[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 เมษายน 2567 22:49:40 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: บทที่ 3 เสียงปลุก ภัทเทกรัตตสูตร : WAKE-UP SERMON  (อ่าน 12882 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 5.0 Firefox 5.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 05 สิงหาคม 2554 17:06:32 »





บทที่ 3 เสียงปลุก
ภัทเทกรัตตสูตร : WAKE-UP SERMON

สาระสำคัญของมรรค คือการปลดปล่อยตนเอง เป้าหมายของผู้ปฏิบัติคือ หลุดพ้นจากปรากฏการณ์ภายนอก* ( *คำว่า ปรากฏการณ์ภายนอก สำนวนที่ใช้หมายถึงการไม่มีอุปาทานสำคัญมั่นหมายในอายตนะภายนอก คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อารมณ์ที่มากระทบ คือ เห็นสักว่าเห็น ได้ยินสักว่าได้ยิน รู้สักว่ารู้ เรียกว่าหลุดพ้นจากปรากฏการณ์ภายนอก … ผู้แปลไทย )

พระสูตรกล่าวว่า “ การปลดปล่อยตนเองออกจากอุปาทาน คือการบรรลุธรรม เพราะมันลบล้างปรากฏการณ์ได้ ” * ( * มโนภาพที่ปรากฏ เพราะอาศัยอายตนะภายในภายนอก ได้แก่ มายาภาพของจิต ดังนั้นถ้ากล่าวถึงปรากฏการณ์ในที่นี้ทุกครั้ง ให้เข้าใจว่า เป็นมายาภาพของจิตที่ต้องสลัดทิ้งไปเสมอ… ผู้แปลไทย)

พุทธภาวะ หมายถึง ความรู้สึกตัว จิตของปุถุชนที่รู้สึกตัวแล้วย่อมเข้าถึงมรรคผลได้ ดังนั้น จึงเรียกว่า พุทธะ “ ปรากฏการณ์ภายนอกเหมือนไม่ใช่ปรากฏการณ์ เพราะไม่อาจมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่สามารถรู้ได้ด้วยตาปัญญาเท่านั้น ใครก็ตามได้ยินและเชื่อคำสอนนี้ ได้ชื่อว่าลงสู่ยานพาหนะใหญ่ 1* หรือมหายาน และสามารถออกจากภพทั้ง 3 ได้”

ภพทั้ง 3 คือ ความโลภ ความโกรธ และความหลง การออกจากภพทั้ง 3 หมายถึง การออกจากความโลภ ความโกรธ และความหลง กลับเข้าสู่ศีล สมาธิและปัญญา เพราะความโลภ ความโกรธ ความหลง ไม่มีธาตุแท้ของตนเอง ภพทั้ง 3 อาศัยจิตปุถุชนเป็นที่อยู่ และใครสามารถใช้การไตร่ตรองพิจารณา(ในภพทั้ง 3) ย่อมได้ปัญญา รู้ว่าสภาพความโลภ – โกรธ - หลง ก็เป็นพุทธภาวะด้วย เหนือความโลภ ความโกรธ ความหลง ก็ไม่มีพุทธภาวะ

พระสูตรกล่าวว่า “ พระพุทธเจ้าได้เป็นพระพุทธเจ้า ก็เพราะอาศัยอยู่กับอสรพิษทั้ง 3 และรักษาบำรุงพระองค์เองด้วยธรรมอันไม่บริสุทธิ์ ” อสรพิษทั้ง 3 คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง นั่นเอง

มหายาน เป็นยานใหญ่ที่สุดกว่ายานทั้งปวงมันเป็นยานพาหนะของพระโพธิสัตว์ ผู้ซึ่งใช้ทุกสิ่งโดยไม่ต้องใช้สิ่งใด และผู้ท่องเที่ยวไปทุกวันโดยไม่ต้องท่องเที่ยว ยานเช่นนั้นเป็นยานของพระพุทธเจ้าด้วย

พระสูตรกล่าวว่า “ไม่มียานใด เป็นยานของพระพุทธเจ้า”

ใครก็ตามรู้แจ้งชัดว่า อายตนะทั้ง 6 2* ไม่ใช่ของจริง ขันธ์ทั้ง 5 เป็นภาพลวงและรู้แจ้งชัดว่า ไม่มีสิ่งใดสามารถตั้งอยู่ได้ในกายนี้ คนนั้นย่อมเข้าใจภาษาของพระพุทธเจ้า

พระสูตรกล่าวว่า “ ถ้ำคือขันธ์ 5 3* ( รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ )ก็คือห้องกรรมฐานของผู้ปฏิบัติเซ็น การเปิดตาในได้ ( ธรรมจักษุ ) ชื่อว่าเปิดประตูแห่งมหายานได้ ” จะมีอะไรชัดเจนไปกว่านี้อีกหรือ ?

จิตไม่ปรุงแต่งถึงสิ่งใด ๆ ก็คือเซ็น ทุกครั้งที่ท่านกำหนดรู้อิริยาบถสี่ คือ ยืน เดิน นั่ง นอนและ อิริยาบถย่อยต่าง ๆ อย่างชัดเจน ชื่อว่าเป็นการทำเซ็น การรู้จักจิตนี้ว่า จิตคือความว่าง ชื่อว่าเป็นการเห็นพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทั้ง 10 ทิศ ไม่มีจิต4* การเห็นความไม่มีจิตเป็นการเห็นพุทธะ

การสลัดทิ้งอัตตาของตนเองโดยไม่มีความเสียใจใด ๆ เป็นการให้ทานที่ยิ่งใหญ่ที่สุด การไปเหนือความเคลื่อนไหวและความนิ่ง เป็นการทำกรรมฐานที่สูงสุด ปุถุชนยังเคลื่อนไหวอยู่ แต่พระอรหันต์ย่อมหยุดนิ่ง 5* แต่สมาธิขั้นสูงสุดย่อมล่วงพ้นทั้งความเป็นปุถุชนและอรหันต์

บุคคลผู้เข้าถึงความเข้าใจเช่นนั้น (ยถาภูตญาณ) ย่อมปลดปล่อยตนเองออกจากปรากฏการณ์ทั้งปวง โดยปราศจากความพยายามและรักษาโรคทั้งปวงโดยไม่ต้องรักษา อำนาจเช่นนั้นเป็นอำนาจแห่งเซ็นอันยิ่งใหญ่

การใช้จิตเฝ้าดูจิต ที่แท้เป็นความหลงผิด* ( * หลักการของหลวงพ่อเทียน ไม่ให้เอาจิตเฝ้าดูจิตเช่นกัน แต่เน้นให้ใช้สติปัญญาญาณเฝ้าดูจิต ถ้าใช้จิตเฝ้าดูจิตจะสับสนและหลงทางได้ง่าย การใช้จิตเฝ้าดูจิต หมายถึง การใช้จิตที่ยังมีอุปาทานที่เกิดจากอัตตาตัวตน แต่สติและปัญญาญาณนั้น ได้รับการพัฒนามาจากการเจริญสติปัฏฐาน 4 อย่างถูกต้อง ย่อมเข้าดูจิตได้ถูกต้องและชัดเจน … ผู้แปลไทย )

ไม่ใช้จิตค้นหาความจริงแต่ใช้สติปัญญาค้นหา การปลดปล่อยตนเองให้พ้นจากคำพูดและภาษา คือ อิสรภาพ การดำรงจิตไว้ ไม่ให้มีมลทินจากธุลีแห่งเวทนา คือการดูแลรักษาพระธรรม

