งแต่ขั้นแรกถึงขั้นสุดท้าย พระโสดาบันก็หลุดพ้นจากความทุกข์ที่เกี่ยวกับเรื่องของร่างกาย คือความแก่ ความเจ็บ ความตาย พระสกิทาคามี ก็ทำให้ความทุกข์ที่เกิดจากการมีกามารมณ์น้อยลงไป เบาบางลงไป พระอนาคามีก็จะหลุดพ้นจากความทุกข์ที่เกิดจากกามารมณ์ เพราะจะมีปัญญาเห็นความไม่สวยงามของร่างกาย ที่จะทำให้ไม่เกิดกามารมณ์ขึ้นมา หรือเวลาเกิดกามารมณ์ก็สามารถดับกามารมณ์นั้นได้ ไม่ต้องทุกข์ทรมานเหมือนกับผู้ที่ยังไม่มีปัญญา ยังไม่เห็นความไม่สวยงามของร่างกาย เวลาเกิดกามารมณ์แล้วจะเกิดความรู้สึกเศร้าสร้อยหงอยเหงา ว้าเหว่เปล่าเปลี่ยวเดียวดาย ต้องหาคู่มาร่วมหลับนอน ถึงจะทำให้ความว้าเหว่อ้างว้างเปล่าเปลี่ยนเดียวดายนั้นหายไปได้ แต่เป็นการหายเพียงชั่วคราว เพราะหลังจากนั้นไม่นาน กามารมณ์ก็จะเกิดขึ้นมาอีก ก็จะต้องหาคู่ครอง มาแก้เหงาอีก ก็จะเป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ เวลาใดที่เกิดกามารมณ์แล้วไม่สามารถหาคู่ครองมาแก้เหงาได้ เวลานั้นก็จะมีความเศร้าสร้อย หงอยเหงา ว้าเหว่ เดียวดาย มีความรู้สึกไม่อยากจะอยู่ไปในโลกนี้เลย แต่ถ้าได้เจริญอสุภะอยู่เรื่อยๆ พิจารณาความไม่สวยงามของร่างกายอยู่เรื่อยๆ เวลาเกิดกามารมณ์พอนึก ส่วนที่ไม่สวยไม่งามของร่างกาย กามารมณ์นั้นก็ดับไป ความทุกข์ที่เกิดจากกามารมณ์ก็จะหายไป ก็จะอยู่ตามปกติได้ อยู่ตามลำพังได้ ไม่ต้องมีเพื่อนไม่ต้องมีแฟน ไม่ต้องมีสามีไม่ต้องมีภรรยา นี่ก็เป็นความทุกข์ที่ขั้นที่ ๓

ส่วนความทุกข์ขั้นที่ ๔ ก็คือความทุกข์ที่เกิดจากการถือเนื้อถือตัว อัตตาตัวตน ถือว่าตนใหญ่กว่าเขาบ้าง เท่าเขาบ้าง เล็กกว่าเขาบ้าง ความรู้สึกเหล่านี้จะไม่มีในใจของพระอรหันต์ พระอรหันต์นี้จะรู้ทันความคิด ว่ามีตัวมีตนว่าเป็นเพียงความคิด ไม่ใช่เป็นความจริง ความจริงแล้วจิตไม่ใช่ตัวตน จิตเป็นเพียงตัวรู้หรือผู้รู้เท่านั้น มีหน้าที่คือสักแต่ว่ารู้ เห็นอะไรก็รู้ ใครเขาจะยกย่องสรรเสริญก็รู้ ใครเขาจะดูถูกเหยียดหยามก็รู้ แต่จะไม่มีตัวตนออกไปรับว่า เขาดูถูกเรา เขากลั่นแกล้งเรา เพียงแต่เป็นผู้รู้เฉยๆ สักแต่ว่ารู้ การที่จะทำให้ใจให้เป็นสักแต่ว่ารู้ได้ ก็ต้องฝึกทำสมาธิให้มากๆ ทำใจให้รวมลงเป็นอุเบกขา รวมลงเป็นหนึ่ง เป็นเอกัคคตารมณ์เป็นหนึ่ง สักแต่ว่ารู้ อันนี้แหละเป็นสถานภาพที่แท้จริงของจิตก็คือ ผู้รู้เฉยๆ ตอนที่จิตสงบนั้น ผู้ที่ปรุงเเต่งว่ามีตัวมีตนนั้นสงบตัวลงไป คือ สังขารความคิดปรุงเเต่ง เวลาจิตสงบแล้วสังขารความคิดปรุงเเต่งก็จะไม่ได้คิดว่า นี่คือตัวเรา นี่คือของเรา จะมีแต่ตัวรู้ รู้อยู่เฉยๆ เท่านั้น ตัวรู้นี้จะไม่เดือดร้อนเวลาที่สัมผัสรับรู้กับเรื่องราวต่างๆ ไม่ว่าจะดีหรือชั่ว จะรู้สึกเฉยๆ เป็นอุเบกขา

