[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
19 เมษายน 2567 21:12:27 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ต้นเค้าพระธุดงคกรรมฐาน สายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต  (อ่าน 498 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5444


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 01 พฤศจิกายน 2563 14:34:00 »



ต้นเค้าพระธุดงคกรรมฐาน
สายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

"พระป่า" หรือ "พระธุดงคกรรมฐาน" สายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต มีต้นเค้าดั้งเดิม ประมาณว่า เริ่มแต่พระอาจารย์สีทา ชัยเสโน อดีตเจ้าอาวาสวัดบูรพา อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี  สำหรับพระเถระผู้มีบทบาทในการสร้างหลักปักธงชัยพระกรรมฐานในแผ่นดินที่ราบสูงแดนอีสาน ได้แก่ ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) วัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ   หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล วัดเลียบ อุบลราชธานี และ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ซึ่งกาลต่อมาท่านได้ให้การอบรมสั่งสมบารมีธรรมแก่พระภิกษุสามเณรจนมีศิษย์เป็นพระธุดงคกรรมฐานผู้ทรงคุณธรรม สัมมาปฏิบัติ ออกจาริกธุดงค์เผยแผ่ธรรมนำศรัทธาสาธุชนได้ผลดีเป็นอันมากต่อกิจการงานพระศาสนาสร้างสำนักป่า วัดวา ศาสนสถานในพระพุทธศาสนา ตามแบบที่เรียกว่า "วัดป่า" ที่เน้นธรรมชาติ ความเรียบง่าย สะอาด สงบ สว่างด้วยแสงธรรม

พระสายนี้ ชาวบ้านศรัทธาเรียกว่า พระธุดงคกรรมฐาน หรือ พระป่าสายท่านพระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต ซึ่งดำเนินปฏิปทาตามแนวพ่อแม่ครูอาจารย์  

พระป่าพระธุดงคกรรมฐานจะปฏิบัติต่อครูอาจารย์ที่เรียกท่านด้วยความเคารพอย่างสูงว่า "พ่อแม่ครูอาจารย์" ด้วยความเคารพนับถือดุจบิดรมารดาและครูอาจารย์ ผู้เป็นพ่อแม่ ครูอาจารย์ ก็จะปกครองอบรมดูแลลูกศิษย์ด้วยความเมตตาดุจพ่อแม่ แลครูอาจารย์เช่นกัน

ประมาณปี พ.ศ.๒๔๕๙ เป็นต้นมา พระป่าสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เริ่มทยอยเพิ่มจำนวนมากขึ้น ขยายงานการเผยแผ่ในภาคอีสาน โดยเฉพาะทางจังหวัดอุดรธานี หนองคาย นครพนม สกลนคร อุบลราชธานี  นครราชสีมา ขอนแก่น และตามภูมิภาคต่างๆ ที่รังสีธรรมแห่งกองทัพธรรมพระกรรมฐานสายท่านพระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต ได้แผ่ไปถึง

พระป่าทุกองค์จะต้องรักษาศีลอย่างบริสุทธิ์ในกระบวนไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา

ศีล เป็นข้อที่ง่ายที่สุดและเท่ากับเป็นเครื่องทดสอบสมณะเพศ เพราะการรักษาศีลต้องการศรัทธา ความตั้งใจ ถ้าผู้ใดรักษาศีลให้บริสุทธิ์ไม่ได้ ก็อย่าหวังเลยที่จะก้าวหน้าในทางธรรมชั้นสูง

พระธุดงคกรรมฐาน หรือพระป่าสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต แต่ละรูปตามประวัติได้เคยบุกป่าฝ่าดงไปตามป่าเขา เผชิญกับสิงสาราสัตว์ที่ดุร้าย ผจญกับภัยธรรมชาติและมนุษย์ที่ตั้งตนเป็นศัตรู แต่ด้วยศีลที่บริสุทธิ์ของท่านได้เป็นเกราะแก้วคุ้มกันพิทักษ์รักษาพระคุณเจ้า ประสพสวัสดิภาพด้วยดีด้วยศีล ด้วยบุญกุศล