“ การไปเหนือชีวิตและความตาย คือการออกจากเรือน6* ( การออกเนกขัมมะเป็นสิ่งที่ทุกคนทำได้ ) ”
“ การไม่เป็นทุกข์กับเรือนของคนอื่น เป็นการเข้าถึงมรรค ( การมีสติและอุเบกขา อย่างบริสุทธิ์ ) ”
“ การไม่สร้างความหลงให้เกิดอีก คือ โพธิ ”
“ การไม่เกี่ยวข้องกับอวิชชาคือญาณปัญญา ”
“ การพ้นจากความทุกข์ยากลำบาก คือ พระนิพพาน”
“ การหลุดพ้นจากมายาจิต คือการเข้าถึงฝั่งแห่งวิมุติ ”

เชิงอรรถบทที่ 3 หมายเลข 1* - 6*
1*หมายถึง มหายาน หรือจิต จิตเท่านั้นที่สามารถจะนำคุณไปไหนต่อไหนก็ได้
2* ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส ผัสสะ และความคิด
3* คือ ขันธ์ 5 หรือองค์ประกอบของจิต ( การปรุงแต่งทางจิต ) ที่ประกอบด้วย รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ
4* ทิศทั้ง 8 บวกกับทิศเบื้องล่าง
5* อรหันต์เป็นการบรรลุขั้นที่ 4 และขั้นสุดท้ายในพุทธศาสนาฝ่ายหินยาน คือ การเป็นอิสระจากกิเลส จากการเจริญสมถะ
6* เหมือนพระศากยมุนี ได้ปฏิบัติเพื่อแสวงหาการตรัสรู้ ในที่นี้หมายถึง การออกบวชเป็นพระภิกษุหรือภิกษุณี


Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 5.0 Firefox 5.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 05 สิงหาคม 2554 17:10:40 »




เมื่อท่านถูกอวิชชาครอบงำ ท่านก็ยังอยู่ฝั่งนี้ เมื่อท่านรู้ตื่น เบิกบาน ท่านก็ไม่อยู่ฝั่งนี้ ปุถุชนทั้งหลายก็ยังพักอยู่ฝั่งนี้ แต่บุคคลผู้ค้นพบบรมญาณทั้งหมดไม่ได้อยู่ฝั่งนี้ หรือฝั่งโน้น ท่านเหล่านั้นสามารถทิ้งฝั่งทั้งสองไปได้ บุคคลที่เห็นฝั่งโน้นแตกต่างจากฝั่งนี้ ชื่อว่ายังไม่เข้าใจเซ็น

ความหลงเป็นคุณสมบัติของปุถุชน ความรู้สึกตัวทั่วพร้อมเป็นคุณสมบัติของพุทธภาวะ ความทั้ง 2 อย่างไม่เหมือนกัน แต่ก็ไม่แตกต่างกัน มันดูเหมือนคนทั่วไปแยกโมหะออกจากสัมปชัญญะ ( ความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ) เมื่อเราถูกอวิชชาครอบงำ ดูเหมือนว่าเราหลีกไปอยู่อีกโลกหนึ่ง เมื่อเรารู้สึกตัวดูเหมือนว่าเราไม่ได้หลีกไปไหน

แสงสว่างแห่งความเสมอภาค ทำให้ปุถุชนไม่แตกต่างไปจากนักปราชญ์ พระสูตรกล่าวว่า " อมตธรรมเป็นสิ่งที่ปุถุชนเข้าถึงไม่ได้ และนักปราชญ์ก็ไม่ได้ปฏิบัติ แต่อมฤตธรรมถูกปฏิบัติตามโดยพระโพธิสัตว์และพระพุทธเจ้าเท่านั้น ”

การเฝ้าดูชีวิตเฉย ๆ เสมือนว่าต่างจากความตาย หรือการเฝ้าดูการเคลื่อนไหวเสมือนต่างจากความนิ่ง นั่นเป็นการแบ่งแยก

การไม่แบ่งแยก หมายถึง การเฝ้าดูทุกข์เสมือนว่าไม่ต่างจากพระนิพพาน เพราะธรรมชาติของทั้งสองอย่างเป็นความว่างเหมือนกัน การเข้าถึงที่สุดทุกข์ และการเข้าสู่พระนิพพาน ก็เป็นเพียงความคิด และพระอรหันต์ก็ยังต้องติดกับดักของพระนิพพาน แต่พระโพธิสัตว์รู้ชัดว่า ความทุกข์โดยสาระแล้วคือความว่าง การดำรงจิตของตนเองอยู่ในความว่างก็คือ ดำรงอยู่ในพระนิพพาน

พระนิพพาน หมายถึง ความไม่เกิดและไม่ตาย มันเป็นภาวะที่อยู่เหนือการเกิดและการตาย และอยู่เหนือพระนิพพานด้วย

เมื่อจิตหยุดการเคลื่อนไหว จิตก็เข้าสู่พระนิพพาน นิพพานก็คือจิตว่างอย่างหนึ่ง โมหะไม่มีอยู่ที่ใด พระพุทธเจ้าก็เข้าสู่นิพพานที่นั้น โรคภัยไข้เจ็บความทุกข์ ความเดือดร้อนไม่มีในที่ใด พระโพธิสัตว์ก็เข้าตรัสรู้ธรรมที่นั้น7*

สถานที่ที่ไม่น่าอยู่อาศัย8* คือสถานที่ปราศจากความโลภ ความโกรธ ความหลง* ( * ธรรมดาปุถุชนคนทั่วไป ต้องคลุกคลีอยู่กับกิเลสทั้งสาม ถ้าไม่มีกิเลสทั้งสามตัวนี้ พวกเขาก็อยู่ไม่ได้ ต้องพากันแสวงหามาไว้เสมอ เหมือนแมลงวัน ที่แสวงหาของเน่าเหม็นอยู่เสมอ ดังนั้น สถานที่ใดไม่มีความโลภ ความโกรธ และความหลง คนธรรมดาก็อยู่ไม่ได้ ไม่น่าอยู่ด้วย เช่น สถานที่บำเพ็ญสมณธรรมเพื่อการขัดเกลากิเลสจริง ๆ ไม่ค่อยมีคนเข้าไปอยู่อาศัยทั้ง ๆ ที่มีอะไรพร้อมบริการเสมอ แต่ถ้าในสถานที่แหล่งอบายมุขหรือสนุกสนาน สถานเริงรมย์ทั้งหลายจะมีผู้คนเข้าไปมากมายผู้แปลไทย ) ความโลภเป็นภูมิแห่งความทะยานอยาก (กามภพ ) ความโกรธเป็นภูมิแห่งรูป ( รูปภพ ) ความหลงเป็นภูมิแห่งอรูป ( อรูปภพ )

เมื่อความคิดปรุงแต่งเริ่มเกิด คุณก็เข้าไปสู่ภูมิทั้งสาม เมื่อความคิดหยุด คุณก็ออกมาจากภพทั้งสาม การเริ่มหรือการหยุดภพทั้งสาม ขึ้นอยู่กับจิตไม่ว่าจะเป็นอัตตาหรืออนัตตาอันใดก็ตาม จิตนี้เข้าไปได้ทุกสิ่ง แม้วัตถุอันไม่มีชีวิต เช่น ก้อนหินหรือท่อนไม้ก็ตาม

