[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
26 เมษายน 2567 13:54:00 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: วัดธรรมิการาม (วัดค้างคาว) ลพบุรี มรดก-หลักฐานล้ำค่าที่ถูกลืม  (อ่าน 716 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2325


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2563 14:58:49 »

.


วัดธรรมิการาม ลพบุรี ชาวบ้านเรียก “วัดค้างคาว”
มรดก-หลักฐานล้ำค่าที่ถูกลืม

ที่มา - ศิลปวัฒนธรรม

วัดธรรมิการาม ลพบุรี มีสิ่งของที่น่าจะถือว่าเป็นมรดกล้ำค่า เป็นหลักฐานที่ต้องบันทึก และความเป็นมาของคำที่ชาวบ้านเรียกว่า “วัดค้างคาว” ? ในวัดมีอะไรน่าสนใจบ้าง?

ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำบางขาม ตำบลบางขาม อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี เป็นที่ตั้งของวัดๆ หนึ่งชื่อว่า “วัดธรรมิการาม” แต่ชาวบ้านเรียกว่า “วัดค้างคาว”

ชื่อของวัดธรรมิการามคงไม่เป็นที่รู้จักเท่าไหร่นัก แต่หากกล่าวชื่อว่าวัดค้างคาวคงเป็นชื่อที่คุ้ยเคยมากกว่า ชาวบ้านในพื้นที่เองก็มักจะเรียกชื่อว่าวัดค้างคาว นายนา บรรจงเปลี่ยน ผู้เฒ่าในพื้นที่เคยให้สัมภาษณ์เมื่อกว่า 30 ปีที่แล้วถึงเหตุผลของชื่อวัดว่า แต่เดิมในอดีตด้านหน้าวัดทิศตะวันออกที่ติดริมแม่น้ำมีค้างคาวขนาดใหญ่ที่เรียกว่า “ค้างคาวแม่ไก่” มาเกาะอยู่ตามต้นไม้เป็นจำนวนมาก ชาวบ้านจึงเรียกวัดนี้ว่า “วัดค้างคาว”

ค้างคาวแม่ไก่จำนวนมากที่มาอาศัยเกาะอยู่ตามต้นไม้หน้าวัดธรรมิการามหรือวัดค้างคาวได้ก็เพราะว่า เจ้าอาวาสวัดแต่ละรูปเห็นความสำคัญของชีวิตสัตว์โดยเฉพาะค้างคาวที่มาอาศัยอยู่ที่นี้ จึงพยายามปกป้องคุ้มครองให้พ้นจากการรบกวนของชาวบ้านมาตลอด จนกลายเป็นสัญลักษ์และที่มาของชื่อวัดที่ชาวบ้านเรียกและรู้จักกันดีตลอดจนกระทั่งทุกวันนี้

นายนา บรรจงเปลี่ยน เล่าว่าตอนที่ตนอายุประมาณ 8 ขวบ ซึ่งตอนนั้นหลวงพ่อหลง อินทรสรเป็นเจ้าอาวาสก็มีค้างคาวมาอาศัยอยู่แล้ว และพบเห็นเรื่อยมาถึงสมัยหลวงพ่อโข่ (มรณภาพเมื่อประมาณปี 2471) และหลวงพ่อชุด สุวรรณโณ (พระครูศีลสารสุทร เป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่ประมาณปี 2471 – 2505)

จนกระทั่งถึงสมัยของพระครูธรรมธร (ยอด อภิปปสันโน) เป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่ปี 2505 คาดว่า อาจให้ความสนใจที่จะคุ้มครองสัตว์อย่างค้างคาวน้อยกว่าที่ผ่านมา ค้างคาวจำนวนมากจึงถูกรบกวนจากชาวบ้านที่หวังนำเอามาเป็นอาหาร ดักจับบ้าง ยิงตอนเกาะในตอนกลางวันบ้าง จนในที่สุดค้างคาวก็เหลือเพียงชื่อที่เรียกขานเท่านั้น

ทั้งนี้ วัดธรรมิการามหรือวัดค้างคาวใช่ว่าจะมีความน่าสนใจเพียงที่มาของชื่อวัด เมื่อเข้าไปชมในวัดพบว่ามีสิ่งที่เป็นของเก่าน่าดูหลายอย่าง และเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจอย่างใบเสมาเก่า พระพุทธรูปปางสมาธินาคปรก และที่โดดเด่นเห็นจะเป็นจิตรกรรมฝาผนังมีทั้งในพระอุโบสถและในพระวิหาร

