[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 17:32:34 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ตำนานพระธาตุดอยตุง  (อ่าน 685 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ฉงน ฉงาย
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 9
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 453


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 87.0.4280.141 Chrome 87.0.4280.141


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 20 มกราคม 2564 19:53:47 »


ตำนานพระธาตุดอยตุง

https://www.chiangmainews.co.th/wp-content/uploads/2016/12/DSC_0686.jpg
ตำนานพระธาตุดอยตุง


           เป็นเรื่องราวที่กล่าวถึงที่มาของพระธาตุดอยตุง (หากปริวรรตตามต้นฉบับภาษาถิ่นล้านนาจะเขียนด้วยตัว ท เป็น "ดอยทุง" ที่แปลว่า ธง หรือดอยธง คือธงตะขาบ ดังปรากฏมีรูหินที่ในบริเวณใกล้กับพระธาตุ อันเป็นที่ปักเสาธงมาก่อน ภาษาไทยกลางเขียนตามเสียงอ่านเป็น "ดอยตุง") ประดิษฐานบนดอยตุง อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย บนความสูง ๑,๓๖๔ เมตรจากระดับน้ำทะเล
หนังสือ "ประวัติพระธาตุดอยตุง"(๒๕๓๖) ที่รวบรวมโดยคณะกรรมการค้นคว้าวิจัยประวัติพระธาตุดอยตุง ระบุถึงแหล่งข้อมูลลายลักษณ์ของตำนานพระธาตุดอยตุงว่า มีตำนาน ๒ ตำนาน ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับพระธาตุดอยตุงและถ้ำต่าง ๆ คือ
๑) ตำนานพระธาตุดอยตุง
๒) ตำนานถ้ำปุ่ม ถ้ำเปลวปล่องฟ้า
เรื่องราวบางส่วนของตำนานพระธาตุดอยตุงและตำนานถ้ำปุ่มฯ ยังปรากฏในตำนานอื่น ๆ เช่น ตำนานเมืองสุวรรณโคมคำ และตำนานสิงหนวัติ และพบว่าไม่ปรากฏต้นฉบับเดิมของทั้งสองตำนานนี้ คงเหลือเพียงฉบับคัดลอกในใบลาน ปกติมักจะพบตำนานทั้งสองนี้อยู่ในฉบับเดียวกัน โดยจะเขียนตำนานดอยตุงก่อน แล้วตามด้วยตำนานถ้ำปุ่มฯ บางฉบับนอกจากจะมีตำนานทั้งสองเรื่องแล้ว ยังมีเรื่องอื่นรวมอยู่ด้วย

          เนื้อเรื่องเริ่มต้นด้วยคาถาภาษาบาลี กล่าวถึงพระพุทธเจ้า ๔ พระองค์ ที่ล่วงมาแล้วในภัทรกัปนี้ หลังจากบิณฑบาตที่เมืองราชคฤห์ และเมืองมิถิลาแล้ว ทุกพระองค์ก็ได้เสด็จมายังภูเขานี้ และประทับนั่งบนยอดเขา ในอนาคตพระศรีอริยเมตไตรยก็จะทรงมีพระจริยวัตรอย่างนี้เช่นกัน  จากนั้นกล่าวถึงครั้งสมัยพุทธกาลว่า ยังมีภูเขาอยู่ ๓ อัน ตั้งอยู่ปัจฉิมทิศแห่งชยบุรี (ต้นฉบับใบลานใช้คำว่าภูเขา ลักษณะนามคือ อัน) อันหนึ่งชื่อว่า ภูเขาท่า ตั้งอยู่ทางทิศอุตตรกล้ำเหนือ (ตะวันออกเฉียงเหนือ) อันหนึ่งชื่อว่า ภูเขาย่าเจ้า อยู่ท่ามกลาง อันหนึ่งชื่อว่า ภูเขาปู่เจ้า ตั้งอยู่ทางทักขิณะ ลำดับกันเป็นก้อนเส้าประสุมกัน

