[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
25 เมษายน 2567 11:35:59 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ศิลปะวัฒนธรรมของชาวยองแห่งป่าซาง นครลำพูน  (อ่าน 525 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ฉงน ฉงาย
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 9
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 453


ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 89.0.4389.114 Chrome 89.0.4389.114


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 06 เมษายน 2564 14:31:36 »



ศิลปะวัฒนธรรมของชาวยองแห่งป่าซาง นครลำพูน

http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/18750641660557_165943681_724144124932512_3457_tn.jpg
ศิลปะวัฒนธรรมของชาวยองแห่งป่าซาง นครลำพูน


          ยอง หรือ ไทยอง เป็นชื่อที่ใช้เรียกกลุ่มคนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่เมืองยองและกระจายอยู่ทั่วไปในแถบเมืองต่างๆในรัฐฉานด้านตะวันออกของพม่า เมื่อ พ.ศ.2348 กลุ่มชาวยองได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเมืองลำพูน ด้วยสาเหตุของสงครามการรวบรวมกำลังคน ต่อมาได้กระจายอยู่ในเมืองต่างๆของล้านนาเมืองยอง เป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์ตำนานมายาวนาน เริ่มขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 18 โดยเริ่มจากการตั้งถิ่นฐานของกลุ่มคนพื้นเมือง ได้แก่พวกลัวะ ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ 19 มีกลุ่มคนไทจากเมืองเชียงรุ้งนำโดยเจ้าสุนันทะ โอรสของเจ้าเมืองเชียงรุ้งได้พาบริวารเข้ามามีอำนาจปกครองเมืองยองเหนือคนพื้นเมือง ได้ผสมผสานระบบความเชื่อและพิธีกรรมที่มีอยู่เดิมกับพุทธศาสนาที่เข้ามาภายหลัง นอกจากนั้นยังได้สร้างความสัมพันธ์กับคนพื้นเมือง

           จากความสัมพันธ์ดังกล่าว คนเมืองยองจึงสืบเชื้อสายมาจากผู้คนที่อพยพมาจากเมืองเชียงรุ้งและเมืองอื่นในสิบสองปันนา ซึ่งเป็นชนชาวไทลื้อ และเมื่ออพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเมืองลำพูน คนทั่วไปจึงเรียกว่า “คนเมืองยอง” เช่นเดียวกันคนเมืองเชียงใหม่ คนเมืองลำปาง คนเมืองเชียงตุง เป็นต้น กระทั่งเรียกให้สั้นเหลือเพียง “คนยอง”

           การตั้งถิ่นฐานของชาวยองในลำพูน ในระหว่างปี พ.ศ.2325 – 2347 ก่อนการตั้งเมืองลำพูน พระเจ้ากาวิละยังไม่ได้แต่งตั้งให้ผู้ใดเป็นเจ้าเมืองลำพูน ด้านการปกครองยังมีสภาพเป็นส่วนหนึ่งของเมืองเชียงใหม่ จนถึงปี พ.ศ.2348 พระเจ้ากาวิละได้ฟื้นฟูเมืองลำพูนขึ้นอัน เป็นนโยบายในการเตรียมกำลังคนเพื่อสนับสนุนเชียงใหม่ในยามศึกสงคราม นอกจากนี้กำลังคนในเมืองลำพูนก็ลดลงไปในครั้งที่พระเจ้ากาวิละพาไปตั้งที่เชียงใหม่ ล่วงเข้าสู่วันขึ้น 5 ค่ำเดือน 7 พระเจ้ากาวิละได้มอบหมายให้เจ้าคำฝั้นและบริวารจากเมือง 500 คน พร้อมด้วยเจ้าบุญมา น้องคนสุดท้องและบริวารจากเมืองลำปาง 500 คน มีเจ้าเมืองยองพร้อมด้วยบุตรภรรยา น้องทั้ง 4 ญาติพี่น้อง ขุนนาง พระสงฆ์และไพร่พลจากเมืองยอง จำนวน 20,000 คนเข้ามาแผ้วถางเมืองลำพูนที่ร้างอยู่ จนถึงวันขึ้น 8 ค่ำ จึงให้เข้ามาตั้งเมืองลำพูนได้ ในวันตั้งเมืองลำพูนมีพิธีทางศาสนาพระสงฆ์ 198 รูปสวดมงคลพระปริตในที่ไชยะมงคล 9 แห่งในเมืองลำพูน เจ้าเมืองยอง บุตรภรรยา พร้อมด้วยญาติพี่น้องและขุนนาง พระสงฆ์ระดับสูง ได้เข้ามาตั้งบ้านเรือนอาศัยอยู่ทางทิศตะวันออกของน้ำแม่กวง ส่วนไพร่พลอื่นๆได้แยกย้ายกันไปตั้งบ้านเรือนตามลุ่มน้ำแม่ทา น้ำแม่ปิง

