[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
26 เมษายน 2567 10:41:54 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า:  1 [2] 3   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ภาพพุทธประวัติ โดย อ.คำนวน ชานันโท สุดยอด พุทธจิตรกร  (อ่าน 61870 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 5.0 Firefox 5.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #20 เมื่อ: 31 กรกฎาคม 2554 07:11:08 »



http://i883.photobucket.com/albums/ac40/42tong/thita/buddha012.jpg
ภาพพุทธประวัติ โดย อ.คำนวน ชานันโท สุดยอด พุทธจิตรกร


buddha012 ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา

ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา (การกระทำที่ทำได้ยากยิ่ง) คือทรงผ่อนพระกระยาหารลงตามลำดับจนไม่เสวยอะไรเลย พระวรกายผ่ายผอม เหลือแต่หนังหุ้มกระดูก ด้วยหวังว่าจักทรงบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ
ทุกกรกิริยาเป็นพรตอย่างหนึ่งซึ่งนักบวชสมัยนั้นนิยมทำกัน มีตั้งแต่อย่างต่ำธรรมดา จนถึง
ขั้นอาการปางตายที่เกินวิสัยสามัญมนุษย์จะทำได้อย่างยิ่งยวด ปางตาย คือ กัดฟัน กลั้นลมหายใจเข้าออก
และอดอาหาร

พระมหาบุรุษทรงทดลองดูทุกอย่าง จนบางครั้ง เช่น คราวลดเสวยอาหารน้อยลงๆ จนถึง
งดเสวยเลย แทบสิ้นพระชนม์ พระกายซูบผอม พระโลมา (ขน) รากเน่าหลุดออกมา เหลือแต่หนังหุ้ม
กระดูก เวลาเสด็จดำเนินถึงกับซวนเซ

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 5.0 Firefox 5.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #21 เมื่อ: 31 กรกฎาคม 2554 07:15:12 »



http://i883.photobucket.com/albums/ac40/42tong/thita/buddha013.jpg
ภาพพุทธประวัติ โดย อ.คำนวน ชานันโท สุดยอด พุทธจิตรกร


buddha013 พระโคตมะตั้งสัจจะปฏิญาณว่า

“เราจะไม่ลุกจากที่นั่ง จนกว่าจะบรรลุซึ่งโมกขธรรม”
แต่ทันทีที่พระโคตรมะทรงประทับนั่งด้วยพระทัยแน่วแน่ หมู่มารปีศาจแห่งภาพลวงตาตัวเอง ก็รู้ถึงความตั้งใจของพระโคตมะ และกลัวว่าถ้าพระโคตรมะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ก็จะอยู่เหนือมาร ทันทีที่มืดค่ำมารก็ปรากฏตัวออกจากเงามืดทำทุกวิถีทาง เพื่อไม่ให้พระโคตมะบรรลุซึ่งโมกขธรรม

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 5.0 Firefox 5.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #22 เมื่อ: 31 กรกฎาคม 2554 07:17:45 »



http://i883.photobucket.com/albums/ac40/42tong/thita/buddha014.jpg
ภาพพุทธประวัติ โดย อ.คำนวน ชานันโท สุดยอด พุทธจิตรกร


buddha014
พระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงผจญกับเหล่าพวกพญามารทั้งหลาย พญามารได้ออกอุบายต่างๆ นานา เพื่อให้พระพุทธองค์ทรงเกิดกิเลสตัณหา แต่พระพุทธองค์ทรงไม่ยินดียินร้าย และในครั้งนั้นเองพระแม่ธรณีทรงแสดงปาฏิหาริย์ปราบเหล่าพญามารโดยทรงบีบมวยผมให้น้ำไหลออกมาท่วม พวกพญามารทั้งหลายให้พ่ายแพ้ไป

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 5.0 Firefox 5.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #23 เมื่อ: 31 กรกฎาคม 2554 07:23:31 »



http://i883.photobucket.com/albums/ac40/42tong/thita/buddha015.jpg
ภาพพุทธประวัติ โดย อ.คำนวน ชานันโท สุดยอด พุทธจิตรกร


buddha015 ตรัสรู้

พระโพธิสัตว์ทรงปฏิบัติตามมัชฌิมาปฏิปทา (ทางสายกลาง) ณ โคนต้นโพธิ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ได้ตรัสรู้อริยสัจ (ความจริงอันประเสริฐ) 4 ประการ ณ ย่ำรุ่งแห่งวันเพ็ญเดือน 6

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 5.0 Firefox 5.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #24 เมื่อ: 31 กรกฎาคม 2554 09:24:55 »


http://i883.photobucket.com/albums/ac40/42tong/thita/buddha016.jpg
ภาพพุทธประวัติ โดย อ.คำนวน ชานันโท สุดยอด พุทธจิตรกร


buddha016 พระพุทธเจ้าเสวยวิมุตติสุขและขับไล่ธิดามารทั้ง 3

เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ได้เสด็จประทับเสวยวิมุตติสุข บนรัตนบัลลังก์นั้นสิ้น 7 วัน
ครั้นล่วง 7 วันแล้ว จึงเสด็จลงจากรัตนบัลลังก์ ไปประทับอยู่ในทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ของต้นไม้มหาโพธิ์ จ้องพระเนตรดูไม้มหาโพธิ์ถึง 7 วัน สถานที่นั้นเรียกว่า อนิมิสเจดีย์

จากนั้น ทรงนิมิตรัตนจงกรมเจดีย์ เสด็จจงกรมในทิศเหนือแห่งไม้มหาโพธิ์ และทรงจงกรมอยู่ที่นี้อีก 7 วัน
ต่อมา พระพุทธองค์เสด็จไปประทับนั่ง ที่รัตนฆรเจดีย์ เรือนแก้ว ในทิศตะวันตก หรือทิศตะวันตกเฉียงเหนือ แห่งต้นไม้มหาโพธิ์ ซึ่งเทวดาเนรมิตถวาย ทรงพิจารณาพระอภิธรรมปิฎกตลอด 7 วัน

ต่อนั้น จึงเสด็จไปประทับยังร่มไทร ซึ่งเป็นที่อาศัยพักร่มของคนเลี้ยงแพะ อันมีนามว่า อชปาลนิโครธ
ครั้งนั้น พญาวัสวดีมาร มีความน้อยใจ ที่ต้องพ่ายแพ้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า อับอายแก่เทพเจ้าทั้งหลาย ที่ต้องยอมให้ พระสิทธัตถะ ล่วงพ้นจากวิสัยของตนไปได้ มีใจโทมนัส จึงหนีออกจากเทวโลก ลงมานั่งในทางใหญ่แห่งหนึ่ง
ขณะนั้น ธิดามารทั้ง 3 นาง คือ นางตัณหา นางราคา นางอรดี ไม่เห็นพญาวัสวดีมาร ผู้เป็นบิดาอยู่ในเทวโลก จึงส่องลงมาที่โลกมนุษย์ด้วยตาทิพย์ ก็เห็นบิดาไปนั่งอยู่ที่ทางใหญ่
นางมารทั้ง 3 จึงพากันมาหาพญาวัสวดีมาร แล้วทูลถามว่า พระบิดาทรงทุกข์ด้วยเหตุประการใด
พญามารก็แจ้งความจริงใจแก่ธิดาทั้ง 3 นั้น ธิดามารทั้ง 3 จึงทูลว่า พระบิดาอย่าทรงทุกข์ร้อนไปเลย ข้าพเจ้าทั้ง 3 จะรับอาสาไปทำพระสิทธัตถะให้อยู่ในอำนาจ แล้วจะนำมาถวายพระองค์ให้จงได้
พญามารจึงตรัสว่า ลูกเอ๋ย แต่นี้ไป ไม่มีผู้ใดจะสามารถทำพระสิทธัตถะ ให้อยู่ในอำนาจเสียแล้ว

ธิดามารก็แย้งว่า ข้าพเจ้าทั้ง 3 คงจะพันธนาการพระสิทธัตถะด้วยบ่วง มีราคะเป็นต้น ให้อยู่ได้ เพราะข้าพเจ้าเป็นสตรี จะพยายามไปผูก พระสิทธัตถะ มาให้จงได้ในกาลบัดนี้ พระองค์อย่าทรงวิตกไปเลย
แล้วนางมารทั้ง 3 ก็ทูลลาพระบิดาเข้ามาใกล้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งประทับนั่งอยู่ที่ร่มไม้อชปาลนิโครธ แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาสมณะ หม่อมฉันจะบำเรอพระยุคลบาทของพระองค์ถวาย
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า มิได้เอาใจใส่ในถ้อยคำของธิดามารทั้ง 3 นั้นเลย ทั้งมิได้ลืมตาขึ้นดูธิดามารทั้ง 3 ด้วยซ้ำ คงประทับนั่งนิ่งอยู่เป็นปกติ

นางมารก็คิดว่า ปกติแล้ว บุรุษย่อมมีความเสน่หาในสตรี ที่มีสรีระรูปผิวพรรณสัณฐานต่าง ๆ กัน แล้วต่างก็เนรมิตเป็นนางงามต่าง ๆ แสดงท่าทางโดยมุ่งหมาย จะให้เป็นที่ต้องพระทัยปรารถนา เข้าทูลเล้าโลมดุจกาลก่อน
แต่ครั้นเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มิได้ทรงตรัสประการใด ก็แสดงมายาหญิง โดยอาการพิลาศ ชำเลืองเนตร ฟ้อนรำ ขับร้องต่าง ๆ ทุกวิธีที่เห็นว่า จะคล้องจิตพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ แต่ก็ไม่สามารถ ทำให้จิตของพระพุทธองค์ผิดปกติ
ต่อมา พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงตรัสขับธิดามารว่า

“ธิดามารเอย เจ้าจงออกไปเสียให้พ้นจากที่นี้ เจ้าจะได้ประโยชน์อะไร ในการที่มาพยายามเล้าโลมตถาคต ด้วยทุกสิ่งที่เจ้ามุ่งหมายนั้น ตถาคตได้ทำลายเสียแล้ว เจ้าควรไปเล้าโลมบุรุษผู้มีราคะบริบูรณ์ เมื่อตถาคตไม่มีร่องรอยอะไรเลย แล้วจะนำตถาคตไปด้วยร่องรอยอะไร ไม่เป็นผลที่มุ่งหมายอันใดแก่เจ้าดอก จงออกไปเสีย
ทันใดนั้นเอง ด้วยอานุภาพของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บันดาลให้ร่างกายอันงามของธิดามารทั้ง 3 นาง ซึ่งไม่เชื่อฟังพระโอวาท พยายามออดอ้อนอิดเอื้อนอยู่อีก ได้กลับกลายร่างเป็นหญิงชรา น่าสังเวช นางทั้ง 3 เมื่อได้เห็นร่างกายของตนเปลี่ยนแปลงไปเช่นนั้น ก็ตกใจพากันหนี ออกจากที่นั้นทันที และกล่าวแก่กันว่า เป็นความจริงดังพระบิดาของเรา ได้เตือนแล้วแต่แรกว่า ไม่มีใครที่จะมาทำพระสิทธัตถะ ให้อยู่ในอำนาจได้เลย แล้วก็อันตรธานไปจากที่นั้น

