[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
16 เมษายน 2567 19:59:09 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: “เกาะหน้าวัดอรุณฯ” อยู่ตรงไหน?  (อ่าน 457 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2318


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 18 กุมภาพันธ์ 2564 10:43:30 »

.


                                    เกาะหน้าวัดอรุณฯ
“เกาะหน้าวัดอรุณฯ” อยู่ตรงไหน?
ที่มา - ศิลปวัฒนธรรม ฉบับกุมภาพันธ์ 2540
ผู้เขียน - เอนก นาวิกมูล
เผยแพร่ - วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2564

ภาพอัดจากกระจกหอจดหมายเหตุแห่งชาติ หีบฝีมือหลวงอัคนีนฤมิตร (จิตร จิตราคนี) ไม่มีรายละเอียด เป็นภาพเกาะขนาดจิ๋วในแม่น้ำ บนเกาะมีศาลา 4 เสา ปลูกอยู่ระหว่างต้นอินทผลัมกับต้นไทร ข้างเกาะมีเรือเทียบอยู่หนึ่งลำ มีเด็กนั่งบนเรือหนึ่งคน ตรงหัวเรือมีชายคนหนึ่งกําลังยืนอยู่ในน้ำ อีกฝั่งหนึ่งของแม่น้ำแลเห็นอาคารขนาดใหญ่กลุ่มหนึ่งกําลังอยู่ในระหว่างก่อสร้าง

ผู้เขียนติดใจเรื่องเกาะหน้าวัดอรุณฯ มานาน ที่ติดใจก็เพราะเห็นเป็นของแปลก คิดว่าเป็นเกาะเล็กที่สุดที่เกิดในแม่น้ำเจ้าพระยา ทั้งเกาะนี้สูญหายไปเสียนานแล้ว ถามใครๆ ว่าหายไปตั้งแต่เมื่อใดก็ไม่มีใครทราบ บางท่านว่ากองทัพเรือซึ่งมีที่อยู่ติดกับวัดอรุณฯ ขุดทิ้ง เพราะเกะกะทางเรือ แต่ก็หาหลักฐานแน่ชัดไม่ได้ ตําแหน่งของเกาะอยู่ซีกไหนของวัดก็ไม่เคยมีใครชําระไว้ แม้คนที่เขียนถึงเกาะก็เห็นมีแต่นายกุหลาบรายเดียวเท่านั้น




                นิราศยี่สาร ประพันธ์โดย ก.ศ.ร. กุหลาบ ในช่วงที่กล่าวถึงเกาะหน้าวัดอรุณฯ
 
พ.ศ.2529 คุณสวนีย์ วิเศษสินธุ์ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ ได้ให้ผู้เขียนดูกระจกภาพของหลวงอัคนีนฤมิตร พบว่ามีกระจกเกาะวัดอรุณฯ ปะปนอยู่ด้วย แต่ถึงกระนั้นก็ยังบรรยายอะไรได้ไม่เต็มปากนัก เพราะยังหาภาพดีๆ มาช่วยยืนยันที่ตั้งเกาะน้อยว่าอยู่ซีกไหนของวัดไม่ได้ (หลายภาพถ่ายในมุมเฉียงทําให้กะบริเวณยาก) ต้องค่อยๆ สะสมภาพหน้าวัดอรุณฯ เอาไว้ ลืมบ้าง เบื่อจะเขียนบ้าง จนเวลาผ่านไปเป็นสิบปี

วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ.2539 (วันลอยกระทง) ผู้เขียนหยิบรูปเกาะหน้าวัดอรุณฯ และรูปบริวารมาพิจารณาอีก ตั้งใจจะเขียนเอาจริงเอาจังเสียที ที่สุดก็พบว่ารูปถ่ายฝีมือฝรั่งชาวดัตช์หรือชาวฮอลันดา ชื่อแวน คินสเบอร์เกน (van Kinsbergen) ถ่ายเมื่อ พ.ศ.2405 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 4 สามารถบอกตําแหน่งเกาะน้อยนี้ได้

รูปดังกล่าวสยามสมาคมนํามาพิมพ์ซ้ำเมื่อ พ.ศ. 2530 เพื่อประดับหนังสือชื่อ King Maha Mongkut of Siam ของ John Blofeld จําหน่ายราคาเล่มละ 180-220 บาท เมื่อเปรียบเทียบกับภาพถ่ายและแผนผังวัดในหนังสือ “ประวัติวัดอรุณราชวราราม” ของกรมศิลปากร ฉบับ พ.ศ.2511 จะเห็นว่า ศาลาหลังคา แหลมกับต้นอินทผลัมตั้งอยู่แถว ๆ หน้าศาลาท่าน้ำซีก “วิหารน้อย-โบสถ์น้อย” หรือเกือบๆ ตรงหน้าองค์พระปรางค์พอดี การอ่านตําแหน่งนี้ ขอให้ท่านที่สนใจลองสอบสวนดูอีกครั้ง