วิธีที่จะรักษาความเป็นอุเบกขาของตัวรู้นี้ได้ เวลาออกจากสมาธิมาแล้ว ก็ต้องใช้ปัญญาเป็นผู้คอยสอน คอยสอนคอยเตือนใจว่าเราเป็นเพียงผู้รู้เท่านั้น เราเป็นเหมือนคนดูภาพยนต์เท่านั้น ร่างกายนี้เป็นเหมือนตัวละครอยู่บนจอภาพยนต์ เราอย่าไปหลงยึดติดกับร่างกายว่าเป็นตัวเรา เราเพียงแต่เป็นผู้มาดูร่างกายนี้ว่ากำลังทำอะไรอยู่ กำลังรับผลดีหรือรับผลชั่วอยู่ เวลาร่างกายมีความสุขก็รู้ว่าร่างกายมีความสุข เวลาร่างกายมีความทุกข์ก็ให้รู้ว่ามีความทุกข์ เวลาร่างกายเกิดอะไรขึ้นมาก็ให้รับรู้ไป ถ้าช่วยเหลือร่างกายให้พ้นจากทุกข์จากภัยได้ก็ช่วยไป ถ้าช่วยไม่ได้ก็ต้องปล่อยให้เป็นไปตามความจริงของร่างกาย คือไม่ว่าจะทำอย่างไรทำดีขนาดไหนต่อร่างกาย ก็ไม่หนีพ้นจากความแก่ของร่างกาย ความเจ็บของร่างกาย ความตายของร่างกายได้ แต่ใจผู้รู้ด้วยปัญญาจะรู้ว่าร่างกายนี้ไม่ใช่ใจ ร่างกายนี้เป็นเหมือนตัวละคร ส่วนใจนี้เป็นเหมือนผู้ดูละคร ผู้ดูละครกับผู้เล่นละครนี้เป็นคนละตัวกัน ผู้เล่นก็ปล่อยเขาเล่นไป เขาจะเล่นบทอะไรก็เป็นไปตามผู้กำกับของผู้เล่น ผู้กำกับของผู้เล่นก็คือบุญกรรมนี่เอง ที่ทำให้ร่างกายนี้เจริญบ้าง เสื่อมบ้างได้รับการพัฒนา ได้รับการถดถอยบ้าง คือชีวิตของร่างกาย เจริญลาภยศ สรรเสริญบ้าง เสื่อมลาภยศ สรรเสริญบ้าง อันนี้เป็นเรื่องของร่างกายเขา ใจก็เป็นเพียงแต่ผู้รู้เท่านั้นก็จะไม่เดือดร้อนกับการเจริญหรือกับการเสื่อมของร่างกาย ของส่วนที่มาเกี่ยวข้องกับร่างกาย คือลาภยศ สรรเสริญ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ

นี่คือใจของผู้ที่มีปัญญา ผู้ที่รู้ความจริง รู้ว่าร่างกายกับใจนี้เป็นคนละส่วนกัน รู้ว่าร่างกายนี้ทำมาจากดิน น้ำ ลม ไฟ มีอาการ ๓๒ เป็นส่วนประกอบ มีฐานะคือความแก่ ความเจ็บ ความตาย และก็มีการเจริญลาภยศ สรรเสริญ เจริญ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และก็มีการเสื่อมของลาภยศ สรรเสริญ ของรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เวลาร่างกายเจริญด้วยลาภยศ สรรเสริญ เจริญด้วยความสุขทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจก็ไม่ได้ตื่นเต้นดีอกดีใจ เพราะใจไม่ได้เป็นผู้เจริญไม่ได้เป็นผู้ได้รับความเจริญนี้แต่อย่างใด เวลาร่างกายเสื่อมจากลาภยศ สรรเสริญ เสื่อมจากความสุขทางตา หู จมูก ลิ้น กายไป ใจก็ไม่ได้เสื่อมไปกับร่างกายแต่อย่างใด ใจก็ยังเป็นเหมือนเดิมอยู่.



พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
วัดญาณสังวรารามฯ จังหวัดชลบุรี

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.346 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 14 มกราคม 2567 15:30:49