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 31 กรกฎาคม 2554 10:21:20 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 5.0 Firefox 5.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #25 เมื่อ: 31 กรกฎาคม 2554 10:29:46 »

http://i883.photobucket.com/albums/ac40/42tong/thita/buddha017.jpg
ภาพพุทธประวัติ โดย อ.คำนวน ชานันโท สุดยอด พุทธจิตรกร


buddha017 เสด็จประทับร่มไม้มุจจลินท์

พระพุทธเจ้าเสด็จไปนั่งขัดสมาธิที่ร่มไม้จิก อันมีนามว่า มุจจลินท์ อันตั้งอยู่ในทิศบูรพาหรือทิศอาคเนย์ แห่งไม้มหาโพธิ์ เสวยวิมุตติสุขอยู่ ณ ที่นั้นอีก 7 วัน

ช่วงนั้น ฝนตกพรำตลอด 7 วัน พญานาคนามว่า มุจจลินท์นาคราช มีอานุภาพมาก อยู่ที่สระโบกขรณี ใกล้ต้นมุจลินท์นั้น มีความเลื่อมใสในรูปพระพุทธเจ้า พร้อมด้วยพระรัศมีโอภาส อันงามกว่าเทวดาทั้งหลาย จึงเข้าไปใกล้ แล้วขดเข้าซึ่งขนดกาย แวดวงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ 7 รอบ และแผ่พังพานอันใหญ่ ป้องปกเบื้องบนพระเศียร มิให้ลมและฝน ถูกต้องพระกายพระผู้มีพระภาคเจ้า

ครั้งล่วง 7 วัน ฝนหายขาดแล้ว พญานาคก็คลายขนด จำแลงกายเป็นมานพ เข้าไปถวายอัญชลีหน้าพระพักตร์ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปล่งอุทานวาจาว่า

“ความสงัดเป็นสุข สำหรับบุคคลผู้เห็นธรรมแล้ว ยินดีอยู่ในที่สงัด รู้เห็นตามความเป็นจริง ความไม่เบียดเบียน คือความสำรวมในสัตว์ทั้งหลาย และความปราศจากความกำหนัด คือความล่วงกามทั้งหลายเสียได้ ด้วยประการทั้งปวง เป็นสุขในโลก ความนำอัสมิมานะ คือความถือตัวออกให้หมดไป เป็นสุขอย่างยิ่ง”
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 5.0 Firefox 5.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #26 เมื่อ: 31 กรกฎาคม 2554 10:32:26 »


http://i883.photobucket.com/albums/ac40/42tong/thita/buddha018.jpg
ภาพพุทธประวัติ โดย อ.คำนวน ชานันโท สุดยอด พุทธจิตรกร


buddha018 ท้าวสหัมบดีพรหม อาราธนาพระพุทธเจ้าให้แสดงธรรม

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 5.0 Firefox 5.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #27 เมื่อ: 31 กรกฎาคม 2554 10:34:14 »


http://i883.photobucket.com/albums/ac40/42tong/thita/buddha019.jpg
ภาพพุทธประวัติ โดย อ.คำนวน ชานันโท สุดยอด พุทธจิตรกร


buddha019 ทรงแสดงปฐมเทศนา

พระพุทธเจ้าทรงแสดง ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ว่าด้วยอริยสัจสี่ แก่ปัญจวัคคีย์ ณ ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี เป็นการแสดงธรรมครั้งแรก จึงเรียกว่า ปฐมเทศนา
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 5.0 Firefox 5.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #28 เมื่อ: 31 กรกฎาคม 2554 10:40:04 »



http://i883.photobucket.com/albums/ac40/42tong/thita/buddha020.jpg
ภาพพุทธประวัติ โดย อ.คำนวน ชานันโท สุดยอด พุทธจิตรกร


buddha020 โปรดยสกุลบุตร

สมัยนั้น มีมาณพคนหนึ่งชื่อ ยสะ เป็นบุตรชายของเศรษฐีในเมืองพาราณสีกับนางสุชาดา เป็นที่รักใคร่ของพ่อแม่ พ่อแม่ก็ทะนุถนอมอย่างแก้วตา มีชีวิตการเป็นอยู่คล้ายคลึงกับที่พระสิทธัตถโคตมะ คือพ่อแม่ได้ปลูกเรือนให้ ๓ ฤดู กล่าวคือ มีความสุขสบายที่สุด ได้รับการบำเรอด้วยดนตรี ล้วนแต่สตรีประโคมไม่มีบุรุษเจือปน
ค่ำวันหนึ่ง ยสกุลบุตรนอนหลับก่อน หมู่ชนบริวารหลับต่อภายหลัง แสงไฟยังตามสว่างอยู่ ยสกุลบุตรตื่นขึ้นกลางดึก เห็นหมู่ชนบริวารกำลังนอนหลับ มีอากัปกิริยาพิกลต่างๆ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความยินดีเหมือนเมื่อก่อน คือบางนางมีพิณตกอยู่รักแร้ บางนางมีตะโพนวางอยู่ที่คอ บางนางมีเปิงมางตกอยู่ที่อก บางนางสยายผม บางนางมีเขฬะไหล บางนางบ่นละเมอต่างๆ หมู่ชนบริวารเหล่านั้นปรากฏแก่ยสกุลบุตรดุจซากศพทิ้งอยู่ในป่าช้า
ครั้นยสกุลบุตรได้เห็นแล้วก็เกิดความสลดใจคิดเบื่อหน่ายมาก ถึงกับออกอุทานว่า”ที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอ” ทนดูอากัปกิริยาพิกลต่างๆนั้นไม่ได้ รำคาญใจ จึงสวมรองเท้าเดินออกจากประตูเมือง ตรงไปทางที่จะไปยังป่าอิสิปตนมฤคทายวัน โดยไม่รู้สึกตัวเองว่าไปถึงไหน แต่ก็รู้สึกว่าสบายใจ ก็เดินเรื่อยไปไม่หยุด

ในเวลานั้นจวนใกล้รุ่ง พระบรมศาสดาเสด็จจงกรมอยู่ในที่แจ้ง ทรงได้ยินเสียงยสกุลบุตรออกอุทานเช่นนั้น เดินมายังที่ใกล้ จึงตรัสเรียกยสกุลบุตรว่า “ยสะที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง ท่านจงมาที่นี่เถิด นั่งลงเถิด เราจักแสดงธรรมให้ฟัง“ ยสกุลบุตรได้ยินว่า “ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง” มีความพอใจ จึงถอดรองเท้าเข้าใกล้ ถวายบังคมแล้วนั่งที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระบรมศาสดาทรงตรัสอนุปุพพิกถาเทศนา คือ ถ้อยคำที่กล่าวโดยลำดับ ได้แก่ การพรรณนาทานกถา การให้ก่อน แล้วพรรณนาศีล ความรักษากายวาจาให้เรียบร้อยเป็นลำดับแห่งทาน พรรณนาสวรรค์ พรรณนาโทษของกามคุณ ที่บุคคลใคร่ ซึ่งความสุขไม่ยั่งยืน และพรรณนาอานิสงส์แห่งการออกจากกาม อันเป็นลำดับแห่งโทษของกามเรียกว่าเนกขัมมะ ฟอกจิตของยสกุลบุตรให้ปราศจากมลทินให้เป็นจิตสมควรรับธรรมเทศนา ให้เกิดดวงตาเห็นธรรมเหมือนผ้าที่ปราศจากมลทินควรแก่การได้รับน้ำย้อมฉะนั้น แล้วทรงแสดงอริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค เมื่อจบพระธรรมเทศนา ยสกุลบุตรได้ดวงตาเห็นธรรมพิเศษเป็นโสดาบุคคล

ฝ่ายมารดาของยสกุลบุตร ขึ้นไปบนเรือนในเวลาเช้า ไม่เห็นลูกชายจึงบอกแก่ท่านเศรษฐีผู้สามีให้ทราบ ท่านเศรษฐีใช้ให้คนไปตามหาทั้ง ๔ ทิศ ส่วนตนเองก็ออกเที่ยวหาด้วยบังเอิญไปในทางที่จะไปยังป่าอิสปตนมฤคทายวัน ได้เห็นรองเท้าของลูกชายตั้งอยู่ ณ ที่นั้นแล้วตามเข้าไปใกล้
ครั้นเศรษฐีเข้าไปถึงแล้ว พระบรมศาสดาได้ตรัสอนุปุพพิกถาเทศนาอริยสัจ ๔ ให้เศรษฐีได้เห็นธรรมแล้ว เศรษฐีทูลสรรเสริญธรรมเทศนาแล้วแสดงตนเป็นอุบาสกว่า “ข้าพเจ้าถึงพระองค์กับพระธรรมและภิกษุสงฆ์เป็นสรณะที่พึงระลึกที่นับถือ ขอพระองค์จงทรงจำข้าพเจ้าว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เศรษฐีเมืองพาราณสีนั้นได้เป็นอุบาสก อ้างพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ครบทั้ง ๓ สรณะ ก่อนกว่าชนทั้งปวงในโลก

ครั้งนั้นยสกุลบุตรได้พิจารณาภูมิธรรมที่พระบรมศาสดาตรัสสอนเศรษฐีผู้เป็นบิดาอีกวาระหนึ่ง จิตก็พ้นจากอาสวะไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน ท่านเศรษฐีผู้เป็นบิดายังไม่ทราบว่า ยสกุลบุตรมีอาสวะสิ้นแล้วจึงบอกความว่า “พ่อยสะ มารดาของเจ้าเศร้าโศก พิไรรำพัน เจ้าจงให้ชีวิตแก่มารดาของเจ้าเถิด” ยสกุลบุตรแลดูพระบรมศาสดา พระบรมศาสดาจึงตรัสแก่เศรษฐีให้ทราบว่า
ยสกุลบุตร ได้บรรลุพระอรหัตแล้ว ไม่ใช่ผู้ควรจะกลับไปครองเรืองอีก” เศรษฐีทูลสรรเสริญว่า “เป็นลาภของยสกุลบุตรแล้ว” และทูลอาราธนาพระบรมศาสดา กับยสกุลบุตรเป็นผู้ตามเสด็จ เพื่อทรงรับภัตตาหารในเช้าวันนั้น ครั้นเศรษฐีทราบว่า พระบรมศาสดาทรงรับด้วยพระอาการดุษณีภาพแล้ว ก็ลุกจากที่นั่งแล้วถวายอภิวาท ทำประทักษิณ (คือเดินเวียนขวา) ๓ รอบ แล้วหลีกไปยังเรือนแห่งตน และแจ้งเรื่องทั้งหมดให้ภรรยาและสะใภ้ได้ทราบ พร้อมกับให้จัดอาหาร บิณฑบาตเช้า เพื่อถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วย

