[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
03 กรกฎาคม 2568 12:19:57 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ความทรงจำนอกมิติ : จิตกับการรับรู้ อารมณ์ ความจำ ความคิดที่เข้าใจ  (อ่าน 6100 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5162


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 25 กรกฎาคม 2554 16:40:25 »



 บทความนี้ค่อนข้างยากสำหรับผู้เขียนที่ไม่ใช่ทั้งนักจิตวิทยาและนักปรัชญาที่คิดว่าน่าจะเกี่ยวข้องกัน นักจิตวิทยาที่ทุกวันนี้มาเกี่ยวกับฟิสิกส์ใหม่ที่เป็นวิทยาศาสตร์ยุคใหม่ที่น่าจะสัมพันธ์กับศาสนามากกว่าวิทยาศาสตร์ที่มีร่วม  500-700 ปีก่อน ของโคเปอร์นิกัส กาลิเลโอ หรือนิวตัน ที่หากคิดให้ลึกๆ แล้ว ผู้เขียนคิดและเชื่อมั่นว่าผิดความจริงทั้งหมดเลย หรือผิดธรรมชาติทั้งหมดเลย น่าสงสารแม็ตทีเรียลลิสต์หรือคนที่คิดว่าอะไรเป็นสสารวัตถุทั้งหมด และน่าสงสารคนไทยแทบจะทั้งชาติเลยว่าอีกสัก 10-20 ปี จากวันนี้จะทำหน้าอย่างไร? เมื่อรู้ว่าสสารวัตถุ (matter) ไม่ได้เป็นพื้นฐานของจักรวาลอีกต่อไป และเพราะ - เป็นผู้เขียนที่คิดเอาเอง - ว่ามันคงจะเกี่ยวกับจิตไร้สำนึกร่วมของจักรวาลโดยรวมทีเข้ามาอยู่ทุกๆ ที่ว่างในสมองของคนแต่ละคนเป็นปัจเจก และถูกบริหารจัดการโดยสมองให้เป็นจิตสำนึกหรือจิตรู้ของคนผู้นั้นๆ และต่อจากนั้นไปจะเป็นเรื่อง 4  ประการที่เกิดขึ้นตามมาเป็นกระบวนการหรือกรรมวิธีที่เชื่อมโยงต่อเนื่องกันที่รวดเร็วยิงกว่าสายฟ้าแลบ - ตามลำดับ 4 ประการที่จะเกิดตามลำดับคือ การรับรู้ (perception) จิตอารมณ์ (emotion) ความทรงจำ (memory) และความคิด  (thought) ทั้งหมดนอกจากอันแรก หรือการรับรู้ที่เป็นทั้งกายและทั้งจิตเป็น  “กระบวนการ” (process of mind) ที่ต่อเนืองและเกิดมีขึ้นตลอดเวลาในชีวิตประจำวันของมนุษย์ทุกๆ คน ที่อาโนลด์ มินเดล นักควอนตัมฟิสิกส์ที่เป็นนักจิตวิทยาด้วย เรียกว่ากระบวนการจิตหรือสนามที่รวมเป็นหนึ่ง (unified field)  เพียงแต่คนธรรมดาๆ ในปัจจุบันโดยทั่วไปมักจะคิดว่ามันเป็นปกติวิสัยของมนุษย์ที่จะไปคิดถึงกระบวนการจิตหรืออะไรที่ผู้เขียนหรือใคร - เล่าให้ฟังแล้ว มันได้ “ประโยชน์” อะไร? สู้คิดถึงเรื่องเงิน เงิน และเงินดีกว่า ถึงว่า - คนเราเกิดมาไม่เท่ากันจริงๆ             
           
