[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 มีนาคม 2567 21:57:20 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า:  1 [2] 3   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: Re: ธรรมซีรี่ย์... สัญลักษณ์แห่งความดีงาม [ดอกบัว]  (อ่าน 74024 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 10 พฤษภาคม 2553 13:45:25 »






ธรรมซีรี่ย์... สัญลักษณ์แห่งความดีงาม [ดอกบัว]


ดอกบัวเป็นดอกไม้พิเศษที่จะนำไปเป็นสัญลักษณ์แห่งความดีงาม
ความคิดที่ว่าดอกบัวเป็นสัญลักษณ์แห่งความดีงามนี้
เห็นได้จากมีการนิยมใช้ดอกบัวเป็นเครื่องบูชาพระรัตนตรัยโดยทั่วไป

ดอกบัวได้ชื่อว่าเป็นพืชพันธุ์ไม้น้ำที่ทรงคุณค่าด้านความงามอันล้ำเลิศ พระอรรถกถาจารย์
เปรียบธรรมชาติของดอกบัวว่า มีความคล้ายคลึงกับปรัชญาในพระพุทธศาสนา   
ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท มีเรื่องราวเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับดอกบัวอยู่มากมาย

นำมาฝากเป็นธรรมซีรี่ย์ครับ


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 13 ตุลาคม 2553 15:26:33 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: ลงใหม่ค่ะ » บันทึกการเข้า
 
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #21 เมื่อ: 20 กันยายน 2553 16:01:15 »



ธรรมซีรี่ส์ดอกบัว ตอนนี้เป็นตอนที่สามครับ นำมาฝากในเรื่องว่าด้วยดอกบัวกับพระพุทธเจ้า ดอกบัวกับพระธรรม ดอกบัวกับพระสงฆ์ ครับ

ดอกบัวกับพระพุทธเจ้า

ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท ดอกบัวมักถูกนำไปเปรียบเทียบกับองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในหลาย ๆ เหตุการณ์ ดังนี้

มีคำบรรยายเปรียบพระพุทธเจ้ากับดอกบัว พระองค์ทรงละแล้วซึ่งทุกข์ทั้งปวง ความทุกข์ทั้งหลายไม่สามารถครอบงำหรือผูกมัดพระองค์ได้ ดังข้อความที่เปรียบกับดอกบัวว่า

ดอกบัวก้านมีหนาม เกิดในน้ำ ไม่แปดเปื้อนด้วยน้ำและโคลนตม ฉันใด
มุนีผู้กล่าวเรื่องความสงบ ก็ไม่ยินดี ไม่แปดเปื้อนในกามและโลก ฉันนั้น


ขุ.ม. (ไทย) ๒๙/๘๐/๒๓๗.

บันทึกการเข้า
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #22 เมื่อ: 20 กันยายน 2553 20:05:56 »

Wow

สุดยอดครับ โพสท์ไว้ของเก่าตั้งแต่ 10 พค. จนถึงตอนนี้ 20 กย.

ยาวจริง  ๆ
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #23 เมื่อ: 20 กันยายน 2553 20:08:48 »

ปล. หัวข้อนี้เคยมีคนอ่านมาตั้งแต่ตั้งกระทู้จนถึงตอนนี้เกือบ 1600 คน

 ซีด ซีด ซีด ซีด

ฮอทจริง ๆ

 หัวเราะลั่น หัวเราะลั่น หัวเราะลั่น
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #24 เมื่อ: 21 กันยายน 2553 07:54:03 »






พระพุทธเจ้าเป็นผู้ไม่หวาดหวั่นในโลกธรรม ๘ คือ ไม่ทุกข์ร้อนเพราะคำนินทา และไม่ยินดีด้วยคำสรรเสริญ ดังข้อความที่เปรียบกับดอกบัวว่า

ผู้เที่ยวไปผู้เดียว มีปัญญา ไม่ประมาท ไม่หวั่นไหวเพราะนินทาและสรรเสริญ
ไม่สะดุ้งเพราะเสียง เหมือนราชสีห์ ไม่ติดข่าย เหมือนลม
ไม่เปียกน้ำ เหมือนบัว เป็นผู้แนะนำผู้อื่น ไม่ใช่ผู้อื่นแนะนำ
นักปราชญ์ทั้งหลายประกาศว่า เป็นมุนี


ขุ.สุ. (ไทย) ๒๕//๒๑๕/๕๕๐.
 