เมื่อเศรษฐีผู้บิดาทูลลาพระบรมศาสดากลับไป ไม่ช้ายสกุลบุตรจึงทูลขออุปสมบท พระบรมศาสดาทรงอนุญาต ประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทา ให้อุปสมบทด้วยพระวาจาว่า ”เอหิภิกขุ ท่านจงเป็นภิกษุเถิด ธรรมเรากล่าวดีแล้ว ท่านจงประพฤติพรหมจรรย์เถิด” เช่นเดียวกับที่ทรงประทานแก่ปัญจวัคคีย์ แต่ในที่นี้ไม่ตรัสว่า ”เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบ” เพราะพระยสะได้ถึงที่สุดแห่งทุกข์แล้ว คือเป็นพระอรหันต์เสียก่อนแล้ว สมัยนั้น ได้มีพระอรหันต์ขึ้นในโลกเป็น ๗ ทั้งพระยสะ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01 สิงหาคม 2554 20:44:28 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: จัดหน้าค่ะ » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 5.0 Firefox 5.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #29 เมื่อ: 31 กรกฎาคม 2554 10:43:22 »



http://i883.photobucket.com/albums/ac40/42tong/thita/buddha021.jpg
ภาพพุทธประวัติ โดย อ.คำนวน ชานันโท สุดยอด พุทธจิตรกร


buddha021 พระพุทธเจ้าแสดงธรรมโปรดชฎิล 3 พี่น้อง

ครั้นพระพุทธเจ้า ทรงส่งพระสาวกเหล่าภัททวัคคีย์ ไปประกาศพระศาสนาแล้ว ก็เสด็จตรงไปยังอุรุเวลาเสนานิคม ซึ่งตั้งอยู่ในเขตกรุงราชคฤห์ ซึ่งเป็นที่อยู่ของอุรุเวลกัสสปะ อาจารย์ใหญ่ของชฎิล 500 คน
กรุงราชคฤห์นั้น เป็นเมืองหลวงแห่งแคว้นมคธ ซึ่งเป็นมหาประเทศ พระเจ้าพิมพิสารมหาราช เป็นพระมหากษัตริย์ปกครองโดยสิทธิขาด เป็นเมืองที่คับคั่งด้วยผู้คน เจริญวิทยาความรู้ ตลอดการค้าขาย เป็นที่รวมอยู่แห่งบรรดาคณาจารย์ เจ้าลัทธิมากมายในสมัยนั้น

ในบรรดาคณาจารย์ใหญ่ ๆ นั้น ท่านอุรุเวลกัสสปะ เป็นคณาจารย์ใหญ่ผู้หนึ่ง ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของคนเป็นอันมาก ท่านอุรุเวลกัสสปะ เป็นนักบวชจำพวกชฎิล ท่านมีพี่น้องด้วยกัน 3 คน ออกบวชจากตระกูลกัสสปะโคตร
ท่านอุรุเวลกัสสปะ เป็นพี่ชายใหญ่ มีชฎิล 500 คนเป็นบริวาร ตั้งอาศรมสถานที่พนาสณฑ์ ตำบลอุรุเวลา ต้นแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลหนึ่ง จึงได้นามว่า อุรุเวลกัสสปะ น้องคนกลาง มีชฎิลบริวาร 300 คน ตั้งอาศรมอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ถัดเข้าไปอีกตำบลหนึ่ง จึงได้นามว่า นทีกัสสปะ ส่วนน้องคนเล็ก มีชฎิลบริวาร 200 ตั้งอาศรมอยู่คุ้งใต้แม่น้ำเนรัญชรานั้น ตำบลหนึ่ง ซึ่งมีนามว่า ตำบลคยาสีสะประเทศ จึงได้นามว่า คยากัสสปะ ชฎิลคณะนี้ทั้งหมด มีทิฏฐิหนักในการบูชาไฟ

พระพุทธเจ้าเสด็จไปถึงอาศรมของ ท่านอุรุเวลกัสสปะ ในเวลาเย็น จึงเสด็จตรงไปพบอุรุเวลกัสสปะทันที ทรงรับสั่งขอพักแรมด้วยสักหนึ่งคืน อุรุเวลสสปะรังเกียจทำอิดเอื้อน ไม่พอใจให้พัก เพราะเห็นพระพุทธเจ้า เป็นนักบวชต่างจากลัทธิของตน พูดบ่ายเบี่ยงว่า ไม่มีที่ให้พัก
ครั้นพระพุทธเจ้าตรัสขอพักที่โรงไฟ ซึ่งเป็นสถานที่บูชาไฟของชฎิล ด้วยเป็นที่ว่าง ไม่มีชฏิลอยู่อาศัย ทั้งเป็นที่อยู่ของนาคราชดุร้ายด้วย อุรุเวลกัสสปะได้ทูล ว่า พระองค์อย่าพอใจพักที่โรงไฟเลย เพราะเป็นที่อยู่ของพระยานาค ที่มีพิษร้ายแรง ทั้งดุร้ายที่สุด อาศัยอยู่ จะได้รับอันตรายจากนาคราชนั้น ให้ถึงอันตรายแก่ชีวิต
เมื่อพระพุทธเจ้ารับสั่งยืนยันว่า นาคราชนั้นจะไม่เบียดเบียนพระองค์เลย ถ้าท่านอุรุเวลกัสสปะ อนุญาตให้เข้าอยู่ ท่านอุรุเวลกัสสปะ จึงได้อนุญาตให้เข้าไปพักแรม

หลังจากนั้น พระพุทธเจ้า ก็เสด็จเข้าไปยังโรงไฟนั้น ประทับนั่งดำรงพระสติ ต่อพระกัมมัฏฐานภาวนา ฝ่ายพระยานาค เห็นพระพุทธเจ้า เสด็จเข้ามาประทับในที่นั้น ก็มีจิตคิดขึ้งเคียด จึงพ่นพิษตลบไป
ในลำดับนั้น พระพุทธเจ้าก็ทรงดำริว่า ควรที่เราจะแสดงอิทธานุภาพ ให้เป็นควันไปสัมผัสเนื้อหนังมังสา และเอ็นกระดูกแห่งพระยานาคนี้ ระงับเดชพระยานาคให้เหือดหาย แล้วทรงแสดงอภินิหารดังพระดำรินั้น
พระยานาคไม่อาจอดกลั้นความโกรธได้ ก็บังหวนพ่นพิษเป็นเพลิงพลุ่งโพลงขึ้น พระพุทธเจ้าก็สำแดงเตโชกสิณ บันดาลเปลวเพลิงรุ่งโรจน์โชติช่วง และเพลิงทั้ง 2 ฝ่ายก็บังเกิดขึ้นแสง แดงสว่าง ดุจเผาผลาญซึ่งโรงไฟให้เป็นเถ้าธุลี

ส่วนชฎิลทั้งหลาย ก็แวดล้อมรอบโรงไฟนั้น ต่างเจรจากันว่า พระสมณะนี้ มีสิริรูปงามยิ่งนัก เสียดายที่ท่านมาวอดวายเสีย ด้วยพิษแห่งพระยานาคในที่นั้น
ครั้นรุ่งเช้า พระพุทธเจ้า ก็กำจัดฤทธิ์เดชพระยานาคให้หมดไป บันดาลให้พระยานาคนั้น ขดกายลงในบาตร แล้วทรงสำแดงแก่อุรุเวลกัสสปะ ตรัสบอกว่า พระยานาคนี้สิ้นฤทธิ์เดชแล้ว
อุรุเวลกัสสปะเห็นดังนั้น ก็ดำริว่า พระสมณะนี้มี อานุภาพมาก ทำให้พระยานาคพ่ายแพ้ไปได้ แต่ว่าก็ไม่เป็นพระอรหันต์เหมือนเราเลย มีจิตเลื่อมใสในอิทธิปาฏิหาริย์ จึงกล่าวว่า ข้าแต่สมณะ นิมนต์พระผู้เป็นเจ้าอยู่ ณ อาศรมของข้าพเจ้าเถิด ข้าพเจ้าจะถวายภัตตาหาร ให้ฉันทุกวันเป็นนิตย์

พระพุทธเจ้า ก็เสด็จประทับยังพนาสณฑ์ตำบลหนึ่ง ใกล้อาศรมแห่งอุรุเวลกัสสปะนั้น ครั้นตกกลางคืน ท้าวจาตุมหาราชทั้ง 4 ก็เสด็จลงมาหาพระพุทธเจ้า ถวายอภิวาท และประดิษฐานยืนอยู่ใน 4 ทิศ มีแสงสว่างดุจกองเพลิงก่อไว้ทั้ง 4 ทิศ
ครั้นเวลาเช้า อุรุเวลกัสสปะ จึงเข้าไปหาพระพุทธเจ้าทูลว่า นิมนต์พระสมณะ ไปฉันภัตตาหารเถิด ข้าพเจ้าตกแต่งไว้ถวายเสร็จแล้ว แต่เมื่อคืนนี้ เห็นมีแสงสว่างไปทั่ว ใครมาสู่สำนักพระองค์ จึงปรากฏรุ่งเรืองในทิศทั้ง 4
พระพุทธเจ้าจึงตรัส บอกว่า ดูก่อน กัสสปะ นั้นคือ ท้าวจาตุมหาราชทั้ง 4 ลงมาสู่สำนักตถาคตเพื่อฟังธรรม
อุรุเวลกัสสปะได้สดับดังนั้น ก็ดำริว่า พระมหาสมณะองค์นี้ มีอานุภาพมาก ท้าวจาตุมหาราชยังลงมาสู่สำนัก ถึงกระนั้น ก็ยังมิได้เป็นพระอรหันต์เหมือนเรา

พระพุทธเจ้า เสด็จมากระทำภัตตกิจ เสวยภัตตาหารเสร็จแล้ว ก็เสด็จกลับมาสู่ที่พักในตอนกลางวัน
ตกกลางคืน ท้าวสหัสสนัย ก็ลงมาสู่สำนักพระพุทธเจ้า ถวายนมัสการ แล้วยืนอยู่ที่ควรข้างหนึ่ง เปล่งรัศมีสว่าง ดุจกองไฟใหญ่ สว่างยิ่งกว่าคืนก่อน
ครั้นเพลารุ่งเช้า อุรุเวลกัสสปะ ก็ไปหาพระพุทธเจ้า ทูลอาราธนาให้ฉันภัตตาหาร แล้วทูลถามว่า เมื่อคืนนี้ มีผู้ใดมาสู่สำนักพระองค์ จึงมีรัศมีสว่างยิ่งกว่าราตรีก่อน ตรัสบอกว่า ดูก่อน กัสสปะ เมื่อคืนนี้ท้าวสักกะ ลงมาสู่สำนักตถาคต เพื่อจะฟังธรรม
อุรุเวลกัสสปะได้ฟังดังนั้น ก็คิดเห็นเป็นอัศจรรย์ เหมือนครั้งก่อน
พระพุทธเจ้าเสด็จไปเสวยภัตตาหาร แล้วกลับมาอยู่ที่พักในเวลากลางวัน

