[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
16 เมษายน 2567 19:55:43 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ศักดิ์ของกฎหมาย  (อ่าน 928 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ฉงน ฉงาย
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 9
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 453


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 86.0.4240.183 Chrome 86.0.4240.183


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 07 พฤศจิกายน 2563 12:01:56 »



ศักดิ์ของกฎหมาย

ศักดิ์ของกฎหมาย

กฎหมายที่ออกใช้บังคับในประเทศแบ่งออกเป็นหลายระดับ เนื่องจากอำนาจในการออกกฎหมายมีที่มาต่างกัน ได้แก่ กฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติจะมีระดับความสำคัญสูงและใช้บังคับได้กว้างขวางกว่ากฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหาร กฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหารก็จะมีระดับความสำคัญสูงและใช้บังคับได้กว้างขวางกว่ากฎหมายที่ออกโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อธิบายระดับความสำคัญของกฎหมายได้ ดังนี้

 (:LOVE:)รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
 (:LOVE:)พระราชบัญญัติ
 (:LOVE:)พระราชกำหนด
 (:LOVE:)พระราชกฤษฎีกา
 (:LOVE:)กฎกระทรวง
 (:LOVE:)ข้อบัญญัติจังหวัด
 (:LOVE:)เทศบัญญัติ
 (:LOVE:)ข้อบังคับตำบล

1. กฎหมายรัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายที่มีลำดับความสำคัญสูงสุดใช้ในการปกครองประเทศ มีบทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพตลอดจนหน้าที่ของพลเมืองไทย แนวนโยบายแห่งรัฐ สถาบันนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการ และการปกครองส่วนท้องถิ่น กฎหมายอื่นที่ออกใช้จะขัดหรือแย้งกับกฎหมายรัฐธรรมนูญไม่ได้

 

2. พระราชบัญญัติ เป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยผ่านกระบวนการทางรัฐสภามีความสำคัญรองลงมาจากกฎหมายรัฐธรรมนูญ ผู้มีสิทธิเสนอร่างพระราชบัญญัติคือ คณะรัฐมนตรีหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อสภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัติแล้วก็จะส่งให้วุฒิสภาพิจารณา หากเห็นชอบก็จะนำขึ้นทูลเกล้าฯพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย เมื่อได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วก็สามารถใช้บังคับได้

 

3. พระราชกำหนด เป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี มีความสำคัญในระดับเดียวกันกับพระราชบัญญัติ แต่พระราชกำหนดจะออกใช้ต่อเมื่อเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นเร่งด่วนในการรักษาความปลอดภัยของประเทศ หรือความปลอดภัยของสาธารณะ หรือความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือการป้องกันภัยภิบัติของสาธารณะ และไม่อาจจะเรียกประชุมรัฐสภาให้ทันท่วงที

 

พระราชกำหนดมี 2 ประเภท คือ พระราชกำหนดในเรื่องทั่วไปและพระราชกำหนดเกี่ยวด้วยเรื่องภาษีอากรและเงินตรา ในกรณีเป็นพระราชกำหนดเกี่ยวด้วยเรื่องภาษีอากรและเงินตรามีเงื่อนไขว่าการเสนอร่างพระราชกำหนดต้องอยู่ในระหว่างสมัยประชุมสภาและมีความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศ รัฐมนตรีผู้รับผิดชอบจะเป็นผู้เสนอร่างพระราชกำหนดต่อคณะรัฐมนตรีให้พิจารณา หากเห็นชอบก็จะนำขึ้นทูลเกล้าฯพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย เมื่อได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วก็สามารถใช้บังคับเป็นกฎหมาย

 