นายนา บรรจงเปลี่ยน เล่าอีกว่าในสมัยก่อนแถบลำน้ำบางขามจะมีวัดเก่าอยู่เพียง 2 วัดเท่านั้นคือ วัดไลย์กับวัดค้างคาว ส่วนวัดอื่นๆ ตามริมฝั่งน้ำจะเป็นวัดที่สร้างขึ้นภายหลังทั้งสิ้น

ความเก่าแก่ของวัดค้างค้าวมีหลักฐานที่หลงเหลืออยู่ให้พบเห็น อย่างแรกคือใบเสมาสลักหินทราย เหลืออยู่พียงหลักเดียว ปักอยู่มุมหน้าพระอุโบสถทางตะวันตกเฉียงเหนือ ลักษณะรูปแบบทางศิลปกรรมแบบอู่ทองหรืออยุธยาตอนต้น

นอกจากนี้ยังพบพระพุทธรูปสลักหินทรายปางสมาธินาคปรกอยู้ด้านนอกผนังหน้าพระอุโบสถ ตามพุทธลักษณะเป็นแบบศิลปะสมัยลพบุรี (ขอม) พระพุทธรูปองค์นี้เดิมอยู่ในบริเวณซากวัดร้างคือ “วัดโพธิ์ล้ม” ซึ่งอยู่ติดกับวัดค้างคาวไปทางเหนือเล็กน้อย (บ้านบางสงค์ หมู่ที่ 3 ในปัจจุบัน) แต่บริเวณนี้ชาวบ้านจะเรียกว่า “โคกตาโต” หรือ “วัดโคกตาโต” หรือ “วัดร้างโคกตาโต”

ในสมัยพระครูธรรมธร (ยอด) เป็นเจ้าอาวาส พระพุทธรูปสลักหินทรายปางนาคปรกถูกโจรขโมยพระเศียรไป ภายหลังทางวัดและชาวบ้านช่วยกันบูรณะปั้นพระเศียรต่อใหม่ด้วยปูนซีเมนต์

พระอุโบสถวัดค้างคาวลักษณะทางสถาปัตยกรรมแต่เดิมนั้น พระอำนวย สิริจันโท และนายนา บรรจงเปลี่ยน เล่าตรงกันว่า ลักษณะหน้าบันของพระอุโบสถแต่เดิมมีเครื่องถ้วยชามเผาเคลือบฝังประดับอยู่ที่พื้นหน้าบันทั้งด้านหน้าและด้านหลัง แต่ถูกแกะขโมยเอาไปขายเมื่อประมาณช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และแนวสันหลังคาเดิมก็ไม่มีช่อฟ้า ซึ่งน่าจะเป็นลักษณะช่อฟ้าแบบหัวนาคมากกว่าที่นิยมมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 ชาวบ้านเรียกลักษณะพระอุโบสถนี้ว่า “ทรงขอมแปลง” ปัจจุบันทั้งหน้าบันและช่อฟ้าถูกบูรณะเปลี่ยนแปลงไปหมดแล้ว

ศิลปกรรมที่โด่ดเด่นที่สุดในวัดค้างคาวคือจิตกรรมฝาผนังที่มีทั้งในพระอุโบสถและในพระวิหาร จิตกรรมฝาผนังในพระอุโบสถเล่ากันว่าเขียนโดยช่างหลวงซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์ชื่อ “เกษร” จนชาวบ้านเรียกว่า “หม่อมเกษ” หรือ “ช่างสอน” ก็มี เริ่มเขียนตั้งแต่แนวบนของกรอบหน้าต่างขึ้นไปจนสุดผนังโดยรอบทั้ง 4 ด้าน แต่ตรงกลางผนังด้านหน้าจะเขียนภาพพระพุทธเจ้าประทับยืนในซุ้มเรือนแก้วอยู่ตอนล่างของของผนังเพียงจุดเดียวเท่านั้น

ส่วนล่างสุดของภาพเขียนจะเขียนเป็นลายดอกต่อเนื่องกันไปเป็นกรอบล่างในแนวเส้นตรงทุกผนัง (ลักษณะแบบลายดอกประจำยามก้านแย่งต่อเนื่องกันเป็นหัวกระดาน)

อายุของจิตรกรรมฝาผนังอยู่ในช่วงรัชกาลที่ 5 – 6 เขียนเป็นเรื่องของพุทธประวัติ การจัดภาพและแบ่งภาพแต่ละตอนจะเขียนเป็นกลุ่มๆ แต่ก็ไม่แบ่งตอนกันอย่างเด็ดขาด ส่วนใหญ่จะเชื่อมเรื่องราวในแต่ละตอนด้วยภาพธรรมชาติเป็นหลัก แต่บางตอนก็เชื่อมเหตุการณ์แต่ละตอนด้วยเรื่องราวเล็กๆ น้อยๆ ในพุทธประวัติบ้างก็มี