ตกกลางคืน ท้าวสหัมบดีพรหม ก็ส่งมาสู่สำนักพระบรมศาสดา เปล่งแสงสว่างยิ่งขึ้นไปกว่า 2 คืนก่อนอีก
ครั้นรุ่งเช้าอุรุเวลกัสสปะ ก็ไปทูลอาราธนาฉันภัตตาหาร แล้วทูลถามอีก ตรัสตอบว่า คืนนี้ท้าวสหัมบดีพรหม ลงมาสู่สำนักตถาคต อุรุเวลกัสสปะ ก็ดำริดุจนัยก่อน พระพุทธเจ้าเสด็จไปเสวยภัตตาหาร แล้วก็กลับมาสู่สำนัก
ในวันรุ่งขึ้น มหายัญญลาภ บังเกิดขึ้นแก่อุรุเวลกัสสปะ คือชนชาวอังครัฐทั้งหลาย จะนำเอาข้าวปลาอาหารเป็นอันมาก มาถวายแก่อุรุเวลกัสสปะ จึงดำริแต่ในราตรีว่า รุ่งขึ้นพรุ่งนี้ มหาชนจะนำเอาข้าวปลาอาหารมาให้เรา หากพระสมณะรูปนี้ สำแดงอิทธิปาฏิหาริย์ ลาภสักการะ ก็จะบังเกิดแก่ท่านเป็นอันมาก เราจักเสื่อมสูญจากการสักการะบูชา ทำอย่างไร วันพรุ่งนี้ท่านจะไม่มาที่นี้ได้

พระพุทธเจ้าทรงทราบความคิดของ อุรุเวลกัสสปะ ด้วยเจโตปริยญาณ ครั้นรุ่งเช้า พระพุทธเจ้าก็เสด็จไปสู่อุตตรกุรุทวีป ทรงบิณฑบาตรได้ภัตตาหารแล้ว ก็เสด็จมากระทำภัตตกิจยังฝั่งอโนดาต แล้วทรงไปพักในที่นั้น
ตกเย็น พระพุทธเจ้าจึงเสด็จมาที่พักเดิม ครั้นรุ่งเช้า อุรุเวลกัสสปะ ไปทูลอาราธนาเสวยภัตตาหาร และทูลถามว่า
“เมื่อวานนี้ ท่านไปแสวงหาอาหารในที่ใด ไฉนไม่ไปสู่สำนักข้าพเจ้า ข้าพเจ้าระลึกถึงพระองค์อยู่”
พระพุทธเจ้าจึงตรัสถึง ความวิตกของอุรุเวลกัสสปะ นั้นให้แจ้งทุกประการ อุรุเวลกัสสปะได้ฟัง ตกใจคิดว่า พระมหาสมณะนี้ มีอานุภาพมากแท้ ท่านล่วงรู้จิตเราได้ขนาดนี้ แต่ยังไงเสีย ท่านก็ยังไม่เป็น พระอรหันต์ เหมือนเราอยู่ดี

ในกาลนั้น ผ้าบังสุกุลจีวรบังเกิดแก่พระพุทธเจ้า พระองค์เสด็จไปซักผ้าบังสุกุล ซึ่งห่อศพนางปุณณทาสี ที่ทอดทิ้งอยู่ในอามกสุสานะป่าช้าผีดิบ เมื่อพระพุทธเจ้า เป็นกษัตริย์ชาติตระกูลสูง ทรงตรัสรู้อนุตตรสัมโพธิญาณ เป็นพระสัมพุทธเจ้า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ เป็นโมลีของโลกเห็นปานนี้แล้ว ยังทรงลดพระองค์ลงมาซักผ้าขาว ที่ห่อศพนางปุณณทาสี ที่ทอดทิ้งอยู่ในป่าช้า เพื่อทรงใช้เป็นผ้าจีวรทรงเช่นนี้ เป็นกรณีที่สุดวิสัย ของเทวดาและมนุษย์ ซึ่งอยู่ในสถานะเช่นนั้นจะทำได้ ก็เกิดเหตุแผ่นดินไหวขึ้น เป็นเหตุอัศจรรย์ถึง 3 ครั้ง
ตลอดระยะทาง พระพุทธเจ้าทรงดำริว่า เราจะซักผ้าบังสุกุลนี้ในที่ใด? ขณะนั้น ท้าวสหัสสนัย ทรงทราบในพุทธปริวิตก จึงเสด็จลงมาขุดสระโบกขรณี ด้วยพระหัตถ์ในพื้นศิลา สำเร็จด้วยฤทธิ์ให้เต็มไปด้วยน้ำ
แล้วกราบทูลพระพุทธเจ้า ให้ทรงซักผ้าบังสุกุลในที่นั้น

ขณะที่พระพุทธเจ้าทรงซัก ก็ทรงดำริว่า จะทรงขยำในที่ใดดี ท้าวสหัสสนัย ก็นำเอาแผ่นศิลาใหญ่ เข้าไปถวาย ทรงขยำด้วยพระหัตถ์ จนหายกลิ่น 4 อสุภะ แล้วก็ทรงพระดำริว่า จะตากผ้าบังสุกุลจีวรในที่ใดดี ลำดับนั้นรุกขเทวดา ซึ่งสิงสถิตอยู่ ณ ไม้กุ่มบก ก็น้อมกิ่งไม้นั้นลงมา ถวายให้ทรงห้อยตากจีวร ครั้นทรงตากแล้ว พระพุทธเจ้าก็ทรงดำริว่า จะแผ่พับผ้าในที่ใด ท้าวสหัสสนัยก็ยกแผ่นศิลาอันใหญ่ มาทูลถวายให้แผ่พับผ้ามหาบังสุกุลนั้น
เช้าวันต่อมา อุรุเวลกัสสปะไปเฝ้าพระพุทธเจ้า เห็นสระและแผ่นศิลาทั้งสอง ซึ่งมิได้มีในที่นั้นมาก่อน และกิ่งไม้กุ่มน้อมลงมาเช่นนั้น จึงทูลถามพระบรมศาสดา ตรัสบอกความทั้งปวงให้ทราบ เมื่ออุรุเวลกัสสปะได้ฟัง ก็สะดุ้งตกใจคิดว่า พระสมณะองค์นี้ มีเดชานุภาพมากยิ่งนัก แม้แต่ท้าวสหัสสนัย ยังลงมาทำการรับใช้ แต่ก็ไม่เป็นพระอรหันต์เหมือนเรา

พระพุทธเจ้า เสด็จไปเสวยภัตตาหารแล้ว ก็กลับมาพักที่อาศัย ครั้นรุ่งขึ้นในวันต่อมา อุรุเวลกัสสปะ ไปทูลนิมนต์ฉันภัตตกิจ จึงตรัสว่า
“ท่านจงไปก่อนเถิด เราจะตามไปภายหลัง”
เมื่อส่งอุรุเวลกัสสปะไปแล้ว จึงเหาะไปนำเอาผลหว้าใหญ่ประจำทวีป ในป่าหิมพานต์มาแล้ว ก็เสด็จมาถึงโรงไฟ ก่อนอุรุเวลกัสสปะ ครั้นอุรุเวลกัสสปะมาถึง จึงทูลถามว่า พระองค์มาทางใด จึงถึงก่อน พระศาสดาจึงตรัสบอกแล้ว ตรัสว่า
“ดูก่อน กัสสปะ ผลหว้าประจำทวีปนี้ มีวรรณสันฐานสุคันธรสเอมโอช ถ้าท่านปรารถนาจะบริโภคก็เชิญตามปรารถนา”
อุรุเวลกัสสปะ ก็คิดเห็นเป็นอัศจรรย์เหมือนครั้งก่อน ครั้นพระพุทธเจ้า ทรงทำภัตตกิจเสร็จแล้ว ก็เสด็จกลับไปยังที่พัก
ในวันต่อมา พระพุทธเจ้า ได้ทรงทำอิทธิปาฏิหาริย์เช่นนั้น อีก 4 ครั้ง คือ ทรงส่งอุรุเวลกัสสปะมาก่อนแล้ว เสด็จเหาะไปเก็บผลมะม่วงครั้งหนึ่ง เก็บผลมะขามป้อมครั้งหนึ่ง เก็บผลส้มในป่าหิมพานต์ครั้งหนึ่ง เสด็จขึ้นไปดาวดึงส์เทวโลก นำเอาผลไม้ปาริฉัตตกครั้งหนึ่ง เสด็จมาถึงก่อน คอยท่าอุรุเวลกัสสปะอยู่ที่โรงไฟ ให้ชฎิลเห็นเป็นอัศจรรย์ใจทุกครั้ง

วันหนึ่ง ชฎิลทั้งหลายปรารถนาจะก่อไฟ ก็มิอาจผ่าฟืนออกได้ จึงคิดว่าที่เป็นแบบนี้ เพราะฤทธิ์พระมหาสมณะทำโดยแท้ พระพุทธเจ้าจึงตรัสถาม ครั้นทราบความแล้วก็ตรัสว่า ท่านจงผ่าฟืนตามปรารถนาเถิด ในทันใดนั้น ชฎิลก็ผ่าฟืนออกได้ตามประสงค์
วันหนึ่ง ชฎิลทั้ง 500 คน ปรารถนาจะบูชาไฟ ก่อไฟก็ไม่ติด จึงคิดปริวิตกเหมือนหนหลัง พระพุทธเจ้าตรัสถามทราบความแล้ว ก็ทรงอนุญาตให้ก่อไฟได้ ไฟก็ติดขึ้นทั้ง 500 กอง พร้อมกันในขณะเดียว ชฎิลทั้งหลายบูชาไฟสำเร็จแล้ว จะดับไฟ ๆ ก็ไม่ดับ จึงดำริดุจหนหลัง พระพุทธเจ้าตรัสถามทราบความแล้ว ก็ทรงอนุญาตให้ดับไฟ ๆ ก็ดับพร้อมกันถึง 500 กอง
วันหนึ่ง ในฤดูหนาว ชฎิลทั้งหลาย ลงอาบน้ำดำผุดขึ้นลง ในแม่น้ำเนรัญชรา พระพุทธเจ้า ผู้ทรงพระกรุณาแก่ชฎิล ทรงดำริว่า เมื่อชฎิลขึ้นจากน้ำแล้วจะหนาวมาก จึงทรงนิรมิตเชิงกราณประมาณ 500 อัน มีไฟติดทั้งสิ้นไว้ในที่นั้น ครั้นชฎิลทั้งหลายขึ้นจากน้ำหนาวจัดก็ชวนกันเข้าผิงไฟที่เชิงกราณ แล้วก็คิดสันนิษฐานว่า พระมหาสมณะ คงทรงเนรมิตไว้ให้เป็นแน่ น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก

วันหนึ่ง มหาเมฆตั้งขึ้นมิใช่ฤดูกาล บันดาล ให้ฝนตกลงมาเป็นอันมาก กระแสน้ำเป็นห้วงใหญ่ ไหลท่วมไปในที่ทั้งปวงโดยรอบบริเวณนั้น ธรรมดาว่า พระพุทธเจ้าเสด็จสถิตอยู่ ณ ประเทศใด แม้ที่นั้นน้ำท่วม ก็ทรงอธิษฐาน มิให้น้ำท่วมเข้าไปในที่นั้นได้ และในครั้งนั้นก็ทรงดำริว่า ตถาคตจะทำให้น้ำนั้นเป็นขอบสูงขึ้นไป ในทิศโดยรอบที่หว่างกลางนั้น จะมีพื้นภูมิภาคจะราบเรียบขึ้นปกติ ตถาคตจะจงกรมอยู่ในที่นั้น แล้วก็ทรงอธิษฐานบันดาล ให้เป็นดังพุทธดำรินั้น
ฝ่ายอุรุเวลกัสสปะนั้น คิดว่าพระมหาสมณะนี้ น้ำจะท่วมเธอหรือไม่ท่วมประการใด หรือจะหลีกไปสู่ที่อื่น จึงลงเรือพร้อมกับชฎิลทั้งหลาย รีบพายไปดูโดยด่วน ถึงที่ที่พระพุทธเจ้าทรงสถิต ก็เห็นน้ำสูงขึ้นเป็นกำแพงล้อมอยู่โดยรอบ แลเห็นพระพุทธเจ้าเสด็จจงกรมอยู่ในพื้นภูมิภาคปราศจากน้ำ จึงส่งเสียงร้องเรียก
พระพุทธเจ้าขานรับว่า “กัสสปะ ตถาคตอยู่ที่นี่” แล้วก็เสด็จเหาะขึ้นไปบนอากาศ เลื่อนลอยลงสู่เรือของอุรุเวลกัสสปะ ทำให้อุรุเวลกัสสปะคิดว่า พระมหาสมณะนี้ มีอิทธิฤทธิเป็นอันมาก แต่ถึงมีอานุภาพมากอย่างนั้น ก็ยังไม่เป็นพระอรหันต์เหมือนเรา

แท้จริง ตั้งแต่พระพุทธเจ้า เสด็จจากป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ในวันแรมค่ำหนึ่ง เดือน 12 มาประทับอยู่ที่อุรุเวลาเสนานิคม จนตราบเท่าถึงวันเพ็ญ เดือน 2 เป็นเวลาสองเดือน ทรงแสดงอิทธิปาฏิหารย์ ทรมานอุรุเวลกัสสปะ ด้วยประการต่าง ๆ อุรุเวลกัสสปะ ก็ยังมีสันดานกระด้าง ถือตนว่า เป็นพระอรหันต์ อยู่อย่างนั้น ด้วยทิฐิอันกล้ายิ่งนัก พระพุทธเจ้าจึงทรงดำริว่า เราจะทำให้ชฏิลสลดจิตคิดสังเวชตนเอง จึงมีพระวาจาตรัสแก่ อุรุเวลกัสสปะว่า

“กัสสปะ ท่านมิได้เป็นพระอรหันต์ อรหัตทั้งทางปฏิบัติของท่าน ก็ยังห่างไกล มิใช่ทางมรรคผลอันใด ไฉนเล่า ท่านจึงถือตนว่า เป็นพระอรหันต์ เท็จต่อตัวเอง ทั้ง ๆ ท่านเองก็รู้ตัวดีว่า ตัวยังมิได้บรรลุโมกขธรรมอันใด ยังลวงคนอื่นว่าเป็นพระอรหันต์อยู่อีก กัสสปะ ถึงเวลาอันควรแล้ว ที่ท่านจะสารภาพแก่ตัวเองว่า ท่านยังมิได้เป็นพระอรหันต์ ทั้งยังมิได้ปฏิบัติธรรม เพื่อเป็นพระอรหันต์ด้วย กัสสปะ แล้วท่านจะได้เป็นพระอรหันต์ เร็ว ๆ นี้แหละ”
เมื่ออุรุเวลกัสสปะ ได้ฟังพระโอวาทก็รู้สึกตัว ละอายแก่ใจ ซบเศียรลงแทบพระยุคลบาท แล้วกราบทูลว่า
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ขอบรรพชาอุปสมบท ในสำนักพระองค์ ขอถึงพระองค์และพระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง”
พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า
“กัสสปะ ตัวท่านเป็นอาจารย์ยิ่งใหญ่ เป็นประธานแก่หมู่ชฎิล 500 คน ท่านจงชี้แจง ให้ชฎิลบริวารยินยอมพร้อมกันก่อน แล้วตถาคต จึงจะให้บรรพชาอุปสมบท

อุรุเวลกัสสปะ ก็กราบถวายบังคม ลามายังอาศรม แล้วก็บอกชฎิลอันเป็นศิษย์ ซึ่งชฏิลทั้งหลาย ก็ยินยอมพร้อมกันจะบรรพชา ในสำนักพระพุทธเจ้าทั้งสิ้น แล้วชฎิลทั้งหลาย ก็ชวนกันลอยดาบสบริขาร และเครื่องตกแต่งผม ชฏา สาแหรก คาน เครื่องบูชาไฟ ทั้งน้ำเต้า หนังสือ ไม้สามง่าม ในแม่น้ำทั้งสิ้น แล้วก็พากันมาเฝ้าพระพุทธเจ้า ถวายอภิวาทแทบพระยุคลบาท ทูลขอบรรพชาอุปสมบท พระพุทธเจ้า ก็กรุณาโปรดประทานอุปสมบท ด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทาเสมอกัน
ครั้งนั้น ท่านนทีกัสสปะ ผู้เป็นน้องกลาง เห็นเครื่องบริขารทั้งปวงลอยน้ำมา ก็คิดว่า สงสัยอันตรายจะมีแก่ดาบสผู้พี่ชาย จึงใช้ให้ชฎิลสองสามคน อันเป็นศิษย์ไปสืบดู รู้เหตุแล้ว นทีกัสสปะ ก็พาดาบสทั้ง 300 อันเป็นศิษย์ มาสู่สำนักของท่านอุรุเวลกัสสปะ ถามเหตุนั้น ครั้นทราบความแล้ว นทีกัสสปะและบริวาร ก็เลื่อมใสชวนกัน ลอยเครื่องดาบสบริขาร ลงในแม่น้ำนั้น พากันเข้าถวายอัญชลีทูลขอบรรพชา พระพุทธเจ้าก็โปรดประทานอุปสมบท ด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทาด้วยกันทั้งสิ้น ดุจชฎิลพวกก่อนนั้น

ฝ่ายคยากัสสปะ ผู้เป็นน้องน้อย เห็นเครื่องดาบสบริขารของพี่ชาย ลอยน้ำลงมาจำได้ ก็คิดดุจนทีกัสสปะ ผู้เป็นพี่นั้น แล้วพาดาบสทั้ง 200 อันเป็นศิษย์ไปสู่สำนักพระอุรุเวลกัสสปะ ไต่ถามทราบความแล้วเลื่อมใส ชวนกันลอยเครื่องบริขาร ลงในแม่น้ำ แล้วก็เข้าทูลขอบรรพชาต่อพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้า ก็โปรดประทานอุปสมบท ด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทาดังกล่าวแล้ว
พระพุทธเจ้า ทรงทรมานชฎิลทั้ง 3 พี่น้อง มีอุรุเวลกัสสปะ เป็นต้น กับทั้งชฎิลบริวาร 1,000 คน ให้สละเสียซึ่งทิฐิแห่งตน แล้วประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทาทั้งสิ้น เสร็จแล้วก็ทรงพาพระภิกษุสงฆ์พวกนั้น ไปสู่คยาสีสะ ตรัสพระธรรมเทศนา อาทิตตปริยายสูตร โปรดภิกษุ 1,000 นั้น ให้บรรลุพระอรหันต์ด้วยกันทั้งสิ้น

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04 สิงหาคม 2554 09:52:57 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: จัดหน้าค่ะ » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 5.0 Firefox 5.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #30 เมื่อ: 31 กรกฎาคม 2554 10:45:56 »



http://i883.photobucket.com/albums/ac40/42tong/thita/buddha022.jpg
ภาพพุทธประวัติ โดย อ.คำนวน ชานันโท สุดยอด พุทธจิตรกร


buddha022 พระเทวทัตทำสังฆเภท

พระเทวทัตปรารถนาจะเลี้ยงชีพด้วย โกหัญญกรรม คือ การหลอกลวงสืบไป เพื่อจะเเสดงว่า ตนเป็นผู้เคร่งครัด ได้เข้าไปเฝ้าพระบรมศาสดา ทูลขอวัตถุ 5 ประการ เพื่อให้พระพุทธเจ้าบัญญัติ ให้ภิกษุทั้งหลายปฎิบัติโดยเคร่งครัด คือ

1.) ให้อยู่ในเสนาสนะป่าเป็นวัตร
2.) ให้ถือบิณฑบาตเป็นวัตร
3.) ให้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร
4.) ให้อยู่โคนไม้เป็นวัตร
5.) ให้งดฉันมังสาหารเป็นวัตร

ในวัตถุทั้ง 5 ภิกษุรูปใด จะปฎิบัติข้อใด ให้ถือข้อนั้นโดยเคร่งครัด คือให้สมาทานเป็นวัตร ปฎิบัติโดยส่วนเดียว
แต่พระพุทธเจ้าไม่ทรงอนุญาต ตรัสว่า “ไม่ควร ควรให้ปฎิบัติได้ตามศรัทธา” ด้วยทรงเห็นว่า ยากแก่การปฎิบัติ เป็นการเกินพอดี ไม่เป็นทางสายกลางสำหรับบุคคลทั่วไป
พระเทวทัตโกรธแค้น ไม่สมประสงค์ กล่าวโทษพระพุทธเจ้า ประกาศว่า คำสอนของตนประเสริฐกว่า ทำให้ภิกษุที่บวชใหม่ มีปัญญาน้อย หลงเชื่อ ยอมทำตนเข้าเป็นสาวก

ครั้นพระเทวทัต ได้ภิกษุยอมเข้าเป็นพวกของตนแล้ว ก็พยายามทำสังฆเภท แยกจากพระพุทธเจ้า
เมื่อพระพุทธเจ้าทรงทราบ ก็โปรดให้หาพระเทวทัตมาเฝ้า รับสั่งถาม พระเทวทัตก็ทูลตามความสัตย์ จึงตรัสห้ามปรามว่า
“ดูก่อนเทวทัต ท่านอย่าพึงทำเช่นนั้น อันสังฆเภทนี้ เป็นครุกรรมใหญ่หลางนัก”
พระเทวทัตมิได้สนใจในพระดำรัส ไปจากที่นั้น พบพระอานนท์ ในกรุงราชคฤห์ ได้บอกความประสงค์ของตนว่า
“ท่านอานนท์ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ข้าพเจ้าจะเลิกจากพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าเลิกจากหมู่สงฆ์ทั้งปวง ข้าพเจ้าจะทำอุโบสถสังฆกรรม เป็นการภายในเฉพาะพวกของเราเท่านั้น”