ใครก็ตามที่รู้ว่าจิตเป็นมายาภาพ และไม่สามารถหาความจริงใด ๆ ที่จะมาพิสูจน์ให้รู้ว่า จิตของตนไม่ใช่มีอยู่หรือไม่ใช่ไม่มีอยู่ เพราะปุถุชนชอบปรุงแต่งจิต จึงอ้างว่าจิตมีอยู่ และพระอรหันต์ปฏิเสธการปรุงแต่งจิต จึงอ้างว่าจิตนี้ไม่มีอะไร ( ว่าง )

แต่พระโพธิสัตว์และพระพุทธเจ้า ทั้งไม่ปรุงแต่งและไม่ปฏิเสธการปรุงแต่งจิต สภาวะเช่นนี้ จึงหมายถึงจิตที่ไม่ใช่มีอยู่หรือไม่ใช่ไม่มีอยู่ สภาวะเช่นนี้ จึงถูกเรียกว่า “ มัชฌิมาปฏิปทา (ทางสายกลาง )
9*

ถ้าท่านใช้จิตของท่านศึกษาสัจจะ ถ้าท่านศึกษาสัจจะโดยไม่ใช้จิต ท่านจะเข้าใจทั้งสัจจะและจิต คนที่ยังไม่มีปัญญาญาณ ก็ยังไม่เข้าใจสัมมาทิฏฐิ คนที่เกิดปัญญาญาณแล้วเท่านั้น จึงจะเข้าใจสัมมาทิฏฐิ คนที่รู้จักจิตนี้เป็นความว่าง คือคนที่เกิดปัญญาญาณแล้ว คนเหล่านั้นย่อมอยู่เหนือทั้งปัญญาญาณและการขาดปัญญาญาณ นั่นคือ สัมมาทิฏฐิ

เมื่อท่านเห็นด้วยปัญญาที่เป็นสัมมาทิฏฐิ รูปก็ไม่ใช่รูปธรรมดา เพราะรูปต้องอาศัยจิต จิตก็ไม่ใช่จิตธรรมดา เพราะจิตก็ต้องอาศัยรูป ทั้งจิตและรูปเป็นตัวสร้างและทำลายซึ่งกันและกัน สิ่งที่มีอยู่อาศัยสิ่งที่ไม่มีเกิดขึ้น และสิ่งที่ไม่มีก็อาศัยสิ่งที่มีอยู่เกิดขึ้น นี้คือสัมมาทิฏฐิที่ถูกต้องอาศัยสัจจทัศน์นี้ จึงไม่มีสิ่งใดที่ถูกเห็น และไม่มีสิ่งใดที่ไม่ถูกเห็นด้วย

ทัศนะเช่นนี้ย่อมแจ่มแจ้งไปทั่วทั้งสิบทิศโดยไม่ต้องดู เพราะไม่มีที่ถูกเห็นและไม่มีการเห็นที่ถูกเห็น เพราะการเห็นไม่ใช่การดู สิ่งที่ปุถุชนเห็นคือ โมหะ ( ภาพลวงตา ) เพราะการเห็นนั้นไม่ประกอบด้วยสัมมาญาณทัศนะ

จิตและโลกมักจะตรงกันข้ามกันเสมอ การรู้เห็นเกิดจากการพบเห็น เมื่อจิตไม่เพ่งกลับมาดูด้านใน โลกภายนอกก็ไม่เกิดขึ้น เมื่อโลกและจิตทั้งสองอย่างปรากฏ แจ่มแจ้งเสมอกัน การเห็นแบบนี้เป็นสัมมาญาณ และความเห็นความเข้าใจเช่นนั้นเป็นสัมมาทิฏฐิที่แท้จริง

การไม่เห็นสิ่งใด คือการเข้าใจมรรค และการไม่เข้าใจสิ่งใด คือการเข้าใจธรรมะ เพราะการเห็นที่แท้ไม่ใช่การเห็นหรือการไม่เห็น และการเข้าใจที่แท้จริง ไม่ใช่ทั้งการเข้าใจและไม่เข้าใจ การเห็นที่ไม่ต้องดู คือสัมมาทิฏฐิ

การเข้าใจโดยไม่ต้องเข้าใจคือสัมมาสังกัปปะ* ( * ทั้งหมดเป็นภาษาใจ ถ้าเราไม่รู้ภาษาใจเราก็อาจงง แต่ถ้าเรารู้ภาษาใจ ทุกอย่างจะเข้าใจไม่ยาก เช่น เราเกิดทุกขเวทนาในกายของเรา เราย่อมเห็นของเราว่าเจ็บตรงไหน คนอื่นจะมาเห็นด้วยไม่ได้ถ้าไม่บอก ดังนั้น การเห็นที่แท้จริงในความตอนนี้ คือการเห็นด้วยใจ ไม่ใช่เห็นด้วยตาหรือความจำ … ผู้แปลไทย)

สัมมาทัศนะ ไม่ใช่เพียงเห็นการเห็นเท่านั้น แต่มันเป็นการเห็นที่ไม่ต้องดูด้วย และสัมมาทิฏฐิที่ถูกต้อง มิใช่เห็นด้วยสติปัญญาเท่านั้น แต่เป็นความเข้าใจในความไม่เข้าใจด้วย ถ้าท่านไม่เข้าใจเรื่องใด เรื่องที่ยังไม่เข้าใจก็ยังมีอยู่ด้วย แต่เมื่อท่านได้เข้าใจ ความไม่มีอะไร ( ความว่าง ) นั้นเป็นความเข้าใจที่ถูกต้อง ( สัมมาทิฏฐิ ) สัมมาทัศนะจึงมิใช่ทั้งความเข้าใจและความไม่เข้าใจ

พระสูตรกล่าวว่า “การไม่ปล่อยวางด้วยปัญญาก็คือความโง่เขลา”


เชิงอรรถบทที่ 3 หมายเลข 7* - 9*
7* หมายถึง โพธิมณฑล เขตต้นโพธิ อันเป็นศูนย์กลางของทุกโลก เป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายเข้าถึงสัมมาสัมโพธิญาณ คำนี้เป็นคำที่นำมาใช้เรียก พุทธาวาสด้วย
8* สถานที่ที่เหมาะแก่การเจริญภาวนาทางจิต
9* เป็นทางที่ปราศจากลัทธิสัจจนิยม และลัทธิทำลายนิยม , ทั้งความมีและไม่มี ( ภพ + ทวิภพ )


บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 5.0 Firefox 5.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 05 สิงหาคม 2554 18:04:07 »



http://i184.photobucket.com/albums/x170/kusol/27193lx0seq37yy-1.gif
บทที่ 3 เสียงปลุก ภัทเทกรัตตสูตร : WAKE-UP SERMON