รัฐธรรมนูญกำหนดให้นำพระราชกำหนดเสนอต่อรัฐสภาเพื่ออนุมัติในการประชุมคราวต่อไป ในกรณีเป็นพระราชกำหนดเกี่ยวด้วยเรื่องภาษีอากรและเงินตราจะต้องเสนอพระราชกำหนดต่อสภาผู้แทนราษฎรภายใน 3 วันนับตั้งแต่วันที่ได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา หากสภาไม่เห็นชอบพระราชกำหนดนั้นก็จะตกไป แต่จะไม่กระทบกระเทือนกิจการที่ได้ทำไปในระหว่างที่ใช้พระราชกำหนดนั้น

 

4. พระราชกฤษฎีกา เป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี ตามที่กำหนดในรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนดให้อำนาจฝ่ายบริหารสามารถกำหนดรายละเอียดเพิ่มเติมภายใต้กรอบของกฎหมายนั้น รัฐมนตรีผู้รับผิดชอบจะเป็นผู้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกาต่อคณะรัฐมนตรีให้พิจารณา หากเห็นชอบก็จะนำขึ้นทูลเกล้าฯพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย เมื่อได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วก็สามารถใช้บังคับเป็นกฎหมายได้

 

5. กฎกระทรวง เป็นกฎหมายที่รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติกำหนดรายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย โดยรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบจะเป็นผู้เสนอร่างกฎกระทรวงต่อคณะรัฐมนตรีให้พิจารณา หากเห็นชอบก็จะนำลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาใช้บังคับเป็นกฎหมายต่อไป

 

6. ข้อบัญญัติจังหวัด เป็นกฎหมายท้องถิ่นที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดได้รับอำนาจตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด หรือกฎหมายอื่น ให้ออกข้อบัญญัติจังหวัดเพื่อใช้บังคับในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ นอกเขตเทศบาล เขตสุขาภิบาล และเขตตำบลในกรณีที่ตำบลใดมีการจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลแล้ว โดยผู้ว่าราชการจังหวัดหรือสมาชิกสภาจังหวัดเสนอร่างข้อบัญญัติจังหวัดต่อสภาจังหวัดเพื่อพิจารณา เมื่อเห็นชอบแล้วก็จะประกาศที่ศาลากลางจังหวัดเป็นเวลา 15 วันก็ใช้บังคับเป็นกฎหมาย เว้นแต่กรณีเร่งด่วนก็อาจให้มีผลใช้บังคับในวันถัดจากวันที่ประกาศนั้น

 

7. เทศบัญญัติ เป็นกฎหมายท้องถิ่นที่เทศบาลได้รับอำนาจตามพระราชบัญญัติเทศบาล หรือกฎหมายอื่น ให้ออกเทศบัญญัติเพื่อใช้บังคับในเขตเทศบาลที่รับผิดชอบ คณะเทศมนตรีหรือสมาชิกสภาเทศบาลจะเป็นผู้เสนอร่างเทศบัญญัติต่อสภาเทศบาลเพื่อพิจารณา เมื่อเห็นชอบแล้วก็จะประกาศที่สำนักงานเทศบาลเป็นเวลา 7 วันก็ใช้บังคับเป็นกฎหมาย เว้นแต่กรณีเร่งด่วนก็อาจให้มีผลใช้บังคับในวันที่ประกาศนั้น

 

8. ข้อบังคับตำบล เป็นกฎหมายท้องถิ่นที่องค์การบริหารส่วนตำบลได้รับอำนาจตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 หรือกฎหมายอื่น ให้ออกข้อบังคับตำบลเพื่อใช้บังคับในเขตตำบลที่รับผิดชอบ คณะกรรมการบริหารหรือสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลจะเป็นผู้เสนอร่างข้อบังคับตำบลต่อสภาองค์การบริหารส่วนตำบลและนายอำเภอเพื่อพิจารณา เมื่อเห็นชอบแล้วก็จะประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมาย ในการออกกฎหมายนั้นอาจกำหนดค่าธรรมเนียมที่จะเรียกเก็บและกำหนดโทษปรับผู้ฝ่าฝืนด้วยก็ได้ แต่โทษปรับกำหนดได้ไม่เกิน 500 บาท

 

 ที่มา

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.287 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 25 กุมภาพันธ์ 2567 19:54:55