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04 สิงหาคม 2554 10:06:08 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: จัดหน้าค่ะ » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 5.0 Firefox 5.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #31 เมื่อ: 31 กรกฎาคม 2554 10:49:08 »



http://i883.photobucket.com/albums/ac40/42tong/thita/buddha023.jpg
ภาพพุทธประวัติ โดย อ.คำนวน ชานันโท สุดยอด พุทธจิตรกร


buddha023 ทรงปราบพราหมณ์เจ้าทิฏฐิ

พระผู้มีพระภาคประทับ ณ โคนไม้สะเดา ใกล้เมืองเวรัญชา พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่. เวรัญชพราหมณ์ได้ทราบกิตติศัพท์สรรเสริญ จึงเข้าไปเฝ้า แต่มิได้ถวายบังคม หลังจากทักทายปราศรัยแล้ว ก็ได้กล่าวว่า ได้ข่าวเขาพูดกันว่าพระสมณโคดมไม่ยอมไหว้หรือลุกขึ้นต้อนรับพราหมณ์ผู้สูงอายุ การที่พระสมณโคดมทำเช่นนั้น ย่อมไม่สมควร. พระพุทธเจ้าตรัสรับว่า พระองค์มิได้ไหว้พราหมณ์ผู้สูงอายุจริง. เวรัญชพราหมณ์จึงเกล่าววาจารุกรานด้วยถ้อยคำที่ถือกันในสมัยนั้นว่า เป็นคำดูหมิ่นเหยียดหยาม รวม ๘ ข้อ เช่น คำว่า พระสมณโคดมเป็นคนไม่มีรสชาติ, เป็นคนไม่มีสมบัติ, เป็นคนนำให้ฉิบหาย, เป็นคนเผาผลาญ เป็นต้น.

แต่พระผู้มีพระภาคทรงอธิบายคำเหยียดหยามนั้นไปในทางที่ดี เช่นว่า ใครจะว่าไม่มีรสชาติก็ถูก เพราะท่านไม่ติดรส คือรูป เสียง เป็นต้น. ใครจะว่าไม่มีสมบัติก็ถูก เพราะท่านไม่ติดสมบัติ คือรูป เสียง เป็นต้น. ใครจะว่านำให้ฉิบหายก็ถูก เพราะท่านแสดงธรรมทำให้บาป อกุศล ทุกอย่างให้ฉิบหาย. ใครจะว่าเป็นคนเผาผลาญก็ถูก เพราะท่านเผาผลาญบาป อกุศล อันเป็นที่ตั้งแห่งความเดือดร้อนทั้งหมด.

เมื่อตรัสตอบแก้คำดูหมิ่นเหยียดหยามของพราหมณ์ตกทุกข้อโดยไม่ต้องใช้วิธีด่าตอบ หากใช้วิธีอธิบายให้เป็นธรรมะสอนใจได้ดั่งนั้นแล้ว จึงตรัสอธิบายเหตุผลในการที่พระองค์ไม่ไหว้พราหมณ์ผู้สูงอายุ โดยเปรียบเทียบว่าลูกไก่ตัวไหนเจาะฟองไข่ออกมาได้ก่อน ลูกไก่ตัวนั้น ควรนับว่าแก่กว่าลูกไก่ตัวอื่น พระองค์เจาะฟองไข่คืออวิชชาก่อนผู้อื่น จึงถือได้ว่าเป็นผู้แก่กว่าผู้อื่น เวรัญชพราหมณ์ได้ฟังก็เลื่อมใส ประกาศตนเป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัยตลอดชีวิต แล้วกราบทูลอาราธนาให้ทรงจำพรรษอยู่ในเมืองเวรัญชา พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ พระองค์ทรงรับโดยดุษณีภาพ.

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04 สิงหาคม 2554 10:15:25 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: จัดหน้าค่ะ » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 5.0 Firefox 5.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #32 เมื่อ: 31 กรกฎาคม 2554 10:50:51 »


http://i883.photobucket.com/albums/ac40/42tong/thita/buddha024.jpg
ภาพพุทธประวัติ โดย อ.คำนวน ชานันโท สุดยอด พุทธจิตรกร


buddha024 ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์


ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ (โอวาทสำคัญ) โดยย่อคือ ไม่ทำชั่วทั้งปวง, ทำความดีให้พร้อม และทำจิตของตนให้ผ่องใส แก่พระอรหันต์สาวก 1,250 รูป ณ พระเวฬุวัน เมืองราชคฤห์
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 5.0 Firefox 5.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #33 เมื่อ: 31 กรกฎาคม 2554 10:59:32 »



http://i883.photobucket.com/albums/ac40/42tong/thita/buddha025.jpg
ภาพพุทธประวัติ โดย อ.คำนวน ชานันโท สุดยอด พุทธจิตรกร


buddha025 ช้างกับลิง เป็นพุทธอุปัฏฐาก

ภาพที่เห็นนี้เป็นภาพเหตุการณ์ตอนหนึ่งในพระประวัติของพระพุทธเจ้า เป็นตอนที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปจำพรรษาในป่าโดยลำพังพระองค์ ไม่มีพระภิกษุหรือใครอื่นตามเสด็จไปจำพรรษาอยู่ด้วยเลย
ป่าที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปจำพรรษาครั้งนี้เป็นป่าใหญ่ เป็นที่อยู่อาศัยของช้างโทนเชือกหนึ่ง ชื่อว่า 'ปาลิไลยกะ' หรือ 'ปาลิไลยก์' ป่าแห่งนี้จึงได้นามตามช้างนี้ว่า 'ป่าปาลิไลยก์' คนไทยเราเรียกว่า 'ป่าปาเลไล' อันเดียวกันนั่นเอง

มูลเหตุที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปจำพรรษาที่ป่าแห่งนี้ เพราะทรงรำคาญพระภิกษุชาวเมืองโกสัมพีสองคณะพิพาทและแตกสามัคคีกัน ถึงกับไม่ยอมลงโบสถ์ร่วมกัน พระพุทธเจ้าทรงทราบเข้า ได้เสด็จมา
ทรงระงับให้ปรองดองกัน แต่พระภิษุทั้งสองคณะก็ไม่เชื่อฟัง พระพุทธเจ้าจึงเสด็จหลีกไปจำพรรษาอยู่ในดังกล่าว

ด้วยอำนาจพุทธบารมีและพระเมตตาของพระพุทธเจ้า ช้างชื่อปาลิไลยก์ได้เข้ามาอุปัฏฐากพระพุทธเจ้า เช้าขึ้นหาผลไม้ในป่ามาถวาย ตอนเย็นต้มน้ำร้อนถวายพระพุทธเจ้าด้วยวิธีกลิ้งก้อนหินที่เผาไฟให้ร้อนลงในแอ่งน้ำ

ลิงตัวหนึ่งเห็นช้างปรนนิบัติถวายพระพุทธเจ้า ก็ได้นำรวงผึ้งมาถวายพระพุทธเจ้าบ้าง พระพุทธเจ้าทรงรับแต่ไม่ทรงฉัน ลิงจึงเข้าไปนำรวงผึ้งกลับมาพิจารณาดู เมื่อเห็นตัวอ่อนของผึ้ง จึงนำตัวอ่อนออกหมดแล้วนำแต่ผึ้งหวานเข้าไปถวายใหม่ คราวนี้พระพุทธเจ้าทรงรับแล้วฉัน ลิงแอบดูอยู่บนต้นไม้ เห็น
พระพุทธเจ้าทรงฉันรวงผึ้งของตน ก็ดีใจ กระโดดโลดเต้นบนกิ่งไม้ จนพลัดตกลงมาถูกตอไม้แหลมเสียบท้องทะลุตาย

เมื่อออกพรรษา พระภิกษุที่แตกกันเป็นสองฝ่ายยอมสามัคคีกัน เพราะชาวบ้านไม่ยอมทำบุญใส่บาตรให้ ได้ส่งผู้แทนไปกราบทูลพระพุทธเจ้าเสด็จกลับเข้าเมือง ช้างปาลิไลยก์อาลัยพระพุทธเจ้านักหนา
เดินตามพระพุทธเจ้าออกจากป่า ทำท่าจะตามเข้าไปในเมืองด้วย พระพุทธเจ้าจึงทรงหันไปตรัสบอกช้างว่า
"ปาลิไลยก์! ถิ่นของเธอหมดแค่นี้ แต่นี้ไปเป็นถิ่นที่อยู่ของมนุษย์ ซึ่งเป็นภัยต่อสัตว์เดรัจฉานเช่นเธอ เธอไปด้วยไม่ได้หรอก"

ช้างปาลิไลยก์ยืนร้องไห้เสียใจไม่กล้าเดินตามพระพุทธเจ้า พอพระพุทธเจ้าลับสายตาก็เลยอกแตกตายอยู่ ณ ที่นั้น คัมภีร์บอกว่าทั้งลิงและช้างตายแล้วไปเกิดเป็นเทพบุตร

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 5.0 Firefox 5.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #34 เมื่อ: 31 กรกฎาคม 2554 11:05:45 »



http://i883.photobucket.com/albums/ac40/42tong/thita/buddha026.jpg
ภาพพุทธประวัติ โดย อ.คำนวน ชานันโท สุดยอด พุทธจิตรกร


buddha026พระพิมพาพิลาปรำพันถึงพระพุทธองค์ เสด็จพุทธดำเนินไปโปรดถึงในปราสาท

ภาพที่เห็นอยู่นั้น เป็นตอนที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดพระนางพิมพายโสธรา ผู้เคยเป็นพระ
ชายา เมื่อสมัยพระพุทธเจ้ายังทรงเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ คือเมื่อยังไม่ได้เสด็จออกบวช

วันที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดพระนางพิมพานี้ เป็นวันเดียวกับที่เสด็จไปทรงภัตตาหารใน
พระราชนิเวศน์ของพระเจ้าสุทโธทนะพุทธบิดา ดังได้บรรยายไว้แล้ว สถานที่เสด็จไปโปรดพระนางพิมพา
คือ ปราสาทที่ประทับของพระนางนั่งเอง ผู้ที่ตามเสด็จพระพุทธเจ้ามาในการนี้ มีพระสารีบุตร พระโมค
คัลลานะ ผู้สองอัครสาวก และพระเจ้าสุทโธทนะ

พระนางพิมพาทรงเศร้าโศกเสียพระทัย ตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้าเสด็จออกบวชเป็นต้นมา
ด้วยเข้าพระทัยว่า พระนางถูกพระพุทธเจ้าทรงทอดทิ้ง ยิ่งเมื่อทราบว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมาเมืองกบิลพัสดุ์
ครั้งนี้ ความเสียพระทัยยิ่งมีมากขึ้น ขนาดพระเจ้าสุทโธทนะรับสั่งให้มาเฝ้าพระพุทธเจ้า พระนางยังเสด็จ
มาไม่ได้ แม้พระพุทธเจ้าจะเสด็จมาถึงปราสาทที่ประทับของพระนางแล้ว พระนางยังเสด็จดำเนินมาเอง
ไม่ได้ พระนางก็ล้มฟุบลง กลิ้งเกลือกพระเศียรลงเหนือพระบาทพระพุทธเจ้า แล้วพิลาปรำพันกันแสงแทบ
สิ้นสมปฤดี