                 

พระพุทธเจ้า ทรงเป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ทรงตัดอนุสัย ทรงข้ามห้วงน้ำใหญ่ คือ สงสารได้แล้ว ทรงเป็นผู้ละแล้วซึ่งบุญและบาปทั้งปวง ดังพระพุทธพจน์ว่า

ภิกษุทั้งหลาย ดอกอุบลก็ดี ดอกปทุมก็ดี ดอกบุณฑริกก็ดี เกิดในน้ำ เจริญในน้ำ โผล่พ้นจากน้ำแล้วตั้งอยู่ แต่น้ำไม่ติด แม้ฉันใด ตถาคตก็ฉันนั้นเหมือนกัน เกิดแล้วในโลก เจริญแล้วในโลก ครอบงำโลกอยู่ แต่ไม่ติดโลก



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06 พฤศจิกายน 2553 15:57:07 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #25 เมื่อ: 02 ตุลาคม 2553 05:12:57 »



http://i883.photobucket.com/albums/ac40/42tong/water%20reflection/tong16.gif
Re: ธรรมซีรี่ย์... สัญลักษณ์แห่งความดีงาม [ดอกบัว]

ขอบคุณที่มาภาพนี้จาก น้องต้องค่ะ


ในบาลีมีเรื่องเล่าว่า โทณพราหมณ์ ผู้เห็นรอยพระบาทของพระพุทธเจ้าเมื่อพระองค์เสด็จดำเนินทางไกลระหว่างเมืองอุกกัฏฐะและเมืองเสตัพพะ รอยพระบาทนั้นมีรอยกงจักรถึง ๑,๐๐๐ ซี่ ประกอบด้วยกงและดุม เป็นลักษณะซึ่งโทณพราหมณ์ไม่เคยพบเห็นที่ไหนมาก่อน ความอัศจรรย์ของรอยพระบาททำให้โทณพราหมณ์เข้าใจว่าต้องมิใช่รอยเท้ามนุษย์ เมื่อได้พบพระพุทธเจ้า โทณพราหมณ์จึงได้ทูลถามพระพุทธเจ้าว่าพระองค์เป็นเทวดา คนธรรพ์ ยักษ์ หรือมนุษย์ พระพุทธองค์ทรงตรัสตอบโดยเปรียบดอกบัวกับพระองค์ว่า

พราหมณ์ เราเกิดเจริญเติบโตในโลก แต่อยู่เหนือโลก เหมือนดอกอุบล (บัวเขียว) ดอกปทุม (บัวหลวง) หรือดอกปุณฑริก (บัวขาว) เกิด เจริญเติบโตในน้ำ แต่อยู่เหนือน้ำ ไม่แปดเปื้อนด้วยน้ำฉันนั้น ท่านจงจำเราไว้ว่า เป็นพระพุทธเจ้า





Credit by : http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2008/12/Y7333684/Y7333684.html
รวบรวมข้อมูลนำมาแบ่งปันโดย : คุณ ebusiness
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 ตุลาคม 2553 07:01:55 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: ลิ้งค์ค่ะ » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #26 เมื่อ: 02 ตุลาคม 2553 07:43:00 »




พระอรรถกถาจารย์กล่าวถึงดอกบัวที่ผุดขึ้นรับพระบาทของพระพุทธเจ้าว่า สหาย ๒ คนชื่อครหทินและสิริคุต ครหทินเป็นสาวกของนิครนถ์ซึ่งเป็นนักบวชนอกศาสนา ได้พยายามชักชวนให้สิริคุตผู้เป็นพุทธสาวกหันไปนับถือลัทธิเดียวกับตน ซึ่งอ้างว่าลัทธิของตนนั้นรู้จริงทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคต สิริคุตจึงทดสอบเหล่านิครนท์ด้วยการขุดหลุม ใช้เสื่อลำแพนคลุมไว้บนหลุมแล้วใส่อุจจาระไว้จนเต็ม ทำการอำพรางไว้ที่หน้าบ้านของตน จากนั้นนิมนต์สาวกของนิครนถ์มากินอาหารที่บ้าน ปรากฏว่าเหล่านิครนถ์ไม่รู้กลอุบาย ตกลงในหลุมอุจจาระที่ถูกอำพรางไว้ เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนั้นสิริคุตจึงขับไล่เหล่านิครนถ์ เพราะเห็นชัดว่าพวกนิครนถ์ไม่ได้รู้อดีต ปัจจุบัน และอนาคตตามที่ได้อวดอ้างไว้ ต่อมาครหทินคิดทดสอบบ้าง อาราธนาพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสาวกไปฉันอาหารที่บ้านตน ครหทินได้ขุดหลุมถ่านเพลิงโดยใช้เสื่อลำแพนปิดอำพรางไว้เช่นกัน ครั้นพระพุทธองค์ทรงย่างเหยียบบนเสื่อ ถ่านเพลิงได้กลับกลายเป็นดอกบัวรองรับพระบาทไว้อย่างน่ามหัศจรรย์

