[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 มีนาคม 2567 21:03:22 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า:  [1] 2 3   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: Re: ธรรมซีรี่ย์... สัญลักษณ์แห่งความดีงาม [ดอกบัว]  (อ่าน 74022 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 10 พฤษภาคม 2553 13:45:25 »






ธรรมซีรี่ย์... สัญลักษณ์แห่งความดีงาม [ดอกบัว]


ดอกบัวเป็นดอกไม้พิเศษที่จะนำไปเป็นสัญลักษณ์แห่งความดีงาม
ความคิดที่ว่าดอกบัวเป็นสัญลักษณ์แห่งความดีงามนี้
เห็นได้จากมีการนิยมใช้ดอกบัวเป็นเครื่องบูชาพระรัตนตรัยโดยทั่วไป

ดอกบัวได้ชื่อว่าเป็นพืชพันธุ์ไม้น้ำที่ทรงคุณค่าด้านความงามอันล้ำเลิศ พระอรรถกถาจารย์
เปรียบธรรมชาติของดอกบัวว่า มีความคล้ายคลึงกับปรัชญาในพระพุทธศาสนา   
ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท มีเรื่องราวเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับดอกบัวอยู่มากมาย

นำมาฝากเป็นธรรมซีรี่ย์ครับ


Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 13 ตุลาคม 2553 15:26:33 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: ลงใหม่ค่ะ » บันทึกการเข้า
 
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 10 พฤษภาคม 2553 13:53:16 »



  ดอกบัวเปรียบกับอนุพยัญชนะ

จากการศึกษาพระพุทธประวัติ พบว่า พระพุทธเจ้าทรงมีพระลักษณะต่างกับสามัญชน พระพุทธลักษณะนั้นเรียกว่า มหาปุริสลักษณะ ซึ่งหมายถึงลักษณะของมหาบุรุษ คือ พระพุทธเจ้า

ส่วนพระพุทธลักษณะอันเป็นข้อปลีกย่อยของพระมหาบุรุษ เรียกว่า อนุพยัญชนะ มีพระพุทธลักษณะ ๓ ประการซึ่งกวี ได้เปรียบเทียบกับดอกบัว คือ

 (๑) พระกรรณทั้งสองข้างมีสัณฐานอันยาวเรียวอย่างกลีบประทุมชาติ

 (๒) พระสรีระกายสดชื่นดุจดอกประทุมชาติ

(๓) กลิ่นพระโอษฐ์หอมฟุ้งเหมือนกลิ่นดอกอุบล

สมัยพุทธกาล พระพุทธสาวกที่เป็นพระอรหันต์ เมื่อปลงอายุสังขารแล้ว ต้องไปทูลลาพระพุทธเจ้าเพื่อนิพพาน พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี อดีตพระน้านางก็เป็นผู้หนึ่งซึ่งเมื่อทรงปลงอายุสังขารแล้ว ได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ทูลลาพระพุทธองค์เพื่อนิพพาน มีเรื่องว่า พระนางซบพระเศียรแทบพระบาทของพระพุทธเจ้า กราบทูลว่า

“ขอพระองค์ทรงอนุญาตหม่อมฉัน ขอพระองค์โปรดเหยียดพระบาทที่วิจิตรด้วยลายจักร (ลายจักรก้นหอย) และลายธงอันละเอียดอ่อนคล้ายกับดอกบัว”

พระนางทรงเปรียบพระบาทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากับดอกบัว ดังคำบรรยายว่า

“พระนางมหาปชาบดีโคตมีเถรี ได้ซบพระเศียรลงแทบพื้นพระยุคลบาท ซึ่งเป็นลายจักรคล้ายกับดอกบัวบาน มีพระรัศมีดังดวงอาทิตย์แรกทอแสง”




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 กันยายน 2553 20:12:36 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: เพิ่มภาพค่ะ » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 10 พฤษภาคม 2553 14:02:55 »



  ดอกบัวเปรียบกับเวไนยสัตว์

จากการศึกษาเหตุการณ์ในพุทธประวัติ เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ทรงมีความท้อพระทัยที่จะสั่งสอนเวไนยสัตว์ ทรงพิจารณาเห็นว่าธรรมที่ได้ตรัสรู้นั้น เป็นธรรมอันลึกซึ้ง สุขุมคัมภีรภาพ ยากที่มนุษย์และสรรพสัตว์ผู้ยินดีในกามคุณจะรู้ตามได้ แต่เพราะอาศัยพระมหากรุณาในหมู่สัตว์ พระองค์ทรงพิจารณาดูอัธยาศัยเวไนยสัตว์ก็ทรงทราบว่าผู้มีกิเลสเบาบาง ที่อาจรู้ตามพระองค์ได้ก็มี พระองค์ทรงเปรียบเทียบระดับสติปัญญาของมนุษย์กับการเจริญเติบโตของบัว ๓ เหล่า คือ บัวเกิดในน้ำ บัวเสมอน้ำ และบัวพ้นน้ำ จึงมีคำอุปมาเวไนยสัตว์เหมือนดอกบัว แบ่งเป็น ๔ เหล่าตามอัธยาศัย คือ

๑. อุคฆฏิตัญญู ผู้มีกิเลสน้อยเบาบาง มีอินทรีย์กล้า เพิ่งสอนให้รู้ได้โดยง่าย อาจรู้ธรรมพิเศษได้ฉับพลัน เปรียบเหมือนดอกปทุมชาติ ที่โผล่พ้นจากพื้นน้ำขึ้นจากพื้นน้ำมาแล้ว คอยสัมผัสรัศมีพระอาทิตย์อยู่ จักบานในวันนี้

๒. วิปจิตัญญู ผู้มีกิเลสค่อนข้างน้อย เมื่อได้รับอบรมในปฏิปทาอันเป็นบุพภาค จนมีอุปนิสัยแก่กล้า ก็สามารถบรรลุธรรมพิเศษได้ เปรียบเหมือนดอกบัวซึ่งยังตั้งอยู่เสมอพื้นน้ำ จักบานในวันพรุ่งนี้

๓. เนยยะ ผู้มีกิเลสเบาบาง ก็ยังควรได้รับคำแนะนำในธรรมปฏิบัติไปก่อน เพื่อบำรุงอุปนิสัยจนกว่าจะแรงกล้า จึงจะบรรลุธรรมพิเศษ เปรียบเหมือนดอกบัวที่ยังจมอยู่ในน้ำ คอยเวลาที่จะบานในวันต่อ ๆ ไป

๔. ปทปรมะ ผู้มีกิเลสหนา ปัญญาหยาบ หาอุปนิสัยมิได้เลย ไม่สามารถจะบรรลุธรรมพิเศษได้ เปรียบเหมือนดอกบัวที่จมอยู่ใต้น้ำและเป็นภักษาหารแห่งปลาและเต่า


บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 10 พฤษภาคม 2553 14:09:08 »




นอกจากนี้ พระอรรถกถาจารย์ กล่าวสาเหตุที่ภิกษุสามเณรจะพินาศเพราะพรหมจรรย์ ต้องละเพศไปสู่ฆราวาส ท่านว่าเพราะอันตราย ๕ ประการ เทียบกับอันตรายของดอกบัว คือ

๑. ดอกบัวย่อมเป็นอันตรายด้วยพายุใหญ่พัดเอาหักโค่น เปรียบด้วยพระภิกษุสามเณรผู้ต้องลมปาก คือคำชักชวนของคนพาล มาชักน้ำเกลี้ยกล่อมให้จิตใจเห็นเคลิบเคลิ้มในโลกียวิสัย หน่ายรักจากพระศาสนา ต้องละเพศพรหมจรรย์ไป

๒. ดอกบัวย่อมเป็นอันตรายด้วยถูกกิมิชาติ คือหนอนเข้าเบียดเบียนกัดต้นกินใบ เปรียบเหมือนพระภิกษุสามเณรผู้ตั้งใจประพฤติพรหมจรรย์ แต่ถูกโรคาพาธต่าง ๆ เข้ามาเบียดเบียนตัดรอน จนไม่อาจประพฤติพรหมจรรย์ได้

๓. ดอกบัวย่อมเป็นอันตรายด้วยถูกฝูงกินนรีเก็บเอาไปเชยชม คือมีผู้มาเด็ดไปจากต้น เปรียบเหมือนพระภิกษุสามเณร ถูกมาตุคาม (สตรี) ล่อให้ลุ่มหลงสิ้นศรัทธาในพระศาสนา ต้องละเพศพรหมจรรย์

๔. ดอกบัวย่อมเป็นอันตราย ด้วยถูกเต่าและปลากัดกินเป็นอาหาร เปรียบเหมือนพระภิกษุสามเณรผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ถูกพระยามัจจุราชคือความตายมาตัดรอนคร่าเอาชีวิตไปเสีย

๕. ดอกบัวย่อมเป็นอันตรายด้วยน้ำและโคลนตม ไม่บริบูรณ์เหือดแห้งหดไป เปรียบเหมือนพระภิกษุสามเณรผู้ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยความตั้งอกตั้งใจ แต่เพราะกุศลหนหลังและวาสนาปัจจุบันไม่มี ก็เผอิญให้มีอุปสรรคขัดข้องต่าง ๆ ไม่สามารถทรงจำพระธรรมวินัยได้ เป็นเหตุให้ท้อถอยต้องลาเพศพรหมจรรย์ไป


http://i883.photobucket.com/albums/ac40/42tong/6.gif
Re: ธรรมซีรี่ย์... สัญลักษณ์แห่งความดีงาม [ดอกบัว]


http://www.flickr.com/groups/529758@N24/pool/page8/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 ตุลาคม 2553 16:26:22 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 10 พฤษภาคม 2553 14:21:32 »




  ดอกบัวเป็นสัญลักษณ์ของผู้ปฏิบัติธรรม

ในการปฏิบัติธรรม เมื่อบุคคลละสิ่งที่ขัดขวางจิตไม่ให้ก้าวหน้าในธรรม ได้แก่ นิวรณ์ จิตย่อมเกิดปีติ กายย่อมเกิดความสงบ เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น สงัดจากกามและอกุศลธรรม ความสุขใด ๆ ในโลกียธรรมนั้น ย่อมเปรียบไม่ได้กับความสุขที่เกิดจากการปฏิบัติธรรม ดังนั้น ในการปฏิบัติธรรม พระพุทธเจ้าทรงเปรียบเทียบความสุขที่เกิดจากการบรรลุตติยฌานกับดอกบัวไว้ ดังนี้

เปรียบเหมือนในกอบัวเขียว (อุบล) กอบัวหลวง (ปทุม) หรือกอบัวขาว (บุณฑริก) ดอกบัวเขียว ดอกบัวหลวง หรือดอกบัวขาว บางเหล่าที่เกิดเจริญเติบโตในน้ำ ยังไม่พ้นน้ำ จมอยู่ใต้น้ำ มีน้ำหล่อเลี้ยงไว้ ดอกบัวเหล่านั้นชุ่มชื่นเอิบอาบซาบซึมด้วยน้ำเย็นตั้งแต่ยอดถึงเหง้า ไม่มีส่วนไหนที่น้ำเย็นจะไม่ถูกต้อง ฉันใด ภิกษุทำกายนี้ให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มด้วยสุขอันไม่มีปีติ รู้สึกซาบซ่านอยู่ ไม่มีส่วนไหนของร่างกายที่สุขอันไม่มีปีติจะไม่ถูกต้อง ฉันนั้น

นอกจากนี้ พระพุทธโฆษาจารย์อธิบายถึงเหตุที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญผู้ได้บรรลุธรรมขั้นตติยฌานนี้ไว้ว่า ผู้ที่บรรลุตติยฌานซึ่งเป็นยอดสุดแห่งความสุข เป็นผู้มีสติตั้งมั่น เป็นผู้เห็นเสมอกัน มีสติ อยู่เป็นสุข



บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: 10 พฤษภาคม 2553 14:30:40 »




ดอกบัวเป็นสัญลักษณ์แห่งการตรัสรู้ธรรม

พระมหาปันถก เมื่อบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์แล้ว ได้รับความสุขจากการหลุดพ้น สิ้นจากกิเลส (สิ่งที่ทำให้จิตเศร้าหมอง) และอาสวะ (กิเลสที่หมักหมมหรือดองอยู่ในสันดาน) ทั้งปวง มีความปรารถนาจะให้จูฬปันถกผู้เป็นน้องชายมีความสุขเช่นนั้นบ้าง จึงได้ขออนุญาตธนเศรษฐีผู้เป็นตาผู้ซึ่งมีศรัทธาในพระพุทธศาสนาอยู่แล้ว ได้อนุญาตให้จูฬปันถกออกบวช จูฬบันถกก็ได้รับอนุญาตจากธนเศรษฐีให้ออกบวชได้ พระมหาปันถกผู้พี่ชายได้สอนคาถาพรรณนาคุณบทหนึ่งแก่พระจูฬปันถก ความว่า

ดอกบัวชื่อโกกนุท บานในเวลาเช้า ยังไม่สิ้นกลิ่น ยังหอมอยู่ ฉันใด
ท่านจงดูพระอังคีรส ผู้ไพโรจน์อยู่ เหมือนดวงอาทิตย์รุ่งโรจน์อยู่ในอากาศ ฉันนั้น