ได้เสนอตําแหน่งเกาะน้อยแล้ว จะกล่าวถึงรายละเอียดอื่น ๆ ต่อไปอีก อาคารฝั่งกรุงเทพฯ ที่กําลังก่อสร้างควรเป็นอาคารอะไร ต้องเอาแผนที่เก่ามาพิจารณา แผนที่ฉบับนายวอน นายสอน ทําเมื่อ ร.ศ.115 พ.ศ.2439 กรมแผนที่จัดพิมพ์ระบุว่าบริเวณนั้นเป็น “ศาลต่างประเทศ” อยู่หน้าวัดโพธิ์ ลองหา หนังสือ “พระราชวังและวังในกรุงเทพฯ” ของ ม.ร.ว.แน่งน้อย ศักดิ์ศรี-อ.ณพิศร กฤตติกากุล และ อ.ดรุณี แก้วม่วง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดพิมพ์เมื่อ พ.ศ.2525 มาดู

ทราบจากหน้า 210-211 ว่าที่บริเวณนี้ เดิมเป็นวังของกรมหมื่นสุรินทรรักษ์ ภายหลังไฟไหม้วังหมด กลายเป็น “ท่าเตียน” แล้ว ร.4 ทรงสร้างอาคารขึ้น เป็นตึกหลายหลังสําหรับเป็นกรมท่ารับกงสุลต่างประเทศ เป็นตึกรับรองแขกเมือง เป็นที่อยู่ของชาวต่างประเทศที่มารับราชการในไทย ต่อมาอาคารหลังหนึ่งได้ใช้เป็น “ศาลต่างประเทศ” ด้วย ปัจจุบันที่ตรงนั้นกลายเป็นตลาดท่าเตียนและตึกแถวรอบๆ ตลาด ส่วนในประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 25 กล่าวว่า ร.4 ทรงสร้างตึก 4 หลัง แต่มิได้ระบุปีสร้างหรือปีรื้อ กล่าวกว้าง ๆ แต่ว่ารื้อสมัย ร.5

ถ้าตึกในภาพกําลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง ภาพนี้ก็ควรถ่ายในสมัย ร.4 หรือก่อน พ.ศ.2411 ถ้าถ่ายในสมัย ร.5 ก็คงถ่ายช่วงต้น ๆ รัชกาล ขออนุมานไว้กว้างๆ เพียงเท่านี้

สุดท้ายจะกล่าวถึงการพิมพ์นิราศยี่สาร นิราศยี่สารนี้นายกุหลาบเขียนเมื่อ พ.ศ.2422 คราวพาลูก 4 คนไปเที่ยววัดยี่สาร จ.สมุทรสงคราม ผู้เขียนเคยพบตีพิมพ์ในหนังสือจดหมายเหตุสยามไสมยปีที่ 3 เดือน 4 จ.ศ.1246 หรือราว พ.ศ.2427 อยู่ไม่กี่หน้า (หมอสมิธตัดมาลงเพียงบางส่วน) เมื่อ ส.พลายน้อยนํามาเขียนถึงก็ตัดลงเพียงเล็กน้อยอีก จนเมื่อไม่นานมานี้คุณอาจิณ จันทรัมพร นักต่ออายุวรรณกรรมอาวุโสแห่งสํานักพิมพ์ดอกหญ้าบังเอิญได้นิราศยี่สารมาเป็นของตนเอง จึงนํามาตีพิมพ์เผยแพร่ให้คนทั่วไปได้อ่านอย่างเต็มฉบับใน “สวนหนังสือ” เล่มที่ 22 เดือนกันยายน พ.ศ.2539 (ราคาเล่มละ 110 บาท) คุณอาจิณยังใจดีส่งให้ผู้เขียนหนึ่งเล่มด้วย ผู้เขียนดีใจมากเพราะได้ความรู้อื่นๆ จากนิราศเล่มนี้อีกมาก

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวมาแรง] - รุมค้านเขื่อนผลิตไฟฟ้าลาว เงินเข้ากระเป๋านายทุน ปชช.อยู่ตรงไหน เสนอทางเลือกหน
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 63 กระทู้ล่าสุด 06 ธันวาคม 2566 20:09:42
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.265 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 22 กันยายน 2566 20:27:07