[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
26 เมษายน 2567 11:55:48 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: “ภูเขาทอง” กองอิฐใหญ่ที่ถูกทิ้งร้าง  (อ่าน 602 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2325


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 86.0.4240.198 Chrome 86.0.4240.198


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 01 ธันวาคม 2563 15:22:21 »

.


          
          ภูเขาทอง วัดสระเกศ
          (ภาพจาก หนังสือ ประชุมภาพประวัติศาสตร์ แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)


“ภูเขาทอง” กองอิฐใหญ่ที่ถูกทิ้งร้าง
มูลเหตุการขุด “คลองผดุงกรุงเกษม” ป้องกันพระนคร

ที่มา - ศิลปวัฒนธรรม
เผยแพร่ - วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2563

รัชกาลที่ 3 ทรงมีพระราชดำริให้สร้าง “ภูเขาทอง” ที่วัดสระเกศ ให้สร้างเป็นพระปรางค์ขนาดใหญ่อย่างภูเขาทองที่อยุธยา แต่เนื่องด้วยชั้นดินอ่อนตัว รับน้ำหนักจำนวนมหาศาลของพระปรางค์ไม่ได้ กระทั่งทรุดลง จึงหยุดก่อสร้างค้างอยู่เพียงฐาน ถูกปล่อยให้รกร้าง กลายเป็นกองอิฐขนาดใหญ่นอกกำแพงพระนคร

ตำแหน่งที่ตั้งของภูเขาทองนั้น นับเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญของพระนคร เพราะตั้งอยู่ริมคลองมหานาคเชื่อมต่อกับคลองรอบกรุงและคลองหลอด (คลองหลอดวัดราชนัดดาฯ) และอยู่เยื้องกับป้อมมหากาฬ เมื่อเข้าสู่สมัยรัชกาลที่ 4 ทรงมีพระราชดำริถึงภูเขาทองว่า หากข้าศึกศัตรูเข้ายึดภูเขาทองได้ อาจนำปืนไปตั้งบนภูเขาทอง แล้วยิงเข้าสู่พระนคร ซึ่งจะเป็นอันตรายอย่างใหญ่หลวง ตามที่มีบันทึกไว้ว่า

“…อนึ่งพระปรางค์องค์ใหญ่ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างขึ้นที่วัดสระเกษ การไม่สำเร็จตลอดไป ทิ้งรกอยู่เป็นกองอิฐใหญ่ ราษฎรเรียกกันว่า ภูเขาทอง ถ้ามีข้าศึกศัตรูเอาปืนขึ้นไปตั้งบนภูเขาทองนั้น ยิงระดมสาดเข้ามาในพระนคร ก็เห็นว่าจะรักษาได้เป็นอันยาก (รัชกาลที่ 4 – ผู้เขียน) จึงโปรดให้ขุดคลองผดุงกรุงเกษม เป็นคูพระนครชั้นนอก ดังได้รับพระราชทานพรรณาความมาแล้ว แล้วจึงโปรดให้สร้างป้อมรายเป็นระยะตามฝั่งคลองส่วนในพระนคร ตั้งแต่ปากคลองข้างเหนือไปถึงปากคลองข้างใต้…”



          
          คลองรอบกรุงและภูเขาทอง วัดสระเกศ ภาพถ่ายสมัยรัชกาลที่ 5
          (จากหนังสือ แม่น้ำลำคลอง)

ความข้างต้นเป็นพระธรรมเทศนาของกรมพระยาวชิรญาณวโรรส ซึ่งเดิมเป็นพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 5 ทรงเป็นผู้เรียบเรียงพระราชประวัติรัชกาลที่ 4 แล้วพระราชทานแด่กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ให้ทรงนำไปเรียบเรียงเป็นพระธรรมเทศนาถวายที่พระที่นั่งอนันตสมาคม เนื่องในการพระราชกุศลถวายแด่รัชกาลที่ 4 คราวฉลองสมโภชพระนครครบ 100 ปี เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ.2425