เพียงคาถาบทเดียวนี้เท่านั้น พระจูฬปันถกเรียนอยู่นานถึง ๔ เดือนก็ยังจำไม่ได้ พระมหาปันถกผู้พี่ชายพยายามให้เธอเรียนอย่างไรก็ไม่สำเร็จ ในที่สุดเห็นว่าพระน้องชายเป็นคนโง่เขลาเบาปัญญา จึงตำหนิพระน้องชายแล้วขับไล่ออกจากสำนักไป

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงทราบเรื่องนี้จึงเสด็จไปเทศนา ได้ประทานผ้าขาวผืนหนึ่งให้แก่พระจูฬปันถก ตรัสบอกให้บริกรรมด้วยคาถาว่า “รโชหรณํ รโชหรณํ” (ผ้าเช็ดธุลี ผ้าเช็ดธุลี) พร้อมกับให้พระจูฬปันถกลูบคลำผ้าผืนนั้นไปด้วยขณะบริกรรมคาถา ในเวลาไม่นาน พระจูฬปันถกได้บรรลุพระอรหัตผลพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาญาณ คือ ปัญญาอันแตกฉาน ๔ ประการ ได้แก่

อัตถปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในอรรถ)

ธัมมปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในธรรม)

นิรุตติปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในนิรุกติ คือ ภาษา)

ปฏิภาณปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ)

และได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าให้เป็นหนึ่งในอสีติมหาสาวก (พระสาวกผู้ใหญ่ ๘๐ องค์) ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุผู้เป็นสาวกของเรา ผู้เนรมิตกายสำเร็จด้วยใจ ๑ ผู้ฉลาดในการเปลี่ยนแปลงทางใจ ๑ จูฬปันถกเป็นเอตทัคคะแล.....”



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10 พฤษภาคม 2553 15:29:14 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #6 เมื่อ: 10 พฤษภาคม 2553 14:45:35 »





อีกเรื่องหนึ่ง อดีตนายช่างทอง ซึ่งเป็นสัทธิวิหาริก (เป็นคำเรียกผู้ที่ได้รับอุปสมบท ถ้าอุปสมบทต่อพระอุปฌายะองค์ใดองค์หนึ่ง ก็เป็นสัทธิวิหาริกของพระอุปัชฌายะองค์นั้น) ของพระสารีบุตร เมื่อบวชเป็นภิกษุ พระสารีบุตร สวยงาม จึงให้ภิกษุหนุ่มพิจารณาอสุภกรรมฐาน๓๗ เธอพยายามพิจารณาอสุภกรรมฐานอยู่ตลอด ๔ เดือน ยังไม่พบคุณวิเศษแต่ประการใด พระพุทธองค์ทรงทราบด้วยพระสัพพัญญุตญาณ คือ พระปรีชาญาณหยั่งรู้ ทั้งที่เป็นอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ว่า ภิกษุหนุ่มผู้นี้เคยเป็นนายช่างทองมาแล้วถึง ๕๐๐ ชาติ การทำงานอยู่กับทองซึ่งเป็นสิ่งของสวยงาม ประกอบกับมีอุปนิสัยละเมียดละไมรักสวยรักงาม (ราคจริต) จึงควรนำสิ่งที่สวยงามเช่นดอกบัวเพื่อใช้เป็นอารมณ์กรรมฐาน

วันหนึ่ง พระพุทธองค์ทรงพาภิกษุนั้นเที่ยวจาริกไปในวิหาร แล้วทรงนิรมิตสระโบกขรณีสระหนึ่งในอัมพวัน และนิรมิตดอกปทุมใหญ่ดอกหนึ่งในกอปทุม แม้นั้น แล้วรับสั่งให้นั่งลงด้วยพระดำรัสว่า ภิกษุ เธอจงนั่งแลดูดอกปทุมนี้เข้าใจว่าภิกษุหนุ่มอดีตนายช่างทองรูปนี้อายุยังน้อย จิตใจจะต้องน้อมอยู่ในการรักความงาม ดอกปทุมนั้นมีขนาดเท่าจักร พระพุทธองค์ทรงทำให้เหมือนมีหยาดน้ำหลั่งลงมาจากใบและก้านเพื่อให้เหมาะกับอัธยาศัย ภิกษุหนุ่มได้นำดอกบัวไปวางไว้ที่กองทรายท้ายวิหาร นั่งขัดสมาธิตรงหน้า แล้วบริกรรมว่า “โลหิตกํ โลหิตกํ” (สีแดง สีแดง)

จากนั้น ขณะที่ท่านกำลังเพลิดเพลินอยู่กับสีแดงอันสวยสดของดอกบัวนั้น พระพุทธองค์จึงทรงเนรมิตให้ดอกบัวซึ่งมีความสวยสดงดงามค่อย ๆ เหี่ยวเฉาลง สักครู่เดียวเกสรดอกบัวก็ร่วงไปเหลืออยู่เพียงฝักบัว เป็นเหตุให้ภิกษุหนุ่มพิจารณาเปรียบเทียบถึงความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาของสังขารทั้งหลายว่าเป็นของไม่เที่ยงถาวรเช่นกัน เมื่อจิตของภิกษุนั้นลงสู่วิปัสสนาญาณแล้ว พระพุทธองค์จึงทรงเปล่งโอภาส (แสงสว่าง) ไป ได้ตรัสว่า “เธอจงตัดความสิเนหาของตนเสีย เหมือนคนตัดดอกโกมุทอันเกิดในสารทกาล เธอจงพอกพูนทางแห่งความสงบ เพราะนิพพาน ตถาคตแสดงไว้แล้ว”

จากการที่ภิกษุหนุ่มใช้ดอกปทุมทองเป็นเครื่องหมายกรรมฐาน และได้น้อมนำจิตใจให้เลื่อมใสในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขณะปฏิบัติกรรมฐาน จึงทำให้ได้สำเร็จอรหัตตผลในเวลาไม่นาน


บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #7 เมื่อ: 10 พฤษภาคม 2553 15:20:22 »



ดอกบัวเปรียบกับพระนิพพาน

ในคัมภีร์มิลินทปัญหา พระยามิลินท์ ทรงโต้แย้งพระนาคเสน๕๓ที่กล่าวว่า พระนิพพานเป็นสุขโดยส่วนเดียวนั้นตนไม่เชื่อ พระนิพพานนั้นเจือด้วยทุกข์ เพราะบุคคลผู้แสวงหาพระนิพพานนั้น มีอันต้องทำกายและจิตให้ร้อนรุ่ม ต้องกำหนดการยืน กำหนดการเดิน กำหนดการนอนและกำหนดอาหาร ต้องกำจัดความโงกง่วง ต้องบังคับอายตนะ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ต้องสละทั้งกายทั้งชีวิตและยังต้องละทิ้งทรัพย์สนและญาติมิตรอันเป็นที่รัก

