[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
25 เมษายน 2567 19:47:31 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: บทเรียนแห่งความหลากหลาย ที่แฝงไว้หลังการทักทาย “เอ๊ะโอ” : เทเลทับบีส์  (อ่าน 752 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ฉงน ฉงาย
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 9
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 453


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 88.0.4324.150 Chrome 88.0.4324.150


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 24 กุมภาพันธ์ 2564 22:33:17 »



บทเรียนแห่งความหลากหลาย ที่แฝงไว้หลังการทักทาย “เอ๊ะโอ” : เทเลทับบีส์

https://thepeople.co/wp-content/uploads/2020/06/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B9%8C-Website_1200x628.jpg
บทเรียนแห่งความหลากหลาย ที่แฝงไว้หลังการทักทาย “เอ๊ะโอ” : เทเลทับบีส์


           “ณ ดินแดนอันไกลแสนไกล เหล่าเทเลทับบีส์ออกมาวิ่งเล่น…1 2 3 4 ทิงกี วิงกี ดิปซี ลาลา โพ เอ๊ะโอ!” สิ้นเสียงแนะนำตัวของเหล่าสิ่งมีชีวิตไม่ทราบสายพันธุ์ ซึ่งดังขึ้นหลังพระอาทิตย์หน้าทารกสาดแสงส่องลงมา ก็หมายความว่าวันใหม่ของ ‘เทเลทับบีส์ แลนด์’ เริ่มต้นขึ้นแล้ว

            ทิวทัศน์ที่มีสภาพเป็นเนินดินสูงต่ำ ปูด้วยหญ้าสีเขียว พุ่มดอกไม้น้อยใหญ่ขึ้นเป็นหย่อมรอบบริเวณสิ่งปลูกสร้างที่มีลักษณะคล้าย ‘บ้าน’ เหล่าผู้ใหญ่ที่เคยมีวัยเด็กในยุค 90s จำภาพเหล่านี้กันได้ไหม? นี่คือ เทเลทับบีส์ (Teletubbies) รายการสำหรับเด็กยามเช้าตรู่ ที่หลายคนเคยรีบตื่นมาดูอย่างไรล่ะ!

             เทเลทับบีส์ คือรายการทีวีสำหรับเด็ก ๆ วัยก่อนเข้าเรียน ที่เริ่มต้นออกอากาศทางช่อง BBC มาตั้งแต่ปี 1997 จนถึงปี 2001 เป้าหมายหลัก ๆ ของรายการก็คือ สร้างความเพลิดเพลินและสนุกสนาน ผ่านตัวละครหลักอย่างทิงกี วิงกี, ดิปซี, ลาลา และโพ สี่พี่น้องที่รักความครื้นเครงเป็นที่สุด พวกเขาทั้งวิ่ง กลิ้งไปกลิ้งมา พวกเขาชอบเล่น หัวเราะ และกอดกันตลอดเวลา ไม่ต่างจากเด็กเล็ก ๆ ที่ใช้ชีวิตอย่างไร้กังวล บนดินแดนเทเลทับบีส์อันกว้างใหญ่

             แต่ทันใดนั้นเอง เมื่อกังหันลมพิศวงจู่ ๆ ก็เริ่มทำงาน เหล่าเทเลทับบีส์ก็ต้องมารวมตัวกัน เพื่อลุ้นว่า คราวนี้หน้าจอบนท้องของใครจะปรากฏภาพหรือคลิปวิดีโอสนุก ๆ แฝงความรู้ปรากฎขึ้นมาให้เหล่าเทเลทับบีส์ (รวมถึงผู้ชม) ได้ดูกันอีก แต่ละวันนอกจากจะมีเจ้ากังหันลมลึกลับ ก็ยังมีเจ้าเครื่องดูดฝุ่นที่ดูเหมือนสัตว์เลี้ยง มีพระอาทิตย์ที่หน้าเหมือนทารก ซึ่งจะขึ้นและตกในช่วงเปิด-ปิดรายการ แถมยังมีเจ้าสปีกเกอร์ที่จู่ ๆ ก็ปรากฏขึ้นมาแจ้งว่า “หมดเวลาสนุกแล้วสิ” เพื่อให้เหล่าเทเลทับบีส์กลับไปนอนเอาแรงและกลับมาเริงร่าต่อในวันถัดไปอีกด้วย

