[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
30 เมษายน 2567 09:51:59 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: โรคหายใจเกิน (Hyperventilation Syndrome)  (อ่าน 894 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ฉงน ฉงาย
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 9
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 453


ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 88.0.4324.150 Chrome 88.0.4324.150


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 07 กุมภาพันธ์ 2564 18:34:58 »


โรคหายใจเกิน (Hyperventilation Syndrome)

https://med.mahidol.ac.th/ramamental/sites/default/files/public/img/general/Hypervent1.png
โรคหายใจเกิน (Hyperventilation Syndrome)
  https://med.mahidol.ac.th/ramamental/sites/default/files/public/img/general/Hypervent2.png
โรคหายใจเกิน (Hyperventilation Syndrome)


โรคหายใจเกินคืออะไร
คือการที่ผู้ป่วยมีอาการหายใจหอบเร็วและลึกอยู่นาน จนทำให้เกิดความผิดปกติของค่าสารเคมีในเลือด ทำให้มีอาการต่างๆ ทางร่างกายติดตามมา อาการดังกล่าว มักสัมพันธ์กับภาวะวิตกกังวล หรือได้รับความกดดันทางจิตใจ ก่อนหน้าที่จะมีอาการ ซึ่งอาการดังกล่าว เกิดขึ้นเป็นครั้งคราว และไม่มีอันตรายถึงแก่ชีวิต หากไม่ได้เกิดจากสาเหตุทางกายอื่นๆ

ลักษณะอาการและสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากอะไร

ลักษณะอาการที่เกิดขึ้น ผู้ป่วยจะมีอาการหายใจหอบเร็ว บ่นหายใจลำบาก หน้ามืด เวียนศีรษะ ใจสั่น อาจพบอาการเกร็ง มือจีบ และอาจมีอาการชาบริเวณรอบปากและนิ้วมือได้ ซึ่งอาการดังกล่าวเกิดจากปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดลดลง ทำให้เกิดการหดตัวของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะที่สมอง รวมทั้งมีการลดลงของค่าแคลเซียมที่เป็นตัวออกฤทธิ์ในเลือดลดลงด้วย อาการดังกล่าว มักสัมพันธ์กับภาวะวิตกกังวล โดยก่อนเกิดอาการอาจพบว่า ผู้ป่วยมักมีปัญหากดดันจิตใจอย่างเห็นได้ชัด เช่น ทะเลาะกับคนใกล้ชิด หรือที่ทำงาน หรือมีปัญหาการเรียน ต้องสอบ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม อาการดังกล่าว อาจคล้ายคลึงกับอาการหอบจากสาเหตุทางกายได้หลายสาเหตุ เช่น โรคหอบหืด (asthma) ภาวะหัวใจขาดเลือด ภาวะเป็นกรดในเลือดจากเบาหวาน (diabetic ketoacidosis) และอื่นๆ ดังนั้น ผู้ป่วยจึงต้องได้รับการซักประวัติ การตรวจร่างกาย และส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการที่จำเป็น เพื่อให้ได้รับการวินิจฉัยและการดูแลที่ถูกต้องตามสาเหตุต่อไป

วิธีการรักษา

รักษาอาการหายใจหอบ โดยการให้หายใจโดยใช้หน้าท้องซึ่งจะทำให้หายใจช้าลง อาการหายใจลำบากและอาการอื่นๆ บรรเทาลง เดิมจะนิยมให้หายใจในถุงกระดาษที่ครอบทั้งปากและจมูกแต่ปัจจุบันจะไม่ค่อยใช้กันแล้ว เนื่องจากไม่ได้ผลมากนักและหากผู้ป่วยมีภาวะทางกายที่อันตรายและมองข้ามเช่น หัวใจขาดเลือด น้ำท่วมปอด หรือโพรงเยื่อหุ้มปอดมีอากาศอาจเป็นอันตรายได้   ดังนั้นการใช้วิธีการหายใจในถุงกระดาษจะทำต่อเมื่อแพทย์ได้ตรวจแล้วว่าอาการหายใจหอบไม่ได้เป็นจากภาวะทางร่างกายที่อาจเป็นอันตราย  ผู้ป่วยที่มีอาการหายใจหอบและยังไม่ได้พบแพทย์มาก่อนไม่ควรใช้วิธีการนี้