พระนาคเสนจึงได้ถวายพระพรว่า พระนิพพานเปรียบเหมือนดอกบัว ดังนี้

พระนิพพานนั้นเป็นสุขโดยส่วนเดียวโดยมิได้เจือด้วยทุกข์ เปรียบเหมือนพระราชาเมื่อกำจัดข้าศึกได้แล้วก็ได้เสวยสุขโดยส่วนเดียว บุคคลก็เช่นกัน เมื่อต้องกำหนดการยืน การเดิน การนั่ง การนอนและอาหาร ต้องกำจัดความโงกง่วงแล้ว จึงได้เสวยพระนิพพานอันเป็นสุขโดยส่วนเดียว

เมื่อได้อธิบายโดยแจ่มแจ้งแล้ว พระนาคเสนยังได้เปรียบคุณของดอกบัวกับพระนิพพานว่า

ธรรมชาติของดอกบัว น้ำย่อมไม่ซึมติดอยู่ได้ฉันใด พระนิพพานอันกิเลสทั้งปวงไม่ซึมติดได้ฉันนั้น นี้แล คุณแห่งดอกบัวประการหนึ่ง ซึ่งควรคู่กับพระนิพพาน เปรียบเหมือนว่า น้ำฉาบติดดอกปทุมมิได้ ฉันใด ขอถวายพระพร กิเลสทั้งหลายทั้งปวง ก็ฉาบติดพระนิพพานมิได้ ฉันนั้นเหมือนกัน ขอถวายพระพร นี้คือคุณอย่างหนึ่งของดอกปทุมที่เทียบกันได้กับพระนิพพาน



http://i883.photobucket.com/albums/ac40/42tong/222222/29958_122655297756500_100000360925471_204560_3485392_n.jpg
Re: ธรรมซีรี่ย์... สัญลักษณ์แห่งความดีงาม [ดอกบัว]
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 พฤศจิกายน 2553 23:52:24 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #8 เมื่อ: 10 พฤษภาคม 2553 18:27:08 »




การที่ชาวพุทธนิยมใช้ดอกบัวเป็นสื่อในการพรรณนาเหตุการณ์ บุคคล หลักธรรม
เป็นเครื่องแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของดอกบัว ซึ่งเป็นพืชพันธุ์ประเภทหนึ่งที่มีอยู่เกือบทุกมุมของโลก
ตามนัยในพระพุทธศาสนา
ดอกบัวเป็นสัญลักษณ์แห่งความงาม ความสะอาดบริสุทธิ์ และเป็นสัญลักษณ์แห่งการตรัสรู้ธรรมครับ




ดอกบัวแย้มบานรับแสงอาทิตย์อุทัยในยามเช้า  ย่อมงดงามด้วยเหตุ 2 ประการ คือ

ประการแรก บัวนั้นเป็นบัวพันธุ์ดี ดอกจึงมีสีที่งดงาม
ประการที่สอง บัวนั้นมีน้ำและโคลนตมคอยหล่อเลี้ยง

พระภิกษุสามเณรในพระพุทธศาสนาก็เช่นกัน จะเจริญงอกงามได้ด้วยเหตุ 2 ประการ คือ
ประการแรก พระภิกษุสามเณรมีความศรัทธาเลื่อมใสในพระรัตนตรัย
และตั้งใจออกบวชเพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง


ประการที่สอง พระภิกษุสามเณรต้องอาศัยปัจจัย 4 อันควรแก่สมณะบริโภค
ซึ่งท่านทานบดีผู้มีจิตเลื่อมใสศรัทธา นำมาอุปัฏฐากบำรุงเลี้ยง ท่านจึงมีเวลาศึกษาประพฤติปฏิบัติธรรม
ฝึกฝนอบรมตนเองจนเป็นเนื้อนาบุญให้แก่ชาวโลก

ด้วยเหตุ 2 ประการนี้ จึงทำให้พระภิกษุสามเณรเจริญรุ่งเรืองเป็นอายุของพระพุทธศาสนา


อ้างอิง  : พระวิมลศีลาจารย์ พระพุทธโฆสาจารย์ จารวี มั่นสินธร
อ้างอิง  : พระไตรปิฎก


Credit by  : http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2008/12/Y7333684/Y7333684.html
ภาพประกอบจาก  : อินเตอร์เน็ต
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 พฤศจิกายน 2553 17:11:17 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #9 เมื่อ: 10 พฤษภาคม 2553 18:39:04 »



ในภาษาบาลี เรียกมะลิว่า “สุมนา” ซึ่งแปลได้อีกอย่างหนึ่งว่า “ผู้ใจดี” อาจจะเป็นด้วยความหมายนี้ ประกอบกับการที่มะลิเป็นดอกไม้ที่มีสีขาวบริสุทธิ์ ส่งกลิ่นหอมไปไกลและหอมได้นาน อีกทั้งยังออกดอกได้ตลอดทั้งปี

ในพระไตรปิฎก เล่ม ๓๒ พระสูตรที่ชื่อ “สุมนเถราปทาน” ซึ่งพระสุมนเถระได้กล่าวถึงผลแห่งการถวายดอกมะลิในครั้งอดีตกาล ความว่า

      “ในกาลนั้น เราเป็นนายมาลาการมีนามชื่อว่าสุมนะ ได้เห็นพระพุทธเจ้า ผู้ปราศจากธุลี ทรงสมควรรับเครื่องบูชาของโลก จึงเอามือทั้งสองประคองดอกมะลิที่บานดีบูชาแด่พระพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของโลก ด้วยการบูชาดอกไม้นี้ และด้วยการตั้งจิตไว้ เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา ในกัลปที่ ๓๑ ...”

      ท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต วัดเทพศิรินทราวาส เคยกล่าวไว้ว่า “ดอกมะลิ เป็นดอกไม้ที่ถูกรับรองแล้วว่าเป็นดอกไม้ที่หอมเย็น ชื่นใจที่สุด และขาวบริสุทธิ์ที่สุดในบรรดาดอกไม้ทั้งหลาย ชีวิตของมนุษย์ที่เป็นอยู่ก็เช่นเดียวกับการเล่นละคร ขอให้เป็นตัวเอกที่มี ชื่อเสียงที่สุด เช่นเดียวหรือลักษณะเดียวกับดอกมะลิ อย่าเป็นตัวผู้ร้ายที่เลวที่สุด และให้เห็นว่าดอกมะลินี้จะบานเต็มที่เพียง ๒-๓ วัน ก็จะเหี่ยวเฉาไป ฉะนั้นขอให้ทำตัวให้ดีที่สุด เมื่อยังมีชีวิตอยู่ ให้หอมที่สุดเหมือนดอกมะลิที่เริ่มแย้มบาน ฉะนั้น”


บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #10 เมื่อ: 10 พฤษภาคม 2553 19:53:05 »