เดวิด โบห์ม เป็นนักควอนตัมฟิสิกส์ที่มีชื่อเสียงมากจริงๆ คนหนึ่ง แถมเขายังมักตั้งตัวเองเป็นนักปรัชญาหรือนักจิตวิทยาที่เค็น วิลเบอร์ คงไม่ชอบเอามากๆ เพราะไม่เคยอ้างอิงในหนังสือเล่มไหนๆ ของเขาเลย ทั้งๆ ที่เดวิด โบห์ม  เป็นคนที่คิดและเขียนอธิบายองค์กรซ่อนเร้นตัวเอง (implicate order) ของจักรวาลที่สำคัญมากสำหรับผู้เขียนที่ให้ข้อมูลใหม่ในเรื่องจิต ว่าจิต (ไร้สำนึกหรือจิตจักรวาล หรือองค์กรซ่อนเร้นตัวเองที่ว่า) นั้น สามารถที่จะ “คลี่ขยาย”  (unfold) ความหมาย (meaning) - ซึ่งก็คือจิตรู้อีกแบบหนึ่งกับสสารวัตถุ  (matter) ซึ่งแตกต่างจากพุทธศาสนาเท่าที่ผู้เขียนรู้มา (มหายานและวัชรญาณ)  ซึ่งเท่าที่รู้เพราะตาไม่ดี จึงไม่สามารถอ่านใหม่เพื่อทดสอบซ้ำ จึงเขียนเท่าที่จำได้ ถ้าหากผิด-ถูกอย่างไรจะเอาทั้งตอนต่อไปนี้ออกไปก็ได้ ในจิตรามาส (mind  only school) บอกว่าจิตออกมาตั้งแต่ยังไม่มีจักรวาลใดๆ เลย เรียกว่าเป็นจิตปฐมภูมิ ซึ่งเกิดออกมาจากที่ว่างของอากาศ (ultimate space) ที่แยกออกมาจากพลังงานปฐมภูมิไม่ได้ ทั้ง 2 ออกมาเรียบร้อยแล้วถึงสสารวัตถุ (matter)  ตามออกมาจากที่ว่างอันสมบูรณ์นั้น พอมีชีวิตเกิดขึ้นในโลกจิตก็เปลี่ยนเป็นตัวรู้และเข้ามาอยู่ในสมองเป็นอาลัยวิญญาณ (store-house consciousness) ซึ่งทำงานเป็นกระบวนการ (process) คลี่ขยายและม้วนซ่อนเร้นเอาไว้ แต่ในองค์กรซ่อนเร้นตัวเองของเดวิด โบห์ม นั่น คลี่ขยายเอาความหมาย (meaning) ซึ่งก็คือตัวรู้อีกแบบหนึ่งอย่างที่ว่ามานั้น กับสสารวัตถุ (matter) เพราะองค์กรซ่อนเร้นตัวเองคลี่ขยายสสารวัตถุ (matter) จากที่ว่างอันสมบูรณ์ตั้งแต่แรก พร้อมๆ กับจิตรู้หรือจิตสำนึก (meaning) อันนี้เองที่ทำให้ผู้เขียนจึงเชื่อพุทธศาสนามากกว่าจะเชื่อเดวิด โบห์ม

แต่ว่าเดวิด โบห์ม นั้นเป็นนักฟิสิกส์ที่ยิ่งใหญ่จริงๆ มีนักฟิสิกส์เพียง 2  คนเท่านั้นที่ชมรมนักวิทยาศาสตร์เอาไปเทียบเคียงว่าเกือบจะยิ่งใหญ่เท่าๆ กับไอน์สไตน์ตอนที่เขาตายไปแล้ว หนึ่งในนั้นก็คือเดวิด โบห์ม นั่นเองที่นักฟิสิกส์ตั้งฉายาว่าเป็นตัวแทนของไอน์สไตน์ อีกคนหนึ่งคือสตีเฟน ฮอว์กิ้ง ที่ถูกตั้งฉายาว่าเป็นทายาทของไอน์สไตน์ แต่เดวิด โบห์ม นั้น แม้เขาจะคิดว่าความรู้หรือความคิดเป็นกระบวนการก็จริง แต่ทว่าความรู้นั้นจะคงอยู่ได้และก่อความคิดได้ (โดยไม่พูดถึงจินตนาการเลย) โดยความรู้ก็ถูก “ใช้” เสมือนความคิดทั้งสิ้น (David Bohm : Wholeness and Implicate Order, 1981)