มีคำบรรยายเหตุการณ์ว่า

พระศาสดาทรงเหยียดพระบาทลงเหนือหลุมถ่านเพลิง เสื่อลำแพนหายไปแล้ว ดอกบัวประมาณเท่าล้อผุดขึ้นทำลายหลุมถ่านเพลิง พระศาสดาทรงเหยียบกลีบบัว เสด็จไปประทับนั่งลงบนพุทธอาสน์ ที่เขาปูลาดไว้
ความอัศจรรย์ที่เกิดขึ้น เป็นผลให้ครหทินซึ่งเคยเลื่อมใสในลัทธินิครนถ์เปลี่ยนใจหันมาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาตั้งแต่นั้น


ขุ.ธ.อ. (ไทย) ๔๑/๑๔๕


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01 ธันวาคม 2553 16:23:18 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #27 เมื่อ: 02 ตุลาคม 2553 08:34:07 »




ดอกบัวกับพระธรรม

ในคัมภีร์มิลินทปัญหา พระนาคเสนได้กล่าวบุคคลที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ควรปฏิบัติองค์คุณต่าง ๆ เพื่อให้สำเร็จอรหัตตผล องค์คุณที่ผู้ปฏิบัติพึงปฏิบัตินั้น คือองค์ ๓ แห่งบัว ซึ่งได้กล่าวถึงธรรมดาของดอกบัวไว้ ๓ ลักษณะ ดังนี้

๑. ย่อมเกิดและงอกงามในน้ำ แต่น้ำก็หาได้ติดบนใบบัวไม่
๒. เมื่อผุดขึ้นจากน้ำ ก็ลอยอยู่
๓. ต้องลมแม้เล็กน้อยก็สะบัดใบแกว่งไปมา

พระนาคเสนได้เทียบคุณสมบัติของดอกบัวกับผู้ปฏิบัติธรรมไว้ ดังนี้

๑. เป็นผู้ไม่ติดอยู่ในตระกูลและลาภยศสุขสรรเสริญ เป็นต้น
๒. เป็นผู้ครอบงำแล้วซึ่งโลกธรรมทั้งปวงแล้วลอยอยู่ในโลกุตตรธรรม
๓. การทำความสำรวมในกิเลสทั้งหลาย แม้มีประมาณน้อย เห็นกิเลสแม้เพียงเล็กน้อยเป็นเหตุให้หวั่นหวาด ดังพุทธภาษิตว่า ภิกษุมีปรกติเห็นภัยให้โทษ

พระนาคเสนถวายพระพรตอบพระยามิลินท์ โดยอุปมาพระพุทธเจ้ากับดอกบัวว่า ธรรมชาติของดอกบัวเกิดจากน้ำและเปือกตม แต่เมื่อดอกบัวโผล่พ้นน้ำก็มีรูปพรรณสวยงาม มีสีสวยสด มีกลิ่นหอมชวนชื่นใจ มิได้มีรูปพรรณ สีและกลิ่น เหมือนน้ำหรือเปือกตมเลย เช่นพระพุทธเจ้าที่มิได้มีพุทธลักษณะเหมือนพระพุทธบิดา หรือพระพุทธมารดานั้น



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14 ตุลาคม 2553 19:06:58 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #28 เมื่อ: 02 ตุลาคม 2553 09:42:59 »





มีคำบรรยายข้อปฏิบัติของพระปัจเจกพุทธเจ้าเปรียบกับดอกบัวว่า

เพราะไม่ทำความชั่ว คือ บาปอกุศลธรรมทั้งหลายที่เป็นเหตุแห่งความเศร้าหมอง
เป็นเหตุให้ก่อภพใหม่ มีความกระวนกระวาย

มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชรา มรณะต่อไป

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าละทิ้งหมู่ มีขันธ์เกิดดีแล้ว
มีดอกบัว (คือธรรม) เป็นผู้ยิ่งใหญ่ อยู่ในป่าตามชอบใจได้
เหมือนนาคะ ละทิ้งโขลงแล้วอยู่ป่าได้ตามชอบใจ

จึงประพฤติอยู่ผู้เดียวเหมือนนอแรด



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 05 พฤศจิกายน 2553 18:19:47 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
ขม..ค่ะึึ
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 1014


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 3.6.10 Firefox 3.6.10


ดูรายละเอียด
« ตอบ #29 เมื่อ: 16 ตุลาคม 2553 08:02:39 »