          มีนิทานของภูเขา ๓ ก้อนนี้ ว่าในสมัยพุทธกาล ยังมีมิลักขุผัวเมียคู่หนึ่ง ผัวชื่อว่า ปู่เจ้าลาวจก เมียชื่อ ย่าเจ้าลาวจก ทั้งสองมีจกเจา (จอบ) คนละ ๕๐๐ ลูก จึงได้ชื่อว่าลาวจก ปลูกถั่วปลูกงาไปขายแก่ชาวเมืองหาเลี้ยงชีพ ทั้งสองเป็นใหญ่แก่มิลักขุทั้งหลาย ปู่เจ้าอยู่ในดอยมหาธาตุแห่งนั้น จึงเรียกชื่อดอยนั้นว่า ดอยปู่เจ้า ส่วนเมียอยู่ดอยทางเหนือถัดไป จึงเรียกว่าดอยย่าเจ้า นั่นแล
สองผัวเมียมีลูกชาย ๓ คน ชื่อ ลาวหม้อ ลาวล้าน และลาวกลิ่นรส อาศัยอยู่ดอยลูกทางเหนือ จึงมีคนเอาของไปค้าขายกันที่นั่น จึงได้ชื่อว่า ดอยท่า เพราะเป็นท่าค้าขายของ นั่นแล จากนั้นกล่าวถึงเรื่องที่มาของชื่อตลาด และชื่อเมือง ว่ามาจากชื่อที่เกิดจากการค้าขาย เช่น กาดไล่ เมืองบวบ เป็นต้น จากนั้นกล่าวถึงการให้ลูกทั้งสามไปครองเมืองต่าง ๆ คือ เมืองสี่ตวง เมืองคว้าน และเมืองเอก ตามลำดับ

          ในครั้งเมื่อพระพุทธเจ้าเดินจงกรมอยู่ที่ตีนเขาคิชฌกูฏ พระเทวทัตเถระคิดจะกำจัดทำร้ายพระองค์ เพื่อจะได้ขึ้นเป็นพระพุทธเจ้าแทน จึงกลิ้งหินก้อนใหญ่ลงจากเขาใส่พระองค์ แต่พระพุทธเจ้ามีบุญสมภารมาก จึงมีหินอีกก้อนหนึ่งกลิ้งมาบังไว้ แต่ด้วยมีความเมตตาไม่ให้พระเทวทัต อกแตกตาย พระองค์จึงเหยียดเท้าให้ถูกหินก้อนหนึ่งเป็นแผลจ้ำเลือด หมอชีวกกุมารจึงมารักษาให้พระองค์   จากนั้นพระพุทธองค์ก็เสด็จออกจากเขาคิชฌกูฏ ลงสู่แม่น้ำขลนทีแม่ของ (แม่น้ำโขง) ทอดพระเนตรไปทางทิศตะวันตก เห็นภูเขา ๓ ลูกนั้น จึงเสด็จมาทางอากาศพร้อมพระอรหันต์ ๕๐๐ รูป ประทับอยู่บนหินใหญ่ก้อนหนึ่งที่มีสัณฐานเหมือนมะนาวผ่าครึ่ง พระองค์ทอดพระเนตรไปทางทิศตะวันออก แล้วทำนายว่าเมืองนี้จะเป็นเมืองอันใหญ่รุ่งเรืองในภายภาคหน้า เป็นที่ตั้งแห่งศาสนาตราบเท่า ๕,๐๐๐ วรรษา และรับสั่งแก่พระอานนท์ว่า เมื่อพระองค์เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้ว ให้นำเอาสรีรธาตุกระดูกด้ามมีดเบื้องซ้าย มาประดิษฐานไว้ที่ก้อนผาอันเหมือนมะนาวผ่าครึ่งนี้



วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.353 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 12 กุมภาพันธ์ 2567 04:03:23