เรามักคุ้นกับความจริงตามที่ตาของเรามองเห็นว่า “มันตั้งอยู่ข้างนอกนั่นไง” ซึ่งเป็นความจริงตามที่ตาเห็น ซึ่งผู้เขียน - ตามที่คนทั่วๆ ไปเรียกกัน -  ใช้คำว่าความจริงทางโลก (objective fact) ที่ปัจจุบันนี้แม้ในทางตะวันออกเอง การมองเห็นด้วย “ตาใน” (subjective fact) หรือผู้สังเกตก็ไม่ค่อยมีใครเอามาคิด  เพราะมันผิดธรรมชาติ ทุกวันนี้ ป่าจริงๆ แม้แต่ต้นไม้ใหญ่อายุเป็นร้อยเป็นพันปีมันมีน้อยลงมากๆ จนทางการเขาประกาศให้รางวัลของภาพการถ่ายรูปต้นไม้ใหญ่กันในประเทศไทย เพราะป่าไม้และต้นไม้หรือทุกสิ่งทุกอย่าง ถูกตีค่าตีราคาเป็นเงิน เพราะฉะนั้นความสัมพันธ์ต่อกันและกัน หรือจะพูดให้ถูกต้องว่า  ปฏิกิริยาระหว่างกัน (interaction) ระหว่างทั้งสอง หรือสิ่งที่จะถูกสังเกตกับผู้สังเกต หรือการรับรู้ (perception) “ที่แท้จริง” เป็นอย่างไร? ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ง่ายเลย เพราะมันเป็น “กระบวนการ” ที่ไหลเลื่อนเคลื่อนที่ และเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องถึงระดับต่างๆ ของจิตอันละเอียดสุดละเอียด ผูกพันกับเรื่องถึง 3 เรื่อง คือ  1.การรับรู้อันเป็นความรู้สึกที่ซับซ้อน - ทั้งรูปร่างกายภาพ (physical) และทั้งจิตกับพลังงานปฐมภูมิ ซึ่งแยกออกจากกันไม่ได้ เกี่ยวข้องผูกพันต่อไปกับเรื่องที่  2.เรื่องของอารมณ์ ความจำ และสติปัญญาความฉลาด (intelligence) ซึ่งเป็นเรื่องของจิตรู้หรือความคิดนั่นเอง กับ 3.เรื่องของการรับรู้ยังสัมพันธ์กับเรื่องของความหมาย (meaning) ดังได้บอกข้างบนแล้วว่า แม้ว่าเรื่องนี้จะอธิบายโดยเดวิด โบห์ม ที่บอกว่าผู้เขียนเชื่อพุทธศาสนามากกว่า แต่ที่ยังคงสงสัยเดวิด โบห์ม ก็เพราะเรื่องขององค์กรซ่อนเร้นตัวเอง (implicate order) ที่เดวิด โบห์ม บอกว่า  สสารวัตถุ (matter) คลี่ขยายออกมาจากองค์กรซ่อนตัวเองนั้นทั้งหมด เดวิด  โบห์ม บอกว่าเป็นกระบวนการที่เชื่อมโยงต่อเนื่องกัน และที่รวดเร็วกว่าสายฟ้าแลบมากนัก

แท้ที่จริงวิทยาศาสตร์แห่งยุคใหม่ ทั้งทฤษฎีสัมพันธภาพของไอน์สไตน์  และโดยเฉพาะควอนตัมเม็คคานิกส์ให้ความสำคัญอย่างมากกับการสังเกต  เพราะการรับรู้โดยการสังเกตเพียงประเด็นเดียวที่ทำให้ความคิด ความจำ  อารมณ์ และข้อมูลสติปัญญาความฉลาด หรือความคิดก่อประกอบขึ้นมา - โดยอาศัยความจำเป็นส่วนใหญ่และอาศัยอารมณ์เป็นครั้งคราวในคนปกติธรรมดา -  เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ปฏิกิริยาระหว่างผู้สังเกตและสิ่งที่ถูกสังเกต (interaction of observer and observed) อย่างที่บอกไว้ว่ายากสำหรับผู้เขียน เพราะไม่เข้าใจอย่างละเอียดนัก แต่ทางควอนตัมเม็คคานิกส์ และทฤษฎีสัมพันธภาพของไอน์สไตน์อธิบายว่า - ตรงกับทางพุทธศาสนา โดยที่ผู้ทำสมาธิ - เหมือนกับเรายืนอยู่กับพื้นดิน และมองเห็นต้นไม้ 2 ต้นที่ดูว่าอยู่ห่างจากกัน  แต่ถ้าหากเราขุดพื้นดินไปดู (หรือดำดินไปดู) ก็จะพบว่ารากของต้นไม้ทั้ง 2 นั้นมีการพัวพันกันอย่างอีนุงตุงนัง มันเป็นปัญหาของที่ว่าง - เวลา (space-time)  ต่างหากที่การสังเกตของเรา และการไหลเลื่อนเคลื่อนที่ของเวลากระทำต่อเรา  ทำให้การสังเกตของเราเห็นเป็นเช่นนั้น (Arnold Mindel : Quantum Mind,  2000) การอธิบายที่เข้าใจลำบากยากกว่าการไม่อธิบายเลย

ถึงอยากจะพูดซ้ำที่ไอน์สไตน์ได้พูดในทำนองว่าเขาเชื่อในจินตนาการมากที่สุด แต่ไม่เชื่อในความรู้ (Knowledge) เพราะว่าความรู้นั้นจำกัดจำเขี่ยมาก  แต่จินตนาการนั้นได้กอดโลกเอาไว้ ที่เอาคำพูดของไอน์สไตน์ขึ้นมา เพราะผู้เขียนเข้าใจว่า เดวิด โบห์ม เอาการ “ใช้” ความรู้กับความคิดเป็นประหนึ่งเดียวกัน.

http://www.thaipost.net/sunday/240711/42213

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.325 วินาที กับ 29 คำสั่ง

Google visited last this page 30 มิถุนายน 2568 19:58:56