เมื่อท่านเข้าใจ ความจริงก็อาศัยท่าน ,เมื่อท่านไม่เข้าใจ ท่านก็อาศัยความจริง , เมื่อความจริงอาศัยท่าน สิ่งที่ไม่จริงก็กลายเป็นความจริง , เมื่อท่านอาศัยความจริง สิ่งที่เป็นจริงก็กลายเป็นเท็จ , เมื่อท่านอาศัยความจริงทุกสิ่งก็เท็จ , เมื่อความจริงอาศัยท่าน ทุกสิ่งก็จริง* ( * ข้อสังเกต ความตรงนี้คล้ายเป็นเหตุผลทางตรรกะ ซึ่งถ้าไม่ได้อ่านอย่างพินิจพิจารณาก็อาจงงและไม่เข้าใจ ความตรงนี้เราอาจเข้าใจอย่างนี้ว่า เมื่อเราปฏิบัติตามจนเข้าใจธรรมะแล้ว เราก็พึ่งปรมัตถ์สัจจะ แต่เมื่อเรายังไม่เข้าถึงธรรม เราก็พึ่งสมมติไปก่อน ตราบใดที่เรายังพึ่งสมมติอยู่ จิตของเราจะคิดอะไรก็ยังเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ได้อยู่ ไม่ว่าคิดถูกหรือคิดผิด แต่เมื่อเราปฏิบัติจนเข้าถึงปรมัตถ์แล้ว สิ่งที่คิด ไม่ว่าจะผิดหรือถูกก็จะไม่เป็นเหตุให้เกิดทุกข์อีกต่อไป เพราะเรารู้วิธีแก้ไขให้เป็นสัมมาทิฏฐิได้ หรือท่านผู้ใดจะเห็นต่างไปจากนี้ก็ไม่เป็นไร …. ผู้แปลไทย )

ดังนั้น นักปราชญ์จึงไม่ใช้จิตของท่านค้นหาสัจจธรรม หรือใช้สัจจธรรมค้นหาความจริงของท่าน หรือใช้จิตค้นหาจิต หรือใช้ความจริงค้นหาความจริง เพราะจิตของท่านไม่ได้ทำให้เกิดความจริง และความจริงก็ไม่ได้ทำให้เกิดจิตขึ้น และเพราะทั้งจิตและความจริงของท่านเป็นภาวะที่นิ่งเงียบ ดังนั้น ท่านจึงเจริญสมาธิอยู่เสมอ 11*

เมื่อโมหะเกิดขึ้น พุทธจิตก็ดับ เมื่อโมหะดับ พุทธจิตก็เกิด เมื่อจิตเกิด ความจริงก็ดับ เมื่อจิตดับ ความจริงก็เกิด

ใครก็ตาม เมื่อรู้ว่าไม่มีอะไรอาศัยกัน เขาย่อมได้มรรค และใครก็ตามเมื่อรู้ว่าจิตขึ้นอยู่กับความไม่มีอะไร ( อนัตตา ) เขาย่อมได้พบเส้นทางแห่งการตรัสรู้อยู่เสมอ

เมื่อท่านไม่เข้าใจ ท่านก็ผิด เมื่อท่านเข้าใจ ท่านก็ไม่ผิด นี้เป็นเพราะธรรมชาติของความผิดเป็นความว่าง เมื่อท่านไม่เข้าใจ ถูกก็เหมือนผิด เมื่อท่านเข้าใจ ความผิดก็ไม่ผิด เพราะความผิดไม่มีอยู่จริง (เป็นสิ่งสมมติ ) พระสูตรกล่าวว่า “ไม่มีธรรมชาติอันใด ที่เป็นตัวของมันเอง (ทุกสิ่งเป็นอนัตตา)”

จงทำแต่อย่าถาม เมื่อท่านถามท่านก็ผิด เพราะความผิดเป็นผล ของการถาม เมื่อท่านเข้าใจถึงความจริงเช่นนั้น การทำผิด ( กรรมชั่ว ) ในอดีตของท่านก็ถูกลบทิ้งไป

เมื่อท่านถูกอวิชชาครอบงำ ( ยังโง่อยู่ ) อายตนะทั้ง 6 และขันธ์ทั้ง 5 ของท่าน ย่อมสร้างความทุกข์และความตายให้แก่ท่าน เมื่อท่านรู้สึกตัวทั่วพร้อม อายตนะทั้ง 6 และขันธ์ทั้ง 5 12* ของท่าน ก็สร้างนิพพานและอมฤตธรรมให้แก่ท่าน

คนแสวงหามรรคที่ไม่มองข้ามตนเอง ย่อมรู้ว่าจิตคือมรรค แต่เมื่อเขาพบจิต เขากลับไม่พบอะไร และเมื่อเขาพบมรรค เขาก็ไม่พบอะไรเช่นเดียวกัน

ถ้าท่านคิดว่าท่านใช้จิตค้นหามรรคได้ ท่านก็หลงทาง เมื่อท่านหลงทาง พุทธภาวะก็ยังมีอยู่ เมื่อท่านรู้สึกตัวความหลงก็หายไป ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่า ความรู้สึกตัวคือพุทธภาวะ

ถ้าท่านค้นหามรรค มรรคก็จะไม่ปรากฏ จนกว่าร่างกายของท่านจะแตกดับไป มันเหมือนกับการปลอกเปลือกไม้จากต้นไม้ กายอันเกิดแต่กรรมนี้ ย่อมประสบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เป็นนิตย์ มันกำหนดจดจำความจริง อะไรไม่ได้ จงปฏิบัติตามอุดมคติของท่าน โปรดอย่ารังเกียจชีวิตและความตาย หรืออย่าหลงรักชีวิตและความตาย

จงปลดเปลื้องความคิดทุกความคิดของท่านออกจากความหลง ท่านจะฉลาดในการเริ่มต้นเพื่อไปสู่นิพพานในชีวิตนั้น13* และในเวลาตายท่านจะได้หลักประกันชีวิต14* คือการไม่ต้องเกิดอีก

การเห็นรูป แต่จิตไม่เศร้าหมองเพราะรูป การได้ยินเสียง จิตไม่เศร้าหมองเพราะเสียง ชื่อว่าจิตหลุดพ้น ตาที่ไม่ยึดมั่นถือมั่นในรูป ชื่อว่าเป็นประตูแห่งเซ็น หูที่ไม่ยึดมั่นถือมั่นในเสียง ก็เป็นประตูแห่งเซ็นด้วย

กล่าวโดยสรุป บุคคลที่ยอมรับชีวิตและธรรมชาติตามปรากฏการณ์นั้น นั่นชื่อว่าจิตหลุดพ้น บุคคลที่ได้รับเอาปรากฏการณ์ภายนอกเข้ามา* ( * โดยจิตไม่เกิดความยึดมั่นถือมั่น และจิตไม่เศร้าหมอง … ผู้แปลไทย ) ชื่อว่าเป็นความเมตตาของผู้นั้น การไม่ทรมานตนให้ได้รับความทุกข์ยากลำบาก ชื่อว่าเป็นปัจจัยแห่งการหลุดพ้น ไม่มีการหลุดพ้นในที่อื่นนอกจากจิตนี้ * (* หลุดพ้นจากความยึดมั่นถือมั่นของอุปาทาน…. ผู้แปลไทย )

เมื่อท่านรู้จักวิธีเฝ้าดูรูป รูปก็ไม่ขึ้นต่อจิตและจิตก็ไม่ขึ้นต่อรูป ( ไม่มีอุปาทาน ) ทั้งรูปและจิตต่างก็บริสุทธิ์

เมื่อโมหะไม่มี จิตก็เป็นแดนแห่งพุทธะ เมื่อโมหะมี จิตก็เป็นแดนนรก (อบายภูมิ) อวิชชาสร้างความหลง และใช้จิตสร้างภพชาติให้แก่จิต ปุถุชนจึงพบตนเองเกิดอยู่ในแดนอบายภูมิเสมอ พระโพธิสัตว์มองทะลุความหลง ( โมหะ ) และไม่สร้างภพชาติให้ปรุงแต่งจิต ท่านจึงพบตนเองอยู่ในแดนพุทธะเสมอ


