[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
25 เมษายน 2567 02:57:08 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เครื่องใช้ในเรือนไทยโบราณ  (อ่าน 875 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5458


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 28 กุมภาพันธ์ 2564 14:48:40 »



เตาประกอบอาหารของชาวไทยชนบท ปัจจุบันยังมีให้เห็นอยู่มาก

เตาถ่าน

เมื่อมนุษย์เริ่มเรียนรู้ใช้ไฟช่วยในการประกอบอาหาร เริ่มแรกนิยมก่อกองไฟกับพื้นดิน แต่เมื่อรู้จักใช้ภาชนะ เช่น หม้อดิน การนำหม้อดินวางบนกองไฟจะทำให้หม้อตะแคง การประกอบอาหารเป็นไปอย่างยากลำบาก  มนุษย์จึงคิดหาทางแก้ โดยนำก้อนดินหรือก้อนหิน จำนวน ๓ ก้อน (เรียกว่า ก้อนเส้า) มาวางรับก้นหม้ออีกทีหนึ่ง  ต่อมา คิดหาวิธีที่สะดวกและปลอดภัย จึงนำเอาไม้มาตีเป็นกระบะสี่เหลี่ยมขนาดประมาณ ๑ x  ๑ เมตร สูงประมาณ ๑๐-๑๕ เซนติเมตร นำไปวางบนพื้นบ้านภายในครัว และเอากาบกล้วยมาวางรองก้นกระบะ เอาดินใส่ให้เต็มเพื่อป้องกันไฟไหม้บ้าน เสร็จแล้วจึงนำก้อนเส้าไปวางและก่อไฟประกอบอาหารบนนั้น  แต่การปรุงอาหารในลักษณะนี้ก็ยังไม่ได้รับความสะดวกที่เท่าควร จึงได้คิดปั้นดินให้มีรูปทรงกะทัดรัดขึ้น เพื่อสะดวกในการใช้สอยและขนย้าย จึงกลายเป็นเตาดังปัจจุบัน และเชื้อไฟที่เคยใช้เป็นไม้ฟืนก็หันมาใช้ถ่านแทน

เตา ที่ใช้ในการหุงต้ม ทำจากดินเหนียว ปั้นเป็นรูปโครงเตาลักษณะและขนาดต่างๆ ตกแต่งผึ่งลมจนแห้งแล้วนำไปเผาให้แข็งแกร่ง แล้วนำมาติดแต่งรังผึ้ง* อุดแต่งด้วยปูนทราย  แล้วนำสังกะสีมาประกอบภายนอก โดยใช้ดินเหนียวผสมแกลบดำพอเหนียวอัดช่องว่างภายในระหว่างข้างเตาและถังสังกะสีที่หุ้มอยู่ แกลบดำและดินเหนียวนอกจากจะช่วยให้ตัวเตาติดแน่นกับสังกะสีแล้ว ยังเป็นฉนวนกันความร้อนจากตัวเตาไม่ให้แผ่มายังสังกะสี ทำให้เตามีอายุการใช้งานได้ยาวนาน

ส่วนประกอบของเตามี ๒ ส่วน ส่วนปากเตาคือส่วนบนตั้งแต่รังผึ้งขึ้นไปเป็นส่วนที่ใส่ถ่าน ส่วนล่างรังผึ้งลงมาเรียกว่า หน้าเตา เป็นส่วนระบายอากาศและที่เก็บขี้เถ้าออกทิ้ง

*รังผึ้ง เป็นชื่อเรียกแผ่นวงกลมที่วางในตัวเตา มีรูระบายอากาศ ทำจากดินเหนียวผสมกับแกลบดำให้เป็นเนื้อเดียวกัน นำไปกดลงในแบบพิมพ์รังผึ้ง ผึ่งลมให้แห้ง นำไปเผาพร้อมตัวเตาจนแกร่ง

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 กุมภาพันธ์ 2564 14:51:50 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5458


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 28 กุมภาพันธ์ 2564 16:39:52 »