การเขียนภาพบนผนังพระอุโบสถวัดค้างคาวได้นำเอาเทคนิคการเขียนแบบตะวันตกเข้ามาใช้ด้วยคือ การเขียนแบบมีมุมมอง (Perspective) ให้เห็นภาพใกล้-ไกล มีความลึก มีแรเงา ส่วนภาพที่ดำเนินเรื่องจะยังคงใช้สีแบบราบแล้วตัดเส้นตามแบบจิตกรรมไทยรุ่นเก่าอยู่

สำหรับคุณค่าทางจิตกรรมในพระอุโบสถนี้ เป็นจิตรกรรมประเพณีแบบช่างหลวงของภาคกลาง และช่างได้วาดภาพชีวิตไทยร่วมสมัยสอดแทรกเข้าไปด้วย เช่น ภาพคนจีนลากรถ ภาพเรือนไทยและเรือนคนจีนขายเหล้า ภาพเรือกำปั่นไฟ เป็นต้น

ในส่วนของจิตกรรมผาฝนังในพระวิหาร ด้านความงดงามเห็นจะด้อยกว่าจิตรกรรมในพระอุโบสถเพราะว่าเป็นฝีมือการเขียนภาพแบบพื้นบ้านโดยแท้ เขียนแบบเรียบง่าย แต่ภาพยังคงสมบูรณ์ดีกว่าในพระอุโบสถ ภาพจิตรกรรมผาฝนังพระวิหารเป็นภาพทศชาติชาดก ภาพวิถีชีวิตพื้นบ้านไทย ภาพเรือนไทย การแต่งกาย ชีวิตความเป็นอยู่ ภาพพายเรือ ตกปลา ทำงาน หุงหาอาหาร และยังระบุว่า “เขียนเดือน 11 ขึ้น 8 ค่ำ ปีกุล สำเร็จแล้วปีชวด พ.ศ.2467 เป็นราคา 94 บาท ช้างเพง เปนผู้เขียนไวในพระพุทสาสนา ขอให้ข้าพเจ้า เจรินสุกนิพพาน ปจะโยโหตุ”

สมชาย นิลอาธิ ผู้เขียนบทความเรื่องมรดกล้ำค่าที่วัดค้างคาว พยายามสืบเสาะตัวช่างเพง แต่ยังไม่พบว่ามาจากบ้านแห่งไหน ทราบแต่ว่าเป็นหลวงพ่อหลงว่าจ้างให้มาเขียน ใช้เวลาอย่างต่ำไม่น้อยกว่า 2-3 เดือนอย่างแน่นอน เมื่อเขียนเสร็จแล้วช่างไม่ยอมกลับบ้านเดิม ขออาศัยที่วัดค้างคาวจนเสียชีวิตที่วัดค้างคาว

ฝีมือช่างท้องถิ่นที่เขียนภาพจิตกรรมฝาผนังพระวิหารวัดค้างคาวมีคุณค่าอยู่ไม่น้อย เพราะในแถบตลอดลำน้ำบางขามจนถึงอำเภอบ้านหมี่แทบไม่พบการเขียนภาพโดยช่างพื้นบ้านเลย

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27 พฤศจิกายน 2563 15:00:29 โดย ใบบุญ » บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ปรางค์สามยอด แดนดินถิ่นวานรของฝูงลิงอารมณ์ดี : อ.เมือง จ.ลพบุรี
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng 2 4067 กระทู้ล่าสุด 28 ธันวาคม 2559 15:58:52
โดย Kimleng
หลวงปู่จันทร์ จันทโชติ วัดนางหนู จ.ลพบุรี
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 1517 กระทู้ล่าสุด 28 กุมภาพันธ์ 2560 19:56:47
โดย ใบบุญ
วัดไลย์ อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี : ชมศิลปะปูนปั้นที่งดงามและมีคุณค่ายิ่ง
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng 3 4755 กระทู้ล่าสุด 26 มีนาคม 2562 08:42:07
โดย หมีงงในพงหญ้า
พระอาจารย์ติ๋ว ฐิตวัฑฒโน วัดมณีชลขัณฑ์ อเมือง จ.ลพบุรี
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 752 กระทู้ล่าสุด 19 สิงหาคม 2562 17:47:27
โดย ใบบุญ
รายการซูเปอร์หม่ำสัมภาษณ์ท่านเจ้าคุณอลงกต วัดพระบาทน้ำพุ จ.ลพบุรี
ลานกว้าง (มุมดูคลิป)
หมีงงในพงหญ้า 0 1235 กระทู้ล่าสุด 01 พฤษภาคม 2563 10:54:58
โดย หมีงงในพงหญ้า
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.349 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 05 เมษายน 2567 11:12:17