ธรรมซีรี่ส์ดอกบัว

ตอนนี้เป็นตอนที่สองเป็นเรื่องสระบัวในโลกมนุษย์ สระบัวในโลกสวรรค์ สระบัวในโลกบาดาลครับ มีคำบรรยายถึงสระบัวหรือสระโบกขรณี หลายลักษณะ เช่น สระโบกขรณีมีน้ำใสสะอาด ใช้เป็นที่อาบและดื่มกินได้

“สระโบกขรณี มีน้ำรสอร่อยใสสะอาดดารดาษไปด้วยดอกบัวและกอบัว”

นอกจากนี้ยังใช้เป็นที่สระสนานและเล่นน้ำตั้งแต่บุคคลธรรมดาจนถึงพระโพธิสัตว์ เช่น มีคำบรรยายว่า “พระโพธิสัตว์นั้นทรงเล่นอยู่ในอุทธยานนั้นตลอดทั้งวัน แล้วสรงสนานในสระโบกขรณีอันเป็นมงคล” ดอกบัวที่เกิดในสระโบกขรณีมีหลายชนิด มีทั้งปทุม บุณฑริก อุบล โกมุท โกกนุท จงกลนี ดังคำบรรยายว่า แผ่นดินมีพื้นอันราบเรียบรอบด้าน ..... สระโบกขรณีที่เนรมิตขึ้นด้วยดีน่ารื่นรมย์ใจ มีดอกปทุมบานสะพรั่งร่วงหล่นลงดารดาษ

เมื่อพระสิทธัตถราชกุมารทรงเจริญวัยมีพระชนมายุได้ ๗ พรรษา พระเจ้าสุทโธทนะพระราชบิดาได้รับสั่งให้ขุดสระโบกขรณีขึ้น ๓ สระ ภายในบริเวณราชนิเวศน์ สระที่หนึ่งปลูกปทุมบัวหลวง สระที่สองปลูกบุณฑริกบัวขาว สระที่สามปลูกอุบลบัวขาบตกแต่งให้เป็นสถานที่เล่นสำราญพระทัย สำหรับพระสิทธัตถราชกุมารร่วมกับพระสหายที่อยู่ในวัยเดียวกัน




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 31 ตุลาคม 2554 02:26:53 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: เปลี่ยนภาพที่หายไปค่ะ » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #11 เมื่อ: 10 พฤษภาคม 2553 20:04:22 »




พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญผู้ซึ่งปฏิบัติดี เป็นผู้บริสุทธิ์ พ้นจากอกุศลธรรมทั้งปวง หรือผู้ที่ละกิเลสอันเป็นมลทินแล้ว เมื่อพิจารณาธรรมเหล่านี้ จิตเกิดความปราโมทย์ ปีติ และเกิดความสงบ มีเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา โดยนำมาเปรียบกับน้ำในสระโบกขรณีซึ่งสามารถบรรเทาความร้อน ความกระวนกระวาย ดังนี้

ภิกษุทั้งหลาย สระโบกขรณี มีน้ำใสบริสุทธิ์ เย็นสะอาด มีท่าอันดี น่ารื่นรมย์ ถ้าบุรุษมาแต่ทิศตะวันออก ถูกความร้อนแผดเผา เร่าร้อน ลำบาก กระหาย อยากดื่มน้ำ เขามาถึงสระโบกขรณีนั้นแล้ว ก็บรรเทาความอยากดื่มน้ำ และความกระวนกระวายเพราะความร้อนได้

ทรงอุปมาไว้ว่า


สระโบกขรณีที่มีน้ำใสสะอาด เย็น มีท่าดีน่ารื่นรมย์
คนที่ถูกแดดแผดเผาจากทิศใดก็ตาม
เมื่อมาสระนี้แล้ว ย่อมบรรเทาความกระวนกระวายเพราะความร้อนได้ฉันใด


พระศาสนาของพระองค์ก็ฉันนั้น คือ ถ้ากุลบุตรไม่ว่ามาจากชนชั้นวรรณะใด มาบวชเป็นบรรพชิต
มาถึงธรรมวินัยที่พระองค์ทรงประกาศแล้ว
เจริญเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขาอย่างนั้น ย่อมได้ความสงบระงับในภายใน

ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ (ความหลุดพ้นแห่งจิต)   ปัญญาวิมุตติ (ความหลุดพ้นด้วยปัญญา)
เพราะอาสวะสิ้นไป
ด้วยปัญญาอันยิ่ง พระพุทธองค์ตรัสเรียกว่า เป็นผู้ปฏิบัติตามสมควรแก่สมณะ



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 กันยายน 2553 12:13:04 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #12 เมื่อ: 10 พฤษภาคม 2553 20:25:31 »



อย่างไรก็ตาม ดอกบัวไม่จำเป็นต้องเกิดในสระโบกขรณีเสมอไป แม้ในสระอื่นก็อาจมีดอกบัวเกิดขึ้นได้ เช่น มีคำบรรยายว่า บริเวณที่ไม่ไกลจากอาศรมของพระเวสสันดร๖๙ มีสระบัวอีกสระหนึ่ง ชื่อว่า “สระมุจลินท์” ซึ่งหมายถึงสระที่มีต้นจิกล้อมรอบ ในสระนี้ก็มีดอกบัวขึ้นมากมายเช่นกัน ดังคำบรรยายว่า

ดอกปทุมสีขาวดังผ้าโขมพัสตร์ สระนั้นชื่อสระมุจลินท์ ดารดาษไปด้วยอุบลขาว จงกลนี และผักทอดยอด อนึ่ง ปทุมชาติในสระนั้นมีดอกบานสะพรั่ง ปรากฏเหมือนไม่มีกำหนดประมาณ บานในคิมหันตฤดูและเหมันตฤดูแผ่ไปในน้ำแค่เข่า เหล่าปทุมชาติงามวิจิตรชูดอกสะพรั่งส่งกลิ่นหอมฟุ้ง หมู่ภมรบินว่อนร่อนร้องอยู่รอบ ๆ เพราะกลิ่นหอมแห่งบุปผชาติ สระโบกขรณีบริเวณภูเขาหิมพานต์นี้ มีชื่อเรียกว่า สระฉันทันต์ สระมันทากินี สระคัคครา ๒ สระแรกเป็นสระบัวขนาดใหญ่ กว้างยาว ๕๐ โยชน์ มีคำบรรยายว่า