หวดนึ่งข้าว

หวด เป็นเครื่องใช้ที่สานด้วยตอก ใช้นึ่งข้าว มีใช้กันทั่วไปในภาคเหนือ ภาคอีสาน

ลักษณะของหวดมีรูปทรงคล้ายกรวย ก้นสอบและมีมุม ๔ มุม ปากผายออกกว้าง  ขนาดของหวดมีตั้งแต่ขนาดปากกว้าง ๒๐ เซนติเมตร ไปจนถึง ๔๐-๕๐ เซนติมาตร มักสานด้วยตอกไม้ไผ่ โดยสานไม่ให้ตอกติดกัน ให้ห่างกันพอเมล็ดข้าวสารลอดไปไม่ได้ตลอดทั้งใบ

โดยทั่วไป นิยมสานหวดด้วยตอกไม้ไผ่บงหรือไม้ไผ่เรี้ย  โดยนำไผ่บงหรือไผ่เรี้ยมาผ่าแล้วจักเป็นตอก ๓ ขนาด  คือตอกตัวยืนเรียกว่า “ตอกซั้ง” มีขนาดประมาณ ๖ มิลลิเมตร  ตอกสานตามขวางเรียกว่า “ตอกเกี้ยว” หรือ “ตอกอ้อม” มีขนาดประมาณ ๓-๔ มิลลิเมตร  ตอกไพสำหรับขัดสานส่วนบน ขนาดประมาณ ๒ มิลลิเมตร  ใช้ตอกขนาดใหญ่ก่อก้นหวดเป็นตอกซั้ง แต่ละซั้งใช้ตอก ๒ เส้นคู่กัน สานส่วนที่เป็นก้นด้วย “ลายสอง” จากนั้นนำก้นที่ก่อแล้วมาติดกับแม่พิมพ์หวด ใช้ไม้เสียบส่วนก้นทแยงมุมให้ก้นติดกับแม่พิมพ์ แล้วพับตอกขึ้นตามพิมพ์โดยค่อยๆ แยกตอกซั้งที่คู่กันให้แต่ละเส้นสานเกี้ยวขึ้นด้วย “ลายทาน” คือยกเส้นข้ามเส้น สานสูงตามความต้องการ จึงใช้ตอกไพนั้นไพต่อขึ้นไป การไพใช้ตอกไพ ๒ เส้นต่อ ๑ รอบ เกี้ยวขัดตามกันไป โดยไพสูงประมาณ ๕ เซนติเมตร แล้วจึง “เม้มปาก” คือเอาตอกซั้งที่เหลือขึ้นไปนั้นพับลงขัดเข้ากับตอกซั้งไปทางขวา ปลายม้วนเสียบลงกับตอกไพให้แน่น ก็จะได้หวดไว้ใช้งานต่อไป

หวดที่สานด้วยไม้ไผ่เรี้ย จะมีความเหนียว ยืดหยุ่นอ่อนตัวได้ดี เวลาบีบปากหวดจะอ่อนตัวตามได้โดยไม่หัก ส่วนหวดที่สานด้วยไม้ไผ่บงมีความแข็งแรงกว่า แต่เสียตรงที่หักได้ง่าย แต่ความนิยมคนชอบทำด้วยไผ่บงมากกว่า แต่บางท้องถิ่นนิยมใช้ไม้รวกดำสานหวด เพราะเห็นว่ามีคุณสมบัติอยู่ระหว่างไม้เรี้ยและไม้บง

หวด ใช้ใส่ข้าวเหนียวหรือข้าวสารที่แช่แล้ว ที่เรียกกันว่า เข้าหม่า โดยซาวน้ำให้เมล็ดข้าวสะอาดแล้วใส่ไว้ในหวด ปล่อยให้สะเด็ดน้ำ จากนั้นจึงนำหวดไปวางบนปากหม้อน้ำซึ่งกำลังเดือด ประมาณไม่ให้น้ำจรดก้นหวด ใช้ภาชนะหรือฝาหม้อปิดปากหวด ไอน้ำเดือดจะระเหยเข้าไปตามช่องว่างระหว่างรอยสานของตอก ข้าวหรืออาหารจะสุกทั่วกันโดยข้าวไม่แฉะ