เก็บมาฝากค่ะ.. อายจัง

บันทึกการเข้า

"มิตรภาพที่แสนดี..ทำให้ทุกวินาทีมีความหมายเสมอ"
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 2.0.0.20 Firefox 2.0.0.20


ดูรายละเอียด
« ตอบ #30 เมื่อ: 01 ธันวาคม 2553 15:09:09 »




พระพุทธโฆสาจารย์ได้อธิบายอารมณ์กรรมฐานเปรียบกับดอกบัวว่า

เหง้าบัวหลวงซึ่งใช้แพร่พันธุ์ และรากบัวจะฝังลึกแน่นอยู่ใต้ดินในน้ำ ซึ่งยากต่อการที่จะถอนขึ้นมา แม้ในอารมณ์กรรมฐาน
การกำหนดเหงื่อ (เสโท) เป็นอารมณ์ในกรรมฐาน เมื่ออารมณ์กรรมฐานของผู้ปฏิบัติแน่วแน่ เป็นธรรมดาเหงื่อจะออกอยู่เป็นนิจ
จะไหลออกจากทุกรูขุมผมและขุมขน ทำให้ผู้ปฏิบัติกรรมฐานมีอารมณ์แน่วแน่ยิ่งขึ้น ท่านเปรียบไว้ว่า “เหมือนน้ำที่ไหลออกจากช่องกำเหง้าบัวและก้านบัว

ผู้ปฏิบัติกรรมฐานจะไม่รู้สึกตัวเมื่อเหงื่อไหลเมื่ออารมณ์กรรมฐานแน่วแน่เว้นแต่
่ผู้ปฏิบัติจะกำหนดเพื่อให้รู้ว่าอาการไหลของเหงื่อเป็นเพียงสภาวะเท่านั้น
อาการนี้เป็นการกำหนดอารมณ์กรรมฐานวิธีหนึ่งในหลาย ๆ วิธี

พระพุทธโฆสาจารย์อธิบายอารมณ์กรรมฐานโดยเปรียบกับดอกบัวไว้ดังนี้

คำว่า เหงื่อ ได้แก่ อาโปธาตุ (ธาตุน้ำในร่างกายที่ใช้เป็นอารมณ์กรรมฐาน) ที่ไหลออกตามช่องขุมขนเป็นต้น เหงื่อนั้นมีสีดังงาน้ำมันใส โดยสัณฐานมีสัณฐานตามโอกาส โดยทิศเกิดในทิศทั้ง ๒ โดยโอกาสชื่อว่าโอกาสแห่งเหงื่อ ซึ่งเป็นที่ที่มันจะพึงขังตั้งอยู่ทุกเมื่อดังโลหิตหามีไม่ แต่เมื่อใดร่างกายอบอ้าวอยู่ เพราะเหตุต่าง ๆ เช่น ร้อนไฟ ร้อนแดด และความเปลี่ยนแปลงแห่งฤดูเป็นต้น เมื่อนั้นมันจึงไหลออกตามช่องขุมผมและขนทั้งปวง ดุจกำสายบัวที่มีรากและเหง้าตัดไว้ไม่เรียบ ซึ่งคนถอนขึ้นจากน้ำฉะนั้น



บันทึกการเข้า
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 2.0.157.2 Chrome 2.0.157.2


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #31 เมื่อ: 01 ธันวาคม 2553 16:08:55 »

สาธุ อนุโมทนาครับ
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 2.0.0.20 Firefox 2.0.0.20


ดูรายละเอียด
« ตอบ #32 เมื่อ: 01 ธันวาคม 2553 16:19:24 »



http://www.oknation.net/blog/krudang/2009/08/20/entry-1

ดอกบัวกับพระสงฆ์

พระอรรถกถาจารย์ได้เปรียบพระสงฆ์กับดอกบัวไว้ดังนี้

ดอกบัวแม้จะเกิดขึ้นตามคูสกปรก ตามกองขยะที่เขาทิ้งทับถมไว้ริมถนนที่เต็มไปด้วยฝุ่น แต่ก็ยังมีกลิ่นหอมเป็นที่รื่นรมย์ใจ คนย่อมเก็บมาทัดทรงประดับแม้ส่วนสูงของร่างกาย โดยปราศจากการรังเกียจถึงสถานที่เกิดอันแสนจะปฏิกูลของมันฉันใด “พระสงฆ์สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งเป็นเพศบรรพชิต เป็นธงชัยแห่งพระอรหันต์”๓๒ แม้จะเกิดในตระกูลยากจนเข็ญใจ เมื่อมาประพฤติดีปฏิบัติชอบตามพระวินัย พุทธศาสนิกชนก็ย่อมเลื่อมใสศรัทธาเคารพกราบไหว้ โดยปราศจากความรังเกียจถือชาติตระกูลฉันนั้น จะเห็นได้ว่าชาวอินเดียในอดีต มีการถือชาติชั้นวรรณะกันอย่างรุนแรงและจริงจัง การที่ชนผู้อยู่ในวรรณะสูง มายอมกราบไหว้ผู้ที่อยู่ในวรรณะต่ำกว่านั้น โดยปกติแล้วจะมีไม่ได้โดยเด็ดขาด นอกจากพระสงฆ์ผู้ที่มีคุณสมบัติเฉกเช่นเดียวกับคุณสมบัติของดอกบัวเท่านั้น

