[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 07:14:58 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ทำไม พระสงฆ์ถึงมาชุมนุมกันโดยมิได้นัดหมาย ?  (อ่าน 728 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ฉงน ฉงาย
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 9
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 453


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 88.0.4324.182 Chrome 88.0.4324.182


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 28 กุมภาพันธ์ 2564 18:47:54 »


ทำไม พระสงฆ์ถึงมาชุมนุมกันโดยมิได้นัดหมาย ?


          ‘วันมาฆบูชา’ วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดง โอวาทปาฏิโมกข์ เป็นครั้งแรก แก่พระสงฆ์ 1,250 รูป ที่มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย จึงเป็นวันที่พุทธศาสนิกชนชาวพุทธ จะพร้อมใจกันทำบุญ เพื่อระลึกถึงพระคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ โดยปีนี้ตรงกับวันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2563 นิยมเดินทางไปไหว้พระ ทำบุญ ในตอนเช้า และเวียนเทียนในตอนค่ำ

เกร็ดความรู้ ประวัติความเป็นมาของ วันมาฆบูชา


           หลังจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ทรงประกาศพระศาสนา และส่งพระอรหันต์สาวกออกไปจาริกเพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนายังสถานที่ต่างๆ ล่วงแล้วได้ 9 เดือน เมื่อเสร็จพุทธกิจแสดงธรรมที่ถ้ำสุกรขาตาแล้ว ได้เสด็จมาประทับที่วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ หรือประเทศอินเดียในปัจจุบัน ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดง "โอวาทปาติโมกข์" แก่พระสงฆ์เป็นครั้งแรก อันเป็นหลักคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนา โดยได้มีเหตุการณ์อัศจรรย์เกิดขึ้นพร้อมกันถึง 4 ประการ คือ

      1.ตรงกับวันเพ็ญ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ซึ่งพระจันทร์เสวยมาฆฤกษ์

      2.มีพระสงฆ์จำนวน 1,250 รูป มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย

      3.พระสงฆ์ที่มาประชุมทั้งหมดล้วนแต่เป็นพระอรหันต์ ผู้ได้อภิญญา 6

      4.พระสงฆ์ทั้งหมดได้รับการอุปสมบทโดยตรงจากพระพุทธเจ้า หรือ "เอหิภิกขุอุปสัมปทา"

          และเพราะเกิดเหตุอัศจรรย์ 4 ประการข้างต้น ทำให้วันมาฆบูชา เรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่า "วันจาตุรงคสันนิบาต" ซึ่งมีความหมายตามการแยกศัพท์คือ

          - จาตุร แปลว่า 4

          - องค์ แปลว่า ส่วน

          - สันนิบาต แปลว่า ประชุม

          ดังนั้น "จาตุรงคสันนิบาต" จึงหมายความว่า "การประชุมด้วยองค์ 4" หรือมีเหตุการณ์พิเศษที่เกิดขึ้นพร้อมกันนั่นเอง

ทำไม พระสงฆ์ถึงมาชุมนุมกันโดยมิได้นัดหมาย ?

          ในวันพระจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3) ตามคติพราหมณ์ เป็นวันพิธีศิวาราตรี วันสำคัญของศาสนาพราหมณ์ อันเป็นศาสนาที่เคยนับถือของพระสาวกอยู่แต่เดิม โดยในวันนี้เหล่าผู้ศรัทธาพราหมณลัทธินิยม จะทำการบูชาพระศิวะด้วยการลอยบาปหรือล้างบาปด้วยน้ำ แต่มาบัดนี้ได้หันมานับถือพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าแล้ว จึงเดินทางไปเข้าเฝ้าบูชา เพื่อฟังพระสัทธรรมจากพระพุทธเจ้าแทน ทำให้พระอรหันต์เหล่านั้นซึ่งเคยปฏิบัติศิวาราตรีอยู่เดิม เดินทางมารวมกันโดยมิได้นัดหมายนั่นเอง

 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ฉงน ฉงาย
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 9
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 453


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 88.0.4324.182 Chrome 88.0.4324.182


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 28 กุมภาพันธ์ 2564 18:51:25 »



หลักธรรม โอวาทปาติโมกข์ ที่ควรนำไปปฏิบัติ

          "โอวาทปาติโมกข์" หลักคำสอนสำคัญอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา เพื่อนำไปสู่ความหลุดพ้น ประกอบด้วย หลักการ 3 อุดมการณ์ 4 และวิธีการ 6 ดังนี้

หลักการ 3 คือหลักคำสอนที่ควรปฏิบัติ ได้แก่


          1. การไม่ทำบาปทั้งปวง คือ การลด ละ เลิก ทำบาปทั้งปวง อันได้แก่ อกุศลกรรมบถ 10 ซึ่งเป็นทางแห่งความชั่ว 10 ประการที่เป็นความชั่วทางกาย (การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติผิดในกาม) ทางวาจา (การพูดเท็จ การพูดส่อเสียด การพูดเพ้อเจ้อ) และทางใจ (การอยากได้สมบัติของผู้อื่น การผูกพยาบาท และความเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม)

          2. การทำกุศลให้ถึงพร้อม คือ การทำความดีทุกอย่างตามกุศลกรรมบถ 10 ทั้งความดีทางกาย (ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่เอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้มาเป็นของตน มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่ประพฤติผิดในกาม) ความดีทางวาจา (ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดหยาบคาย ไม่พูดเพ้อเจ้อ) และความดีทางใจ (ไม่โลภอยากได้ของผู้อื่น มีความเมตตาปรารถนาดี มีความเข้าใจถูกต้องตามทำนองคลองธรรม)

          3. การทำจิตใจให้ผ่องใส คือ ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ หลุดจากนิวรณ์ที่คอยขัดขวางจิตใจไม่ให้เข้าถึงความสงบ ได้แก่ ความพอใจในกาม, ความพยาบาท, ความหดหู่ท้อแท้, ความฟุ้งซ่าน และความลังเลสงสัย

อุดมการณ์ 4 ได้แก่

          1. ความอดทน อดกลั้น คือ ไม่ทำบาปทั้งกาย วาจา ใจ

          2. ความไม่เบียดเบียน คือ งดเว้นจากการทำร้าย รบกวน หรือเบียดเบียนผู้อื่น

          3. ความสงบ ได้แก่ การปฏิบัติตนให้สงบทั้งทางกาย วาจา ใจ

          4. นิพพาน ได้แก่ การดับทุกข์ ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา

วิธีการ 6 ได้แก่

          1. ไม่ว่าร้าย คือ ไม่กล่าวให้ร้าย โจมตีใคร

          2. ไม่ทำร้าย คือ การไม่เบียดเบียนผู้อื่น

          3. สำรวมในปาฏิโมกข์ คือ เคารพระเบียบวินัย กฎกติกา รวมทั้งขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของสังคม

          4. รู้จักประมาณ คือ รู้จักความพอดีในการบริโภค รวมทั้งการใช้สอยสิ่งต่าง ๆ

          5. อยู่ในสถานที่สงัด คือ อยู่ในสถานที่ที่มีสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม

          6. ฝึกหัดจิตใจให้สงบ คือ การฝึกหัดชำระจิตใจให้สงบ มีประสิทธิภาพที่ดี
         


บันทึกการเข้า

คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.213 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 29 กุมภาพันธ์ 2567 22:04:15