พระเจ้าสุทโธทนะทูลพระพุทธเจ้าถึงความดีของพระนางพิมพาว่า เป็นสตรีที่จงรักภักดีต่อ
พระพุทธเจ้า ไม่เคยแปรพระทัยเป็นอื่นเลยตลอดเวลาที่พระพุทธเจ้าเสด็จจากไป พระพุทธเจ้าตรัสสนอง
พระดำรัสของพุทธบิดาว่า พระนางพิมพาจะได้ทรงซื่อสัตย์จงรักภักดีต่อพระองค์แต่เฉพาะในชาตินี้ก็หา
ไม่ แม้ในอดีตชาติหนหลังอีกหลายชาติ พระนางก็เป็นคู่ทุกข์คู่ยากผู้ซื่อสัตย์ของพระองค์ตลอดมา แล้ว
พระพุทธเจ้าตรัสชาดกอีกเป็นอันมากให้พระพุทธบิดา และพระนางพิมพาฟัง

พระนางฟังแล้ว ทรงสร่างโศกและคลายความเสียพระทัย ทรงเกิดปีติโสมนัสในพระธรรม
เทศนาของพระพุทธเจ้าเป็นอย่างยิ่ง เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมจบลง พระนางพิมพายโสธรา ก็ได้
ทรงบรรลุพระโสดาบัน หรือโสดาปัตติผล

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 5.0 Firefox 5.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #35 เมื่อ: 31 กรกฎาคม 2554 11:10:40 »



http://i883.photobucket.com/albums/ac40/42tong/thita/buddha027.jpg
ภาพพุทธประวัติ โดย อ.คำนวน ชานันโท สุดยอด พุทธจิตรกร


buddha027

เสด็จทรงบาตรในเมือง พระนางพิมพายโสธราเห็น จึงชี้ให้พระราหุลดู ตรัสว่า "นั่นคือบิดาของเจ้า"
รุ่งเช้า พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์บริวารทั้งหมด จึงเสด็จเข้าไปบิณฑบาตในเมือง ชาวเมืองแตกตื่นกันโกลาหล ด้วยไม่เคยคิดว่าพระพุทธเจ้าซึ่งกษัตริย์โดยพระชาติกำเนิด จะเสด็จภิกขา แปลความหมายให้เป็นภาษาสามัญที่สุภาพหน่อยก็ว่า เที่ยวขอเขากิน

ปฐมสมโพธิรายงานเหตุการณ์ตอนนี้ไว้ว่า "ในขณะนั้นบรรดามหาชนชาวเมืองแจ้งว่า พระผู้เป็นเจ้าชายสิทธัตถะราชกุมารเที่ยวภิกขาจารบิณฑบาต ดังนั้น ก็ชวนกันเปิดแกลแห่งเรือนทั้งหลายต่างๆ อันมีพื้น ๒ ชั้น แล ๓ ชั้น เป็นต้น แต่ล้วนขวนขวายในกิจที่จะเล็งแลดูพระสัพพัญญู อันเสด็จเที่ยวบิณฑบาตทั้งสิ้น"

แม้พระนางพิมพายโสธราผู้เคยเป็นพระชายาของเจ้าชายสิทธัตถะหรือพระพุทธเจ้า ซึ่งมีพระทัยไม่เคยสร่างพระโสกีตลอดมา ได้ยินเสียงชาวเมืองอื้ออึงถึงเรื่องพระพุทธเจ้าเสด็จเข้าเมืองมาตามถนน ก็จูงพระหัตถ์ราหุลผู้โอรส ซึ่งขณะนั้นมีพระชนมายุได้ ๗ ปี เสด็จไปยังช่องพระแกล ครั้นเห็นพระพุทธเจ้าเสด็จนำหน้าพระสงฆ์มา พระนางก็ทรงชี้ให้ราหุลดู และตรัสบอกโอรสว่า "นั่นคือพระบิดาของเจ้า"

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 5.0 Firefox 5.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #36 เมื่อ: 31 กรกฎาคม 2554 11:16:19 »



http://i883.photobucket.com/albums/ac40/42tong/thita/buddha028.jpg
ภาพพุทธประวัติ โดย อ.คำนวน ชานันโท สุดยอด พุทธจิตรกร


buddha028

ทรงพานันทะไปชมนางฟ้า พระนันทะใคร่จะได้เป็นชายา ทรงรับรองจะให้สมหวัง
หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จโปรดพุทธบิดา และพระประยูรญาติที่กรุงกบิลพัสดุ์เป็นเวลาประ
มาณหนึ่งสัปดาห์แล้ว ได้เสด็จกรุงราชคฤห์แห่งแคว้นมคธ พร้อมด้วยพระสงฆ์บริวารที่ตามเสด็จในการ
นี้ พระภิกษุนันทะ พระอนุชาผู้ถูกจับให้บวช และราหุลสามเณรก็ได้ติดตามเสด็จไปด้วย

ต่อมา พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์จำนวนมากได้เสด็จไปยังกรุงสาวัตถี แห่งแคว้นโกศล
ซึ่งเป็นเมืองและแคว้นใหญ่พอๆ กับกรุงราชคฤห์แห่งแคว้นมคธ พระนันทะก็ได้ติดตามเสด็จไปด้วย

แต่ตลอดเวลานับตั้งแต่บวชแล้วเป็นต้นมา พระนันทะไม่เป็นอันปฏิบัติกิจของสมณะ ใจให้รุ่ม
ร้อนคิดจะลาสึกอยู่ท่าเดียว เพราะความคิดถึงนางชนบทกัลยาณี เจ้าสาวคู่หมั้นซึ่งกำลังจะเข้าพิธีวิวาห์กับตน

ความเรื่องนี้ทราบถึงพระพุทธเจ้า ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงจับท่านพระนันทะที่แขน
แล้วทรงหายจากพระวิหารเชตวัน ไปปรากฏในเหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ เหมือนบุรุษมีกำลัง พึงเหยียดแขน
ที่คู้ หรือพึงคู้แขนที่เหยียดฉะนั้น ฯ

ก็สมัยนั้นแล นางอัปสรประมาณ ๕๐๐ มีเท้าดุจนกพิราบ มาสู่ที่บำรุงของท้าวสักกะจอมเทพ
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสกะท่านพระนันทะว่า ดูกรนันทะ เธอเห็นนางอัปสร ๕๐๐ เหล่านี้ผู้มีเท้า
ดุจนกพิราบหรือไม่ ท่านพระนันทะทูลรับว่า เห็น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรนันทะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน นางสากิยานีผู้ชนบทกัลยานี หรือนางอัปสร
ประมาณ ๕๐๐ เหล่านี้ ซึ่งมีเท้าดุจนกพิราบไหนหนอแลมีรูปงามกว่า น่าดูกว่า หรือน่าเลื่อมใสกว่า ฯ

น. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นางลิงผู้มีอวัยวะใหญ่น้อยถูกไฟไหม้ หูและจมูกขาด ฉันใด นาง
สากิยานีผู้ชนบทกัลยานี ก็ฉันนั้นแล เมื่อเทียบกับนางอัปสรประมาณ ๕๐๐ เหล่านี้ ย่อมไม่เข้าถึงเพียงหนึ่ง
เสี้ยว ไม่เข้าถึงเพียงส่วนหนึ่งของเสี้ยว ไม่เข้าถึงเพียงการเอาเข้าไปเปรียบว่าหญิงนี้เป็นเช่นนั้น ที่แท้นาง
อัปสรประมาณ ๕๐๐ เหล่านี้มีรูปงามกว่า น่าดูกว่า และน่าเลื่อมใสกว่า พระเจ้าข้า ฯ

พ. ยินดีเถิดนันทะ อภิรมย์เถิดนันทะ เราเป็นผู้รับรองเธอเพื่อให้ได้ นางอัปสรประมาณ ๕๐๐
ซึ่งมีเท้าดุจนกพิราบ ฯ

น. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพระผู้มีพระภาคทรงรับรองข้าพระองค์เพื่อ ให้ได้นางอัปสรประ
มาณ ๕๐๐ ซึ่งมีเท้าดุจนกพิราบไซร้ ข้าพระองค์จักยินดี ประพฤติพรหมจรรย์ พระเจ้าข้า ฯ

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงจับท่านพระนันทะที่แขน แล้วทรงหายจากเทวดาชั้นดาว
ดึงส์ไปปรากฏที่พระวิหารเชตวัน เหมือนบุรุษมีกำลังพึงเหยียด แขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น ภิกษุ
ทั้งหลายได้สดับข่าวว่า ท่านพระนันทะพระภาดาของพระผู้มีพระภาค โอรสของพระมาตุจฉา ประพฤติ
พรหมจรรย์เพราะเหตุแห่งนางอัปสร ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเป็นผู้รับรองท่าน เพื่อให้ได้นางอัปสรประ
มาณ ๕๐๐ ซึ่งมีเท้าดุจนกพิราบ ฯ

ครั้งนั้นแล ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นสหายของท่านพระนันทะ ย่อมร้องเรียกท่านพระนันทะด้วย
วาทะว่าเป็นลูกจ้าง และด้วยวาทะว่าผู้อันพระผู้มีพระภาคทรงไถ่มาว่า ได้ยินว่า ท่านพระนันทะเป็นลูกจ้าง
ได้ยินว่า ท่านพระนันทะเป็นผู้ที่พระผู้มีพระภาคทรงไถ่มา ท่านประพฤติพรหมจรรย์เพราะเหตุนางอัปสร
ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้รับรองท่าน เพื่อให้ได้นางอัปสร ๕๐๐ ซึ่งมีเท้าดุจนกพิราบ ฯ

ครั้งนั้นแล ท่านพระนันทะอึดอัดระอาเกลียดชังด้วยวาทะว่า เป็นลูกจ้าง และด้วยวาทะว่าเป็น
ผู้อันพระผู้มีพระภาคทรงไถ่มาของพวกภิกษุผู้เป็นสหาย จึงหลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความ
เพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ไม่นานนักก็กระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลายออก
บวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า ชาติสิ้น
แล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ก็ท่านพระนันทะได้
เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย ฯ

ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว เทวดาตนหนึ่งมีวรรณะ งามยิ่งนัก ยังพระวิหารเชตวัน
ทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้าง
หนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระนันทะพระภาดาของพระผู้มี
พระภาค โอรสของพระมาตุจฉาทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้เพราะอาสวะทั้งหลาย
สิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ แม้ญาณก็ได้เกิดขึ้นแก่พระผู้มีพระภาคว่า พระนันทะทำให้
แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน
เข้าถึงอยู่ ฯ