อีกเรื่องหนึ่ง พระโมคคัลลานะซึ่งเป็นพระอัครสาวกเบื้องซ้าย พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญว่า เป็นผู้ฉลาดในวิธีแสดงฤทธิ์ต่าง ๆ “พระโมคัลลานะผู้มีปัญญามาก ฉลาดในสมาธิฌาน บรรลุบารมีด้วยปัญญา”๓๔ พึงเนรมิตอัตภาพชั่วขณะเดียวได้แสนโกฏิ โดยเปรียบพระโมคคัลลานะกับดอกบัวว่า

ท่านสิ้นอาสวะแล้วควรแก่การทักษิณา พระโมคคัลลานะผู้อันมนุษย์และเทวดาบูชาแล้ว
เกิดโดยอริยชาติ ครอบงำความตายเสียได้ ไม่ติดอยู่ในสังขารเหมือนดอกบัวไม่ติดอยู่กับน้ำ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 ธันวาคม 2553 14:39:09 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 2.0.157.2 Chrome 2.0.157.2


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #33 เมื่อ: 01 ธันวาคม 2553 16:36:39 »

สาธุ ๆ ๆ ๆ
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 2.0.0.20 Firefox 2.0.0.20


ดูรายละเอียด
« ตอบ #34 เมื่อ: 01 ธันวาคม 2553 16:42:24 »





พระอัสสชิเป็นพระมหาสาวกอีกองค์หนึ่งซึ่งเปรียบเหมือนดอกบัว
ท่านเป็นพระเถระรูปหนึ่งในคณะปัญจวัคคีย์
เป็นพระอรหันต์รุ่นแรกและเป็นอาจารย์ของพระสารีบุตร๓๖
ท่านมีบุคลิกที่น่าเสื่อมใส มีปัญญามาก มีคำยกย่องพระอัสสชิ
โดยเปรียบกับดอกบัวว่า

พราหมณ์นามว่าอัสสชิ
สาวกของพระองค์ ซึ่งหาผู้กระทบกระทั่งได้ยาก
มีเดชแผ่ไป เที่ยวบิณฑบาตในครั้งนั้น .....

..... มีจิตสงบ เบิกบาน ดุจดอกปทุมที่แย้มบาน



บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 2.0.0.20 Firefox 2.0.0.20


ดูรายละเอียด
« ตอบ #35 เมื่อ: 01 ธันวาคม 2553 17:03:32 »




ผู้ปฏิบัติธรรมที่สมาทานธุดงค์ ได้เป็นใหญ่ในพระบวรพุทธศาสนา
เป็นที่โสมนัสยินดี ย่อมมีแต่ความสุขสงบในสมาบัติ (ภาวะสงบประณีตซึ่งพึงเข้าถึง)
เปรียบความสุขสงบในสมาบัติกับประทุมชาติบัวหลวงที่มีคุณถึง ๑๐ ประการ คือ

๑. เป็นของอ่อนนุ่มสนิท (สินิทฺทมุทุ)
๒. เป็นที่ตั้งแห่งความงาม (สุภนิยํ)
๓. มีกลิ่นหอม (สุคนฺธํ)
๔. เป็นที่รักแห่งชนทั้งหลาย (ปิยํ)
๕. ชนทั้งหลายปรารถนา (ปตฺถิตํ)
๖. ชนทั้งหลายสรรเสริญ (ปสฏฺฐํ)
๗. น้ำหรือเปือกตมไม่สามารถซึมซาบเปียกปนอยู่ได้ (ชลกทฺทมอนุปลิตฺตํ)
๘. ประดับด้วยใบอ่อนเกสรและกลีบ (อนุปตฺตเกสรกณฺณิกาทิ มณฺฑิตํ)
๙. มีหมู่แห่งแมลงภู่และแมลงผึ้งบินโฉบฉาบคาบเกสร (ภมรคณเสวิตํ)
๑๐. เจริญขึ้นแต่ในน้ำที่สะอาด (สีตลสลิลสํวทฺธํ)