             นี่คือองค์ประกอบและสีสันที่เกิดขึ้นในแต่ละวันของเหล่าเทเลทับบีส์ รายการของเด็กที่ดูเหมือนจะสร้างความสนุกเป็นหลัก แต่เมื่อ แอนน์ วูด (Anne Wood) ผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์ของแร็กดอลล์ โปรดักชัน และ แอนดรูว์ ดาเวนพอร์ท (Andrew Davenport) คนเขียนบท ผู้อยู่เบื้องหลังเนื้อหารายการทั้ง 365 ตอน ออกมาเล่าว่าแต่ละองค์ประกอบของรายการกว่าจะได้มามันไม่ง่าย พวกเขาก็หมายความตามนั้นจริง ๆ

             “BBC อยากให้มีรายการสำหรับเด็กเล็กสักรายการเพื่อฉายตอนเช้า และเราก็สนใจว่าผลตอบรับของเด็ก ๆ จะเป็นอย่างไร เมื่อได้เห็นตัวละครและองค์ประกอบทางเทคโนโลยีที่เรามองว่ามันใหม่มากสำหรับยุค 90s” วูดเล่า พวกเขาลองวาดภาพตัวอย่างของเทเลทับบีส์ ที่ได้แรงบันดาลใจมาจาก ‘นักบินอวกาศสวมผ้าอ้อม’ ไปเสนอแก่สถานีโทรทัศน์ ไม่น่าเชื่อว่า สุดท้ายไอเดียนี้จะชนะใจทาง BBC จนมีโอกาสเกิดขึ้นมาได้จริง ๆ

              ฉากทุ่งหญ้าและบ้านของเหล่าเทเลทับบีส์ไม่ได้แค่ถ่ายกันในสตูดิโอเฉย ๆ แต่เป็นการก่อสร้างและเซ็ตสถานที่ดังกล่าวขึ้นมาจริง ๆ เทเลทับบีส์ แลนด์ ตั้งอยู่ในเมืองวิมพ์สโตน มณฑลวอร์รอคเชียร์ ประเทศอังกฤษ ทีมงานตัดสินใจเช่าพื้นที่นี้เพราะตกลงเซ็นสัญญาออกอากาศเทเลทับบีส์ไว้ถึง 100 ตอนไปก่อนหน้านั้นแล้ว การเซ็ตสถานที่ไว้สำหรับถ่ายทำจึงดูเป็นตัวเลือกที่ชาญฉลาด

              ด้านนักแสดง วูดบอกว่า ไม่ใช่แค่ว่ามีทุนแล้วจะจ้างใครมาเล่นก็ได้ “เราต้องออดิชันนักแสดงเป็นร้อย ๆ เพื่อหาคนที่เข้าใจตัวตนของเทเลทับบีส์จริง ๆ เราไม่ได้ต้องการให้พวกเขามาเพื่อเล่นละครเป็นเด็กเล็ก แต่พวกเขาต้องดึงดูดและเป็นตัวอย่างที่ดีแก่เด็ก ๆ ด้วย” และกล่าวเพิ่มว่า “ความสำเร็จของเราคือ ในที่สุดเราก็หานักแสดงเหล่านั้นมาได้ นักแสดงที่สามารถพัฒนาคาแรคเตอร์ของเหล่าเทเลทับบีส์ออกมาได้อย่างมีเอกลักษณ์ พวกเขาแต่ละคนต่างก็มีเสน่ห์ของตัวเอง”