ครั้นพอล่วงราตรีนั้นไป ท่านพระนันทะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคม
แล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มี
พระภาคทรงรับรองข้าพระองค์ เพื่อให้ได้นางอัปสร ๕๐๐ ผู้มีเท้าดุจนกพิราบ ข้าพระองค์ขอปลดเปลื้อง
พระผู้มีพระภาคจากการรับรองนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรนันทะ แม้เราก็กำหนดรู้ใจของเธอด้วยใจ
ของเราว่า นันทะทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ แม้เทวดาก็ได้บอกเนื้อความนี้แก่เราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่าน พระ
นันทะพระภาดาของพระผู้มีพระภาคโอรสของพระมาตุจฉา ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาส
วะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ดูกรนันทะ เมื่อใดแล จิต
ของเธอหลุดพ้นแล้ว จากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น เมื่อนั้น เราพ้นแล้วจากการรับรองนี้ ฯ

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
ภิกษุใดข้ามเปือกตมคือกามได้แล้ว ย่ำยีหนาม คือกามได้แล้ว ภิกษุนั้นบรรลุถึงความสิ้นโมหะ
ย่อมไม่หวั่นไหวในเพราะสุขและทุกข์

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 5.0 Firefox 5.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #37 เมื่อ: 31 กรกฎาคม 2554 11:19:06 »



http://i883.photobucket.com/albums/ac40/42tong/thita/buddha029.jpg
ภาพพุทธประวัติ โดย อ.คำนวน ชานันโท สุดยอด พุทธจิตรกร


buddha029

นายขมังธนูซึ่งพระเทวทัตส่งไปฆ่าพระพุทธองค์ ปลงอาวุธ ฟังธรรม สำเร็จมรรคผล
บุรุษที่นั่งประนมมือวางคันธนูไว้กับพื้นอยู่เบื้องพระพักตร์ของพระพุทธเจ้า ดังที่ปรากฎอยู่ใน
ภาพแสดงนั้น คือนายขมังธนู (คำหน้าอ่านว่าขะหมัง) ขมัง แปลว่า นายพราน ขมังธนูก็คือนายพรานแม่น
ธนู อาวุธร้ายแรงที่คนใช้ยิงสังหารกันในสมัยพระพุทธเจ้าคือธนู

พระเทวทัตแนะนำอชาตศัตรู มกุฎราชกุมารให้ปลงพระชนม์พระเจ้าพิมพิสารพระราชบิดา
ของพระองค์แล้ว จึงไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ขณะนั้นพระพุทธเจ้าเสด็จกลับมาประทับอยู่ในกรุงราชคฤห์ พระ
เทวทัตกราบทูลว่าพระพุทธเจ้าทรงพระชราแล้ว ขอให้ทรงมอบตำแหน่งกิจการบริหารคณะสงฆ์ให้แก่ตน
เสีย เลยถูกพระพุทธเจ้าทรงทักด้วย เขฬาสิกวาท เขฬาสิกวาทแปลตามตัวว่า ผู้กลืนกินก้อนน้ำลายก้อน
เสลดที่บ้วนทิ้งแล้วความหมายเป็นอย่างนี้คือ นักบวชนั้น เมื่อออกบวชได้ชื่อว่าเป็นผู้เสียสละแล้วซึ่งทุกสิ่ง
ทุกอย่าง เช่น ลูก เมีย ทรัพย์ และตำแหน่งฐานันดรต่างๆ พระเทวทัตก็ชื่อว่าสละสิ่งเหล่านี้เสียแล้วเมื่อ
ตอนออกบวช แต่เหตุไฉนจึงย้อนกลับมายอมรับซึ่งเท่ากับมาขอกลืนกินสิ่งเหล่านี้อีก

พระเทวทัตฟังแล้วเสียใจ ผูกความอาฆาตพระพุทธเจ้ายิ่งขึ้น จึงวางแผนการกระทำรุนแรง
เพื่อปลงพระชนม์พระพุทธเจ้าหลายแผน เฉพาะด้านการเมืองนั้น พระเทวทัตได้ทำสำเร็จแล้วคือเกลี้ยกล่อม
อชาตศัตรูราชกุมารให้เลื่อมใสตนได้ แล้วราชกุมารผู้นี้ได้ปลงพระชนม์พระราชบิดา จนในที่สุดได้ขึ้นครอง
ราชย์ในเวลาต่อมา ที่ยังไม่สำเร็จก็คือการปลงพระชนม์พระพุทธเจ้า

ขั้นแรกพระเทวทัตได้ว่าจ้างพวกขมังธนูหลายคน ล้วนแต่มือแม่นในการยิงธนูทั้งนั้น ไปลอบ
ยิงสังหารพระพุทธเจ้าที่วัดเวฬุวนารามในกรุงราชคฤห์ ทั้งนี้โดยพระเจ้าอชาตศัตรูทรงรู้เห็นด้วย แต่เมื่อ
พวกนายขมังธนูถืออาวุธมาถึงวัดที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ได้เห็นพระพุทธเจ้าแล้ว เกิดมือไม้อ่อนเปลี้ยไป
หมด ยิงไม่ลง เพราะพุทธานุภาพอันน่าเลื่อมใสข่มใจให้สยบยอบลง จึงต่างวางคันธนูแล้วกราบบาทพระ
พุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมให้พวกนายขมังธนูฟัง ฟังจบแล้วนายขมังธนูต่างได้สำเร็จโสดา
หมดทุกคน

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 5.0 Firefox 5.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #38 เมื่อ: 31 กรกฎาคม 2554 11:23:20 »



http://i883.photobucket.com/albums/ac40/42tong/thita/buddha030.jpg
ภาพพุทธประวัติ โดย อ.คำนวน ชานันโท สุดยอด พุทธจิตรกร


buddha030 ทรงโปรดช้างนาฬาคีรี

ครั้งหนึ่งพระพุทธองค์ประทับอยู่ที่พระเวฬุวันวิหาร กรุงราชคฤห์ เช้าวันหนึ่งขณะที่พระพุทธองค์เสด็จออกบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ พระเทวทัตศิษย์ทรยศของพระพุทธองค์ได้ติดสินบนควาญช้างให้ปล่อยช้างนาฬาคีรี เพื่อทำร้ายพระพุทธองค์ตามแผนการ แต่ด้วยเมตาจิตของพระพุทธองค์ ช้างตกมันก็หายพยศ กลับคุกเข่าลงหมอบลงตรงพระพักตร์พระพุทธองค์



บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 5.0 Firefox 5.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #39 เมื่อ: 31 กรกฎาคม 2554 11:26:32 »



http://i883.photobucket.com/albums/ac40/42tong/thita/buddha031.jpg
ภาพพุทธประวัติ โดย อ.คำนวน ชานันโท สุดยอด พุทธจิตรกร


buddha031

พระเทวทัตได้สำนึกในความผิดของตน ใคร่ทูลขอขมา แต่ถูกธรณีสูบเสียก่อนเข้าเฝ้า
เมื่อแผนการของพระเทวทัตในการปลงพระชนม์ของพระพุทธเจ้าขั้นแรก คือ จ้างนายขมัง
ธนูลอบสังหารได้ล้มเหลวลง พระเทวทัตจึงลงมือทำเอง คือ แอบขึ้นไปบนยอดเขาคิชฌกูฏ เพราะพระเทว
ทัตทราบได้แน่นอนว่า ขณะนั้นพระพุทธเจ้าเสด็จประทับอยู่เชิงเขาเบื้องล่าง พระเทวทัตจึงกลิ้งก้อนหิน
ใหญ่ลงมา หมายให้ทับพระพุทธเจ้า ก้อนหินเกิดกระทบกันแล้วแตกเป็นก้อนเล็กก้อนน้อย สะเก็ดหินก้อน
หนึ่งกระเด็นปลิวมากระทบพระบาทพระพุทธเจ้า จนทำให้พระโลหิตห้อขึ้น

แผนการที่สองล้มเหลวลงอีก ต่อมา พระเทวทัตได้แนะนำให้พระเจ้าอชาตศัตรูสั่งเจ้าพนักงาน
เลี้ยงช้างปล่อยฝูงช้างดุร้ายออกไล่เหยียบพระพุทธเจ้า ในขณะที่เสด็จบิณฑบาต แต่ก็ล้มเหลวลงอีก เพราะ
ฝูงช้างไม่กล้าทำร้ายพระพุทธเจ้า

ตอนนี้เอง ความชั่วของพระเทวทัตเป็นข่าวแดงโร่ออกมา ประชาชนชาวเมืองต่างโจษจันกัน
เซ็งแซ่ว่า ผู้จ้างนายขมังธนูก็ดี ผู้กลิ้งก้อนหินกระทบพระบาทพระพุทธเจ้าก็ดี ผู้ปล่อยกระบวนช้างก็ดี แม้
ที่สุดพระเจ้าพิมพิสารที่เสด็จสวรรคตก็ดี เป็นแผนการของพระเทวทัตทั้งสิ้น แล้วต่างก็วิพากษ์วิจารณ์ว่า
พระราชาของเราคบพระที่ลามกเช่นนี้เองจึงเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น

พระเจ้าอชาตศัตรูทรงได้ยินเสียงชาวเมืองตำหนิเช่นนั้น ทรงเกิดความละอายพระทัย จึงทรง
เลิกไปหาพระเทวทัต สำรับกับข้าวของหลวงที่เคยพระราชทานให้พระเทวทัต ก็ทรงสั่งให้เลิกนำไปถวาย
คนในเมืองนั้นก็ไม่มีใครใส่บาตรให้พระเทวทัตเลย แต่พระเทวทัตก็ยังไม่สิ้นมานะทิฐิ ได้เข้าไปเฝ้าพระพุทธ
เจ้า ขอให้ทรงปฏิรูปศาสนาพุทธเสียใหม่ เช่น ให้ห้ามพระสงฆ์ฉันเนื้อและปลา เป็นต้น แต่ถูกพระพุทธเจ้า
ปฏิเสธ พระเทวทัตจึงตั้งคณะสงฆ์ขึ้นใหม่ แล้วสถาปนาตนเองขึ้นเป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่สอง

แต่ต่อมา สาวกพระเทวทัตที่เข้าใจผิด และเข้าไปเข้าข้างพระเทวทัต ได้พากันผละหนีกลับ
มาหาพระพุทธเจ้า เหลืออยู่กับพระเทวทัตไม่กี่รูป พระเทวทัตเสียใจมาก กระอักเลือดออกมา พอรู้ว่าตนจะ
ตายก็สำนึกผิด เลยให้สาวกที่เหลืออยู่หามตนมาเฝ้าพระพุทธเจ้า เพื่อขอขมาเป็นครั้งสุดท้ายแต่ไม่ทันเข้าเฝ้า
เพราะพอมาถึงสระท้ายวัด พระเทวทัตเกิดอยากอาบน้ำ พอหย่อนเท้าลงเหยียบพื้นสระโบกขรณี เลยถูกแผ่น
ดินสูบเสียก่อน

บันทึกการเข้า
คำค้น: พุทธประวัติ อ.คำนวน ชานันโท พุทธจิตรกร ภาพวาด 
หน้า:  1 [2] 3   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.257 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 09 เมษายน 2567 00:28:38