เชิงอรรถบทที่ 3 หมายเลข 10* - 14*
10* อริยมรรคมีองค์ 8 ของพระพุทธเจ้า เริ่มต้นด้วย สัมมาทิฏฐิ ซึ่งมีเจตนา คือความตั้งใจที่จะขจัดโมหะ หรืออวิชชาให้หมดสิ้น เพราะอวิชชาเป็นตัวเริ่มต้นของพันธนาการแห่งปฏิจจสมุปบาท 12 ประการ อันเป็นลูกโซ่แห่งกรรม คือ อวิชชา , สังขาร, วิญญาณ , นามรูป , อายตนะ , ผัสสะ , เวทนา , ตัณหา , อุปาทาน , ภพ , ชาติ , ชรามรณะ สองตัวแรกเป็นจุดเริ่มต้นและตัวหลัง ๆ ก็จะดำเนินไป

11* เป็นเป้าหมายของกรรมฐาน สมาธิเป็นภาษาสันสกฤต หมายถึง จิตที่ไม่ฟุ้งซ่านหวั่นไหว เปรียบเหมือนงูที่อยู่ในปล้องไม้ไผ่
12* ได้แก่ขันธ์หรือกลุ่มกอง เป็นส่วนประกอบของ อัตตาตัวตนซึ่งปิดบังธรรมชาติที่แท้จริงเอาไว้ ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณนั่นเอง
13* พระนิพพานจักไม่สิ้นสุดลง จนกว่าว่าร่างกายนี้จะถูกทิ้งไว้ เบื้อง หลัง (ตาย) ก่อน
14* ลักษณะของพระนิพพาน


(ยังมีต่อค่ะ)

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 6.0 Firefox 6.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 23 สิงหาคม 2554 15:43:50 »



http://i883.photobucket.com/albums/ac40/42tong/thita/1281503842.png
บทที่ 3 เสียงปลุก ภัทเทกรัตตสูตร : WAKE-UP SERMON

ถ้าท่านไม่ใช้จิตปรุงแต่งจิต จิตทุกสภาพเป็นของว่าง และความคิดทุกความคิดก็หยุดนิ่ง ท่านย่อมออกจากแดนพุทธะองค์หนึ่งไปสู่อีกองค์หนึ่ง15* ถ้าท่านใช้จิตปรุงแต่งจิต จิตทุกสภาวะจะถูกรบกวน (ให้หวั่นไหว) ความคิดทุกความคิดจะตกอยู่ในความเคลื่อนไหว ทำให้ท่านออกจากนรกขุมหนึ่งไปสู่อีกขุมหนึ่ง

เมื่อความคิด (ปรุงแต่ง) เกิดขึ้น ก็เกิดกรรมดี กรรมชั่ว เกิดสวรรค์ เกิดนรก เมื่อความคิด (ปรุงแต่ง) ไม่เกิด ก็ไม่มีกรรมดี กรรมชั่ว ไม่มีสวรรค์ – นรก

กายไม่ใช่สิ่งมีอยู่หรือไม่มีอยู่ ดังนั้น อัตตาเป็นชื่อของปุถุชน อนัตตาเป็นชื่อของบัณฑิต เป็นญาณทัศนะที่ทำให้บัณฑิต ไม่ต้องทำอะไรอีกต่อไป เพราะจิตของท่านเข้าถึงความว่างและปลอดโปร่ง ดุจท้องฟ้านภากาศ

“สิ่งที่ต้องปฏิบัติตาม คือความเป็นผู้ฉลาดในธรรม* อันเป็นการอยู่เหนือความรู้ของพระอรหันต์และปุถุชน” (*โยนิโสมนสิการ… ผู้แปลไทย )

เมื่อจิตถึงนิพพาน ท่านก็ไม่เห็นนิพพาน เพราะจิตคือนิพพาน ถ้าท่านเห็นนิพพานข้างนอกจิต ท่านก็กำลังหลงตัวเอง

ความทุกข์ยากลำบากทุกอย่าง เป็นพืชพันธุ์ของพุทธะ เพราะความทุกข์กระตุ้นเร่งเร้าปุถุชนให้แสวงหาปัญญา แต่ท่านอาจเพียงกล่าวว่า ทุกข์ทำให้พุทธภาวะเกิดขึ้น แต่ไม่อาจกล่าวว่าทุกข์เป็นพุทธภาวะ กายและจิตของท่าน อุปมาเหมือนท้องนา ทุกข์คือเมล็ดพืช ปัญญาคือต้นกล้า พุทธภาวะคือเมล็ดข้าว

อุปมาอีกอย่างหนึ่ง พุทธภาวะในจิตเป็นเสมือนกลิ่นหอมในไม้ พุทธะเกิดจากจิตที่เป็นอิสระจากทุกข์ อุปมาเหมือนกลิ่นหอมที่เกิดจากไม้ ฉันใด ไม่มีพุทธะโดยปราศจากจิต ฉันนั้น

ถ้ามีกลิ่นหอมโดยปราศจากไม้ ก็เป็นกลิ่นหอมที่ประหลาด ถ้ามีพุทธะโดยปราศจากจิต ก็เป็นพุทธะที่ประหลาดเช่นกัน

ถ้ามีอสรพิษทั้ง 3 อยู่ในจิตของท่าน ท่านก็ตกอยู่ในดินแดน แห่งความสกปรก เมื่ออสรพิษทั้งสาม ( ความโลภ โกรธ หลง ) ออกไปจากจิตของท่าน ท่านก็อยู่ในดินแดนแห่งความบริสุทธิ์ สะอาด

พระสูตรกล่าวว่า “ ถ้าท่านอยู่ในดินแดนที่มีแต่ความสกปรก พุทธภาวะก็ไม่ปรากฏ , ความเศร้าหมองและความสกปรก หมายถึง ความหลงและกิเลส อันเป็นอสรพิษร้าย , พุทธะ หมายถึง จิตที่สะอาด สว่าง สงบ

ไม่มีภาษาใดที่ไม่ใช่ธรรมะ ถ้าพูดทั้งวันโดยไม่ได้พูดสิ่งใด ๆ เลย คือ มรรค การนิ่งเงียบทั้งวัน แต่ยังพูดบางอย่าง (ภายใน) ไม่เป็นมรรค ดังนั้น วาจาของพระตถาคตไม่ได้อาศัยความเงียบ ทั้งความเงียบของพระองค์ ก็ไม่ได้อาศัยวาจาหรือวาจาของพระองค์ก็ไม่ได้แยกจากความเงียบ

บุคคลที่เข้าใจทั้งวาจาและความเงียบ คือบุคคลที่อยู่ในสมาธิ ถ้าท่านรู้แล้วพูด คำพูดของท่านก็อิสระ ถ้าท่านไม่รู้แล้วเงียบ ความเงียบของท่านก็เป็นความกังวล ถ้าคำพูดไม่ยึดติดกับปรากฏการณ์ภายนอก คำพูดนั้นก็อิสระ ถ้าความเงียบยังติดอยู่กับปรากฏการณ์ภายนอก ความเงียบนั้นก็สร้างความกังวล

15* เป็นอาณาจักรหนึ่งที่เข้าถึงได้โดยมีส่วนร่วมในองค์พุทธะ เพื่อออกจากความเศร้าหมองสู่ความบริสุทธิ์ ในที่นี้หมายถึงดินแดนบริสุทธิ์ ( วิสุทธิภูมิ ) ให้ดูในภาค 1 ตอนท้ายของวิมลกีรติสูตร

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 6.0 Firefox 6.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 29 สิงหาคม 2554 14:47:39 »



http://i883.photobucket.com/albums/ac40/42tong/thita/1281495029.jpg
บทที่ 3 เสียงปลุก ภัทเทกรัตตสูตร : WAKE-UP SERMON