              เบื้องหลังคาแรคเตอร์เด็ก 3 ขวบไม่ทราบเผ่าพันธุ์ คือนักแสดงที่ถูกคัดมาให้มีความแตกต่างกัน ทั้งรูปร่างหน้าตา สีผิว และเชื้อชาติ  ทีมงานจากสตูดิโอแร็กดอลล์ ออกมาคอนเฟิร์มว่า การออกแบบเทเลทับบีส์ให้มีส่วนสูงที่แตกต่างกัน รวมถึงมีสีบนใบหน้าที่ทั้งเข้มและอ่อน ก็เป็นความตั้งใจที่ต้องการสอดแทรกแง่มุมของความหลากหลายเข้าไปในตัวละครเหล่านี้

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ฉงน ฉงาย
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 9
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 453


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 88.0.4324.150 Chrome 88.0.4324.150


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 24 กุมภาพันธ์ 2564 22:36:07 »



           ปุย ฟาน หลี่ (Pui Fan Lee) นักแสดงที่สวมชุด โพ (สีแดง) ซึ่งเป็นชาวแคนาดาเชื้อสายจีน ก็สามารถนำเสนอภาพลักษณ์ของโพออกมาได้อย่างน่ารักน่าชังด้วยภาษาอังกฤษสำเนียงกวางตุ้งที่เหมาะกับโพอย่างไม่น่าเชื่อ
           ลาลา (สีเหลือง) ผู้ร่าเริงสดใส แสดงโดย นิคกี้ สเมดลีย์ (Nickey Smedley) นักออกแบบท่าเต้นชาวอังกฤษ สามารถดึงเอาคาแรคเตอร์ของเด็กซุกซน ที่ไม่สนว่าใครเดือดร้อนจากพฤติกรรมพิเรนทร์ของตัวเองออกมาได้อย่างตลกขบขัน
           จอห์น ซิมมิท (John Simmit) นักแสดงตลกผิวสี ผู้รับบทเป็น ดิปซี (สีเขียว) ก็ออกแบบทั้งการพูดจาและท่าทางของดิปซีให้ออกมามีกลิ่นอายของชาวจาไมกันแท้ ๆ ซิมมิทบอกว่า ทั้งหมดเป็นความตั้งใจของทั้งทางสตูดิโอและตัวเขา “พวกเขาไว้ใจให้เราออกแบบตัวตนของเจ้าทับบีส์ได้ตามที่ใจเราอยาก” ซิมมิทเล่า “ดิปซีของผมก็เลยออกมาเหมือนทารกจอมซน ที่เดินไปก็ฮัมเพลงเร้กเก้ในตำนานจากสตูดิโออันดับหนึ่งของจาไมก้าไปด้วยไงล่ะ”

           สำหรับพี่ใหญ่สีม่วง ทิงกี วิงกี คงไม่กล่าวถึงไม่ได้ เพราะถ้าไม่มีประเด็นของเจ้าตัวนี้ ก็อาจไม่มีใครหันมาสนใจเรื่องราวของนักแสดงผู้อยู่เบื้องหลังตัวละครสุดแปลกมากเท่าที่เป็นอยู่ แต่เพราะในปี 1999 หลังเทเลทับบีส์ฉายมาได้ 2 ปี ก็มีนักวิจารณ์รายการทีวี ชื่อ เจอรรี ฟาลเวลล์ (Jerry Falwell) ผู้นับถือศาสนาคริสต์ นิกายโปรเตสแตนต์ ออกมาเขียนบทความโจมตีเทเลทับบีส์ โดยใช้ชื่อ ‘Parents Alert: Tinky Winky Comes Out of the Closet’ หรือแปลไทยว่า ‘เหล่าพ่อแม่เอ๋ย จงระวังเจ้าทิงกี วิงกีไว้ซะ’