นอกจากจะนิยมใช้หวดนึ่งข้าวแล้ว ยังใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้อีกด้วย เช่น ใช้นึ่งผัก หรือใช้ล้างผักสด




ช้อนสังกะสีเคลือบ

จากหลักฐานทางโบราณคดีบ่งชี้ว่า ช้อนชนิดแรกที่เผ่าพันธุ์มนุษย์รู้จักใช้ก็คือเปลือกหอยธรรมชาติ ต่อมาก็ใช้เศษไม้หรือเปลือกไม้ขูดให้เว้าเป็นแอ่งสำหรับใช้ตักอาหารเหลวที่อ่อนนุ่ม จากนั้นช้อนก็มีวิวัฒนาการมาเรื่อยตามสังคมอารยะที่มนุษย์สร้างขึ้น

ช้อนเก่าแก่ที่สุดเท่าที่ค้นพบทำมาจากดินเผา หลังจากนั้นมีการใช้วัสดุอื่นๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นกระดูกสัตว์ เขาสัตว์ หรือ งาช้าง จนกระทั่งในยุคปัจจุบันที่เราให้ค่ากับแร่โลหะ โดยเฉพาะทองคำและเงินบริสุทธิ์ ช้อนส้อมที่แข็งแรงทนทานจึงทำมาจากโลหะจำพวกสเตนเลส บรอนซ์ หรือโลหะผสมระหว่างดีบุกกับตะกั่ว ส่วนช้อนส้อมชนิดที่หรูหรามีราคาแพงมักทำจากทองคำ และ เงิน

ในวัฒนธรรมไทยแต่โบราณรับประทานข้าวหรือเปิบข้าวด้วยมือ ในวงข้าวจึงมีชามใส่น้ำสะอาดไว้ล้างมือตั้งวางไว้ข้างตัวเสมอ มาถึงสมัยรัชกาลที่ ๔ และแพร่หลายมากขึ้นในรัชกาลที่ ๕ โดยเฉพาะช่วงหลังกลับจากเสด็จประพาสยุโรป มีการใช้ช้อนสั้นตักข้าวและอาหาร แต่ไม่ปรากฏแน่ชัดว่ามีการนำช้อนมาใช้คู่กับส้อมตั้งแต่เมื่อใด /size]



ยังมีอีกมากในแผ่นดินไทย ยามค่ำคืนปราศจากแสงไฟฟ้า ต้องพึ่งพาแสงสว่างจากตะเกียงน้ำมัน

เครื่องตามไฟ - ตะเกียงกระป๋อง

เครื่องตามไฟนี้ทำจากกระป๋องนมใช้แล้ว โดยใช้สังกะสีม้วนเป็นหลอดสำหรับใส่ไส้ที่ทำด้วยด้ายดิบหรือเศษผ้าม้วนให้กลมสอดลงไปในหลอด คะเนให้ด้ายหรือผ้ายาวพอที่จะลงไปได้ถึงก้นกระป๋องที่บรรจุน้ำมันก๊าดหรือน้ำมันพืช ด้ายดิบและเศษผ้าจะอมน้ำมัน เมื่อจุดไฟไส้ตะเกียงจะดูดน้ำมันขึ้นมาทำให้ลุกไหม้เกิดเป็นแสงสว่าง  เมื่อไส้ตะเกียงไหม้เกรียม จะใช้คีมคีบดึงไส้ขึ้นมาเพื่อให้เกิดแสงสว่างต่อไปได้อีกตามเวลาต้องการ ตะเกียงยังคงพัฒนามาเป็นลำดับ จากตะคันที่ใช้ไขสัตว์มาเป็นตะเกียงที่ใช้น้ำมันก๊าด มีครอบแก้ว




โก๋ย

“โก๋ย” เครื่องใช้สานจากไม้ไผ่ ผ่าแล้วจักทำเป็นตอก สานขัดอย่างง่ายๆ ให้โปร่งเพื่อระบายอากาศได้ดี
ใช้ใส่พืชผัก ผลไม้ และสิ่งของจำเป็นในชีวิตประจำวันของคนไทใหญ่ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 กุมภาพันธ์ 2564 19:20:29 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.209 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 10 เมษายน 2567 07:11:35