มีคำบรรยายสรรเสริญสาวกของพระพุทธเจ้าเปรียบกับดอกบัว ว่า

ในกองขยะที่เขาทิ้งไว้ข้างทางใหญ่
ยังมีดอกบัวมีกลิ่นหอมรื่นรมย์ใจเกิดขึ้นมาได้ ฉันใด
ในหมู่ปุถุชนผู้มืดมนผู้เปรียบได้กับกองขยะ
ก็ยังมีสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเจริญรุ่งเรืองด้วยปัญญา ฉันนั้น

ขุ.ธ. (ไทย) ๒๕/๕๘-๕๙/๔๕

ในตอนต่อไป การไหว้หรือการประนมมือ ที่เห็นได้ว่ามีลักษณะคล้ายดอกบัวตูม
ดอกบัวเป็นเครื่องสักการะพระรัตนตรัย โปรดติดตามครับ


บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 2.0.0.20 Firefox 2.0.0.20


ดูรายละเอียด
« ตอบ #36 เมื่อ: 17 มกราคม 2554 13:19:23 »






ธรรมซีรี่ส์ดอกบัว ตอนนี้เป็นตอนที่สี่ ครับ
นำมาฝากในเรื่องว่าด้วยดอกบัวเป็นเครื่องสักการะพระรัตนตรัย

พุทธศาสนิกชนนิยมใช้สิ่งสักการะอันแสดงถึงความบริสุทธิ์ผุดผ่อง
และความปราศจากมลทิน ดังนั้น เมื่อถือกันว่า
ดอกบัวเป็นเครื่องหมายแห่งความบริสุทธิ์แล้ว พุทธศาสนิกชนก็นิยมใช้ดอกบัว
เป็นเครื่องบูชาพระโดยเฉพาะดอกบัวหลวง

ในอดีตพระเถระบางรูปได้เคยนำดอกบัวไปบูชาพระพุทธเจ้า และได้รับอานิสงส์
อันเลิศเพราะการบูชาเช่นนั้น และดอกบัวที่ใช้บูชานั้นมีทั้งชนิดบัวหลวงและบัวสาย

ในเอกปทุมิยเถราปทาน มีคำบรรยายว่า ครั้งเมื่อพระเอกปทุมิยเถระมีกำเนิดเป็นพญาหงส์
ในขณะที่กำลังเล่นน้ำในสระแห่งหนึ่ง ก็ได้เห็นพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
เสด็จผ่านมาทางนั้น เพราะเห็นว่าพระพุทธเจ้าเป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดาเป็นนายกของโลก
“.....จึงหักดอกบัวหลวงอันเป็นที่รื่นรมย์ใจที่ก้านแล้ว ข้าพเจ้ามีใจผ่องใส
ใช้จงอยปากคาบโยนขึ้นไปในท้องฟ้า ได้บูชาพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด”

อานิสงส์ที่เกิดขึ้น เพราะการใช้ดอกบัวที่เกิดแก่พระเอกปทุมิเถระ
เป็นพุทธบูชาครั้งนี้ มีคำบรรยายว่า ข้าพเจ้าได้ทำกรรมใดไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลยนี้เป็นผลแห่งพุทธบูชาพระพุทธเจ้าคุณวิเศษ เหล่านี้คือ
ปฏิสัมภิทา ๔  วิโมกข์ ๘  และอภิญญา ๖





« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 มกราคม 2554 12:05:16 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 2.0.0.20 Firefox 2.0.0.20


ดูรายละเอียด
« ตอบ #37 เมื่อ: 17 มกราคม 2554 14:08:32 »






พระนางยโสธรา เมื่อครั้งที่เกิดในวรรณะพราหมณ์ ในเมืองอมรวดี
นางมีชื่อว่าสุมิตตา นางได้ถือดอกบัว ๘ กำเพื่อบูชาพระศาสดา ขณะรับเสด็จ
พระพุทธเจ้าทีปังกรพร้อมด้วยฤาษีสุเมธ
ฤาษีสุเมธได้อุทิศตนนอนทอดเป็นสะพาน เพื่อให้พระพุทธเจ้าทีปังกรและพุทธสาวก



เหยียบผ่าน นางได้กล่าวแก่ฤาษีสุเมธว่า “ดอกบัว ๓ กำของหม่อมฉัน กับดอกบัว ๕ กำ
ของท่านนั้น จงมีผลเสมอกัน เพื่อประโยชน์แก่พระโพธิญาณของท่าน”
ดังนั้นแล้ว ฤาษีสุเมธจึงได้ถวายดอกบัว ๕ กำและตั้งจิตปรารถนาให้ได้บรรลุโพธิญาณ