หากผู้ป่วยหายใจทางหน้าท้องไม่ได้ หรือให้หายใจแล้วยังไม่ดีขึ้น แพทย์อาจให้กินยากลุ่มยาคลายกังวล จะช่วยให้อาการหายใจหอบทุเลาลง แต่หากผู้ป่วยไม่สามารถกินยาได้ แพทย์อาจพิจารณาให้ยาฉีด ซึ่งจะออกฤทธิ์ได้รวดเร็ว   

มักพบในกลุ่มบุคคลใด
อาการดังกล่าวพบบ่อยในผู้ป่วยหญิง วัยเรียน ถึงผู้ใหญ่ตอนต้น ก่อนเกิดอาการมักมีปัญหากดดันจิตใจ แต่ควรระมัดระวังในผู้ป่วยที่มีอายุมาก มีโรคประจำตัวอยู่เดิม หรือบุคลิกเดิมของผู้ป่วยไม่มีปัญหาในการปรับตัวกับภาวะกดดันมาก่อน หรือผู้ป่วยที่มีอาการโดยที่ไม่มีปัญหากดดันที่ชัดเจน ซึ่งอาการดังกล่าวอาจเกิดจากสาเหตุทางกายที่กล่าวไปข้างต้น

ถือว่าเป็นโรคที่อันตรายร้ายแรงหรือไม่
ผู้ป่วยควรได้รับการอธิบายเพื่อเข้าใจถึงกลไกการเกิดอาการ รวมทั้งได้รับความมั่นใจว่าอาการดังกล่าวไม่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต และควรให้มาติดต่อรักษากับแพทย์ตามนัด

ต้องมีการบำบัดหรือรักษาอาการทางจิตหรือไม่
ผู้ป่วยควรได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมเมื่อเกิดอาการ และ เนื่องจากอาการหอบทางอารมณ์ มักสัมพันธ์กับความตึงเครียดที่เกิดขึ้น ดังนั้นผู้ป่วยควรได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับ การรับมือและการแก้ไขสาเหตุของความตึงเครียด รวมทั้งและได้รับการดูแลด้านจิตใจ เพื่อให้ปรับตัวในการรับมือกับความเครียดได้ดีขึ้น

สามารถนำไปสู่โรคอื่นได้หรือไม่

ในผู้ป่วยที่สุขภาพร่างกายแข็งแรงดี อาการดังกล่าว จะไม่ได้นำไปสู่โรคอื่นๆที่อันตรายร้ายแรง

ผู้ป่วยโรคหายใจเกินจำเป็นต้องพกบัตรประจำคัวผู้ป่วยหรือไม่

การพกบัตรประจำตัวผู้ป่วย จะได้ประโยชน์ในแง่การได้รับความสะดวกเมื่อไปติดต่อกับทางโรงพยาบาล และในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการมาก ไม่สามารถให้ข้อมูลได้

ผู้ป่วยต้องนำอุปกรณ์ใดติดตัวบ้างเมื่อเกิดอาการกะทันหัน

ผู้ป่วยที่สามารถใช้วิธีการฝึกหายใจโดยใช้หน้าท้องให้ช้าลงในการลดอาการหอบหายใจเร็ว ไม่จำเป็นต้องพกอุปกรณ์ใดๆ

บทความโดย: ผศ.พญ.ธนิตา หิรัญเทพ

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
อาการผิดปกติทางตาจากการใช้คอมพิวเตอร์ CVS (Computer Vision Syndrome)
สุขใจ อนามัย
หมีงงในพงหญ้า 2 10055 กระทู้ล่าสุด 18 กันยายน 2553 00:14:28
โดย หมีงงในพงหญ้า
โรคภัตตาคารจีน Chinese Restaurant Syndrome
สุขใจ อนามัย
時々๛कभी कभी๛ 1 2580 กระทู้ล่าสุด 20 สิงหาคม 2554 10:02:27
โดย หมีงงในพงหญ้า
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.249 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 17 เมษายน 2567 05:51:24