          เนื้อหาบางส่วนของฟาลเวลล์ พยายามจะชักจูงให้หลายคนเข้าใจว่า เจ้าเทเลทับบีส์ตัวนี้มันเป็นเกย์ เพราะสีม่วงน่ะเป็นสีของเกย์ เสาอากาศบนหัวมันก็เป็นรูปสามเหลี่ยม สัญลักษณ์ของ gay pride ชัด ๆ รายการนี้อาจนำพาให้เด็ก ๆ กลายเป็นเกย์ได้ ดังนั้น มันจึงไม่ปลอดภัยและไม่เหมาะสมที่จะฉายให้เด็ก ๆ ดูเด็ดขาด

          ในปีเดียวกัน ฟาลเวลล์ยังไปกล่าวไว้ในรายการทีวีชื่อ Today show อีกว่า “เด็กผู้ชายวิ่งเล่นไปมา พร้อมถือกระเป๋าเหมือนผู้หญิง ทิ้งความเป็นชายและแสดงออกแบบตุ้งติ้ง เพื่อให้คนคิดว่าการเป็นเกย์มันโอเค นั่นไม่ใช่สิ่งที่เหล่าคริสเตียนเห็นด้วย”

          ฝั่ง ไซมอน บาร์นส์ (Simon Barnes) นักบัลเลต์ชาวอังกฤษ ผู้สวมชุดทิงกี วิงกี ออกมาให้สัมภาษณ์กรณีนี้ว่า “ผมโดนถามตลอดเลยว่าทิงกี วิงกีเป็นเกย์หรือเปล่า แต่ตัวละครที่ผมเล่นมันเป็นแค่เด็ก 3 ขวบเองนะ คำถามพวกนี้มันไม่งี่เง่าไปหน่อยเหรอ” แต่ไม่ว่าตัวทิงกี วิงกีจะเป็นตัวแทนเหล่า LGBTQIA+ ในหมู่เด็ก ๆ จริงหรือไม่ ถึงอย่างไร มันก็ทำให้หลายคนหันมาสนใจตัวละครทั้งสี่จากรายการเด็กมากขึ้น

          ภายในเวลาไม่กี่ปี ชื่อเสียงในอังกฤษของเทเลทับบีส์ก็พุ่งแรงชนิดฉุดไม่อยู่ ถามว่าประสบความสำเร็จแค่ไหน บทความของสื่อบางสำนักถึงกับยกให้เป็น The Beatles ของเหล่าเด็กเล็กในยุค 90s มีการซื้อลิขสิทธิ์รายการไปฉายใน 120 ประเทศทั่วโลก มีการดัดแปลงและปรับเปลี่ยนเนื้อหาไปตามแต่ละพื้นที่ เพื่อให้เหมาะสมกับวัฒนธรรมที่แตกต่าง

          แม้เทเลทับบีส์เวอร์ชันต้นฉบับ (มีเวอร์ชันรีบูตในปี 2015) จะออนแอร์ตอนสุดท้ายไปเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2001 แต่เอกลักษณ์และองค์ประกอบบางอย่างของรายการ ทั้งการสร้างคาแรคเตอร์ใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน หรือการสอดแทรกเกร็ดความรู้ขึ้นมาระหว่างโชว์ ก็ยังเป็นโมเดลตัวอย่างที่รายการเด็กในยุคนี้พยายามหยิบจับมาใช้

          เทเลทับบีส์จะยังคงเป็นที่จดจำในฐานะรายการเด็กที่ทั้งสนุก ให้ความรู้ และสอนให้เด็ก ๆ รับเอาตัวละครที่มีสีสันอันแตกต่างเข้าไปอยู่ในหัวใจ พวกเขากลายเป็นความทรงจำดี ๆ ในวัยที่โลกแห่งจินตนาการของเด็ก ๆ จะมีแต่ทุ่งหญ้าสีเขียวสุดลูกหูลูกตา รวมถึงมีพระอาทิตย์หน้าเด็กที่เข้ามาทักทายและบอกลาเราอย่างรักใคร่ในทุก ๆ วัน


ที่มา https://thepeople.co/the-diversity-behind-teletubbies/


บันทึกการเข้า

คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.274 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 17 เมษายน 2567 17:09:20