ดังนั้น ด้วยเหตุที่ภูเขาทองเป็นกองอิฐใหญ่รกร้างนี้เอง จึงเป็นเหตุผลสำคัญประการหนึ่งในการก่อสร้างคลองผดุงกรุงเกษมให้เป็นแนวป้องกันพระนครอีกชั้นหนึ่ง เพื่อป้องกันไม่ให้ข้าศึกศัตรูเข้ายึดภูเขาทอง

นอกจากนี้ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์อธิบายไว้ว่า สมัยรัชกาลที่ 4 ประชาชนออกไปตั้งบ้านเรือนนอกกำแพงพระนครกันมากขึ้น ตัวเมืองก็ขยายออกไปกว้างขวางมากขึ้น รัชกาลที่ 4 จึงทรงหวังพระทัยว่า การก่อสร้างคลองผดุงกรุงเกษมจะช่วยป้องกันข้าศึกศัตรู “…จะได้เป็นที่อุ่นใจแก่ไพร่บ้านพลเมืองซึ่งตั้งอยู่นอกกำแพงพระนคร กับประการหนึ่งลูกค้านานาประเทศเข้ามาค้าขาย เห็นบ้านเมืองป้อมคูมั่นคงก็จะไม่เป็นที่หมิ่นประมาทได้…”



                  
          คลองรอบกรุงผ่านตำบลบางลำพู สมัยรัชกาลที่ 5 บ้านเรือนตั้งเรียงรายสองฝากคลอง
          (ภาพจากหนังสือชื่อบ้านนามเมืองในกรุงเทพฯ)

คลองผดุงกรุงเกษมเริ่มก่อสร้างเมื่อ พ.ศ.2394 มีสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ขณะเป็นเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ที่พระสมุหกลาโหม เป็นแม่กองก่อสร้าง ขุดคลองกว้าง 10 วา ลึก 6 ศอก ยาว 137 เส้น 10 วา เท่ากับกว้าง 20 เมตร ลึก 3 เมตร ยาว 5,500 เมตร

และยังได้สร้างป้อมขึ้นอีกจำนวน 8 ป้อม อันมีนามว่า ป้อมป้องปัจจามิตร ป้อมปิดปัจจนึก ป้อมฮึกเหี้ยมหาญ ป้อมผลาญไพรีราบ ป้อมปราบศัตรูพ่าย ป้อมทำลายปรปักษ์ ป้อมหักกำลังดัษกร และป้อมมหานครรักษา โดยหากเกิดศึกสงคราม ก็จะใช้ไม้แก่นหรือไม้ลำปักเป็นแนวกำแพงเชื่อมแต่ละป้อมเข้าด้วยกัน

อนึ่ง ป้อมป้องปัจจามิตรนี้ เป็นป้อมเดียวในทั้งหมด 8 ป้อม ที่ตั้งอยู่ฝั่งธนบุรี บริเวณปากคลองสาน เป็นป้อมคู่กับป้อมปิดปัจจนึก ที่ตั้งอยู่ฝั่งพระนคร บริเวณปากคลองผดุงกรุงเกษมข้างใต้

ภูเขาทองยังถูกปล่อยให้รกร้างต่อไประยะหนึ่ง จวบถึงช่วงปลายรัชกาล รัชกาลที่ 4 ทรงมีพระราชดำริให้ก่อสร้างภูเขาทองขึ้นอีกครั้ง โปรดให้ก่อเป็นภูเขาขนาดใหญ่ แล้วสร้างพระเจดีย์ไว้ด้านบน ดำเนินการวางศิลาฤกษ์เมื่อ พ.ศ.2408 พระราชทานนามว่า “บรมบรรพต” แต่มาก่อสร้างแล้วเสร็จในสมัยรัชกาลที่ 5

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01 ธันวาคม 2563 15:25:45 โดย ใบบุญ » บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.236 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 26 มีนาคม 2567 07:01:49