           อย่างไรก็ตามการตั้งถิ่นฐานของชาวยองจะเป็นการตั้งถิ่นฐานและขยายตัวของชุมชนตามแนวลำน้ำที่เหมาะสมในการเกษตรเป็นสำคัญ จากหมู่บ้านหลักในลุ่มน้ำแม่กวงบ้านเวียงยอง บ้านยู้ บ้านหลวย บ้านตองได้ขยายตัวออกไปเป็นบ้านหลิ่งห้า(ศรีบุญยืน) เขตลุ่มน้ำปิงห่างจนถึงบ้านหนองหมู บ้านป่าลาน ป่าเห็ว เป็นต้น นอกจาการเข้ามาตั้งถิ่นฐานของชาวยองในลำพูน ซึ่งถือเป็นประชากรส่วนใหญ่ของเมืองลำพูนแล้ว ยังปรากฏมีชาวไตเขินจากเชียงตุงมาตั้งถิ่นฐานที่บ้านสันดอนรอมในเขตนอกกำแพงเมืองด้านทิศใต้อีกด้วย ไพร่พลที่อพยพเข้ามาอยู่ในลำพูนนี้ต่อมาได้สืบลูกสืบหลานกลายเป็นประชากรส่วนใหญ่ของลำพูน
 
           หากจะเรียกว่าชาวลำพูนส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากชาวยองก็คงไม่ผิดนัก บริเวณที่มีการตั้งถิ่นฐานของชาวยองที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง คือบริเวณที่ราบลุ่มน้ำแม่ทา น้ำแม่กวงและน้ำแม่ปิงไหลมาบรรจบกันในเขตอำเภอป่าซางคือ “สบทา” ก็นับเป็นบริเวณที่มีชาวยองมาตั้งถิ่นฐานอยู่เป็นจำนวนมาก เพราะบริเวณแถบนี้นอกจากจะเป็นแหล่งเสบียงอาหารอันอุดมสมบูรณ์ที่ผู้คนตั้งถิ่นฐานอยู่ก่อนแล้ว ยังเป็นเส้นทางคมนาคมทางน้ำที่สำคัญระหว่างเชียงใหม่ ลำพูนกับหัวเมืองต่างๆอีกด้วย โดยเฉพาะพื้นที่ราบลุ่ม บ้านฉางข้าวน้อย อำเภอป่าซางซึ่งถือเป็นหมู่บ้านหลักของผู้คนที่อพยพมาจากเมืองยอง มีนิสัยรักสันโดษ มีศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า ดำรงรักษาประเพณีวัฒนธรรมดั้งเดิมของบรรพบุรุษเอาไว้อย่างเหนียวแน่น


บทความโดย
จักรพงษ์ คำบุญเรือง
เพจ https://www.facebook.com/Watwaaa/posts/724144164932508?__tn__=K-R

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.287 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 24 มีนาคม 2567 04:27:29