สระฉัททันต์นั้น ทั้งส่วนยาวส่วนกว้างประมาณ ๕๒ โยชน์ ตรงกลางลึกประมาณ ๑๒ โยชน์ ไม่มีสาหร่าย จอกแหน หรือ เปือกตมเลย เฉพาะน้ำขังอยู่ มีสีใสเหมือนก้อนแก้วมณี ถัดจากนั้นมีกอจงกลนีแผ่ล้อมรอบ กว้างได้หนึ่งโยชน์ ต่อจากกอจงกลนีนั้น มีกออุบลเขียวตั้งล้อมรอบกว้างได้หนึ่งโยชน์ ต่อจากนั้น ที่กว้างแห่งละหนึ่งโยชน์ มีกออุบลแดง อุบลขาว ปทุมแดง ปทุมขาว และโกมุท ขึ้นล้อมอยู่โดยรอบ อนึ่ง ระหว่างกอบัว ๗ แห่งนี้ มีกอบัวทุกชนิด เป็นต้นว่า จงกลนีสลับกันขึ้นล้อมรอบ มีปริมณฑลกว้างได้หนึ่งโยชน์เหมือนกัน


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 กันยายน 2553 12:57:22 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: เพิ่มภาพค่ะ » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #13 เมื่อ: 20 กันยายน 2553 13:29:34 »


http://i116.photobucket.com/albums/o8/kedluvu/miscellenious/2234324882_f6b2f1cd88.jpg
Re: ธรรมซีรี่ย์... สัญลักษณ์แห่งความดีงาม [ดอกบัว]

สระโบกขรณีมันทากินีนี้เป็นสระใหญ่ นอกจากจะมีดงแหนอยู่รอบสระแล้ว ยังมีป่าบัวล้อมรอบอีกหลายป่า ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของสถานที่นี้ พระอัญญาโกณฑัญญะซึ่งเป็นสาวกองค์แรก เป็นหนึ่งในคณะพระปัญจวัคคีย์ ได้ทูลลาพระพุทธเจ้าและพักอาศัยอยู่ฝั่งสระมันทากินี้เป็นเวลา ๑๒ ปี และได้ปรินิพพาน ณ ที่นี้

.....สระโบกขรณีมันทากินี มีประมาณ ๕๐ โยชน์ เนื้อที่ประมาณ ๒๕ โยชน์ของสระนั้น ไม่มีสาหร่ายหรือแหนเลย มีแต่น้ำสีเหมือนแก้วผลึกเท่านั้น อนึ่ง ถัดจากนั้นไป ในน้ำลึกประมาณสีข้างของช้างทั้งหลาย กว้างครึ่งโยชน์ เป็นป่าเสตปทุมตั้งล้อมรอบน้ำนั้น ต่อจากนั้นไปเป็นป่ารัตตปทุมใหญ่เท่านั้นเหมือนกัน ต่อจากนั้นไปเป็นป่ารัตตกุมุท ต่อจากนั้นไปเป็นป่าเสตกุมุท ต่อจากนั้นไปเป็นป่านีลุบล ต่อจากนั้นไปเป็นป่ารัตตอุบล....”

     
                  กกุฏฐานที

สระโบกขรณีดังกล่าว คือ สระฉัททันต์ สระมันทากินี และสระเทวทหะ เป็นสระที่เกิดเองตามธรรมชาติ ในบาลีมีกล่าวถึงสระโบกขรณีที่บุคคลขุดขึ้นมาด้วยเจตนาต่าง ๆ กัน กล่าวคือ มีผู้นิยมขุดสระบัวเพื่อตกแต่งสถานที่ให้เป็นที่น่าพักผ่อนหย่อนใจ หรือใช้อาบกิน เช่น สระคัคคราเป็นสระโบกขรณีแห่งหนึ่งที่มีความสวยงาม เหตุที่สระโบกขรณีนี้ชื่อว่า คัคครา เพราะพระมเหสีของพระราชาทรงพระนามว่าคัคคราทรงขุดไว้ โดยรอบฝั่งสระนั้นมีป่าต้นจัมปาใหญ่ ประดับประดาด้วยดอกไม้ ๕ สี มีสีเขียวเป็นต้น


บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #14 เมื่อ: 20 กันยายน 2553 13:55:02 »



พระอรรถกถาจารย์ได้เปรียบสระโบกขรณีกับการปฏิบัติธรรมจนถึงพระนิพพานไว้ ดังนี้

พึงเห็นอริยมรรค เหมือนสระโบกขรณี พึงเห็นการปฏิบัติในส่วนเบื้องต้นเหมือนทางไปสระโบกขรณี พึงเห็นบุคคลพร้อมพรั่งด้วยการปฏิบัติเหมือนบุคคลขึ้นสู่ทาง พึงเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีทิพยจักษุ เหมือนบุรุษผู้มีจักษุพึงเห็นนิพพาน

             

ทรงรู้บุคคลผู้บำเพ็ญปฏิปทา กำหนดนามรูป กระทำการกำหนดปัจจัย กระทำการงานด้วยวิปัสสนาอันมีลักษณะเป็นอารมณ์ว่า บุคคลนี้บำเพ็ญปฏิปทานี้แล้ว ยังอาสวะทั้งปวงให้สิ้นไป เข้าถึงผลสมาบัติที่กล่าวแล้วอย่างนี้ว่า เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้อยู่ ในกาลส่วนอื่น บุรุษนั้น เห็นบุคคลนั้นอาบน้ำในสระโบกขรณีนั้นแล้ว เข้าไปสู่ราวป่าแล้วนั่งหรือนอนเสวยเวทนาอันมีความสุขโดยส่วนเดียวฉันใด ในกาลส่วนอื่น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นบุคคลนั้นบำเพ็ญปฏิปทา เจริญมรรค กระทำให้แจ้งซึ่งผลบรรลุผลสมาบัติ ซึ่งมีนิพพานเป็นอารมณ์ อันถึงการนอนที่ประเสริฐ คือ นิโรธ เสวยเวทนาอันมีสุขโดยส่วนเดียวฉันนั้นเหมือนกัน


ขุ.ชา. (ไทย) ๒๘/๑๙๙๖/๔๙๕


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 พฤศจิกายน 2553 17:13:11 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #15 เมื่อ: 20 กันยายน 2553 14:06:31 »


ในมโหสถชาดก มีคำบรรยายว่า ครั้งเมื่อมโหสถสร้างบรรณศาลาประจำหมู่บ้าน ก็มีความเห็นว่า หมู่บ้านใดไม่มีสระบัวประกอบ จะทำให้หมู่บ้านนั้นหมดความงามไป จึงได้สร้างสระโบกขรณีให้มีคดลดเลี้ยวนับด้วยพัน ให้มีท่าลงนับด้วยร้อยโดยความคิดของตน สระโบกขรณีนั้นดารดาษด้วยปทุมชาติ ๕ ชนิด  ทำให้ศาลานั้นเป็นที่น่าพักผ่อนหย่อนใจของคนที่ผ่านไปมายิ่งขึ้น