พระป่าสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เป็นพระสุปฏิปันโนที่มีปฏิปทา คือข้อวัตรข้อปฏิบัติต่างๆ ที่น่าเลื่อมใสศรัทธา เป็นปฏิปทาที่ทำได้ไม่ง่าย เพราะเป็นปฏิปทาที่ทวนกระแสโลก ทั้งทางกาย วาจา และใจ ซึ่งหลักปฏิปทานี้ คือ ธุดงควัตร ๑๓ ขันธวัตร ๑๔ เป็นเครื่องบำเพ็ญทางกาย และมีกรรมฐาน ๔๐ เป็นเครื่องบำเพ็ญทางใจสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันไปในอริยาบทต่างๆ ของความเพียร ทั้งนี้เพราะธุดงควัตร ๑๓ และวัตรต่างๆ ตลอดจนกรรมฐานทั้งมวลล้วนเป็นธรรม เครื่องอบรมบ่มนิสัยที่ติดกายมาตั้งแต่ครั้งเป็นฆราวาสและเป็นธรรมที่จะทำลายล้างข้าศึกภายในใจ คือกิเลสตัณหาให้หมดสิ้นไป  

การถือธุดงค์ของพระป่าพระธุดงคกรรมฐาน เป็นเจตนาที่แสดงออกเพื่อประหารกิเลสของตน เกี่ยวกับเรื่องเครื่องนุ่งห่ม อาหารการขบฉัน ที่อยู่อาศัย และความเพียรด้วยข้อปฏิบัติ "ธุดงควัตร"

ธุดงควัตร  ๑๓ คือ องค์คุณเครื่องกำจัดกิเลส เป็นชื่อข้อปฏิบัติประเภทวัตร ที่ผู้สมัครใจจะพึงสมาทานประพฤติได้ เป็นอุบายขัดเกลากิเลส ส่งเสริมความมักน้อยสันโดษ เป็นต้น มี ๑๓ ข้อ ได้แก่

๑. ถือการนุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร
๒. ถือการนุ่งห่มผ้าสามผืนเป็นวัตร
๓. ถือการบิณฑบาตเป็นวัตร
๔. ถือการบิณฑบาตไปโดยลำดับแถวเป็นวัตร
๕. ถือการฉันจังหันมื้อเดียวเป็นวัตร
๖. ถือการฉันในภาชนะเดียวคือฉันในบาตรเป็นวัตร
๗. ถือการห้ามภัตตาหารที่เขานำมาถวายภายหลังเป็นวัตร
๘. ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร
๙. ถือการอยู่โคนต้นไม้เป็นวัตร
๑๐. ถือการอยู่ที่อัพโภกาสที่แจ้งเป็นวัตร
๑๑.  ถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร
๑๒. ถือการอยู่ในเสนาสนะตามมีตามได้เป็นวัตร
๑๓.  ถือเนสัชชิกังคธุดงค์ คือการไม่เอนหลังลงนอนเป็นวัตร


ที่มา พระพุทธศาสนา

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ประวัติหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
พุทธประวัติ - ประวัติพระสาวก
หมีงงในพงหญ้า 8 7747 กระทู้ล่าสุด 04 มิถุนายน 2553 10:16:39
โดย เงาฝัน
คำสอนหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
ธรรมะจากพระอาจารย์
เงาฝัน 0 1532 กระทู้ล่าสุด 12 กันยายน 2555 21:13:44
โดย เงาฝัน
ตามรอยหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต จากสถานที่จริง
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
That's way 0 3031 กระทู้ล่าสุด 09 มกราคม 2557 09:18:21
โดย That's way
ความมหัศจรรย์ของพระแก้วมรกต โดย หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
เกร็ดศาสนา
【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪ 0 5120 กระทู้ล่าสุด 30 กรกฎาคม 2557 11:33:51
โดย 【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪
ประสบการณ์โลกทิพย์ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต « 1 2 »
สมถภาวนา - อภิญญาจิต
Maintenence 23 64357 กระทู้ล่าสุด 11 กุมภาพันธ์ 2558 12:12:32
โดย Maintenence
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.312 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 11 เมษายน 2567 19:07:32