ส่วนสุมิตตาได้ถวายดอกบัว ๓ กำแด่พระพุทธเจ้าทีปังกรด้วยจิตที่เป็นมหากุศล
จากการถวายดอกบัวในครั้งนั้น มีคำบรรยายอานิสงส์ที่นางได้รับว่า อุบาสิกานี้
จักเป็นผู้มีจิตเสมอกัน มีการกระทำเสมอกัน มีปกติทำร่วมกัน จักเป็นที่น่ารักเพราะ
การกระทำเพื่อประโยชน์แก่ท่าน จักเป็นหญิงน่าดูน่าชม
น่ารักยิ่ง น่าชอบใจ มีวาจาอ่อนหวาน มีฤทธิ์ เป็นธรรมทายาทของท่าน .....

เรื่องราวเหล่านี้เป็นหลักฐานแสดงถึงค่านิยมของพุทธศาสนิกชน
ในการถือว่าดอกบัวว่าเป็นดอกไม้ที่มีคุณลักษณะเหมาะแก่การนำมาบูชาพระ




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30 กันยายน 2554 14:41:34 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: jpg » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 2.0.0.20 Firefox 2.0.0.20


ดูรายละเอียด
« ตอบ #38 เมื่อ: 17 มกราคม 2554 14:15:52 »





ดอกบัวเป็นดอกไม้สำหรับบูชาพระพุทธเจ้า มีเรื่องเล่าว่า เมื่อครั้งพระตีปทุมิยเถระ ยังเป็นช่างดอกไม้ ได้นำดอกปทุมมา ๓ ดอก ด้วยหวังจะถวายพระราชา แต่ครั้นได้เห็นพระพุทธเจ้าเสด็จดำเนินอยู่ในละแวกตลาด ก็เกิดความคิดว่า จะมีประโยชน์อะไร ด้วยดอกไม้เหล่านี้เมื่อตนนำไปบำรุงพระราชา ตนอาจได้รับบ้านหรือคามเขต หรือทรัพย์ ๑,๐๐๐ เป็นการตอบแทนเท่านั้น แต่ถ้านำดอกบัวนี้บูชาพระพุทธเจ้าผู้ทรงฝึกคนที่มิได้ฝึกตนผู้แกล้วกล้า พระองค์ย่อมทรงนำสุขมาให้แก่สัตว์ทั้งปวงผู้เป็นนาถะของโลกแล้ว ตนจักได้ทรัพย์ที่ยั่งยืน

                             

มีคำบรรยายว่า ข้าพเจ้าเมื่อคิดอย่างนี้แล้ว จึงทำจิตใจของตนให้เลื่อมใส จับดอกบัวแดง ๓ ดอกโยนขึ้นไปในอากาศ ในครั้งนั้นพอข้าพเจ้าโยนขึ้นไป ดอกบัวแดงเหล่านั้นก็แผ่ (ขยายกลีบ) อยู่ในอากาศ ขั้วชี้ขึ้นข้างบน ดอกย้อยลงข้างล่างกั้นอยู่เหนือพระเศียรในอากาศ

มีคำบรรยายอานิสงส์ที่ได้รับจากการถวายดอกบัวมีว่า นางเทพอัปสรทั้งหลายใช้กลีบบัวปูลาดวิมานนี้แล้วจักนุ่งห่มกลีบบัว นอนกลิ้งเกลือกอยู่ภายในวิมานที่ประเสริฐซึ่งลาดด้วยกลีบบัวดอกบัวแดงเหล่านั้น แวดล้อมวิมาน
ส่งกลิ่นหอมอบอวลด้วยกลิ่นทิพย์ฟุ้งไปในที่ประมาณ ๑๐๐ โยชน์โดยรอบ



http://img156.imageshack.us/img156/9935/83348843.jpg
Re: ธรรมซีรี่ย์... สัญลักษณ์แห่งความดีงาม [ดอกบัว]

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 มกราคม 2554 12:25:58 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 2.0.0.20 Firefox 2.0.0.20


ดูรายละเอียด
« ตอบ #39 เมื่อ: 17 มกราคม 2554 14:24:56 »





ไม่เพียงแต่ดอกบัวเท่านั้นที่ศาสนิกชนนำไปบูชาพระ แม้แต่เมล็ดบัวซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของดอกบัว ก็มีผู้นำไปใช้เป็นพุทธบูชาด้วยเช่นกัน
ในผลทายกเถราปทาน มีเรื่องว่า พระผลทายกเถระผู้เกิดในตระกูลพราหมณ์ ศึกษาจบศิลปศาสตร์ของพราหมณ์คือไตรเพท เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่าปทุมุตตระ เกิดจิตเลื่อมใส ได้ในพระพุทธองค์ ถวายเมล็ดบัวชนิดอร่อยพร้อมกับน้ำผึ้ง แล้วนำไปคล้องไว้ที่ปลายไม้ มีคำบรรยายว่า