จากการศึกษาพบว่า มีผู้ขุดสระบัวเพื่อกิจการอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ ไม่ใช้เป็นที่สาธารณะเหมือนสระโบกขรณีทั่วไป เช่น สระโบกขรณีแห่งหนึ่งในราชสำนักไพสาลี ขุดขึ้นมาเพื่อประสงค์ใช้น้ำในสระประกอบพิธีงานอภิเษกแห่งคณะราชตระกูล ดังคำบรรยายว่า การอารักขาสระโบกขรณีนี้แข็งแรงทั้งภายในและภายนอก เบื้องบนเขาขึงตาข่ายโลหะ แม้นกก็ไม่มีโอกาสเข้าไป

ในเวสสันดรชาดก มีเหตุการณ์ที่พระชาลีราชกุมารและพระกัณหาราชกุมารี  ชอบไปเล่นในสระโบกขรณี เมื่อชูชกขอพระราชกุมารและพระราชกุมารีจากพระเวสสันดร ในขณะที่พระนางมัทรีออกไปหาผลไม้ในป่า และพระเวสสันดรประทาน ๒ กุมารให้ตามที่ชูชกขอ แต่ได้ตั้งค่าตัวของชาลีกุมารเป็นทอง ๑,๐๐๐ แท่ง ส่วนกัณหากุมารีนั้นตั้งค่าตัวเป็น ทาสชาย ๑๐๐ หญิง ๑๐๐ ช้าง ๑๐๐ ม้า ๑๐๐ โคอสุภะ ๑๐๐ ทองคำแท่ง ๑๐๐ แท่ง เมื่อพระราชกุมารทั้งสองพระองค์ทรงทราบเหตุแห่งการมาของชูชก ด้วยความกลัว จึงหนีไปหลบซ่อนยังสระโบกขรณีเพราะคิดว่าจะไม่มีผู้ใดหาพบได้ ดังคำบรรยายว่า เมื่อไม่สามารถจะดำรงอยู่ ณ ที่ไร ๆ ก็วิ่งไปแต่ที่นี้บ้างที่โน้นบ้าง เลยเสด็จไปถึงสระโบกขรณีสี่เหลี่ยม ทรงนุ่งผ้าเปลือกไม้มั่น ตกพระทัยกลัว ลงสู่น้ำ เอาใบบัววางไว้บนพระเศียร เอาน้ำบังองค์ประทับยืนอยู่


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21 กันยายน 2553 18:08:16 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #16 เมื่อ: 20 กันยายน 2553 15:04:22 »



สระบัวในโลกสวรรค์

พระอรรถกถาจารย์กล่าวถึงสระบัวในโลกสวรรค์ว่า โลกสวรรค์แต่ละชั้นซึ่งเป็นที่อยู่ของทวยเทพทั้งหลาย มีสระโบกขรณีสำหรับเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจอยู่ภายในสวน
เช่น คำบรรยายดังนี้ว่า

ในท่ามกลางพระนครสุทัสสนะ มีปราสาทเวชยันต์ อันเป็นที่อยู่ของท้าวสักกะ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของพระนคร มีสวนดอกไม้ชื่อว่า สวนนันทวัน กว้างพันโยชน์ ภายในสวนมีสระโบกขรณีอยู่ ๒ สระ ชื่อ มหานันทา สระหนึ่ง ชื่อ จูฬนันทา สระหนึ่ง รอบบริเวณสระกับขอบสระปูลาดด้วยแผ่นศิลา เป็นที่สำหรับพักผ่อน แผ่นศิลาที่ปูรอบอยู่บริเวณสระใด ก็เรียกแผ่นศิลานั้นไปตามชื่อของสระนั้น

ทางทิศตะวันตกมีสวนชื่อว่าจิตรลดา กว้าง ๕๐๐ โยชน์ มีสระโบกขรณีอยู่ ๒ สระ ชื่อว่า วิจิตรา สระหนึ่ง จูฬจิตรา สระหนึ่ง
ทางทิศเหนือมีสวนชื่อว่า สวนมิสสกวัน กว้าง ๕๐๐ โยชน์ มีสระโบกขรณีอยู่ ๒ สระ ชื่อว่า ธัมมา สระหนึ่ง สุธัมมา สระหนึ่ง
ทางทิศใต้มีสวนชื่อว่า สวนผารุสกวัน กว้าง ๗๐๐ โยชน์ มีสระโบกขรณีอยู่ ๒ สระ ชื่อว่า ภัททา สระหนึ่ง สุภัททา สระหนึ่ง
สวนทั้ง ๔ นี้ เป็นสถานที่สำหรับเที่ยวพักผ่อนรื่นเริงของเทวดาทั้งหลายที่อยู่ในชั้นดาวดึงส์




บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #17 เมื่อ: 20 กันยายน 2553 15:14:19 »



วิธุรชาดก มีเรื่องว่า ปุณณกยักษ์ได้เชิญชวนพระราชาแห่งอินทปัตตนคร กุรุรัฐ ให้ทอดพระเนตรสระโบกขรณี ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ชั้นยามา ชั้นดุสิต ชั้นนิมมานนรดี และชั้นปรนิมมิตวสวัตตี๙๔ ทางดวงแก้วมณีของตน กราบทูลว่า

เชิญพระองค์ทอดพระเนตรสระโบกขรณีที่มีน้ำใสสะอาด ซึ่งเดียรดาษไปด้วยมณฑาลก ดอกปทุม และอุบลในสวรรค์นี้
เชิญพระองค์ทอดพระเนตรสระโบกขรณีที่ก่อสร้างด้วยแก้วไพฑูรย์ ซึ่งเกลื่อนกล่นด้วยฝูงปลานานาชนิดดารดาษไปด้วยหมู่ไม้ชนิดต่าง ๆที่ธรรมชาติได้เนรมิตไว้ในแก้วมณีนี้

         

นอกจากจะมีสระโบกขรณีในเทพนคร แม้ช้างเอราวัณซึ่งเป็นช้างทรงของพระอินทร์ก็มีสระโบกขรณี สระโบกขรณีดังกล่าวนี้ มีลักษณะแปลกและพิสดารกว่าสระโบกขรณีอื่น ๆ ซึ่งเป็นที่เข้าใจว่า สระโบกขรณีที่ปรากฏอยู่ที่งาช้างเอราวัณนั้น เกิดขึ้นจากอำนาจบุญบารมีของพระอินทร์เทพผู้ยิ่งใหญ่ สระโบกขรณีที่งาช้างเอราวัณ มีความพิสดาร ดังนี้

บนกระพอง (ของช้าง) หนึ่ง ๆ มีงากระพองละ ๒ งา บนงาหนึ่ง ๆ มีสระโบกขรณีงาละ ๗ สระ บนสระโบกขรณีสระหนึ่ง ๆ มีสระบัวละ ๗ สระ สระบัวสระหนึ่ง ๆ มีดอกบัวสระละ ๗ ดอก บนดอกบัวดอกหนึ่ง ๆ มีดอกละ ๗ กลีบ บนกลีบหนึ่ง ๆ มีนางอัปสรกลีบละ ๗ นาง ปรากฏชื่อว่าปทุมอัปสรทั้งนั้นฟ้อนรำอยู่



บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #18 เมื่อ: 20 กันยายน 2553 15:25:42 »



ในภพดาวดึงส์ ก็มีสระโบกขรณีชื่อ “นันทา” สระโบกขรณีนันทามีขึ้นเพราะว่า พระนางสุนันทา ชายาองค์หนึ่งของท้าวสักกะ ครั้งเมื่อเป็นมนุษย์ พระนางเคยให้ขุดสระโบกขรณีไว้ให้ชนทั่วไปที่เดินทางมาได้อาบและดื่ม ครั้นพระนางสิ้นชีพก็ได้ไปบังเกิดในภพดาวดึงส์ และสระโบกขรณีชื่อว่านันทาก็เกิดขึ้นแก่พระนางสุนันทา เพราะผลวิบากของการขุดสระโบกขรณี๙๘ จึงมีสระโบกขรณีประมาณ ๕๐๐ โยชน์ เกิดขึ้นมาคู่บุญของพระนางนอกจากนี้ยังมีสระโบกขรณีในวิมานชื่อต่าง ๆ ของเทพธิดาหรือของเทพบุตร สระโบกขรณีเหล่านี้มีขึ้นมาเพราะบุญเจ้าของวิมาน เพราะครั้งเมื่อเจ้าของวิมานนั้นเป็นมนุษย์ เคยทำประโยชน์ต่าง ๆ ถวายและบูชาพระ เช่น ที่พระวังคีสเถระ ได้ถามเทพธิดาองค์หนึ่งถึงเหตุที่นางได้ช้างอันสวยงามเป็นสิ่งคู่บุญ ความงามของช้างมีคำบรรยายว่า

ที่งาทั้งสองของพญาคชสาร ล้วนมีสระโบกขรณีเนรมิต มีน้ำใสสะอาด ดารดาษด้วยปทุมชาติมีดอกบานสะพรั่ง
ในดอกปทุมทุกดอก ๆ มีหมู่ดุริยเทพบรรเลงเพลงและมีเหล่าเทพอัปสรฟ้อนรำชวนให้เกิดความรื่นเริงบันเทิงใจ

เทพธิดานั้นตอบว่า นาควิมานอันประกอบด้วยสระโบกขรณีบังเกิดขึ้นแก่ตน เพราะตนเคยถวายผ้าคู่หนึ่งแด่พระพุทธเจ้าด้วยจิตเลื่อมใส และรู้แจ้งชัดในอริยสัจ ๔ ครั้นนางสิ้นชีวิต ก็ได้ไปบังเกิดในหมู่เทพชั้นดาวดึงส์ และมีบริวารยศ เป็นปชาบดีองค์หนึ่งของท้าวสักกะ มีนามว่ายสุตตรา

แม้ผู้มีจิตศรัทธาและร่วมอนุโมทนาด้วยจิตอันบริสุทธิ์ในการทำบุญของผู้อื่น ก็จะเกิดผลบุญแก่ผู้นั้นให้ไปบังเกิดบนสวรรค์ มีวิมานประจำที่งดงามด้วยสระโบกขรณีเช่นกัน เช่นเรื่องของเทพธิดาองค์หนึ่ง ครั้งเมื่อยังเป็นมนุษย์ ได้มีจิตเลื่อมใสในกรณียกิจของนางวิสาขา ซึ่งได้สร้างมหาวิหารถวายสงฆ์ เพราะการอนุโมทนาด้วยจิตบริสุทธิ์อย่างเดียวเท่านั้น ก็บังเกิดวิมานอัศจรรย์น่าดูน่าชม มีคำบรรยายว่า

ที่วิมานของดิฉันนี้ มีสระโบกขรณี ซึ่งหมู่มัจฉาทิพย์อาศัยอยู่ประจำ มีน้ำใสสะอาด มีพื้นดารดาษด้วยทรายทอง
ดื่นดาษไปด้วยบัวหลวงหลากชนิด มีบัวขาวรายล้อมไว้รอบ ยามลมรำเพยพัดโชยกลิ่นหอมระรื่นจรุงใจ


บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #19 เมื่อ: 20 กันยายน 2553 15:36:36 »


http://i116.photobucket.com/albums/o8/kedluvu/miscellenious/2386091863_041f0e980c-1.jpg
Re: ธรรมซีรี่ย์... สัญลักษณ์แห่งความดีงาม [ดอกบัว]

สระบัวในโลกบาดาล

โลกบาดาลหรือนาคพิภพมีสระโบกขรณี ที่เหมือนกับสระโบกขรณีในโลกมนุษย์ เช่น ในภูริทัตชาดก มีเรื่องว่า สมัยเมื่อพระโพธิสัตว์เกิดเป็นนาคราชในนาคพิภพชื่อว่า จัมเปยยกะ พระองค์มีฤทธิ์และอานุภาพมาก ทรงเบื่อหน่ายกับการกำเนิดเป็นเดียรัจฉาน ทรงมีพระประสงค์ที่จะถือศีลอุโบสถในเมืองมนุษย์ พระมเหสีทรงเตือนพระโพธิสัตว์ให้ระวังตนเพราะกลัวว่าพระองค์จะถูกทำร้ายจากมนุษย์ พระองค์ทรงบอกพระมเหสีให้ดูความเป็นไปของพระองค์ด้วยการสังเกตสัญลักษณ์จากน้ำในสระโบกขรณี ดังคำบรรยายว่า

                       

มนุษยโลกนั้นเต็มไปด้วยภัยอันตราย จึงประทับอยู่ ณ ฝั่งโบกขรณีอันเป็นมงคล ทรงบอกนิมิต ๓ ประการแก่นางสุมนาว่า แม่นางผู้เจริญ หากใครทำร้ายเราให้ลำบาก น้ำในสระโบกขรณีนี้จักขุ่น หากครุฑจับ น้ำจักเดือดพล่าน หากหมองูจับ น้ำจักมีสีแดง

นอกจากนี้ มีคำบรรยายว่าในอสูรพิภพซึ่งอยู่ใต้ภูเขาพระสุเมรุราช อยู่ลึกจากโลกมนุษย์ ๘๔,๐๐๐ โยชน์ มีปราสาทราชมณเฑียร ประดับด้วยแก้ว ๗ ประการ ท่ามกลางเมืองมีสระทอง ในสระทองนั้น ก็ยังมีดอกบัว ๔ ชนิด บานสะพรั่งรุ่งเรืองงามดังทอง



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 พฤศจิกายน 2553 23:57:42 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า:  [1] 2 3   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.994 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 26 มีนาคม 2567 05:02:24