ภาษาโดยเนื้อแท้ย่อมเป็นอิสระ มันไม่มีอะไรต้องทำด้วยความยึดมั่นถือมั่น (อุปาทาน ) และความยึดมั่นถือมั่นก็ไม่มีอะไรต้องทำด้วยภาษา

ความจริง ( สัจจะ ) ไม่มีสูงไม่มีต่ำ ถ้าท่านพูดมีสูงหรือต่ำ ก็ไม่ใช่ความจริงแท้ แพ16* ไม่ใช่แพจริง ๆ แต่มันจะเป็นแพก็ต่อเมื่อมีผู้โดยสาร คนผู้โดยสารแพนั้นสามารถข้ามน้ำได้ โดยที่ไม่ใช้ของจริง* ( *พาหนะที่ประกอบกันขึ้นด้วยไม้ไผ่หลาย ๆ ลำ แล้วใช้ลอยน้ำได้ …. ผู้แปลไทย )

ตามภาษาสมมติโลก ก็ใช้คำว่าเพศหญิง เพศชาย คนรวย คนจน แต่ในภาษาธรรม ไม่มีคำว่าเพศชาย เพศหญิง ไม่มีคนรวย คนจน

ถ้าเทพธิดา17* เข้าใจธรรมะ หล่อนก็ไม่ต้องเปลี่ยนเพศของหล่อน ( เป็นเทพบุตร ) เมื่อเด็กเลี้ยงม้าเข้าใจธรรมะ เขาก็ไม่ต้องเปลี่ยนฐานะของเขา ธรรมะ ย่อมอยู่เหนือเรื่องเพศและฐานะ

ธรรมะทำให้พวกเขาร่วมอยู่ในปรากฏการณ์บนพื้นฐานอันเดียวกัน เทพธิดาก็แสวงหาอิตถีภาวะของหล่อนถึง 12 ปี ก็ไม่ประสบผลสำเร็จการแสวงหาปุริสภาวะของตนเองถึง 12 ปี ก็ไร้ผลเช่นกัน

เวลา 12 ปี หมายถึง ทวาร 12 18* คือ อายตนะภายใน 6 และอายตนะภายนอก 6 รวมกันเป็น 12 นั่นเอง

ไม่มีจิตก็ไม่มีพุทธะ ปราศจากพุทธะก็ไม่มีจิต ในทำนองเดียวกัน ปราศจากน้ำก็ไม่มีน้ำแข็ง ปราศจากน้ำแข็งก็ไม่มีน้ำ ใครก็ตามพูดถึงการปลดเปลื้องจิต เขาย่อมอยู่ไม่ห่างจากจิต อย่ายึดมั่นถือมั่นในปรากฏการณ์ของจิต ( นามรูป )

พระสูตรกล่าวว่า “ เมื่อท่านได้เห็นปรากฏการณ์ของจิต ท่านก็เห็นพุทธะ ” ความตอนนี้หมายถึง เป็นอิสระจากความคิดปรุงแต่ง

“ ปราศจากจิตก็ไม่มีพุทธะ ” หมายความว่า พุทธะมาจากจิต จิตให้กำเนิดแก่พุทธะ แต่ถึงแม้พุทธะมาจากจิต จิตก็ไม่ได้มาจากพุทธะ

อุปมาเหมือนปลามาจากน้ำ แต่น้ำไม่ได้เกิดจากปลา ใครก็ตามต้องการเห็นปลาก็ต้องดูที่น้ำก่อน เขาจึงจะเห็นปลา ฉันใด ใครก็ตามต้องการดูพุทธะก็ต้องมาดูจิตก่อน จึงจะเห็นพุทธะ เมื่อใดท่านเห็นปลา ท่านก็ลืมดูน้ำ และเมื่อใดท่านเห็นพุทธะ ท่านก็ลืมจิต ถ้าท่านไม่ลืมจิต จิตก็ทำให้ท่านสับสนยุ่งเหยิงเสมือนน้ำจะทำให้ท่านงง ถ้าท่านไม่ลืมมัน (ขณะที่ต้องการดูปลา)

ปุถุชนภาวะและพุทธภาวะ เป็นเสมือนน้ำกับความเย็น การที่ชีวิตได้รับความทุกข์โศกโรคภัยจากอสรพิษทั้งสามเป็นปุถุชนภาวะ การชำระจิตให้หลุดพ้นจากอสรพิษทั้งสามได้19* เป็นพุทธภาวะ ภาวะที่เยือกเย็นในน้ำแข็ง ในฤดูหนาว ก็ละลายอยู่ในน้ำแข็งในฤดูร้อน ขจัดน้ำแข็งออกไป ก็ไม่มีความเย็นเหลืออยู่ต่อไป ฉันนั้น

แน่นอนธรรมชาติของน้ำแข็งก็มาจากน้ำธรรมดา ธรรมชาติของน้ำธรรมดาก็คือน้ำแข็งนั้นเอง ปุถุชนภาวะก็คือพุทธภาวะนั่นเอง

ภาวะทั้งสองอยู่ในธรรมชาติเดียวกัน อุปมาเหมือนหญ้า วูต๋า ( Wu –Tra) และฟูซู 20* (Fu – Su) เกิดรวมอยู่ในรากเดียวกัน แต่ออกคนละฤดูกาล มันเป็นเพราะความหลงในความแตกต่าง จึงทำให้เราต้องใช้คำพูดแยกกันว่า ปุถุชนภาวะและพุทธภาวะ

เมื่องูกลายเป็นมังกร มันก็ไม่ได้เปลี่ยนเกล็ดของมัน เมื่อปุถุชนเปลี่ยนเป็นบัณฑิต เขาก็ไม่ได้เปลี่ยนใบหน้าของเขา เขารู้จักใจของเขาเพราะเห็นแจ้งด้วยปัญญาจักษุ และเอาใจใส่ร่างกายของเขา โดยอาศัยศีลภายนอก ( วินัย )

กิเลสปลดปล่อยพุทธะ และพุทธะก็ปลดปล่อยกิเลส นี้เป็นพุทธะที่หมายถึงสมภาพ (ความยุติธรรม) กิเลสปลดปล่อยพุทธะ เพราะความทุกข์ยากลำบาก ทำให้เกิดความรู้สึกสำนึกตัว และพุทธะปลดปล่อยกิเลส เพราะความรู้สึกสำนึกช่วยแก้ไข และขจัดความทุกข์ยากลำบากออกไป

เป็นเรื่องที่ช่วยไม่ได้ที่ต้องทนทุกข์ยากลำบาก และช่วยไม่ได้ที่ต้องทำให้เกิดความรู้สึกสำนึก ถ้าไม่มีความทุกข์ก็ไม่มีสิ่งช่วยให้เกิดความสำนึกและถ้าไม่รู้สึกสำนึก ก็ไม่มีอะไรที่จะแก้ไขลบล้างความทุกข์เช่นกัน

เมื่อท่านถูกความหลงครอบงำ ก็หมายถึงพุทธะปลดปล่อยกิเลส เมื่อท่านรู้สึกสำนึกตัว ก็หมายถึงกิเลสปลดปล่อยพุทธะ พุทธะก็ไม่ได้เป็นพุทธะด้วยตนเอง แต่พุทธะต้องได้รับการปลดปล่อยจากกิเลส

พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ถือว่าโมหะเป็นเสมือนบิดาของท่าน โลภะเป็นเสมือนมารดาของท่าน ความหลงและความโลภต่างก็เป็นชื่อของกิเลส โมหะและกิเลสเสมือนแขนซ้ายและแขนขวา ไม่มีอะไรแตกต่างกัน

เมื่อท่านถูกกิเลสครอบงำให้หลง ท่านก็อยู่ฝั่งนี้ เมื่อท่านรู้สึกตัวก็อยู่ฝั่งโน้น แต่เมื่อใดท่านรู้จักใจของท่านว่าเป็นความว่าง และไม่ยึดติดกับปรากฏการณ์ภายนอก ท่านก็อยู่เหนือความหลงและความรู้ เมื่อท่านอยู่เหนือความหลงและความรู้ ฝั่งโน้นก็ไม่มี

เชิงอรรถบทที่ 3 หมายเลข 16* - 20*
16* พระพุทธเจ้าทรงเปรียบคำสอนของพระองค์ว่า เหมือนแพที่ใช้ข้ามฟากของการเวียนตายเวียนเกิด อันไม่มีที่สิ้นสุด ( โอฆะสงสาร ) แต่เมื่อใช้มันจนบรรลุตามจุดประสงค์แล้ว แพก็ไม่มีประโยชน์ต่อเรา มันก็เป็นแพอยู่อย่างนั้นต่อไป

17* เป็นเทพธิดาที่กล่าวถึงในภาค 7 ของวิมลกีรติสูตร และชายเลี้ยงม้าอาจหมายถึง คนเลี้ยงม้าของพระศากยมุนีก็เป็นได้ เรื่องนี้ไม่ปรากฏชัดเจน
18* ได้แก่อายตนะทั้ง 6 และวิญญาณทั้ง 6 นั่นเอง
19* คือหลุดพ้นจากโมหะ โทสะและโลภะที่นอนเนื่องอยู่ในทวารทั้ง 3 คือ กาย วาจา ใจ เป็นทางไปสู่ความหลุดพ้น กล่าวคือความสิ้นอัตตา ( อนัตตา ) ความไม่มีรูป ( วิมุตติ ) ไม่มีตัณหา ( นิพพาน )
20* เป็นยาชนิดหนึ่ง ที่ถูกสกัดมาจากหญ้าฟูซู เป็นรากที่สองที่งอกออกมา จากรากเดิมคือ วูเต๋า ( Aconitum หรือ ภิกขุภาวะ) รากที่สองนั้นจะไม่งอก จนกว่าหญ้าชนิดดังกล่าวจะมีอายุ 2 ปี


บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 6.0 Firefox 6.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: 29 สิงหาคม 2554 15:29:52 »




พระตถาคตไม่ได้อยู่ฝั่งนี้หรือฝั่งโน้น และท่านก็ไม่ได้อยู่กลางกระแส แต่พระอรหันต์อยู่กลางกระแส ปุถุชนอยู่ฝั่งนี้ พุทธภาวะก็อยู่ฝั่งโน้น

พระพุทธเจ้าทั้งหลายมี 3 กาย21* คือนิรมานกาย; กายจำแลง, สัมโภคกาย; รูปกาย, และธรรมกาย; รูปจริง* (*ตามคติของเถรวาท กายทั้ง 3 ของพระพุทธเจ้า คืออนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา… ผู้แปลไทย )

นิรมานกาย เรียกว่า รูปอวตารก็ได้ รูปนี้แสดงตัวเมื่อกิเลส พาให้ทำดี สัมโภคกาย แสดงตัวเมื่อบุคคลเข้ารับการฝึกฝนอบรมปัญญา และธรรมกาย แสดงตัวเมื่อเขารู้สึกตัวทั่วพร้อม อยู่ในสภาวะปรมัตถ์

สัมโภคกาย เป็นอีกกายหนึ่งที่ท่านเห็นจาริกไปทุกหนทุกแห่ง เพื่อช่วยเหลือผู้อื่นที่สามารถจะช่วยได้ และธรรมกาย ทำให้หายสงสัย ( ในเรื่องราวของชีวิต )

พระมหาสัมมาสัมโพธิญาณ22* อุบัติขึ้นที่เชิงเขาหิมาลัยทันทีที่พบความจริง ธรรมกายไม่ได้ทำหรือพูดสิ่งใด เป็นภาวะที่สงบนิ่ง อยู่อย่างครบถ้วน แต่ที่จริงไม่ใช่พุทธะเพียงองค์เดียว อย่างน้อยก็มีถึง 3 องค์ แต่ที่พูดว่ามี 3 กายนี้ ก็เป็นธรรมดาที่ต้องให้มนุษย์เข้าใจ ซึ่งมีทั้งขั้นต้น ขั้นกลางและขั้นสูง* ( * ในชีวิตจิตใจของเรา มีสภาวะธรรมที่สำคัญอยู่ 3 ประการ คืออนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา... ผู้แปลไทย)

คนที่มีความเข้าใจตื้น ๆ (ขั้นต้น ) คิดว่าพวกเขากำลังสั่งสมความสุข แต่เป็นการเข้าใจผิดต่อนิรมานกายของพุทธะ ( เข้าใจผิดต่อกฎอนิจจัง )
คนที่เข้าใจระดับปานกลาง ( ขั้นกลาง ) คิดว่าเขากำลังทำที่สุดแห่งทุกข์ แต่เป็นความเข้าใจผิดต่อสัมโภคกายของ พระพุทธะ ( เข้าใจผิดต่อกฎทุกขัง )
คนที่เข้าใจลึกซึ้ง ( ขั้นสูง ) คิดว่าเขากำลังประสบกับพุทธภาวะ แต่เข้าใจผิดต่อธรรมกายของพุทธะ ( เข้าใจผิดต่อกฎอนัตตา )

ส่วนคนที่เข้าใจลึกซึ้งที่สุด เฝ้าดูภายในใจตลอดเวลา จึงไม่มีอะไร ที่ทำให้ไขว้เขวหรือสับสน เมื่อจิตสะอาดก็เป็นพุทธะ เขาเข้าถึงญาณทัศนะของพุทธะโดยไม่ใช้จิต กายทั้งสาม ก็เหมือนกับสิ่งอื่นโดยทั่วไป ( ทุกสิ่งย่อมเป็นไปตามกฎของไตรลักษณ์ ) เป็นสภาวะที่เข้าถึงและอธิบายไม่ได้ จิตที่ไม่มีนิวรณ์คอยขัดขวางย่อมเข้าถึงมรรค พระสูตรกล่าวว่า “ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ไม่ได้แสดงธรรม ไม่ได้ปล่อยกิเลส และไม่ได้ประสบพุทธภาวะ ” ฉันหมายถึงสิ่งนี้

แต่ละคนย่อมสร้างกรรม แต่กรรมไม่ได้สร้างคน พวกเขาสร้างกรรมในชีวิตนี้ และรับผลของกรรมในชีวิตต่อไป พวกเขาไม่เคยพ้นกรรม เป็นเพียงบางคนที่เจริญมรรคสมบูรณ์แล้ว ย่อมไม่สร้างกรรมในชีวิตนี้และไม่ต้องรับผลกรรม

พระสูตรกล่าวว่า “ ใครไม่สร้างกรรม ก็เข้าถึงธรรม ” นี้ไม่ใช่พูดด้วยความว่าง ท่านอาจสร้างกรรมได้ แต่ไม่ต้องสร้างตัวเองในการกระทำนั้น เพราะเมื่อท่านสร้างกรรม ( ด้วยอัตตา ) ท่านก็ต้องเกิดใหม่ตามผลกรรมของท่าน