ข้าพเจ้าคงแก่เรียน ทรงมนตร์ จบไตรเพท อยู่ในอาศรมที่ไม่ไกลภูเขาหิมพานต์ เครื่องบูชาไฟและเมล็ดบัวขาวของข้าพเจ้ามีอยู่ ของทั้งหมดข้าพเจ้าใส่ไว้ในกระจาดแล้ว คล้องไว้ที่ยอดไม้ พระผู้มีพระภาค พระนามว่าปทุมุตตระ ผู้ทรงรู้แจ้งโลก ผู้สมควรรับเครื่องบูชา

พระผู้มีพระภาคเจ้าปทุมุตตระเสวยเมล็ดบัวในขณะที่พระผลทายกเถระกำลังมองดู เพื่อทำให้พระเถระเกิดความโสมนัส และได้รับอานิสงส์แห่งการถวายเมล็ดบัว มีคำบรรยายว่า

ด้วยกุศลมูลนั้น ข้าพเจ้าได้เสวยสมบัติ ละความชนะและความแพ้ได้ บรรลุฐานะที่ไม่หวั่นไหวในกัปที่ ๗๐๐ นับจากกัปนี้ไป ข้าพเจ้าได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ พระนามว่า สุมงคละ สมบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗ ประการ มีพลานุภาพมาก

ขุ.อป. (บาลี) ๓๒/๒๒/๒๒๐




บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 2.0.0.20 Firefox 2.0.0.20


ดูรายละเอียด
« ตอบ #40 เมื่อ: 17 มกราคม 2554 14:34:23 »




จากการศึกษาพบว่า แม้แต่เหง้าบัวและรากบัว ก็มีผู้ใช้ถวายเป็นพุทธบูชา ซึ่งแสดงให้เห็นว่าทุก ๆ ส่วนของดอกบัวนั้น มีคุณค่าที่บุคคลจะนำไปบูชาพระพุทธเจ้า มีคำบรรยายอานิสงส์การถวายเหง้าบัวและรากบัวของภิสมุฬาลทายกเถระว่า

ข้าพเจ้าไม่รู้จักความสุขที่เสมอด้วยความสุขนั้น
และความสุขที่ยิ่งไปกว่าความสุขนั้นแต่ที่ไหนเลย
อัตภาพสุดท้ายของข้าพเจ้ากำลังเป็นไปอยู่
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ .....
..... เป็นผลแห่งการถวายเหง้าบัวและรากบัว

อีกเรื่องหนึ่งครับ เมื่อพระมหาโมคคัลลานะจาริกไปยังสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ท่านได้พบเทพธิดา ๔ องค์เสวยทิพยสมบัติอยู่ในวิมาน เทพธิดาทั้ง ๔ มีวรรณะงาม เปล่งรัศมีสว่างไปทุกทิศเหมือนดาวประกายพรึก พระมหาโมคคัลลานะจึงได้ถามถึงเหตุที่ทำให้นางมีวรรณะงามเช่นนั้น เทพธิดาตนหนึ่ง “มีวรรณะดังปทุม มีตากลมดังกลีบปทุม”

                 

ตอบว่า นางได้เคยจัดอาสนะไว้เหนือดอกปทุมทั้งหลาย ซึ่งงดงามด้วยกลีบช่อและเกสรของดอกปทุมที่แย้มบานแล้วปูลาดด้วยผ้าขาวใหม่ ๆ นางได้วางดอกปทุม ๔ ดอก และพุ่มดอกไม้เหนือเท้าทั้ง ๔ ของอาสนะ ถวายพระเถระ เมื่อพระเถระนั่งเหนืออาสนะแล้ว นางบูชาพระเถระด้วยกลีบปทุมที่มีเกสร โดยการโรยรอบ ๆ อาสนะ และตั้งจิตปรารถนาว่า “ด้วยอานุภาพบุญของดิฉันนี้ ขอจงมีสมบัติทิพย์ที่งดงามด้วยบัลลังก์เรือนยอดอันเป็นทิพย์ ในความเป็นไปทุกอย่าง ขอจงอย่าขาดดอกปทุมเลย”




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 กุมภาพันธ์ 2554 18:05:22 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า:  1 [2] 3   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.518 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 13 มีนาคม 2567 21:53:32