ดังนั้น เพราะกรรมอาศัยคนเกิด คนก็ต้องพึ่งกรรม ถ้าคนไม่สร้างกรรม กรรมก็ไม่ติดตามคน ในทำนองเดียวกัน บุคคลสามารถขยายมรรคให้กว้างได้ แต่มรรคไม่สามารถขยายคนได้ ( คนขยายธรรม แต่ธรรมขยายคนไม่ได้ 23* )

ปุถุชนชอบสร้างกรรม และยืนยันอย่างผิด ๆ ว่า “ กรรมที่ทำไม่มีผลตอบสนอง แต่พวกเขาจะปฏิเสธทุกข์ได้หรือไม่ ? ” เขาสามารถปฏิเสธได้หรือไม่ว่า สภาวะจิตปัจจุบันได้สั่งสมบ่มเพาะกรรมอะไรไว้ สภาวะจิตข้างหน้า ย่อมเก็บเกี่ยวผลของกรรมนั้นต่อไป พวกเขาจะหลบหลีกผลกรรมนั้นได้อย่างไร ?

แต่ถ้าสภาวะจิตปัจจุบันไม่ได้สั่งสมกรรมอันใดไว้ สภาวะจิตต่อไปก็ไม่มีกรรมอะไรที่ต้องตอบสนอง อย่าเข้าใจผิดเรื่องกรรม* (*พระบาลีว่า กมฺมุนาวฏฺฏตีโลโก = สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม หรือตามกฎแห่งกรรม … ผู้แปลไทย)

พระสูตรกล่าวว่า “ แม้จะมีความเชื่อเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า บางคนคิดว่า พระพุทธเจ้าเท่านั้นที่ปฏิบัติเคร่งครัด (บำเพ็ญทุกรกิริยา ) ไม่ใช่ชาวพุทธที่จะต้องปฏิบัติเช่นนั้น ในความคิดทำนองเดียวกันนี้ บางคนคิดว่า พระพุทธเจ้าเป็นผู้บันดาลให้เกิดโชคลาภ หรือความยากจนก็ได้ พวกนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ ไม่อาจเชื่อถือได้ ”

คนที่เข้าใจคำสอนของบัณฑิตก็เป็นบัณฑิต คนที่เข้าใจคำสอนของปุถุชนก็เป็นปุถุชน ปุถุชนที่สามารถเลิกละคำสอนของปุถุชนได้ แล้วปฏิบัติตามคำสอนของบัณฑิต เขาก็เป็นบัณฑิตได้ แต่คนโง่ในโลกนี้ย่อมมองหาบัณฑิตนอกตัวเอง พวกเขาไม่เชื่อว่าปัญญาที่มีอยู่ในใจของตนเองนั้นก็เป็นบัณฑิตได้

พระสูตรกล่าวว่า “ อย่าสอนพระสูตรนี้แก่คนที่ไม่เข้าใจ ” และพระสูตรยังกล่าวอีกว่า “ ใจคือคำสอน ” แต่คนที่ไม่เข้าใจคำสอน ย่อมไม่เชื่อใจของตนเอง เมื่อเขาเข้าใจคำสอนนี้ได้ เขาก็เป็นบัณฑิตได้

คนพาลชอบมองหาความรู้ไกลตัวเอง และไกลออกไปในทุกสิ่งที่มีอยู่ในอากาศ เช่น พระพุทธรูป ธูปเทียน และแสงสี นิมิต เป็นต้น พวกเขาสยบอยู่กับการสวดมนต์อย่างหลงใหล และยอมเสียปกติจิตของตนเอง ไปกับสิ่งที่เหลวไหลไร้สาระ

พระสูตรกล่าวว่า “เมื่อท่านเห็นว่าปรากฏการณ์ทั้งปวง ไม่เป็นปรากฏการณ์ ท่านย่อมเห็นตถาคต*” (* ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา, ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นเห็นตถาคต (จากพระบาลี) …. ผู้แปลไทย)

ประตูที่นำไปสู่สัจจะมีเป็นหมื่นเป็นแสน ล้วนออกมาจากจิต เมื่อปรากฏการณ์ของจิตโล่งโปร่งเหมือนอวกาศ ปรากฏการณ์เหล่านั้นก็เลือนหายไป

ความทุกข์อันไม่มีที่สิ้นสุดของพวกเรา เป็นสาเหตุของความเจ็บป่วย เมื่อปุถุชนมีชีวิตอยู่ พวกเขากังวลถึงความตาย เมื่อพวกเขามีชีวิต ที่สุขสมบูรณ์ พวกเขาก็กังวลถึงความหิว* (* เมื่อมีชีวิตก็กลัวตาย เมื่อสบายก็กลัวความหิว ชีวิตของปุถุชนจึงหาความสุขที่แท้จริงไม่ได้ ... ผู้แปลไทย )

ชีวิตของปุถุชนจึงคือความไม่แน่นอนอันใหญ่หลวง (มหานิจจัง) แต่บัณฑิต ( อริยชน) ไม่กังวลถึงอดีต ไม่คิดถึงอนาคต ไม่ยืดหดกับปัจจุบัน (ไม่ยึดติดกับปัจจุบัน)
ทุกขณะจิตบัณฑิตย่อมปฏิบัติตามธรรม (มรรค)

ถ้าท่านยังไม่ตื่นตัวกับบรมสัจจะอันนี้ ท่านควรรีบเสาะแสวงหาครูในโลกนี้ หรือในโลกสวรรค์เสียโดยเร็ว อย่าหมกมุ่นอยู่กับการขาดสติของตนเองอีกต่อไปเลย

จบบทที่ 3

http://i18.photobucket.com/albums/b121/nature-delight/PICS%20FOR%20FRIENDS/ARTS%20AND%20PAINTING/080-jardinflo.gif
บทที่ 3 เสียงปลุก ภัทเทกรัตตสูตร : WAKE-UP SERMON

เชิงอรรถบทที่ 3 หมายเลข 21* - 23*
21* ได้แก่ นิรมานกาย (พระศากยมุนี) สัมโภคกาย ( พระอามิตาภะ ) และธรรมกาย ( พระไวยฺโรจนะ )
22* การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ไม่ได้เกิดขึ้นในหิมาลัย แต่เกิดขึ้นที่มคธรัฐ ในอินเดียโบราณ , อยู่ตอนใต้ประเทศเนปาล อย่างไรก็ตามในอดีตชาติ พระพุทธเจ้าเคยอาศัยอยู่ในป่าหิมาลัย ในคราวที่บำเพ็ญตนเป็นฤาษี ในที่นี้อาศัยความสัมพันธ์กับความเป็นอยู่ในอดีตนั้นจึงถือว่าคำกล่าวนี้เป็นจริง
23* นี้เป็นคำกล่าวของ ศาสนาขงจื้อ (จากคำสอนโดยสังเขปของขงจื้อ,ภาคที่ 15)




นำมาแบ่งปันโดย คุณ มดเอ๊กซ์
Credit by : http://www.yimwhan.com/board/show.php?user=modx&topic=47&Cate=8
Pics by : Google
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมาย..

บันทึกการเข้า
คำค้น: คำสอนเซ็น ตั๊กม้อ THE ZEN TEACHING OF BODHIDHARMA พุทธยานันทภิกขุ 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.518 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 23 มกราคม 2567 05:34:16